วิกฤตสุดในโลกที่ดำเนินยืดเยื้อยาวนานค่อนทศวรรษนับแต่ธนกิจการเมืองเข้ามาครอบงำการปกครองโดยการลุประโยชน์ของประชาชน ตลอดจนสื่อมวลชนจำนวนมากที่เลือก ‘ธนะ’ มากกว่า ‘ธรรมะ’ ผ่านลัทธิพิธีเลือกตั้งและกลวิธีนำเสนอข่าวสารสู่สาธารณชนนั้น นำวิกฤตการณ์ทางปัญญามาลงหลักปักฐานแน่นหนาในเกือบทุกองคาพยพสังคมไทยแล้ว
เนื่องด้วยสื่อมวลชนหนึ่งในสถาบันทางสังคมที่มีศักยภาพสร้างแสงสว่างกลับเลื่อนไหลลงต่ำตามกระแสทุนนิยมสามานย์ แสวงหาประโยชน์เข้าตัวเองเฉกมนุษย์ที่ฉลาดเอาเพื่อตัวเอง ‘อัตตัตถปัญญา อสุจี มนุสสา’
ทั้งๆ วิกฤตถึงขั้นกลียุคครานี้น่าเป็นโอกาสดีที่สื่อมวลชนไทยได้เรียนรู้สร้างเสริมปัญญาตนเองเพื่อพาชาติบ้านเมืองพ้นเหวหุบหายนะ ประหนึ่งพระพุทธเจ้าที่อุบัติบังเกิดในโลกกลียุคอันอุดมความทุกข์และศีลธรรมเหลือน้อยกว่า 1 ใน 4 ได้ศึกษาวิกฤตการณ์มหาศาล กระทั่งตรัสรู้นำมวลมนุษยชาติพบทางดับทุกข์แท้จริง
เมื่อความทุกข์เป็นเหตุให้เกิดศรัทธาความแน่ใจในการแสวงหาความดับทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาทดังที่ท่านอาจารย์พุทธทาสอรรถาธิบายธรรมไว้ ฉะนั้นความวิปริตที่กร่อนกัดเมืองไทยจนจวนเจียนจะวินาศถ้าเร่งระดมพลังศีลธรรมกลับมาไม่ทันท่วงทีเช่นนี้ย่อมหนี ‘ความรับผิดชอบ’ ของสื่อมวลชนไปไม่ได้
ด้วยผ่านมาสื่อมวลชนไทยไม่เพียงสยบยอมรัฐบาลกังฉินด้วยการขยายค่านิยมเก่งแต่โกงยอมรับได้เท่านั้น หากยังไร้จินตนาการนำเสนอทางเลือกและวิสัยทัศน์ใหม่ๆ รังแต่จะใช้ฐานันดรที่สี่ชี้นำประชาชนให้จำนนนักการเมืองฉ้อฉลบนระบบเลือกตั้งเขาควาย (Dilemma) ที่หันซ้ายหรือขวาก็ได้แต่นักการเมืองเก่าเก่งโกงเสื่อมทรามจริยธรรม
วิกฤตสังคมไทยคราวนี้แทนที่ทวีสติปัญญาตัวเอง สื่อมวลชนกระแสหลักส่วนหนึ่งกลับเลือกเป็น ‘กบในกะลา’ ชักชวนเชิงข่มขู่ขัดขวางสื่อมวลชนส่วนน้อยมีคุณภาพพ้นกะลาให้มาอยู่ร่วมสังกัดด้วยสารพัดข้ออ้างทางธุรกิจและประชาธิปไตย เนื่องจากหวาดกลัวว่าสักวันความจริงจะปรากฏสู่สาธารณะว่าสื่อใดกันแน่เป็นตัวแทนประชาชนหรือกลุ่มทุน
การได้ปัญญาจากโอกาสแห่งวิกฤตจึงไม่ค่อยเกิดในสื่อมวลชนกระแสหลัก (Mainstream media) ที่มักปัดการทำแบบฝึกหัดพัฒนาปัญญานำชาติฝ่าคลื่นลมมรสุมคอร์รัปชันไปได้ ไม่เหมือนสื่อทางเลือก (Alternative media) ที่เมล็ดพันธุ์ปัญญาแทงยอดแตกใบอ่อน
ด้วยอย่างน้อยๆ ความมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยไร้ทุจริตคอร์รัปชันผ่านการถ่ายทอดพลังปัญญาการรู้เท่าทันนักเลือกตั้งสู่สาธารณชนที่หลอมรวมกันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในนามพันธมิตรฯ ของสื่อทางเลือกเช่น ASTV ก็กำลังก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่จุดหมายบนเส้นทาง ‘ธรรม’ ความจริงความถูกต้องดีงามและประโยชน์สุขที่แท้
การแก้กลียุคด้วยปัญญาเช่นนี้นับเป็นพลังส่วนหนึ่งในการสร้างประชาธิปไตยที่เป็นธรรม ที่มี ‘ธรรมาธิปไตย’ เป็นแกนของประชาธิปไตย และที่สำคัญเปิดให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทุกกิจกรรมของประชาธิปไตยด้วยธรรมาธิปไตยเพื่อแก้ปัญหาระบอบประชาธิปไตยที่นำมาใช้ไม่เป็นธรรมท่ามกลางขณะเมืองไทยกำลังเสื่อมทรุดหนักจากการขาดธรรมะ ดั่งที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ชี้ทางสว่างไว้
เพียงแต่วันนี้ ASTV และสื่อเครือผู้จัดการ รวมถึงสื่ออุดมการณ์เดียวกันอื่นๆ ต้องฝ่าฟันขวากหนามบนทางรกชัฏเพื่อจะถึงฝั่งฝันระบอบประชาธิปไตยที่เปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะทั้งแง่นำเสนอ คัดค้าน หรือยับยั้งเป็นอย่างน้อย
กระนั้นจักพบว่าสื่อมวลชนส่วนมากกลับร่าเริงเดินตามกระแสสังคม ไม่ใช่เพราะโง่เขลา แต่ฉลาดเอาตัวรอด เลือกพันธนาการล่ามร้อยโซ่ตรวนตนเองไว้ในความกลางกลวง ถึงแม้เห็นการฉ้อฉลตรงหน้าก็เมินเฉยดูดายได้ด้วยเนื้อตัวจิตใจพอกพูนด้วย ‘อสุจิปัญญา’ เสียแล้ว ดังปรากฏการณ์ลงทุนน้อยแต่ต้องการกำไรเฉพาะหน้ามาก ไม่ปรับตัวเองเป็นองค์กรรักเรียนรู้ มองผู้รับสารสำคัญแค่ดึงดูดเม็ดเงินโฆษณา ต่างจากสื่อทางเลือกที่หลอมรวมผู้รับสารเป็นผลึกกร้าวแกร่งเดียวกันผ่านประเด็นแหลมคมเช่นชาติพันธุ์ เพศ ความเชื่อ ถึงอุดมการณ์การเมือง
อสุจิปัญญากำลังกลืนกินสังคมไทยอย่างตะกละตะกลามตามที่ท่าน ว.วชิระเมธีชี้ชัดว่าปัญญาชนิดนี้ชักนำคนไทยสู่วิกฤตในปัจจุบัน เพราะเป็นปัญญาที่มาพร้อมความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม คำนึงถึงผลประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์สุข รวมถึงนำสัญชาตญาณเอารัดเอาเปรียบมาแทนที่จิตสำนึกของผู้ให้ กระทั่งการโกงกลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักในสังคมไทย
เมื่อทั้งสังคมมองคนไม่โกงว่าเป็นคนส่วนน้อยที่โง่ไร้เกียรติ เมื่อนั้นสื่อมวลชนชูธงทวนกระแสชุดความคิดเสื่อมทรุดนี้ก็ย่อมถูกปรามาสจากสังคมรวมถึงสื่อมวลชนส่วนใหญ่ไม่ต่างกันนัก ดัง ASTV เผชิญถ้อยถากถางทั้งจากฟากวิชาการและวิชาชีพมาตลอดตั้งแต่หาญกล้าทางจริยธรรมตรวจสอบถ่วงดุลกระทั่งขับไล่รัฐบาลเลือกตั้งแต่ฉ้อฉลอำนาจ
ทว่าถ้าอำนาจอธิปไตยยังเป็นของปวงชนฉันใด สื่อเพื่อประชาธิปไตยก็ต้องปวารณาตัวเองเป็นผู้เสียสละปลดปล่อยประชาชนเป็นอิสระ (People’s liberation) จากห่วงโซ่อุปถัมภ์ของพรรคการเมืองที่บูชาคะแนนเลือกตั้งมากกว่าคำมั่นสัญญาด้วยการเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม (People’s participatory) ตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
กระบวนการรื้อถอนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างนักการเมืองกับประชาชนจากแนวดิ่งสู่แนวราบมากขึ้นเช่นนี้มิอาจเลี่ยงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมการเมืองไทยไปได้ ไม่เว้นกระทั่งรัฐธรรมนูญที่ต้องเปลี่ยนปรับตามการเคลื่อนไหวของประชาชนเฉื่อยชาสู่พลเมืองกระตือรือร้นตามแรงรุกเร้าของสื่อทางเลือกที่เปลี่ยนผู้บริโภคการเมืองเป็นผู้เล่นทางการเมือง
ความเพียรรณรงค์สร้างการเมืองใหม่ที่ไปพ้นวังวนน้ำเน่านักเลือกตั้ง จึงต้องใช้สรรพกำลังและเสียสละทุ่มทุนมหาศาล เพราะนอกจากสื่อมวลชนต้องผสานความรู้คู่กับกำหนดยุทธวิธีตามกรอบยุทธศาสตร์อย่างแยบยลชาญฉลาดแล้ว ยังต้องการนโยบายผู้นำองค์กรระดับสูงที่หาญกล้าจุดตะเกียงแลเทียนไล่รัตติกาลทมิฬมากกว่าแค่จะสะท้อนภาพสังคมบิดเบี้ยวจากกระจกขุ่นมัวที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ส่องเพื่อหลอนหลอกตัวเองว่าดีเลิศเป็นกลางอยู่เสมอ เหมือนยามสโนไวท์ส่องกระจกวิเศษแล้วถามคำถามคลื่นเหียนว่าใครงามเลิศในปฐพี ที่จะกี่ปีๆ ก็มีคำตอบเดียวคือตัวเอง!
ทั้งที่ความจริงแล้วริ้วรอยเหี่ยวยับย่นจากการถูกธนบัตรถั่งโถมนั้นมากเกินคณานับ
ฉะนั้นพันธกิจประชาภิวัฒน์จึงเรียกร้องบทบาท ASTV แบบวารสารศาสตร์ตำรับที่มีเป้าหมาย (Advocacy journalism) ที่จะกระตุ้นผู้รับสารให้เข้ามามีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างกระตือรือร้นผ่านขบวนการพันธมิตรฯ ที่รู้คุณค่าสารสนเทศและการสื่อสารแบบ Mainstream formats และสร้างเครือข่ายกระจายข้อมูลข่าวสารบนโมเดลธุรกิจ เพื่อจะบรรลุการเมืองใหม่ที่มีผู้รับสารมากมายร่วมเรียนรู้สลายปัจเจก
ถึงท้ายสุดพลังจริยธรรมที่แพร่กระจายต่อยอดจะเคลื่อนขับการเมืองไทยไปไม่ถึงสังคมอุดมคติ (Utopia) ตามวาดหวัง ทว่าการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda setting) ของ ASTV ก็เชิญชวนสาธารณชนร่วมคิดเรื่องการเมืองใหม่ที่นำเสนอได้ (Think about)
แต่แน่นอนสุดที่ห้วงปัจจุบันขณะผู้รับสาร ASTV สามารถรังสรรค์ชีวิตและวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศไทยในวันนี้และวันหน้าอย่างมีนัยสำคัญแล้วจากการสร้างเครือข่ายแนวนอน (Lateral network) ที่ร่วมกันแสวงหาความสมานฉันท์ (Solidarity) และฉันทามติ (Consensus) คัดค้านอำนาจรัฐอยุติธรรมของการเมืองเก่าเพื่อสร้างการเมืองน้ำไล่การเมืองโคลน หรือกล่าวในสำนวน ศ.นพ.ประเวศ วะสี คือการเมืองใหม่อารยะประชาธิปไตยขับไล่การเมืองเก่าเน่าหนอนชอนไช นั่นเอง.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
เนื่องด้วยสื่อมวลชนหนึ่งในสถาบันทางสังคมที่มีศักยภาพสร้างแสงสว่างกลับเลื่อนไหลลงต่ำตามกระแสทุนนิยมสามานย์ แสวงหาประโยชน์เข้าตัวเองเฉกมนุษย์ที่ฉลาดเอาเพื่อตัวเอง ‘อัตตัตถปัญญา อสุจี มนุสสา’
ทั้งๆ วิกฤตถึงขั้นกลียุคครานี้น่าเป็นโอกาสดีที่สื่อมวลชนไทยได้เรียนรู้สร้างเสริมปัญญาตนเองเพื่อพาชาติบ้านเมืองพ้นเหวหุบหายนะ ประหนึ่งพระพุทธเจ้าที่อุบัติบังเกิดในโลกกลียุคอันอุดมความทุกข์และศีลธรรมเหลือน้อยกว่า 1 ใน 4 ได้ศึกษาวิกฤตการณ์มหาศาล กระทั่งตรัสรู้นำมวลมนุษยชาติพบทางดับทุกข์แท้จริง
เมื่อความทุกข์เป็นเหตุให้เกิดศรัทธาความแน่ใจในการแสวงหาความดับทุกข์ตามหลักปฏิจจสมุปบาทดังที่ท่านอาจารย์พุทธทาสอรรถาธิบายธรรมไว้ ฉะนั้นความวิปริตที่กร่อนกัดเมืองไทยจนจวนเจียนจะวินาศถ้าเร่งระดมพลังศีลธรรมกลับมาไม่ทันท่วงทีเช่นนี้ย่อมหนี ‘ความรับผิดชอบ’ ของสื่อมวลชนไปไม่ได้
ด้วยผ่านมาสื่อมวลชนไทยไม่เพียงสยบยอมรัฐบาลกังฉินด้วยการขยายค่านิยมเก่งแต่โกงยอมรับได้เท่านั้น หากยังไร้จินตนาการนำเสนอทางเลือกและวิสัยทัศน์ใหม่ๆ รังแต่จะใช้ฐานันดรที่สี่ชี้นำประชาชนให้จำนนนักการเมืองฉ้อฉลบนระบบเลือกตั้งเขาควาย (Dilemma) ที่หันซ้ายหรือขวาก็ได้แต่นักการเมืองเก่าเก่งโกงเสื่อมทรามจริยธรรม
วิกฤตสังคมไทยคราวนี้แทนที่ทวีสติปัญญาตัวเอง สื่อมวลชนกระแสหลักส่วนหนึ่งกลับเลือกเป็น ‘กบในกะลา’ ชักชวนเชิงข่มขู่ขัดขวางสื่อมวลชนส่วนน้อยมีคุณภาพพ้นกะลาให้มาอยู่ร่วมสังกัดด้วยสารพัดข้ออ้างทางธุรกิจและประชาธิปไตย เนื่องจากหวาดกลัวว่าสักวันความจริงจะปรากฏสู่สาธารณะว่าสื่อใดกันแน่เป็นตัวแทนประชาชนหรือกลุ่มทุน
การได้ปัญญาจากโอกาสแห่งวิกฤตจึงไม่ค่อยเกิดในสื่อมวลชนกระแสหลัก (Mainstream media) ที่มักปัดการทำแบบฝึกหัดพัฒนาปัญญานำชาติฝ่าคลื่นลมมรสุมคอร์รัปชันไปได้ ไม่เหมือนสื่อทางเลือก (Alternative media) ที่เมล็ดพันธุ์ปัญญาแทงยอดแตกใบอ่อน
ด้วยอย่างน้อยๆ ความมุ่งมั่นเปลี่ยนแปลงสังคมการเมืองไทยไร้ทุจริตคอร์รัปชันผ่านการถ่ายทอดพลังปัญญาการรู้เท่าทันนักเลือกตั้งสู่สาธารณชนที่หลอมรวมกันเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในนามพันธมิตรฯ ของสื่อทางเลือกเช่น ASTV ก็กำลังก้าวย่างอย่างมั่นคงสู่จุดหมายบนเส้นทาง ‘ธรรม’ ความจริงความถูกต้องดีงามและประโยชน์สุขที่แท้
การแก้กลียุคด้วยปัญญาเช่นนี้นับเป็นพลังส่วนหนึ่งในการสร้างประชาธิปไตยที่เป็นธรรม ที่มี ‘ธรรมาธิปไตย’ เป็นแกนของประชาธิปไตย และที่สำคัญเปิดให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในทุกกิจกรรมของประชาธิปไตยด้วยธรรมาธิปไตยเพื่อแก้ปัญหาระบอบประชาธิปไตยที่นำมาใช้ไม่เป็นธรรมท่ามกลางขณะเมืองไทยกำลังเสื่อมทรุดหนักจากการขาดธรรมะ ดั่งที่ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ชี้ทางสว่างไว้
เพียงแต่วันนี้ ASTV และสื่อเครือผู้จัดการ รวมถึงสื่ออุดมการณ์เดียวกันอื่นๆ ต้องฝ่าฟันขวากหนามบนทางรกชัฏเพื่อจะถึงฝั่งฝันระบอบประชาธิปไตยที่เปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะทั้งแง่นำเสนอ คัดค้าน หรือยับยั้งเป็นอย่างน้อย
กระนั้นจักพบว่าสื่อมวลชนส่วนมากกลับร่าเริงเดินตามกระแสสังคม ไม่ใช่เพราะโง่เขลา แต่ฉลาดเอาตัวรอด เลือกพันธนาการล่ามร้อยโซ่ตรวนตนเองไว้ในความกลางกลวง ถึงแม้เห็นการฉ้อฉลตรงหน้าก็เมินเฉยดูดายได้ด้วยเนื้อตัวจิตใจพอกพูนด้วย ‘อสุจิปัญญา’ เสียแล้ว ดังปรากฏการณ์ลงทุนน้อยแต่ต้องการกำไรเฉพาะหน้ามาก ไม่ปรับตัวเองเป็นองค์กรรักเรียนรู้ มองผู้รับสารสำคัญแค่ดึงดูดเม็ดเงินโฆษณา ต่างจากสื่อทางเลือกที่หลอมรวมผู้รับสารเป็นผลึกกร้าวแกร่งเดียวกันผ่านประเด็นแหลมคมเช่นชาติพันธุ์ เพศ ความเชื่อ ถึงอุดมการณ์การเมือง
อสุจิปัญญากำลังกลืนกินสังคมไทยอย่างตะกละตะกลามตามที่ท่าน ว.วชิระเมธีชี้ชัดว่าปัญญาชนิดนี้ชักนำคนไทยสู่วิกฤตในปัจจุบัน เพราะเป็นปัญญาที่มาพร้อมความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม คำนึงถึงผลประโยชน์ไม่ใช่ประโยชน์สุข รวมถึงนำสัญชาตญาณเอารัดเอาเปรียบมาแทนที่จิตสำนึกของผู้ให้ กระทั่งการโกงกลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักในสังคมไทย
เมื่อทั้งสังคมมองคนไม่โกงว่าเป็นคนส่วนน้อยที่โง่ไร้เกียรติ เมื่อนั้นสื่อมวลชนชูธงทวนกระแสชุดความคิดเสื่อมทรุดนี้ก็ย่อมถูกปรามาสจากสังคมรวมถึงสื่อมวลชนส่วนใหญ่ไม่ต่างกันนัก ดัง ASTV เผชิญถ้อยถากถางทั้งจากฟากวิชาการและวิชาชีพมาตลอดตั้งแต่หาญกล้าทางจริยธรรมตรวจสอบถ่วงดุลกระทั่งขับไล่รัฐบาลเลือกตั้งแต่ฉ้อฉลอำนาจ
ทว่าถ้าอำนาจอธิปไตยยังเป็นของปวงชนฉันใด สื่อเพื่อประชาธิปไตยก็ต้องปวารณาตัวเองเป็นผู้เสียสละปลดปล่อยประชาชนเป็นอิสระ (People’s liberation) จากห่วงโซ่อุปถัมภ์ของพรรคการเมืองที่บูชาคะแนนเลือกตั้งมากกว่าคำมั่นสัญญาด้วยการเปิดกว้างให้ประชาชนมีส่วนร่วม (People’s participatory) ตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
กระบวนการรื้อถอนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างนักการเมืองกับประชาชนจากแนวดิ่งสู่แนวราบมากขึ้นเช่นนี้มิอาจเลี่ยงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคมการเมืองไทยไปได้ ไม่เว้นกระทั่งรัฐธรรมนูญที่ต้องเปลี่ยนปรับตามการเคลื่อนไหวของประชาชนเฉื่อยชาสู่พลเมืองกระตือรือร้นตามแรงรุกเร้าของสื่อทางเลือกที่เปลี่ยนผู้บริโภคการเมืองเป็นผู้เล่นทางการเมือง
ความเพียรรณรงค์สร้างการเมืองใหม่ที่ไปพ้นวังวนน้ำเน่านักเลือกตั้ง จึงต้องใช้สรรพกำลังและเสียสละทุ่มทุนมหาศาล เพราะนอกจากสื่อมวลชนต้องผสานความรู้คู่กับกำหนดยุทธวิธีตามกรอบยุทธศาสตร์อย่างแยบยลชาญฉลาดแล้ว ยังต้องการนโยบายผู้นำองค์กรระดับสูงที่หาญกล้าจุดตะเกียงแลเทียนไล่รัตติกาลทมิฬมากกว่าแค่จะสะท้อนภาพสังคมบิดเบี้ยวจากกระจกขุ่นมัวที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่ส่องเพื่อหลอนหลอกตัวเองว่าดีเลิศเป็นกลางอยู่เสมอ เหมือนยามสโนไวท์ส่องกระจกวิเศษแล้วถามคำถามคลื่นเหียนว่าใครงามเลิศในปฐพี ที่จะกี่ปีๆ ก็มีคำตอบเดียวคือตัวเอง!
ทั้งที่ความจริงแล้วริ้วรอยเหี่ยวยับย่นจากการถูกธนบัตรถั่งโถมนั้นมากเกินคณานับ
ฉะนั้นพันธกิจประชาภิวัฒน์จึงเรียกร้องบทบาท ASTV แบบวารสารศาสตร์ตำรับที่มีเป้าหมาย (Advocacy journalism) ที่จะกระตุ้นผู้รับสารให้เข้ามามีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงสังคมอย่างกระตือรือร้นผ่านขบวนการพันธมิตรฯ ที่รู้คุณค่าสารสนเทศและการสื่อสารแบบ Mainstream formats และสร้างเครือข่ายกระจายข้อมูลข่าวสารบนโมเดลธุรกิจ เพื่อจะบรรลุการเมืองใหม่ที่มีผู้รับสารมากมายร่วมเรียนรู้สลายปัจเจก
ถึงท้ายสุดพลังจริยธรรมที่แพร่กระจายต่อยอดจะเคลื่อนขับการเมืองไทยไปไม่ถึงสังคมอุดมคติ (Utopia) ตามวาดหวัง ทว่าการกำหนดวาระข่าวสาร (Agenda setting) ของ ASTV ก็เชิญชวนสาธารณชนร่วมคิดเรื่องการเมืองใหม่ที่นำเสนอได้ (Think about)
แต่แน่นอนสุดที่ห้วงปัจจุบันขณะผู้รับสาร ASTV สามารถรังสรรค์ชีวิตและวัฒนธรรมทางการเมืองของประเทศไทยในวันนี้และวันหน้าอย่างมีนัยสำคัญแล้วจากการสร้างเครือข่ายแนวนอน (Lateral network) ที่ร่วมกันแสวงหาความสมานฉันท์ (Solidarity) และฉันทามติ (Consensus) คัดค้านอำนาจรัฐอยุติธรรมของการเมืองเก่าเพื่อสร้างการเมืองน้ำไล่การเมืองโคลน หรือกล่าวในสำนวน ศ.นพ.ประเวศ วะสี คือการเมืองใหม่อารยะประชาธิปไตยขับไล่การเมืองเก่าเน่าหนอนชอนไช นั่นเอง.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org