“ระบบใด ๆ ก็ตามถ้ามีเส้นทางเดี่ยว (single pathway) ถ้าเส้นทางนั้นตีบตัน ระบบนั้นจะตาย ระบบร่างกายของเราซึ่งเป็นระบบที่ดีที่สุด ไม่ว่าตับ ปอด หัวใจ หรืออวัยวะใด ๆ จะไม่ใช้เส้นทางเดี่ยวเป็นอันขาดเพราะจะตายได้ง่าย แต่จะใช้หลายเส้นทางเป็นพหุบท (multiple pathways) เสมอ ถ้าเส้นทางหนึ่งอุดตันก็ยังมีเส้นทางอื่นมาช่วยให้ระบบอยู่ได้...
“ระบบการเมืองของเราเป็นเส้นทางสายเดี่ยว คือ การเลือกตั้ง แล้วก็กินรวบหมด...
“เมื่อเส้นทางนั้นอุดตัน คือมีการใช้เงินกันมาก ก็อักเสบกันไปทั้งระบบ ในเมื่อการเลือกตั้งก็ต้องมี ไม่มีไม่ได้ และก็ยังไม่สามารถขจัดอิทธิพลของเงินออกไปได้ การเมืองเรื่องเลือกตั้งจึงเป็นการ เมืองที่ไม่บริสุทธิ์ และขาดคุณภาพ ถ้าประชาธิปไตยจะมีแต่การเลือกตั้งอย่างเดียว เราก็จะวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์...
“จึงควรที่จะคิดถึงประชาธิปไตยพหุอำนาจ คือมีการแตกตัวของอำนาจไปหลายอย่าง และหลายระดับ...”
นี่ไม่ใช่การบอกกล่าวว่าการเมืองเก่าล้มเหลวหรือ ?
นี่ไม่ใช่ข้อเสนอให้คนไทยหาทางสร้างระบอบประชาธิปไตยลักษณะใหม่ที่ไม่ผูกติดตัวเองอยู่กับการเลือกตั้งสถานเดียว – ไม่ว่าการเลือกตั้งนั้นจะสกปรกโสมมประการใด - หรอกหรือ ?
นี่ไม่ใช่การบอกกล่าว ณ วันนี้โดยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หากแต่เป็นการบอกกล่าวโดยท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ปราชญ์อาวุโสคนหนึ่งของแผ่นดินที่พยายามวางตัวเป็นกลางทางการเมืองเพื่อความบริสุทธิ์เท่าที่จะเป็นไปได้ในการเสนอแนะทางออกจากวิกฤตให้แก่สังคม เป็นการบอกกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ – ไปให้พ้นการเมืองแบบกินรวบ” มาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2550 แล้วด้วยซ้ำ
ในบทความเรื่องนี้ที่เขียนขึ้นหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดไม่นานนัก มุ่งหวังจะให้คนไทยก้าวให้พ้น “กับดักทางความคิด” เดิม ๆ ที่ติดยึดแต่เพียงว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง แล้วหันมาใช้กลไกประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยเสนอนวัตกรรมทางโครงสร้างหลายประการที่ถ้านำมาพูดวันนี้โดยคนที่มีลักษณะเป็นผู้นำมวลชนแล้วอาจจะสร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่ไม่กล้าคิดใหม่มากกว่าสิ่งที่เรียกว่า “ระบบ 70 : 30” เสียด้วยซ้ำ เป็นต้นว่า...
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการสรรหาแห่งชาติ
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการประเมินแห่งชาติ
- ประชาธิปไตยชุมชน (Community Democracy)
- ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
- การเมืองภาคประชาชน (Popular Democracy)
น่าเสียดายโอกาสทางประวัติศาสตร์ครั้งนั้น เพราะ คมช. และรัฐบาลที่มาจาก คมช. ด้อยสติปัญญาเกินกว่าที่จะนำข้อเสนอทำนองนี้มาวิเคราะห์และกลั่นกรอง คิดได้ตื้น ๆ เพียงแค่รักษาระบอบเก่าไว้ เตะคนเก่าออกไป หาคนใหม่ที่ตนครอบงำได้เข้าไปแทน
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีไม่ใช่คนแรกที่เห็นความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนในบ้านเรา
นสพ.ผู้จัดการรายวันใช้คำว่า “นักเลือกตั้ง” และ “ลัทธิเลือกตั้งธิปไตย” เสียดสีและสะท้อนภาพความเน่าเฟะของระบอบฯมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2535 จากนั้น 2 คำนี้ก็ได้รับการใช้โดยนักวิชาการและปัญญาชนทั่วไป
กระบวนการปฏิรูปการเมืองระหว่างปี 2537 – 2539 ที่มาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีที่มาส่วนสำคัญจากแนวคิดนี้
นวัตกรรมทางการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อลดทอนอำนาจของ “นักเลือกตั้ง” ทั้งสิ้น !
แต่ไม่สำเร็จ !!
ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แกนนำสำคัญในทางปฏิบัติของการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เสนอบทความที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งในมุมมองของผม “พลวัตของการเมืองไทย” ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะมีภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยในชื่อ “Dynamics of Thai Politics” ในบทความชิ้นนี้ท่านพัฒนาตัวเองไปอีกขั้นด้วยการมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป โดยเสนอว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อน
คือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
ท่านใช้ภาษาบาลี (หรือสันสกฤต ??) แทนความหมาย “องค์ประกอบ 4 ส่วน” นี้ว่า...
“อัจตวานุภาพ”
องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
รายละเอียดต้องไปหาอ่านเอาเองนะครับ แต่จากพื้นฐานความเป็นจริงเช่นนี้ ท่านเสนอให้วุฒิสภามีที่มาแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน และเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหารและพลเรือนเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ท่านบอกว่านี่ไม่ใช่ความคิดใหม่อะไร อังกฤษประเทศแม่บทประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่เราชอบอ้างจากบทเรียนท่องจำนั้น
“คนที่ศึกษาหนังสือ De l’Esprit des Lois ของมงเตสกิเออ ต่างก็รู้ว่า ที่มงเตสกิเออชื่นชมการปกครองอังกฤษในคริสตศตวรรษที่ 18 ก็เพราะสังคมอังกฤษมีรัฐธรรมนูญที่ผนวกตรียานุภาพของอัง กฤษไว้ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระ และขุนนาง - ในสภาขุนนาง และสามัญชน – ในสภาสามัญ”
ถ้าไม่อคติกันจนเกินไป จะพบว่าแม้จะต่างกันในรายละเอียด แต่แนวคิดใหญ่ ๆ ไม่ต่างจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “ทดลองเสนอ” หรอก
แม้จะไม่ได้พบปะสนทนากัน แม้จะคิดต่างในหลายประเด็น แต่ผมเชื่อว่าในประเด็น “การเมืองใหม่” นี้ แกนนำพันธมิตรฯเห็นด้วยกับ “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ” ของท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี และเห็นด้วยกับท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณในการสร้างดุลยภาพให้แก่ “อัจตวานุภาพ” ของสังคมไทย...
“นอกเหนือไปจากการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจำเป็นต้องมี เราจะต้องเปิดพื้นที่ทางการเมือง เปิดพื้นที่ทางสังคม เปิดพื้นที่ทางปัญญา เปิดพื้นที่ทางความดีหรือทางคุณภาพอย่างกว้างขวาง ให้ออกไปจากระบบการเมืองแบบกินรวบ ที่มีแต่เสือสิงห์กระทิงแรดอีแร้งเป็นส่วนใหญ่” – ประเวศ วะสี
“ต้องให้อัจตวานุภาพของสังคมไทยเกิดดุลยภาพ ไม่ตัดส่วนใดส่วนหนึ่งทิ้งไป” – บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
“ระบบการเมืองของเราเป็นเส้นทางสายเดี่ยว คือ การเลือกตั้ง แล้วก็กินรวบหมด...
“เมื่อเส้นทางนั้นอุดตัน คือมีการใช้เงินกันมาก ก็อักเสบกันไปทั้งระบบ ในเมื่อการเลือกตั้งก็ต้องมี ไม่มีไม่ได้ และก็ยังไม่สามารถขจัดอิทธิพลของเงินออกไปได้ การเมืองเรื่องเลือกตั้งจึงเป็นการ เมืองที่ไม่บริสุทธิ์ และขาดคุณภาพ ถ้าประชาธิปไตยจะมีแต่การเลือกตั้งอย่างเดียว เราก็จะวนเวียนอยู่ในวงจรอุบาทว์...
“จึงควรที่จะคิดถึงประชาธิปไตยพหุอำนาจ คือมีการแตกตัวของอำนาจไปหลายอย่าง และหลายระดับ...”
นี่ไม่ใช่การบอกกล่าวว่าการเมืองเก่าล้มเหลวหรือ ?
นี่ไม่ใช่ข้อเสนอให้คนไทยหาทางสร้างระบอบประชาธิปไตยลักษณะใหม่ที่ไม่ผูกติดตัวเองอยู่กับการเลือกตั้งสถานเดียว – ไม่ว่าการเลือกตั้งนั้นจะสกปรกโสมมประการใด - หรอกหรือ ?
นี่ไม่ใช่การบอกกล่าว ณ วันนี้โดยแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หากแต่เป็นการบอกกล่าวโดยท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี ปราชญ์อาวุโสคนหนึ่งของแผ่นดินที่พยายามวางตัวเป็นกลางทางการเมืองเพื่อความบริสุทธิ์เท่าที่จะเป็นไปได้ในการเสนอแนะทางออกจากวิกฤตให้แก่สังคม เป็นการบอกกล่าวไว้ในบทความเรื่อง “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ – ไปให้พ้นการเมืองแบบกินรวบ” มาตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2550 แล้วด้วยซ้ำ
ในบทความเรื่องนี้ที่เขียนขึ้นหลังรัฐประหารครั้งล่าสุดไม่นานนัก มุ่งหวังจะให้คนไทยก้าวให้พ้น “กับดักทางความคิด” เดิม ๆ ที่ติดยึดแต่เพียงว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง แล้วหันมาใช้กลไกประชาธิปไตยอย่างมีส่วนร่วมให้มากขึ้น โดยเสนอนวัตกรรมทางโครงสร้างหลายประการที่ถ้านำมาพูดวันนี้โดยคนที่มีลักษณะเป็นผู้นำมวลชนแล้วอาจจะสร้างความตกอกตกใจให้กับคนที่ไม่กล้าคิดใหม่มากกว่าสิ่งที่เรียกว่า “ระบบ 70 : 30” เสียด้วยซ้ำ เป็นต้นว่า...
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการสรรหาแห่งชาติ
- คณะกรรมการอิสระเพื่อการประเมินแห่งชาติ
- ประชาธิปไตยชุมชน (Community Democracy)
- ประชาธิปไตยท้องถิ่น (Local Democracy)
- การเมืองภาคประชาชน (Popular Democracy)
น่าเสียดายโอกาสทางประวัติศาสตร์ครั้งนั้น เพราะ คมช. และรัฐบาลที่มาจาก คมช. ด้อยสติปัญญาเกินกว่าที่จะนำข้อเสนอทำนองนี้มาวิเคราะห์และกลั่นกรอง คิดได้ตื้น ๆ เพียงแค่รักษาระบอบเก่าไว้ เตะคนเก่าออกไป หาคนใหม่ที่ตนครอบงำได้เข้าไปแทน
ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีไม่ใช่คนแรกที่เห็นความล้มเหลวของระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนในบ้านเรา
นสพ.ผู้จัดการรายวันใช้คำว่า “นักเลือกตั้ง” และ “ลัทธิเลือกตั้งธิปไตย” เสียดสีและสะท้อนภาพความเน่าเฟะของระบอบฯมาตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2535 จากนั้น 2 คำนี้ก็ได้รับการใช้โดยนักวิชาการและปัญญาชนทั่วไป
กระบวนการปฏิรูปการเมืองระหว่างปี 2537 – 2539 ที่มาของรัฐธรรมนูญ 2540 ก็มีที่มาส่วนสำคัญจากแนวคิดนี้
นวัตกรรมทางการเมืองใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อลดทอนอำนาจของ “นักเลือกตั้ง” ทั้งสิ้น !
แต่ไม่สำเร็จ !!
ในช่วงการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แกนนำสำคัญในทางปฏิบัติของการร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ได้เสนอบทความที่ดีที่สุดชิ้นหนึ่งในมุมมองของผม “พลวัตของการเมืองไทย” ถ้าจำไม่ผิดดูเหมือนจะมีภาคแปลเป็นภาษาอังกฤษด้วยในชื่อ “Dynamics of Thai Politics” ในบทความชิ้นนี้ท่านพัฒนาตัวเองไปอีกขั้นด้วยการมองพ้นกรอบของกฎหมาย และกรอบของรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยแบบตะวันตกไป โดยเสนอว่าจะบัญญัติโครงสร้างทางการเมืองอย่างไร ต้องคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่สุดก่อน
คือให้ “องค์ประกอบ 4 ส่วน” ของสังคมไทยอยู่ร่วมกันได้ ไม่ตัดขาดส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป
ท่านใช้ภาษาบาลี (หรือสันสกฤต ??) แทนความหมาย “องค์ประกอบ 4 ส่วน” นี้ว่า...
“อัจตวานุภาพ”
องค์ประกอบ 4 ส่วนที่จะตัดขาดออกไปไม่ได้นี้คือ....
- สถาบันพระมหากษัตริย์
- ข้าราชการทหารและพลเรือน
- ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯและเมืองใหญ่ – ซึ่งสามารถต่อรองได้ในระบบเศรษฐกิจแบบตลาด
- ประชาชนส่วนใหญ่ในชนบท – ซึ่งเข้าถึงทรัพยากรได้ยาก และไม่มีอำนาจต่อรองในระบบเศรษฐกิจ
รายละเอียดต้องไปหาอ่านเอาเองนะครับ แต่จากพื้นฐานความเป็นจริงเช่นนี้ ท่านเสนอให้วุฒิสภามีที่มาแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อนกัน และเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหารและพลเรือนเข้ามาเป็นสมาชิกวุฒิสภาได้ ท่านบอกว่านี่ไม่ใช่ความคิดใหม่อะไร อังกฤษประเทศแม่บทประชาธิปไตยระบบรัฐสภาที่เราชอบอ้างจากบทเรียนท่องจำนั้น
“คนที่ศึกษาหนังสือ De l’Esprit des Lois ของมงเตสกิเออ ต่างก็รู้ว่า ที่มงเตสกิเออชื่นชมการปกครองอังกฤษในคริสตศตวรรษที่ 18 ก็เพราะสังคมอังกฤษมีรัฐธรรมนูญที่ผนวกตรียานุภาพของอัง กฤษไว้ คือ สถาบันพระมหากษัตริย์ พระ และขุนนาง - ในสภาขุนนาง และสามัญชน – ในสภาสามัญ”
ถ้าไม่อคติกันจนเกินไป จะพบว่าแม้จะต่างกันในรายละเอียด แต่แนวคิดใหญ่ ๆ ไม่ต่างจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย “ทดลองเสนอ” หรอก
แม้จะไม่ได้พบปะสนทนากัน แม้จะคิดต่างในหลายประเด็น แต่ผมเชื่อว่าในประเด็น “การเมืองใหม่” นี้ แกนนำพันธมิตรฯเห็นด้วยกับ “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ” ของท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสี และเห็นด้วยกับท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณในการสร้างดุลยภาพให้แก่ “อัจตวานุภาพ” ของสังคมไทย...
“นอกเหนือไปจากการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจำเป็นต้องมี เราจะต้องเปิดพื้นที่ทางการเมือง เปิดพื้นที่ทางสังคม เปิดพื้นที่ทางปัญญา เปิดพื้นที่ทางความดีหรือทางคุณภาพอย่างกว้างขวาง ให้ออกไปจากระบบการเมืองแบบกินรวบ ที่มีแต่เสือสิงห์กระทิงแรดอีแร้งเป็นส่วนใหญ่” – ประเวศ วะสี
“ต้องให้อัจตวานุภาพของสังคมไทยเกิดดุลยภาพ ไม่ตัดส่วนใดส่วนหนึ่งทิ้งไป” – บวรศักดิ์ อุวรรณโณ