ในท่ามกลางวิกฤต และความยุ่งเหยิงของชาติ...ทั้งนี้เหตุแห่งวิกฤตชาติที่แท้จริง คือ การเมืองการปกครองที่ไร้หลักการปกครองโดยธรรม (Principle of Government) มีแต่กฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายอื่นๆ ซึ่งเป็นเพียงวิธีการปกครอง (Methods of Government) เพียงด้านเดียว เปรียบเสมือนมีวิธีการหรือหนทางมากมายที่จะไป แต่ไร้ซึ่งจุดมุ่งหมายรวมของชาติ เมื่อมีรัฐบาลใดๆ เกิดขึ้น กลายเป็นว่าทั้งหนทางและจุดมุ่งหมายกลายเป็นของพรรคหรือรัฐบาลนั้นๆ ไป และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล องค์กรต่างๆ ในสังคมก็ยุ่งเหยิงสับสนไปหมด รัฐบาลใหม่เริ่มต้นก็แก้ปัญหาปลายเหตุ เราเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างปัญญา แนวคิดจิตใจของคนในชาติตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์ เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมอันลึกซึ้งละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากแก่การเข้าใจของเวไนยสัตว์ ทรงเปรียบเทียบอุปนิสัยของเวไนยสัตว์กับดอกบัว 4 เหล่า
(1) อุคฆฏิตัญญู คือผู้มีปัญญามากเข้าใจในเร็วพลัน เพียงยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดงก็ตรัสรู้ได้ เปรียบดังดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำแล้ว พอถูกแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
(2) วิปจิตัญญู คือ ผู้รู้เข้าใจได้ต่อเมื่อท่านอธิบายขยายอรรถธรรมจึงรู้แจ้ง เปรียบดังดอกบัวที่โผล่เสมอผิวน้ำ พร้อมจะบานในวันพรุ่ง
(3) เนยยะ คือ ผู้ที่พอจะพร่ำสอนบ่อยๆ จึงจะเข้าใจได้ เปรียบดังดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ พร้อมที่จะบานในวันต่อๆ ไป
(4) ปทปรมะ คือ ผู้อ่อนด้อยปัญญา ไม่สามารถที่จะเข้าใจเห็นแจ้งในธรรม สอนไปก็เพื่อให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภพต่อๆ ไป เปรียบดังดอกบัวที่มีโรค และยังอยู่ใต้โคลนตม ไม่มีโอกาสขึ้นจะบานได้ ต้องเป็นอาหารเต่าอาหารปลา
นอกจากนี้พระพุทธองค์ตรัสสอนยกจิตให้สูงส่งในหลายๆ มิติ ด้วยสมถะและวิปัสสนาภาวนา (Insight Meditation) เพื่อถ่ายถอนอุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่น หลงผิดว่าชีวิตเป็นอัตตาตัวตน ให้เบาบางลงเป็นลำดับๆ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน ได้แก่
1. ยกจิตจากปุถุชน ก้าวกระโดดสู่พระโสดาบัน ค่อยเป็นค่อยไปสู่พระสกทาคามี แล้วก้าวกระโดดสู่พระอนาคามี จากนั้นก้าวกระโดดอีกที สู่ สภาวะพระอรหันต์ ดังรูปภาพ
2. ละสังโยชน์ 10 ได้แก่ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามราคะ, ปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, อวิชชา พ้นจากนี้ก็เข้าสู่พระอรหันต์ พบสภาวะนิพพาน, ธรรมาธิปไตย สมดังอุทานธรรมที่ว่า “ละสังโยชน์ได้น้อย กิเลสมาก ละสังโยชน์ได้มาก กิเลสน้อย ละสังโยชน์ได้เต็มร้อย สิ้นอุปาทาน สัมมาวิมุตติ สัมมาญาณรู้แจ้งธรรมทั้งองค์รวม”
สังขารทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงแปรปรวนไปตามกฎไตรลักษณ์ หรือเรียกว่าสภาวะสังขตธรรม เมื่อเรายึดมั่นถือมั่นในสังขารอันเป็นมายา แต่หลงว่าเป็นจริงจึงเป็นทุกข์ตามกฎไตรลักษณ์ แต่ถ้าละวางสิ่งเป็นมายา คือกาย กับจิตปรุงแต่งได้แล้ว ก็จะพบของจริง คือพระนิพพาน หรือสภาวะนิโรธธาตุ จะแจ้งสภาวธรรมองค์รวมทั้งด้านอสังขตธรรมและสังขตธรรม และจะไม่ยึดมั่นถือมั่นติดในธรรมทั้งสองด้าน
สภาวะภายในอาจจะดูยากสำหรับปุถุชนคนทั่วไป แต่ถ้าจะดูง่ายๆ ก็ดูที่ความมุ่งมั่นและจุดมุ่งหมายในการเรียน ทำหน้าที่ และภารกิจเพื่อแผ่นดิน ดังที่ได้กล่าวว่า “เรียนอะไรก็ได้ (ตามที่ตนถนัด) ทำหน้าที่อะไรก็ได้ (ตามที่ตนถนัด) มีจุดหมายเพื่อประเทศชาติ” หรือเพื่อมวลมนุษยชาติ เจริญรอยตามแบบอย่างพระศาสดา
เปรียบเทียบคนทั่วไปที่ไม่ได้ยกจุดยืน ยกจิตกับผู้ที่ยกจุดยืน ยกจิตแบบพระโพธิสัตว์
สภาวะจิตปุถุชน เป็นไปตามสัญชาตญาณสภาวะจิตอริยชน เจริญเมตตาแบบอย่างพระพุทธเจ้า
แนวคิดดังกล่าวนี้ คือการบำเพ็ญจิตคิดให้ก่อน หรือแผ่เมตตาจิตออกไปคิดสร้างสรรค์เพื่อประเทศชาติ แล้วรับผลในภายหลัง เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแผ่พระเมตตาเพื่อมวลมนุษยชาติ ทำให้สาวกศรัทธาต่อพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยาวนานถึง 2,500 กว่าปีแล้ว
เช่นเดียวกับพระอริยพุทธสาวกออกบิณฑบาตแผ่เมตตาโปรดสัตว์ แล้วได้รับปัจจัย 4 ตามมีตามได้ คือให้ก่อน (แผ่เมตตาออกไป) ก่อนรับปัจจัย 4 เป็นกริยาของพุทธสาวกที่ใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน
พระเจ้าอยู่หัว ทรงแผ่พระเมตตาต่อพสกนิกร ด้วยโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ เป็นปัจจัยให้พสกนิกรซาบซึ้งในพระองค์ ต่างจงรักภักดีต่อพระองค์ เป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความเข็มแข็งและมั่นคง
ทั้งนี้จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว การบำเพ็ญจิตด้วยการแผ่เมตตา “เรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าอะไรก็ได้ สร้างสรรค์อะไรก็ได้ ขอให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ” ขอให้พูดกับตัวเองบ่อยๆ ว่า "เราจะตั้งใจเรียนและทำหน้าที่อุทิศตนเพื่อประเทศชาติ" จากนั้นไม่นานท่านจะได้รับความมหัศจรรย์เกิดขึ้นแก่ใจตนเอง จะรู้สึกสบายใจ อิ่มใจ มีความรับผิดชอบมากขึ้น ขยันมากขึ้น อดทนมากขึ้น ไม่ท้อถอย ไม่ห่อเหี่ยว ไม่สิ้นหวัง มีพลังใจ มั่นใจมากขึ้น ไหวพริบดีขึ้น ฯลฯ
ทั้งนี้เป็นเพราะธรรมนำหน้าแผ่เมตตาจิตคิดสร้างสรรค์ตั้งปณิธานปรารถนาให้เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นสุข และเราจะได้รับผลเป็นความสุขเช่นกัน ส่วนกายเป็นบ่าวก็ต้องมาทีหลัง กายก็คือรูป หรือวัตถุ ทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง ต้องมาทีหลัง จิตที่ให้หรือจาคะนั้น เมื่อตั้งปณิธานแล้วควรพิจารณาบ่อยๆ ทำบ่อยๆ จนเป็นอุปนิสัย จะเป็นปัจจัยให้จิตดี เมื่อจิตดีจะเป็นปัจจัยให้คิดดี...พูดดี...ทำดี...หน้าที่การงานก้าวหน้า...ความเพียรดี...มีสติระลึกดี...มีความตั้งใจมั่นดี ในท้ายที่สุดจะประสบความสำเร็จในชีวิตตามความมุ่งมาดปรารถนา
พระภิกษุ ผู้มีจุดยืนดังกล่าว จะเป็นเหตุปัจจัยให้รู้แจ้งปรมัตถธรรมสู่สัมมาวิมุตติ และสัมมาญาณได้ในที่สุด ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีคิดและจุดยืนของปุถุชนซึ่งคิดอยากได้จะเอาก่อน แล้วให้ทีหลัง เป็นการเอากิเลส ตัณหา นำหน้าการดำเนินชีวิตด้วยความอยากได้ก่อน จะเป็นการพอกพูนกิเลส ตัณหา อุปาทานให้มากขึ้นๆ นั่นเอง
มั่นใจว่าท่านผู้อ่านที่ต้องการแสวงหาความถูกต้องโดยธรรม ปรับปรุงวิธีคิดและการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีธรรมหรือกฎธรรมชาติ เพื่อประโยชน์อันยิ่งแก่ประเทศชาติ และมนุษยชาติตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ต่างก็มีภารกิจแก้ไขเหตุวิกฤตบุคคล ประเทศชาติ และสันติภาพโลกสืบไป แค่เปลี่ยนความคิด “เรียน ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ” ก็มีความสุขกับการให้แล้ว และศักยภาพอันยิ่งใหญ่จะตามมาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมอันลึกซึ้งละเอียดสุขุมคัมภีรภาพ ยากแก่การเข้าใจของเวไนยสัตว์ ทรงเปรียบเทียบอุปนิสัยของเวไนยสัตว์กับดอกบัว 4 เหล่า
(1) อุคฆฏิตัญญู คือผู้มีปัญญามากเข้าใจในเร็วพลัน เพียงยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดงก็ตรัสรู้ได้ เปรียบดังดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำแล้ว พอถูกแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที
(2) วิปจิตัญญู คือ ผู้รู้เข้าใจได้ต่อเมื่อท่านอธิบายขยายอรรถธรรมจึงรู้แจ้ง เปรียบดังดอกบัวที่โผล่เสมอผิวน้ำ พร้อมจะบานในวันพรุ่ง
(3) เนยยะ คือ ผู้ที่พอจะพร่ำสอนบ่อยๆ จึงจะเข้าใจได้ เปรียบดังดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ พร้อมที่จะบานในวันต่อๆ ไป
(4) ปทปรมะ คือ ผู้อ่อนด้อยปัญญา ไม่สามารถที่จะเข้าใจเห็นแจ้งในธรรม สอนไปก็เพื่อให้เป็นอุปนิสัยปัจจัยในภพต่อๆ ไป เปรียบดังดอกบัวที่มีโรค และยังอยู่ใต้โคลนตม ไม่มีโอกาสขึ้นจะบานได้ ต้องเป็นอาหารเต่าอาหารปลา
นอกจากนี้พระพุทธองค์ตรัสสอนยกจิตให้สูงส่งในหลายๆ มิติ ด้วยสมถะและวิปัสสนาภาวนา (Insight Meditation) เพื่อถ่ายถอนอุปาทาน คือการยึดมั่นถือมั่น หลงผิดว่าชีวิตเป็นอัตตาตัวตน ให้เบาบางลงเป็นลำดับๆ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จนกว่าจะเข้าถึงพระนิพพาน ได้แก่
1. ยกจิตจากปุถุชน ก้าวกระโดดสู่พระโสดาบัน ค่อยเป็นค่อยไปสู่พระสกทาคามี แล้วก้าวกระโดดสู่พระอนาคามี จากนั้นก้าวกระโดดอีกที สู่ สภาวะพระอรหันต์ ดังรูปภาพ
2. ละสังโยชน์ 10 ได้แก่ สักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามราคะ, ปฏิฆะ, รูปราคะ, อรูปราคะ, มานะ, อุทธัจจะ, อวิชชา พ้นจากนี้ก็เข้าสู่พระอรหันต์ พบสภาวะนิพพาน, ธรรมาธิปไตย สมดังอุทานธรรมที่ว่า “ละสังโยชน์ได้น้อย กิเลสมาก ละสังโยชน์ได้มาก กิเลสน้อย ละสังโยชน์ได้เต็มร้อย สิ้นอุปาทาน สัมมาวิมุตติ สัมมาญาณรู้แจ้งธรรมทั้งองค์รวม”
สังขารทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยงแปรปรวนไปตามกฎไตรลักษณ์ หรือเรียกว่าสภาวะสังขตธรรม เมื่อเรายึดมั่นถือมั่นในสังขารอันเป็นมายา แต่หลงว่าเป็นจริงจึงเป็นทุกข์ตามกฎไตรลักษณ์ แต่ถ้าละวางสิ่งเป็นมายา คือกาย กับจิตปรุงแต่งได้แล้ว ก็จะพบของจริง คือพระนิพพาน หรือสภาวะนิโรธธาตุ จะแจ้งสภาวธรรมองค์รวมทั้งด้านอสังขตธรรมและสังขตธรรม และจะไม่ยึดมั่นถือมั่นติดในธรรมทั้งสองด้าน
สภาวะภายในอาจจะดูยากสำหรับปุถุชนคนทั่วไป แต่ถ้าจะดูง่ายๆ ก็ดูที่ความมุ่งมั่นและจุดมุ่งหมายในการเรียน ทำหน้าที่ และภารกิจเพื่อแผ่นดิน ดังที่ได้กล่าวว่า “เรียนอะไรก็ได้ (ตามที่ตนถนัด) ทำหน้าที่อะไรก็ได้ (ตามที่ตนถนัด) มีจุดหมายเพื่อประเทศชาติ” หรือเพื่อมวลมนุษยชาติ เจริญรอยตามแบบอย่างพระศาสดา
เปรียบเทียบคนทั่วไปที่ไม่ได้ยกจุดยืน ยกจิตกับผู้ที่ยกจุดยืน ยกจิตแบบพระโพธิสัตว์
สภาวะจิตปุถุชน เป็นไปตามสัญชาตญาณสภาวะจิตอริยชน เจริญเมตตาแบบอย่างพระพุทธเจ้า
แนวคิดดังกล่าวนี้ คือการบำเพ็ญจิตคิดให้ก่อน หรือแผ่เมตตาจิตออกไปคิดสร้างสรรค์เพื่อประเทศชาติ แล้วรับผลในภายหลัง เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงแผ่พระเมตตาเพื่อมวลมนุษยชาติ ทำให้สาวกศรัทธาต่อพระองค์ ทำให้พระพุทธศาสนาดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงยาวนานถึง 2,500 กว่าปีแล้ว
เช่นเดียวกับพระอริยพุทธสาวกออกบิณฑบาตแผ่เมตตาโปรดสัตว์ แล้วได้รับปัจจัย 4 ตามมีตามได้ คือให้ก่อน (แผ่เมตตาออกไป) ก่อนรับปัจจัย 4 เป็นกริยาของพุทธสาวกที่ใจบริสุทธิ์ปราศจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน
พระเจ้าอยู่หัว ทรงแผ่พระเมตตาต่อพสกนิกร ด้วยโครงการพระราชดำริมากกว่า 3,000 โครงการ เป็นปัจจัยให้พสกนิกรซาบซึ้งในพระองค์ ต่างจงรักภักดีต่อพระองค์ เป็นปัจจัยให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทยมีความเข็มแข็งและมั่นคง
ทั้งนี้จิตเป็นนาย กายเป็นบ่าว การบำเพ็ญจิตด้วยการแผ่เมตตา “เรียนอะไรก็ได้ ทำหน้าอะไรก็ได้ สร้างสรรค์อะไรก็ได้ ขอให้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเทศชาติ” ขอให้พูดกับตัวเองบ่อยๆ ว่า "เราจะตั้งใจเรียนและทำหน้าที่อุทิศตนเพื่อประเทศชาติ" จากนั้นไม่นานท่านจะได้รับความมหัศจรรย์เกิดขึ้นแก่ใจตนเอง จะรู้สึกสบายใจ อิ่มใจ มีความรับผิดชอบมากขึ้น ขยันมากขึ้น อดทนมากขึ้น ไม่ท้อถอย ไม่ห่อเหี่ยว ไม่สิ้นหวัง มีพลังใจ มั่นใจมากขึ้น ไหวพริบดีขึ้น ฯลฯ
ทั้งนี้เป็นเพราะธรรมนำหน้าแผ่เมตตาจิตคิดสร้างสรรค์ตั้งปณิธานปรารถนาให้เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นสุข และเราจะได้รับผลเป็นความสุขเช่นกัน ส่วนกายเป็นบ่าวก็ต้องมาทีหลัง กายก็คือรูป หรือวัตถุ ทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ ชื่อเสียง ต้องมาทีหลัง จิตที่ให้หรือจาคะนั้น เมื่อตั้งปณิธานแล้วควรพิจารณาบ่อยๆ ทำบ่อยๆ จนเป็นอุปนิสัย จะเป็นปัจจัยให้จิตดี เมื่อจิตดีจะเป็นปัจจัยให้คิดดี...พูดดี...ทำดี...หน้าที่การงานก้าวหน้า...ความเพียรดี...มีสติระลึกดี...มีความตั้งใจมั่นดี ในท้ายที่สุดจะประสบความสำเร็จในชีวิตตามความมุ่งมาดปรารถนา
พระภิกษุ ผู้มีจุดยืนดังกล่าว จะเป็นเหตุปัจจัยให้รู้แจ้งปรมัตถธรรมสู่สัมมาวิมุตติ และสัมมาญาณได้ในที่สุด ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีคิดและจุดยืนของปุถุชนซึ่งคิดอยากได้จะเอาก่อน แล้วให้ทีหลัง เป็นการเอากิเลส ตัณหา นำหน้าการดำเนินชีวิตด้วยความอยากได้ก่อน จะเป็นการพอกพูนกิเลส ตัณหา อุปาทานให้มากขึ้นๆ นั่นเอง
มั่นใจว่าท่านผู้อ่านที่ต้องการแสวงหาความถูกต้องโดยธรรม ปรับปรุงวิธีคิดและการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีธรรมหรือกฎธรรมชาติ เพื่อประโยชน์อันยิ่งแก่ประเทศชาติ และมนุษยชาติตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์และพระอรหันตสาวกทั้งหลาย เจริญรอยตามพระพุทธเจ้า ต่างก็มีภารกิจแก้ไขเหตุวิกฤตบุคคล ประเทศชาติ และสันติภาพโลกสืบไป แค่เปลี่ยนความคิด “เรียน ทำหน้าที่เพื่อประเทศชาติ” ก็มีความสุขกับการให้แล้ว และศักยภาพอันยิ่งใหญ่จะตามมาอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง