เวลา 13.30 น.วานนี้ (6 ต.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ อาเซียน-ญี่ปุ่น (เอเจเซป) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว ภายหลังจากคณะกรรมาธิการนำไปแก้ไขปรับปรุงใหม่ ในการประชุมครั้งที่ผ่านมา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. ส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพิษ โดยเฉพาะการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในประเทศ ที่จะมาดูแลเรื่องขยะและของเสียอันตราย และกฎหมายระหว่างประเทศมีความซับซ้อนไม่ชัดเจน อาจมีการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย
นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา กล่าวว่า การทำข้อตกลงกับญี่ปุ่น ด้วยการยกเลิกภาษีหลายรายการ แม้ไทยจะได้ประโยชน์ในเรื่องการเติบโตของจีดีพี ร้อยละ 1.19 ขณะที่ญี่ปุ่น ได้ร้อยละ 0.07 ซึ่งดูเหมือนไทยจะได้ประโยชน์มาก แต่เป็นสมมุติฐานที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตในอาเซียนมีกำลังผลิตขนาดเล็กไม่มีอิทธิพลในการต่อรอง
นอกจากนี้ข้อตกลงยังไม่เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศด้วย ซึ่งทำให้ไทยไม่มีโอกาสได้พัฒนาแรงงานจากญี่ปุ่น อีกทั้งแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนยังมีต้นทุนสูงและส่วนใหญ่เป็นสินค้าการเกษตร ทำให้เกิดความเสียเปรียบญี่ปุ่น
พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงกรณีปัญหาขยะมลพิษ โดยระบุว่าจากสถิติการนำเข้าสินค้าสารพิษอันตรายเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในปี 2543 มีจำนวน 47 ล้านตัน ต่อมาปี 2544 มีการนำเข้า 49.6 ล้านตัน เกรงว่าไทยจะเป็นที่รองรับการทิ้งขยะของญี่ปุ่น จึงขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะขณะนี้ตัวเลขคนไทยเป็นมะเร็งสูงมาก เพราะปัญหามลพิษจากสารพิษเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งจะเป็นการตายผ่อนส่ง
ด้านนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รัฐบาลชุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เซ็นสัญญากับญี่ปุ่น โดยสั่งกากขยะแบตเตอรรี่ คอมพิวเตอร์ มือถือ น้ำมันที่ใช้แล้ว มูลค่ารวมกันหลายแสนล้านบาท เข้ามาในประเทศ ไม่ทราบว่าสั่งเข้ามาทำไม ยังไม่รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสี และสารเคมีอีกกว่าพันล้านบาท โดยตั้งแต่ไทยทำสัญญาเอฟทีเอกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอันตรายของญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงที่สุด แล้วจะให้มีการอนุมัติอนุสัญญาฉบับนี้เพื่อเพิ่มขยะให้ประเทศอีก แสดงให้เห็นว่า กมธ.ไม่มีความรอบคอบ
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายว่าข้อตกลงทางการค้าที่ผ่าน ผลดีต่อเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้น เป็นเพียงภาพลวงตาเพราะประเทศไทยขาดดุลญี่ปุ่นปี 50 ถึง 7,296 ล้านเหรียญ ดังนั้นการทำเอเจเซป ต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ กมธ.ไม่ได้มีข้อเสนอในปัญหานี้อย่างจริงจัง ขณะที่มีการประชุมระดับทวิภาคี และลงนามเจเทปป้า แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ก็ยังไม่ยอมลงนาม แล้วไทยมีเหตุผลอะไรไปรีบร้อนลงนาม การทำเช่นนี้เหมือนกับเป็นการเปิดทางให้ประเทศเป็นถังขยะโลก ดังนั้นขอให้ชะลอการทำเอเจเซปไว้ก่อน และพิจารณาให้รอบคอบ แต่ถ้าจะต้องลงนามจริงๆ ก็ขอให้มีเงื่อนไขต่อท้ายเกี่ยวกับมาตรการรองรับข้อตกลงการเคลื่อนย้ายวัตถุอันตราย และสารมีพิษ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์มือสอง ตนไม่อยากให้ประเทศได้ชื่อว่า ส่งออกอาหารมากที่สุดในโลก และเป็นที่ทิ้งขยะของโลก
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะกรรมาธิการชี้แจง โดยยอมรับว่า ยังมีหลายประเด็นที่ไทยเสียเปรียบญี่ปุ่น แต่หากจะให้พิจารณารายละเอียดที่จะเป็นประเด็น คงต้องใช้เวลาศึกษานานเป็นปี ซึ่งมีปัญหาเวลาจำกัด ส่วนข้อกังวลเรื่องขยะสารพิษ นั้นจะมีการกำหนดอนุญาตให้นำเข้า 62 รายการ ที่จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อน และจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ใช่ขยะที่ส่งมาฝังในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หลังจากสมาชิกอภิปรายนานกว่า 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ เอเจเซป ด้วยคะแนน 432 ต่อ 31 งดออกเสียง 6 เสียง และเห็นชอบรายงานข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน 446 ต่อ 3 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 4 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นเป็นการพิจารณากรอบการเจรจาข้อตกลงชั่วคราว ไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหารที่ ครม.เป็นผู้เสนอ อย่างไรก็ดี นายชัย ชิดชอบ แจ้งว่า ขณะนี้ครม.ชุดใหม่ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา จึงจะนำเรื่องนี้มาพิจารณาภายหลังรัฐบาลแถลงนโยบายเสร็จสิ้น และปิดประชุมเวลา 16.15 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. ส่วนใหญ่แสดงความเป็นห่วงเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพิษ โดยเฉพาะการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายในประเทศ ที่จะมาดูแลเรื่องขยะและของเสียอันตราย และกฎหมายระหว่างประเทศมีความซับซ้อนไม่ชัดเจน อาจมีการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย
นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา กล่าวว่า การทำข้อตกลงกับญี่ปุ่น ด้วยการยกเลิกภาษีหลายรายการ แม้ไทยจะได้ประโยชน์ในเรื่องการเติบโตของจีดีพี ร้อยละ 1.19 ขณะที่ญี่ปุ่น ได้ร้อยละ 0.07 ซึ่งดูเหมือนไทยจะได้ประโยชน์มาก แต่เป็นสมมุติฐานที่ขัดแย้งกับข้อเท็จจริง เนื่องจากประเทศผู้ผลิตในอาเซียนมีกำลังผลิตขนาดเล็กไม่มีอิทธิพลในการต่อรอง
นอกจากนี้ข้อตกลงยังไม่เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศด้วย ซึ่งทำให้ไทยไม่มีโอกาสได้พัฒนาแรงงานจากญี่ปุ่น อีกทั้งแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียนยังมีต้นทุนสูงและส่วนใหญ่เป็นสินค้าการเกษตร ทำให้เกิดความเสียเปรียบญี่ปุ่น
พ.ญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเป็นห่วงกรณีปัญหาขยะมลพิษ โดยระบุว่าจากสถิติการนำเข้าสินค้าสารพิษอันตรายเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่าในปี 2543 มีจำนวน 47 ล้านตัน ต่อมาปี 2544 มีการนำเข้า 49.6 ล้านตัน เกรงว่าไทยจะเป็นที่รองรับการทิ้งขยะของญี่ปุ่น จึงขอให้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะขณะนี้ตัวเลขคนไทยเป็นมะเร็งสูงมาก เพราะปัญหามลพิษจากสารพิษเป็นสาเหตุหลัก ซึ่งจะเป็นการตายผ่อนส่ง
ด้านนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ อภิปรายว่า รัฐบาลชุด พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้เซ็นสัญญากับญี่ปุ่น โดยสั่งกากขยะแบตเตอรรี่ คอมพิวเตอร์ มือถือ น้ำมันที่ใช้แล้ว มูลค่ารวมกันหลายแสนล้านบาท เข้ามาในประเทศ ไม่ทราบว่าสั่งเข้ามาทำไม ยังไม่รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสี และสารเคมีอีกกว่าพันล้านบาท โดยตั้งแต่ไทยทำสัญญาเอฟทีเอกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอันตรายของญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงที่สุด แล้วจะให้มีการอนุมัติอนุสัญญาฉบับนี้เพื่อเพิ่มขยะให้ประเทศอีก แสดงให้เห็นว่า กมธ.ไม่มีความรอบคอบ
น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. อภิปรายว่าข้อตกลงทางการค้าที่ผ่าน ผลดีต่อเศรษฐกิจหรือผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้น เป็นเพียงภาพลวงตาเพราะประเทศไทยขาดดุลญี่ปุ่นปี 50 ถึง 7,296 ล้านเหรียญ ดังนั้นการทำเอเจเซป ต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยเฉพาะผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม แต่ กมธ.ไม่ได้มีข้อเสนอในปัญหานี้อย่างจริงจัง ขณะที่มีการประชุมระดับทวิภาคี และลงนามเจเทปป้า แต่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างฟิลิปปินส์ ก็ยังไม่ยอมลงนาม แล้วไทยมีเหตุผลอะไรไปรีบร้อนลงนาม การทำเช่นนี้เหมือนกับเป็นการเปิดทางให้ประเทศเป็นถังขยะโลก ดังนั้นขอให้ชะลอการทำเอเจเซปไว้ก่อน และพิจารณาให้รอบคอบ แต่ถ้าจะต้องลงนามจริงๆ ก็ขอให้มีเงื่อนไขต่อท้ายเกี่ยวกับมาตรการรองรับข้อตกลงการเคลื่อนย้ายวัตถุอันตราย และสารมีพิษ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์มือสอง ตนไม่อยากให้ประเทศได้ชื่อว่า ส่งออกอาหารมากที่สุดในโลก และเป็นที่ทิ้งขยะของโลก
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ในฐานะกรรมาธิการชี้แจง โดยยอมรับว่า ยังมีหลายประเด็นที่ไทยเสียเปรียบญี่ปุ่น แต่หากจะให้พิจารณารายละเอียดที่จะเป็นประเด็น คงต้องใช้เวลาศึกษานานเป็นปี ซึ่งมีปัญหาเวลาจำกัด ส่วนข้อกังวลเรื่องขยะสารพิษ นั้นจะมีการกำหนดอนุญาตให้นำเข้า 62 รายการ ที่จะต้องขออนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อน และจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตอุตสาหกรรมเท่านั้น ไม่ใช่ขยะที่ส่งมาฝังในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม หลังจากสมาชิกอภิปรายนานกว่า 2 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ เอเจเซป ด้วยคะแนน 432 ต่อ 31 งดออกเสียง 6 เสียง และเห็นชอบรายงานข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการด้วยคะแนน 446 ต่อ 3 งดออกเสียง 8 ไม่ลงคะแนน 4 เสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นเป็นการพิจารณากรอบการเจรจาข้อตกลงชั่วคราว ไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหารที่ ครม.เป็นผู้เสนอ อย่างไรก็ดี นายชัย ชิดชอบ แจ้งว่า ขณะนี้ครม.ชุดใหม่ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา จึงจะนำเรื่องนี้มาพิจารณาภายหลังรัฐบาลแถลงนโยบายเสร็จสิ้น และปิดประชุมเวลา 16.15 น.