ผู้จัดการรายวัน - "ไทยเบฟเวอเรจ"ยื่นขออนุมัติตลาดหลักทรัพย์ฯ ซื้อขายหุ้นในกระดานไทยควบสิงคโปร์ หวังเปิดจองไอพีโอ 80 ล้านหุ้นให้นักลงทุนไทยเข้าช้อน คาดอีก 1 เดือนรู้ผล มั่นใจตอบคำถามสังคมได้ทุกข้อ
นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เนื่องจากมีความเหมาะสมด้วยหลายปัจจัย เช่น การผ่านร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้ระเบียบข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของไทยเบฟมีความชัดเจนมากขึ้น และยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์แต่อย่างใด เพราะบริษัทฯได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวมานานซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ลงตัวในช่วงนี้
ส่วนกรณีที่จะมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านการเข้าตลาดหุ้นของไทยเบฟเหมือนในอดีต เนื่องจากเป็นธุรกิจน้ำเมานั้น นายอวยชัยกล่าวว่า ทกุอย่างขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ วันนี้เป็นแบบนี้ พรุ่งนี้เป็นอย่างไรอีก 2 เดือนเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ การเข้าตลาดหุ้นและการต่อต้านเป็นคนละเรื่องกัน เราไม่รู้ว่าจะมีใครมาต่อต้านอีก แต่ว่าอาจจะมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตามคราวนี้เรามีคำตอบชัดเจน เพราะว่าพรบ.แอลกอฮอล์ก็ออกมาแล้ว ข้อสงสัยทุกประการบริษัทสามารถให้คำตอบได้ อีกทั้งปัจุบัน บริษัทได้อยู่ในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ดังนั้นข้อมูลการดำเนินงานทุกอย่างจึงโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
ทั้งนี้บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จะนำหุ้นของบริษัท สิริวนา จำกัด จำนวน 0.3% ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จากจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในไทยเบฟ 8.75% หรือคิดเป็นประมาณ 80 ล้านหุ้น มาดำเนินการเสนอขายให้กับนักลงทุนรายย่อยในประเทศไทย
ขณะที่ทุนจดทะเบียนของบริษัทไทยเบฟฯ มี 25,111 ล้านหุ้น ราคา พาร์ 1 บาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ภัทรจำกัด (มหาชน) และบล.ไทยพาณิชย์ จำกัดเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ยังไม่มีการกำหนดราคาไอพีโอ ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาเอกสารของทางตลท.จะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน และหากได้รับการอนุมัติจะทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของตลาดทุนไทยและเป็นบริษัทไทยรายที่สองที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สองแห่ง คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งไทยและตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX-ST)
สำหรับผลประกอบการของบมจ.ไทยเบฟในปี 2550 มีรายได้จากการขาย 100,541 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,383 ล้านบาท และมีเงินปันผล 7,282 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งปีแรก 2551 มีรายได้ 51,000 ล้านบาท เติบโต 4% โดยมีกำไรสุทธิ 5,000 ล้านบาท ลดลง 4.6% และเป็นบริษัทฯที่จ่ายภาษีนิติบุคคลและภาษีสรรพสามิตให้กับรัฐบาลไทยมากกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 4% ของยอดเก็บภาษีรวมทั้งปีของรัฐบาล
โดยการเข้าจดทะเบียนดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯมีหุ้นหมุนเวียนอยู่กับนักลงทุนรายย่อยที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์เหลือ 19.43% จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20% ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปของบริษัทฯ อยู่ที่ 130,000 ล้านบาท ส่วนราคาหุ้นของบริษัทฯที่ตลาดสิงคโปร์ ปิดตลาดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ราคา 0.225 ดอลล่าร์ต่อหุ้น
สำหรับกรณีบมจ.โออิชิ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือนั้น ทางบมจ.ไทยเบฟฯยืนยันว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยยังคงจดทะเบียนอยู่ในตลท.เหมือนเดิม และบริษัทฯจะไม่มีการปรับโครงสร้างบริหารของไทยเบฟด้วย เพราะปรับมาก่อนหน้านี้แล้ว
"เป้าหมายของไทยเบฟต้องการเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรทั้งแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อต้นปีได้ซื้อกิจการเครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ และเร็วๆนี้ก็ซื้อหุ้นในโออิชิเพิ่มขึ้นเป็น 43% ปัจจุบันสินค้าที่ทำตลาดในต่างประเทศมี 2 แบรนด์หลักของไทยคือ ช้างและแม่โขง กับแบรนด์ที่เป็นบริษัทในต่างประเทศที่เทคโอเวอร์มาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว"นายอวยชัย กล่าว
นายอวยชัย ตันทโอภาส กรรมการผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 ต.ค.ที่ผ่านมา บริษัทฯได้ยื่นเรื่องขอจดทะเบียนต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เนื่องจากมีความเหมาะสมด้วยหลายปัจจัย เช่น การผ่านร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ซึ่งทำให้ระเบียบข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของไทยเบฟมีความชัดเจนมากขึ้น และยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของบริษัทฯที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่สิงคโปร์แต่อย่างใด เพราะบริษัทฯได้ศึกษาเรื่องดังกล่าวมานานซึ่งถือว่าเป็นโอกาสที่ลงตัวในช่วงนี้
ส่วนกรณีที่จะมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านการเข้าตลาดหุ้นของไทยเบฟเหมือนในอดีต เนื่องจากเป็นธุรกิจน้ำเมานั้น นายอวยชัยกล่าวว่า ทกุอย่างขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ วันนี้เป็นแบบนี้ พรุ่งนี้เป็นอย่างไรอีก 2 เดือนเป็นอย่างไรไม่มีใครรู้ การเข้าตลาดหุ้นและการต่อต้านเป็นคนละเรื่องกัน เราไม่รู้ว่าจะมีใครมาต่อต้านอีก แต่ว่าอาจจะมีคนบางกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตามคราวนี้เรามีคำตอบชัดเจน เพราะว่าพรบ.แอลกอฮอล์ก็ออกมาแล้ว ข้อสงสัยทุกประการบริษัทสามารถให้คำตอบได้ อีกทั้งปัจุบัน บริษัทได้อยู่ในตลาดหุ้นสิงคโปร์ ดังนั้นข้อมูลการดำเนินงานทุกอย่างจึงโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
ทั้งนี้บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จะนำหุ้นของบริษัท สิริวนา จำกัด จำนวน 0.3% ซึ่งเป็นบริษัทลงทุนของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จากจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในไทยเบฟ 8.75% หรือคิดเป็นประมาณ 80 ล้านหุ้น มาดำเนินการเสนอขายให้กับนักลงทุนรายย่อยในประเทศไทย
ขณะที่ทุนจดทะเบียนของบริษัทไทยเบฟฯ มี 25,111 ล้านหุ้น ราคา พาร์ 1 บาท โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ภัทรจำกัด (มหาชน) และบล.ไทยพาณิชย์ จำกัดเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน แต่ยังไม่มีการกำหนดราคาไอพีโอ ซึ่งขั้นตอนการพิจารณาเอกสารของทางตลท.จะใช้เวลาอีกประมาณ 1 เดือน และหากได้รับการอนุมัติจะทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงติดอันดับหนึ่งในสิบของตลาดทุนไทยและเป็นบริษัทไทยรายที่สองที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สองแห่ง คือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งไทยและตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX-ST)
สำหรับผลประกอบการของบมจ.ไทยเบฟในปี 2550 มีรายได้จากการขาย 100,541 ล้านบาท กำไรสุทธิ 10,383 ล้านบาท และมีเงินปันผล 7,282 ล้านบาท ขณะที่ครึ่งปีแรก 2551 มีรายได้ 51,000 ล้านบาท เติบโต 4% โดยมีกำไรสุทธิ 5,000 ล้านบาท ลดลง 4.6% และเป็นบริษัทฯที่จ่ายภาษีนิติบุคคลและภาษีสรรพสามิตให้กับรัฐบาลไทยมากกว่า 50,000 ล้านบาทต่อปี หรือประมาณ 4% ของยอดเก็บภาษีรวมทั้งปีของรัฐบาล
โดยการเข้าจดทะเบียนดังกล่าวจะทำให้บริษัทฯมีหุ้นหมุนเวียนอยู่กับนักลงทุนรายย่อยที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์เหลือ 19.43% จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20% ขณะที่มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดหรือมาร์เก็ตแคปของบริษัทฯ อยู่ที่ 130,000 ล้านบาท ส่วนราคาหุ้นของบริษัทฯที่ตลาดสิงคโปร์ ปิดตลาดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ราคา 0.225 ดอลล่าร์ต่อหุ้น
สำหรับกรณีบมจ.โออิชิ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือนั้น ทางบมจ.ไทยเบฟฯยืนยันว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยยังคงจดทะเบียนอยู่ในตลท.เหมือนเดิม และบริษัทฯจะไม่มีการปรับโครงสร้างบริหารของไทยเบฟด้วย เพราะปรับมาก่อนหน้านี้แล้ว
"เป้าหมายของไทยเบฟต้องการเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรทั้งแอลกอฮอล์และนอนแอลกอฮอล์ และขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเมื่อต้นปีได้ซื้อกิจการเครื่องดื่มชูกำลังแรงเยอร์ และเร็วๆนี้ก็ซื้อหุ้นในโออิชิเพิ่มขึ้นเป็น 43% ปัจจุบันสินค้าที่ทำตลาดในต่างประเทศมี 2 แบรนด์หลักของไทยคือ ช้างและแม่โขง กับแบรนด์ที่เป็นบริษัทในต่างประเทศที่เทคโอเวอร์มาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว"นายอวยชัย กล่าว