การเมืองไทยเวลานี้กำลังเผชิญกับปัญหาหลายๆ ด้านพร้อมๆ กันไป เรื่องแรกก็คือ การดิ้นรนต่อสู้ของ พ.ต.ท.ทักษิณที่จะกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่ง เรื่องที่สองก็คือ การดิ้นรนของนักการเมืองกลุ่มหนึ่งที่ถูกลงโทษเพราะกระทำผิดรัฐธรรมนูญ เรื่องที่สามได้แก่ การนำเอาเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านมาเป็นปัจจัยการเมืองภายในประเทศ เรื่องที่สี่คือ การขยายความขัดแย้งในสามจังหวัดภาคใต้ เรื่องที่ห้าได้แก่ การรวมตัวของนายทหารที่เกษียณอายุแล้ว และการก่อตัวของพรรคการเมืองใหม่
ปรากฏการณ์เหล่านี้มีผลทำให้การเมืองในปีหน้าคุกรุ่นยิ่งขึ้น เพราะแต่ละปัจจัยล้วนมีส่วนขับดันการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งทั้งสิ้น ที่สำคัญก็คือ ความขัดแย้งในปัจจุบันเป็นความขัดแย้งสองขั้วที่ชัดเจน และลึกๆ แล้วก็มีมิติทางอุดมการณ์ด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ประเด็นเรื่องการยุบพรรคน่าจะไม่เป็นปัญหา เพราะคงจะมีการผ่อนปรนกันได้ แต่เรื่องสำคัญก็คือ วิธีการเลือกตั้งว่าจะเป็นการแบ่งเขต ส.ส.เขตละคน หรือจะเป็นเขตใหญ่มี ส.ส. 2-3 คน เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีผลต่อพรรคการเมืองแต่ละพรรค
แต่เดิมพรรคเพื่อไทยก็แสดงทีท่าว่าจะร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญกับรัฐบาล แต่ต่อมากลับลังเล และถอนตัว ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะไม่อยากจะมีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว นัยว่ากลัวพรรคการเมืองใหม่จะได้ที่นั่งมาก เพราะพรรคการเมืองใหม่มีผู้สนับสนุนในเขตหนึ่งในตัวเมืองของจังหวัดต่างๆ มาก มีผู้คาดว่าคะแนนที่พรรคจะได้รับทั่วประเทศอาจมีถึง 12 ล้านเสียง และหากมีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวแล้ว พรรคการเมืองใหม่ก็น่าจะได้ ส.ส.เข้ามาถึง 70-80 คน
การเลือกตั้งครั้งต่อไป น่าจะลงเอยด้วยการมีพรรคการเมือง 5-6 พรรคเช่นเคย คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองใหม่ การรวมตัวกันภายหลังการเลือกตั้ง ก็จะเป็นสองขั้วเหมือนเดิม แต่พรรคการเมืองใหม่อาจวางยุทธวิธีไม่เข้าร่วมรัฐบาลในระยะแรก
ประเด็นการต่อสู้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า นอกจากเรื่องการสนับสนุนตัวบุคคล เช่น ทักษิณแล้ว เรื่องนโยบายก็จะมีความสำคัญยิ่งขึ้น จะมีการเน้นเรื่องรัฐสวัสดิการมากขึ้น นอกจากนั้นการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะหลังการที่มีข้อเสนอเรื่อง “นครปัตตานี”
ที่จริงแนวคิด “นครปัตตานี” นี้ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากนัก เพราะเป็นแนวทางการกระจายอำนาจแนวทางหนึ่ง แต่ข้อกังขาอาจเป็นสาเหตุของการจัดตั้งมากกว่า เพราะไม่ได้มาจากเหตุผลทางความเจริญด้านเศรษฐกิจหรือขนาดของเมือง หากเป็นเหตุผลทางศาสนาและวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอิสระจากรัฐไทยอีกด้วย “นครปัตตานี” ในฐานะจังหวัดๆ หนึ่งที่มีนายกเทศมนตรีแบบนครเชียงใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีอิสระในการบริหารไม่น่าจะมีปัญหา สิ่งสำคัญก็คือ ขอบเขตของอำนาจการปกครอง และการจัดองค์กรการบริหารว่าจะมีลักษณะใด ถึงอย่างไรรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็คงจะไม่ยอมให้เกิด “นครปัตตานี” เพราะเท่าที่ผ่านมา กลุ่มแบ่งแยกดินแดนก็เรียกร้องเช่นนี้
เมื่อมองตัวละครทางการเมืองแล้ว จะเห็นว่านอกจากตัวละครเก่าๆ แล้ว ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งโดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น สนธิ ลิ้มทองกุล มีอดีตปลัดกระทรวงผู้หนึ่งบอกว่า เมื่อเทียบตัวนักการเมืองในขณะนี้แล้ว สนธิ จัดว่าน่าสนใจมากที่สุด เพราะนอกจากคุณสมบัติส่วนตัวที่มีความสามารถในการสื่อสารแล้ว ก็ยังมีความกล้าหาญ และความเชี่ยวชาญในการเจรจากับต่างประเทศด้วย ดังนั้นบทบาทของสนธิ และพรรคการเมืองใหม่จึงมีมากกว่าการเป็นฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ แต่จะเป็นฝ่ายขับเคลื่อนการเมืองไทยให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีได้
บทบาทของ พล.อ.ชวลิต คงจะหมดความสำคัญลง พล.อ.ชวลิต มีความสำคัญระหว่างที่เป็น ผบ.ทบ. และไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด แต่เป็นผู้ประสานระหว่างฝ่ายทหารและพรรคการเมือง เวลานี้ พล.อ.ชวลิต ขาดฐานอำนาจทางทหารแล้ว พรรคการเมืองจึงไม่มีความเกรงใจอะไร อาจกล่าวได้ว่า เวลานี้นักการเมืองเป็นฝ่ายคุมอำนาจทางการเมืองอย่างเต็มที่ เพราะฝ่ายทหารก็ไม่มีใครที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากเหมือนแต่ก่อน พล.อ.ชวลิต จึงอาศัยสิ่งที่เคยมีอยู่เดิม คือ ความสัมพันธ์เก่าๆ กับผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน เอามาเป็นข้อเด่น แต่เวลานี้ชาวไทยไม่ค่อยชอบเขมร ดังนั้นการไปเกี่ยวข้องกับผู้นำเขมรที่ออกมาแสดงตัวสนับสนุนทักษิณอย่างเปิดเผย จึงเป็นข้อเสียมากกว่าข้อดี
พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ต้องการยุบสภา หากลากไปได้ยาวเท่าไรก็ยิ่งดี ระยะเวลา 2 ปี น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะกับการยุบสภา ถ้ามีวิกฤตทางการเมือง แต่ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไร การอยู่ครบเทอม 4 ปี ก็เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะทักษิณเองก็ไม่สามารถจะปล่อยให้คดีสิ้นสุดลงใน 3-4 ปีนี้ ความพยายามที่จะก่อกวนให้มีการแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ก็น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
มีข้าราชการที่เพิ่งเกษียณอายุไปเริ่มรวมกลุ่มกัน เพราะเป็นห่วงอนาคตของบ้านเมือง พวกเขามีความรู้สึกว่าเวลานี้นักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์มากเกินไป คาดว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้ามาสมัครรับเลือกตั้งมากขึ้น โดยสังกัดพรรคต่างๆ
หากมีคนเข้ามาสู่วงการเมืองมากขึ้น และนักการเมืองเก่าๆ เริ่มหายไป การเมืองไทยก็คงดีขึ้น เพราะปัญหาของการเมืองไทยอยู่ที่ตัวบุคคลและพฤติกรรมมากกว่าอยู่ที่กติกา หรือโครงสร้างทางการเมือง
ปรากฏการณ์เหล่านี้มีผลทำให้การเมืองในปีหน้าคุกรุ่นยิ่งขึ้น เพราะแต่ละปัจจัยล้วนมีส่วนขับดันการเคลื่อนไหวที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งทั้งสิ้น ที่สำคัญก็คือ ความขัดแย้งในปัจจุบันเป็นความขัดแย้งสองขั้วที่ชัดเจน และลึกๆ แล้วก็มีมิติทางอุดมการณ์ด้วย
ในส่วนที่เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญนั้น ประเด็นเรื่องการยุบพรรคน่าจะไม่เป็นปัญหา เพราะคงจะมีการผ่อนปรนกันได้ แต่เรื่องสำคัญก็คือ วิธีการเลือกตั้งว่าจะเป็นการแบ่งเขต ส.ส.เขตละคน หรือจะเป็นเขตใหญ่มี ส.ส. 2-3 คน เพราะวิธีการแต่ละวิธีจะมีผลต่อพรรคการเมืองแต่ละพรรค
แต่เดิมพรรคเพื่อไทยก็แสดงทีท่าว่าจะร่วมแก้ไขรัฐธรรมนูญกับรัฐบาล แต่ต่อมากลับลังเล และถอนตัว ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะไม่อยากจะมีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียว นัยว่ากลัวพรรคการเมืองใหม่จะได้ที่นั่งมาก เพราะพรรคการเมืองใหม่มีผู้สนับสนุนในเขตหนึ่งในตัวเมืองของจังหวัดต่างๆ มาก มีผู้คาดว่าคะแนนที่พรรคจะได้รับทั่วประเทศอาจมีถึง 12 ล้านเสียง และหากมีการเลือกตั้งแบบเขตเดียวคนเดียวแล้ว พรรคการเมืองใหม่ก็น่าจะได้ ส.ส.เข้ามาถึง 70-80 คน
การเลือกตั้งครั้งต่อไป น่าจะลงเอยด้วยการมีพรรคการเมือง 5-6 พรรคเช่นเคย คือ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทย และพรรคการเมืองใหม่ การรวมตัวกันภายหลังการเลือกตั้ง ก็จะเป็นสองขั้วเหมือนเดิม แต่พรรคการเมืองใหม่อาจวางยุทธวิธีไม่เข้าร่วมรัฐบาลในระยะแรก
ประเด็นการต่อสู้ในการเลือกตั้งครั้งหน้า นอกจากเรื่องการสนับสนุนตัวบุคคล เช่น ทักษิณแล้ว เรื่องนโยบายก็จะมีความสำคัญยิ่งขึ้น จะมีการเน้นเรื่องรัฐสวัสดิการมากขึ้น นอกจากนั้นการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของประชาชนก็ยังคงมีความสำคัญ โดยเฉพาะหลังการที่มีข้อเสนอเรื่อง “นครปัตตานี”
ที่จริงแนวคิด “นครปัตตานี” นี้ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่น่ากลัวมากนัก เพราะเป็นแนวทางการกระจายอำนาจแนวทางหนึ่ง แต่ข้อกังขาอาจเป็นสาเหตุของการจัดตั้งมากกว่า เพราะไม่ได้มาจากเหตุผลทางความเจริญด้านเศรษฐกิจหรือขนาดของเมือง หากเป็นเหตุผลทางศาสนาและวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นอิสระจากรัฐไทยอีกด้วย “นครปัตตานี” ในฐานะจังหวัดๆ หนึ่งที่มีนายกเทศมนตรีแบบนครเชียงใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีอิสระในการบริหารไม่น่าจะมีปัญหา สิ่งสำคัญก็คือ ขอบเขตของอำนาจการปกครอง และการจัดองค์กรการบริหารว่าจะมีลักษณะใด ถึงอย่างไรรัฐบาลประชาธิปัตย์ก็คงจะไม่ยอมให้เกิด “นครปัตตานี” เพราะเท่าที่ผ่านมา กลุ่มแบ่งแยกดินแดนก็เรียกร้องเช่นนี้
เมื่อมองตัวละครทางการเมืองแล้ว จะเห็นว่านอกจากตัวละครเก่าๆ แล้ว ผู้ที่เข้ามาใหม่ซึ่งโดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น สนธิ ลิ้มทองกุล มีอดีตปลัดกระทรวงผู้หนึ่งบอกว่า เมื่อเทียบตัวนักการเมืองในขณะนี้แล้ว สนธิ จัดว่าน่าสนใจมากที่สุด เพราะนอกจากคุณสมบัติส่วนตัวที่มีความสามารถในการสื่อสารแล้ว ก็ยังมีความกล้าหาญ และความเชี่ยวชาญในการเจรจากับต่างประเทศด้วย ดังนั้นบทบาทของสนธิ และพรรคการเมืองใหม่จึงมีมากกว่าการเป็นฝ่ายต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ แต่จะเป็นฝ่ายขับเคลื่อนการเมืองไทยให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีได้
บทบาทของ พล.อ.ชวลิต คงจะหมดความสำคัญลง พล.อ.ชวลิต มีความสำคัญระหว่างที่เป็น ผบ.ทบ. และไม่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด แต่เป็นผู้ประสานระหว่างฝ่ายทหารและพรรคการเมือง เวลานี้ พล.อ.ชวลิต ขาดฐานอำนาจทางทหารแล้ว พรรคการเมืองจึงไม่มีความเกรงใจอะไร อาจกล่าวได้ว่า เวลานี้นักการเมืองเป็นฝ่ายคุมอำนาจทางการเมืองอย่างเต็มที่ เพราะฝ่ายทหารก็ไม่มีใครที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากเหมือนแต่ก่อน พล.อ.ชวลิต จึงอาศัยสิ่งที่เคยมีอยู่เดิม คือ ความสัมพันธ์เก่าๆ กับผู้นำประเทศเพื่อนบ้าน เอามาเป็นข้อเด่น แต่เวลานี้ชาวไทยไม่ค่อยชอบเขมร ดังนั้นการไปเกี่ยวข้องกับผู้นำเขมรที่ออกมาแสดงตัวสนับสนุนทักษิณอย่างเปิดเผย จึงเป็นข้อเสียมากกว่าข้อดี
พรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ต้องการยุบสภา หากลากไปได้ยาวเท่าไรก็ยิ่งดี ระยะเวลา 2 ปี น่าจะเป็นเวลาที่เหมาะกับการยุบสภา ถ้ามีวิกฤตทางการเมือง แต่ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไร การอยู่ครบเทอม 4 ปี ก็เป็นสิ่งที่พึงปรารถนา แต่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะทักษิณเองก็ไม่สามารถจะปล่อยให้คดีสิ้นสุดลงใน 3-4 ปีนี้ ความพยายามที่จะก่อกวนให้มีการแตกแยกระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ก็น่าจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้
มีข้าราชการที่เพิ่งเกษียณอายุไปเริ่มรวมกลุ่มกัน เพราะเป็นห่วงอนาคตของบ้านเมือง พวกเขามีความรู้สึกว่าเวลานี้นักการเมืองเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์มากเกินไป คาดว่าในการเลือกตั้งครั้งหน้า จะมีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้ามาสมัครรับเลือกตั้งมากขึ้น โดยสังกัดพรรคต่างๆ
หากมีคนเข้ามาสู่วงการเมืองมากขึ้น และนักการเมืองเก่าๆ เริ่มหายไป การเมืองไทยก็คงดีขึ้น เพราะปัญหาของการเมืองไทยอยู่ที่ตัวบุคคลและพฤติกรรมมากกว่าอยู่ที่กติกา หรือโครงสร้างทางการเมือง