หลังจากวุฒิสภามีความขัดแย้งกันอย่างหนักของบรรดาสมาชิก ที่แตกแยกทางความคิด จากกรณีการประชุม 4 ฝ่าย เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่จะนำไปสู่การตั้งส.ส.ร.3 จนมีการแบ่งกลุ่ม แบ่งก๊ก ออกมาให้สัมภาษณ์โต้ตอบกันถึงเรื่องการวางตัวไม่เป็นกลาง เข้าไปรับใช้พรรคการเมือง
วานนี้ (29 ต.ค.) จึงได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานวุฒิสภา (วิปวุฒิ) โดยหลังการประชุม นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ได้บทสรุปว่า ทุกๆฝ่ายเข้าใจกันดีแล้ว และเห็นชอบร่วมกันว่า จะไม่นำปัญหาเรื่องการประชุม 4 ฝ่าย เข้าไปพูดในที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 31 ต.ค. นี้
นายประสพสุข กล่าวว่า ตนได้เล่าเหตุการณ์ และเหตุผลที่ต้องถอนตัวออกมาจากการประชุม 4 ฝ่าย ซึ่งที่ประชุมก็เข้าใจ ซึ่งปัญหาความไม่เข้าใจกันก่อนหน้านี้ เป็นเพราะต่างคนต่างไม่ได้ฟังเหตุผลของอีกฝ่าย ตนจึงยืนยันในที่ประชุมว่าเป็นผู้มอบหมายให้นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เข้าไปร่วมประชุมแทน
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีการหารือถึงจุดยืนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะต้องรอให้ทางสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้เสร็จก่อน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องมา วุฒิสภาจึงจะหารือกัน
เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีจะเข้าประชุม 4 ฝ่ายเพื่อความสมานฉันท์ ซึ่งประกอบด้วย รัฐบาล ฝ่ายค้าน นปช. และกลุ่มพันธมิตรฯ ตามข้อเสนอของ วงสานเสวนาเพื่อยุติความรุนแรง ทางวุฒิสภาจะร่วมประชุมด้วยหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า เป็นเรื่องของ 4 ฝ่ายดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับวุฒิสภาแล้ว
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ทุกอย่างจบแล้ว เข้าใจกันหมดแล้ว ส่วนใครจะตรวจสอบการทำหน้าที่ของตน ก็เป็นเอกสิทธิ์ที่สามารถทำได้ ไม่มีปัญหา เมื่อถามว่าได้มีข้อเสนอและอะไรให้ประธานวุฒิสภาบ้างหรือไม่ นายนิคม กล่าวว่า คงดีขึ้นหลังเกิดกลุ่ม 24 ตุลา ที่มี 64 ส.ว. ออกมาแสดงจุดยืน ทำให้ท่านชั่งใจมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงจะต่างคนต่างความคิด แต่จะทำอย่างไรให้ทำงานร่วมกันได้ต่อไป ทั้งนี้ในเดือน ม.ค.52 จะมีการจัดสัมมนาที่ต่างจังหวัด ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างดูสถานที่ นอกจากนี้ที่ประชุมวิปวุฒิ ได้มีมติทำหนังสือทักท้วงไปยังประธานวิปรัฐบาล เพื่อขอร้องในลักษณะขอความร่วมมือให้แจ้งแก่ ส.ส.ทุกคนช่วยรักษากฎ กติกา และมารยาทในการประชุมรัฐสภาด้วย หลังจากมีส.ส.บางคนกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพกับน.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมา และขอร้องว่า อย่าให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นมาอีก เพราะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของรัฐสภา เพราะต่างฝ่ายต่างมีศักดิ์ศรี ทั้ง ส.ว.และส.ส. ต้องเคารพเกียรติซึ่งกันและกัน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม40 ส.ว. กล่าวว่าบรรยากาศการประชุมครั้งนี้เป็นไปด้วยดี นอกจากประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา แล้วยังมีกลุ่ม 40 ส.ว. กลุ่ม 24 ตุลาฯ และกลุ่มอึดอัดใจ มาร่วมประชุมด้วยอย่างพร้อมหน้า ตนเชื่อว่าหลังการพูดคุยกันแล้ว ทุกคนจะมีความเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ได้ยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนต่อไป และส.ว.ทุกคนก็มีความเข้าใจในการทำหน้าที่ของท่านแล้ว
ทั้งนี้ประธานวุฒิสภาได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่า จะเป็นประธานของส.ว.ทั้งหมด และบทบาทที่ผ่านมาไม่ได้มีแรงกดดันจากกลุ่ม 40 ส.ว. แต่ท่านตัดสินใจถอนตัวจากการประชุม 4 ฝ่ายเพราะเกดิเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ซึ่งทางกลุ่ม 40 ส.ว.ได้ยืนยันว่า การแสดงความคิดเห็นที่ผ่านมา รวมถึงการทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภา กรณีขอให้พิจารณาเรื่องการหารือ 4 ฝ่ายนั้น ทำโดยสุภาพ
นายไพบูลย์กล่าวด้วยว่า สำหรับการทำหน้าที่ของกลุ่ม 40 ส.ว. ในฐานะฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล จะทำต่อไปอย่างเข้มแข็ง ซึ่งการตรวจสอบกรณี 7 ต.ค. จะสรุปผลได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งยืนยันว่า พบผู้กระทำผิดแน่นอนโดยรัฐบาลนั้นผิดแน่ ส่วนตัวบุคคลก็มีส่วนกระทำผิดด้วย และต้องถูกดำเนินคดีอาญา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศการประชุมในช่วงต้นเป็นไปอย่างชื่นมื่น เมื่อนายประสพสุข ชี้แจงว่าเป็นผู้ลงนามมอบหมายให้นายนิคม เข้าไปเป็นคณะทำงานดำเนินกายกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และนับตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. หลังนายนิคม เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมแล้วจะไม่มีตัวแทนจากวุฒิสภาเข้าร่วมอีก ต่อไปนี้ขอให้ทุกคนจับมือกันทำงานต่อไป
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการประชุมเริ่มตึงเครียดขึ้น เมื่อนายไพบูลย์ นิติตะวัน ได้สอบถามถึงการที่วิปวุฒิสภาไปร่วมประชุมกับวิปรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้วุฒิสภาถูกมองว่า ยังเข้าไปร่วมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ทำให้นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ชี้แจงว่า วันดังกล่าว ตนได้รับมอบหมายจากนายนิคม ให้ไปเป็นตัวแทนเพื่อหารือเกี่ยวกับการประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 28 ต.ค. เพื่อเสนอความเห็นให้มีการเลื่อนการประชุมเกี่ยวกับกรอบการเจรจาร่วมไทย-กัมพูชา ที่ถูกวาระการพิจารณาญัตติเสนอแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับ คปพร. แทรก เพื่อขอเลื่อนออกไป
ขณะที่นางจิราวรรณ จงสุทธนามณี วัฒนศิริธร ส.ว.เชียงราย ได้ชี้แจงด้วยน้ำตาคลอเบ้า ว่า "ไม่อยากให้มองว่าส.ว.อีกส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่ม 40 ส.ว. เป็นพวกของรัฐบาล เพราะที่ผ่านมา ได้แสดงจุดยืนชัดเจนในหลายเรื่องว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล"
ส่วนนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม 40 ส.ว.มาตลอด แต่ช่วงหลัง ความเห็นในบางเรื่องแตกต่างกัน จึงขอแสดงจุดยืนว่า ไม่ขอร่วมอยู่กับฝ่ายไหน
อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของการประชุม บรรยากาศยิ่งตึงเครียดมากขึ้น เมื่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ได้กล่าวว่า ต่อไปตนจะขอเสนอนับองค์ประชุมทุกๆ 15 นาที แต่ถูกคัดค้านจากที่ประชุมว่าไม่น่าเหมาะสม จะทำให้การทำงานของวุฒิสภาเกิดปัญหาได้ ทำให้นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ไกล่เกลี่ยว่า ถ้าอย่างนั้นขอให้การประชุมสัปดาห์นี้ อย่าเพิ่งมีการนับองค์ประชุมแบบนั้น ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันกับข้อเสนอของนายคำนูณ
**รัฐบาลคุยมีส.ว.หนุนแก้ม.291เพียบ
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ร่าง ส.ส.ร.3 ในส่วนของที่มาของสมาชิก 76 จังหวัด ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง 5 ปีว่า ตนได้ไปชี้แจงกับวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภาในเรื่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงได้มอบหมายให้แต่ละพรรคการเมืองไปพิจารณา และให้แต่ละพรรคไปรวบรวมรายชื่อ ส.ส. และส.ว. ทั้งนี้ในส่วนของ ส.ว. ทราบว่า รวบรวมได้ประมาณ 50-60 คน แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นแกนนำในการล่ารายชื่อ ส่วนจะมีการแก้ใน มาตรา 291 หรือไม่ หากไม่ได้รับการเห็นชอบก็คงต้องใช้ร่างเดิม แต่ไม่ได้เร่งรัดในกรอบระยะเวลาว่าจะใช้กรอบเวลาเท่าใด เชื่อว่าจะทันในประชุมสมัยนิติบัญญัตินี้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความแตกแยกของส.ว.ในขณะนี้ มาจากการรวบรวมรายชื่อ เพื่อการแก้รัฐธรรมนูญ ม. 291 นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมชาติของ ส.ว. เพราะ ส.ว.มีที่มาแตกต่างกัน เป็นเหมือนน้ำ กับน้ำมัน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่ตนคาดการณ์ไว้แต่แรกแล้ว
วานนี้ (29 ต.ค.) จึงได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานวุฒิสภา (วิปวุฒิ) โดยหลังการประชุม นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ ได้บทสรุปว่า ทุกๆฝ่ายเข้าใจกันดีแล้ว และเห็นชอบร่วมกันว่า จะไม่นำปัญหาเรื่องการประชุม 4 ฝ่าย เข้าไปพูดในที่ประชุมวุฒิสภา ในวันที่ 31 ต.ค. นี้
นายประสพสุข กล่าวว่า ตนได้เล่าเหตุการณ์ และเหตุผลที่ต้องถอนตัวออกมาจากการประชุม 4 ฝ่าย ซึ่งที่ประชุมก็เข้าใจ ซึ่งปัญหาความไม่เข้าใจกันก่อนหน้านี้ เป็นเพราะต่างคนต่างไม่ได้ฟังเหตุผลของอีกฝ่าย ตนจึงยืนยันในที่ประชุมว่าเป็นผู้มอบหมายให้นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา เข้าไปร่วมประชุมแทน
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ไม่ได้มีการหารือถึงจุดยืนเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ เพราะต้องรอให้ทางสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้เสร็จก่อน ถ้าสภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องมา วุฒิสภาจึงจะหารือกัน
เมื่อถามว่าพรรคประชาธิปัตย์ มีท่าทีจะเข้าประชุม 4 ฝ่ายเพื่อความสมานฉันท์ ซึ่งประกอบด้วย รัฐบาล ฝ่ายค้าน นปช. และกลุ่มพันธมิตรฯ ตามข้อเสนอของ วงสานเสวนาเพื่อยุติความรุนแรง ทางวุฒิสภาจะร่วมประชุมด้วยหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า เป็นเรื่องของ 4 ฝ่ายดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับวุฒิสภาแล้ว
ด้านนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา กล่าวว่า ทุกอย่างจบแล้ว เข้าใจกันหมดแล้ว ส่วนใครจะตรวจสอบการทำหน้าที่ของตน ก็เป็นเอกสิทธิ์ที่สามารถทำได้ ไม่มีปัญหา เมื่อถามว่าได้มีข้อเสนอและอะไรให้ประธานวุฒิสภาบ้างหรือไม่ นายนิคม กล่าวว่า คงดีขึ้นหลังเกิดกลุ่ม 24 ตุลา ที่มี 64 ส.ว. ออกมาแสดงจุดยืน ทำให้ท่านชั่งใจมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ถึงจะต่างคนต่างความคิด แต่จะทำอย่างไรให้ทำงานร่วมกันได้ต่อไป ทั้งนี้ในเดือน ม.ค.52 จะมีการจัดสัมมนาที่ต่างจังหวัด ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างดูสถานที่ นอกจากนี้ที่ประชุมวิปวุฒิ ได้มีมติทำหนังสือทักท้วงไปยังประธานวิปรัฐบาล เพื่อขอร้องในลักษณะขอความร่วมมือให้แจ้งแก่ ส.ส.ทุกคนช่วยรักษากฎ กติกา และมารยาทในการประชุมรัฐสภาด้วย หลังจากมีส.ส.บางคนกล่าวถ้อยคำไม่สุภาพกับน.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เมื่อวันที่ 28 ต.ค. ที่ผ่านมา และขอร้องว่า อย่าให้เกิดกรณีเช่นนี้ขึ้นมาอีก เพราะเป็นภาพลักษณ์ที่ไม่ดีของรัฐสภา เพราะต่างฝ่ายต่างมีศักดิ์ศรี ทั้ง ส.ว.และส.ส. ต้องเคารพเกียรติซึ่งกันและกัน
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม40 ส.ว. กล่าวว่าบรรยากาศการประชุมครั้งนี้เป็นไปด้วยดี นอกจากประธานวุฒิสภา รองประธานวุฒิสภา แล้วยังมีกลุ่ม 40 ส.ว. กลุ่ม 24 ตุลาฯ และกลุ่มอึดอัดใจ มาร่วมประชุมด้วยอย่างพร้อมหน้า ตนเชื่อว่าหลังการพูดคุยกันแล้ว ทุกคนจะมีความเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งประธานวุฒิสภา และรองประธานวุฒิสภา ได้ยืนยันว่าจะปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละคนต่อไป และส.ว.ทุกคนก็มีความเข้าใจในการทำหน้าที่ของท่านแล้ว
ทั้งนี้ประธานวุฒิสภาได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่า จะเป็นประธานของส.ว.ทั้งหมด และบทบาทที่ผ่านมาไม่ได้มีแรงกดดันจากกลุ่ม 40 ส.ว. แต่ท่านตัดสินใจถอนตัวจากการประชุม 4 ฝ่ายเพราะเกดิเหตุการณ์วันที่ 7 ต.ค. ซึ่งทางกลุ่ม 40 ส.ว.ได้ยืนยันว่า การแสดงความคิดเห็นที่ผ่านมา รวมถึงการทำหนังสือถึงประธานวุฒิสภา กรณีขอให้พิจารณาเรื่องการหารือ 4 ฝ่ายนั้น ทำโดยสุภาพ
นายไพบูลย์กล่าวด้วยว่า สำหรับการทำหน้าที่ของกลุ่ม 40 ส.ว. ในฐานะฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล จะทำต่อไปอย่างเข้มแข็ง ซึ่งการตรวจสอบกรณี 7 ต.ค. จะสรุปผลได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งยืนยันว่า พบผู้กระทำผิดแน่นอนโดยรัฐบาลนั้นผิดแน่ ส่วนตัวบุคคลก็มีส่วนกระทำผิดด้วย และต้องถูกดำเนินคดีอาญา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบรรยากาศการประชุมในช่วงต้นเป็นไปอย่างชื่นมื่น เมื่อนายประสพสุข ชี้แจงว่าเป็นผู้ลงนามมอบหมายให้นายนิคม เข้าไปเป็นคณะทำงานดำเนินกายกร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และนับตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. หลังนายนิคม เข้าชี้แจงต่อที่ประชุมแล้วจะไม่มีตัวแทนจากวุฒิสภาเข้าร่วมอีก ต่อไปนี้ขอให้ทุกคนจับมือกันทำงานต่อไป
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศการประชุมเริ่มตึงเครียดขึ้น เมื่อนายไพบูลย์ นิติตะวัน ได้สอบถามถึงการที่วิปวุฒิสภาไปร่วมประชุมกับวิปรัฐบาล เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้วุฒิสภาถูกมองว่า ยังเข้าไปร่วมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ทำให้นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ชี้แจงว่า วันดังกล่าว ตนได้รับมอบหมายจากนายนิคม ให้ไปเป็นตัวแทนเพื่อหารือเกี่ยวกับการประชุมร่วมรัฐสภา ในวันที่ 28 ต.ค. เพื่อเสนอความเห็นให้มีการเลื่อนการประชุมเกี่ยวกับกรอบการเจรจาร่วมไทย-กัมพูชา ที่ถูกวาระการพิจารณาญัตติเสนอแก้รัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับ คปพร. แทรก เพื่อขอเลื่อนออกไป
ขณะที่นางจิราวรรณ จงสุทธนามณี วัฒนศิริธร ส.ว.เชียงราย ได้ชี้แจงด้วยน้ำตาคลอเบ้า ว่า "ไม่อยากให้มองว่าส.ว.อีกส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่ม 40 ส.ว. เป็นพวกของรัฐบาล เพราะที่ผ่านมา ได้แสดงจุดยืนชัดเจนในหลายเรื่องว่าไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล"
ส่วนนางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาก็ร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่ม 40 ส.ว.มาตลอด แต่ช่วงหลัง ความเห็นในบางเรื่องแตกต่างกัน จึงขอแสดงจุดยืนว่า ไม่ขอร่วมอยู่กับฝ่ายไหน
อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายของการประชุม บรรยากาศยิ่งตึงเครียดมากขึ้น เมื่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ได้กล่าวว่า ต่อไปตนจะขอเสนอนับองค์ประชุมทุกๆ 15 นาที แต่ถูกคัดค้านจากที่ประชุมว่าไม่น่าเหมาะสม จะทำให้การทำงานของวุฒิสภาเกิดปัญหาได้ ทำให้นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ไกล่เกลี่ยว่า ถ้าอย่างนั้นขอให้การประชุมสัปดาห์นี้ อย่าเพิ่งมีการนับองค์ประชุมแบบนั้น ซึ่งทุกคนเห็นพ้องต้องกันกับข้อเสนอของนายคำนูณ
**รัฐบาลคุยมีส.ว.หนุนแก้ม.291เพียบ
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี ร่าง ส.ส.ร.3 ในส่วนของที่มาของสมาชิก 76 จังหวัด ที่เป็นสมาชิกพรรคการเมือง 5 ปีว่า ตนได้ไปชี้แจงกับวิปรัฐบาลและวิปวุฒิสภาในเรื่องดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงได้มอบหมายให้แต่ละพรรคการเมืองไปพิจารณา และให้แต่ละพรรคไปรวบรวมรายชื่อ ส.ส. และส.ว. ทั้งนี้ในส่วนของ ส.ว. ทราบว่า รวบรวมได้ประมาณ 50-60 คน แต่ไม่ทราบว่าใครเป็นแกนนำในการล่ารายชื่อ ส่วนจะมีการแก้ใน มาตรา 291 หรือไม่ หากไม่ได้รับการเห็นชอบก็คงต้องใช้ร่างเดิม แต่ไม่ได้เร่งรัดในกรอบระยะเวลาว่าจะใช้กรอบเวลาเท่าใด เชื่อว่าจะทันในประชุมสมัยนิติบัญญัตินี้แน่นอน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความแตกแยกของส.ว.ในขณะนี้ มาจากการรวบรวมรายชื่อ เพื่อการแก้รัฐธรรมนูญ ม. 291 นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมชาติของ ส.ว. เพราะ ส.ว.มีที่มาแตกต่างกัน เป็นเหมือนน้ำ กับน้ำมัน สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นไปตามที่ตนคาดการณ์ไว้แต่แรกแล้ว