วันที่ 21 ตุลาคม 2551 เวลา 14.00 น. นายทองหล่อ โฉมงาม ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน และองค์คณะผู้พิพากษาได้ออกนั่งบัลลังก์ อ่านคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 คดีหมายเลขแดงที่ อม.1/2550 ระหว่างอัยการสูงสุดโจทก์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ 1 คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ที่ 2 จำเลย เรื่องความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว มีปัญหาที่ จำเลยที่ 1 -2 โต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) ลงวันที่ 30 ก.ย.49 ข้อ 2 และข้อ 5 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 , 100 และ122 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2540 , รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี2549 , รัฐธรรมนูญปี2550 ศาลเห็นว่า เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5/2551 แล้วว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรธน. 2550 และมีคำวินิจฉัยที่ 11/ 2551 ว่า ม.4 , 100 และ ม.122 ว่า ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐบธรรมนูญ 2550 ม. 26-29 ม.39 และ 43 เช่นกัน องค์คณะจึงมีมติเอกฉันท์ว่า ข้อต่อสู้ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ถูกยกเลิกโดยประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 หรือไม่ ซึ่งที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่า เมื่อประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลงวันที่ 19 ก.ย. 49 มีผลทำให้ พ.ร.บ.ดังกล่าวสิ้นสุดลงตามไปด้วย โดยต่อมาวันที่ 22 ก.ย. 49 คปค.ได้ออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ให้พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับต่อไป แต่การใช้บังคับก็ต้องเป็นเฉพาะกรณีที่เป็นความผิดที่เกิดขึ้นตั่งแต่วันที่ 22 ก.ย.49 เป็นต้นไปเท่านั้น
ศาลเห็นว่าการทำรัฐประหาร เป็นการยึดอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการมารวมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหรือคณะหนึ่งคณะใดใช้อำนาจนั้น แต่ไม่ได้เป็นการประสงค์ล้มล้างการใช้อำนาจแต่อย่างใด โดยเมื่อคปค.ยึดอำนาจแล้วออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ที่ให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง แต่ศาลอื่นยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้ จึงแสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่ยังใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย
ดังนั้นแม้ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ2540 ซึ่งตราขึ้นใช้โดยชอบแล้ว ดังนั้นย่อมมีสถานภาพเทียบเท่ากับกฎหมายทั่วไป ถือว่าไม่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญและยังสามารถใช้บังคับใช้ได้ โดยไม่เกี่ยวว่ารัฐธรรมนูญจะมีอยู่หรือไม่ ดังนั้น การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญ 2540 จึงไม่มีผลทำให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงด้วยแต่อย่างใด
ส่วนที่ คปค.ออกประกาศฉบับที่ 19 ให้ พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช.ฯ ใช้บังคับต่อไป ก็เป็นการยืนยันว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ถูกยกเลิก องค์คณะจึงมีมติเอกฉันท์ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ไมได้ถูกยกเลิกโดยประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสอง จึงฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า คตส.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ไต่สวน และศาลฎีกาฯ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. 2542 ม.100 และ 122 จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟู พัฒนาสถาบันการเงินไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ได้มีการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย คตส.ไม่ใช่พนักงานสอบสวนตาม ป.อาญา และไม่มีอำนาจสอบสวนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. และจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ศาลเห็นว่า ก่อนการยึดอำนาจ ในการดำเนินคดีอาญาต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.19 ที่กำหนดให้ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงสรุปสำนวนส่งอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมือง
แต่หลังการยึดอำนาจแล้ว มีประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส. แต่งตั้งคตส. ซึ่งข้อ 5 ของประกาศดังกล่าวให้ คตส.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่เห็นว่าอาจมิชอบด้วยกฎหมาย หรือน่าจะมีการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐประพฤติมิชอบ หรือการตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยให้ คตส. มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช.ฯ และข้อ 9 ประกาศดังกล่าวกำหนดว่า กรณีที่ตรวจสอบแล้ว คตส.มีมติว่า มีบุคคลกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ให้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 คือการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ดังนั้นสถานะภาพของ คตส. จึงมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบตามที่เป็นไปตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องคตส.ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแม้ คตส.ไม่ใช้พนักงานสอบสวนตามป.วิอาญา แต่ก็มีอำนาจสอบสวนได้ตามกฎหมาย
ส่วนการไต่สวน จะเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดในการทำสัญญา จะซื้อจะขายกับกองทุนฯ โดยโจทก์เห็นว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.100 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์ในการที่จะป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดในการขัดประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ของรัฐ โดยการทำสัญญากับรัฐ ซึ่งอาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังอาจเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 การกระทำดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจที่ คตส. จะตรวจสอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ และประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ข้อ 5 และตามฟ้องโจทก์ยังระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อาญา ม. 152 และ 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.100 ซึ่งจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นคู่สมรส ศาลเห็นว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส.ข้อ 5 วรรคท้าย ให้ คตส.มีอำนาจตรวจสอบเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และศาลได้ความจากการไต่สวน นายวีระ สมความคิด ผู้ร้องทุกข์กับ คตส. พยานโจทก์ว่า เคยร้องทุกข์เรื่องนี้กับกองบังคับการกองปราบปราม แต่ไม่เป็นผล เมื่อ คปค.ทำการยึดอำนาจ และแต่งตั้ง คตส. พยานจึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับคตส.
ขณะที่นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. พยานโจทก์เบิกความว่า คตส.ดำเนินการเรื่องนี้ตามที่มีผู้ร้องเรียนมาซึ่งการดำเนินการของ คตส.เป็นการดำเนินการตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์ตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้ง ซึ่งหลังจากการไต่สวนแล้ว คตส.เห็นว่า มีมูล จึงแจ้งให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.66 และทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง
ต่อมากองทุนฯมีหนังสือกล่าวโทษแจ้งไปยัง คตส. ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของนายไพโรจน์ เฮงสกุล อดีตผู้จัดการกองทุนฯ เบิกความว่า การซื้อที่ดินอาจทำให้กองทุนได้รับความเสียหาย จึงมีมติให้ยื่นคำร้องทุกข์กล่าวโทษกับ คตส.โดยเห็นว่า หากมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.100 อาจทำให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่า กองทุนฯไม่ได้รับความเสียหายนั้น ได้ความจากคำเบิกความของ นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผอ.อาวุโสฝ่ายกฎหมาย และคดี ธปท. ว่า เป็นเพียงความเห็นของพยานว่าเป็นการซื้อขายโดยเป็นธรรม และเปิดเผย และกองทุนฯได้กำไร ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการที่กองทุนฯ เป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง กองทุนฯจึงมีสิทธิยื่นร้องทุกข์ องค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คตส. มีอำนาจตรวจสอบดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสอง และมีการร้องทุกข์โดยชอบถูกต้องตามกฎหมาย โดยศาลฎีกาฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ม.9 (1) และ (2)
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม. 100 อนุ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า กองทุนฯไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ และไม่ใช่เรื่องขัดกันของประโยชน์ส่วนบุคคล กับผลประโยชน์ส่วนรวม ศาลเห็นว่าที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่า กองทุนฯไม่ใช่หน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.100 นั้นศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ม.4 ไม่ได้บัญญัติคำว่า หน่วยงานของรัฐไว้เป็นการเฉพาะ แต่พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 ม.3 ได้บัญญัติว่า หน่วยงานรัฐ คือ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐดังนั้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช.ฯในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และกฎหมายทั้งสองฉบับ ยังตราขึ้นในปีเดียวกัน
ดังนั้น คำว่าหน่วยงานของรัฐ จึงมีความหมายเป็นไปทำนองเดียวกัน ซึ่งจากการไต่สวนได้ความว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ม.29 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงิน โดยมีรมว.คลัง มีอำนาจดูแล และพิจารณาส่งเงินเข้าสนับสนุนเป็นครั้งๆ ดังนั้นองค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า กองทุนฯเป็นหน่วยงานของรัฐตามพ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม. 100 อนุ 1
ที่จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับควบคุมดูแลกองทุนฯนั้น ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มีเจตนาป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากหน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแลของตน เพราะการมีอำนาจอาจส่งผลกระทบต่อการสั่งการ และอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ขัดกันระหว่างส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม และก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปฎิบัติหน้าที่ได้ โดย พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ได้ใช้บังคับกับตำแหน่งราชการทั่วไป แต่ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการระดับสูง โดยขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินร่วมกับรัฐมนตรี ตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ต่อรัฐสภา และตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีมีอำนาจบริหารราชการ 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
โดย ม. 11 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปทั้ง 3 ส่วนราชการ มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการทั้งในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และ ม.40 กำหนดให้แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีกำหนดนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่ ครม.แถลงต่อรัฐสภา จึงมีอำนาจการบริหารเหนืออำนาจข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม
ขณะที่ ธปท. เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.ธปท.ฯ โดยกองทุนฯ ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ฟื้นฟูสถาบันการเงินเหมือน ธปท. กองทุนฯ จึงเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแม้กรรมการจัดการกองทุน จะมีอิสระ แต่ก็มีผู้ว่าฯ ธปท. เป็นประธาน และปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ล้วนมีความเกี่ยวข้องที่จะให้คุณให้โทษได้ โดย รมว.คลัง ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าฯ ธปท.และ อดีตรมว.คลัง เบิกความว่า กองทุนมีหนี้จำนวนมาก ซึ่งในยุครัฐบาลของนายชวน หลีกภัย นั้นนายธารินทร์ นิมมาเหมินทร์ รมว.คลัง ขณะนั้น ได้มีการเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอออกพันธบัตรจำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อล้างหนี้ให้กองทุนฯ นอกจากนึ้พยานยังเคยเสนอรัฐบาลออกพันธบัตร จำนวน 7.8 แสนล้านบาทอีกด้วย
ขณะที่ ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เบิกความว่า เงินที่สนับสนุนกองทุนฯได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล โดย รมว.คลัง มีอำนาจเข้ามากำกับดูแลผ่านปลัดกระทรวงการคลัง ที่เป็นรองประธานกรรมการจัดการกองทุนฯ โดยนายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายไพโรจน์ เฮงสกุล นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ อดีต ผจก.กองทุน พยานโจทก์ต่างก็เบิกความไปในทำนองเดียวกันว่า กองทุนฯจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธปท. และเป็นการตั้งขึ้นเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ฝากเงินว่าจะได้รับเงินคืน หากสถาบันการเงินเกิดปัญหาล้มละลาย ซึ่งจากคำเบิกความของพยานโจทก์ แสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัติ นายกรัฐมนตรีจะใช้อำนาจกำกับดูแลกองทุนได้โดยผ่าน รมว.คลังตามลำดับชั้น
ดังนั้นองค์คณะจึงมีมติ 6 ต่อ 3 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสอง จึงฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า การทำสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 เป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.100 อนุ 1 หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติเรื่องการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่รู้กันอย่างชัดแจงรวมทั้งจำเลยที่ 1 และเหตุที่ต้องมีการตั้งกองทุนฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ หากปล่อยให้สถาบันการเงินล้ม จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เศรษฐกิจประเทศชาติเสียหาย จึงจำเป็นต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือ อาทิ นำเงินไปซื้อที่ดินหรือทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง เพื่อให้สถาบันการเงินได้กำไร นำเงินไปชำระหนี้ ให้ดำรงอยู่ได้ ซึ่งที่ดินพิพาทคดีนี้กองทุนฯ ซื้อมาจาก บ.เงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ ทรัสต์ จำนวน 13 โฉนด เนื้อที่ 35 ไร่เศษ มูลค่า 2,140 ล้านบาทเศษ และอีกหนึ่งแปลง ซึ่งอยู่บริเวณศูนย์วัฒนธรรม มูลค่า 2,749 ล้านบาทเศษ เนื่องจากเกิดวิกฤตสถาบันการเงินปี 38 ต่อมาปี 44 กองทุนฯ ได้มีการปรับปรุงบัญชีเพื่อปรับมูลค่าหนี้ให้ลดน้อยลง เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง โดยปรับลดราคาที่ดินเหลือ 700 กว่าล้านบาท แต่การที่กองทุนมีทรัพย์สินจำนวนมาก หากขายได้ราคาสูงมากเท่าใด กองทุนก็ย่อมขาดทุนน้อยลง รัฐเสียหายน้อยลง
โดยต่อมากองทุนฯนำที่ดินออกประมูลทางอินเตอร์เน็ต ตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท กำหนดวางมัดจำ10 ล้าน มีผู้เสนอตัวแต่ถึงเวลาไม่มีการเสนอราคา จึงเลิกประมูลเปิดประมูลใหม่โดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ และเพิ่มการวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท อันเป็นการกีดกัน ทำให้มีผู้เข้าประมูลน้อยลง จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประมูลด้วย แม้ว่าจะมีอีก 2 บริษัท คือ บ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และบ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนต์ ร่วมเสนอ แต่รู้ว่าต้องแข่งขันกับภริยานายกรัฐมนตรี จึงไม่กล้าสู้ราคา ซึ่งแม้กองทุนฯ จะเห็นว่า ราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ 772 ล้านบาท เป็นราคาสูงสุด แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรก ซึ่งอาจจะขายได้ราคาที่สูงและเหมาะสมกว่า อีกทั้งขณะนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี มีอำนาจบารมีเหนือรัฐมนตรี และมีอำนาจทางการเมืองสูง อีกทั้งฐานะการเงินมั่งคั่ง ตามหลักธรรมาภิบาล นายกรัฐมนตรี ภริยา หรือบุตร ไม่สมควรเข้าไปประมูลซื้อ เพราะการซื้อได้ราคาต่ำก็เป็นผลทำให้กองทุนฯมีรายได้น้อยลง ขณะที่จำเลยที่ 2 มีผู้รู้จักจำนวนมาก ประกอบกับข้าราชการมีค่านิยมจำนนต่อผู้มีบารมีสูง นอกจากนั้นยังอาจให้คุณให้โทษทางราชการได้
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ให้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงนามยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ย่อมถือได้ว่า เป็นการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเอง ตาม พ.ร.บ. ปปช.2542 ม. 100 (1) วรรคสาม ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า การลงชื่อยินยอมเป็นเพียงทำตามระเบียบราชการ แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการซื้อขาย องค์คณะจึงมี มติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ปปช. ม. 100 (1) วรรคสาม และต้องรับโทษตาม ม.122 ขอต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ส่วนจำเลยที่ 2 องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ปปช. ม.100 (1) วรรคสาม ไม่ต้องรับโทษตาม ม.122 เพราะพ.ร.บ.ปปช. ม.100 ไม่ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับคู่สมรสที่กระทำความผิด มีแต่บทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้องมีการตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามหลักกฎหมายอาญา เมื่อมีกฎหมายให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจลงโทษได้
สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.152 ,157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและผู้สนับสนุนเข้ามีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ตน องค์คณะ 8 ต่อ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ดูแลกองทุนฯ แต่จำเลยได้ดำเนินการในฐานะคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมทำสัญญาซื้อขายที่ดินอันผิดต่อ พ.ร.บ.ปปช. จึงไม่ผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา ม. 152 ม.157
เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ส่วนที่โจทก์ ขอให้ริบทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินและเงินซื้อที่ดินจำนวน 772 ล้านบาท องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงมิใช่ทรัพย์อันพึงริบตามประมวลฎหมายอาญา ม. 33 (1) (2) ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้บริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน แต่ จำเลยที่ 1 กลับฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ประพฤติตนในสิ่งที่ดีงามตามจริยธรรมของนักการเมืองให้เหมาะสมกับที่ได้รับความไว้วางใจในตำแหน่งหน้าที่อันสำคัญยิ่งจึงไม่สมควรรอการลงโทษ
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ปปช. ม. 100 (1) วรรคสาม และ ม. 122 วรรคหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่น และคำขออื่นให้ยกฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ 1 หลบหนี ไม่มาฟังคำพิพากษา จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับ จำเลยที่ 1 เพื่อมาปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้อง จึงให้เพิกถอนหมายจับเฉพาะคดีนี้
โดยศาลพิเคราะห์แล้ว มีปัญหาที่ จำเลยที่ 1 -2 โต้แย้งว่า ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ( คตส.) ลงวันที่ 30 ก.ย.49 ข้อ 2 และข้อ 5 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4 , 100 และ122 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2540 , รัฐธรรมนูญชั่วคราว ปี2549 , รัฐธรรมนูญปี2550 ศาลเห็นว่า เรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ 5/2551 แล้วว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรธน. 2550 และมีคำวินิจฉัยที่ 11/ 2551 ว่า ม.4 , 100 และ ม.122 ว่า ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐบธรรมนูญ 2550 ม. 26-29 ม.39 และ 43 เช่นกัน องค์คณะจึงมีมติเอกฉันท์ว่า ข้อต่อสู้ของจำเลย ฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ถูกยกเลิกโดยประกาศ คปค. ฉบับที่ 3 หรือไม่ ซึ่งที่จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่า เมื่อประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญ 2540 สิ้นสุดลงวันที่ 19 ก.ย. 49 มีผลทำให้ พ.ร.บ.ดังกล่าวสิ้นสุดลงตามไปด้วย โดยต่อมาวันที่ 22 ก.ย. 49 คปค.ได้ออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 ให้พ.ร.บ.ดังกล่าวใช้บังคับต่อไป แต่การใช้บังคับก็ต้องเป็นเฉพาะกรณีที่เป็นความผิดที่เกิดขึ้นตั่งแต่วันที่ 22 ก.ย.49 เป็นต้นไปเท่านั้น
ศาลเห็นว่าการทำรัฐประหาร เป็นการยึดอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการมารวมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหรือคณะหนึ่งคณะใดใช้อำนาจนั้น แต่ไม่ได้เป็นการประสงค์ล้มล้างการใช้อำนาจแต่อย่างใด โดยเมื่อคปค.ยึดอำนาจแล้วออกประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ที่ให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลง สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลง แต่ศาลอื่นยังคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้ จึงแสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่ยังใช้อยู่ในขณะนั้น ไม่ได้ถูกยกเลิกไปด้วย
ดังนั้นแม้ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ จะเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ2540 ซึ่งตราขึ้นใช้โดยชอบแล้ว ดังนั้นย่อมมีสถานภาพเทียบเท่ากับกฎหมายทั่วไป ถือว่าไม่ขัด หรือแย้งกับรัฐธรรมนูญและยังสามารถใช้บังคับใช้ได้ โดยไม่เกี่ยวว่ารัฐธรรมนูญจะมีอยู่หรือไม่ ดังนั้น การสิ้นสุดของรัฐธรรมนูญ 2540 จึงไม่มีผลทำให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงด้วยแต่อย่างใด
ส่วนที่ คปค.ออกประกาศฉบับที่ 19 ให้ พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช.ฯ ใช้บังคับต่อไป ก็เป็นการยืนยันว่า กฎหมายดังกล่าวไม่ได้ถูกยกเลิก องค์คณะจึงมีมติเอกฉันท์ว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ยังมีผลบังคับใช้อยู่ ไมได้ถูกยกเลิกโดยประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ข้อโต้แย้งของจำเลยทั้งสอง จึงฟังไม่ขึ้น
ปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า คตส.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ ไต่สวน และศาลฎีกาฯ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ตามความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. 2542 ม.100 และ 122 จำเลยทั้งสองโต้แย้งว่า กองทุนเพื่อการฟื้นฟู พัฒนาสถาบันการเงินไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ได้มีการร้องทุกข์ที่ชอบด้วยกฎหมาย คตส.ไม่ใช่พนักงานสอบสวนตาม ป.อาญา และไม่มีอำนาจสอบสวนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. และจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ศาลเห็นว่า ก่อนการยึดอำนาจ ในการดำเนินคดีอาญาต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.19 ที่กำหนดให้ป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนข้อเท็จจริงสรุปสำนวนส่งอัยการสูงสุดเพื่อฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาการเมือง
แต่หลังการยึดอำนาจแล้ว มีประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส. แต่งตั้งคตส. ซึ่งข้อ 5 ของประกาศดังกล่าวให้ คตส.มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบสัญญา สัญญาสัมปทาน การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐที่เห็นว่าอาจมิชอบด้วยกฎหมาย หรือน่าจะมีการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐประพฤติมิชอบ หรือการตรวจสอบการหลีกเลี่ยงภาษีอากรโดยให้ คตส. มีอำนาจตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช.ฯ และข้อ 9 ประกาศดังกล่าวกำหนดว่า กรณีที่ตรวจสอบแล้ว คตส.มีมติว่า มีบุคคลกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ให้ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดดำเนินการต่อไป ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 คือการยื่นฟ้องคดีต่อศาลฎีกาฯ ดังนั้นสถานะภาพของ คตส. จึงมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบตามที่เป็นไปตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องคตส.ซึ่งไม่ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งแม้ คตส.ไม่ใช้พนักงานสอบสวนตามป.วิอาญา แต่ก็มีอำนาจสอบสวนได้ตามกฎหมาย
ส่วนการไต่สวน จะเป็นไปโดยชอบหรือไม่ ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำผิดในการทำสัญญา จะซื้อจะขายกับกองทุนฯ โดยโจทก์เห็นว่าเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.100 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์ในการที่จะป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดในการขัดประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ของรัฐ โดยการทำสัญญากับรัฐ ซึ่งอาจเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังอาจเป็นความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 การกระทำดังกล่าวจึงอยู่ในอำนาจที่ คตส. จะตรวจสอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ และประกาศ คปค.ฉบับที่ 3 ข้อ 5 และตามฟ้องโจทก์ยังระบุว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้สนับสนุนจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตาม ป.อาญา ม. 152 และ 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.100 ซึ่งจำเลยที่ 2 แม้จะไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นคู่สมรส ศาลเห็นว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 เรื่อง คตส.ข้อ 5 วรรคท้าย ให้ คตส.มีอำนาจตรวจสอบเรื่องที่อยู่ระหว่างดำเนินการของหน่วยงานอื่นใด และศาลได้ความจากการไต่สวน นายวีระ สมความคิด ผู้ร้องทุกข์กับ คตส. พยานโจทก์ว่า เคยร้องทุกข์เรื่องนี้กับกองบังคับการกองปราบปราม แต่ไม่เป็นผล เมื่อ คปค.ทำการยึดอำนาจ และแต่งตั้ง คตส. พยานจึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษกับคตส.
ขณะที่นายนาม ยิ้มแย้ม ประธานคตส. พยานโจทก์เบิกความว่า คตส.ดำเนินการเรื่องนี้ตามที่มีผู้ร้องเรียนมาซึ่งการดำเนินการของ คตส.เป็นการดำเนินการตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ข้อ 5 ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้เสียหายมาร้องทุกข์ตามที่จำเลยทั้งสองโต้แย้ง ซึ่งหลังจากการไต่สวนแล้ว คตส.เห็นว่า มีมูล จึงแจ้งให้ผู้เสียหายมาร้องทุกข์ตามพ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.66 และทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง
ต่อมากองทุนฯมีหนังสือกล่าวโทษแจ้งไปยัง คตส. ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของนายไพโรจน์ เฮงสกุล อดีตผู้จัดการกองทุนฯ เบิกความว่า การซื้อที่ดินอาจทำให้กองทุนได้รับความเสียหาย จึงมีมติให้ยื่นคำร้องทุกข์กล่าวโทษกับ คตส.โดยเห็นว่า หากมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.100 อาจทำให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่า กองทุนฯไม่ได้รับความเสียหายนั้น ได้ความจากคำเบิกความของ นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผอ.อาวุโสฝ่ายกฎหมาย และคดี ธปท. ว่า เป็นเพียงความเห็นของพยานว่าเป็นการซื้อขายโดยเป็นธรรม และเปิดเผย และกองทุนฯได้กำไร ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการที่กองทุนฯ เป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง กองทุนฯจึงมีสิทธิยื่นร้องทุกข์ องค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า คตส. มีอำนาจตรวจสอบดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสอง และมีการร้องทุกข์โดยชอบถูกต้องตามกฎหมาย โดยศาลฎีกาฯมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ม.9 (1) และ (2)
คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม. 100 อนุ 1 หรือไม่ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า กองทุนฯไม่ใช่ผู้เสียหาย และไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ และไม่ใช่เรื่องขัดกันของประโยชน์ส่วนบุคคล กับผลประโยชน์ส่วนรวม ศาลเห็นว่าที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ว่า กองทุนฯไม่ใช่หน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม.100 นั้นศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ดังกล่าว ม.4 ไม่ได้บัญญัติคำว่า หน่วยงานของรัฐไว้เป็นการเฉพาะ แต่พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ (ฮั้วประมูล) พ.ศ.2542 ม.3 ได้บัญญัติว่า หน่วยงานรัฐ คือ กระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐดังนั้น ซึ่งกฎหมายดังกล่าวมีเจตนารมณ์สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยป.ป.ช.ฯในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่และกฎหมายทั้งสองฉบับ ยังตราขึ้นในปีเดียวกัน
ดังนั้น คำว่าหน่วยงานของรัฐ จึงมีความหมายเป็นไปทำนองเดียวกัน ซึ่งจากการไต่สวนได้ความว่า กองทุนถูกตั้งขึ้นโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตาม พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485 ม.29 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูสถาบันการเงิน โดยมีรมว.คลัง มีอำนาจดูแล และพิจารณาส่งเงินเข้าสนับสนุนเป็นครั้งๆ ดังนั้นองค์คณะจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า กองทุนฯเป็นหน่วยงานของรัฐตามพ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช.ฯ ม. 100 อนุ 1
ที่จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่า ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับควบคุมดูแลกองทุนฯนั้น ศาลเห็นว่า พ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. มีเจตนาป้องกันและปราบปรามเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์จากหน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแลของตน เพราะการมีอำนาจอาจส่งผลกระทบต่อการสั่งการ และอาจก่อให้เกิดผลประโยชน์ขัดกันระหว่างส่วนบุคคลและผลประโยชน์ส่วนรวม และก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยในการปฎิบัติหน้าที่ได้ โดย พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ได้ใช้บังคับกับตำแหน่งราชการทั่วไป แต่ใช้บังคับกับผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการระดับสูง โดยขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินร่วมกับรัฐมนตรี ตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ต่อรัฐสภา และตาม พ.ร.บ.บริหารระเบียบราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรีมีอำนาจบริหารราชการ 3 ส่วน คือ ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น
โดย ม. 11 กำหนดให้ นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจหน้าที่กำกับโดยทั่วไปทั้ง 3 ส่วนราชการ มีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการทั้งในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบาย และ ม.40 กำหนดให้แต่ละกระทรวงมีรัฐมนตรีกำหนดนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่ ครม.แถลงต่อรัฐสภา จึงมีอำนาจการบริหารเหนืออำนาจข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม
ขณะที่ ธปท. เป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.ธปท.ฯ โดยกองทุนฯ ก่อตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ฟื้นฟูสถาบันการเงินเหมือน ธปท. กองทุนฯ จึงเป็นหน่วยงานของรัฐ ซึ่งแม้กรรมการจัดการกองทุน จะมีอิสระ แต่ก็มีผู้ว่าฯ ธปท. เป็นประธาน และปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน ล้วนมีความเกี่ยวข้องที่จะให้คุณให้โทษได้ โดย รมว.คลัง ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของ ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าฯ ธปท.และ อดีตรมว.คลัง เบิกความว่า กองทุนมีหนี้จำนวนมาก ซึ่งในยุครัฐบาลของนายชวน หลีกภัย นั้นนายธารินทร์ นิมมาเหมินทร์ รมว.คลัง ขณะนั้น ได้มีการเสนอต่อรัฐบาลเพื่อขอออกพันธบัตรจำนวน 5 แสนล้านบาท เพื่อล้างหนี้ให้กองทุนฯ นอกจากนึ้พยานยังเคยเสนอรัฐบาลออกพันธบัตร จำนวน 7.8 แสนล้านบาทอีกด้วย
ขณะที่ ม.ร.ว.จตุมงคล โสณกุล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เบิกความว่า เงินที่สนับสนุนกองทุนฯได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล โดย รมว.คลัง มีอำนาจเข้ามากำกับดูแลผ่านปลัดกระทรวงการคลัง ที่เป็นรองประธานกรรมการจัดการกองทุนฯ โดยนายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง นายไพโรจน์ เฮงสกุล นางสว่างจิตต์ จัยวัฒน์ อดีต ผจก.กองทุน พยานโจทก์ต่างก็เบิกความไปในทำนองเดียวกันว่า กองทุนฯจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ธปท. และเป็นการตั้งขึ้นเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือผู้ฝากเงินว่าจะได้รับเงินคืน หากสถาบันการเงินเกิดปัญหาล้มละลาย ซึ่งจากคำเบิกความของพยานโจทก์ แสดงให้เห็นว่าในทางปฏิบัติ นายกรัฐมนตรีจะใช้อำนาจกำกับดูแลกองทุนได้โดยผ่าน รมว.คลังตามลำดับชั้น
ดังนั้นองค์คณะจึงมีมติ 6 ต่อ 3 ว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีอำนาจกำกับควบคุมดูแลกองทุนฯ ข้อต่อสู้ของจำเลยทั้งสอง จึงฟังไม่ขึ้น
มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อว่า การทำสัญญาซื้อขายของจำเลยที่ 1 เป็นการฝ่าฝืนพ.ร.บ.ว่าด้วย ป.ป.ช. ม.100 อนุ 1 หรือไม่ เห็นว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวบัญญัติเรื่องการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่รู้กันอย่างชัดแจงรวมทั้งจำเลยที่ 1 และเหตุที่ต้องมีการตั้งกองทุนฯเกิดจากวิกฤตเศรษฐกิจ หากปล่อยให้สถาบันการเงินล้ม จะทำให้ประชาชนเดือดร้อน เศรษฐกิจประเทศชาติเสียหาย จึงจำเป็นต้องนำเงินส่วนหนึ่งไปช่วยเหลือ อาทิ นำเงินไปซื้อที่ดินหรือทรัพย์สินซึ่งมีมูลค่าสูงเกินกว่าความเป็นจริง เพื่อให้สถาบันการเงินได้กำไร นำเงินไปชำระหนี้ ให้ดำรงอยู่ได้ ซึ่งที่ดินพิพาทคดีนี้กองทุนฯ ซื้อมาจาก บ.เงินทุนหลักทรัพย์เอราวัณ ทรัสต์ จำนวน 13 โฉนด เนื้อที่ 35 ไร่เศษ มูลค่า 2,140 ล้านบาทเศษ และอีกหนึ่งแปลง ซึ่งอยู่บริเวณศูนย์วัฒนธรรม มูลค่า 2,749 ล้านบาทเศษ เนื่องจากเกิดวิกฤตสถาบันการเงินปี 38 ต่อมาปี 44 กองทุนฯ ได้มีการปรับปรุงบัญชีเพื่อปรับมูลค่าหนี้ให้ลดน้อยลง เพื่อให้เกิดสภาพคล่อง โดยปรับลดราคาที่ดินเหลือ 700 กว่าล้านบาท แต่การที่กองทุนมีทรัพย์สินจำนวนมาก หากขายได้ราคาสูงมากเท่าใด กองทุนก็ย่อมขาดทุนน้อยลง รัฐเสียหายน้อยลง
โดยต่อมากองทุนฯนำที่ดินออกประมูลทางอินเตอร์เน็ต ตั้งราคาขั้นต่ำ 870 ล้านบาท กำหนดวางมัดจำ10 ล้าน มีผู้เสนอตัวแต่ถึงเวลาไม่มีการเสนอราคา จึงเลิกประมูลเปิดประมูลใหม่โดยไม่กำหนดราคาขั้นต่ำ และเพิ่มการวางมัดจำเป็น 100 ล้านบาท อันเป็นการกีดกัน ทำให้มีผู้เข้าประมูลน้อยลง จำเลยที่ 2 เข้าร่วมประมูลด้วย แม้ว่าจะมีอีก 2 บริษัท คือ บ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ และบ.โนเบิล ดีเวลลอปเมนต์ ร่วมเสนอ แต่รู้ว่าต้องแข่งขันกับภริยานายกรัฐมนตรี จึงไม่กล้าสู้ราคา ซึ่งแม้กองทุนฯ จะเห็นว่า ราคาที่จำเลยที่ 2 เสนอ 772 ล้านบาท เป็นราคาสูงสุด แต่ก็ยังต่ำกว่าราคาขั้นต่ำในการประมูลครั้งแรก ซึ่งอาจจะขายได้ราคาที่สูงและเหมาะสมกว่า อีกทั้งขณะนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี มีอำนาจบารมีเหนือรัฐมนตรี และมีอำนาจทางการเมืองสูง อีกทั้งฐานะการเงินมั่งคั่ง ตามหลักธรรมาภิบาล นายกรัฐมนตรี ภริยา หรือบุตร ไม่สมควรเข้าไปประมูลซื้อ เพราะการซื้อได้ราคาต่ำก็เป็นผลทำให้กองทุนฯมีรายได้น้อยลง ขณะที่จำเลยที่ 2 มีผู้รู้จักจำนวนมาก ประกอบกับข้าราชการมีค่านิยมจำนนต่อผู้มีบารมีสูง นอกจากนั้นยังอาจให้คุณให้โทษทางราชการได้
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ให้บัตรประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ลงนามยินยอมให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายที่ดิน ย่อมถือได้ว่า เป็นการเข้าทำสัญญาด้วยตัวเอง ตาม พ.ร.บ. ปปช.2542 ม. 100 (1) วรรคสาม ที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า การลงชื่อยินยอมเป็นเพียงทำตามระเบียบราชการ แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีหลักฐานมาแสดงให้เห็นได้ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นต่อการซื้อขาย องค์คณะจึงมี มติ 5 ต่อ 4 เห็นว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ปปช. ม. 100 (1) วรรคสาม และต้องรับโทษตาม ม.122 ขอต่อสู้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น
ส่วนจำเลยที่ 2 องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. ปปช. ม.100 (1) วรรคสาม ไม่ต้องรับโทษตาม ม.122 เพราะพ.ร.บ.ปปช. ม.100 ไม่ได้กำหนดบทลงโทษสำหรับคู่สมรสที่กระทำความผิด มีแต่บทลงโทษเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงต้องมีการตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัดตามหลักกฎหมายอาญา เมื่อมีกฎหมายให้ลงโทษ ศาลจึงไม่อาจลงโทษได้
สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.152 ,157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐและผู้สนับสนุนเข้ามีส่วนได้เสียกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อประโยชน์ตน องค์คณะ 8 ต่อ 1 เห็นว่า จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ไม่มีความผิด เพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐที่ดูแลกองทุนฯ แต่จำเลยได้ดำเนินการในฐานะคู่สมรสของจำเลยที่ 2 ให้ความยินยอมทำสัญญาซื้อขายที่ดินอันผิดต่อ พ.ร.บ.ปปช. จึงไม่ผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา ม. 152 ม.157
เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุน
ส่วนที่โจทก์ ขอให้ริบทรัพย์สินซึ่งเป็นที่ดินและเงินซื้อที่ดินจำนวน 772 ล้านบาท องค์คณะมีมติ 7 ต่อ 2 เห็นว่า ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงมิใช่ทรัพย์อันพึงริบตามประมวลฎหมายอาญา ม. 33 (1) (2) ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายให้บริหารราชการแผ่นดิน เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการและประชาชน แต่ จำเลยที่ 1 กลับฝ่าฝืนกฎหมายทั้งที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล ต้องกระทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดี ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ประพฤติตนในสิ่งที่ดีงามตามจริยธรรมของนักการเมืองให้เหมาะสมกับที่ได้รับความไว้วางใจในตำแหน่งหน้าที่อันสำคัญยิ่งจึงไม่สมควรรอการลงโทษ
พิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ปปช. ม. 100 (1) วรรคสาม และ ม. 122 วรรคหนึ่ง ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ส่วนความผิดฐานอื่น และคำขออื่นให้ยกฟ้อง เนื่องจากจำเลยที่ 1 หลบหนี ไม่มาฟังคำพิพากษา จึงมีคำสั่งให้ออกหมายจับ จำเลยที่ 1 เพื่อมาปฏิบัติตามคำพิพากษาต่อไป ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้อง จึงให้เพิกถอนหมายจับเฉพาะคดีนี้