รัฐบาลกำลังเดินหน้าเข้าสู่ประตูหายนะที่ตั้ง ส.ส.ร. 3 เรากล่าวย้ำว่านั่นมันเป็นทางที่ผิดซ้ำรอยเดิม มันเป็นแนวทางแห่งความหายนะของชาติ มันเป็นการคิดแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ อันเป็นคิดภายใต้กรอบของลัทธิรัฐธรรมนูญ โดยยึดรัฐธรรมนูญเป็นศูนย์ โดยเข้าใจว่าว่ารัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายกาจที่สุด และในท้ายที่สุดรัฐธรรมนูญกลายเป็นศูนย์กลางความขัดแย้งของชาติ ซึ่งก็ขัดแย้งมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับแรกแล้ว
ในทางที่ถูกต้องผู้เขียนจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องเสนอองค์ความรู้อย่างถูกต้องแท้จริงให้ผู้ที่รักชาติ รักชาติอย่างมีปัญญาในการแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติร่วมกัน พิจารณาได้ดังนี้
กฎอิทัปปจจยตามาจากคำว่า อิทะ แปลว่า นี้, ปจจยตา แปลว่า ความเป็นปัจจัยกฎอิทัปฯ เป็นกฎธรรมชาติ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เปิดเผยและนำมาอธิบายความเป็นไปของสภาวธรรมในมิติต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม (จิต) ถ้าใครเข้าใจกฎอิทัปปจจยตา นอกจากจะทำให้ผู้ศึกษาปฏิบัติเข้าถึงธรรมะ รู้แจ้งในธรรมะ จากปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส ก้าวไปสู่พระอริยบุคคลชั้นต้นนับแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นลำดับ กฎอิทัปปจจยตานี้เป็นหลักหรือเป็นตัวตั้งหรือเป็นกฎทั่วไป (General law) (พระไตรปิฎกไทยเล่มที่ 29 ข้อที่ 865) มีใจความว่า
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ
เมื่อพระพุทธองค์ทรงนำมาประยุกต์กับความเป็นไปของจิต หรือการปรุงแต่งของจิตอันทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ พระพุทธองค์ทรงเรียกชื่อใหม่ว่า “ปฏิจจสมุปบาท” (ปฏิจจะ แปลว่าอาศัยสมุปบาท แปลว่าเกิดขึ้นครบถ้วน) และทรงตรัสว่า “กล่าวคือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ส่วนฝ่ายดับเหตุแห่งทุกข์ พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วยสามารถ ความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ (สังขารในที่นี้หมายถึงการปรุงแต่งทางจิต เรียกว่า จิตตสังขาร) ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าความกังวลอะไรๆ ว่าสิ่งนี้ของเราหรือว่าสิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น”
กฎอิทัปปจจยตาเป็นกฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยของเหตุและผลหรือที่ชาวพุทธทั่วไปว่า กฎแห่งกรรมเมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุ ผลย่อมมาจากเหตุเสมอไป เรามาพิจารณาตัวบทที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมีหรือ “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี” เราก็จะพูดตามพระพุทธเจ้าได้อย่างไม่ผิดเลย ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินได้ฟัง ได้อ่านอริยสัจ 4คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ขยายความว่า (เมื่อสิ่งนี้มี) เมื่อมีสมุทัย หรือทุกขสมุทัย อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ อวิชชา คือความไม่รู้แจ้งในสภาวธรรม และตัณหา 3 ได้แก่
(1) กามตัณหาคือความทะยานอยากในรูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส เกินความพอดี
(2) ภวตัณหาความทะยานอยากที่จะเป็นโน่นเป็นนี่ (อันไม่ตรงตามวิถีธรรม) เช่นอยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุปัจจัยองค์ประกอบไม่พร้อม ความอยากเป็นดังกล่าวย่อมเป็นเหตุแห่งทุกข์
(3) วิภวตัณหาความทะยานอยากที่จะไม่เป็นนั่นเป็นนี่ เช่น คนที่เป็นนายกฯ อยู่แล้วก็อยากที่จะเป็นนายกฯ นานๆ ไม่อยากลงจากเก้าอี้ทั้งๆ ที่เหตุปัจจัยต้องลงจากเก้าอี้ ความไม่อยากกลับไปทำหน้าที่อย่างอื่น ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ คนฉลาดจะไม่เป็นทุกข์ด้วยเหตุแห่งกามตัณหา, ภวตัณหาและวิภวตัณหา เพราะท่านรู้เหตุปัจจัย หรือรู้กฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยนั้นๆ นั่นเอง
อันว่าทุกข์ย่อมเป็นผล ที่มาจากเหตุ คือสมุทัย เมื่อมีสมุทัยเป็นเหตุ (สิ่งนี้มี) ทุกข์ก็จะเป็นผล (สิ่งนี้จึงมี) นี่แสดงให้เห็นฝ่ายเกิดทุกข์ ส่วนฝ่ายดับทุกข์ได้แก่ มรรคมีองค์ 8ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ เป็นเหตุ (เมื่อมีสิ่งนี้) นิโรธ คือความดับทุกข์ เป็นผล (สิ่งนี้จึงมี) และ (เมื่อสิ่งนี้ไม่มี) คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน (ความยึดมั่น) ดับ (สิ่งนี้ก็ไม่มี) คือความทุกข์ก็จะไม่มี
พระพุทธองค์ทรงเห็นเหตุปัจจัยแห่งสภาวธรรมและทรงเรียกว่า “กฎอิทัปปจจยตา” พระองค์เป็นผู้รู้แจ้งสภาวธรรม จึงสามารถบัญญัติคำสอนใดๆ ก็ตามจะไม่มีคำว่าผิดพลาดได้เลย ยกตัวอย่าง มรรคมีองค์ 8 ให้พวกเราได้พิจารณาร่วมกันจนเกิดปัญญาอย่างชัดเจนในเชิงความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย เห็นว่าไม่ยากจนเกินไป
พิจารณามรรคข้อแรก ได้แก่สัมมาทิฐิแปลว่า ความเห็นชอบ หรือความเห็นถูกตรงตามสภาวธรรม โดยที่ไม่เกี่ยวกับความคิดของเรา โดยเห็นความจริงในดังกล่าวนี้
(1) รู้แจ้งในกฎไตรลักษณ์เรียกว่าลักษณะ 3 ที่เสมอกันในสังขารทั้งปวง (สิ่งปรุงแต่ง, สิ่งที่ผสม, สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์) ทั้งปวงทั้งรูปและนาม (จิต)
(2) กฎอิทัปปจจยตาหรือกฎแห่งกรรมในเบื้องต้นว่า การทำกรรมดีเป็นเหตุ ย่อมได้รับผลดี การทำกรรมชั่วเป็นเหตุ ย่อมได้รับผลชั่ว หลักนี้เป็นกฎตายตัว ไม่เลือกว่าเป็นใครทั้งนั้นจะเป็นพระอินทร์ พรหม หรือยาจก วณิพก ราชา ใครคิดดีทำดี ย่อมได้รับผลดี ใครคิดชั่วทำชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว เมื่อเหตุชั่ว ผลก็ต้องชั่ว
(3) รู้กฎอิทัปปจจยตาขั้นสูงคือเห็นว่าสังขารทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นมาลอยๆ สิ่งทั้งปวงหรืองสังขารทั้งปวงต้องเกิดมาจากเหตุปัจจัยบนความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลเท่านั้นไม่มีพระผู้สร้าง ไม่มีพระเจ้าที่เป็นตัวตนเป็นผู้บันดาล
(4) รู้แจ้งในอริยสัจ 4และกฎปฏิจจสมุปบาท คือกฎความสัมพันธ์ที่อาศัยกันเกิดขึ้นภายในจิต เพราะการคิดปรุงแต่งทางจิต กล่าวคือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ คือมีความเห็นชอบเห็นตรงเห็นถูกในธรรมแล้ว, ก็จะคิดถูกตามธรรม, จะพูดถูกตามธรรม, จะทำถูกตามธรรม, จะประกอบอาชีพถูกตามธรรม, จะมีความเพียรถูกตามธรรม, จะมีความระลึกถูก (คิดนึก) ตามธรรม, จะมีความตั้งใจมั่นถูกตามธรรม เป็นลำดับตามกฎอิทัปปจจยตา
ทีนี้ถ้าเราจะนำมาพิจารณาทางการเมืองก็จะได้ว่า ถ้าระบอบการเมืองเป็นเหตุปัจจัยดี ผลคือการปกครองก็จะดีไปด้วย ขณะเดียวกันเมื่อการปกครองเป็นเหตุ ผลคือเศรษฐกิจก็จะดีไปด้วย ขณะเดียวกันเมื่อเศรษฐกิจดีเป็นเหตุ ผลคือการดำเนินชีวิตของประชาชนจะดีไปด้วย ในความสัมพันธ์ที่มีธรรมะนำระบอบการเมือง การปกครอง รัฐบาล กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว บุคคล เมื่อปฐมเหตุคือระบอบการเมืองดี ก็จะแผ่ความดีออกไปทุกทิศทุกทางในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด
ปัจจุบันปรากฏว่าระบอบการเมืองเลวคือระบอบการเมืองที่มีสัมพันธภาพที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือระบอบการเมือง จะมีความสัมพันธ์อยู่ 2 ด้านคือ ด้านหลักการและด้านวิธีการ (ได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ) ด้านหลักการคือธรรมอันเป็นจุดมุ่งหมายส่วนด้านวิธีการคือด้านที่เป็นมรรคาหรือหนทาง ลงสู่ความเป็นธรรมของปวงชน มีรูปธรรมคือรัฐธรรมนูญ
แต่รัฐธรรมนูญไทยดำเนินมา 18 ฉบับ มีแต่ด้านวิธีการปกครองคือหมวดต่างๆ และหมวดต่างๆ ขาดด้านหลักการปกครองจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นเอกภาพในตัวเอง รัฐธรรมนูญเป็นตัวจักรสำคัญที่สุดในการปกครองบริหารบ้านเมือง เมื่อจักรตัวใหญ่เป็นเหตุแห่งมิจฉาทิฐิตั้งแต่ต้นเสียแล้ว ใครก็ตามที่เข้ามาบริหารระบอบฯ นี้ แม้จะเก่งกล้าสามารถเพียงใดก็ตาม ชี้ไว้เลยว่าจะไปไม่รอด คือจะนำพาประเทศชาติไปไม่รอด ทั้งนี้เมื่อระบอบการเมืองเป็นเหตุเลว จึงแผ่ความเลวออกไปทุกทิศทุกทางในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ก็คือความเลวเต็มแผ่นดิน ใครมาเป็นนายกฯ ทำงานขยันแทบตาย แต่แก้ปัญหาไม่สำเร็จเลย เพราะภารกิจที่ทำอยู่นั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือไปหลงแก้ที่ผล อันเกิดจากเหตุที่เลวร้ายที่ไม่มีใครคิดจะแก้ไข
ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่การแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ก่อนอื่นคือพระเจ้าแผ่นดิน ทรงสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) ธรรมาธิปไตยจากนั้นจึงค่อยมาปรับปรุงหมวดและมาตราต่างๆ เท่าที่จำเป็นให้สอดคล้องกับหลักการปกครอง ฯลฯ และจะเป็นเหตุให้ได้ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ยิ่งขอให้ทุกคนเรียกร้องหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กันเถิด จะก่อให้เกิดคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและมนุษยชาติอย่างกว้างขวางสู่การสร้างสรรค์สันติภาพโลกต่อไป “สัตบุรุษ ย่อมเข้าใจและร่วมแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ”
ในทางที่ถูกต้องผู้เขียนจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องเสนอองค์ความรู้อย่างถูกต้องแท้จริงให้ผู้ที่รักชาติ รักชาติอย่างมีปัญญาในการแก้ปัญหาเหตุวิกฤตชาติร่วมกัน พิจารณาได้ดังนี้
กฎอิทัปปจจยตามาจากคำว่า อิทะ แปลว่า นี้, ปจจยตา แปลว่า ความเป็นปัจจัยกฎอิทัปฯ เป็นกฎธรรมชาติ พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้เปิดเผยและนำมาอธิบายความเป็นไปของสภาวธรรมในมิติต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม (จิต) ถ้าใครเข้าใจกฎอิทัปปจจยตา นอกจากจะทำให้ผู้ศึกษาปฏิบัติเข้าถึงธรรมะ รู้แจ้งในธรรมะ จากปุถุชนผู้หนาด้วยกิเลส ก้าวไปสู่พระอริยบุคคลชั้นต้นนับแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เป็นลำดับ กฎอิทัปปจจยตานี้เป็นหลักหรือเป็นตัวตั้งหรือเป็นกฎทั่วไป (General law) (พระไตรปิฎกไทยเล่มที่ 29 ข้อที่ 865) มีใจความว่า
อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติเมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ก็เกิดขึ้น
อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติเมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ
เมื่อพระพุทธองค์ทรงนำมาประยุกต์กับความเป็นไปของจิต หรือการปรุงแต่งของจิตอันทำให้เกิดความทุกข์ทางใจ พระพุทธองค์ทรงเรียกชื่อใหม่ว่า “ปฏิจจสมุปบาท” (ปฏิจจะ แปลว่าอาศัยสมุปบาท แปลว่าเกิดขึ้นครบถ้วน) และทรงตรัสว่า “กล่าวคือเพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ ฯลฯ ความเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้
ส่วนฝ่ายดับเหตุแห่งทุกข์ พระพุทธองค์ทรงกล่าวว่า เพราะอวิชชานั้นแลดับด้วยสามารถ ความสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ (สังขารในที่นี้หมายถึงการปรุงแต่งทางจิต เรียกว่า จิตตสังขาร) ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนั้น ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ แม้ด้วยเหตุอย่างนี้ดังนี้ จึงชื่อว่าความกังวลอะไรๆ ว่าสิ่งนี้ของเราหรือว่าสิ่งนี้ของคนเหล่าอื่น”
กฎอิทัปปจจยตาเป็นกฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยของเหตุและผลหรือที่ชาวพุทธทั่วไปว่า กฎแห่งกรรมเมื่อมีเหตุก็ต้องมีผล เมื่อมีผลก็ต้องมีเหตุ ผลย่อมมาจากเหตุเสมอไป เรามาพิจารณาตัวบทที่ว่า เมื่อมีสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงมีหรือ “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงมี” เราก็จะพูดตามพระพุทธเจ้าได้อย่างไม่ผิดเลย ท่านทั้งหลายคงเคยได้ยินได้ฟัง ได้อ่านอริยสัจ 4คือความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ขยายความว่า (เมื่อสิ่งนี้มี) เมื่อมีสมุทัย หรือทุกขสมุทัย อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ได้แก่ อวิชชา คือความไม่รู้แจ้งในสภาวธรรม และตัณหา 3 ได้แก่
(1) กามตัณหาคือความทะยานอยากในรูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส เกินความพอดี
(2) ภวตัณหาความทะยานอยากที่จะเป็นโน่นเป็นนี่ (อันไม่ตรงตามวิถีธรรม) เช่นอยากเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เหตุปัจจัยองค์ประกอบไม่พร้อม ความอยากเป็นดังกล่าวย่อมเป็นเหตุแห่งทุกข์
(3) วิภวตัณหาความทะยานอยากที่จะไม่เป็นนั่นเป็นนี่ เช่น คนที่เป็นนายกฯ อยู่แล้วก็อยากที่จะเป็นนายกฯ นานๆ ไม่อยากลงจากเก้าอี้ทั้งๆ ที่เหตุปัจจัยต้องลงจากเก้าอี้ ความไม่อยากกลับไปทำหน้าที่อย่างอื่น ก็เป็นเหตุแห่งทุกข์ คนฉลาดจะไม่เป็นทุกข์ด้วยเหตุแห่งกามตัณหา, ภวตัณหาและวิภวตัณหา เพราะท่านรู้เหตุปัจจัย หรือรู้กฎความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัยนั้นๆ นั่นเอง
อันว่าทุกข์ย่อมเป็นผล ที่มาจากเหตุ คือสมุทัย เมื่อมีสมุทัยเป็นเหตุ (สิ่งนี้มี) ทุกข์ก็จะเป็นผล (สิ่งนี้จึงมี) นี่แสดงให้เห็นฝ่ายเกิดทุกข์ ส่วนฝ่ายดับทุกข์ได้แก่ มรรคมีองค์ 8ทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ เป็นเหตุ (เมื่อมีสิ่งนี้) นิโรธ คือความดับทุกข์ เป็นผล (สิ่งนี้จึงมี) และ (เมื่อสิ่งนี้ไม่มี) คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน (ความยึดมั่น) ดับ (สิ่งนี้ก็ไม่มี) คือความทุกข์ก็จะไม่มี
พระพุทธองค์ทรงเห็นเหตุปัจจัยแห่งสภาวธรรมและทรงเรียกว่า “กฎอิทัปปจจยตา” พระองค์เป็นผู้รู้แจ้งสภาวธรรม จึงสามารถบัญญัติคำสอนใดๆ ก็ตามจะไม่มีคำว่าผิดพลาดได้เลย ยกตัวอย่าง มรรคมีองค์ 8 ให้พวกเราได้พิจารณาร่วมกันจนเกิดปัญญาอย่างชัดเจนในเชิงความสัมพันธ์ตามเหตุปัจจัย เห็นว่าไม่ยากจนเกินไป
พิจารณามรรคข้อแรก ได้แก่สัมมาทิฐิแปลว่า ความเห็นชอบ หรือความเห็นถูกตรงตามสภาวธรรม โดยที่ไม่เกี่ยวกับความคิดของเรา โดยเห็นความจริงในดังกล่าวนี้
(1) รู้แจ้งในกฎไตรลักษณ์เรียกว่าลักษณะ 3 ที่เสมอกันในสังขารทั้งปวง (สิ่งปรุงแต่ง, สิ่งที่ผสม, สิ่งที่ไม่บริสุทธิ์) ทั้งปวงทั้งรูปและนาม (จิต)
(2) กฎอิทัปปจจยตาหรือกฎแห่งกรรมในเบื้องต้นว่า การทำกรรมดีเป็นเหตุ ย่อมได้รับผลดี การทำกรรมชั่วเป็นเหตุ ย่อมได้รับผลชั่ว หลักนี้เป็นกฎตายตัว ไม่เลือกว่าเป็นใครทั้งนั้นจะเป็นพระอินทร์ พรหม หรือยาจก วณิพก ราชา ใครคิดดีทำดี ย่อมได้รับผลดี ใครคิดชั่วทำชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว เมื่อเหตุชั่ว ผลก็ต้องชั่ว
(3) รู้กฎอิทัปปจจยตาขั้นสูงคือเห็นว่าสังขารทั้งปวงเกิดจากเหตุปัจจัย ไม่มีอะไรที่จะเกิดขึ้นมาลอยๆ สิ่งทั้งปวงหรืองสังขารทั้งปวงต้องเกิดมาจากเหตุปัจจัยบนความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผลเท่านั้นไม่มีพระผู้สร้าง ไม่มีพระเจ้าที่เป็นตัวตนเป็นผู้บันดาล
(4) รู้แจ้งในอริยสัจ 4และกฎปฏิจจสมุปบาท คือกฎความสัมพันธ์ที่อาศัยกันเกิดขึ้นภายในจิต เพราะการคิดปรุงแต่งทางจิต กล่าวคือ เพราะอวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร สังขารเป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ ฯลฯ
เมื่อมีสัมมาทิฐิ คือมีความเห็นชอบเห็นตรงเห็นถูกในธรรมแล้ว, ก็จะคิดถูกตามธรรม, จะพูดถูกตามธรรม, จะทำถูกตามธรรม, จะประกอบอาชีพถูกตามธรรม, จะมีความเพียรถูกตามธรรม, จะมีความระลึกถูก (คิดนึก) ตามธรรม, จะมีความตั้งใจมั่นถูกตามธรรม เป็นลำดับตามกฎอิทัปปจจยตา
ทีนี้ถ้าเราจะนำมาพิจารณาทางการเมืองก็จะได้ว่า ถ้าระบอบการเมืองเป็นเหตุปัจจัยดี ผลคือการปกครองก็จะดีไปด้วย ขณะเดียวกันเมื่อการปกครองเป็นเหตุ ผลคือเศรษฐกิจก็จะดีไปด้วย ขณะเดียวกันเมื่อเศรษฐกิจดีเป็นเหตุ ผลคือการดำเนินชีวิตของประชาชนจะดีไปด้วย ในความสัมพันธ์ที่มีธรรมะนำระบอบการเมือง การปกครอง รัฐบาล กระทรวง กรม จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน ครอบครัว บุคคล เมื่อปฐมเหตุคือระบอบการเมืองดี ก็จะแผ่ความดีออกไปทุกทิศทุกทางในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด
ปัจจุบันปรากฏว่าระบอบการเมืองเลวคือระบอบการเมืองที่มีสัมพันธภาพที่ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องคือระบอบการเมือง จะมีความสัมพันธ์อยู่ 2 ด้านคือ ด้านหลักการและด้านวิธีการ (ได้แก่ หมวดและมาตราต่างๆ) ด้านหลักการคือธรรมอันเป็นจุดมุ่งหมายส่วนด้านวิธีการคือด้านที่เป็นมรรคาหรือหนทาง ลงสู่ความเป็นธรรมของปวงชน มีรูปธรรมคือรัฐธรรมนูญ
แต่รัฐธรรมนูญไทยดำเนินมา 18 ฉบับ มีแต่ด้านวิธีการปกครองคือหมวดต่างๆ และหมวดต่างๆ ขาดด้านหลักการปกครองจึงเป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นเอกภาพในตัวเอง รัฐธรรมนูญเป็นตัวจักรสำคัญที่สุดในการปกครองบริหารบ้านเมือง เมื่อจักรตัวใหญ่เป็นเหตุแห่งมิจฉาทิฐิตั้งแต่ต้นเสียแล้ว ใครก็ตามที่เข้ามาบริหารระบอบฯ นี้ แม้จะเก่งกล้าสามารถเพียงใดก็ตาม ชี้ไว้เลยว่าจะไปไม่รอด คือจะนำพาประเทศชาติไปไม่รอด ทั้งนี้เมื่อระบอบการเมืองเป็นเหตุเลว จึงแผ่ความเลวออกไปทุกทิศทุกทางในส่วนที่สัมพันธ์เกี่ยวพันกันทั้งหมด ก็คือความเลวเต็มแผ่นดิน ใครมาเป็นนายกฯ ทำงานขยันแทบตาย แต่แก้ปัญหาไม่สำเร็จเลย เพราะภารกิจที่ทำอยู่นั้นเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หรือไปหลงแก้ที่ผล อันเกิดจากเหตุที่เลวร้ายที่ไม่มีใครคิดจะแก้ไข
ดังนั้น ในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแต่การแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ ก่อนอื่นคือพระเจ้าแผ่นดิน ทรงสถาปนาหลักการปกครอง (ระบอบ) ธรรมาธิปไตยจากนั้นจึงค่อยมาปรับปรุงหมวดและมาตราต่างๆ เท่าที่จำเป็นให้สอดคล้องกับหลักการปกครอง ฯลฯ และจะเป็นเหตุให้ได้ประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ยิ่งขอให้ทุกคนเรียกร้องหลักการปกครองธรรมาธิปไตย 9 กันเถิด จะก่อให้เกิดคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและมนุษยชาติอย่างกว้างขวางสู่การสร้างสรรค์สันติภาพโลกต่อไป “สัตบุรุษ ย่อมเข้าใจและร่วมแก้ไขเหตุวิกฤตชาติ”