รัฐบาลหาง(แดง)โผล่ บรรจุการแก้ไขรัฐธรรมนูญในนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภา เล็งแก้มาตรา 291 และอีกกว่า 20 มาตรา เพื่อตั้ง ส.ส.ร.3 มาแก้ไขรัฐธรรมนูญ อ้างปฏิรูปการเมืองใหม่ ด้านประชาธิปัตย์จวกแค่แผนซื้อเวลา จับตาทำเพื่อส่วนรวมหรือเพื่อตัวเองและพวกพ้อง ขณะที่อดีตเลขากมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ50 ย้ำต้องให้คนกลางเข้ามาทำหน้าที่ และต้องดูเนื้อหาว่าจะแก้เรื่องอะไร
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ (30 ก.ย.) ซึ่งมีการพิจารณาร่างนโยบายรัฐบาลว่า นโยบายทั้งหมดมี 29 หน้า มี 3 ภาคผนวก โดยภาคผนวกแรกคือ กฎหมายที่จะออกตามนโยบาย ภาคผนวกที่ 2 เป็นกฎหมายที่ต้องจัดทำตามรัฐธรรมนูญ ภาคผนวกที่ 3 เป็นรายละเอียดว่าได้ทำครบถ้วนตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ทุกประเด็นทุกมาตรา ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขบางถ้อยคำ
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติมในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าไปด้วย โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องอยู่บนพื้นฐานการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนี้ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องมีการรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการแก้ใข มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเดิม มาตรา 291 ระบุการเสนอแก้ไขของรัฐมนตรี,ส.ส., ส.ว.และประชาชน 5 หมื่นคน ซึ่งแก้ไขได้เฉพาะบางประเด็น บางมาตราเท่านั้น และการอนุมัติก็เป็นอำนาจของรัฐสภา
"หากได้มีการแก้ไขในคราวนี้ก็จะแก้ไข มาตรา 291 เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น อาจจะให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มาจากทุกกลุ่มอาชีพที่เป็นกลาง ที่มีความรู้ ความสามารถ อย่างแท้จริง เข้ามาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะแก้มาก แก้น้อย แก้อย่างไร ก็สุดแท้แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญ นี่คือสิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้าไปในนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ในการแถลงนโยบาย ได้ประสานกันแล้วว่า จะแถลงเป็นเวลา 2 วัน ในเบื้องต้น คือวันอังคารที่ 7 ต.ค. และพุธที่ 8 ต.ค. เว้นแต่การอภิปรายไม่แล้วเสร็จ ก็สุดแท้แต่จะพิจารณาของสภา" นายสุขุมพงศ์กล่าว
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า หากมี ส.ส.ร. ชุดใหม่ขึ้นมา ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ก่อนและต้องแก้อีก 20 กว่ามาตรา เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของส.ส.ร. ส่วนอายุรัฐบาลจะอยู่ได้นานหรือไม่นั้น ขึ้นตามอายุการทำงานของส.ส.ร. และเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ จะเขียนไว้ในบทสรุปนโยบายรัฐบาล ที่จะแถลงต่อรัฐสภาในสัปดาห์หน้า
**"สมชาย"ทำมึน อ้างเป็นเรื่องของสภา
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เรื่องนี้ท่าทีของรัฐบาล คือ หากเป็นการเมืองที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องเป็นประชาชนทั้งประเทศ 60 กว่าล้านคน ถ้าคนเหล่านั้นมีโอกาสตัดสินใจ ถือเป็นเรื่องการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่ประชาชนแค่จุดใด จุดหนึ่ง
"ตอนนี้ยังไม่มีอะไร เป็นแต่เพียงว่า ถ้ามีการดำเนินการไปในแนวทางนี้ รัฐบาลก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะต้องลงมือ"
เมื่อถามว่า แนวทางที่จะให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมหมายถึง ส.ส.ร.3 ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ก็อาจจะเป็นแนวนั้น มันก็ดีกว่าที่รัฐบาลจะทำกันเองโดยที่ประชาชนเจ้าของประเทศไม่รู้เรื่องเลย
ต่อข้อถามว่าตกลงรัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของสภา เมื่อถามว่าจำเป็นจะต้องพูดคุยกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อเจรจาหรือไม่ นายสมชาย ปฏิเสธ ที่จะตอบคำถามนี้
**ปชป.จวกตั้งส.ส.ร.3แค่ซื้อเวลา
นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.กรรมการบริหาร และผู้บริหารพรรค ว่า ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ของบ้านเมือง โดยมีการหยิบยกในเรื่องการตั้ง ส.ส.ร.3 โดยผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งพรรคเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเกิดจากแรงกดดันจากสังคม ทำให้รัฐบาลต้องนำแนวทางปฏิรูปการเมืองขึ้นมาใช้ เพื่อเป็นการซื้อเวลาเท่านั้น เพราะยังไม่แน่ใจว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 มีความน่าเชื่อถือ และสังคมรับได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากขณะนี้ อยู่ในช่วงที่อัยการสูงสุด (อสส.) ส่งสำนวนยุบพรรคการเมือง 3 พรรค เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐธรรมนูญแล้ว
ดังนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้ประชาชนคลางแคลงใจ ว่าการตั้ง ส.ส.ร.3 โดยใช้เสียงข้างมากจะปฏิรูปการเมืองได้จริงหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงฝ่ายเดียว เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ดังนั้น รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการปฏิรูปการเมือง
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ประเมินสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ความขัดแย้งของส.ส.ในพรรคพลังประชาชน จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ที่ขณะนี้ยังมีการต่อรองอำนาจของกลุ่มการเมืองภายในพรรค และท่าทีของนายกรัฐมนตรี ยังสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ และไม่เป็นตัวของตัวเอง เห็นได้จากการใช้สื่อของรัฐมาทำลายฝ่ายตรงข้าม
ดังนั้น นายกฯต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะเข้ามาสร้างความสมาฉันท์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามที่จะไปเจรจากับพันธมิตรฯ รวมถึงกรณีที่นายกฯ พยายามเข้าหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งหวังว่านายกฯ จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ ด้วยการตัดสินใจที่เป็นอิสระด้วยตัวของตัวเอง
**"อภิสิทธิ์"ย้ำต้องไม่ใช่ทำเพื่อตัวเอง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลบรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าไปในนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภาว่า ขณะนี้พรรคยังไม่เห็นร่างแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการ แต่สิ่งที่พรรคเรียกร้องในแง่ของการคลี่คลายวิกฤต คือ อยากให้รัฐบาลได้มีความชัดเจนว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อปฎิรูปการเมืองเท่านั้น ไม่ใช่ปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องดูการแถลงนโยบายของรัฐบาล ว่าจะมีประเด็นใดบ้างที่ผูกมัดตัวรัฐบาล เพราะก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของสภา เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า รัฐบาลแถลงนโยบาย กลายเป็นการปฏิรูปการเมือง แต่เอาเข้าจริง ส.ส.พรรคพลังประชาชน กลับไปเสนอแก้กฎหมายเพื่อตัวเอง
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเขียนไว้อย่างชัดเจนในนโยบาย รัฐบาลก็ต้องทำ แต่พรรคประชาธิปัตย์ จะขอดูว่าการแก้รัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนอย่างไร และเป็นการแก้รัฐธรรมนูญในลักษณะไหน เพราะข้อเสนอของการแก้รัฐธรรมนูญ จะไปสรุปว่าเป็นการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญ จะต้องมีความชัดเจนว่า ต้องการปรับปรุงระบบการเมืองของไทยอย่างไร
ส่วนข้อเสนอของพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค เห็นด้วยที่จะมีการปฎิรูปการเมือง โดยให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมานั้น ก็ต้องดูว่าที่มาของ ส.ส.ร. มีส่วนร่วมจากประชาชนมากน้อยแค่ไหน มีระยะเวลาแค่ไหน และสอดคล้องกับที่หลายฝ่ายเรียกร้องแค่ไหน และจะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองหรือไม่ เพราะความจริงรูปแบบ และขั้นตอนอาจจะไม่สำคัญเท่ากับการออกมากำหนดเป้าหมายร่วมกันก่อน หากจะมีการตั้งคณะกรรมการในรูปของคณะกรรมการอิสระ สุดท้ายก็ต้องนำข้อสรุปเข้าสู่การพิจารณาของสภา
หากจะมีการตั้งส.ส.ร. นั่นหมายความว่า ให้ สภาตั้งส.ส.ร.ขึ้นมาคณะหนึ่ง แล้วไปเขียนรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้ ส่วนตัวไม่ได้ติดใจรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และรัฐธรรมนูญมีเป้าหมายที่ชัดเจน ให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ส่วนการนำประเด็น การปฏิรูปการเมืองบรรจุไว้ในนโยบายจะมีความเหมาะสมหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากจะมีการพูดถึงประเด็นกว้างๆ ในเรื่อง ส.ส.ร.ก็คงจะตอบยาก เพราะยังไม่รู้ข้อเสนอว่าส.ส.ร. มาจากไหน และอำนาจ ส.ส.ร.ชุดนี้ จะเหมือนกับ ส.ส.ร.1 หรือเปล่า ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ แต่หลักใหญ่ของการปฏิรูปการเมืองนั้น ต้องให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ระบบดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง
เมื่อถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ เหมือนกับการพายเรือในอ่างสุดท้ายไม่สามารถที่แก้ปัญหาได้ แนวทางการยุบสภาน่าจะเป็นทางออกทีดีที่สุดในขณะนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญ หรือการปฏิรูปการเมือง เป็นเพียงแค่การแก้ที่ระบบ ซึ่งระบบมีข้อบกพร้องอะไรก็ปรับปรุงได้ แต่ปัญหาการเมืองหลายครั้งไม่ได้อยู่ที่ระบบ อยู่ที่ตัวบุคคล และพฤติกรรมของนักการเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้จะแก้โดยรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ ส่วนจะยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ หากการเลือกตั้งสุจริตเที่ยงธรรมก็ไม่มีปัญหา เพราะตนเคยเสนอแล้วว่า การยุบสภาจะเป็นการคลี่คลายสถานการณ์ได้
**ต้องขจัดความหวาดระแวงทั้ง2ฝ่าย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิป) แถลงภายหลังการประชุม ถึงข้อเสนอของฝ่ายต่างๆ ในการหาทางออกให้กับวิกฤติของบ้านเมืองว่า ขณะนี้วิปฝ่ายค้านเห็นแล้วว่า ต้นตอของปัญหาเกิดจากการเมือง 2 ภาค ที่มีความหวาดระแวงต่อกัน ส.ส.รัฐบาลถูกภาคประชาชนหวาดระแวงว่า เป็นตัวแทนกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ ขณะที่การเมืองภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ถูกภาคการเมืองระแวงว่า ต้องการล้มการเมือง ซึ่งแนวคิดของ 24 อธิการดี และแนวคิดของรัฐบาล ยังไม่สามารถยอมรับกันได้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดเสีย รัฐบาลไม่สามารถตอบได้ว่า จะกำหนดที่มาของ ส.ส.ร. อย่างไร ขณะที่แนวคิดตั้งคณะกรรมการอิสระของ 24 อธิการบดี ก็ยังเป็นปัญหาเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม วิปฝ่ายค้านขอเสนอทางออกให้นำ 2 แนวคิดนี้มารวมกัน คือให้มีการแต่งตั้งคนกลางรวมกับ 24 อธิการบดี คิดรูปแบบของ ส.ส.ร. และเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตั้ง ส.ส.ร. ตามแนวคิดดังกล่าวเพื่อการปฏิรูปการเมือง ซึ่งเหลือเวลาอีก 3-4 วัน ที่เชื่อว่ารัฐบาลจะบรรจุไว้ในคำแถลงนโยบายด้วย ซึ่งฝ่ายค้านก็จะมีการเสนอรูปแบบการปฏิรูปการเมืองเช่นกัน
**นโยบายรัฐบาลต้องตอบโจทย์ 5 ข้อ
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวด้วยว่า ในการแถลงนโยบายนั้น ขอเสนอแนะให้รัฐบาลตอบโจทย์ 5 ข้อให้ชัดเจน คือ
1.รัฐบาลจะต้องประเมินให้ชัดว่า 8 เดือนของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช อะไรทำสำเร็จอะไรที่ค้างคา ต้องตอบให้ชัดว่ากรณีเขาพระวิหาร รถเมล์ 6 พันคัน และกรณีซีแอลยา จะทำอย่างไร จะปฏิเสธว่า เป็นรัฐบาลมาใหม่โดยไม่ยอมพูดถึงไม่ได้
2. ต้องแถลงให้ชัดว่า รัฐบาลจะไม่ทำอะไรนอกเหนือนโยบายที่แถลงไว้อย่างเด็ดขาด
3. ต้องสร้างความเชื่อมั่นว่า รัฐมนตรีแต่ละคนที่แต่งตั้ง มิใช่เพื่อตอบแทนบุญคุณแต่ละกลุ่ม
4. รัฐบาลยอมรับหรือไม่ว่าเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล ซึ่งต้องคิดนโยบายระยะสั้น เพียง 5-6เดือน
5.ต้องแถลงให้ชัดถึงท่าทีต่อองค์กรอิสระ และการเอื้อประโยชน์ให้การเมืองภาคการตรวจสอบดำเนินไปได้อย่างเต็มที่
**ชาติไทยแบะท่าหนุน ส.ส.ร.3
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาการเมืองในขณะนี้ว่า หลายฝ่ายก็พยายามหาทางออกร่วมกัน โดยข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ก็ถือเป็นทางออกหนึ่ง ในการที่จะตั้งกรรมการอิสระขึ้นมาดำเนินการ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า กรรมการอิสระที่จะเข้ามาจะมีการคัดเลือกกันอย่างไร และจะอิสระ เป็นกลาง จริงหรือไม่ และต้องมาทำประชาพิจารณ์ ซึ่งน่าจะใช้เวลานาน
สมัยที่ตนเคยมีส่วนในการยกร่างฯ ได้แก้มาตรา 211 ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนมาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนั้น ส่วนส.ส.ร.ก็มีการคัดเลือกมาจากทุกจังหวัดที่เป็นตัวแทนประชาชน แต่ไม่ทราบว่ารัฐบาลนี้จะมีแนวทางอย่างไร ซึ่งตนเห็นว่า น่าจะทำเหมือนสมัยที่ตนเคยทำจะเป็นกลางที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมาทำประชามติอีกครั้ง ส่วนรัฐจะเอาอย่างไรก็แล้วแต่ นี่เป็นเพียงความเห็นของตน
นายบรรหาร กล่าวว่า มาตรา 291 ก็เหมือนกับ มาตรา 211 ที่ตนนำมาแก้ ในนั้นบัญญัติว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราจะแก้มาตราเดียว เพื่อปูทางมาสู่ ส.ส.ร. 3 ตนคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ตนเห็นด้วย ส่วนข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ตนก็เห็นด้วย แต่เป็นห่วงว่า ที่มาจะเลือกใครเข้ามา เป็นประชาธิปไตย เป็นกลางหรือไม่ ตรงนี่น่าเป็นห่วง เพราะไม่รู้ว่าคณะกรรมการอิสระ จะเป็นอิสระ มีความชอบธรรมจริงหรือไม่ แล้วจะเลือกกันอย่างไร มันไม่ง่าย
"เดี๋ยวมันก็ได้แบบอีหรอบ 2550 ที่ตั้งออกมาร่างฯ แล้วก็มาฟัดนักการเมือง จริงๆ อยากจะเรียนว่า นักการเมืองไม่ว่าใหม่หรือเก่า มันก็เหมือนกันหมด ดังนั้นเราควรที่จะสร้างนักการเมืองขึ้นมา ที่มีศักยภาพที่มั่นคง และแข็งแรงสำหรับทุกพรรคการเมืองด้วย เดินทางไปสู่ประชาธิปไตยอันมั่นคงในอนาคตเหมือนกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นี่คือจุดมุ่งหมาย เราไม่ควรทำลายพรรคการเมือง"
ผู้สื่อข่าวถามว่า คุณสมบัติ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เหมาะที่จะนั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ตอนที่ตนแก้ไข มาตรา 211 ตนก็เอา นพ.ประเวศ มาเหมือนกัน เอาท่านมาเป็นบรรทัดฐาน แต่แก้บางมาตรา แล้วก็ต้องไปทาบทามท่าน ซึ่งท่านอาจจะรับหรือไม่รับก็ได้ แต่คิดว่าความเห็นตนดีกว่าเยอะ คือ แก้มาตรา 291 เสร็จแล้วก็มาเลือกตั้งหาตัวแทนแต่ละจังหวัดขึ้นมา
**แนะให้ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อน
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ให้มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อปฏิรูปการเมืองว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ได้เขียนให้สิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้แล้ว ข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ที่ส่งให้นายกรัฐมนตรีนั้น หากมีการส่งมายังประธานรัฐสภา ก็พร้อมที่จะรับมาพิจารณาในเรื่องที่อยู่ในกรอบของกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการส่งมาให้ ตนจึงไม่รู้ว่าเนื้อหาแท้จริงเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเรื่องนี้คนนอกแก้ไขไม่ได้ หากจะแก้ต้องแก้ด้วยสภา ใจจริงตนอยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของประชาชนทั้งประเทศ จะมาแก้กันโดยพลการไม่ได้ เพราะประชาชนยังมีเสียงที่แตกแยกกัน ต่างฝ่ายต่างมองว่า อีกฝ่ายหนึ่งผิด ฉะนั้นจึงต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทั้ง 76 จังหวัดว่ามีความคิดเห็นอย่างไร โดยอาจให้ผู้นำท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด เป็นผู้สรุปความเห็นขึ้นมายังรัฐสภาก็ได้
ส่วนแนวทางการตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชัย กล่าวว่า อยู่ที่ดุลยพินิจของส.ส. และส.ว. เมื่อถามว่าเรื่องนี้ ใครควรจะรับเป็นเจ้าภาพ เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา นายชัย ตอบว่า สื่อและมหาวิทยาลัยต่างๆ น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนได้ ไม่ควรให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
เมื่อถามว่า คิดว่าเมื่อมี ส.ส.ร.3 แล้วความขัดแย้งในสังคมจะยุติลงได้หรือไม่เพราะล่าสุดนายกรัฐมนตรียังถูกโห่ไล่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตอบว่า อย่าว่าแต่นายกฯที่โดนไล่ แม้กระทั่งตนยังโดนเลย เมื่อถามย้ำว่า คิดว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะลุกลามออกไปหรือไม่ นายชัย ตอบว่านายกฯ เองก็พยายามอ่อนนอก แข็งใน และได้รองนายกฯ ที่มีบทบาทสำคัญในการประนีประนอม ลงมาช่วยแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ แล้ว เห็นว่าล่าสุดนายกฯจะไปเคารพประธานองคมนตรี
**ปธ.วุฒิหนุนแก้ ม.291 ตั้ง ส.ส.ร.3
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. 3 มาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เห็นด้วย เพราะการแก้มาตรา 291 เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะอย่างน้อยก็เป็นการเปิดให้ทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันร่วมแก้ไข ซึ่งเชื่อว่า ทุกฝ่ายยอมรับได้
เมื่อถามว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะดีหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะแก้มาตรา 291 ก่อน เพื่อตั้งส.ส.ร. ขึ้นมา เพราะมาตราดังกล่าว เป็นการแก้วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ทุกฝ่ายมาระดมความคิดเห็น เมื่อได้ร่างการแก้ไข ก็เสนอมายังรัฐสภา เพื่อแก้ไขต่อไป
"ตรงนี้จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ หากมีการเชิญทุกฝ่ายมาร่วม รวมทั้งพันธมิตรฯด้วย ก็น่าจะทำได้ และทำได้ดี เพราะตรงนี้ไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นวิธีการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็น่าจะยอมรับกันได้" นายประสพสุขกล่าว
เมื่อถามว่ารัฐบาลควรเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เลยหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลอยากเปลี่ยนแปลงการเมือง และให้เกิดความสมานฉันท์ ก็ลองดู เพื่อให้บ้านเมืองสงบ
**สำคัญที่เนื้อหาว่าจะแก้อะไร
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวถึงการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เห็นด้วยว่าเป็นทางออกที่ดี เนื่องจากเจตนารมณ์เดิมของผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 291 ว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้ ทั้งนี้ เห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้ ควรจะมีการตั้ง ส.ส.ร. 3 ขึ้น จะถูกหรือผิด ยังไม่สามารถบอกได้ แต่ต้องเป็นสิ่งที่สังคมต้องยอมรับได้ ว่าส.ส.ร.3 เป็นสิ่งที่ดี หากปฏิรูปการเมืองโดยนักการเมืองเอง ประชาชนคงไม่ยอมรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่าสถานการณ์ขณะนี้ควรจะใช้รูปแบบใด นายสมคิด กล่าวว่า มีผู้เสนอมาหลายสูตร ไม่ว่าจะเป็นสูตรตามรัฐธรรมนูญปี2540 มีที่มาสองที่ คือ มาจาก76 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดว่า 76 คน มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ทั้งที่ความจริงเป็นการรับสมัครจากผู้จบปริญญาตรี มาสมัคร และเลือกเหลือ 10 คน จากนั้นส่งชื่อให้รัฐสภาเลือกเหลือเพียง 1 คน ถือเป็นระบบที่ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งสูตรนี้เป็นที่ยอมรับพอสมควร แต่ถ้าจะนำสูตรนี้มาใช้ จะยอมรับได้หรือไม่ เพราะหลายฝ่ายอาจมองว่า รัฐบาลหรือรัฐสภาจะเลือกเฉพาะคนของตัวเองเข้ามาก็ได้ คิดว่าองค์ประกอบตามรัฐธรรมนูญปี 2540 น่าจะใช้ได้ เว้นแต่ว่าประชาชนจะไม่ยอมรับสูตรนี้
ส่วนข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ให้มีการปฏิรูปการเมืองนั้น นายสมคิดกล่าวว่า ข้อเสนอของอธิการบดี ไม่ได้คิดแบบเดียวกับแนวทางนี้ เพราะเขาเสนอให้เลือกมาเพียงคนเดียว คือให้ประธานรัฐสภา เลือกประธานขึ้นมา และให้ประชาชนยอมรับ จากนั้นให้ประธานตั้งคณะกรรมการขึ้นเอง ซึ่งสูตรนี้เชื่อว่า คนจะยอมรับพอสมควร แต่ต้องพูดให้ชัดว่า ยอมรับได้หรือไม่ที่รัฐบาลมาเลือกเหลือเพียง 1 คน โดยต้องไว้ใจประธานรัฐสภา ซึ่งก็ต้องไว้ใจคณะกรรมการด้วย
นายสมคิด กล่าวด้วยว่า การแก้รัฐธรรมนูญมี 2 เรื่อง คือแก้รูปแบบ และแก้เนื้อหา การแก้ มาตรา 291 เป็นเพียงแก้รูปแบเท่านั้น ท้ายสุดต้องไปจบที่เนื้อหาว่าต้องการแก้เพื่ออะไร ซึ่งตนคิดว่าควรเริ่มต้นที่รูปแบบก่อน หากรูปแบบมีปัญหาคงไม่สามารถยอมรับได้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งการแก้ มาตรา 291 มีหลายสูตรที่เสนอเข้ามา แต่ที่มีนักวิชาการเสนอว่า ควรจะมีจำนวนคนไม่มาก และไม่มีส่วนได้เสีย โดยที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา เพราะหากผ่านความเห็นชอบจากสภา ซึ่งเป็นนักการเมืองจะถูก มองว่าเป็นคนของรัฐบาล ดังนั้นควรมีบุคคลกลางเข้ามา
"ผมเห็นด้วยกับ 24 อธิการบดี ที่เสนอคนกลาง คือนพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาเป็นประธานฯ โดยไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายใด และเห็นว่าไม่ควรให้แกนนำพันธมิตรฯ และฝ่ายรัฐบาล เข้ามามีบทบาทในการร่วมแก้รัฐธรรมนูญ มิเช่นนั้น จะเกิดปัญหาไม่จบสิ้น เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการทำตามข้อเสนอของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองใหม่ 50:50 การสรรหาจากวิชาชีพ ซึ่งวิธีนี้ไม่ถือเป็นข้อเสนอใหม่ แต่ถ้าคนกลางที่ไม่ใช่มาจาก ส.ส.และ ส.ว. คาดว่าจะเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งต้องยอมรับว่า ข้อเสนอของรัฐบาล และพันธมิตรฯ ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ควรเป็นคนกลางดีที่สุด ส่วนกรอบเวลาในการทำงาน ต้องปล่อยให้คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองกำหนด เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ควรมี ส.ส.ร.3 เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ" นายสมคิดกล่าว
นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวานนี้ (30 ก.ย.) ซึ่งมีการพิจารณาร่างนโยบายรัฐบาลว่า นโยบายทั้งหมดมี 29 หน้า มี 3 ภาคผนวก โดยภาคผนวกแรกคือ กฎหมายที่จะออกตามนโยบาย ภาคผนวกที่ 2 เป็นกฎหมายที่ต้องจัดทำตามรัฐธรรมนูญ ภาคผนวกที่ 3 เป็นรายละเอียดว่าได้ทำครบถ้วนตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ทุกประเด็นทุกมาตรา ซึ่งอาจจะมีการแก้ไขบางถ้อยคำ
นอกจากนี้ ยังมีการเพิ่มเติมในประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าไปด้วย โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ได้ย้ำว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องอยู่บนพื้นฐานการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข นอกจากนี้ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการจัดทำ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะต้องมีการรับฟังความเห็นของประชาชนทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ รัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการแก้ใข มาตรา 291 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งเดิม มาตรา 291 ระบุการเสนอแก้ไขของรัฐมนตรี,ส.ส., ส.ว.และประชาชน 5 หมื่นคน ซึ่งแก้ไขได้เฉพาะบางประเด็น บางมาตราเท่านั้น และการอนุมัติก็เป็นอำนาจของรัฐสภา
"หากได้มีการแก้ไขในคราวนี้ก็จะแก้ไข มาตรา 291 เพื่อก่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เช่น อาจจะให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้มาจากทุกกลุ่มอาชีพที่เป็นกลาง ที่มีความรู้ ความสามารถ อย่างแท้จริง เข้ามาพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะแก้มาก แก้น้อย แก้อย่างไร ก็สุดแท้แต่สภาร่างรัฐธรรมนูญ นี่คือสิ่งที่จะเพิ่มเติมเข้าไปในนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ในการแถลงนโยบาย ได้ประสานกันแล้วว่า จะแถลงเป็นเวลา 2 วัน ในเบื้องต้น คือวันอังคารที่ 7 ต.ค. และพุธที่ 8 ต.ค. เว้นแต่การอภิปรายไม่แล้วเสร็จ ก็สุดแท้แต่จะพิจารณาของสภา" นายสุขุมพงศ์กล่าว
นายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า หากมี ส.ส.ร. ชุดใหม่ขึ้นมา ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ก่อนและต้องแก้อีก 20 กว่ามาตรา เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของส.ส.ร. ส่วนอายุรัฐบาลจะอยู่ได้นานหรือไม่นั้น ขึ้นตามอายุการทำงานของส.ส.ร. และเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ จะเขียนไว้ในบทสรุปนโยบายรัฐบาล ที่จะแถลงต่อรัฐสภาในสัปดาห์หน้า
**"สมชาย"ทำมึน อ้างเป็นเรื่องของสภา
ด้านนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เรื่องนี้ท่าทีของรัฐบาล คือ หากเป็นการเมืองที่ประชาชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องเป็นประชาชนทั้งประเทศ 60 กว่าล้านคน ถ้าคนเหล่านั้นมีโอกาสตัดสินใจ ถือเป็นเรื่องการเมืองภาคประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่ประชาชนแค่จุดใด จุดหนึ่ง
"ตอนนี้ยังไม่มีอะไร เป็นแต่เพียงว่า ถ้ามีการดำเนินการไปในแนวทางนี้ รัฐบาลก็พร้อมที่จะสนับสนุน แต่ไม่ใช่ว่ารัฐบาลจะต้องลงมือ"
เมื่อถามว่า แนวทางที่จะให้ประชาชนส่วนใหญ่มีส่วนร่วมหมายถึง ส.ส.ร.3 ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า ก็อาจจะเป็นแนวนั้น มันก็ดีกว่าที่รัฐบาลจะทำกันเองโดยที่ประชาชนเจ้าของประเทศไม่รู้เรื่องเลย
ต่อข้อถามว่าตกลงรัฐบาลจะเป็นเจ้าภาพแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ใช่หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า เรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของสภา เมื่อถามว่าจำเป็นจะต้องพูดคุยกับกลุ่มพันธมิตรฯ เพื่อเจรจาหรือไม่ นายสมชาย ปฏิเสธ ที่จะตอบคำถามนี้
**ปชป.จวกตั้งส.ส.ร.3แค่ซื้อเวลา
นพ.บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงภายหลังการประชุมส.ส.กรรมการบริหาร และผู้บริหารพรรค ว่า ที่ประชุมได้มีการวิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ของบ้านเมือง โดยมีการหยิบยกในเรื่องการตั้ง ส.ส.ร.3 โดยผ่านการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ซึ่งพรรคเห็นว่าแนวทางดังกล่าวเกิดจากแรงกดดันจากสังคม ทำให้รัฐบาลต้องนำแนวทางปฏิรูปการเมืองขึ้นมาใช้ เพื่อเป็นการซื้อเวลาเท่านั้น เพราะยังไม่แน่ใจว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการสรรหาบุคคลที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 มีความน่าเชื่อถือ และสังคมรับได้มากน้อยแค่ไหน เนื่องจากขณะนี้ อยู่ในช่วงที่อัยการสูงสุด (อสส.) ส่งสำนวนยุบพรรคการเมือง 3 พรรค เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐธรรมนูญแล้ว
ดังนั้น ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้ประชาชนคลางแคลงใจ ว่าการตั้ง ส.ส.ร.3 โดยใช้เสียงข้างมากจะปฏิรูปการเมืองได้จริงหรือไม่ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด เพราะที่ผ่านมารัฐบาลพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญเพียงฝ่ายเดียว เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ดังนั้น รัฐบาลต้องทำให้ประชาชนมีความรู้สึกร่วมในการปฏิรูปการเมือง
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ประเมินสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ว่า ความขัดแย้งของส.ส.ในพรรคพลังประชาชน จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ที่ขณะนี้ยังมีการต่อรองอำนาจของกลุ่มการเมืองภายในพรรค และท่าทีของนายกรัฐมนตรี ยังสะท้อนให้เห็นว่าไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ และไม่เป็นตัวของตัวเอง เห็นได้จากการใช้สื่อของรัฐมาทำลายฝ่ายตรงข้าม
ดังนั้น นายกฯต้องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความตั้งใจที่จะเข้ามาสร้างความสมาฉันท์ให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามที่จะไปเจรจากับพันธมิตรฯ รวมถึงกรณีที่นายกฯ พยายามเข้าหารือกับ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ซึ่งหวังว่านายกฯ จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับสังคมได้ ด้วยการตัดสินใจที่เป็นอิสระด้วยตัวของตัวเอง
**"อภิสิทธิ์"ย้ำต้องไม่ใช่ทำเพื่อตัวเอง
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงการที่รัฐบาลบรรจุเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าไปในนโยบายที่จะแถลงต่อรัฐสภาว่า ขณะนี้พรรคยังไม่เห็นร่างแถลงนโยบายอย่างเป็นทางการ แต่สิ่งที่พรรคเรียกร้องในแง่ของการคลี่คลายวิกฤต คือ อยากให้รัฐบาลได้มีความชัดเจนว่าจะมีการแก้รัฐธรรมนูญเพื่อปฎิรูปการเมืองเท่านั้น ไม่ใช่ปฏิรูปเพื่อแก้ไขปัญหาของตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องดูการแถลงนโยบายของรัฐบาล ว่าจะมีประเด็นใดบ้างที่ผูกมัดตัวรัฐบาล เพราะก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของสภา เดี๋ยวจะกลายเป็นว่า รัฐบาลแถลงนโยบาย กลายเป็นการปฏิรูปการเมือง แต่เอาเข้าจริง ส.ส.พรรคพลังประชาชน กลับไปเสนอแก้กฎหมายเพื่อตัวเอง
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเขียนไว้อย่างชัดเจนในนโยบาย รัฐบาลก็ต้องทำ แต่พรรคประชาธิปัตย์ จะขอดูว่าการแก้รัฐธรรมนูญ มีความชัดเจนอย่างไร และเป็นการแก้รัฐธรรมนูญในลักษณะไหน เพราะข้อเสนอของการแก้รัฐธรรมนูญ จะไปสรุปว่าเป็นการแก้รัฐธรรมนูญอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องเห็นการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญ จะต้องมีความชัดเจนว่า ต้องการปรับปรุงระบบการเมืองของไทยอย่างไร
ส่วนข้อเสนอของพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค เห็นด้วยที่จะมีการปฎิรูปการเมือง โดยให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมานั้น ก็ต้องดูว่าที่มาของ ส.ส.ร. มีส่วนร่วมจากประชาชนมากน้อยแค่ไหน มีระยะเวลาแค่ไหน และสอดคล้องกับที่หลายฝ่ายเรียกร้องแค่ไหน และจะนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองหรือไม่ เพราะความจริงรูปแบบ และขั้นตอนอาจจะไม่สำคัญเท่ากับการออกมากำหนดเป้าหมายร่วมกันก่อน หากจะมีการตั้งคณะกรรมการในรูปของคณะกรรมการอิสระ สุดท้ายก็ต้องนำข้อสรุปเข้าสู่การพิจารณาของสภา
หากจะมีการตั้งส.ส.ร. นั่นหมายความว่า ให้ สภาตั้งส.ส.ร.ขึ้นมาคณะหนึ่ง แล้วไปเขียนรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งสองรูปแบบนี้ ส่วนตัวไม่ได้ติดใจรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และรัฐธรรมนูญมีเป้าหมายที่ชัดเจน ให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
ส่วนการนำประเด็น การปฏิรูปการเมืองบรรจุไว้ในนโยบายจะมีความเหมาะสมหรือไม่ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า หากจะมีการพูดถึงประเด็นกว้างๆ ในเรื่อง ส.ส.ร.ก็คงจะตอบยาก เพราะยังไม่รู้ข้อเสนอว่าส.ส.ร. มาจากไหน และอำนาจ ส.ส.ร.ชุดนี้ จะเหมือนกับ ส.ส.ร.1 หรือเปล่า ดังนั้นต้องพิจารณาอย่างรอบครอบ แต่หลักใหญ่ของการปฏิรูปการเมืองนั้น ต้องให้ทุกฝ่ายได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ระบบดีขึ้น ไม่ใช่เพื่อตัวเอง
เมื่อถามว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนี้ เหมือนกับการพายเรือในอ่างสุดท้ายไม่สามารถที่แก้ปัญหาได้ แนวทางการยุบสภาน่าจะเป็นทางออกทีดีที่สุดในขณะนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญ หรือการปฏิรูปการเมือง เป็นเพียงแค่การแก้ที่ระบบ ซึ่งระบบมีข้อบกพร้องอะไรก็ปรับปรุงได้ แต่ปัญหาการเมืองหลายครั้งไม่ได้อยู่ที่ระบบ อยู่ที่ตัวบุคคล และพฤติกรรมของนักการเมือง ซึ่งทั้งหมดนี้จะแก้โดยรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้ ส่วนจะยุบสภาให้มีการเลือกตั้งใหม่ หากการเลือกตั้งสุจริตเที่ยงธรรมก็ไม่มีปัญหา เพราะตนเคยเสนอแล้วว่า การยุบสภาจะเป็นการคลี่คลายสถานการณ์ได้
**ต้องขจัดความหวาดระแวงทั้ง2ฝ่าย
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิป) แถลงภายหลังการประชุม ถึงข้อเสนอของฝ่ายต่างๆ ในการหาทางออกให้กับวิกฤติของบ้านเมืองว่า ขณะนี้วิปฝ่ายค้านเห็นแล้วว่า ต้นตอของปัญหาเกิดจากการเมือง 2 ภาค ที่มีความหวาดระแวงต่อกัน ส.ส.รัฐบาลถูกภาคประชาชนหวาดระแวงว่า เป็นตัวแทนกลุ่มทุน กลุ่มผลประโยชน์ ขณะที่การเมืองภาคประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตรฯ ก็ถูกภาคการเมืองระแวงว่า ต้องการล้มการเมือง ซึ่งแนวคิดของ 24 อธิการดี และแนวคิดของรัฐบาล ยังไม่สามารถยอมรับกันได้ เพราะต่างฝ่ายต่างมีจุดเสีย รัฐบาลไม่สามารถตอบได้ว่า จะกำหนดที่มาของ ส.ส.ร. อย่างไร ขณะที่แนวคิดตั้งคณะกรรมการอิสระของ 24 อธิการบดี ก็ยังเป็นปัญหาเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม วิปฝ่ายค้านขอเสนอทางออกให้นำ 2 แนวคิดนี้มารวมกัน คือให้มีการแต่งตั้งคนกลางรวมกับ 24 อธิการบดี คิดรูปแบบของ ส.ส.ร. และเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตั้ง ส.ส.ร. ตามแนวคิดดังกล่าวเพื่อการปฏิรูปการเมือง ซึ่งเหลือเวลาอีก 3-4 วัน ที่เชื่อว่ารัฐบาลจะบรรจุไว้ในคำแถลงนโยบายด้วย ซึ่งฝ่ายค้านก็จะมีการเสนอรูปแบบการปฏิรูปการเมืองเช่นกัน
**นโยบายรัฐบาลต้องตอบโจทย์ 5 ข้อ
ประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวด้วยว่า ในการแถลงนโยบายนั้น ขอเสนอแนะให้รัฐบาลตอบโจทย์ 5 ข้อให้ชัดเจน คือ
1.รัฐบาลจะต้องประเมินให้ชัดว่า 8 เดือนของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช อะไรทำสำเร็จอะไรที่ค้างคา ต้องตอบให้ชัดว่ากรณีเขาพระวิหาร รถเมล์ 6 พันคัน และกรณีซีแอลยา จะทำอย่างไร จะปฏิเสธว่า เป็นรัฐบาลมาใหม่โดยไม่ยอมพูดถึงไม่ได้
2. ต้องแถลงให้ชัดว่า รัฐบาลจะไม่ทำอะไรนอกเหนือนโยบายที่แถลงไว้อย่างเด็ดขาด
3. ต้องสร้างความเชื่อมั่นว่า รัฐมนตรีแต่ละคนที่แต่งตั้ง มิใช่เพื่อตอบแทนบุญคุณแต่ละกลุ่ม
4. รัฐบาลยอมรับหรือไม่ว่าเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล ซึ่งต้องคิดนโยบายระยะสั้น เพียง 5-6เดือน
5.ต้องแถลงให้ชัดถึงท่าทีต่อองค์กรอิสระ และการเอื้อประโยชน์ให้การเมืองภาคการตรวจสอบดำเนินไปได้อย่างเต็มที่
**ชาติไทยแบะท่าหนุน ส.ส.ร.3
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงแนวทางการแก้ปัญหาการเมืองในขณะนี้ว่า หลายฝ่ายก็พยายามหาทางออกร่วมกัน โดยข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ก็ถือเป็นทางออกหนึ่ง ในการที่จะตั้งกรรมการอิสระขึ้นมาดำเนินการ แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า กรรมการอิสระที่จะเข้ามาจะมีการคัดเลือกกันอย่างไร และจะอิสระ เป็นกลาง จริงหรือไม่ และต้องมาทำประชาพิจารณ์ ซึ่งน่าจะใช้เวลานาน
สมัยที่ตนเคยมีส่วนในการยกร่างฯ ได้แก้มาตรา 211 ซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนมาร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญขณะนั้น ส่วนส.ส.ร.ก็มีการคัดเลือกมาจากทุกจังหวัดที่เป็นตัวแทนประชาชน แต่ไม่ทราบว่ารัฐบาลนี้จะมีแนวทางอย่างไร ซึ่งตนเห็นว่า น่าจะทำเหมือนสมัยที่ตนเคยทำจะเป็นกลางที่สุด เมื่อรัฐธรรมนูญออกมาแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมาทำประชามติอีกครั้ง ส่วนรัฐจะเอาอย่างไรก็แล้วแต่ นี่เป็นเพียงความเห็นของตน
นายบรรหาร กล่าวว่า มาตรา 291 ก็เหมือนกับ มาตรา 211 ที่ตนนำมาแก้ ในนั้นบัญญัติว่าให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าเราจะแก้มาตราเดียว เพื่อปูทางมาสู่ ส.ส.ร. 3 ตนคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ตนเห็นด้วย ส่วนข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ตนก็เห็นด้วย แต่เป็นห่วงว่า ที่มาจะเลือกใครเข้ามา เป็นประชาธิปไตย เป็นกลางหรือไม่ ตรงนี่น่าเป็นห่วง เพราะไม่รู้ว่าคณะกรรมการอิสระ จะเป็นอิสระ มีความชอบธรรมจริงหรือไม่ แล้วจะเลือกกันอย่างไร มันไม่ง่าย
"เดี๋ยวมันก็ได้แบบอีหรอบ 2550 ที่ตั้งออกมาร่างฯ แล้วก็มาฟัดนักการเมือง จริงๆ อยากจะเรียนว่า นักการเมืองไม่ว่าใหม่หรือเก่า มันก็เหมือนกันหมด ดังนั้นเราควรที่จะสร้างนักการเมืองขึ้นมา ที่มีศักยภาพที่มั่นคง และแข็งแรงสำหรับทุกพรรคการเมืองด้วย เดินทางไปสู่ประชาธิปไตยอันมั่นคงในอนาคตเหมือนกับสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นี่คือจุดมุ่งหมาย เราไม่ควรทำลายพรรคการเมือง"
ผู้สื่อข่าวถามว่า คุณสมบัติ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส เหมาะที่จะนั่งตำแหน่งประธานคณะกรรมการหรือไม่ นายบรรหาร กล่าวว่า ตอนที่ตนแก้ไข มาตรา 211 ตนก็เอา นพ.ประเวศ มาเหมือนกัน เอาท่านมาเป็นบรรทัดฐาน แต่แก้บางมาตรา แล้วก็ต้องไปทาบทามท่าน ซึ่งท่านอาจจะรับหรือไม่รับก็ได้ แต่คิดว่าความเห็นตนดีกว่าเยอะ คือ แก้มาตรา 291 เสร็จแล้วก็มาเลือกตั้งหาตัวแทนแต่ละจังหวัดขึ้นมา
**แนะให้ทุกภาคส่วนร่วมขับเคลื่อน
นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ให้มีการตั้งคณะกรรมการพิเศษเพื่อปฏิรูปการเมืองว่า รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ได้เขียนให้สิทธิสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้แล้ว ข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ที่ส่งให้นายกรัฐมนตรีนั้น หากมีการส่งมายังประธานรัฐสภา ก็พร้อมที่จะรับมาพิจารณาในเรื่องที่อยู่ในกรอบของกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีการส่งมาให้ ตนจึงไม่รู้ว่าเนื้อหาแท้จริงเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าเรื่องนี้คนนอกแก้ไขไม่ได้ หากจะแก้ต้องแก้ด้วยสภา ใจจริงตนอยากให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของประชาชนทั้งประเทศ จะมาแก้กันโดยพลการไม่ได้ เพราะประชาชนยังมีเสียงที่แตกแยกกัน ต่างฝ่ายต่างมองว่า อีกฝ่ายหนึ่งผิด ฉะนั้นจึงต้องฟังเสียงส่วนใหญ่ของประชาชนทั้ง 76 จังหวัดว่ามีความคิดเห็นอย่างไร โดยอาจให้ผู้นำท้องถิ่นของแต่ละจังหวัด เป็นผู้สรุปความเห็นขึ้นมายังรัฐสภาก็ได้
ส่วนแนวทางการตั้ง ส.ส.ร.3 ขึ้นมาแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชัย กล่าวว่า อยู่ที่ดุลยพินิจของส.ส. และส.ว. เมื่อถามว่าเรื่องนี้ ใครควรจะรับเป็นเจ้าภาพ เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา นายชัย ตอบว่า สื่อและมหาวิทยาลัยต่างๆ น่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนได้ ไม่ควรให้เป็นหน้าที่ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
เมื่อถามว่า คิดว่าเมื่อมี ส.ส.ร.3 แล้วความขัดแย้งในสังคมจะยุติลงได้หรือไม่เพราะล่าสุดนายกรัฐมนตรียังถูกโห่ไล่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ตอบว่า อย่าว่าแต่นายกฯที่โดนไล่ แม้กระทั่งตนยังโดนเลย เมื่อถามย้ำว่า คิดว่าความขัดแย้งดังกล่าวจะลุกลามออกไปหรือไม่ นายชัย ตอบว่านายกฯ เองก็พยายามอ่อนนอก แข็งใน และได้รองนายกฯ ที่มีบทบาทสำคัญในการประนีประนอม ลงมาช่วยแก้ไขความขัดแย้งต่างๆ แล้ว เห็นว่าล่าสุดนายกฯจะไปเคารพประธานองคมนตรี
**ปธ.วุฒิหนุนแก้ ม.291 ตั้ง ส.ส.ร.3
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. 3 มาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า เห็นด้วย เพราะการแก้มาตรา 291 เป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะอย่างน้อยก็เป็นการเปิดให้ทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้งกันร่วมแก้ไข ซึ่งเชื่อว่า ทุกฝ่ายยอมรับได้
เมื่อถามว่าถ้าแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ จะดีหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าน่าจะแก้มาตรา 291 ก่อน เพื่อตั้งส.ส.ร. ขึ้นมา เพราะมาตราดังกล่าว เป็นการแก้วิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยที่ทุกฝ่ายมาระดมความคิดเห็น เมื่อได้ร่างการแก้ไข ก็เสนอมายังรัฐสภา เพื่อแก้ไขต่อไป
"ตรงนี้จะทำให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ หากมีการเชิญทุกฝ่ายมาร่วม รวมทั้งพันธมิตรฯด้วย ก็น่าจะทำได้ และทำได้ดี เพราะตรงนี้ไม่ใช่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นวิธีการที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญก็น่าจะยอมรับกันได้" นายประสพสุขกล่าว
เมื่อถามว่ารัฐบาลควรเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เลยหรือไม่ นายประสพสุข กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลอยากเปลี่ยนแปลงการเมือง และให้เกิดความสมานฉันท์ ก็ลองดู เพื่อให้บ้านเมืองสงบ
**สำคัญที่เนื้อหาว่าจะแก้อะไร
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการ คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวถึงการเสนอแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่า เห็นด้วยว่าเป็นทางออกที่ดี เนื่องจากเจตนารมณ์เดิมของผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 291 ว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้ ทั้งนี้ เห็นว่าสถานการณ์ขณะนี้ ควรจะมีการตั้ง ส.ส.ร. 3 ขึ้น จะถูกหรือผิด ยังไม่สามารถบอกได้ แต่ต้องเป็นสิ่งที่สังคมต้องยอมรับได้ ว่าส.ส.ร.3 เป็นสิ่งที่ดี หากปฏิรูปการเมืองโดยนักการเมืองเอง ประชาชนคงไม่ยอมรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่าสถานการณ์ขณะนี้ควรจะใช้รูปแบบใด นายสมคิด กล่าวว่า มีผู้เสนอมาหลายสูตร ไม่ว่าจะเป็นสูตรตามรัฐธรรมนูญปี2540 มีที่มาสองที่ คือ มาจาก76 จังหวัด จังหวัดละ 1 คน ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดว่า 76 คน มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ทั้งที่ความจริงเป็นการรับสมัครจากผู้จบปริญญาตรี มาสมัคร และเลือกเหลือ 10 คน จากนั้นส่งชื่อให้รัฐสภาเลือกเหลือเพียง 1 คน ถือเป็นระบบที่ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ซึ่งสูตรนี้เป็นที่ยอมรับพอสมควร แต่ถ้าจะนำสูตรนี้มาใช้ จะยอมรับได้หรือไม่ เพราะหลายฝ่ายอาจมองว่า รัฐบาลหรือรัฐสภาจะเลือกเฉพาะคนของตัวเองเข้ามาก็ได้ คิดว่าองค์ประกอบตามรัฐธรรมนูญปี 2540 น่าจะใช้ได้ เว้นแต่ว่าประชาชนจะไม่ยอมรับสูตรนี้
ส่วนข้อเสนอของ 24 อธิการบดี ให้มีการปฏิรูปการเมืองนั้น นายสมคิดกล่าวว่า ข้อเสนอของอธิการบดี ไม่ได้คิดแบบเดียวกับแนวทางนี้ เพราะเขาเสนอให้เลือกมาเพียงคนเดียว คือให้ประธานรัฐสภา เลือกประธานขึ้นมา และให้ประชาชนยอมรับ จากนั้นให้ประธานตั้งคณะกรรมการขึ้นเอง ซึ่งสูตรนี้เชื่อว่า คนจะยอมรับพอสมควร แต่ต้องพูดให้ชัดว่า ยอมรับได้หรือไม่ที่รัฐบาลมาเลือกเหลือเพียง 1 คน โดยต้องไว้ใจประธานรัฐสภา ซึ่งก็ต้องไว้ใจคณะกรรมการด้วย
นายสมคิด กล่าวด้วยว่า การแก้รัฐธรรมนูญมี 2 เรื่อง คือแก้รูปแบบ และแก้เนื้อหา การแก้ มาตรา 291 เป็นเพียงแก้รูปแบเท่านั้น ท้ายสุดต้องไปจบที่เนื้อหาว่าต้องการแก้เพื่ออะไร ซึ่งตนคิดว่าควรเริ่มต้นที่รูปแบบก่อน หากรูปแบบมีปัญหาคงไม่สามารถยอมรับได้กับปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งการแก้ มาตรา 291 มีหลายสูตรที่เสนอเข้ามา แต่ที่มีนักวิชาการเสนอว่า ควรจะมีจำนวนคนไม่มาก และไม่มีส่วนได้เสีย โดยที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา เพราะหากผ่านความเห็นชอบจากสภา ซึ่งเป็นนักการเมืองจะถูก มองว่าเป็นคนของรัฐบาล ดังนั้นควรมีบุคคลกลางเข้ามา
"ผมเห็นด้วยกับ 24 อธิการบดี ที่เสนอคนกลาง คือนพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส และนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาเป็นประธานฯ โดยไม่ขึ้นอยู่กับฝ่ายใด และเห็นว่าไม่ควรให้แกนนำพันธมิตรฯ และฝ่ายรัฐบาล เข้ามามีบทบาทในการร่วมแก้รัฐธรรมนูญ มิเช่นนั้น จะเกิดปัญหาไม่จบสิ้น เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการทำตามข้อเสนอของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเมืองใหม่ 50:50 การสรรหาจากวิชาชีพ ซึ่งวิธีนี้ไม่ถือเป็นข้อเสนอใหม่ แต่ถ้าคนกลางที่ไม่ใช่มาจาก ส.ส.และ ส.ว. คาดว่าจะเป็นที่ยอมรับได้ ซึ่งต้องยอมรับว่า ข้อเสนอของรัฐบาล และพันธมิตรฯ ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด ควรเป็นคนกลางดีที่สุด ส่วนกรอบเวลาในการทำงาน ต้องปล่อยให้คณะกรรมการปฏิรูปการเมืองกำหนด เพราะขณะนี้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ควรมี ส.ส.ร.3 เพื่อหาทางออกให้กับประเทศ" นายสมคิดกล่าว