น่าทึ่งเป็นอย่างยิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำมวลชนชุมนุมปักหลักพักค้างต่อเนื่องจากวันที่ 25 พฤษภาคม 2551 นับรวมกันได้ 43 วันเต็มแล้ว วันนี้เป็นวันที่ 44
การชุมนุมประสบชัยชนะหรือไม่ ด้านหนึ่งขึ้นอยู่กับเราจะให้นิยามคำ “ชัยชนะ” นี้ว่าอย่างไร ?
และอีกด้านหนึ่งเป็นผลสะเทือนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต !
นอกเหนือจากคำประกาศชุดล่าสุดว่าเป้าหมายสุดท้ายคือ “การเมืองใหม่” เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 แล้ว
การชุมนุมมาราธอนครั้งนี้คือ “การเมืองใหม่” โดยตัวของมันเอง !
และนี่คือการชุมนุมของ “พรรคการเมือง - ในทางปฏิบัติ” ที่มีลักษณะ “พรรคมวลชน” ไม่ใช่ “พรรคสภา” และมีโอกาสพัฒนาไปเป็น “พรรคปฏิวัติ” ได้ !!
พรรคสภาที่มีอยู่ในบ้านเราในทางความเป็นจริงล้วนตั้งขึ้นเพื่อส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง มีเป้าหมายต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภา ห้วงเวลาใดมีรัฐประหารคั่นก็แยกย้ายไปทำมาหากินด้านอื่น รอเวลาประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ค่อยกลับมาจัดตั้งพรรคกันอีกครั้ง โดยมีนายทุนสนับสนุนจำนวนหนึ่ง และ...จะมากจะน้อยล้วนต้องจ่ายเงินให้ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการเลือกตั้งทั่วไปแต่ละครั้ง ก็อย่างที่ยอมรับกันนั่นแหละว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวในการให้ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรคนหนึ่งตกประมาณ 10 – 30 ล้านบาท
พรรคสภาเหล่านี้ต่างชื่อต่างกลุ่มแต่นโยบายหลัก ๆ ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเศรษฐกิจ
ทุนนิยมเสรี - โดยอาศัยกลไกการตลาด !
พรรคมวลชนในบ้านเราแทบไม่เหลืออยู่นับแต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล่มสลาย สหายเก่าหลายกลุ่มแม้พยายามจัดตั้งขึ้นใหม่ก็ไม่ใกล้เคียงกับการประสบความสำเร็จ จนสหายผัวเมียคู่หนึ่งปรับกลยุทธ์ไปเป็นแนวร่วมกับทุนใหญ่เสียเลยในชั้นนี้
อย่าว่าแต่พรรคมวลชนเลย ในรอบ 10 - 15 ปีมานี้แทบไม่มีการเคลื่อนไหวมวลชนที่มีผู้ชุมนุมเรือนหมื่นให้เห็น
จนกระทั่งเกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” รากฐานของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เมื่อปลายปี 2548 ที่เคย “พีค” สุดเมื่อปี 2549
หลังจากชะงักและมีปัญหาอยู่ปีเศษ ๆ เพราะเผด็จการหน่อมแน้มที่ทำให้คู่ปรปักษ์เก่ากลับมามีอำนาจอีกหนหลังการเลือกตั้งทั่วไปปลายปี 2550 ไม่มีใครคิดว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะกลับมานำการชุมนุมให้ได้ปริมาณและคุณภาพใกล้เคียงจุดที่เคยพีคสุดได้อีกครั้ง
แค่เงื่อนไขในการเป่านกหวีดเรียกชุมนุม หากย้อนเวลาไปสัก 3 - 4 เดือน ยังแทบเป็นไปไม่ได้เลย
แต่แล้วก็อย่างที่เห็น – ลากยาวกันมาได้ 43 วันเต็มแล้ว และยกระดับพัฒนาข้อเรียกร้องจากแค่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลบความผิด คัดค้านการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม คัดค้านการจาบจ้วงล่วงเกินสถาบันกษัตริย์ ไปเป็นไล่รัฐบาลหุ่นเชิด ล่าสุดไม่ใช่แค่ไล่เฉย ๆ แต่มุ่งหวังผลักดันการเมืองใหม่
อาจจะมีคำถามและข้อสงสัยนานัปการในแต่ละขั้นตอนของแต่ละวัน
ล้ำหน้ามวลชนหรือไม่ ? เร็วไปหรือไม่ ? ฝันไกลเกินจะเอื้อมคว้าหรือไม่ ? ทำลายแนวร่วมหรือไม่ ?
แต่ก็มีมวลชนพื้นฐานจำนวนมากพอสมควรที่ยังคงยืนหยัดสนับสนุนอย่างแข็งขัน
และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ
การชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นการชุมนุมในระบบ 3 G ที่สำคัญคือเป็นการชุมนุมถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง การบริหารจัดการจะแตกต่างกับการชุมนุมทั่วไป ค่าใช้จ่ายตกวันละไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาท ฐานการเงินของแกนนำแต่ละคนไม่ได้ร่ำรวยมาจากไหน ธุรกิจในกลุ่มผู้จัดการก็แทบเลี้ยงตัวไม่ได้ เงินเดือนจ่ายไม่ตรงเวลา
แต่ในที่สุดการชุมนุมก็เลี้ยงตัวเองได้ด้วยเงินสนับสนุนมากบ้างน้อยบ้างจากมวลชนพื้นฐานที่เข้ามาร่วมชุมนุม ทั้งในโลกจริง และโลกเสมือน
เงินบริจาคจนถึงวันนี้เกิน 40 ล้านบาท !
นี่ไม่ใช่ “การเมืองใหม่” ในตัวของมันเองหรือ ?
นี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นใน “ระบอบประชาธิปไตย” -- คือการมี “พลเมือง” ในความหมายของ citizen หรือ active citizen – หรอกหรือ ?
นี่ไม่ใช่นัก(เคลื่อนไหว)การเมือง “จ่ายเงินให้ประชาชน” หากแต่เป็น “ประชาชนจ่ายเงินให้นัก(เคลื่อนไหว)การเมือง” หรอกหรือ ?
นี่ไม่ใช่ “พรรคมวลชน – ในทางปฏิบัติ” หรอกหรือ ?
ที่จริง ผมมีเรื่องอยากจะพูดอยากจะเขียนในประเด็นเนื้อหาสาระของ “การเมืองใหม่” มากว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลยที่มีผู้คนออกมาบอกว่าระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทนในบ้านเราล้มเหลว และเป็นหนทางแห่งความวิบัติ
ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพพูดมามากแล้ว ท่านาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิชเองก็พูดมาไม่น้อย ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีก็พูดแล้วพูดอีก โดยเฉพาะในบทความเมื่อต้นปี 2550 เรื่อง “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ” หรือในหมู่นักวิชาการกฎหมายมหาชน รุ่นปรมาจารย์อย่างท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ก็เสนอแล้วเสนออีก จนกระทั่งเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 แม้กระทั่งทดลองเสนอตั้งพรรคการเมืองทางเลือกใหม่ให้อาจารย์สมยศ เชื้อไทยกับอาจารย์บรรเจิด สิงคเนติทำ หรือรุ่นใหม่มาแรงอย่างท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นอกจากเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ยังเขียนไว้ชัดเจนในบทความเรื่อง “พลวัตของการเมืองไทย” เมื่อกลางปี 2550 เพียงแต่ท่านเหล่านี้เป็นนักวิชาการ พูดแล้วเขียนแล้วหากไม่เกิดอะไรขึ้นก็ไม่สามารถดำเนิน การต่อเนื่องได้
เพียงแต่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรฯคนอื่น พูดได้หนักแน่น ขึงขัง จริงจัง บนพื้นฐานที่มีมวลชนจำนวนไม่น้อย – ที่มีลักษณะเป็นเสมือน “พรรคมวลชน” ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็น “พรรคปฏิวัติ” – ยืนหยัดสนับสนุนเท่านั้น
วันนี้ จึงอยากนำเสนอในมุมมองนี้ก่อน
ไม่ว่าคนจำนวนหนึ่งจะหัวเราะข้อเสนอของพันธมิตรฯในเรื่อง “การเมืองใหม่” นี้อย่างไร แต่อย่าปฏิเสธว่านี้ไม่ใช่ “การเมืองใหม่” ในตัวของมันเองแล้ว
คำประกาศว่าด้วย “การเมืองใหม่” นี้ นอกจากจะท้าทายยุคสมัยแล้ว ยังท้าทายพันธมิตรฯเองด้วยไม่น้อยเช่นกัน
ท้าทายว่าจะผลักดันให้เป็นจริงได้อย่างไร ?
ท้าทายว่าการชุมนุม 44 วันจะแปรสภาพมวลชนที่ยืนยันสนับสนุน ให้กระชับเกลียวสัมพันธ์ผนึกมั่น จนมีลักษณะเป็น “พรรคมวลชน – ในทางปฏิบัติ” และยกระดับสู่ “พรรคปฏิวัติ – ในทางปฏิบัติ” ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมและทันกาลหรือไม่ ?
การชุมนุมประสบชัยชนะหรือไม่ ด้านหนึ่งขึ้นอยู่กับเราจะให้นิยามคำ “ชัยชนะ” นี้ว่าอย่างไร ?
และอีกด้านหนึ่งเป็นผลสะเทือนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต !
นอกเหนือจากคำประกาศชุดล่าสุดว่าเป้าหมายสุดท้ายคือ “การเมืองใหม่” เมื่อคืนวันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม 2551 แล้ว
การชุมนุมมาราธอนครั้งนี้คือ “การเมืองใหม่” โดยตัวของมันเอง !
และนี่คือการชุมนุมของ “พรรคการเมือง - ในทางปฏิบัติ” ที่มีลักษณะ “พรรคมวลชน” ไม่ใช่ “พรรคสภา” และมีโอกาสพัฒนาไปเป็น “พรรคปฏิวัติ” ได้ !!
พรรคสภาที่มีอยู่ในบ้านเราในทางความเป็นจริงล้วนตั้งขึ้นเพื่อส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง มีเป้าหมายต่อสู้ทางการเมืองในระบบรัฐสภา ห้วงเวลาใดมีรัฐประหารคั่นก็แยกย้ายไปทำมาหากินด้านอื่น รอเวลาประกาศ ใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ค่อยกลับมาจัดตั้งพรรคกันอีกครั้ง โดยมีนายทุนสนับสนุนจำนวนหนึ่ง และ...จะมากจะน้อยล้วนต้องจ่ายเงินให้ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมในการเลือกตั้งทั่วไปแต่ละครั้ง ก็อย่างที่ยอมรับกันนั่นแหละว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวในการให้ได้รับเลือกเป็นผู้แทนราษฎรคนหนึ่งตกประมาณ 10 – 30 ล้านบาท
พรรคสภาเหล่านี้ต่างชื่อต่างกลุ่มแต่นโยบายหลัก ๆ ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเศรษฐกิจ
ทุนนิยมเสรี - โดยอาศัยกลไกการตลาด !
พรรคมวลชนในบ้านเราแทบไม่เหลืออยู่นับแต่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยล่มสลาย สหายเก่าหลายกลุ่มแม้พยายามจัดตั้งขึ้นใหม่ก็ไม่ใกล้เคียงกับการประสบความสำเร็จ จนสหายผัวเมียคู่หนึ่งปรับกลยุทธ์ไปเป็นแนวร่วมกับทุนใหญ่เสียเลยในชั้นนี้
อย่าว่าแต่พรรคมวลชนเลย ในรอบ 10 - 15 ปีมานี้แทบไม่มีการเคลื่อนไหวมวลชนที่มีผู้ชุมนุมเรือนหมื่นให้เห็น
จนกระทั่งเกิด “ปรากฏการณ์สนธิ” รากฐานของ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เมื่อปลายปี 2548 ที่เคย “พีค” สุดเมื่อปี 2549
หลังจากชะงักและมีปัญหาอยู่ปีเศษ ๆ เพราะเผด็จการหน่อมแน้มที่ทำให้คู่ปรปักษ์เก่ากลับมามีอำนาจอีกหนหลังการเลือกตั้งทั่วไปปลายปี 2550 ไม่มีใครคิดว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะกลับมานำการชุมนุมให้ได้ปริมาณและคุณภาพใกล้เคียงจุดที่เคยพีคสุดได้อีกครั้ง
แค่เงื่อนไขในการเป่านกหวีดเรียกชุมนุม หากย้อนเวลาไปสัก 3 - 4 เดือน ยังแทบเป็นไปไม่ได้เลย
แต่แล้วก็อย่างที่เห็น – ลากยาวกันมาได้ 43 วันเต็มแล้ว และยกระดับพัฒนาข้อเรียกร้องจากแค่คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อลบความผิด คัดค้านการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม คัดค้านการจาบจ้วงล่วงเกินสถาบันกษัตริย์ ไปเป็นไล่รัฐบาลหุ่นเชิด ล่าสุดไม่ใช่แค่ไล่เฉย ๆ แต่มุ่งหวังผลักดันการเมืองใหม่
อาจจะมีคำถามและข้อสงสัยนานัปการในแต่ละขั้นตอนของแต่ละวัน
ล้ำหน้ามวลชนหรือไม่ ? เร็วไปหรือไม่ ? ฝันไกลเกินจะเอื้อมคว้าหรือไม่ ? ทำลายแนวร่วมหรือไม่ ?
แต่ก็มีมวลชนพื้นฐานจำนวนมากพอสมควรที่ยังคงยืนหยัดสนับสนุนอย่างแข็งขัน
และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ
การชุมนุมของพันธมิตรฯเป็นการชุมนุมในระบบ 3 G ที่สำคัญคือเป็นการชุมนุมถ่ายทอดสดตลอด 24 ชั่วโมง การบริหารจัดการจะแตกต่างกับการชุมนุมทั่วไป ค่าใช้จ่ายตกวันละไม่ต่ำกว่า 3 แสนบาท ฐานการเงินของแกนนำแต่ละคนไม่ได้ร่ำรวยมาจากไหน ธุรกิจในกลุ่มผู้จัดการก็แทบเลี้ยงตัวไม่ได้ เงินเดือนจ่ายไม่ตรงเวลา
แต่ในที่สุดการชุมนุมก็เลี้ยงตัวเองได้ด้วยเงินสนับสนุนมากบ้างน้อยบ้างจากมวลชนพื้นฐานที่เข้ามาร่วมชุมนุม ทั้งในโลกจริง และโลกเสมือน
เงินบริจาคจนถึงวันนี้เกิน 40 ล้านบาท !
นี่ไม่ใช่ “การเมืองใหม่” ในตัวของมันเองหรือ ?
นี่ไม่ใช่ปรากฏการณ์ที่เราปรารถนาให้เกิดขึ้นใน “ระบอบประชาธิปไตย” -- คือการมี “พลเมือง” ในความหมายของ citizen หรือ active citizen – หรอกหรือ ?
นี่ไม่ใช่นัก(เคลื่อนไหว)การเมือง “จ่ายเงินให้ประชาชน” หากแต่เป็น “ประชาชนจ่ายเงินให้นัก(เคลื่อนไหว)การเมือง” หรอกหรือ ?
นี่ไม่ใช่ “พรรคมวลชน – ในทางปฏิบัติ” หรอกหรือ ?
ที่จริง ผมมีเรื่องอยากจะพูดอยากจะเขียนในประเด็นเนื้อหาสาระของ “การเมืองใหม่” มากว่ามันไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลยที่มีผู้คนออกมาบอกว่าระบอบประชาธิปไตยโดยผู้แทนในบ้านเราล้มเหลว และเป็นหนทางแห่งความวิบัติ
ท่านอาจารย์ปราโมทย์ นาครทรรพพูดมามากแล้ว ท่านาจารย์ชัยอนันต์ สมุทวณิชเองก็พูดมาไม่น้อย ท่านอาจารย์หมอประเวศ วะสีก็พูดแล้วพูดอีก โดยเฉพาะในบทความเมื่อต้นปี 2550 เรื่อง “ประชาธิปไตยพหุอำนาจ” หรือในหมู่นักวิชาการกฎหมายมหาชน รุ่นปรมาจารย์อย่างท่านอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ก็เสนอแล้วเสนออีก จนกระทั่งเป็นรากฐานของรัฐธรรมนูญ 2540 แม้กระทั่งทดลองเสนอตั้งพรรคการเมืองทางเลือกใหม่ให้อาจารย์สมยศ เชื้อไทยกับอาจารย์บรรเจิด สิงคเนติทำ หรือรุ่นใหม่มาแรงอย่างท่านอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ นอกจากเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงร่างรัฐธรรมนูญ 2540 ก็ยังเขียนไว้ชัดเจนในบทความเรื่อง “พลวัตของการเมืองไทย” เมื่อกลางปี 2550 เพียงแต่ท่านเหล่านี้เป็นนักวิชาการ พูดแล้วเขียนแล้วหากไม่เกิดอะไรขึ้นก็ไม่สามารถดำเนิน การต่อเนื่องได้
เพียงแต่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรฯคนอื่น พูดได้หนักแน่น ขึงขัง จริงจัง บนพื้นฐานที่มีมวลชนจำนวนไม่น้อย – ที่มีลักษณะเป็นเสมือน “พรรคมวลชน” ที่มีโอกาสพัฒนาไปเป็น “พรรคปฏิวัติ” – ยืนหยัดสนับสนุนเท่านั้น
วันนี้ จึงอยากนำเสนอในมุมมองนี้ก่อน
ไม่ว่าคนจำนวนหนึ่งจะหัวเราะข้อเสนอของพันธมิตรฯในเรื่อง “การเมืองใหม่” นี้อย่างไร แต่อย่าปฏิเสธว่านี้ไม่ใช่ “การเมืองใหม่” ในตัวของมันเองแล้ว
คำประกาศว่าด้วย “การเมืองใหม่” นี้ นอกจากจะท้าทายยุคสมัยแล้ว ยังท้าทายพันธมิตรฯเองด้วยไม่น้อยเช่นกัน
ท้าทายว่าจะผลักดันให้เป็นจริงได้อย่างไร ?
ท้าทายว่าการชุมนุม 44 วันจะแปรสภาพมวลชนที่ยืนยันสนับสนุน ให้กระชับเกลียวสัมพันธ์ผนึกมั่น จนมีลักษณะเป็น “พรรคมวลชน – ในทางปฏิบัติ” และยกระดับสู่ “พรรคปฏิวัติ – ในทางปฏิบัติ” ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมและทันกาลหรือไม่ ?