ปลัดยุติธรรมชี้อัยการมีเวลา 20 ปี นำตัว “ทักษิณ” กลับมาดำเนินคดี เชื่อการออกแถลงการณ์ของ “ทักษิณ” ไม่ส่งผลต่อภาพลักษณ์กระบวนการยุติธรรมไทย
วันนี้ (13 ส.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ว่าไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมไทย ส่วนการแสดงความเห็นเรื่องความเป็นธรรม เป็นความเห็นส่วนบุคคลของคู่ความ เชื่อว่าประชาชนทั่วไปคงตอบได้ว่ากระบวนการยุติธรรมให้ความเป็นธรรมหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นายกิตติพงษ์ ย้ำว่า โดยหลักแล้วเราต้องเชื่อมั่นในองค์กรหลักของประเทศ ระหว่างนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องปฏิบัติไปตามหน้าที่อย่างดีที่สุด โดยสำนักงานอัยการสูงสุด ได้มอบหมายให้ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด รับผิดชอบเรื่องการนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดี ซึ่งคดีมีอายุความ 20 ปี
ขณะเดียวกัน กระทรวงยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของ 5 หน่วยงาน ภายใต้โครงการศึกษากระบวนการสมานฉันท์เพื่อสร้างสุขภาวะในสังคม
ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ผลสำรวจแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทย พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีความสุขลดลงจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง และปัญหาสังคม ความร่วมมือครั้งนี้จะร่วมกันศึกษาจัดการความขัดแย้งใน 3 มิติ ได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากร และความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยจะใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและยุติธรรมสมานฉันท์เข้ามาจัดการกับปัญหา ซึ่งทั้ง 5 หน่วยงานเห็นตรงกันจะเริ่มเรื่องแรกด้วยโครงการเยาวชนคนยุติธรรม โดยมีความหวังที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนก่อน ด้วยการลดความรุนแรงในโรงเรียน และให้เด็กมีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ยปัญหาในโรงเรียน
ด้าน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรง และพยายามให้เกิดการแบ่งแยกของคนในสังคมออกเป็น 2 ฝ่ายขณะนี้ พบว่า การแก้ปัญหาที่สำคัญคือต้องแก้ตั้งแต่การเมืองระดับฐานราก หรือการเมืองท้องถิ่น ที่พบความขัดแย้งในการเลือกตั้งอย่างรุนแรงจนก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมในสนามเลือกตั้ง โดยที่ผ่านมาสถาบันพระปกเกล้าได้ทำการวิจัยร่วมกับ กกต. เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการซื้อเสียงโดยใช้กติกาในชุมชนเป็นตัวจัดระเบียบ และได้ตั้งเป้าขยายผลให้เกิด 1 ตำบล 1 พื้นที่สมานฉันท์ ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความหวังในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในอนาคตได้
วันนี้ (13 ส.ค.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ว่าไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกระบวนการยุติธรรมไทย ส่วนการแสดงความเห็นเรื่องความเป็นธรรม เป็นความเห็นส่วนบุคคลของคู่ความ เชื่อว่าประชาชนทั่วไปคงตอบได้ว่ากระบวนการยุติธรรมให้ความเป็นธรรมหรือไม่
อย่างไรก็ตาม นายกิตติพงษ์ ย้ำว่า โดยหลักแล้วเราต้องเชื่อมั่นในองค์กรหลักของประเทศ ระหว่างนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องปฏิบัติไปตามหน้าที่อย่างดีที่สุด โดยสำนักงานอัยการสูงสุด ได้มอบหมายให้ นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ รองอัยการสูงสุด รับผิดชอบเรื่องการนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดี ซึ่งคดีมีอายุความ 20 ปี
ขณะเดียวกัน กระทรวงยุติธรรม สถาบันพระปกเกล้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ร่วมลงนามในข้อตกลงเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางสังคมของ 5 หน่วยงาน ภายใต้โครงการศึกษากระบวนการสมานฉันท์เพื่อสร้างสุขภาวะในสังคม
ปลัดกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ผลสำรวจแนวโน้มความสุขมวลรวมของคนไทย พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีความสุขลดลงจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาการเมือง และปัญหาสังคม ความร่วมมือครั้งนี้จะร่วมกันศึกษาจัดการความขัดแย้งใน 3 มิติ ได้แก่ ความขัดแย้งทางการเมือง ความขัดแย้งจากการแย่งชิงทรัพยากร และความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ โดยจะใช้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทและยุติธรรมสมานฉันท์เข้ามาจัดการกับปัญหา ซึ่งทั้ง 5 หน่วยงานเห็นตรงกันจะเริ่มเรื่องแรกด้วยโครงการเยาวชนคนยุติธรรม โดยมีความหวังที่จะสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนก่อน ด้วยการลดความรุนแรงในโรงเรียน และให้เด็กมีส่วนร่วมในการไกล่เกลี่ยปัญหาในโรงเรียน
ด้าน นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรง และพยายามให้เกิดการแบ่งแยกของคนในสังคมออกเป็น 2 ฝ่ายขณะนี้ พบว่า การแก้ปัญหาที่สำคัญคือต้องแก้ตั้งแต่การเมืองระดับฐานราก หรือการเมืองท้องถิ่น ที่พบความขัดแย้งในการเลือกตั้งอย่างรุนแรงจนก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมในสนามเลือกตั้ง โดยที่ผ่านมาสถาบันพระปกเกล้าได้ทำการวิจัยร่วมกับ กกต. เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาการซื้อเสียงโดยใช้กติกาในชุมชนเป็นตัวจัดระเบียบ และได้ตั้งเป้าขยายผลให้เกิด 1 ตำบล 1 พื้นที่สมานฉันท์ ซึ่งจะทำให้ประเทศมีความหวังในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในอนาคตได้