น.ส.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่าภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2552 มีโอกาสที่จะขยายตัวได้ 3.8-5.0% ตามที่ธปท.ประเมินไว้ แต่หากภาครัฐไม่มีมาตรการหรือนโยบายเศรษฐกิจออกมาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ก็อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่า 3.8% ถือว่าอยู่ในกรอบต่ำที่ ธปท.ประเมินไว้และอาจจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในอนาคตได้
“ถ้าปัญหาเศรษฐกิจซบจะส่งผลต่อการจ้างงาน โดยเฉพาะภาคการส่างออกชะลอ ส่วนจะมีผลกระทบมายังความเชื่อมั่นอีกไม่ก็ต้องติดตามดูอยู่ แม้ขณะนี้ตัวเลขต่างๆ ที่สะท้อนเรื่องนี้ยังไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับทรงๆ ตัว เพราะขณะนี้ไม่ใช่ฤดูกาลที่นักศึกษาใหม่จบการศึกษาออกมาสู่ระบบจำนวนมาก แต่ก็ต้องติดตามดูต่อไป จึงจำเป็นที่ภาครัฐต้องมีกิจกรรมในประเทศออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ” น.ส.ดวงมณีกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดว่า ในไตรมาส 1/52 ภาคอุตสาหกรรมจะมีการลดกำลังผลิตรวม 20-30% และจะลดการจ้างงาน 10-15% หรือราว 1 ล้านคน จากปัจจุบันมีการแรงงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งกระทบต่อภาคส่งออกของไทย
น.ส.ดวงมณีกล่าวด้วยว่า ธปท.ยังจะไม่มีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วาระพิเศษ โดยยังคงกำหนดเดิมที่จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 3 ธ.ค. ทั้งนี้ การที่หลายประเทศมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอหนักนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องและภาพรวมเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ และหากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในครั้งนี้ มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์จนระดับอัตราดอกเบี้ยเหลือ 1% ก็ยังอยู่ในกรอบที่ ธปท.ประเมินไว้แล้ว
“ขณะนี้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยกับต่างชาติที่ห่างกันมาก ไม่ได้มีแรงกดดันเงินทุนเคลื่อนย้ายและค่าเงินบาท เพราะสภาพคล่องยังดีอยู่ และ ธปท.ก็มีการติดตามดูแลไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด ส่วนจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลเศรษฐกิจมากขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงที่มีการประชุม กนง.” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าว
โดยการ กนง.ประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 1 วัน ไว้ที่ 3.75%
***ทีดีอาร์ไอคาดตกงานนับล้าน
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นด้วยว่า หากภาวะเศรษฐกิจในปีหน้าตกต่ำลงมาก โอกาสที่อัตราการเลิกจ้างงานในปีหน้าของจะสูงขึ้นตามที่ ส.อ.ท.ออกมาเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากอัตราการเลิกจ้างงานที่ระดับ 1 ล้านคนนั้นคิดเป็น 4-5% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเลิกจ้างงานในช่วงเกิดวิกฤติปี 2540
"รัฐบาลจะต้องเร่งดูแลไม่ให้เศรษฐกิจตกต่ำด้วยการเร่งการลงทุนในประเทศ โดยเริ่มจากโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อทดแทนการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เพื่อรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้าไม่ให้ต่ำกว่า 3%" นายสมชัยกล่าว.
“ถ้าปัญหาเศรษฐกิจซบจะส่งผลต่อการจ้างงาน โดยเฉพาะภาคการส่างออกชะลอ ส่วนจะมีผลกระทบมายังความเชื่อมั่นอีกไม่ก็ต้องติดตามดูอยู่ แม้ขณะนี้ตัวเลขต่างๆ ที่สะท้อนเรื่องนี้ยังไม่ได้เป็นเช่นนั้น ซึ่งอัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับทรงๆ ตัว เพราะขณะนี้ไม่ใช่ฤดูกาลที่นักศึกษาใหม่จบการศึกษาออกมาสู่ระบบจำนวนมาก แต่ก็ต้องติดตามดูต่อไป จึงจำเป็นที่ภาครัฐต้องมีกิจกรรมในประเทศออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ” น.ส.ดวงมณีกล่าว
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดว่า ในไตรมาส 1/52 ภาคอุตสาหกรรมจะมีการลดกำลังผลิตรวม 20-30% และจะลดการจ้างงาน 10-15% หรือราว 1 ล้านคน จากปัจจุบันมีการแรงงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ประมาณ 6 ล้านคน ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ซึ่งกระทบต่อภาคส่งออกของไทย
น.ส.ดวงมณีกล่าวด้วยว่า ธปท.ยังจะไม่มีการเรียกประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วาระพิเศษ โดยยังคงกำหนดเดิมที่จะมีการประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 3 ธ.ค. ทั้งนี้ การที่หลายประเทศมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อพยุงเศรษฐกิจไม่ให้ชะลอหนักนั้นก็ขึ้นอยู่กับสภาพคล่องและภาพรวมเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ และหากการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในครั้งนี้ มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.5% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์จนระดับอัตราดอกเบี้ยเหลือ 1% ก็ยังอยู่ในกรอบที่ ธปท.ประเมินไว้แล้ว
“ขณะนี้ส่วนต่างดอกเบี้ยของไทยกับต่างชาติที่ห่างกันมาก ไม่ได้มีแรงกดดันเงินทุนเคลื่อนย้ายและค่าเงินบาท เพราะสภาพคล่องยังดีอยู่ และ ธปท.ก็มีการติดตามดูแลไม่ให้เกิดภาวะเงินฝืด ส่วนจะมีการผ่อนคลายนโยบายการเงินด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อดูแลเศรษฐกิจมากขึ้นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงที่มีการประชุม กนง.” ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าว
โดยการ กนง.ประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 8 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 1 วัน ไว้ที่ 3.75%
***ทีดีอาร์ไอคาดตกงานนับล้าน
นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวมและการกระจายรายได้ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เห็นด้วยว่า หากภาวะเศรษฐกิจในปีหน้าตกต่ำลงมาก โอกาสที่อัตราการเลิกจ้างงานในปีหน้าของจะสูงขึ้นตามที่ ส.อ.ท.ออกมาเปิดเผยข้อมูล เนื่องจากอัตราการเลิกจ้างงานที่ระดับ 1 ล้านคนนั้นคิดเป็น 4-5% ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการเลิกจ้างงานในช่วงเกิดวิกฤติปี 2540
"รัฐบาลจะต้องเร่งดูแลไม่ให้เศรษฐกิจตกต่ำด้วยการเร่งการลงทุนในประเทศ โดยเริ่มจากโครงการเมกะโปรเจกต์ เพื่อทดแทนการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง เพื่อรักษาระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีหน้าไม่ให้ต่ำกว่า 3%" นายสมชัยกล่าว.