กมธ.ยกร่างข้อประชุม ส่อแววเพิ่ม กมธ. อ้างแก้ปัญหาประชาชน ไม่ใช่เพื่อเป็นโบนัสส.ส.อกหัก เตรียมเรียก "สมคิด-อัชพร" อดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ถามเจตนารมณ์ ม. 265-266 ห้าม ส.ส.แทรกแซงราชการ-รัฐวิสาหกิจ หวั่นปากเปราะตั้งกระทู้ถาม อาจถูกสอย พ้น ส.ส. เพราะขัดรัฐธรรมนูญ ด้าน ปชป. ค้านเพิ่ม กมธ. ชี้เพียงเพื่อแก้ปัญหาแย่งตำแหน่งของส.ส.ฝ่ายรัฐบาล เผย พปช.เตรียมคว้าเพิ่ม 4 เก้าอี้
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ วิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.... ครั้งที่ 1 แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเลือก นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ นายไพจิต ศรีวรขาน เป็นเลขานุการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ จะพิจารณายกร่างข้อบังคับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 ก.พ.นี้
สำหรับกรอบในการหารือมี 2 เรื่อง คือ 1. พิจารณาส่วนที่มีปัญหาของข้อบังคับการประชุมปี 2544 และ 2.การปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับการประชุมปี 2544 ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 และ266 ที่ระบุว่า “ห้าม มิให้ ส.ส.ไปแทรกแซง ก้าวก่าย การปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐ ราชการ รัฐวิสาหกิจ” ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะมีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เพราะหากเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 50 ก็เท่ากับว่า ส.ส.จะไปตั้งกระทู้ถามการทำงานที่ไม่ถูกต้องของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ไม่ได้ เพราะอาจทำให้หลุดจาก ตำแหน่ง ส.ส.ได้
ดังนั้นในวันที่ 12 ก.พ.นี้ คณะกรรมาธิการฯ จะเชิญผู้ร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และนายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มาชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่า เป็นอย่างไร เพราะคงไม่อยากมีใครเป็น “หนูทดลองยา”
สำหรับจำนวนของคณะกรรมการวิสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ที่ปัจจุบันมี 31 คณะ ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะต้องปรับลดหรือเพิ่มคณะขึ้นหรือไม่ จะต้องมีการสอบถามจาก ส.ส. และความจำเป็นต่างๆ เสีย ก่อนตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมาธิการฯ ตรงนี้จะไปพิจารณาดูว่า มีความเหมาะสมหรือไม่
ด้าน นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวเสริมว่า สำหรับเกณฑ์การพิจารณาปรับลด หรือเพิ่ม คณะกรรมาธิการฯ นั้นจะดูจากข้อเท็จจริงและปัญหาของประชาชนเป็นหลักว่า มีความสำคัญ และเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งมี ส.ส.หลายคน เสนอเพิ่มคณะกรรมาธิการฯ อาทิ คณะกรรมาธิการเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป
นอกจากนี้ จะมีการถามอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 คน เกี่ยวกับการการที่ รัฐธรรมนูญ ห้าม ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งอาจรวมถึง เลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เพราะยังไม่มีความชัดเจนเช่นเดียวกัน
ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างฯ กล่าวว่า ตนได้เตรียมเสนอให้เพิ่มคณะกรรมาธิการอีก 2 คณะ คือ คณะกรรมาธิการกิจการชาวไทยโพ้นทะเล กับคณะกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา หากยึดตามข้อบังคับการประชุมฯ ปี 2544 ที่มีจำนวน 31 คณะก็จะเป็น 33 คณะ ซึ่งการเสนอเพิ่มคณะกรรมาธิการ ก็เพื่อให้กรอบภารกิจการทำงานมีสัดส่วนชัดเจน ไม่ก้าวก่ายกัน และคาดว่าจะมีการเสนอเพิ่มอีกเช่นกัน ขึ้นอยู่กับที่ประชุมจะพิจารณาต่อไป
นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่มีการกำหนดว่าจะให้มีคณะกรรมาธิการสามัญฯ จำนวนกี่คณะ ซึ่งจะต้องหารือในกรรมาธิการ ส่วนการคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการนั้น ในส่วนของพรรคพลังประชาชน จะต้องพิจารณาให้ความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันทุกคน
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า จะมีการเพิ่มจำนวนคณะกรรมาธิการเพื่อจัดสรรตำแหน่งให้ส.ส.ที่พลาดตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น เป็นเพียงความเห็นของสมาชิกบางคนเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ คณะกรรมาธิการ จะเป็นผู้ที่จะรับเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขตามกลไกนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเพิ่มหรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการ เพื่อเป็นโบนัสตอบแทน ส.ส.คนใดคนหนึ่ง
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีพรรคพลังประชาชนเสนอให้เพิ่มคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรจาก 31 คณะ เป็น 36 คณะว่า ตนคิดว่า กมธ.เพียง 31 คณะ ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้าจะมีการเสนอให้เพิ่มนั้น ก็ต้องฟังเหตุผลก่อนว่า กมธ. ที่จะเพิ่มมานั้นเข้าไปอุดช่องว่างตรงไหน อย่างไร ตามจริงแล้วหากใครที่คุ้นกับงานสภา ก็จะทราบว่า กมธ. 31 คณะ บวกกับ กมธ.วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการพิจารณากฎหมาย ก็เรียกได้ว่า ตึงมาก ส.ส. คนเดียวต้องวิ่งประชุมกับ กมธ.หลายคณะ อย่างไรก็ตาม ตนก็อยากให้สภาเร่งตั้ง กมธ. ขึ้นมาทำงานโดยเร็ว
นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส. พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างระเบียบและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่ม กมธ. เป็น 36 คณะ และตนมองว่าเป็นเรื่องของการผลประโยชน์ที่พรรคพลังประชาชนจะได้รับ เพราะหากมีการเพิ่ม กมธ. เป็น 36 คณะจริง คณะทำงานที่จะได้นั่งเป็นประธาน กมธ. นั้น พรรคพลังประชาชนก็จะมีบุคคลที่เป็นประธานเพิ่มอีก 4 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ก็จะได้เพิ่มเพียง 1 ที่นั่งเท่านั้น
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ วิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.... ครั้งที่ 1 แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมมีมติเลือก นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ นายไพจิต ศรีวรขาน เป็นเลขานุการ ซึ่งคณะกรรมาธิการฯ จะพิจารณายกร่างข้อบังคับให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 ก.พ.นี้
สำหรับกรอบในการหารือมี 2 เรื่อง คือ 1. พิจารณาส่วนที่มีปัญหาของข้อบังคับการประชุมปี 2544 และ 2.การปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับการประชุมปี 2544 ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 265 และ266 ที่ระบุว่า “ห้าม มิให้ ส.ส.ไปแทรกแซง ก้าวก่าย การปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐ ราชการ รัฐวิสาหกิจ” ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะมีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เพราะหากเป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 50 ก็เท่ากับว่า ส.ส.จะไปตั้งกระทู้ถามการทำงานที่ไม่ถูกต้องของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ ไม่ได้ เพราะอาจทำให้หลุดจาก ตำแหน่ง ส.ส.ได้
ดังนั้นในวันที่ 12 ก.พ.นี้ คณะกรรมาธิการฯ จะเชิญผู้ร่างรัฐธรรมนูญ คือ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) และนายอัชพร จารุจินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา มาชี้แจงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่า เป็นอย่างไร เพราะคงไม่อยากมีใครเป็น “หนูทดลองยา”
สำหรับจำนวนของคณะกรรมการวิสามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ที่ปัจจุบันมี 31 คณะ ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะต้องปรับลดหรือเพิ่มคณะขึ้นหรือไม่ จะต้องมีการสอบถามจาก ส.ส. และความจำเป็นต่างๆ เสีย ก่อนตั้งบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมาธิการฯ ตรงนี้จะไปพิจารณาดูว่า มีความเหมาะสมหรือไม่
ด้าน นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ โฆษกคณะกรรมาธิการฯ กล่าวเสริมว่า สำหรับเกณฑ์การพิจารณาปรับลด หรือเพิ่ม คณะกรรมาธิการฯ นั้นจะดูจากข้อเท็จจริงและปัญหาของประชาชนเป็นหลักว่า มีความสำคัญ และเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งมี ส.ส.หลายคน เสนอเพิ่มคณะกรรมาธิการฯ อาทิ คณะกรรมาธิการเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง คณะกรรมาธิการแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชน คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน เป็นต้น คาดว่าสัปดาห์หน้าจะได้ข้อสรุป
นอกจากนี้ จะมีการถามอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 2 คน เกี่ยวกับการการที่ รัฐธรรมนูญ ห้าม ส.ส.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งอาจรวมถึง เลขานุการรัฐมนตรี ที่ปรึกษารัฐมนตรี เพราะยังไม่มีความชัดเจนเช่นเดียวกัน
ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างฯ กล่าวว่า ตนได้เตรียมเสนอให้เพิ่มคณะกรรมาธิการอีก 2 คณะ คือ คณะกรรมาธิการกิจการชาวไทยโพ้นทะเล กับคณะกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา หากยึดตามข้อบังคับการประชุมฯ ปี 2544 ที่มีจำนวน 31 คณะก็จะเป็น 33 คณะ ซึ่งการเสนอเพิ่มคณะกรรมาธิการ ก็เพื่อให้กรอบภารกิจการทำงานมีสัดส่วนชัดเจน ไม่ก้าวก่ายกัน และคาดว่าจะมีการเสนอเพิ่มอีกเช่นกัน ขึ้นอยู่กับที่ประชุมจะพิจารณาต่อไป
นายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด พรรคพลังประชาชน ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ที่ประชุมยังไม่มีการกำหนดว่าจะให้มีคณะกรรมาธิการสามัญฯ จำนวนกี่คณะ ซึ่งจะต้องหารือในกรรมาธิการ ส่วนการคัดเลือกผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการนั้น ในส่วนของพรรคพลังประชาชน จะต้องพิจารณาให้ความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันทุกคน
ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า จะมีการเพิ่มจำนวนคณะกรรมาธิการเพื่อจัดสรรตำแหน่งให้ส.ส.ที่พลาดตำแหน่งรัฐมนตรีนั้น เป็นเพียงความเห็นของสมาชิกบางคนเท่านั้น สิ่งสำคัญคือ คณะกรรมาธิการ จะเป็นผู้ที่จะรับเรื่องปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเพื่อผลักดันให้มีการแก้ไขตามกลไกนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นการพิจารณาเพิ่มหรือลดจำนวนคณะกรรมาธิการ เพื่อเป็นโบนัสตอบแทน ส.ส.คนใดคนหนึ่ง
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีพรรคพลังประชาชนเสนอให้เพิ่มคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎรจาก 31 คณะ เป็น 36 คณะว่า ตนคิดว่า กมธ.เพียง 31 คณะ ก็สามารถทำงานได้ แต่ถ้าจะมีการเสนอให้เพิ่มนั้น ก็ต้องฟังเหตุผลก่อนว่า กมธ. ที่จะเพิ่มมานั้นเข้าไปอุดช่องว่างตรงไหน อย่างไร ตามจริงแล้วหากใครที่คุ้นกับงานสภา ก็จะทราบว่า กมธ. 31 คณะ บวกกับ กมธ.วิสามัญที่เกิดขึ้นจากการพิจารณากฎหมาย ก็เรียกได้ว่า ตึงมาก ส.ส. คนเดียวต้องวิ่งประชุมกับ กมธ.หลายคณะ อย่างไรก็ตาม ตนก็อยากให้สภาเร่งตั้ง กมธ. ขึ้นมาทำงานโดยเร็ว
นายนริศ ขำนุรักษ์ ส.ส. พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ฐานะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างระเบียบและข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่ม กมธ. เป็น 36 คณะ และตนมองว่าเป็นเรื่องของการผลประโยชน์ที่พรรคพลังประชาชนจะได้รับ เพราะหากมีการเพิ่ม กมธ. เป็น 36 คณะจริง คณะทำงานที่จะได้นั่งเป็นประธาน กมธ. นั้น พรรคพลังประชาชนก็จะมีบุคคลที่เป็นประธานเพิ่มอีก 4 ที่นั่ง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ก็จะได้เพิ่มเพียง 1 ที่นั่งเท่านั้น