ผมไม่คิดว่า คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการเมืองการปกครอง ที่จะมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี รับเป็นประธาน ตามข้อเสนอของอธิการบดี 24 สถาบัน จะเป็น “ทางลง” ให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่จะใช้เป็นเหตุในการยุติการชุมนุมปักหลักพักค้างยืดเยื้อยาวนาน
คณะกรรมการอิสระฯชุดอาจารย์หมอประเวศฯน่าจะเป็น “ทางออก” หรือ “ยุทธวิธี” ให้กับรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์มากกว่า
เหมือนกับที่นายบรรหาร ศิลปอาชาหาเสียงเมื่อปี 2538 ว่าจะปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง คพป. ที่มีอาจารย์หมอประเวศฯเป็นประธาน !
แต่ก็ต้องถือว่าเป็นพัฒนาการของสถานการณ์อีกก้าวใหญ่
เพราะเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม้แต่รัฐบาลที่อยู่ในระบบการเมืองเก่าเองก็ยังต้องยอมจำนน ยอมตั้งคณะกรรมการอิสระฯ ให้สิทธิประธานฯที่เป็นคนนอกระบบการเมือง อย่างนี้ก็เท่ากับแสดงอย่างมีน้ำหนักว่าระบบการเมืองเก่ามีปัญหาต้องปรับ ต้องแก้ กันจริง ๆ จัง ๆ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้วจะตั้งไปทำไม มันก็เหมือนกับครั้งที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเดินทางไปพบคุณอานันท์ ปันยารชุนเพื่อขอให้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ โดยให้สิทธิเต็มที่ รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวนอกจากอำนวยความสะดวกและจัดงบประมาณให้เท่านั้น
พันธมิตรฯจะขานรับในประเด็นนี้ แต่จะสงวนความเห็นและการเข้าร่วมดำเนินการไว้ในลักษณะต่างคนต่างทำไป ถ้าต่างฝ่ายต่างยึดหลักความถูกต้องชอบธรรมแล้วในที่สุดหนทาง 2 สายจะมาบรรจบกันเอง
ไม่ยุติการชุมนุมเพราะการเกิดขึ้นของคณะกรรมการอิสระฯชุดนี้หรอก !
อาจารย์หมอประเวศฯเหมาะอย่างยิ่งกับตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระฯชุดนี้
ไม่ใช่เพราะน่าจะคุยกับบิ๊กจิ๋วรู้เรื่อง
แต่เพราะปัญหาของท่าน วัตรปฏิบัติของท่าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์เมื่อครั้งรับตำแหน่งเป็นประธาน คพป. (คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย) ที่รัฐบาลคุณชวน หลีกภัยแต่งตั้งหลังเกิดกรณีวิกฤตรัฐธรรมนูญที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อดข้าวประท้วง และพรรคพลังธรรมที่ร่วมรัฐบาลขณะนั้นสนับสนุน
คพป. ทำงานอย่างจริงจังตั้งแต่กลางปี 2537 จนได้ข้อสรุปเสนอต่อรัฐสภาเมื่อเดือนเมษายน 2538
ข้อเสนอหลายประการยังใช้ได้จนทุกวันนี้
คณะกรรมการอิสระฯชุดใหม่หยิบฉวยมาปัดฝุ่นศึกษาเพิ่มเติมได้ก็จะทุ่นเวลาไปพอสมควร
เป็นต้นว่าเรื่องที่มาของ ส.ส. ที่มาของ ส.ว. การมีสภาที่ 3 หรือการแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ฉบับ และ ฯลฯ ผู้คนในแวดวงการเมืองที่ยังมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ ชื่อ “ข้อเสนอกรอบความคิดในการปฏิรูปการเมืองไทย” จัดพิมพ์โดย คพป. ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) น่าจะลองย้อนอ่านดู
หลายคนอาจจะบอกว่านี่คือ “รากฐาน” ของรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ สสร. 1 ชุดปี 2539 – 2540 ไม่ล้าสมัยไปแล้วหรือ
ขอตอบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ล้าสมัย
เพราะ สสร. 1 ที่มาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 มาตรา 211 นั้นไม่ได้ดำเนินตามข้อเสนอของ คพป. เพราะก่อนหน้านั้นพอคุณบรรหารฯได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เริ่มเบี้ยวเล็ก ๆ ไม่ได้นำข้อเสนอของ คพป. ที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไว้เสร็จเรียบร้อยแล้วมาใช้ในทันที กลับไปตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดให้น้องชายของท่านคืออาจารย์ชุมพล ศิลปอาชาเป็นประธาน มีข้อเสนอที่ผิดแผกไปจาก คพป. ในสาระสำคัญ
แต่มาถูกแก้กลับไปใกล้เคียงข้อเสนอ คพป. โดยฝีมือ อาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ ที่ขณะนั้นเป็นประธานวุฒิสภาทำหน้าที่รองประธานรัฐสภา กับ ท่านอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกวุฒิสภาในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
แต่การออกแบบให้มี “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ยังแตกต่างจากข้อเสนอ คพป. ที่ให้เป็น “คณะกรรมการพิเศษ” ที่อิงพระราชอำนาจ
ยังดีที่ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พ้นจากมือ ส.ส. – ส.ว. ที่อยู่ในระบบการเมืองเก่า คือให้ลงมติแค่ว่าจะรับหรือไม่รับเท่านั้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้แม้แต่ตัวอักษรเดียว
เรื่องจะให้องค์กรจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็น “สภาร่าง...” หรือ “คณะกรรมการพิเศษ (ที่อิงพระราชอำนาจ)...” เป็นประเด็นที่คณะกรรมการอิสระชุดใหม่ของอาจารย์หมอประเวศฯจะต้องพิจารณา
ส่วนเรื่องให้พ้นจากมือ ส.ส. – ส.ว. ที่อยู่ในระบบการเมืองเก่านั้นน่าจะโอเคแล้ว
คพป. ในช่วงปี 2537 – 2538 ใช้สต๊าฟทำงานเป็นนักวิชาการกฎหมายมหาชนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่ง รับไปทำวิจัยเป็นหัวข้อ ๆ รวมแล้ว 15 หัวข้อ โดยมีทุนจาก สกว. สนับสนุน งานเหล่านั้นบางส่วนล้าสมัย บางส่วนทำแล้วแล้วพบข้อดี-ข้อเสีย บางส่วนยังไม่ได้ทำผลการศึกษาเก่ายังพอใช้ได้ น่าจะศึกษาต่อยอดเพิ่มเติม ไม่ต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ทั้งหมด
หมอประเวศฯควรจะต้องดึง อาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มาอยู่ในคณะกรรมการอิสระนี้ ในฐานะเลขาธิการ
แล้วให้สถาบันพระปกเกล้ามารับงานวิชาการและงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน
หรือจะให้เป็น “หน่วยธุรการ” เลยก็ได้
ผมเชื่อว่าน่าจะได้บทสรุปที่ดีพอสมควร เพราะทั้งประธานและเลขาธิการมีวุฒิภาวะสูงขึ้นมากในรอบ 10 ปีเศษมานี้ และรากฐานการเมืองใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2540 ก็เริ่มลงหลักปักฐานบ้างแล้ว
ปัญหาว่าข้อสรุปจาก 120 วันนี้จะไปไหน
เพราะคงจะยากที่จะไปบังคับให้รัฐบาล หรือรัฐสภา นำไปทำตามโดยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ ฯลฯ ตามข้อเสนอต่าง ๆ ของคณะกรรมการอิสระชุดนี้
เราจะฝากความหวังไว้ที่บิ๊กจิ๋วซึ่งวันนั้นคงกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 แล้วได้แค่ไหน ?
บิ๊กจิ๋วอาจจะเป็นมีความตั้งใจดี มีความคิดดี แต่การปฏิบัติเท่าที่ผ่านมาท่านไม่ได้พิสูจน์เลยว่าสามารถบริหารกิจการบ้านเมืองไปตามแนวคิดที่ดีและความตั้งใจอันบรรเจิดของตนได้ มิหนำซ้ำยังไม่อาจหลีกหนีจากการติดเชื้อโรค “บริวารเป็นพิษ” ได้ !
เราต้องการ “พลังสีเขียว” และ “วิกฤตเศรษฐกิจ” เหมือนเมื่อปี 2540 ที่เป็นเหตุผลสำคัญทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ฝีมือ สสร. 1 ผ่านรัฐสภาได้ง่าย ๆ แม้ ส.ส. – ส.ว. จะไม่ค่อยเต็มใจนัก
วิกฤตเศรษฐกิจในระดับทั่วโลกที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 นั้นประเทศไทยหนีไม่พ้นแน่
น่าจะเป็นปัจจัยเอื้อต่อ “การเมืองใหม่” ไม่แพ้ปี 2540
แต่ถ้าไม่มีพลังมวลชนทั่วประเทศสนับสนุนทุกขั้นตอนคงยากที่ผ่านพ้นไปได้
และ ณ วันนี้ยังไม่เห็นพลังมวลชนกลุ่มใดเป็นรูปธรรมสัมผัสได้ทั้งปริมาณและคุณภาพเหมือนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย !
บิ๊กจิ๋ว, หมอประเวศ และ...พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย!(ตอน1)
คณะกรรมการอิสระฯชุดอาจารย์หมอประเวศฯน่าจะเป็น “ทางออก” หรือ “ยุทธวิธี” ให้กับรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์มากกว่า
เหมือนกับที่นายบรรหาร ศิลปอาชาหาเสียงเมื่อปี 2538 ว่าจะปฏิรูปการเมืองตามแนวทาง คพป. ที่มีอาจารย์หมอประเวศฯเป็นประธาน !
แต่ก็ต้องถือว่าเป็นพัฒนาการของสถานการณ์อีกก้าวใหญ่
เพราะเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า แม้แต่รัฐบาลที่อยู่ในระบบการเมืองเก่าเองก็ยังต้องยอมจำนน ยอมตั้งคณะกรรมการอิสระฯ ให้สิทธิประธานฯที่เป็นคนนอกระบบการเมือง อย่างนี้ก็เท่ากับแสดงอย่างมีน้ำหนักว่าระบบการเมืองเก่ามีปัญหาต้องปรับ ต้องแก้ กันจริง ๆ จัง ๆ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้วจะตั้งไปทำไม มันก็เหมือนกับครั้งที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเดินทางไปพบคุณอานันท์ ปันยารชุนเพื่อขอให้รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อแก้ปัญหาภาคใต้ โดยให้สิทธิเต็มที่ รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวนอกจากอำนวยความสะดวกและจัดงบประมาณให้เท่านั้น
พันธมิตรฯจะขานรับในประเด็นนี้ แต่จะสงวนความเห็นและการเข้าร่วมดำเนินการไว้ในลักษณะต่างคนต่างทำไป ถ้าต่างฝ่ายต่างยึดหลักความถูกต้องชอบธรรมแล้วในที่สุดหนทาง 2 สายจะมาบรรจบกันเอง
ไม่ยุติการชุมนุมเพราะการเกิดขึ้นของคณะกรรมการอิสระฯชุดนี้หรอก !
อาจารย์หมอประเวศฯเหมาะอย่างยิ่งกับตำแหน่งประธานคณะกรรมการอิสระฯชุดนี้
ไม่ใช่เพราะน่าจะคุยกับบิ๊กจิ๋วรู้เรื่อง
แต่เพราะปัญหาของท่าน วัตรปฏิบัติของท่าน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์เมื่อครั้งรับตำแหน่งเป็นประธาน คพป. (คณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย) ที่รัฐบาลคุณชวน หลีกภัยแต่งตั้งหลังเกิดกรณีวิกฤตรัฐธรรมนูญที่ ร.ต.ฉลาด วรฉัตร อดข้าวประท้วง และพรรคพลังธรรมที่ร่วมรัฐบาลขณะนั้นสนับสนุน
คพป. ทำงานอย่างจริงจังตั้งแต่กลางปี 2537 จนได้ข้อสรุปเสนอต่อรัฐสภาเมื่อเดือนเมษายน 2538
ข้อเสนอหลายประการยังใช้ได้จนทุกวันนี้
คณะกรรมการอิสระฯชุดใหม่หยิบฉวยมาปัดฝุ่นศึกษาเพิ่มเติมได้ก็จะทุ่นเวลาไปพอสมควร
เป็นต้นว่าเรื่องที่มาของ ส.ส. ที่มาของ ส.ว. การมีสภาที่ 3 หรือการแบ่งรัฐธรรมนูญออกเป็น 2 ฉบับ และ ฯลฯ ผู้คนในแวดวงการเมืองที่ยังมีหนังสือเล่มเล็ก ๆ ชื่อ “ข้อเสนอกรอบความคิดในการปฏิรูปการเมืองไทย” จัดพิมพ์โดย คพป. ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) น่าจะลองย้อนอ่านดู
หลายคนอาจจะบอกว่านี่คือ “รากฐาน” ของรัฐธรรมนูญ 2540 หรือ สสร. 1 ชุดปี 2539 – 2540 ไม่ล้าสมัยไปแล้วหรือ
ขอตอบว่าส่วนใหญ่ยังไม่ล้าสมัย
เพราะ สสร. 1 ที่มาจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 มาตรา 211 นั้นไม่ได้ดำเนินตามข้อเสนอของ คพป. เพราะก่อนหน้านั้นพอคุณบรรหารฯได้เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เริ่มเบี้ยวเล็ก ๆ ไม่ได้นำข้อเสนอของ คพป. ที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไว้เสร็จเรียบร้อยแล้วมาใช้ในทันที กลับไปตั้งคณะกรรมการขึ้นอีกชุดให้น้องชายของท่านคืออาจารย์ชุมพล ศิลปอาชาเป็นประธาน มีข้อเสนอที่ผิดแผกไปจาก คพป. ในสาระสำคัญ
แต่มาถูกแก้กลับไปใกล้เคียงข้อเสนอ คพป. โดยฝีมือ อาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์ ที่ขณะนั้นเป็นประธานวุฒิสภาทำหน้าที่รองประธานรัฐสภา กับ ท่านอาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิช สมาชิกวุฒิสภาในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
แต่การออกแบบให้มี “สภาร่างรัฐธรรมนูญ” เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ยังแตกต่างจากข้อเสนอ คพป. ที่ให้เป็น “คณะกรรมการพิเศษ” ที่อิงพระราชอำนาจ
ยังดีที่ให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่พ้นจากมือ ส.ส. – ส.ว. ที่อยู่ในระบบการเมืองเก่า คือให้ลงมติแค่ว่าจะรับหรือไม่รับเท่านั้น แก้ไขเปลี่ยนแปลงไม่ได้แม้แต่ตัวอักษรเดียว
เรื่องจะให้องค์กรจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็น “สภาร่าง...” หรือ “คณะกรรมการพิเศษ (ที่อิงพระราชอำนาจ)...” เป็นประเด็นที่คณะกรรมการอิสระชุดใหม่ของอาจารย์หมอประเวศฯจะต้องพิจารณา
ส่วนเรื่องให้พ้นจากมือ ส.ส. – ส.ว. ที่อยู่ในระบบการเมืองเก่านั้นน่าจะโอเคแล้ว
คพป. ในช่วงปี 2537 – 2538 ใช้สต๊าฟทำงานเป็นนักวิชาการกฎหมายมหาชนรุ่นใหม่จำนวนหนึ่ง รับไปทำวิจัยเป็นหัวข้อ ๆ รวมแล้ว 15 หัวข้อ โดยมีทุนจาก สกว. สนับสนุน งานเหล่านั้นบางส่วนล้าสมัย บางส่วนทำแล้วแล้วพบข้อดี-ข้อเสีย บางส่วนยังไม่ได้ทำผลการศึกษาเก่ายังพอใช้ได้ น่าจะศึกษาต่อยอดเพิ่มเติม ไม่ต้องเริ่มต้นนับ 1 ใหม่ทั้งหมด
หมอประเวศฯควรจะต้องดึง อาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มาอยู่ในคณะกรรมการอิสระนี้ ในฐานะเลขาธิการ
แล้วให้สถาบันพระปกเกล้ามารับงานวิชาการและงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นประชาชน
หรือจะให้เป็น “หน่วยธุรการ” เลยก็ได้
ผมเชื่อว่าน่าจะได้บทสรุปที่ดีพอสมควร เพราะทั้งประธานและเลขาธิการมีวุฒิภาวะสูงขึ้นมากในรอบ 10 ปีเศษมานี้ และรากฐานการเมืองใหม่ที่มาจากรัฐธรรมนูญ 2550 และ 2540 ก็เริ่มลงหลักปักฐานบ้างแล้ว
ปัญหาว่าข้อสรุปจาก 120 วันนี้จะไปไหน
เพราะคงจะยากที่จะไปบังคับให้รัฐบาล หรือรัฐสภา นำไปทำตามโดยกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ ฯลฯ ตามข้อเสนอต่าง ๆ ของคณะกรรมการอิสระชุดนี้
เราจะฝากความหวังไว้ที่บิ๊กจิ๋วซึ่งวันนั้นคงกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีรอบ 2 แล้วได้แค่ไหน ?
บิ๊กจิ๋วอาจจะเป็นมีความตั้งใจดี มีความคิดดี แต่การปฏิบัติเท่าที่ผ่านมาท่านไม่ได้พิสูจน์เลยว่าสามารถบริหารกิจการบ้านเมืองไปตามแนวคิดที่ดีและความตั้งใจอันบรรเจิดของตนได้ มิหนำซ้ำยังไม่อาจหลีกหนีจากการติดเชื้อโรค “บริวารเป็นพิษ” ได้ !
เราต้องการ “พลังสีเขียว” และ “วิกฤตเศรษฐกิจ” เหมือนเมื่อปี 2540 ที่เป็นเหตุผลสำคัญทำให้ร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ฝีมือ สสร. 1 ผ่านรัฐสภาได้ง่าย ๆ แม้ ส.ส. – ส.ว. จะไม่ค่อยเต็มใจนัก
วิกฤตเศรษฐกิจในระดับทั่วโลกที่จะเกิดขึ้นในปี 2552 นั้นประเทศไทยหนีไม่พ้นแน่
น่าจะเป็นปัจจัยเอื้อต่อ “การเมืองใหม่” ไม่แพ้ปี 2540
แต่ถ้าไม่มีพลังมวลชนทั่วประเทศสนับสนุนทุกขั้นตอนคงยากที่ผ่านพ้นไปได้
และ ณ วันนี้ยังไม่เห็นพลังมวลชนกลุ่มใดเป็นรูปธรรมสัมผัสได้ทั้งปริมาณและคุณภาพเหมือนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย !
บิ๊กจิ๋ว, หมอประเวศ และ...พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย!(ตอน1)