ผู้จัดการรายวัน - บลจ.เอวายเอฟ ติดบ่วงตั๋วบี/อี "TSFC" หลังกองทุนตราสารหนี้เข้าไปมีเอี่ยว "ฉัตรพี" ยืนยัน ไม่ซ้ำรอยอดีต ผิดนัดชำระหนี้รอบสอง เหตุเจ้าหนี้เตรียมเงินชำระหนี้รอล่วงหน้าแล้ว แถมงบการเงินยังแกร่ง มีสินทรัพย์เพียงพอ ประกอบกับมั่นใจภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สุดท้ายต้องเข้ามาอุ้มแน่นอน ชี้มี "เลห์แมน บราเธอร์ส" เป็นบทเรียนแล้ว ก่อนจะย้ำลูกค้าสบายใจได้ ผลตอบแทนเป็นไปตามโฆษณาชัวร์ ด้านสามคมบลจ. ระบุ "TSFC" ยังสามารถลงทุนได้ เชื่อเพิ่มทุนสำเร็จ ขณะที่ "ทริส เรตติ้ง" จับตาฐานะการเงินใก้ลชิด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ลง 4 อันดับ จาก “A” เป็น “BBB-” แต่ยังคงอยู่ในกลุ่ม investment grade โดยให้เหตุผลว่าเงินกองทุนของ TSFC เมื่อคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดเสื่อมค่าลง เนื่องจากบริษัทขาดทุนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น และมีการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ margin loan นั้น ทำให้นักลงทุนหลายคนเป็นกังวลพอสมควร ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ที่ผ่านมาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย TSFC ได้รับความสนใจจากนักลงทุนพอสมควร ซึ่งรวมถึงกองทุนรวมด้วย เนื่องจากตราสารดังกล่าวให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง
โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ AYF ก็เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย TSFC เช่นกัน ซึ่งจากการสำรวจพอร์ตการลงทุน พบว่ากองทุนที่มีการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว เป็นกองทุนในซีรีส์กองทุนเปิดอยุธยาเอ็นแฮนซ์ไทยโน้ทพลัส ซึ่งเป็นกองทุนปิดที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจน โดยมีทั้งกองทุนอายุ 3 เดือน 6 เดือนและ 12 เดือน
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.เอวายเอฟ กล่าวว่า กองทุนตราสารหนี้ของเอวายเอฟ มีการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย TSFC จริง แต่เชื่อว่าในส่วนนี้จะได้รับการชำระคืนจาก TSFC เนื่องจากเท่าที่พูดคุยกับทาง TSFC ก็ทราบว่าเขาได้เตรียมเงินสำหรับชำระหนี้ดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะกองทุนที่กำลังจะครบดีลหรือครบกำหนดการชำระในสัปดาห์หน้า ก็ได้เตรียมไว้แล้วเช่นกัน
นอกจากนี้ การที่ TSFC มีภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเฉพาะกระทวงการคลัง รวมถึงธนาคารพาณิชย์ของรัฐกว่า 60% จึงเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะแก้ไขได้ เพราะภาครัฐเองคงไม่ปล่อยให้บานปลายไปมากกว่านี้ ขณะเดียวกัน เท่าที่ดูงบการเงินของ TSFC เอง ยังมีทรัพย์สินที่สามารถชำระหนี้ได้ เพียงแต่ทุนน้อยจึงต้องทำการเพิ่มทุนเท่านั้น แต่งบการเงินของบริษัทไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
"เหตุการณ์นี้ คล้ายกับเลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ล้มละลายไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นบทเรียนในเห็นแล้วว่า ถ้าปล่อยไปอาจจะเกิดปัญหาเยอะตามมา ดังนั้น จึงเชื่อว่าภาครัฐซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเอง คงไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จะคล้ายกับเลห์แมน บราเธอร์ส แต่หากเทียบกับมูลค่าแล้ว เทียบกับไม่ได้เลย ดังนั้น จึงไม่อยากให้ผู้ลงทุนเองตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้มากนัก เพราะเขายังจัดการได้ เพราถ้าตระหนกเกินไปจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งระบบ จนกลายเป็นปัญหา ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้น"นายฉัตรพีกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายฉัตรพีกล่าวย้ำว่า สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ของเอวายเอฟ ขอให้มั่นใจได้ว่า จะได้รับผลตอบแทนตามที่ระบุไว้แน่นอน
ด้านรายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ว่า ทางบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด มิได้นิ่งนอนใจในสถานกาณ์ดังกล่าว และกำลังดำเนินการแก้ไขฐานะของบริษัทอย่างเร่งรีบในการจัดหาทุนและสภาพคล่องเข้ามาให้เพียงพอและทันเวลา โดยบริษัทได้หารือและร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางรายอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
สำหรับลูกค้าที่กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ยังมีฐานะเป็นลูกหนี้ของบริษัทนั้น สามารถดำรงฐานะนั้นกับบริษัทได้ตามระบบ Credit Balance และโปรดมั่นใจว่า ทรัพย์สินของท่านที่ฝากไว้กับบริษัทจะได้รับการดูแลอย่างดี โดยบริษัทได้แยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของบริษัทอย่างชัดเจนตามกฏเกณฑ์ของทางการ
**สมาคมบลจ.มั่นใจ"TSFC" เพิ่มทุนสำเร็จ**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้จัดให้มีการหารือในกลุ่มบริษัทสมาชิก เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาความเกี่ยวเนื่องจากการที่กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล ได้ลงทุนไว้ในตราสารหนี้ของ TSFC ได้ข้อสรุปตรงกันว่า อันดับความน่าเชื่อถือของ TSFC ยังคงอยู่ระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และตราสารที่เสนอขายโดย TSFC มีราคาที่สะท้อนกับข้อมูลและสถานะการดำเนินงานของ TSFC ที่อ้างอิงได้ตามราคาที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai BMA) อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ตราสารหนี้ที่เสนอขายโดย TSFC ปัจจุบันมีทั้งตราสารที่ทยอยครบกำหนดชำระทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยตราสารหนี้ระยะสั้นมีมูลค่ารวมประมาณ 6,500 ล้านบาท ทยอยครบกำหนดชำระนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ไปจนถึงไตรมาส 3 ปี 2552 และ TSFC ได้มีการเตรียมสภาพคล่องเพียงพอไว้สำหรับชำระหนี้ที่ทยอยครบกำหนดแล้ว ซึ่งพิจารณาได้จากเงินลงทุนของ TSFC ที่มีการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง อาทิ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุนผ่านกองทุนรวม รวมทั้งสิ้นมูลค่ากว่า 12,600 ล้านบาท จึงประเมินได้ว่ามีสภาพคล่องเพียงพอต่อการชำระหนี้ที่จะทยอยครบกำหนด
นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจของ TSFC ก็มีลักษณะเฉพาะด้านการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Loan) เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยตามการสนับสนุนให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาของภาครัฐ โดย TSFC จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการระดมทุน (เงิน/หลักทรัพย์) ทั้งประเภทระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำมาให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์กู้ยืม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินกิจการต่างๆ ทางด้านธุรกิจหลักทรัพย์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การจัดตั้งของ TSFC ได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลักที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ และเมื่อ TSFC ทำการเพิ่มทุนได้แล้ว สถานการณ์ก็น่าจะกลับมาสู่สภาวะปกติ อันดับเครดิตของบริษัทน่าจะได้รับการปรับขึ้นเพราะฐานเงินทุนจะเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สมาคมเชื่อมั่นว่า TSFC จะได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นและประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพราะเป็นองค์กรที่จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ในอัตราสูงมาโดยตลอด
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)เปิดเผยว่า สคร.ได้รับแจ้งจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์(TSFC)ถึงปัญหาที่ทำให้เงินกองทุนอยู่ในระดับต่ำและมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนตั้งแต่สัปดาห์ก่อน โดยคาดว่า TSFC จะเสนอแผนเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นได้พิจารณาภายในเดือน พ.ย.นี้
ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า TSFC จะมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนในวงเงินเท่าใด เพราะคงจะต้องพิจารณารายละเอียดของแผนงานที่เสนอมาก่อน ซึ่งในฐานะที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็จะพิจารณาจากแผนงาน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ และเหตุผลในการเพิ่มทุน แต่เบื้องต้นเชื่อวาคงจะใช้วงเงินไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัททริสเรทติ้งปรับลดอันดับเครดิต TSFC สะท้อนว่าถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนในตราสารหนี้ของ TSFC แต่ก็ยังถือว่าปรับลดอันดับลงมาก็ยังอยู่ในระดับทีลงทุนได้ อีกทั้ง TSFC มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)กำกับดูแลอยู่ด้วย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่ถือหุ้นอยู่ใน TSFC อีกชั้นหนึ่ง ก็น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ในระดับหนึ่ง
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า ส่วนการถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์นั้น 1 ใน 3 เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นอยู่ ขณะที่อีก 1 ใน 3 เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีต่างชาติถือหุ้นอยู่ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ขอสินเชื่อหรือมีธุรกรรมใน TSFC มากนัก เนื่องจากโบรกเกอร์ส่วนใหญ่มักกจะใช้ช่องทางอื่นในระดมทุน ดังนั้น ไม่ว่าจะมี TSFC อยู่หรือไม่ก็ไม่ได้กระทบกับภาพรวมตลาดทุนมากนัก
**ทริสฯจับตาฐานะ"TSFC"ใกล้ชิด**
นายวรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรตติ้ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทริสได้ติดตามฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด หรือ TSFC อย่างใกล้ชิดเป็นรายวัน เพราะหากไม่สามารถเพิ่มทุนได้มีโอกาสที่จะปรับลดอันดับเครดิตของTSFC ลงได้อีก ซึ่งในช่วงก่อนเดือนต.ค. TSFC มีเงินทุนประมาณ 1 พันล้านบาท แต่ปรากฎว่า ในเดือนต.ค. ตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนทำให้มีการบังคับขาย(ฟอร์ซเซล) ในหุ้นที่ได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อหุ้น(มาร์จินโลน)ซึ่งได้กระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทอย่างมาก
ทั้งนี้ ยังขาดทุนจากพอร์ตลงทุนของTSFC เอง เมื่อมีการบันทึกราคาตามราคาตลาดส่งผลให้ทุนของบริษัทลดลงเหลือไม่มาก จนเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจได้เพียง 2 เดือนข้างหน้าเท่านั้น แต่การTSFC มีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอีกประมาณ 1 พันล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้อาจเป็นสภาพคล่องเข้ามาช่วยฐานะการเงินของTSFC ได้
“ช่วงนี้เราติดตามเขาทุกวันเป็นเครดิตพินิจ(Credit Alert negative) เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เพื่อติดตามว่าบริษัทจะสามารถเพิ่มทุนได้อย่างรวดเร็วกับเหตุการณ์หรือไม่ หากไม่ก็มีความเสี่ยงที่อันดับเครดิตจะถูกลดลงอีก”
นายวรภัทร กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 3 รายด้วยกัน ซึ่งแต่ละรายย่อมได้รับผลกระทบจาก รายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหุ้นที่ลดลงตามภาวะตลาด พอร์ตลงทุน และการปล่อยมาร์จินโลน แต่ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานในฐานะที่ทริส เป็นบริษัทจัดอันดับเครดิตที่ต้องคอยให้ข้อมูลกับสาธารณชน
ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานในฐานะที่ทริส เป็นบริษัทจัดอันดับเครดิตที่ต้องคอยให้ข้อมูลกับสาธารณชน เพราะ กรณีที่บริษัทฯ ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อ ธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด หรือ TSFC นั้น จาก “A” เป็น “BBB-“ ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุดของการจัดอันดันดับ Investment Grade นั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากบริษัท ทริส เรทติ้ง จำกัด ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (credit rating) ของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ลง 4 อันดับ จาก “A” เป็น “BBB-” แต่ยังคงอยู่ในกลุ่ม investment grade โดยให้เหตุผลว่าเงินกองทุนของ TSFC เมื่อคำนวณมูลค่าตามราคาตลาดเสื่อมค่าลง เนื่องจากบริษัทขาดทุนจากการลงทุนในกองทุนรวมหุ้น และมีการกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญของลูกหนี้ margin loan นั้น ทำให้นักลงทุนหลายคนเป็นกังวลพอสมควร ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ที่ผ่านมาตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย TSFC ได้รับความสนใจจากนักลงทุนพอสมควร ซึ่งรวมถึงกองทุนรวมด้วย เนื่องจากตราสารดังกล่าวให้ผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง
โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด หรือ AYF ก็เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนที่มีสัดส่วนการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย TSFC เช่นกัน ซึ่งจากการสำรวจพอร์ตการลงทุน พบว่ากองทุนที่มีการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว เป็นกองทุนในซีรีส์กองทุนเปิดอยุธยาเอ็นแฮนซ์ไทยโน้ทพลัส ซึ่งเป็นกองทุนปิดที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจน โดยมีทั้งกองทุนอายุ 3 เดือน 6 เดือนและ 12 เดือน
นายฉัตรพี ตันติเฉลิม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.เอวายเอฟ กล่าวว่า กองทุนตราสารหนี้ของเอวายเอฟ มีการลงทุนในตั๋วสัญญาใช้เงินที่ออกโดย TSFC จริง แต่เชื่อว่าในส่วนนี้จะได้รับการชำระคืนจาก TSFC เนื่องจากเท่าที่พูดคุยกับทาง TSFC ก็ทราบว่าเขาได้เตรียมเงินสำหรับชำระหนี้ดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะกองทุนที่กำลังจะครบดีลหรือครบกำหนดการชำระในสัปดาห์หน้า ก็ได้เตรียมไว้แล้วเช่นกัน
นอกจากนี้ การที่ TSFC มีภาครัฐเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเฉพาะกระทวงการคลัง รวมถึงธนาคารพาณิชย์ของรัฐกว่า 60% จึงเชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นน่าจะแก้ไขได้ เพราะภาครัฐเองคงไม่ปล่อยให้บานปลายไปมากกว่านี้ ขณะเดียวกัน เท่าที่ดูงบการเงินของ TSFC เอง ยังมีทรัพย์สินที่สามารถชำระหนี้ได้ เพียงแต่ทุนน้อยจึงต้องทำการเพิ่มทุนเท่านั้น แต่งบการเงินของบริษัทไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
"เหตุการณ์นี้ คล้ายกับเลห์แมน บราเธอร์ส สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ล้มละลายไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวเป็นบทเรียนในเห็นแล้วว่า ถ้าปล่อยไปอาจจะเกิดปัญหาเยอะตามมา ดังนั้น จึงเชื่อว่าภาครัฐซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเอง คงไม่ต้องการให้เป็นเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเหตุการณ์จะคล้ายกับเลห์แมน บราเธอร์ส แต่หากเทียบกับมูลค่าแล้ว เทียบกับไม่ได้เลย ดังนั้น จึงไม่อยากให้ผู้ลงทุนเองตื่นตระหนกกับเหตุการณ์นี้มากนัก เพราะเขายังจัดการได้ เพราถ้าตระหนกเกินไปจะส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งระบบ จนกลายเป็นปัญหา ซึ่งเราไม่อยากให้เกิดขึ้น"นายฉัตรพีกล่าว
อย่างไรก็ตาม นายฉัตรพีกล่าวย้ำว่า สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ของเอวายเอฟ ขอให้มั่นใจได้ว่า จะได้รับผลตอบแทนตามที่ระบุไว้แน่นอน
ด้านรายงานข่าวจาก บริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ว่า ทางบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด มิได้นิ่งนอนใจในสถานกาณ์ดังกล่าว และกำลังดำเนินการแก้ไขฐานะของบริษัทอย่างเร่งรีบในการจัดหาทุนและสภาพคล่องเข้ามาให้เพียงพอและทันเวลา โดยบริษัทได้หารือและร่วมมือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่บางรายอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการดังกล่าวอย่างเร่งด่วน
สำหรับลูกค้าที่กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ยังมีฐานะเป็นลูกหนี้ของบริษัทนั้น สามารถดำรงฐานะนั้นกับบริษัทได้ตามระบบ Credit Balance และโปรดมั่นใจว่า ทรัพย์สินของท่านที่ฝากไว้กับบริษัทจะได้รับการดูแลอย่างดี โดยบริษัทได้แยกทรัพย์สินของลูกค้าออกจากทรัพย์สินของบริษัทอย่างชัดเจนตามกฏเกณฑ์ของทางการ
**สมาคมบลจ.มั่นใจ"TSFC" เพิ่มทุนสำเร็จ**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ นายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน เปิดเผยว่า สมาคมฯ ได้จัดให้มีการหารือในกลุ่มบริษัทสมาชิก เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาความเกี่ยวเนื่องจากการที่กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนส่วนบุคคล ได้ลงทุนไว้ในตราสารหนี้ของ TSFC ได้ข้อสรุปตรงกันว่า อันดับความน่าเชื่อถือของ TSFC ยังคงอยู่ระดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) และตราสารที่เสนอขายโดย TSFC มีราคาที่สะท้อนกับข้อมูลและสถานะการดำเนินงานของ TSFC ที่อ้างอิงได้ตามราคาที่ประกาศโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (Thai BMA) อยู่แล้ว
ทั้งนี้ ตราสารหนี้ที่เสนอขายโดย TSFC ปัจจุบันมีทั้งตราสารที่ทยอยครบกำหนดชำระทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยตราสารหนี้ระยะสั้นมีมูลค่ารวมประมาณ 6,500 ล้านบาท ทยอยครบกำหนดชำระนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ไปจนถึงไตรมาส 3 ปี 2552 และ TSFC ได้มีการเตรียมสภาพคล่องเพียงพอไว้สำหรับชำระหนี้ที่ทยอยครบกำหนดแล้ว ซึ่งพิจารณาได้จากเงินลงทุนของ TSFC ที่มีการลงทุนส่วนใหญ่ในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง อาทิ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ และหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ลงทุนผ่านกองทุนรวม รวมทั้งสิ้นมูลค่ากว่า 12,600 ล้านบาท จึงประเมินได้ว่ามีสภาพคล่องเพียงพอต่อการชำระหนี้ที่จะทยอยครบกำหนด
นอกจากนี้ การประกอบธุรกิจของ TSFC ก็มีลักษณะเฉพาะด้านการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ลงทุนเพื่อซื้อหลักทรัพย์ (Margin Loan) เพียงแห่งเดียวในประเทศไทยตามการสนับสนุนให้จัดตั้งองค์กรขึ้นมาของภาครัฐ โดย TSFC จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการระดมทุน (เงิน/หลักทรัพย์) ทั้งประเภทระยะสั้นและระยะยาว เพื่อนำมาให้ผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์กู้ยืม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินกิจการต่างๆ ทางด้านธุรกิจหลักทรัพย์เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ การจัดตั้งของ TSFC ได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นหลักที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงการคลัง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินอื่นๆ และเมื่อ TSFC ทำการเพิ่มทุนได้แล้ว สถานการณ์ก็น่าจะกลับมาสู่สภาวะปกติ อันดับเครดิตของบริษัทน่าจะได้รับการปรับขึ้นเพราะฐานเงินทุนจะเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สมาคมเชื่อมั่นว่า TSFC จะได้รับการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นและประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพราะเป็นองค์กรที่จ่ายปันผลให้ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ในอัตราสูงมาโดยตลอด
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)เปิดเผยว่า สคร.ได้รับแจ้งจากผู้บริหารบริษัทหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนในธุรกิจหลักทรัพย์(TSFC)ถึงปัญหาที่ทำให้เงินกองทุนอยู่ในระดับต่ำและมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนตั้งแต่สัปดาห์ก่อน โดยคาดว่า TSFC จะเสนอแผนเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นได้พิจารณาภายในเดือน พ.ย.นี้
ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า TSFC จะมีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนในวงเงินเท่าใด เพราะคงจะต้องพิจารณารายละเอียดของแผนงานที่เสนอมาก่อน ซึ่งในฐานะที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็จะพิจารณาจากแผนงาน รวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ และเหตุผลในการเพิ่มทุน แต่เบื้องต้นเชื่อวาคงจะใช้วงเงินไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม การที่บริษัททริสเรทติ้งปรับลดอันดับเครดิต TSFC สะท้อนว่าถึงความเชื่อมั่นในการลงทุนในตราสารหนี้ของ TSFC แต่ก็ยังถือว่าปรับลดอันดับลงมาก็ยังอยู่ในระดับทีลงทุนได้ อีกทั้ง TSFC มีสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)กำกับดูแลอยู่ด้วย ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ก็กำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ที่ถือหุ้นอยู่ใน TSFC อีกชั้นหนึ่ง ก็น่าจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ในระดับหนึ่ง
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า ส่วนการถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์นั้น 1 ใน 3 เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีธนาคารพาณิชย์ถือหุ้นอยู่ ขณะที่อีก 1 ใน 3 เป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีต่างชาติถือหุ้นอยู่ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้ขอสินเชื่อหรือมีธุรกรรมใน TSFC มากนัก เนื่องจากโบรกเกอร์ส่วนใหญ่มักกจะใช้ช่องทางอื่นในระดมทุน ดังนั้น ไม่ว่าจะมี TSFC อยู่หรือไม่ก็ไม่ได้กระทบกับภาพรวมตลาดทุนมากนัก
**ทริสฯจับตาฐานะ"TSFC"ใกล้ชิด**
นายวรภัทร โตธนะเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทริส เรตติ้ง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทริสได้ติดตามฐานะการเงินของบริษัทหลักทรัพย์เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด หรือ TSFC อย่างใกล้ชิดเป็นรายวัน เพราะหากไม่สามารถเพิ่มทุนได้มีโอกาสที่จะปรับลดอันดับเครดิตของTSFC ลงได้อีก ซึ่งในช่วงก่อนเดือนต.ค. TSFC มีเงินทุนประมาณ 1 พันล้านบาท แต่ปรากฎว่า ในเดือนต.ค. ตลาดหุ้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนทำให้มีการบังคับขาย(ฟอร์ซเซล) ในหุ้นที่ได้ปล่อยสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อหุ้น(มาร์จินโลน)ซึ่งได้กระทบต่อฐานะการเงินของบริษัทอย่างมาก
ทั้งนี้ ยังขาดทุนจากพอร์ตลงทุนของTSFC เอง เมื่อมีการบันทึกราคาตามราคาตลาดส่งผลให้ทุนของบริษัทลดลงเหลือไม่มาก จนเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจได้เพียง 2 เดือนข้างหน้าเท่านั้น แต่การTSFC มีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอีกประมาณ 1 พันล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้อาจเป็นสภาพคล่องเข้ามาช่วยฐานะการเงินของTSFC ได้
“ช่วงนี้เราติดตามเขาทุกวันเป็นเครดิตพินิจ(Credit Alert negative) เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงเร็วมาก เพื่อติดตามว่าบริษัทจะสามารถเพิ่มทุนได้อย่างรวดเร็วกับเหตุการณ์หรือไม่ หากไม่ก็มีความเสี่ยงที่อันดับเครดิตจะถูกลดลงอีก”
นายวรภัทร กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 3 รายด้วยกัน ซึ่งแต่ละรายย่อมได้รับผลกระทบจาก รายได้ค่าธรรมเนียมนายหน้าซื้อขายหุ้นที่ลดลงตามภาวะตลาด พอร์ตลงทุน และการปล่อยมาร์จินโลน แต่ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีปัญหา ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานในฐานะที่ทริส เป็นบริษัทจัดอันดับเครดิตที่ต้องคอยให้ข้อมูลกับสาธารณชน
ทั้งหมดนี้เป็นการทำงานในฐานะที่ทริส เป็นบริษัทจัดอันดับเครดิตที่ต้องคอยให้ข้อมูลกับสาธารณชน เพราะ กรณีที่บริษัทฯ ได้ลดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit rating) ของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อ ธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด หรือ TSFC นั้น จาก “A” เป็น “BBB-“ ซึ่งเป็นอันดับต่ำสุดของการจัดอันดันดับ Investment Grade นั้น