ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหุ้นไทยดิ่งหนัก รับตลาดหุ้นเอเชีย หลังสถาบันการเงินยุโรปเริ่มประสบปัญหาตามวิกฤตการเงินสหรัฐฯ กดดัชนีหุ้นไทยหลุด 600 จุด ก่อนจะเด้งกลับมาปิดที่ 601.29 จุด ลดลงเกือบ 18 จุด มูลค่าการซื้อขายหมื่นล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสิทธิอีก 1.3 พันล้านบาท นักวิเคราะห์ แนะนักลงทุนชะลอเทรดหุ้น เพื่อรอดูมาตรการแก้วิกฤตการเงินสหรัฐฯ ด้านบล.ทิสโก้ คาดการณ์ตลาดหุ้นไทยซึมลากยาวถึงไตรมาส 1/52 ก่อนจะเริ่มฟื้นในไตรมาสถัดไป
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (29 ก.ย.) ยังคงได้รับปัจจัยลบจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในช่วงเช้านักลงทุนต่างรอดูท่าทีของสภาคองเกรส สหรัฐฯ ในการพิจารณามาตรการแก้วิกฤตสถาบันการเงิน มูลค่ากว่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่เคลื่อนไหวมากนัก รวมทั้งมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยมีดัชนีสูงสุดที่ระดับ 619.33 จุด และปิดการซื้อขายช่วงเช้าที่ 615.59 จุด ลดลงจากวันก่อน 3.38 จุด หรือ 0.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 3,189 ล้านบาท
ขณะที่เปิดตลาดช่วงบ่าย นักลงทุนได้เทขายหุ้นขนาดใหญ่ออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีข่าวสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในยุโรป เริ่มประสบปัญหาวิกฤตการเงินเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนหลุดแนวรับที่ระดับ 600 จุด แตะจุดต่ำสุดที่ 598.59 จุด แม้จะดีดกลับช่วงท้ายตลาดเล็กน้อยที่ 601.29 จุด ลดลงจากวันก่อน 17.68 จุด หรือคิดเป็น 2.86% มูลค่าการซื้อขายรวม 10,050.31 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศได้เทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้มียอดขายสุทธิสูงถึง 1,304.03 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 425.21 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 878.82 ล้านบาท
สำหรับมูลค่าหุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 130 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 4.41% มูลค่าการซื้อขายรวม 881.95 ล้านบาท บมจ.ปตท. ปิด 230 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 2.54% มูลค่า 794.34 ล้านบาท และบมจ. บ้านปู (BANPU) ปิด 304 บาท ลดลง 28 บาท หรือ 8.43% มูลค่า 684.70 ล้านบาท
ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์หลักๆ ที่ปรับตัวลดลง คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปิดที่ 62 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 3.88% มูลค่า 669.24 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 68.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.84% มูลค่า 487.17 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 103 บาท ลดลง 3 บาท หรือ 2.83% มูลค่า 434.33 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา 16.60 บาท ลดลง 0.80 บาท หรือ 4.60% มูลค่า 377.82 ล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในยุโรปส่งผลให้มีแรงขายหุ้นออกมา หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และลุกลามถึงยุโรป จนส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงถ้วนหน้า
“ใน 1-2 วันนี้ต้องจับตาการแก้ไขปัญหาตลาดการเงินทั้งในอังกฤษและสหรัฐฯ จะออกมาแนวทางใด โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรสเรียบร้อยแล้ว”
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดลงต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนระยะสั้นๆ ดังนั้นช่วงนี้จึงไม่แนะนำให้เข้ามาลงทุน โดยถือเงินสด เพราะตลาดมีความผันผวนหนัก โดยมีแนวรับที่ 585 จุด แนวต้านที่ 612 จุด
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก จากปัญหาสถาบันการเงินในยุโรปเริ่มประสบปัญหาหนี้เสีย ซ้ำรอยปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลพวงจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่เข้าไปถือหุ้นในยุโรปหลายแห่ง ดังนั้นจึงต้องติดตามขั้นตอนการแก้ปัญหาสถาบับการเงิน หลังทางการสหรัฐฯ อนุมัติเรียบร้อยแล้ว
“ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นเอเชียได้รับผลพวงไปด้วย แต่เชื่อว่าผลกระทบอย่างรุนแรงไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นเอเชียแล้ว เนื่องจากปัญหาที่เกิดวิกฤตการเงินเมื่อปี 40 ทำให้การลงทุนของคนเอเชียระมัดระวังมากขึ้น และไม่ค่อยทำธุรกรรมทางการเงินกับทางยุโรป แล้ว เนื่องจากมีบทเรียนมาแล้ว แม้กระนั้นก็ยังได้รับผลพวงเนื่องจากเกิดวิกฤตทั่วโลก โดยในระยะ 1 -2 วันนี้ ให้แนวรับที่ 590 จุด และแนวต้านที่ 610 จุด พร้อมเชื่อว่าตลาดหุ้นจะยังคมซึมต่อไป อีกระยะหนึ่ง จากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว และนักลงทุนไม่กล้านำเงินมาลงทุน”
ทิสโก้คาดตลาดหุ้นซึมยาวถึง Q1/51
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒน์กุล กรรมการบริหาร และหัวหน้าสายงานวิจัย บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะเงียบเหงายาวและถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 1/52 และจะเริ่มมีความชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 2/52 จากปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย แม้จะเป็นทางอ้อม โดยจะเห็นผลกระทบต่อตัวเลขภาคการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งในปี 52 อาจจะทำให้ตัวเลขการส่งออกขยายตัวต่ำกว่า 10% จากปัจจุบันที่โตถึง 14% เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ถือเป็นเป็นตลาดหลักของไทย และอาจทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวผันผวนบ้างตามแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์
“ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้สภาพคล่องในตลาดทั่วโลกลดลง โดยจะเห็นสัญญาณตั้งแต่ปลายไตรมาส 3/51 จนถึง 1/52 โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ และจะทำให้ตลาดหุ้นไทยซบเซาลากยาวเช่นกัน รวมทั้งสภาพคล่องที่ลดลงอาจทำให้การออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทำได้ยากขึ้นด้วย หรือเหลือเพียงเสนอขายในประเทศเท่านั้น”
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนั้น นายวิศิษฐ์ กล่าว่า การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 15 ธ.ค.51 นี้ น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือ 1% หรือ 1.5% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 2% เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของไทยปรับลดลงเช่นกันอย่างน้อยน่าจะปรับลดลงประมาณ 0.25% ในต้นปีหน้า เพราะอัตราเงินเฟ้อของไทยยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
“ขณะนี้คงไม่มีการลงทุนเกิดขึ้น เพราะนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ส่วนตลาดหุ้นเองมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยได้ลดลงต่ำกว่าหมื่นล้านบาท จากเดิมที่สูงเฉลี่ย 1.7 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะลากยาวไปอีก 4-5 เดือนข้างหน้า หรือต่ำสุดในไตรมาสแรกปี 51 แต่เมื่อทุกอย่างเห็นภาพชัดเจนแล้วตลาดหุ้นจะปรับตัวดีขึ้น เพราะฉะนั้นวิกฤติจึงเป็นโอกาสได้เหมือนกัน”
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หุ้นหลายตัวให้ผลตอบแทนในรูปปันผลถึง 8-10% กำไรสุทธิของบจ.ยังเติบโตได้ดี โดยในปีนี้น่าจะเติบโตได้ในระดับ 24% โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคารเป็นหลัก แต่จากปัจจัยต่างๆ ที่ยังไม่เอื้อหากยังไม่มีความเชื่อมั่น แต่ต้องการลงทุนสามารถแบ่งการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น 1-2 ปีในสัดส่วน 60% หุ้นที่มีเงินปันผลสูง 20% และหุ้นที่ราคาไม่ผันผวน 20%
ตลาดหุ้นเอเชียจับมือกันร่วง
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ได้ปรับตัวลดลงกันอย่างถ้วนหน้าจากปัญหาสถาบันการเงินในยุโรปที่เกิดขึ้น โดย ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดระดับต่ำกว่า 18,000 จุด ที่ 17,888.68 จุด ลดลงจากวันก่อนกว่า 801.41 จุด หรือ 4.29% โดยมีจุดต่ำสุดที่ 17,796.34 จุด และสูงสุดที่ 18,742.25 จุด
ขณะที่ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปิดที่ 11,743.61 จุด ลดลงจากวันก่อน 149.55 จุด หรือ 1.26% ดัชนีสเตรทไทม์ ของสิงคโปร์ ปิดที่ระดับ 2,361.34 จุด ปรับลดลง 50.12 จุด หรือเปลี่ยนแปลง 2.08% ดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดที่ระดับ 1,019.72 จุด ปรับลดลง 0.81 จุด เปลี่ยนแปลง 0.1%
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (29 ก.ย.) ยังคงได้รับปัจจัยลบจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยในช่วงเช้านักลงทุนต่างรอดูท่าทีของสภาคองเกรส สหรัฐฯ ในการพิจารณามาตรการแก้วิกฤตสถาบันการเงิน มูลค่ากว่า 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไม่เคลื่อนไหวมากนัก รวมทั้งมูลค่าการซื้อขายค่อนข้างเบาบาง โดยมีดัชนีสูงสุดที่ระดับ 619.33 จุด และปิดการซื้อขายช่วงเช้าที่ 615.59 จุด ลดลงจากวันก่อน 3.38 จุด หรือ 0.55% มูลค่าการซื้อขายรวม 3,189 ล้านบาท
ขณะที่เปิดตลาดช่วงบ่าย นักลงทุนได้เทขายหุ้นขนาดใหญ่ออกมาอย่างต่อเนื่อง หลังจากมีข่าวสถาบันการเงินและธนาคารพาณิชย์ในยุโรป เริ่มประสบปัญหาวิกฤตการเงินเช่นเดียวกับสหรัฐฯ ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็วจนหลุดแนวรับที่ระดับ 600 จุด แตะจุดต่ำสุดที่ 598.59 จุด แม้จะดีดกลับช่วงท้ายตลาดเล็กน้อยที่ 601.29 จุด ลดลงจากวันก่อน 17.68 จุด หรือคิดเป็น 2.86% มูลค่าการซื้อขายรวม 10,050.31 ล้านบาท
ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศได้เทขายหุ้นออกมาเป็นจำนวนมาก ทำให้มียอดขายสุทธิสูงถึง 1,304.03 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 425.21 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 878.82 ล้านบาท
สำหรับมูลค่าหุ้นที่มีการซื้อขายสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ปิดที่ 130 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 4.41% มูลค่าการซื้อขายรวม 881.95 ล้านบาท บมจ.ปตท. ปิด 230 บาท ลดลง 6 บาท หรือ 2.54% มูลค่า 794.34 ล้านบาท และบมจ. บ้านปู (BANPU) ปิด 304 บาท ลดลง 28 บาท หรือ 8.43% มูลค่า 684.70 ล้านบาท
ขณะที่หุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์หลักๆ ที่ปรับตัวลดลง คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ปิดที่ 62 บาท ลดลง 2.50 บาท หรือ 3.88% มูลค่า 669.24 ล้านบาท ธนาคารไทยพาณิชย์ 68.50 บาท ลดลง 2 บาท หรือ 2.84% มูลค่า 487.17 ล้านบาท ธนาคารกรุงเทพ 103 บาท ลดลง 3 บาท หรือ 2.83% มูลค่า 434.33 ล้านบาท และธนาคารกรุงศรีอยุธยา 16.60 บาท ลดลง 0.80 บาท หรือ 4.60% มูลค่า 377.82 ล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ KGI กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินในยุโรปส่งผลให้มีแรงขายหุ้นออกมา หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ และลุกลามถึงยุโรป จนส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลงถ้วนหน้า
“ใน 1-2 วันนี้ต้องจับตาการแก้ไขปัญหาตลาดการเงินทั้งในอังกฤษและสหรัฐฯ จะออกมาแนวทางใด โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่ผ่านการอนุมัติจากสภาคองเกรสเรียบร้อยแล้ว”
นายอดิศักดิ์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยรูดลงต่อเนื่อง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนระยะสั้นๆ ดังนั้นช่วงนี้จึงไม่แนะนำให้เข้ามาลงทุน โดยถือเงินสด เพราะตลาดมีความผันผวนหนัก โดยมีแนวรับที่ 585 จุด แนวต้านที่ 612 จุด
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ไซรัส จำกัด กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงตามตลาดหุ้นทั่วโลก จากปัญหาสถาบันการเงินในยุโรปเริ่มประสบปัญหาหนี้เสีย ซ้ำรอยปัญหาที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลพวงจากสถาบันการเงินในสหรัฐฯ ที่เข้าไปถือหุ้นในยุโรปหลายแห่ง ดังนั้นจึงต้องติดตามขั้นตอนการแก้ปัญหาสถาบับการเงิน หลังทางการสหรัฐฯ อนุมัติเรียบร้อยแล้ว
“ตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นเอเชียได้รับผลพวงไปด้วย แต่เชื่อว่าผลกระทบอย่างรุนแรงไม่น่าจะเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นเอเชียแล้ว เนื่องจากปัญหาที่เกิดวิกฤตการเงินเมื่อปี 40 ทำให้การลงทุนของคนเอเชียระมัดระวังมากขึ้น และไม่ค่อยทำธุรกรรมทางการเงินกับทางยุโรป แล้ว เนื่องจากมีบทเรียนมาแล้ว แม้กระนั้นก็ยังได้รับผลพวงเนื่องจากเกิดวิกฤตทั่วโลก โดยในระยะ 1 -2 วันนี้ ให้แนวรับที่ 590 จุด และแนวต้านที่ 610 จุด พร้อมเชื่อว่าตลาดหุ้นจะยังคมซึมต่อไป อีกระยะหนึ่ง จากผลกระทบที่เกิดขึ้นดังกล่าว และนักลงทุนไม่กล้านำเงินมาลงทุน”
ทิสโก้คาดตลาดหุ้นซึมยาวถึง Q1/51
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒน์กุล กรรมการบริหาร และหัวหน้าสายงานวิจัย บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยคงจะเงียบเหงายาวและถึงจุดต่ำสุดในไตรมาส 1/52 และจะเริ่มมีความชัดเจนขึ้นในช่วงไตรมาส 2/52 จากปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย แม้จะเป็นทางอ้อม โดยจะเห็นผลกระทบต่อตัวเลขภาคการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งในปี 52 อาจจะทำให้ตัวเลขการส่งออกขยายตัวต่ำกว่า 10% จากปัจจุบันที่โตถึง 14% เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ถือเป็นเป็นตลาดหลักของไทย และอาจทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวผันผวนบ้างตามแนวโน้มค่าเงินดอลลาร์
“ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้สภาพคล่องในตลาดทั่วโลกลดลง โดยจะเห็นสัญญาณตั้งแต่ปลายไตรมาส 3/51 จนถึง 1/52 โดยเฉพาะนักลงทุนต่างประเทศ และจะทำให้ตลาดหุ้นไทยซบเซาลากยาวเช่นกัน รวมทั้งสภาพคล่องที่ลดลงอาจทำให้การออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ทำได้ยากขึ้นด้วย หรือเหลือเพียงเสนอขายในประเทศเท่านั้น”
สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยนั้น นายวิศิษฐ์ กล่าว่า การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ในวันที่ 15 ธ.ค.51 นี้ น่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาเหลือ 1% หรือ 1.5% จากปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 2% เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยของไทยปรับลดลงเช่นกันอย่างน้อยน่าจะปรับลดลงประมาณ 0.25% ในต้นปีหน้า เพราะอัตราเงินเฟ้อของไทยยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง
“ขณะนี้คงไม่มีการลงทุนเกิดขึ้น เพราะนักลงทุนขาดความเชื่อมั่น ส่วนตลาดหุ้นเองมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยได้ลดลงต่ำกว่าหมื่นล้านบาท จากเดิมที่สูงเฉลี่ย 1.7 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะลากยาวไปอีก 4-5 เดือนข้างหน้า หรือต่ำสุดในไตรมาสแรกปี 51 แต่เมื่อทุกอย่างเห็นภาพชัดเจนแล้วตลาดหุ้นจะปรับตัวดีขึ้น เพราะฉะนั้นวิกฤติจึงเป็นโอกาสได้เหมือนกัน”
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หุ้นหลายตัวให้ผลตอบแทนในรูปปันผลถึง 8-10% กำไรสุทธิของบจ.ยังเติบโตได้ดี โดยในปีนี้น่าจะเติบโตได้ในระดับ 24% โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มธนาคารเป็นหลัก แต่จากปัจจัยต่างๆ ที่ยังไม่เอื้อหากยังไม่มีความเชื่อมั่น แต่ต้องการลงทุนสามารถแบ่งการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น 1-2 ปีในสัดส่วน 60% หุ้นที่มีเงินปันผลสูง 20% และหุ้นที่ราคาไม่ผันผวน 20%
ตลาดหุ้นเอเชียจับมือกันร่วง
ด้านตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชีย ได้ปรับตัวลดลงกันอย่างถ้วนหน้าจากปัญหาสถาบันการเงินในยุโรปที่เกิดขึ้น โดย ดัชนีฮั่งเส็ง ตลาดหุ้นฮ่องกง ปิดระดับต่ำกว่า 18,000 จุด ที่ 17,888.68 จุด ลดลงจากวันก่อนกว่า 801.41 จุด หรือ 4.29% โดยมีจุดต่ำสุดที่ 17,796.34 จุด และสูงสุดที่ 18,742.25 จุด
ขณะที่ดัชนีนิกเกอิ ตลาดหุ้นโตเกียว ปิดที่ 11,743.61 จุด ลดลงจากวันก่อน 149.55 จุด หรือ 1.26% ดัชนีสเตรทไทม์ ของสิงคโปร์ ปิดที่ระดับ 2,361.34 จุด ปรับลดลง 50.12 จุด หรือเปลี่ยนแปลง 2.08% ดัชนีคอมโพสิต ตลาดหุ้นมาเลเซีย ปิดที่ระดับ 1,019.72 จุด ปรับลดลง 0.81 จุด เปลี่ยนแปลง 0.1%