วานนี้ (21 ก.ค.) นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวถึงกรณีที่พรรคพลังประชาชน มีมติจะยื่นถอดถอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ทั้ง 9 คน และ กกต. เนื่องจากเข้ารับตำแหน่งโดยไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯว่า ไม่เป็นไร มาด้วยกันก็ไปด้วยกัน กกต.ไม่ได้เป็นห่วงอะไร
อย่างไรก็ตาม กกต.เคยหารือกันในเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงแรกรับตำแหน่งว่า จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ ก่อนหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนระบุให้รับเงินเดือนหลังจากที่รับการโปรดเกล้าฯแล้ว กกต.จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับเงินเดือน เพราะเข้ารับตำแหน่งอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งตนก็ได้รับทราบคำตอบจากที่ประชุม กกต.ว่าได้มีการสอบถามไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว และก็ได้รับการยืนยันว่า การเข้ารับตำแหน่งนั้นมีผลตามกฎหมายแล้ว ไม่จำเป็นต้องรับการโปรดเกล้าฯ เนื่องจากขณะนั้นได้มีการปฏิวัติ อยู่ในช่วงรัฐาธิปัตย์ เป็นอำนาจของคณะปฏิวัติที่จะจัดตั้งอะไรก็ได้ จึงถือว่าการทำหน้าที่ของกกต. ก็ทำโดยชอบแล้ว ถ้าการทำงานของกกต.ไม่ชอบ แล้วจะมีรัฐบาลได้อย่างไร
"ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยที่มาของคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐ หรือ คตส. ว่า คตส. มีอำนาจตรวจสอบ เนื่องจากมีกฎหมายรองรับ ผมก็เห็นว่าเมื่อที่มาเหมือนกัน ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากจะมีการยื่นถอดถอน ก็คงไปห้ามอะไรไม่ได้ กกต.จะอยู่หรือไปไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ว่าขณะนี้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น กกต.ก็ต้องจัดการเลือกตั้งให้สมบูรณ์ หากจะมีองค์กรอื่นมาทำหน้าที่ที่ดีกว่า ก็เอา" นายสมชัยกล่าว
เมื่อถามว่า หากกกต.เข้ามาโดยมิชอบ จะกระทบต่อผลการเลือกตั้ง และมติที่กกต.ดำเนินการไปแล้วหรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า คงไม่มีปัญหา เพราะมีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนแล้ว แต่ตนถามว่า หากบอกว่ากกต.มาโดยมิชอบแล้วส.ส.ที่ผ่านการเลือกตั้งนั้น เข้ามาโดยชอบหรือไม่
เมื่อถามว่าหากมีการถอดถอนจริง จะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกหรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า กกต.ไม่เป็นปัญหา แต่คนอื่นจะเป็นปัญหาหรือไม่นั้น ไม่ทราบ เพราะไม่สามารถรู้ใจคนอื่นได้ บางทีแม้แต่ใจตัวเองก็ยังไม่รู้
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า การที่กกต.ไม่ชี้มูลความผิดกรณีการจัดรายการ ชิมไปบ่นไป แต่กลับส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยใช้ดุลยพินิจเองนั้น ถือว่าผิด เพราะหากจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ กกต.จะต้องชี้มูลความผิดไปด้วยนั้น กรณีดังกล่าว ในที่ประชุมกกต. เพื่อพิจารณาสำนวนชิมไปบ่นไป และมีมติเช่นนั้น เนื่องจากคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้แยกพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ เรื่องการเป็นลูกจ้าง รับจ้างจากบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัดหรือไม่ และ กรณีที่เป็นพิธีกร จะถือว่ามีตำแหน่งในบริษัทดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยคณะอนุกรรมการฯไม่ติดใจสงสัยในเรื่องความเป็นลูกจ้าง เนื่องจากไม่มีเอกสารชัดเจน
ส่วนในประเด็นการเป็นพิธีกร นั้นไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเรียกได้ว่ามีตำแหน่งในบริษัทดังกล่าวหรือไม่ เพราะในกฎหมายการห้ามดำรงตำแหน่งใดๆ ในบริษัท ไม่ได้ระบุถึงตำแหน่งพิธีกร ดังนั้นจึงไม่ได้สรุปว่า การจัดรายการชิมไปบ่นไป ของนายกรัฐมนตรีมีความผิดทำให้ขาดคุณสมบัติ
ทั้งนี้ เมื่อสำนวนเข้าสู่ที่ประชุม กกต. เสียงส่วนมากก็มีความเห็นตามที่อนุกรรมการฯ เสนอมา เพราะไม่อาจก้าวล่วงอำนาจในการตีความเรื่องของขอบเขตเกี่ยวกับการมีตำแหน่งในบริษัท
อย่างไรก็ตาม กรณีที่นายสมัคร เห็นว่า กกต.จะต้องชี้มูลความผิดก่อนจะส่งไปยังศาลนั้น เนื่องจาก พ.ร.บ. กกต. มาตรา 10 (11) ระบุว่า กรณีที่กกต.เห็นว่าสมาชิกภาพของส.ส.หรือ ส.ว.คนใดสิ้นสุดลงให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่ กกต.เห็นว่ามีปัญหาข้อกฎหมายอยู่ และคณะอนุกรรมการก็ได้สรุปมาอย่างนี้จึงเห็นควรที่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป
**ยันรธน.ไม่ได้ฆ่ารัฐบาล
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตรองประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวตอบโต้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่กล่าวหาว่า รธน.เป็นกับดักในการฆ่ารัฐบาลว่า รธน.ไม่ได้วางกับดักฆ่าใคร แต่เหตุที่รธน. ต้องเข้มงวดกว่าเดิม เพราะ 1.รธน.ฉบับนี้เป็นความเห็น มาจากประชาชนทั่วประเทศ ที่สะท้อนว่าประชาชนเบื่อหน่ายนักการเมืองโกงเลือกตั้ง เบื่อการคอร์รัปชั่น และผลประโยชน์ทับซ้อน โดยกมธ.ยกร่าง รธน.เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริงในสังคมไทย จึงเป็นที่มาของกติกาที่เข้มงวดกว่าเดิม
2. ในตอนนั้นไม่มีกมธ.คนใดแน่ใจว่า รธน.50 จะผ่านประชามติถึง 14.7 ล้านเสียง เพราะนักเลือกตั้งจากภาคอีสาน และภาคเหนือต่างพยายามล้มรธน.ฉบับนี้ เพื่อเป็นการบีบให้ คมช. หยิบรธน. ฉบับหนึ่งฉบับใดมาใช้ เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นรธน.ฉบับเผด็จการ เพราะจะมีความชอบธรรมในการล้มล้างรธน.ฉบับนั้น 3. ในขณะที่ร่างรธน.ไม่มีใครทราบว่า พรรคพลังประชาชนจะได้เป็นรัฐบาล ตรงกันข้าม กมธ. กลับคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลด้วยซ้ำ แม้แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็ไม่เชื่อด้วยซ้ำ
4. ไม่มีใครคิดว่า กรรมการบริหารพรรคการเมืองใดจะโกงเลือกตั้ง หรือถูกใบแดง และนำไปสู่การยุบพรรค ตรงกันข้ามกลับคิดว่าใบแดงจะน้อยลง เพราะกรรมการบริหารพรรคจะช่วยดูแลไม่ให้ลูกพรรคทำผิด ทุจริตการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า กติกาที่เข้มงวดกลับมิได้นำพา และคนเหล่านี้กลับมาโทษกติกาที่ตัวเองไม่เคารพ
5. การแก้รธน.มาตรา 190 เรื่องการทำสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลบอกว่าเป็นปัญหา และทำให้กระทรวงการต่างประเทศเสียเกียรติภูมินั้น ขอชี้แจงว่า มาตรานี้มาจากงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) ที่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้ง สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ เวลาจะทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศจะต้องนำเข้าสภาทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจตามอำเภอใจ ที่สำคัญประสบการณ์ในรัฐบาลทักษิณ ที่ทำการค้าเสรี ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก
6. เชื่อว่าการที่นายกฯ ไม่ใช้ เอ็นบีที ในการตอบโต้พันธมิตรฯ เพราะเกรงว่าอาจจะกระทำผิดรธน. มาตรา 46,48 สะท้อนให้เห็นว่า รธน. 50 ได้วางกติกาเพื่อนักการเมืองที่มีมารยาท ทำให้นักโกงเลือกตั้งที่ไม่จริยธรรมต้องการใช้อำนาจที่มีอยู่ล้มล้างรธน. ฉบับนี้
"ไม่มีใครคิดวางกับดักอะไร แต่เราต้องการให้การเมืองสะอาด ตรวจสอบได้ เพราะการตรวจสอบซึ่งกันและกันโดยปราศจากเกมการเมืองเป็นสิ่งที่ดี เพื่อวางบรรทัดฐานการเมือง ให้การเมืองเมืองไทยก้าวพ้นนักการเมืองน้ำเน่าสกปรก ปัญหาจึงอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ใช่ตัวรัฐธรรมนูญ บุคคลใดที่ใช้อำนาจมิชอบจึงรู้สึกหงุดหงิดกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะนักการเมืองดีๆ เขาไม่เดือดร้อน ที่สำคัญผมคิดว่า นายสมัคร หมดสภาพแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกมาสะท้อนให้เห็นว่า เขาไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำประเทศ ด้วยท่าทีของนายสมัคร เชื่อว่าบ้านเมืองจะวุ่นวาย และวิกฤตภายใน 2 เดือนนี้แน่นอน" นพ.ชูชัย กล่าว
//////////
อย่างไรก็ตาม กกต.เคยหารือกันในเรื่องนี้ตั้งแต่ช่วงแรกรับตำแหน่งว่า จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ ก่อนหรือไม่ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนระบุให้รับเงินเดือนหลังจากที่รับการโปรดเกล้าฯแล้ว กกต.จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับเงินเดือน เพราะเข้ารับตำแหน่งอย่างไม่สมบูรณ์ ซึ่งตนก็ได้รับทราบคำตอบจากที่ประชุม กกต.ว่าได้มีการสอบถามไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบแล้ว และก็ได้รับการยืนยันว่า การเข้ารับตำแหน่งนั้นมีผลตามกฎหมายแล้ว ไม่จำเป็นต้องรับการโปรดเกล้าฯ เนื่องจากขณะนั้นได้มีการปฏิวัติ อยู่ในช่วงรัฐาธิปัตย์ เป็นอำนาจของคณะปฏิวัติที่จะจัดตั้งอะไรก็ได้ จึงถือว่าการทำหน้าที่ของกกต. ก็ทำโดยชอบแล้ว ถ้าการทำงานของกกต.ไม่ชอบ แล้วจะมีรัฐบาลได้อย่างไร
"ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยที่มาของคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อรัฐ หรือ คตส. ว่า คตส. มีอำนาจตรวจสอบ เนื่องจากมีกฎหมายรองรับ ผมก็เห็นว่าเมื่อที่มาเหมือนกัน ก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากจะมีการยื่นถอดถอน ก็คงไปห้ามอะไรไม่ได้ กกต.จะอยู่หรือไปไม่สำคัญ แต่สำคัญที่ว่าขณะนี้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น กกต.ก็ต้องจัดการเลือกตั้งให้สมบูรณ์ หากจะมีองค์กรอื่นมาทำหน้าที่ที่ดีกว่า ก็เอา" นายสมชัยกล่าว
เมื่อถามว่า หากกกต.เข้ามาโดยมิชอบ จะกระทบต่อผลการเลือกตั้ง และมติที่กกต.ดำเนินการไปแล้วหรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า คงไม่มีปัญหา เพราะมีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนแล้ว แต่ตนถามว่า หากบอกว่ากกต.มาโดยมิชอบแล้วส.ส.ที่ผ่านการเลือกตั้งนั้น เข้ามาโดยชอบหรือไม่
เมื่อถามว่าหากมีการถอดถอนจริง จะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกหรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า กกต.ไม่เป็นปัญหา แต่คนอื่นจะเป็นปัญหาหรือไม่นั้น ไม่ทราบ เพราะไม่สามารถรู้ใจคนอื่นได้ บางทีแม้แต่ใจตัวเองก็ยังไม่รู้
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ออกมาระบุว่า การที่กกต.ไม่ชี้มูลความผิดกรณีการจัดรายการ ชิมไปบ่นไป แต่กลับส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย โดยใช้ดุลยพินิจเองนั้น ถือว่าผิด เพราะหากจะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ กกต.จะต้องชี้มูลความผิดไปด้วยนั้น กรณีดังกล่าว ในที่ประชุมกกต. เพื่อพิจารณาสำนวนชิมไปบ่นไป และมีมติเช่นนั้น เนื่องจากคณะอนุกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้แยกพิจารณาใน 2 ประเด็น คือ เรื่องการเป็นลูกจ้าง รับจ้างจากบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัดหรือไม่ และ กรณีที่เป็นพิธีกร จะถือว่ามีตำแหน่งในบริษัทดังกล่าวด้วยหรือไม่ โดยคณะอนุกรรมการฯไม่ติดใจสงสัยในเรื่องความเป็นลูกจ้าง เนื่องจากไม่มีเอกสารชัดเจน
ส่วนในประเด็นการเป็นพิธีกร นั้นไม่สามารถสรุปได้ว่าจะเรียกได้ว่ามีตำแหน่งในบริษัทดังกล่าวหรือไม่ เพราะในกฎหมายการห้ามดำรงตำแหน่งใดๆ ในบริษัท ไม่ได้ระบุถึงตำแหน่งพิธีกร ดังนั้นจึงไม่ได้สรุปว่า การจัดรายการชิมไปบ่นไป ของนายกรัฐมนตรีมีความผิดทำให้ขาดคุณสมบัติ
ทั้งนี้ เมื่อสำนวนเข้าสู่ที่ประชุม กกต. เสียงส่วนมากก็มีความเห็นตามที่อนุกรรมการฯ เสนอมา เพราะไม่อาจก้าวล่วงอำนาจในการตีความเรื่องของขอบเขตเกี่ยวกับการมีตำแหน่งในบริษัท
อย่างไรก็ตาม กรณีที่นายสมัคร เห็นว่า กกต.จะต้องชี้มูลความผิดก่อนจะส่งไปยังศาลนั้น เนื่องจาก พ.ร.บ. กกต. มาตรา 10 (11) ระบุว่า กรณีที่กกต.เห็นว่าสมาชิกภาพของส.ส.หรือ ส.ว.คนใดสิ้นสุดลงให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่ กกต.เห็นว่ามีปัญหาข้อกฎหมายอยู่ และคณะอนุกรรมการก็ได้สรุปมาอย่างนี้จึงเห็นควรที่ส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อเป็นบรรทัดฐานต่อไป
**ยันรธน.ไม่ได้ฆ่ารัฐบาล
นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ อดีตรองประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 กล่าวตอบโต้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่กล่าวหาว่า รธน.เป็นกับดักในการฆ่ารัฐบาลว่า รธน.ไม่ได้วางกับดักฆ่าใคร แต่เหตุที่รธน. ต้องเข้มงวดกว่าเดิม เพราะ 1.รธน.ฉบับนี้เป็นความเห็น มาจากประชาชนทั่วประเทศ ที่สะท้อนว่าประชาชนเบื่อหน่ายนักการเมืองโกงเลือกตั้ง เบื่อการคอร์รัปชั่น และผลประโยชน์ทับซ้อน โดยกมธ.ยกร่าง รธน.เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องจริงในสังคมไทย จึงเป็นที่มาของกติกาที่เข้มงวดกว่าเดิม
2. ในตอนนั้นไม่มีกมธ.คนใดแน่ใจว่า รธน.50 จะผ่านประชามติถึง 14.7 ล้านเสียง เพราะนักเลือกตั้งจากภาคอีสาน และภาคเหนือต่างพยายามล้มรธน.ฉบับนี้ เพื่อเป็นการบีบให้ คมช. หยิบรธน. ฉบับหนึ่งฉบับใดมาใช้ เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นรธน.ฉบับเผด็จการ เพราะจะมีความชอบธรรมในการล้มล้างรธน.ฉบับนั้น 3. ในขณะที่ร่างรธน.ไม่มีใครทราบว่า พรรคพลังประชาชนจะได้เป็นรัฐบาล ตรงกันข้าม กมธ. กลับคิดว่าพรรคประชาธิปัตย์ จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลด้วยซ้ำ แม้แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เองก็ไม่เชื่อด้วยซ้ำ
4. ไม่มีใครคิดว่า กรรมการบริหารพรรคการเมืองใดจะโกงเลือกตั้ง หรือถูกใบแดง และนำไปสู่การยุบพรรค ตรงกันข้ามกลับคิดว่าใบแดงจะน้อยลง เพราะกรรมการบริหารพรรคจะช่วยดูแลไม่ให้ลูกพรรคทำผิด ทุจริตการเลือกตั้ง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่า กติกาที่เข้มงวดกลับมิได้นำพา และคนเหล่านี้กลับมาโทษกติกาที่ตัวเองไม่เคารพ
5. การแก้รธน.มาตรา 190 เรื่องการทำสัญญาระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลบอกว่าเป็นปัญหา และทำให้กระทรวงการต่างประเทศเสียเกียรติภูมินั้น ขอชี้แจงว่า มาตรานี้มาจากงานวิจัยของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) ที่เห็นว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้ง สหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ เวลาจะทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศจะต้องนำเข้าสภาทั้งสิ้น เพื่อไม่ให้ฝ่ายบริหารใช้อำนาจตามอำเภอใจ ที่สำคัญประสบการณ์ในรัฐบาลทักษิณ ที่ทำการค้าเสรี ทำให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนจำนวนมาก
6. เชื่อว่าการที่นายกฯ ไม่ใช้ เอ็นบีที ในการตอบโต้พันธมิตรฯ เพราะเกรงว่าอาจจะกระทำผิดรธน. มาตรา 46,48 สะท้อนให้เห็นว่า รธน. 50 ได้วางกติกาเพื่อนักการเมืองที่มีมารยาท ทำให้นักโกงเลือกตั้งที่ไม่จริยธรรมต้องการใช้อำนาจที่มีอยู่ล้มล้างรธน. ฉบับนี้
"ไม่มีใครคิดวางกับดักอะไร แต่เราต้องการให้การเมืองสะอาด ตรวจสอบได้ เพราะการตรวจสอบซึ่งกันและกันโดยปราศจากเกมการเมืองเป็นสิ่งที่ดี เพื่อวางบรรทัดฐานการเมือง ให้การเมืองเมืองไทยก้าวพ้นนักการเมืองน้ำเน่าสกปรก ปัญหาจึงอยู่ที่ตัวบุคคลไม่ใช่ตัวรัฐธรรมนูญ บุคคลใดที่ใช้อำนาจมิชอบจึงรู้สึกหงุดหงิดกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพราะนักการเมืองดีๆ เขาไม่เดือดร้อน ที่สำคัญผมคิดว่า นายสมัคร หมดสภาพแล้ว พฤติกรรมที่แสดงออกมาสะท้อนให้เห็นว่า เขาไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำประเทศ ด้วยท่าทีของนายสมัคร เชื่อว่าบ้านเมืองจะวุ่นวาย และวิกฤตภายใน 2 เดือนนี้แน่นอน" นพ.ชูชัย กล่าว
//////////