ผู้จัดการรายวัน- ก.พลังงานอาศัยจังหวะน้ำมัน - แอลพีจี โลกตกต่ำจากวิกฤติการเงิน ถกวันนี้หวังสรุปแยกราคาแอลพีจี เป็น 2 ราคา วัดใจวรรณรัตน์ขึ้นแอลพีจีขนส่งและอุตสาหกรรมหรือไม่ เผยเบื้องต้นลุ้นแค่ 1-3 บาท/ก.ก.เบรกนำเข้าที่ส่อเค้าจะมีปัญหาต้องเช่าเรือมาลอยลำหากการใช้ไม่ลดลงแต่ทั้งหมดต้องเสนอกพช.ไฟเขียวอีกรอบ 31 ต.ค.
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.) วันนี้(27ต.ค.) เพื่อที่จะหาข้อยุติถึงการแยกโครงสร้างราคาแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)เป็น 2 ราคาระหว่างภาคครัวเรือนและภาคขนส่งและอุตสาหกรรมหลังจากการใช้ในภาคขนส่งฯได้เพิ่มขึ้นจนเป็นภาระนำเข้าจากต่างประเทศในอัตราที่สูงและผิดวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐที่ต้องการใช้แอลพีจีในภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตามหลังได้ข้อสรุปจะต้องขออนุมัติในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 31 ต.ค. นี้อีกครั้ง
" ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปให้มีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีมานานแล้วแต่ฝ่ายการเมืองไม่กล้าตัดสินใจเนื่องจากขณะนั้นราคาน้ำมันยังค่อนข้างแพง แต่เวลานี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมสุดเพราะการใช้ในภาคขนส่งฯได้ชะลอตัวไปเองโดยอัตโนมัติเพราะน้ำมันโลกตกต่ำมาก ประกอบกับแอลพีจีนำเข้าช่วงนี้ก็ต่ำลงเช่นกันการขึ้นราคาขณะนี้จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้น้อยมาก "แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ตามสูตรที่มีการเสนอหลายแนวทางแต่ล่าสุด คาดว่าราคาแอลพีจีในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเฉลี่ย 1-3 บาท/ก.ก. และอาจทยอยปรับขึ้นทุกๆเดือน เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ใช้แอลพีจีมากจนเกินไปเนื่องจากช่วงที่ผ่านมารมว.พลังงานระบุว่าไม่ต้องการให้การปรับแอลพีจีมีผลกระทบต่อผู้ใช้แต่หากไม่ปรับเลยก็มีข้อกังวลถึงปัญหาการนำเข้าที่หากปล่อยไว้ให้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องจะส่งผลให้กระบวนการจัดหาเกิดความวุ่นวายและไม่พอเพียงได้เนื่องจากระบบคลังรองรับแอลพีจีนำเข้าของปตท.ที่เขาบ่อยาเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับนำเข้าได้มากนักหากเกินระดับ 1 แสนตันต่อเดือนจะเกิดปัญหาพอสมควร
"ในเดือนพ.ย. คาดว่าจะต้องนำเข้าแอลพีจีมากถึง 1 แสนตัน จากเดือนต.ค.ที่นำเข้า 8 หมื่นตัน เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงกลั่นน้ำมันบางแห่งหยุดซ่อมบำรุงประจำปี การนำเข้ามาดังกล่าวซึ่งถือเป็นปริมาณที่มากปตท.ต้องบริหารจัดการด้วยการนำเรือแอลพีจีมาซ้อนลำเพื่อขนถ่ายสู่คลังซึ่งปกติจะขนทีละลำก็จะเร่งเรือที่จะมาลำที่ 2 ให้เร็วกว่าปกติแล้วมาซ้อนคัน"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามแผนทางเลือกขั้นสุดท้ายที่หากความต้องการแอลพีจีไม่หยุดจนต้องนำเข้ามากกว่าระดับ 1 แสนตันต่อเดือนหรือประมาณ 1.2 แสนตันต่อเดือนคือปตท.ต้องเช่าเรือขนส่งขนาด 4 หมื่นตันหรือที่เรียกว่าเรือตู้เย็นมาจากต่างประเทศแต่ยอมรับว่าอัตราค่าเช่าแพงมากถึงนาทีละ 1,000 บาทเพราะคิดค่าเสียเวลาโดยทางเลือกนี้หากดำเนินการจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงซึ่งจะส่งผลให้รัฐต้องรับภาระเพิ่มขึ้นและในที่สุดก็คือผู้ใช้โดยเฉพาะภาคขนส่งและอุตสาหกรรมที่ควรรับผิดชอบ โดยทางเลือกดังกล่าวทุกฝ่ายหวังให้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะดำเนินการดังนั้นการขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งฯจะเป็นตัวเบรกการใช้ไม่ให้เติบโตในอนาคตหรืออย่างน้อยก็ลดภาระการนำเข้าลงบ้าง
“ ปตท.แบกรับภาระนำเข้ามากกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วและปตท.ได้เตรียมเงินไว้เพื่อการนำเข้าเพียงหมื่นล้านบาทซึ่งขณะนี้ราคาแอลพีจีตลาดโลกลดต่ำลงเหลือเฉลี่ย 700 เหรียญต่อตันจากเคยขึ้นไปสูงถึง 900 เหรียญต่อตันแม้ว่าภาระนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยแต่ก็ยังรับภาระอยู่ดีเพราะราคาแอลพีจีของไทยกำหนดไว้เพียง 320 เหรียญต่อตันเท่านั้น ซึ่งทางสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะมีการเสนอหลายทางเลือก ตั้งแต่ 1-3 บาท /ก.ก. โดยอาจจะทยอยขึ้นทุกๆเดือน เช่น เดือนละ 1 บาท หรือ เดือนละ 2-3 บาท /ก.ก. เพื่อให้ครอบคลุมกับราคาแอลพีจีในตลาดโลก” แหล่งข่าวกล่าว
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงานได้เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือในการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงาน(กบง.) วันนี้(27ต.ค.) เพื่อที่จะหาข้อยุติถึงการแยกโครงสร้างราคาแอลพีจี(ก๊าซหุงต้ม)เป็น 2 ราคาระหว่างภาคครัวเรือนและภาคขนส่งและอุตสาหกรรมหลังจากการใช้ในภาคขนส่งฯได้เพิ่มขึ้นจนเป็นภาระนำเข้าจากต่างประเทศในอัตราที่สูงและผิดวัตถุประสงค์ของนโยบายรัฐที่ต้องการใช้แอลพีจีในภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม อย่างไรก็ตามหลังได้ข้อสรุปจะต้องขออนุมัติในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในวันที่ 31 ต.ค. นี้อีกครั้ง
" ที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อสรุปให้มีการปรับขึ้นราคาแอลพีจีมานานแล้วแต่ฝ่ายการเมืองไม่กล้าตัดสินใจเนื่องจากขณะนั้นราคาน้ำมันยังค่อนข้างแพง แต่เวลานี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมสุดเพราะการใช้ในภาคขนส่งฯได้ชะลอตัวไปเองโดยอัตโนมัติเพราะน้ำมันโลกตกต่ำมาก ประกอบกับแอลพีจีนำเข้าช่วงนี้ก็ต่ำลงเช่นกันการขึ้นราคาขณะนี้จะมีผลกระทบต่อผู้ใช้น้อยมาก "แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ตามสูตรที่มีการเสนอหลายแนวทางแต่ล่าสุด คาดว่าราคาแอลพีจีในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะปรับขึ้นเพียงเล็กน้อยเฉลี่ย 1-3 บาท/ก.ก. และอาจทยอยปรับขึ้นทุกๆเดือน เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้ใช้แอลพีจีมากจนเกินไปเนื่องจากช่วงที่ผ่านมารมว.พลังงานระบุว่าไม่ต้องการให้การปรับแอลพีจีมีผลกระทบต่อผู้ใช้แต่หากไม่ปรับเลยก็มีข้อกังวลถึงปัญหาการนำเข้าที่หากปล่อยไว้ให้มีอัตราการเติบโตต่อเนื่องจะส่งผลให้กระบวนการจัดหาเกิดความวุ่นวายและไม่พอเพียงได้เนื่องจากระบบคลังรองรับแอลพีจีนำเข้าของปตท.ที่เขาบ่อยาเป็นระบบเก่าที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อรองรับนำเข้าได้มากนักหากเกินระดับ 1 แสนตันต่อเดือนจะเกิดปัญหาพอสมควร
"ในเดือนพ.ย. คาดว่าจะต้องนำเข้าแอลพีจีมากถึง 1 แสนตัน จากเดือนต.ค.ที่นำเข้า 8 หมื่นตัน เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงกลั่นน้ำมันบางแห่งหยุดซ่อมบำรุงประจำปี การนำเข้ามาดังกล่าวซึ่งถือเป็นปริมาณที่มากปตท.ต้องบริหารจัดการด้วยการนำเรือแอลพีจีมาซ้อนลำเพื่อขนถ่ายสู่คลังซึ่งปกติจะขนทีละลำก็จะเร่งเรือที่จะมาลำที่ 2 ให้เร็วกว่าปกติแล้วมาซ้อนคัน"แหล่งข่าวกล่าว
อย่างไรก็ตามแผนทางเลือกขั้นสุดท้ายที่หากความต้องการแอลพีจีไม่หยุดจนต้องนำเข้ามากกว่าระดับ 1 แสนตันต่อเดือนหรือประมาณ 1.2 แสนตันต่อเดือนคือปตท.ต้องเช่าเรือขนส่งขนาด 4 หมื่นตันหรือที่เรียกว่าเรือตู้เย็นมาจากต่างประเทศแต่ยอมรับว่าอัตราค่าเช่าแพงมากถึงนาทีละ 1,000 บาทเพราะคิดค่าเสียเวลาโดยทางเลือกนี้หากดำเนินการจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงซึ่งจะส่งผลให้รัฐต้องรับภาระเพิ่มขึ้นและในที่สุดก็คือผู้ใช้โดยเฉพาะภาคขนส่งและอุตสาหกรรมที่ควรรับผิดชอบ โดยทางเลือกดังกล่าวทุกฝ่ายหวังให้เป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะดำเนินการดังนั้นการขึ้นราคาแอลพีจีภาคขนส่งฯจะเป็นตัวเบรกการใช้ไม่ให้เติบโตในอนาคตหรืออย่างน้อยก็ลดภาระการนำเข้าลงบ้าง
“ ปตท.แบกรับภาระนำเข้ามากกว่า 5,000 ล้านบาทแล้วและปตท.ได้เตรียมเงินไว้เพื่อการนำเข้าเพียงหมื่นล้านบาทซึ่งขณะนี้ราคาแอลพีจีตลาดโลกลดต่ำลงเหลือเฉลี่ย 700 เหรียญต่อตันจากเคยขึ้นไปสูงถึง 900 เหรียญต่อตันแม้ว่าภาระนำเข้าจะลดลงเล็กน้อยแต่ก็ยังรับภาระอยู่ดีเพราะราคาแอลพีจีของไทยกำหนดไว้เพียง 320 เหรียญต่อตันเท่านั้น ซึ่งทางสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) จะมีการเสนอหลายทางเลือก ตั้งแต่ 1-3 บาท /ก.ก. โดยอาจจะทยอยขึ้นทุกๆเดือน เช่น เดือนละ 1 บาท หรือ เดือนละ 2-3 บาท /ก.ก. เพื่อให้ครอบคลุมกับราคาแอลพีจีในตลาดโลก” แหล่งข่าวกล่าว