“พาณิชย์”ไม่สนวิกฤตเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลามทั่วโลก ฟุ้งตั้งเป้าส่งออกปี 2552 โต 15% แถมมีเป้าพิเศษ 17-19% “ไชยา”ระบุมีแผนรับมือไว้แล้ว เตรียมอัดกิจกรรมทุ่มลงตลาดใหม่ดันยอดส่งออกเต็มที่ ขณะที่ตลาดหลักจะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดไม่ให้ลด พร้อมรุกเปิดตัวธุรกิจบริการร้านอาหาร สปา บันเทิง โรงพยาบาล แฟรนไชส์ดึงเงินอีกทาง “ราเชนทร์”รับตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวลดลงแน่ แต่ตลาดอื่นยืนยันเป้าเดิม
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 โดยคาดการว่าจะมีอัตราการขยายตัว 15% มีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จากฐานการส่งออกในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 15-20% มูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และอาจจะขยายตัวได้ 17-19% หากวิกฤตการทางการเงินในสหรัฐฯ คลี่คลายตัวลงได้เร็ว และผลกระทบไม่ลุกลามไปยังเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ
นายไชยากล่าวว่า สำหรับแผนการผลักดันการส่งออกอย่างเร่งด่วน กระทรวงพาณิชย์จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในตลาดที่ได้รับผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อย โดยเน้นประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก 65.3% ของการส่งออกรวม โดยจะผลักดันให้สัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 65-67% เพื่อชดเชยตลาดหลักที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ส่วนในตลาดหลักที่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่มีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 34.7% นั้น กระทรวงพาณิชย์จะมุ่งส่งเสริมเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ไม่ให้ส่งออกลดลง ซึ่งจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม และมีมาตรการใหม่ๆ
นอกจากนี้ จะเน้นการผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอย่างเต็มที่ โดยต้องเพิ่มสัดส่วนการส่งออกจาก 17% ของมูลค่าการส่งออกรวมเป็น 17-19% เพราะสินค้ากลุ่มนี้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูง การส่งเสริมธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหารไทย ธุรกิจบันเทิง ภาพยนตร์ การศึกษา สปาและโรงพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งธุรกิจใหม่ๆ เช่น แฟรนไชส์ การออกแบบ ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ ธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าผ่านอินเทอร์เน็ต มีกิจกรรมที่จะดำเนินการ 94 โครงการ
ขณะเดียวกัน จะหาทางลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งการลงทุนด้านสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง เช่น รถไฟรางคู่ ท่าเรือ รถไฟ ลดขั้นตอนราชการโดยให้บริการ ณ จุดเดียว (One Stop Service) ให้มากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนตั้งโรงงานผลิตในสาขาที่มีศักยภาพ และการเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศ ในตลาดอาเซียน จีน ตะวันออกกลาง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้รับการยืนยันจากทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ทั่วโลกว่าการส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง และยืนยันเป้าหมายการส่งออกที่ได้เคยหารือไว้ในการประชุมที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ยกเว้นตลาดสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวลดลงจาก 7% เหลือ 3-5% เนื่องจากวิกฤตการทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้กำลังซื้อลดลง
ส่วนตลาดส่งออกสำคัญอื่นๆ ยังคงเป้าหมายการส่งออกเดิม เช่น ญี่ปุ่น 8% อาเซียน 9.1% สหภาพยุโรป 7% ยุโรปตะวันออก 30% แคนาดา 7.5% เอเชียใต้ 25% ตะวันออกกลาง 20% แอฟริกา 25% จีน 20% และรัสเซีย 30% เป็นต้น
นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 โดยคาดการว่าจะมีอัตราการขยายตัว 15% มีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ จากฐานการส่งออกในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 15-20% มูลค่าประมาณ 1.8 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และอาจจะขยายตัวได้ 17-19% หากวิกฤตการทางการเงินในสหรัฐฯ คลี่คลายตัวลงได้เร็ว และผลกระทบไม่ลุกลามไปยังเศรษฐกิจของประเทศอื่นๆ
นายไชยากล่าวว่า สำหรับแผนการผลักดันการส่งออกอย่างเร่งด่วน กระทรวงพาณิชย์จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในตลาดที่ได้รับผลกระทบของวิกฤตเศรษฐกิจโลกน้อย โดยเน้นประเทศอาเซียน จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออก 65.3% ของการส่งออกรวม โดยจะผลักดันให้สัดส่วนการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็น 65-67% เพื่อชดเชยตลาดหลักที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ส่วนในตลาดหลักที่คาดว่าเศรษฐกิจจะชะลอตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ที่มีสัดส่วนการส่งออกประมาณ 34.7% นั้น กระทรวงพาณิชย์จะมุ่งส่งเสริมเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ไม่ให้ส่งออกลดลง ซึ่งจะยังคงกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในระดับเดิม และมีมาตรการใหม่ๆ
นอกจากนี้ จะเน้นการผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารอย่างเต็มที่ โดยต้องเพิ่มสัดส่วนการส่งออกจาก 17% ของมูลค่าการส่งออกรวมเป็น 17-19% เพราะสินค้ากลุ่มนี้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศสูง การส่งเสริมธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหารไทย ธุรกิจบันเทิง ภาพยนตร์ การศึกษา สปาและโรงพยาบาล เป็นต้น รวมทั้งธุรกิจใหม่ๆ เช่น แฟรนไชส์ การออกแบบ ก่อสร้าง อู่ซ่อมรถ ธุรกิจตัดเย็บเสื้อผ้าผ่านอินเทอร์เน็ต มีกิจกรรมที่จะดำเนินการ 94 โครงการ
ขณะเดียวกัน จะหาทางลดต้นทุนด้านโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยสนับสนุนให้รัฐบาลเร่งการลงทุนด้านสาธารณูปโภคด้านการขนส่ง เช่น รถไฟรางคู่ ท่าเรือ รถไฟ ลดขั้นตอนราชการโดยให้บริการ ณ จุดเดียว (One Stop Service) ให้มากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยออกไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งการลงทุนตั้งโรงงานผลิตในสาขาที่มีศักยภาพ และการเปิดสาขา หาตัวแทนและหุ้นส่วนในต่างประเทศ ในตลาดอาเซียน จีน ตะวันออกกลาง
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกสินค้าไทยในปี 2552 คาดว่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้รับการยืนยันจากทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ทั่วโลกว่าการส่งออกจะยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง และยืนยันเป้าหมายการส่งออกที่ได้เคยหารือไว้ในการประชุมที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนก.ย.ที่ผ่านมา ยกเว้นตลาดสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะขยายตัวลดลงจาก 7% เหลือ 3-5% เนื่องจากวิกฤตการทางการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ทำให้กำลังซื้อลดลง
ส่วนตลาดส่งออกสำคัญอื่นๆ ยังคงเป้าหมายการส่งออกเดิม เช่น ญี่ปุ่น 8% อาเซียน 9.1% สหภาพยุโรป 7% ยุโรปตะวันออก 30% แคนาดา 7.5% เอเชียใต้ 25% ตะวันออกกลาง 20% แอฟริกา 25% จีน 20% และรัสเซีย 30% เป็นต้น