สถาบันนี้ต้องวางแผนและวางฐานสร้างพรรคการเมืองใหม่และสร้างนักการเมืองใหม่ขึ้น แต่ต้องเป็นพรรคที่มีอุดมการณ์จริงๆ
‘การสร้างอุดมการณ์ทางการเมือง’ สำคัญอย่างมากๆ เพราะ อุดมการณ์ เท่านั้นจึงจะทำให้นักการเมืองก้าวผ่านเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวได้
ที่ผ่านมา ระบบพรรคการเมืองของเราล้มเหลวเกือบทั้งหมด เพราะพรรคแต่ละพรรคไม่มีอุดมการณ์ที่แน่นอน กลับต้องมาขึ้นต่อผู้นำและผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
สถาบันการเมืองใหม่ต้องวางเป้าหมาย ระดม และสร้างนักการเมืองใหม่ขึ้นมา ทำได้โดยระดมคนดีๆ ที่สนใจการเมืองเข้ามาร่วมกัน
เราต้องเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่
ตัวอย่างเช่น เราอาจจะเริ่มจากการสร้าง พรรคการเมืองสีเขียว ขึ้นมาพรรคหนึ่งก่อน
ระดมผู้คน นักคิด นักวิชาการที่สนใจการเมืองแบบนี้เข้ามาร่วมกันทุกฝ่าย
ร่วมกันวางแผน เพื่อให้เกิดพรรคที่มีอุดมการณ์จริงๆ และให้เกิดพรรคที่เรียกว่า พรรคมวลชนขึ้นจริงๆ
ถ้าเราสามารถสร้างพรรคที่มีอุดมการณ์ขึ้นมาสัก 3 พรรค เราก็จะสามารถผลิตนักการเมืองน้ำดี เข้าสู่เวทีทางการเมือง
จำนวน น้ำเสีย หรือ น้ำเน่า ก็จะลดลง
เพื่อนอีกคนหนึ่งถามว่า “ต้องแก้รัฐธรรมนูญไหม”
ผมตอบว่า
“คงต้องแก้ แต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน”
สาเหตุที่ต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะเราต้องแก้ระบบโครงสร้างด้วย
รัฐเราที่ผ่านมาเป็นรัฐขนาดใหญ่มาก เหมือนคนหัวโตแต่ตัวเล็ก ถือว่าเสียดุลอย่างยิ่ง และเรายังรวมศูนย์อำนาจและศูนย์ผลประโยชน์มาไว้ที่เดียว
เราต้องลดขนาดรัฐลง และกระจายอำนาจรัฐออกไป
วิธีการหลักเพื่อแก้คอร์รัปชันคือ การกำหนดกรอบของพื้นที่การเมือง ลดขนาดแต่ละพื้นที่ให้เล็กลง เพื่อดูแลและควบคุมได้ง่ายขึ้น
ศาสตร์ตะวันออกจะให้ความสำคัญของพื้นที่อย่างมากๆ และเชื่อว่า ต้องทำให้เล็กๆ จึงจะทำให้ “งดงาม” ได้
หัวใจใหญ่ ก็คือ ต้องทำให้เกิดศูนย์กลางการเมืองที่มีพื้นที่จำกัด และสะอาดพอสมควร
ศูนย์กลางเมืองใหม่ ก็คือ รัฐบาลกลาง ซึ่งทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในเรื่องต่างประเทศ (หรือสากล) ผมขอเรียกว่าInter -Government
นี่คือ หน่วยศูนย์กลางใหม่ของรัฐไทย ที่จะวางแผน และดำเนินเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศเป็นสำคัญ
มีหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องระหว่างประเทศ จะเกี่ยวกับภายในประเทศบ้าง ก็อาจจะเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงและเรื่องยุทธศาสตร์อนาคต เท่านั้น
ถ้าทำศูนย์กลางการเมืองให้ “สะอาด” ได้พอสมควร วัฒนธรรมการเมืองใหม่ที่ปฏิเสธการคอร์รัปชันก็จะก่อตัวขึ้น
ผมคงไม่ต้องอธิบายว่า จะเลือก “ท่านนายกรัฐมนตรี กันอย่างไร” เพราะน่าจะเป็นเรื่อง รายละเอียด
สิ่งที่ผมสนใจคือ การเลือกตั้งโดยตรงแบบอเมริกา ที่ใช้ขบวนการสรรหาท่านนายกฯ ที่ยาวมากกว่าการเลือกผ่านระบบรัฐสภา และผมคิดว่า น่าจะเป็นการเลือกคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ (ประมาณ 5 คน) รวมทั้งตัวนายกฯ ซึ่งเป็นการเลือกได้มากกว่าการเลือกบุคคลเพียงคนเดียว
การเลือกแบบนี้ ผู้คนจะเข้าใจ ความสำคัญของนโยบาย มากกว่าติดที่ตัวบุคคล เพราะผู้สมัครแต่ละกลุ่ม ต้องหาบุคคลที่ดีๆ มาประกอบกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งมีแผล หรือมีเรื่องคอร์รัปชัน ก็จะเป็นจุดอ่อน
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายต้องนำเสนอ ‘นโยบาย’ มาแข่งกัน จึงทำให้การเลือกมุ่งไปที่ การแข่งกันเชิงนโยบายมากกว่าความเก่งหรือความฉลาดในแง่บุคคล
หน่วยที่สำคัญถัดลงมา ก็คือ Local-Government หรือรัฐบาลระดับชาติ ที่ดูแล (น่าจะเป็น)ขอบเขตรัฐแบบมลรัฐ
วิธีคิดแบบนี้อาจจะถูกต่อต้านมาก เพราะเราเคยชินกับรัฐราชการที่ใหญ่โต และมีชีวิตอยู่ในระบบนี้มายาวนาน
แต่ถ้าเรามองในแง่ประโยชน์ รัฐแบบมลรัฐมีข้อดีมากมาย เช่น
ประการแรก ระบบรัฐแบบนี้จะเป็นระบบที่ก่อเกิดการกระจายอำนาจ และกระจายความเจริญได้ อย่างเป็นจริง
ประการที่สอง ขนาดพื้นที่ดูแลจะเล็กลง ทำให้ง่ายแก่การปกครอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องสร้างระบบราชการขนาดใหญ่ และยังง่ายแก่การตรวจสอบหรือการทำให้โปร่งใส
วันนี้ ทุกประเทศใหญ่ๆ ในโลกล้วนมีรูปแบบรัฐแบบมลรัฐกันทั้งหมด แม้แต่ประเทศเล็กๆ อย่างมาเลเซีย และลาว ก็มีรูปแบบรัฐเช่นนี้
นอกจากนี้ ผมคิดว่า การก่อเกิด Inter-Government และ Local-Government จะสอดคล้องกับวิวัฒนาการของโลกอนาคตที่กำลังเคลื่อนตัวสู่โลกไร้พรมแดนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้จะมีจุดอ่อนบ้าง อยู่ตรงที่ศูนย์ของการคอร์รัปชันจะโยกย้ายจาก Inter- Government มาสู่ Local-Government เป็นสำคัญ
ทางแก้ที่สำคัญ คือ ต้องวางฐานประชาธิปไตยที่มั่นคงขึ้นในระดับชุมชนและระดับเมืองก่อน ก่อนจะไปสร้าง Local-Government
ดังนั้น การสร้าง Local-Government ไม่จำเป็นต้องเร่งร้อน ให้เราสามารถสร้างฐานประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้นในระดับชุมชนและระดับเมืองได้สำเร็จก่อน ก็จะช่วยลดทอนการคอร์รัปชันได้ นั่นเอง
ถ้าเราสามารถสร้างInter-Governmentที่ค่อนข้างสะอาดได้ เราก็สามารถใช้ InterคุมLocalได้อีกทอดหนึ่ง
นอกจากนี้ เราน่าจะนำเอาหลักคิดตะวันตกเรื่อง การดุลอำนาจ มาช่วย ก็จะพอลดเรื่องการคอร์รัปชันได้ระดับหนึ่ง
ที่สำคัญ เราควรจะลดขนาดหน่วยราชการลงทั้งหมด และเพิ่มเงินเดือนข้าราชการขึ้น เพื่อให้ข้าราชการทุกคนมีฐานะที่ดี
หน่วยงานราชการทั้งหมดควรจะเป็น ‘หน่วยงานกึ่งราชการ’ ทั้งหมดทำหน้าที่ในแง่ให้บริการ มากกว่าการปกครอง และสิ่งสำคัญ หน่วยงานราชการต้องสร้างเครือข่ายเชื่อมตรงกับภาคประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง หรือโดยถือหลักว่าที่สุดแล้ว ประชาชนต้องปกครองตนเอง
หลักเต๋ากล่าวไว้ว่า
‘ผู้ปกครองที่ดี’ ต้องรู้วิธีปกครองโดยไม่ปกครอง และวิธีที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องทำหน้าที่ปกครองน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้ถูกปกครองรู้วิธีปกครองตัวเอง (ยังมีต่อ)
‘การสร้างอุดมการณ์ทางการเมือง’ สำคัญอย่างมากๆ เพราะ อุดมการณ์ เท่านั้นจึงจะทำให้นักการเมืองก้าวผ่านเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวได้
ที่ผ่านมา ระบบพรรคการเมืองของเราล้มเหลวเกือบทั้งหมด เพราะพรรคแต่ละพรรคไม่มีอุดมการณ์ที่แน่นอน กลับต้องมาขึ้นต่อผู้นำและผลประโยชน์ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
สถาบันการเมืองใหม่ต้องวางเป้าหมาย ระดม และสร้างนักการเมืองใหม่ขึ้นมา ทำได้โดยระดมคนดีๆ ที่สนใจการเมืองเข้ามาร่วมกัน
เราต้องเริ่มจากเล็กไปหาใหญ่
ตัวอย่างเช่น เราอาจจะเริ่มจากการสร้าง พรรคการเมืองสีเขียว ขึ้นมาพรรคหนึ่งก่อน
ระดมผู้คน นักคิด นักวิชาการที่สนใจการเมืองแบบนี้เข้ามาร่วมกันทุกฝ่าย
ร่วมกันวางแผน เพื่อให้เกิดพรรคที่มีอุดมการณ์จริงๆ และให้เกิดพรรคที่เรียกว่า พรรคมวลชนขึ้นจริงๆ
ถ้าเราสามารถสร้างพรรคที่มีอุดมการณ์ขึ้นมาสัก 3 พรรค เราก็จะสามารถผลิตนักการเมืองน้ำดี เข้าสู่เวทีทางการเมือง
จำนวน น้ำเสีย หรือ น้ำเน่า ก็จะลดลง
เพื่อนอีกคนหนึ่งถามว่า “ต้องแก้รัฐธรรมนูญไหม”
ผมตอบว่า
“คงต้องแก้ แต่ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน”
สาเหตุที่ต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพราะเราต้องแก้ระบบโครงสร้างด้วย
รัฐเราที่ผ่านมาเป็นรัฐขนาดใหญ่มาก เหมือนคนหัวโตแต่ตัวเล็ก ถือว่าเสียดุลอย่างยิ่ง และเรายังรวมศูนย์อำนาจและศูนย์ผลประโยชน์มาไว้ที่เดียว
เราต้องลดขนาดรัฐลง และกระจายอำนาจรัฐออกไป
วิธีการหลักเพื่อแก้คอร์รัปชันคือ การกำหนดกรอบของพื้นที่การเมือง ลดขนาดแต่ละพื้นที่ให้เล็กลง เพื่อดูแลและควบคุมได้ง่ายขึ้น
ศาสตร์ตะวันออกจะให้ความสำคัญของพื้นที่อย่างมากๆ และเชื่อว่า ต้องทำให้เล็กๆ จึงจะทำให้ “งดงาม” ได้
หัวใจใหญ่ ก็คือ ต้องทำให้เกิดศูนย์กลางการเมืองที่มีพื้นที่จำกัด และสะอาดพอสมควร
ศูนย์กลางเมืองใหม่ ก็คือ รัฐบาลกลาง ซึ่งทำหน้าที่ส่วนใหญ่ในเรื่องต่างประเทศ (หรือสากล) ผมขอเรียกว่าInter -Government
นี่คือ หน่วยศูนย์กลางใหม่ของรัฐไทย ที่จะวางแผน และดำเนินเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระหว่างประเทศเป็นสำคัญ
มีหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องระหว่างประเทศ จะเกี่ยวกับภายในประเทศบ้าง ก็อาจจะเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับความมั่นคงและเรื่องยุทธศาสตร์อนาคต เท่านั้น
ถ้าทำศูนย์กลางการเมืองให้ “สะอาด” ได้พอสมควร วัฒนธรรมการเมืองใหม่ที่ปฏิเสธการคอร์รัปชันก็จะก่อตัวขึ้น
ผมคงไม่ต้องอธิบายว่า จะเลือก “ท่านนายกรัฐมนตรี กันอย่างไร” เพราะน่าจะเป็นเรื่อง รายละเอียด
สิ่งที่ผมสนใจคือ การเลือกตั้งโดยตรงแบบอเมริกา ที่ใช้ขบวนการสรรหาท่านนายกฯ ที่ยาวมากกว่าการเลือกผ่านระบบรัฐสภา และผมคิดว่า น่าจะเป็นการเลือกคณะรัฐมนตรีทั้งคณะ (ประมาณ 5 คน) รวมทั้งตัวนายกฯ ซึ่งเป็นการเลือกได้มากกว่าการเลือกบุคคลเพียงคนเดียว
การเลือกแบบนี้ ผู้คนจะเข้าใจ ความสำคัญของนโยบาย มากกว่าติดที่ตัวบุคคล เพราะผู้สมัครแต่ละกลุ่ม ต้องหาบุคคลที่ดีๆ มาประกอบกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งมีแผล หรือมีเรื่องคอร์รัปชัน ก็จะเป็นจุดอ่อน
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายต้องนำเสนอ ‘นโยบาย’ มาแข่งกัน จึงทำให้การเลือกมุ่งไปที่ การแข่งกันเชิงนโยบายมากกว่าความเก่งหรือความฉลาดในแง่บุคคล
หน่วยที่สำคัญถัดลงมา ก็คือ Local-Government หรือรัฐบาลระดับชาติ ที่ดูแล (น่าจะเป็น)ขอบเขตรัฐแบบมลรัฐ
วิธีคิดแบบนี้อาจจะถูกต่อต้านมาก เพราะเราเคยชินกับรัฐราชการที่ใหญ่โต และมีชีวิตอยู่ในระบบนี้มายาวนาน
แต่ถ้าเรามองในแง่ประโยชน์ รัฐแบบมลรัฐมีข้อดีมากมาย เช่น
ประการแรก ระบบรัฐแบบนี้จะเป็นระบบที่ก่อเกิดการกระจายอำนาจ และกระจายความเจริญได้ อย่างเป็นจริง
ประการที่สอง ขนาดพื้นที่ดูแลจะเล็กลง ทำให้ง่ายแก่การปกครอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องสร้างระบบราชการขนาดใหญ่ และยังง่ายแก่การตรวจสอบหรือการทำให้โปร่งใส
วันนี้ ทุกประเทศใหญ่ๆ ในโลกล้วนมีรูปแบบรัฐแบบมลรัฐกันทั้งหมด แม้แต่ประเทศเล็กๆ อย่างมาเลเซีย และลาว ก็มีรูปแบบรัฐเช่นนี้
นอกจากนี้ ผมคิดว่า การก่อเกิด Inter-Government และ Local-Government จะสอดคล้องกับวิวัฒนาการของโลกอนาคตที่กำลังเคลื่อนตัวสู่โลกไร้พรมแดนมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอนี้จะมีจุดอ่อนบ้าง อยู่ตรงที่ศูนย์ของการคอร์รัปชันจะโยกย้ายจาก Inter- Government มาสู่ Local-Government เป็นสำคัญ
ทางแก้ที่สำคัญ คือ ต้องวางฐานประชาธิปไตยที่มั่นคงขึ้นในระดับชุมชนและระดับเมืองก่อน ก่อนจะไปสร้าง Local-Government
ดังนั้น การสร้าง Local-Government ไม่จำเป็นต้องเร่งร้อน ให้เราสามารถสร้างฐานประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้นในระดับชุมชนและระดับเมืองได้สำเร็จก่อน ก็จะช่วยลดทอนการคอร์รัปชันได้ นั่นเอง
ถ้าเราสามารถสร้างInter-Governmentที่ค่อนข้างสะอาดได้ เราก็สามารถใช้ InterคุมLocalได้อีกทอดหนึ่ง
นอกจากนี้ เราน่าจะนำเอาหลักคิดตะวันตกเรื่อง การดุลอำนาจ มาช่วย ก็จะพอลดเรื่องการคอร์รัปชันได้ระดับหนึ่ง
ที่สำคัญ เราควรจะลดขนาดหน่วยราชการลงทั้งหมด และเพิ่มเงินเดือนข้าราชการขึ้น เพื่อให้ข้าราชการทุกคนมีฐานะที่ดี
หน่วยงานราชการทั้งหมดควรจะเป็น ‘หน่วยงานกึ่งราชการ’ ทั้งหมดทำหน้าที่ในแง่ให้บริการ มากกว่าการปกครอง และสิ่งสำคัญ หน่วยงานราชการต้องสร้างเครือข่ายเชื่อมตรงกับภาคประชาชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปกครองโดยตรง หรือโดยถือหลักว่าที่สุดแล้ว ประชาชนต้องปกครองตนเอง
หลักเต๋ากล่าวไว้ว่า
‘ผู้ปกครองที่ดี’ ต้องรู้วิธีปกครองโดยไม่ปกครอง และวิธีที่สำคัญที่สุดคือ เราต้องทำหน้าที่ปกครองน้อยที่สุด เพื่อให้ผู้ถูกปกครองรู้วิธีปกครองตัวเอง (ยังมีต่อ)