ASTVผู้จัดการรายวัน-วิกฤตเศรษฐกิจพ่นพิษซัดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอ่วม สมาคมบลจ.เผยลูกจ้าง 2.3 หมื่นรายได้รับผลกระทบ หลังนายจ้างจ่อคิวขอยุบกองทุนเพื่อความอยู่รอดช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวกว่า 150 บริษัท นายกสมาคมบลจ. เตรียมชงกระทรวงการคลัง งดจ่ายเงินสมทบ 1 ปี หวังลดภาระบริษัทต่อชีวิตให้กองทุน หลังยอดเดือนมกราคมขนาดทั้งอุตสาหกรรมทรุดกว่า 1.4 พันล้านบาท ด้าน"ก.ล.ต."ยันพร้อมช่วยเหลือตามหน้าที่ แต่ต้องรอพ.ร.บ.ใหม่เท่านั้น เหตุฉบับเก่าปิดช่องงดจ่ายเงินสมทบชั่วคราว
นางสาวอารยา ธีระโกเมน ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า หลังจากวิกฤตการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาส่งผลลุกลามต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทต่างๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ นายจ้างหลายรายต้องลดกำลังการผลิต แต่ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนในระดับสูง และต้องหาทางลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอด ทำให้นายจ้างส่วนหนึ่งได้พยายามลดต้นทุนโดยการลดอัตราการนำส่งเงินสมทบในส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นอกจากนี้ บางส่วนที่ได้แจ้งลดอัตราการนำส่งเงินสมทบจนถึงอัตราต่ำสุดแล้ว แต่ยังมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถรักษาสถานะของบริษัทไว้ได้ก็มีการแสดงความประสงค์ที่จะยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นเช่นกัน
นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า จากการรวบรวมข้อมูลนายจ้างที่ได้แจ้งความประสงค์มายังบริษัทจัดการฯ พบว่า ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 มีจำนวนนายจ้างที่ประสงค์จะขอหยุดนำส่งเงินเป็นการชั่วคราว และยกเลิกกองทุนสูงถึงกว่า 150 บริษัท โดยแยกเป็นหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจผลิตและขายส่ง ผลิตและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ขนส่ง ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจำนวน 23,256 คน คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,462 ล้านบาท
ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็นบริษัทที่ยกเลิกกองทุนไปแล้วจำนวน 20 บริษัท ซึ่งขนาดกองทุนรวม 58,699,185.82 บาท และมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบรวม 1,351 ราย ส่วนบริษัทที่อยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้นว่าจะยกเลิกกองทุนมีอยู่ทั้งสิ้น 17 บริษัท มีสมาชิก 2,639 ราย รวมเป็นขนาดกองทุนประมาณ 274,364,086.67 บาท
ขณะที่บริษัทที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้นว่าจะขอหยุดนำส่งเงินเข้ากองทุนมีทั้งสิ้น 69 บริษัท ซึ่งมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 7,965 ราย และมีขนาดกองทุรวม 989,884,642.02 บาท และบริษัทที่ลดอัตราเงินนำเข้ากองทุน 13 บริษัท โดยมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจำนวน 11,062 ราย และมีขนาดกองทุนประมาณ 2,116,486,395.31 บาท
โดยส่วนที่เหลือจะเป็นบริษัทที่ปิดกิจการ และบริษัทที่ตั้งกองทุนแล้วแต่ยังไม่จ่ายเงินเข้ากองทุนรวม 13 บริษัท คิดเป็นขนาดกองทุนรวมประมาณ 22,240,150.80 บาท และมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 239 ราย
นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าว สมาคมจึงได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)ในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำเสนอต่อกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติให้นายจ้างที่ประสบปัญหาด้านการเงินหยุดนำส่งเงินเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต.จะได้นำเสนอไปยังกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
“ปัญหาดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมาชิกกองทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนดังกล่าวเป็นเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้ออมในวัยชรา ลดปัญหาการพึ่งพิงผู้อื่น และแบ่งเบาภาระของรัฐบาล การที่นายจ้างไม่สามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนจนถึงขั้นต้องยกเลิกกองทุนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกกองทุน อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีของเงินออมที่ควรได้รับเมื่อเกษียณอายุก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน”นางสาวอารยากล่าว
ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เรื่องของการหยุดนำส่งเงินชั่วคราวของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ตนเองทราบเรื่องและมีการพูดคุยกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ซึ่งเบื้องต้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ตามหน้าที่นายทะเบียนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากนายจ้าง หรือลูกจ้างประสบปัญหา ก.ล.ต.จะเป็นผู้รวบรวมเรื่องทั้งหมดเพื่อนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาว่าจะมีมติให้แก้ไขอย่างไรต่อไป โดยก.ล.ต.จะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
"ตอนนี้ยังไม่มีหนังสือมาถึงเรา แต่มีการพูดคุยกันมาบ้างแล้ว โดยในทางปฏิบัติตามกระบวนการ หน้าที่ของก.ล.ต.คือนายทะเบียน ซึ่งหากใครเดือดร้อนเราจะรับฟังและไม่ปิดกั้น ซึ่งหลังจากนี้หากมีหนังสือเข้ามาเราจะต้องนำเสนอต่อทางกระทรวงการครั้งตามขั้นตอน และเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นานนัก โดยก.ล.ต.มีความยินดีที่จะเข้าพบกระทรวงการคลังพร้อมกับทางสมาคมฯ หากต้องการความช่วยเหลือหรือมีปัญหาอะไรอยู่แล้ว"นายประเวชกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการหยุดนำส่งเงินชั่วคราวนั้น พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันมิได้มีการเปิดช่องเอาไว้ ทำให้ต้องส่งเรื่องไปถึงกระทรวงการคลังก่อนว่าจะมีการพิจารณาอย่างไร ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์เรื่องเวลาได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย
สำหรับการพูดคุยกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ผ่านมา การช่วยเหลือผู้ประกอบการ และลูกจ้างยังไม่มีข้อสรุปอะไร และมีเพียงประเด็นที่จะให้ความช่วยเหลือเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือการ หยุดนำส่งเงินสบทบเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราว ส่วนเรื่องอื่นนั้นยังไม่ความคืบหน้า แต่ตามหน้าที่แล้วหากมีการยืนเรื่องมาทางก.ล.ต.ก็ยินดีจะรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น
ยอดโพวิเด้นท์เดือนม.ค.ทรุด1.4พันล้าน
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 เดือนมกราคม 2552 ยอดการลงทุนรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงประมาณ 1,460.98 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2551 ที่ 465,296.44 ล้านบาท มาอยู่ที่ 463,835.47 ล้านบาท
สำหรับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ที่มีขนาดสินทรัพย์รวมของกองทุนสำรองเลี้ยง 5 อันดับประกอบด้วย อันดับ 1.บลจ.กสิกรไทย มีขนาดกองทุน 64,092.45 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 328,850 ราย อันดับ 2.บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 59,114.73 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 91,507 ราย อันดับ 3. บลจ.ไทยพาณิชย์ มีขนาดกองทุน 58,775.09 ล้านบาทและมีสมาชิกรวม 185,928 ราย
ส่วน 2 อันดับสุดท้ายได้แก่ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 58,198.47 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 175,184 ราย และบลจ.ทิสโก้ จำกัด มีขนาดกองทุน 57,286.21 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 355,687 ราย
นางสาวอารยา ธีระโกเมน ประธานกลุ่มธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า หลังจากวิกฤตการเงินของประเทศสหรัฐอเมริกาส่งผลลุกลามต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนั้น ปัจจุบันยังส่งผลกระทบต่อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทต่างๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ นายจ้างหลายรายต้องลดกำลังการผลิต แต่ยังต้องแบกรับภาระต้นทุนในระดับสูง และต้องหาทางลดต้นทุนเพื่อความอยู่รอด ทำให้นายจ้างส่วนหนึ่งได้พยายามลดต้นทุนโดยการลดอัตราการนำส่งเงินสมทบในส่วนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
นอกจากนี้ บางส่วนที่ได้แจ้งลดอัตราการนำส่งเงินสมทบจนถึงอัตราต่ำสุดแล้ว แต่ยังมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถรักษาสถานะของบริษัทไว้ได้ก็มีการแสดงความประสงค์ที่จะยกเลิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพิ่มขึ้นเช่นกัน
นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า จากการรวบรวมข้อมูลนายจ้างที่ได้แจ้งความประสงค์มายังบริษัทจัดการฯ พบว่า ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 มีจำนวนนายจ้างที่ประสงค์จะขอหยุดนำส่งเงินเป็นการชั่วคราว และยกเลิกกองทุนสูงถึงกว่า 150 บริษัท โดยแยกเป็นหลายกลุ่มธุรกิจ ทั้งธุรกิจผลิตและขายส่ง ผลิตและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ขนส่ง ค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ โดยมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจำนวน 23,256 คน คิดเป็นมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,462 ล้านบาท
ทั้งนี้ สามารถแบ่งเป็นบริษัทที่ยกเลิกกองทุนไปแล้วจำนวน 20 บริษัท ซึ่งขนาดกองทุนรวม 58,699,185.82 บาท และมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบรวม 1,351 ราย ส่วนบริษัทที่อยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้นว่าจะยกเลิกกองทุนมีอยู่ทั้งสิ้น 17 บริษัท มีสมาชิก 2,639 ราย รวมเป็นขนาดกองทุนประมาณ 274,364,086.67 บาท
ขณะที่บริษัทที่กำลังอยู่ในระหว่างการหารือเบื้องต้นว่าจะขอหยุดนำส่งเงินเข้ากองทุนมีทั้งสิ้น 69 บริษัท ซึ่งมีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 7,965 ราย และมีขนาดกองทุรวม 989,884,642.02 บาท และบริษัทที่ลดอัตราเงินนำเข้ากองทุน 13 บริษัท โดยมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบจำนวน 11,062 ราย และมีขนาดกองทุนประมาณ 2,116,486,395.31 บาท
โดยส่วนที่เหลือจะเป็นบริษัทที่ปิดกิจการ และบริษัทที่ตั้งกองทุนแล้วแต่ยังไม่จ่ายเงินเข้ากองทุนรวม 13 บริษัท คิดเป็นขนาดกองทุนรวมประมาณ 22,240,150.80 บาท และมีสมาชิกที่ได้รับผลกระทบ 239 ราย
นางสาวอารยา กล่าวอีกว่า เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้างที่ประสบปัญหาดังกล่าว สมาคมจึงได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)ในฐานะผู้กำกับดูแลธุรกิจกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ นำเสนอต่อกระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติให้นายจ้างที่ประสบปัญหาด้านการเงินหยุดนำส่งเงินเป็นการชั่วคราวได้เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งสำนักงาน ก.ล.ต.จะได้นำเสนอไปยังกระทรวงการคลังพิจารณาต่อไป
“ปัญหาดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อสมาชิกกองทุนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงินทุนดังกล่าวเป็นเงินออมเพื่อการเกษียณอายุ ซึ่งจะเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของผู้ออมในวัยชรา ลดปัญหาการพึ่งพิงผู้อื่น และแบ่งเบาภาระของรัฐบาล การที่นายจ้างไม่สามารถนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนจนถึงขั้นต้องยกเลิกกองทุนจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเงินออมเพื่อการเกษียณอายุของสมาชิกกองทุน อีกทั้งสิทธิประโยชน์ทางภาษีของเงินออมที่ควรได้รับเมื่อเกษียณอายุก็จะหมดไปด้วยเช่นกัน”นางสาวอารยากล่าว
ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เรื่องของการหยุดนำส่งเงินชั่วคราวของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้น ตนเองทราบเรื่องและมีการพูดคุยกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ซึ่งเบื้องต้นคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ตามหน้าที่นายทะเบียนของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หากนายจ้าง หรือลูกจ้างประสบปัญหา ก.ล.ต.จะเป็นผู้รวบรวมเรื่องทั้งหมดเพื่อนำเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาว่าจะมีมติให้แก้ไขอย่างไรต่อไป โดยก.ล.ต.จะไม่มีอำนาจในการตัดสินใจได้ด้วยตนเอง
"ตอนนี้ยังไม่มีหนังสือมาถึงเรา แต่มีการพูดคุยกันมาบ้างแล้ว โดยในทางปฏิบัติตามกระบวนการ หน้าที่ของก.ล.ต.คือนายทะเบียน ซึ่งหากใครเดือดร้อนเราจะรับฟังและไม่ปิดกั้น ซึ่งหลังจากนี้หากมีหนังสือเข้ามาเราจะต้องนำเสนอต่อทางกระทรวงการครั้งตามขั้นตอน และเชื่อว่าคงใช้เวลาไม่นานนัก โดยก.ล.ต.มีความยินดีที่จะเข้าพบกระทรวงการคลังพร้อมกับทางสมาคมฯ หากต้องการความช่วยเหลือหรือมีปัญหาอะไรอยู่แล้ว"นายประเวชกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการหยุดนำส่งเงินชั่วคราวนั้น พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบันมิได้มีการเปิดช่องเอาไว้ ทำให้ต้องส่งเรื่องไปถึงกระทรวงการคลังก่อนว่าจะมีการพิจารณาอย่างไร ซึ่งยังไม่สามารถคาดการณ์เรื่องเวลาได้ เนื่องจากเป็นข้อจำกัดทางด้านกฎหมาย
สำหรับการพูดคุยกับสมาคมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ผ่านมา การช่วยเหลือผู้ประกอบการ และลูกจ้างยังไม่มีข้อสรุปอะไร และมีเพียงประเด็นที่จะให้ความช่วยเหลือเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นคือการ หยุดนำส่งเงินสบทบเข้ากองทุนเป็นการชั่วคราว ส่วนเรื่องอื่นนั้นยังไม่ความคืบหน้า แต่ตามหน้าที่แล้วหากมีการยืนเรื่องมาทางก.ล.ต.ก็ยินดีจะรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น
ยอดโพวิเด้นท์เดือนม.ค.ทรุด1.4พันล้าน
รายงานจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 เดือนมกราคม 2552 ยอดการลงทุนรวมของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งอุตสาหกรรมมีการปรับตัวลดลงประมาณ 1,460.98 ล้านบาท จากเดือนธันวาคม 2551 ที่ 465,296.44 ล้านบาท มาอยู่ที่ 463,835.47 ล้านบาท
สำหรับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ที่มีขนาดสินทรัพย์รวมของกองทุนสำรองเลี้ยง 5 อันดับประกอบด้วย อันดับ 1.บลจ.กสิกรไทย มีขนาดกองทุน 64,092.45 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 328,850 ราย อันดับ 2.บลจ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 59,114.73 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 91,507 ราย อันดับ 3. บลจ.ไทยพาณิชย์ มีขนาดกองทุน 58,775.09 ล้านบาทและมีสมาชิกรวม 185,928 ราย
ส่วน 2 อันดับสุดท้ายได้แก่ บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) มีขนาดกองทุน 58,198.47 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 175,184 ราย และบลจ.ทิสโก้ จำกัด มีขนาดกองทุน 57,286.21 ล้านบาท และมีสมาชิกจำนวน 355,687 ราย