ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนสำรองเลี้ยงชีพซ้ำรอย กบข. ลูกจ้าง "กสท.-ไปรษณีย์" ร้อง ผลตอบแทนติดลบไปกว่า 40.717 ล้านบาท ด้านเงินลงทุนทั้งระบบ ขาดทุนเฉพาะหุ้นไปแล้วกว่า 2.4 หมื่นล้านบาท สมาคมบลจ. ออกโรงแจง ผลประกอบการเป็นไปตามภาวะตลาด ระบุหากลงทุนหุ้นเกิน 15% ขาดทุนแน่นอน เตือนอย่ากลัวหุ้นจนเสียโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่า ด้านสำนักงาน ก.ล.ต. แนะ ดูผลตอบแทนเทียบตัวชี้วัดด้วย ย้ำเร่งให้ข้อมูลสมาชิก รับมือล่วงหน้าแล้ว ด้าน "พิชิต" ห่วงปัญหาลาม หวั่นนักลงทุนขาดความมั่นใจต่อวงการตลาดทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการลงทุนในหุ้น โดยในเดือนดังกล่าวเงินลงทุนติดลบจากการลงทุนในหุ้นไปถึง 1,331.53 ล้านบาท นอกจากนี้ เงินลงทุนในส่วนของหุ้นกู้เอกชน ก็ติดลบไปถึง 3,381.45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ในขณะเดียวกัน การลงทุนในเงินฝากเองก็ปรับลดลงด้วย โดยในเดือนมกราคม ลดลงไปประมาณ 4,451.36 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั่นเอง
ทั้งนี้ หากคำนวนเฉพาะผลกระทบจากการลงทุนในหุ้นทั้งหมด พบว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทย ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงเดือนมกราคม 2552 พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว เงินลงทุนในหุ้นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบลดลงไปถึง 24,610.38 ล้านบาท โดยในเดือนกันยายนและตุลาคม ถือว่าลดลงมากที่สุด คิดเป็นจำนวนเงิน 8,600.66 ล้านบาทและ 11,820.19 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลังและตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันนั้น ก็พบว่าลดลงเช่นกัน โดยตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมปี 2551 เงินลงทุนในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐทั้งหมดลดลงกว่า 14,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากความผันผวนของตลาดตราสารหนี้เช่นกัน ก่อนที่เงินลงทุนในส่วนดังกล่าวจะพลิกกลับขึ้นมาประมาณ 15,800 ล้านบาทในเดือนมกราคม 2552 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม รายงานจากสมาคมบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พบว่า ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 ยอดการลงทุนรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 463,835.47 ล้านบาท มีการปรับตัวลดลงประมาณ 1,460.98 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2551 ที่ 465,296.44 ล้านบาท และหากย้อนกลับไปเดือนสิงหาคมซึ่งมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 464,585.45 ล้านบาท พบว่า ถึงเดือนมกราคม เงินลงทุนลดลงเพียง 749.98 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการส่งเงินสมทบเพิ่ม และมีผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
ทั้งนี้ จากการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่มีความมั่นคงสูงประมาณ 46.1% หุ้นกู้ 21.2% เงินฝาก 13.5% หุ้นและหลักทรัพย์ประมาณ 7.2% หน่วยลงทุน 2.6%
ลูกจ้าง"กสท.-ไปรษณีย์"ร้องบริหารขาดทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และบริหารจัดการกองทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร้องเรียนมายัง "ASTVผู้จัดการรายวัน" ว่า ผลการดำเนินงานของกองทุนซึ่งรายงานล่าสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ติดลบไปถึง 40.717 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 15,068.60 ล้านบาท
จากการเปิดพอร์ตการลงทุน พบว่า เงินลงทุนดังกล่าว ขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นถึง 38.490 ล้านบาท และขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทสไทยถึง 92.40 ล้านบาท ทำให้รวมแล้วผลขากทุนที่เกิดขึ้นมีมูลค่าถึง 130.89 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทอื่นเข้ามาชดเชย ส่งผลให้ผลขาดทุนออกมาติดลบถึง 40.717 ล้านบาทดังกล่าว
ทั้งนี้ สมาชิกที่ร้องเรียนดังกล่าว ตั้งข้อสังเกตุว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล มีการเข้ามาตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ขาดทุนหรือไม่ และการลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายการลงทุนหรือไม่
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีการตั้งคณะกรรมการการลงทุนซึ่งเป็นตัวแทนจากสมาชิกของกองทุนอยู่แล้วทุกกอง ซึ่งคณะกรรมการลงทุนดังกล่าว จะเป็นผู้กำหนดนโยบายร่วมกับผู้จัดการกองทุน และมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ว่าสัดส่วนการลงทุนจะเป็นเท่าไหร่ หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งปีที่ผ่านมา การรลงทุนอาจจะมีผลขาดทุนบ้าง โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ไม่ได้เป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับ กบข. เนื่องจากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีการพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการกองทุน ซึ่งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นอย่างน้อย คณะกรรมการกองทุนต้องเข้าใจและรายงานให้สมาชิกทราบอยู่แล้ว ซึ่งภาพรวมของการลงทุนในปี 2551 ที่ผ่านมาเอง ก็เป็นอะไรที่ผิดปกติและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากลงทุนในหุ้นเกิน 10% ผลตอบแทนโดยรวมอาจออกมาติดลบได้เช่นกัน
**สมาคมบลจ.ชี้ ลงหุ้นเกิน15%ขาดทุนแน่นอน**
นางสาวอารยา ธีระโกเมน กรรมการผู้อำนวยการ บลจ. ทิสโก้ และประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) กล่าวว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ในปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนที่ได้มาก็จะไม่ขาดทุน หรืออาจจะอยู่ที่ระดับ 6-7% แต่หากกองทุนใดที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นซึ่งปีที่ผ่านมาติดลบไปกว่า 47% ในสัดส่วนตั้งแต่ 15% ขึ้นไป ผลตอบแทนที่ออกมา ก็ติดลบหากเทียบกับปีก่อน แต่ถ้าลงทุนน้อยกว่า 15% ผลตอบแทนก็จะเป็นบวกได้อยู่ ดังนั้น กองทุนที่ประสบกับผลขาดทุน จึงไม่น่าจะเกิดจากการลงทุนที่ผิดเงื่อนไข แต่เป็นเพราะการปรับลดลงของราคาหุ้นมากกว่า
ขณะเดียวกัน การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีขั้นตอนการตรวจสอบอยู่แล้ว เพราะมีกฎหมายบังคับอยู่ว่า กองทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดได้บ้าง และในขั้นตอนของการลงทุนเอง ก็มีการกำหนดกรอบการลงทุนที่แคบลงไปอีกตามโจทย์ที่นายจ้างให้มา ซึ่งในส่วนของ สำนักงาน ก.ล.ต.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลเอง ไม่ได้กำหนดกรอบว่า จะต้องลงทุนในจำนวนเท่าไหร่ โดยให้เป็นการตัดสินใจเลือกของสมาชิกเอง
"จริงๆ แล้วที่ผ่านมา ก็มีการร้องเรียนเข้ามาว่าเกิดอะไรขึ้นกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำไมผลประกอบการถึงลดลง ซึ่งสมาชิกของเราเองก็ออกไปพบกับลูกค้าแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพื่ออธิบายให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น"นางสาวอารยากล่าว
นางสาวอารยากล่าวว่า หากจะดูผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบ จะพบว่า กองทุนที่มีพอร์ตการลงทุนในหุ้น 20% ผลตอบแทนจะออกมาติดลบประมาณ 2.6% โดยผลตอบแทนที่ติดลบสูงที่สุดอยู่ที่ 5.3% และต่ำสุด 1.17% อย่างไรก็ตาม หากมองผลตอบแทนย้อนหลังไป 7 ปี จะพบว่า กองทุนที่ลงทุนเพียงฝากเงิน ที่ไม่มีการลงทุนในหุ้นเลย จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.79% ขณะที่เงินเฟ้อสะสมอยู่ที่ 24.16% คิดเป็นอัตราเฉลี่ย 3.14% แต่หากลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุไม่เกิน 2 ปี โดยไม่มีการลงทุนในเงินฝากเลย จะให้ผลตอบแทนสะสมประมาณ 35.15% และเฉลี่ย 4.4% ต่อปี ส่วนในกรณีที่กองทุนลงทุนในหุ้น 100% ย้อนหลังไป 7 ปี ซึ่งรวมผลการดำเนินงานในปี 2551 แล้ว จะให้ผลตอบแทนสะสมอยู่ที่ 48.09% เฉลี่ยต่อปี 5.77% ซึ่งจะเห็นว่า ยังสูงกว่าเงินเฟ้ออยู่
อย่างไรก็ตาม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยทั่วไป ไม่นโยบายลงทุนในหุ้นไม่เต็ม 100 % อยู่แล้ว ถ้ากองทุนนั้นลงทุนในหุ้น 15% ที่เหลือลงทุนในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งระหว่างเงินฝากกับพันธบัตรรัฐบาล จะได้ผลตอบแทนสะสมอยู่ที่ 34.91% เฉลี่ยนต่อปีอยู่ที่ 4.37% แต่ถ้าลงทุนในหุ้น 20% ที่เหลือลงทุนในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งระหว่างเงินฝากกับพันธบัตรรัฐบาลเช่นกัน ผลตอบแทนสะสมจะอยู่ที่ 35.15% และผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4.79%
"ถ้าสมาชิกกองทุนที่เกษียณในปี 2551 แสดงว่าต้องอยู่ในกองทุนมานานแล้ว และเชื่อว่าถ้ามีการลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนเองไม่ได้เข้าเนื้อหรือขาดทุน แต่ยอมรับว่ากำไรอาจจะหายไปเยอะ แต่อยากให้มองภาพการลงทุนระยะยาวมากกว่า ซึ่งบางปีการลงทุนในหุ้นเองโตเยอะ แต่พอร์ตตัวเองกลับไม่มีการลงทุนในหุ้นเลย ก็จะทำให้พลาดโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไป ซึ่งกองทุนในพอร์ตของบลจ.ทิสโก้ ก็ขาดทุนเช่นกัน ซึ่งเราค่อนข้างลงทุนในหุ้นเยอะ แต่เราเองก็ได้คุยกับลูกค้าให้เข้าใจแล้ว"นางสาวอารยากล่าว
ทั้งนี้ ในฐานะนักลงทุน มีความเป็นห่วงว่า สมาชิกจะมองภาพการลงทุนในตลาดทุนผิดไป หลังจากเห็นผลการดำเนินงานออกมาเป็นขาดทุนแต่เชื่อว่า รูปแบบการลงทุนแบบ Employee's choice น่าจะตอบโจทย์การลงทุนได้ดีขึ้น จากเดิมที่ 1 กองทุนก็จะมีเพียงนโยบายการลงทุนอย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาหุ้นปรับลดลงเช่นนี้ สมาชิกบางคนที่รับความเสี่ยงได้ออาจะเห็นว่า เป็นโอกาสลงทุนด้วยการซื้อของถูก อย่างไรก็ตาม รูปแบบการลงทุนแบบ Employee's choice จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้แล้วความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนด้วย โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของตัวเองเป็นหลัก
ขณะเดียวกัน ยังเป็นห่วงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจของสมาชิก อาจจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเช่นกัน ซึ่งการที่จำนวนสมาชิกมีค่อนข้างเยอะ การให้ข้อมูลอาจจะเข้าไม่ถึง ทำให้ไม่เข้าใจ ประกอบกับมีข่าวการขาดทุนของกองทุน กบข. ด้วย ก็อาจจะทำให้เกิดความตระหนกขึ้นมาอีกรอบ อย่างไรก็ตาม เราเองพยายามพูดคุยกับสมาชิกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนนี้ จะเป็นช่วงที่มีการประชุมคระกรรมการลงทุน ก็จะใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจกับสมาชิกกองทุนด้วย
**ก.ล.ต.แนะดูผลตอบแทนเทียบตัวชี้วัด**
ด้านนางจารุพรรณ อินทรรุ่ง ผู้อำนวยการ ฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ สำนักงานก.ล.ต. เอง ได้หารือร่วมกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในการเร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกของกองทุนตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาแล้ว เนื่องจากเห็นว่า มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนทั้งระบบลดลงอย่าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ใสส่วนของสมาชิกเอง หากเห็นว่ามูลค่าเงินลงทุนลดลง ต้องดูด้วยว่า เงินที่ลดลงไปนั้น ต่ำกว่าตัวเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ชี้วัดหรือไม่ ซึ่งก่อนการลงทุนนั้น จะมีการกำหนดอยู่แล้วว่า จะใช้ตัวชี้วัดเป็นตัวใด และหากลดลงไปต่ำกว่าเกณฑ์ ก็ต้องถามต่อว่า การลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ แล้วสาเหตุที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นเพราะอะไร
ในทางกลับกัน หากมูลค่าเงินลดลง แต่ยังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก็ต้องดูด้วยว่าเป็นไปตามภาวะการลงทุน เพราะต้องยอมรับว่าในปี 2551 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นทั่วโลก เพื่อนำกลับไปชดเชยส่วนที่ขาดทุนจากวิกฤตการเงินโลก ดังนั้น อาจจะไม่เรื่องฝีมือของผู้จัดการกองทุนทั่งหมด
"ตอนนี้ นายจ้างและลูกจ้างเองอาจจะกังวลว่าเงินหายไปไหน ซึ่งเรื่องนี้ คณะกรรมการกองทุนเอง ต้องคุยกับบริษัทจัดการให้เข้าใจ เพื่อชี้แจงและอธิบายให้สมาชิกทั้งหมดเข้าใจ"นางจารุพรรณกล่าว
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า การให้ข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งเรื่องการตรวจสอบเอง ต้องบอกว่า การทำงานของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เอง ค่อนข้างเข้มงวดมาก แต่ในขั้นตอนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็มีคณะกรรมการกองทุนที่มาจากนายจ้างและลูกจ้างควบคุมอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของผลการดำเนินงานที่ขาดทุนนั้น ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของแต่ละกอง เพราะหากเน้นลงทุนในตราสารหนี้ ก็จะไม่ขาดทุน แต่ถ้าลงทุนในหุ้นก็จะเป็นไปตามภาวะตลาด
**"พิชิต"หวั่นปัญหาลุกลามกระทบตลาดทุน**
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การตรวจสอบการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยทั่วไป เป็นประเด็นที่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ในแง่ของการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เพราะปัจจุบัน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเองมีคณะกรรมการการลงทุนคอยตรวจสอบอยู่แล้ว ว่าฝ่ายบริหารจัดการ มีการดำเนินการลงทุนตามกรอบและนโยบายที่ร่วมกันกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ ก.ล.ต. คอยกำกับดูแลอีกส่วนหนึ่ง ซึ่ง ก.ล.ต. เองถือเป็นเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง และมีคุณสมบัติเพียงพอในการเข้ามาดูแล และมีระบบการกำกับดูและที่ได้มาตรฐานสากลอยู่แล้ว
ดังนั้น หากจะเสนอคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบอีกขั้น ในกรณีที่ผลการดำเนินงานของกองทุนขาดทุน อาจจะต้องมีการทบทวนให้ดี มิฉะนั้นจะทำให้เรื่องลุกลามไปไกล และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโดยรวม ซึ่งจะส่งผลต่อถึงความไม่มั่นใจต่อระบบตลาดทุนโดยรวมได้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund : PVD) ในช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา ยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากการลงทุนในหุ้น โดยในเดือนดังกล่าวเงินลงทุนติดลบจากการลงทุนในหุ้นไปถึง 1,331.53 ล้านบาท นอกจากนี้ เงินลงทุนในส่วนของหุ้นกู้เอกชน ก็ติดลบไปถึง 3,381.45 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลงทุนในหุ้นกู้ของบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ จำกัด (TSFC) ในขณะเดียวกัน การลงทุนในเงินฝากเองก็ปรับลดลงด้วย โดยในเดือนมกราคม ลดลงไปประมาณ 4,451.36 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์นั่นเอง
ทั้งนี้ หากคำนวนเฉพาะผลกระทบจากการลงทุนในหุ้นทั้งหมด พบว่า ตั้งแต่เดือนกันยายน 2551 ซึ่งเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงตลาดหุ้นไทย ได้รับผลกระทบมากที่สุด ถึงเดือนมกราคม 2552 พบว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว เงินลงทุนในหุ้นของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบลดลงไปถึง 24,610.38 ล้านบาท โดยในเดือนกันยายนและตุลาคม ถือว่าลดลงมากที่สุด คิดเป็นจำนวนเงิน 8,600.66 ล้านบาทและ 11,820.19 ล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลังและตราสารหนี้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันนั้น ก็พบว่าลดลงเช่นกัน โดยตั้งแต่เดือนกันยายนถึงเดือนธันวาคมปี 2551 เงินลงทุนในส่วนของตราสารหนี้ภาครัฐทั้งหมดลดลงกว่า 14,400 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากความผันผวนของตลาดตราสารหนี้เช่นกัน ก่อนที่เงินลงทุนในส่วนดังกล่าวจะพลิกกลับขึ้นมาประมาณ 15,800 ล้านบาทในเดือนมกราคม 2552 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตาม รายงานจากสมาคมบริษัทจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พบว่า ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 ยอดการลงทุนรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 463,835.47 ล้านบาท มีการปรับตัวลดลงประมาณ 1,460.98 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2551 ที่ 465,296.44 ล้านบาท และหากย้อนกลับไปเดือนสิงหาคมซึ่งมีสินทรัพย์รวมอยู่ที่ 464,585.45 ล้านบาท พบว่า ถึงเดือนมกราคม เงินลงทุนลดลงเพียง 749.98 ล้านบาทเท่านั้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการส่งเงินสมทบเพิ่ม และมีผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์อื่นๆ
ทั้งนี้ จากการเปิดเผยข้อมูลล่าสุดจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) พบว่า ณ วันที่ 31 มกราคม 2552 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐที่มีความมั่นคงสูงประมาณ 46.1% หุ้นกู้ 21.2% เงินฝาก 13.5% หุ้นและหลักทรัพย์ประมาณ 7.2% หน่วยลงทุน 2.6%
ลูกจ้าง"กสท.-ไปรษณีย์"ร้องบริหารขาดทุน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงานบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ซึ่งจดทะเบียนแล้ว และบริหารจัดการกองทุนโดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร้องเรียนมายัง "ASTVผู้จัดการรายวัน" ว่า ผลการดำเนินงานของกองทุนซึ่งรายงานล่าสุดในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ติดลบไปถึง 40.717 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 15,068.60 ล้านบาท
จากการเปิดพอร์ตการลงทุน พบว่า เงินลงทุนดังกล่าว ขาดทุนจากการลงทุนในหุ้นถึง 38.490 ล้านบาท และขาดทุนจากการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรธนาคารแห่งประเทสไทยถึง 92.40 ล้านบาท ทำให้รวมแล้วผลขากทุนที่เกิดขึ้นมีมูลค่าถึง 130.89 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ยังได้ผลตอบแทนจากการลงทุนประเภทอื่นเข้ามาชดเชย ส่งผลให้ผลขาดทุนออกมาติดลบถึง 40.717 ล้านบาทดังกล่าว
ทั้งนี้ สมาชิกที่ร้องเรียนดังกล่าว ตั้งข้อสังเกตุว่า สำนักงาน ก.ล.ต. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล มีการเข้ามาตรวจสอบผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ขาดทุนหรือไม่ และการลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามนโยบายการลงทุนหรือไม่
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บลจ.กรุงไทย กล่าวว่า การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีการตั้งคณะกรรมการการลงทุนซึ่งเป็นตัวแทนจากสมาชิกของกองทุนอยู่แล้วทุกกอง ซึ่งคณะกรรมการลงทุนดังกล่าว จะเป็นผู้กำหนดนโยบายร่วมกับผู้จัดการกองทุน และมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว ว่าสัดส่วนการลงทุนจะเป็นเท่าไหร่ หรือเป็นไปตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งปีที่ผ่านมา การรลงทุนอาจจะมีผลขาดทุนบ้าง โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเป็นจำนวนมาก
แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ ไม่ได้เป็นประเด็นที่คล้ายคลึงกับ กบข. เนื่องจากการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีการพูดคุยกันอยู่ตลอดเวลาระหว่างสมาชิกและคณะกรรมการกองทุน ซึ่งผลขาดทุนที่เกิดขึ้นอย่างน้อย คณะกรรมการกองทุนต้องเข้าใจและรายงานให้สมาชิกทราบอยู่แล้ว ซึ่งภาพรวมของการลงทุนในปี 2551 ที่ผ่านมาเอง ก็เป็นอะไรที่ผิดปกติและไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หากลงทุนในหุ้นเกิน 10% ผลตอบแทนโดยรวมอาจออกมาติดลบได้เช่นกัน
**สมาคมบลจ.ชี้ ลงหุ้นเกิน15%ขาดทุนแน่นอน**
นางสาวอารยา ธีระโกเมน กรรมการผู้อำนวยการ บลจ. ทิสโก้ และประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) กล่าวว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ในปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนที่ได้มาก็จะไม่ขาดทุน หรืออาจจะอยู่ที่ระดับ 6-7% แต่หากกองทุนใดที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นซึ่งปีที่ผ่านมาติดลบไปกว่า 47% ในสัดส่วนตั้งแต่ 15% ขึ้นไป ผลตอบแทนที่ออกมา ก็ติดลบหากเทียบกับปีก่อน แต่ถ้าลงทุนน้อยกว่า 15% ผลตอบแทนก็จะเป็นบวกได้อยู่ ดังนั้น กองทุนที่ประสบกับผลขาดทุน จึงไม่น่าจะเกิดจากการลงทุนที่ผิดเงื่อนไข แต่เป็นเพราะการปรับลดลงของราคาหุ้นมากกว่า
ขณะเดียวกัน การลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีขั้นตอนการตรวจสอบอยู่แล้ว เพราะมีกฎหมายบังคับอยู่ว่า กองทุนสามารถลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดได้บ้าง และในขั้นตอนของการลงทุนเอง ก็มีการกำหนดกรอบการลงทุนที่แคบลงไปอีกตามโจทย์ที่นายจ้างให้มา ซึ่งในส่วนของ สำนักงาน ก.ล.ต.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลเอง ไม่ได้กำหนดกรอบว่า จะต้องลงทุนในจำนวนเท่าไหร่ โดยให้เป็นการตัดสินใจเลือกของสมาชิกเอง
"จริงๆ แล้วที่ผ่านมา ก็มีการร้องเรียนเข้ามาว่าเกิดอะไรขึ้นกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทำไมผลประกอบการถึงลดลง ซึ่งสมาชิกของเราเองก็ออกไปพบกับลูกค้าแล้วตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพื่ออธิบายให้ฟังว่าเกิดอะไรขึ้น"นางสาวอารยากล่าว
นางสาวอารยากล่าวว่า หากจะดูผลการดำเนินงานของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งระบบ จะพบว่า กองทุนที่มีพอร์ตการลงทุนในหุ้น 20% ผลตอบแทนจะออกมาติดลบประมาณ 2.6% โดยผลตอบแทนที่ติดลบสูงที่สุดอยู่ที่ 5.3% และต่ำสุด 1.17% อย่างไรก็ตาม หากมองผลตอบแทนย้อนหลังไป 7 ปี จะพบว่า กองทุนที่ลงทุนเพียงฝากเงิน ที่ไม่มีการลงทุนในหุ้นเลย จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.79% ขณะที่เงินเฟ้อสะสมอยู่ที่ 24.16% คิดเป็นอัตราเฉลี่ย 3.14% แต่หากลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุไม่เกิน 2 ปี โดยไม่มีการลงทุนในเงินฝากเลย จะให้ผลตอบแทนสะสมประมาณ 35.15% และเฉลี่ย 4.4% ต่อปี ส่วนในกรณีที่กองทุนลงทุนในหุ้น 100% ย้อนหลังไป 7 ปี ซึ่งรวมผลการดำเนินงานในปี 2551 แล้ว จะให้ผลตอบแทนสะสมอยู่ที่ 48.09% เฉลี่ยต่อปี 5.77% ซึ่งจะเห็นว่า ยังสูงกว่าเงินเฟ้ออยู่
อย่างไรก็ตาม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยทั่วไป ไม่นโยบายลงทุนในหุ้นไม่เต็ม 100 % อยู่แล้ว ถ้ากองทุนนั้นลงทุนในหุ้น 15% ที่เหลือลงทุนในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งระหว่างเงินฝากกับพันธบัตรรัฐบาล จะได้ผลตอบแทนสะสมอยู่ที่ 34.91% เฉลี่ยนต่อปีอยู่ที่ 4.37% แต่ถ้าลงทุนในหุ้น 20% ที่เหลือลงทุนในสัดส่วนครึ่งต่อครึ่งระหว่างเงินฝากกับพันธบัตรรัฐบาลเช่นกัน ผลตอบแทนสะสมจะอยู่ที่ 35.15% และผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 4.79%
"ถ้าสมาชิกกองทุนที่เกษียณในปี 2551 แสดงว่าต้องอยู่ในกองทุนมานานแล้ว และเชื่อว่าถ้ามีการลงทุนในหุ้น ผลตอบแทนเองไม่ได้เข้าเนื้อหรือขาดทุน แต่ยอมรับว่ากำไรอาจจะหายไปเยอะ แต่อยากให้มองภาพการลงทุนระยะยาวมากกว่า ซึ่งบางปีการลงทุนในหุ้นเองโตเยอะ แต่พอร์ตตัวเองกลับไม่มีการลงทุนในหุ้นเลย ก็จะทำให้พลาดโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นไป ซึ่งกองทุนในพอร์ตของบลจ.ทิสโก้ ก็ขาดทุนเช่นกัน ซึ่งเราค่อนข้างลงทุนในหุ้นเยอะ แต่เราเองก็ได้คุยกับลูกค้าให้เข้าใจแล้ว"นางสาวอารยากล่าว
ทั้งนี้ ในฐานะนักลงทุน มีความเป็นห่วงว่า สมาชิกจะมองภาพการลงทุนในตลาดทุนผิดไป หลังจากเห็นผลการดำเนินงานออกมาเป็นขาดทุนแต่เชื่อว่า รูปแบบการลงทุนแบบ Employee's choice น่าจะตอบโจทย์การลงทุนได้ดีขึ้น จากเดิมที่ 1 กองทุนก็จะมีเพียงนโยบายการลงทุนอย่างเดียวเท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาหุ้นปรับลดลงเช่นนี้ สมาชิกบางคนที่รับความเสี่ยงได้ออาจะเห็นว่า เป็นโอกาสลงทุนด้วยการซื้อของถูก อย่างไรก็ตาม รูปแบบการลงทุนแบบ Employee's choice จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความรู้แล้วความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนด้วย โดยเฉพาะความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงของตัวเองเป็นหลัก
ขณะเดียวกัน ยังเป็นห่วงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นจากความไม่เข้าใจของสมาชิก อาจจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมเช่นกัน ซึ่งการที่จำนวนสมาชิกมีค่อนข้างเยอะ การให้ข้อมูลอาจจะเข้าไม่ถึง ทำให้ไม่เข้าใจ ประกอบกับมีข่าวการขาดทุนของกองทุน กบข. ด้วย ก็อาจจะทำให้เกิดความตระหนกขึ้นมาอีกรอบ อย่างไรก็ตาม เราเองพยายามพูดคุยกับสมาชิกอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมและเมษายนนี้ จะเป็นช่วงที่มีการประชุมคระกรรมการลงทุน ก็จะใช้โอกาสนี้ทำความเข้าใจกับสมาชิกกองทุนด้วย
**ก.ล.ต.แนะดูผลตอบแทนเทียบตัวชี้วัด**
ด้านนางจารุพรรณ อินทรรุ่ง ผู้อำนวยการ ฝ่ายงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า จริงๆ แล้วเรื่องนี้ สำนักงานก.ล.ต. เอง ได้หารือร่วมกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ในการเร่งทำความเข้าใจกับสมาชิกของกองทุนตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมาแล้ว เนื่องจากเห็นว่า มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนทั้งระบบลดลงอย่าต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ใสส่วนของสมาชิกเอง หากเห็นว่ามูลค่าเงินลงทุนลดลง ต้องดูด้วยว่า เงินที่ลดลงไปนั้น ต่ำกว่าตัวเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้ชี้วัดหรือไม่ ซึ่งก่อนการลงทุนนั้น จะมีการกำหนดอยู่แล้วว่า จะใช้ตัวชี้วัดเป็นตัวใด และหากลดลงไปต่ำกว่าเกณฑ์ ก็ต้องถามต่อว่า การลงทุนดังกล่าวเป็นไปตามข้อกำหนดหรือไม่ แล้วสาเหตุที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เป็นเพราะอะไร
ในทางกลับกัน หากมูลค่าเงินลดลง แต่ยังสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก็ต้องดูด้วยว่าเป็นไปตามภาวะการลงทุน เพราะต้องยอมรับว่าในปี 2551 ที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติพากันเทขายหุ้นทั่วโลก เพื่อนำกลับไปชดเชยส่วนที่ขาดทุนจากวิกฤตการเงินโลก ดังนั้น อาจจะไม่เรื่องฝีมือของผู้จัดการกองทุนทั่งหมด
"ตอนนี้ นายจ้างและลูกจ้างเองอาจจะกังวลว่าเงินหายไปไหน ซึ่งเรื่องนี้ คณะกรรมการกองทุนเอง ต้องคุยกับบริษัทจัดการให้เข้าใจ เพื่อชี้แจงและอธิบายให้สมาชิกทั้งหมดเข้าใจ"นางจารุพรรณกล่าว
นางวรวรรณ ธาราภูมิ กรรมการผู้จัดการ บลจ.บัวหลวง ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า การให้ข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ซึ่งเรื่องการตรวจสอบเอง ต้องบอกว่า การทำงานของคณะกรรมการ ก.ล.ต. เอง ค่อนข้างเข้มงวดมาก แต่ในขั้นตอนการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็มีคณะกรรมการกองทุนที่มาจากนายจ้างและลูกจ้างควบคุมอยู่แล้ว ส่วนเรื่องของผลการดำเนินงานที่ขาดทุนนั้น ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนของแต่ละกอง เพราะหากเน้นลงทุนในตราสารหนี้ ก็จะไม่ขาดทุน แต่ถ้าลงทุนในหุ้นก็จะเป็นไปตามภาวะตลาด
**"พิชิต"หวั่นปัญหาลุกลามกระทบตลาดทุน**
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การตรวจสอบการลงทุนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพโดยทั่วไป เป็นประเด็นที่ต้องทำด้วยความระมัดระวัง ในแง่ของการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ เพราะปัจจุบัน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเองมีคณะกรรมการการลงทุนคอยตรวจสอบอยู่แล้ว ว่าฝ่ายบริหารจัดการ มีการดำเนินการลงทุนตามกรอบและนโยบายที่ร่วมกันกำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการ ก.ล.ต. คอยกำกับดูแลอีกส่วนหนึ่ง ซึ่ง ก.ล.ต. เองถือเป็นเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นกลาง และมีคุณสมบัติเพียงพอในการเข้ามาดูแล และมีระบบการกำกับดูและที่ได้มาตรฐานสากลอยู่แล้ว
ดังนั้น หากจะเสนอคณะกรรมการเข้ามาตรวจสอบอีกขั้น ในกรณีที่ผลการดำเนินงานของกองทุนขาดทุน อาจจะต้องมีการทบทวนให้ดี มิฉะนั้นจะทำให้เรื่องลุกลามไปไกล และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโดยรวม ซึ่งจะส่งผลต่อถึงความไม่มั่นใจต่อระบบตลาดทุนโดยรวมได้ด้วย