ความเคลื่อนไหวล่าสุดของวาณิชธนกิจ (Investment Bank) ในสหรัฐฯ ก็คือ ต่อไปคงจะไม่มีอีกแล้ว เนื่องจากเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทั้ง Goldman Sachs และ Morgan Stanley ขออนุญาตต่อธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED: Federal Reserve) เพื่อเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจจาก Investment Bank ไปเป็น Bank Holding Company หรือเป็นบริษัทที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นของตนเองมากกว่า 1 แห่ง (มากกว่า 1 ธนาคาร) ซึ่งแน่นอนว่าปริมาณและประเภทธุรกรรมของ Bank Holding Company ย่อมมีน้อยกว่าสถาบันการเงินที่เรียกว่า Universal Bank หรือ ธนาคารที่ทำธุรกรรมทั้ง ธนาคารพาณิชย์ (Commercial Bank) และวาณิชธนกิจ (Investment Bank) เช่น Citigroup, Credit Suisse, Deutsche Bank, HSBC, JP Morgan Chase, และ UBS AG
กลับมาในเรื่องผลกระทบจากวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทยกันต่อครับ สำหรับระดับจุลภาคในระดับครัวเรือนนั้นปัญหาที่หลายๆ ท่านกำลังคิดไม่ตกในขณะนี้ก็คือ เรื่อง AIG และผลกระทบที่มีต่อ AIA แม้ว่า ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ FED จะเข้ามาช่วยอุ้ม AIG โดยการให้เงินกู้เป็นจำนวน 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อต่อชีวิต AIG แล้วก็ตาม โดยเงินจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เอาเงินจากนักลงทุนทั่วโลกมาอุ้ม แต่อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากผู้เสียภาษีชาวอเมริกัน ดังนั้น FED จึงมีเงื่อนไขต้องเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIG จำนวน 79.9% และเงินจำนวน 85,000 ล้านดอลลาร์บวกกับดอกเบี้ยอีกประมาณ 11.4% (LIBOR + 8.5%) ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากนี้ AIG มีภาระที่จะต้องใช้คืนภายใน 2 ปี ซึ่งเมื่อดูเงื่อนไขเช่นนี้แล้ว นักการเงินส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าในช่วงต่อไปจากนี้ AIG คงเจ๊งแน่นอน เพราะคงจะหาเงินมาใช้คืนไม่ได้
คำถามคือ เมื่อเป็นเงื่อนไขที่ทำไม่ได้ แล้ว FED เข้ามาช่วยแบบนี้ทำไม?
คำตอบคือ หนึ่งในระยะสั้นทันทีทันใดนี้ FED หวังผลเพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่นในระบบการเงินสหรัฐฯ ซึ่งจะฉุดให้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ และ สองเพื่อจำกัดวงไม่ให้ความเสียหายลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจการผลิตแท้จริง (Real Sector) ส่วนในระยะกลางต่อจากนี้ไปก็เพื่อให้ มีเวลาในการที่ AIG จะสามารถคัดเลือกกิจการที่ดีๆ ธุรกิจที่ดีๆ เช่น ธุรกิจประกันชีวิต AIA ธุรกิจเช่าซื้อเครื่องบิน ออกจากธุรกิจสถาบันการเงินที่มีปัญหาโดยเฉพาะจากการลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์ แล้วเมื่อถึงเวลาก็ปล่อยให้ธุรกิจที่แย่ๆ พวกนี้ล้มไป เอาส่วนที่ดีมาชำระบัญชี แล้วก็เหลือแต่ธุรกิจที่ดีๆ ที่จะดำเนินการต่อไปได้ในระยะยาว
เมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่าในระยะ 6 เดือนถึง 1 ปีครึ่งนี้ การคัดแยกธุรกิจดีออกจากธุรกิจที่เสียต้องเกิดขึ้น และเมื่อมีการชำระบัญชีใช้หนี้ใช้สินกัน ธุรกิจที่ยังดีอยู่แต่อยู่ในเครือเดียวกัน เช่น AIA ก็คงต้องเอากำไรบางส่วน เอาเงินบางส่วนไปร่วมใช้ชำระบัญชีด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้เอาประกันของ AIA ในไทยก็คงจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าบริษัทที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวแม่ต้องการเงิน บริษัทลูกเช่น AIA ที่ฮ่องกงก็ต้องส่งเงินไปให้ และอาจจะส่งผลต่อบริษัทหลาน นั่นคือ AIA ในประเทศไทยที่ต้องส่งเงินไปช่วยตัวแม่ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์เหล่านี้คงเกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นในช่วง 6-18 เดือนข้างหน้า AIA ในไทยก็คงมีปัญหาสภาพคล่อง หรือเงินสดในมือที่ลดลงอย่างแน่นอน แต่เมื่อเวลาผ่านไป การคัดแยกธุรกิจดี-เสียผ่านพ้นไปแล้ว การชำระบัญชี ล้างหนี้ ถ่ายพยาธิ จบลงแล้ว ธุรกิจดีๆ เช่น AIA ก็คงจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างแข็งแกร่งเพราะหมดภาระ ไม่ต้องไปอุ้มส่วนเสียๆ ใน AIG อีกต่อไป
คำถามคือ แล้วผู้ที่ทำประกันกับ AIA ในไทยจะต้องทำอย่างไร?
ถ้าท่านเป็นผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันมาอย่างสม่ำเสมอเป็นปีที่ 15 เป็นปีที่ 18 เป็นท้ายๆ กำลังจะครบกำหนด กำลังจะได้สตางค์ก้อนใหญ่ออกมาใช้แล้ว (กำลังจะถึง Maturity Date) สิ่งที่ท่านควรทำคือ โทรศัพท์ไปหาคนที่ขายประกันให้ท่าน ให้เขาเอาตารางเวนคืนมาให้ท่านดูว่า ถ้าจะเอาเงินสดออกมาเลยในตอนนี้ ท่านจะได้เงินคืนเท่าใด ถ้าท่านพอใจ ก็ถามคนขายประกันว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง แล้วก็เดินจูงมือกันไปเอาเงินสดออกมาเลย เพื่อความสบายใจ
แต่ถ้าท่านเป็นคนที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำประกัน เพิ่งจะจ่ายเบี้ยประกันไป 4-5 งวด ไปเวนคืนตอนนี้ ก็ได้เงินไม่คุ้มครับ เกือบจะไม่ได้อะไรเลยด้วยซ้ำ สิ่งที่ท่านควรทำคือ ส่งเบี้ยประกันต่อไป เป็นลูกค้าที่ดีต่อไป จนในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ตอนนั้น AIA ก็ไม่มีปัญหาอะไรแล้วครับ คงจะได้เงินครบถ้วนตามกรมธรรม์ที่ท่านเคยคุยกันไว้ ไม่ต้องกังวล
แล้วถ้าท่านเป็นคนขายประกัน AIA ท่านควรทำอย่างไร?
ตอนนี้สิ่งที่ท่านควรทำคือ อย่าไปคอยอธิบายลูกค้าเลยครับว่า บริษัทมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนสูงกว่ามาตรฐานเป็นพันๆ เท่า ไม่มีใครฟังหรอกครับ เพราะตอนที่คุณไปขายประกันให้ลูกค้า คุณก็เคยพูดแต่ว่า AIA เป็นบริษัทลูกของ AIG บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุด และมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งที่สุดในโลก
“ขอโทษครับตัวแม่ยังตาย แล้วตัวลูกจะไปเหลืออะไร” ลูกค้าเขาสนใจแค่จะได้เงินของตนคืนหรือไม่เท่านั้นเอง
ดังนั้นสิ่งที่ท่านควรทำคือ อธิบายสิ่งที่ผมเขียนไว้ในบทความต่างๆ ที่ผ่านมาให้ลูกค้าฟังว่าเหตุการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ต่อไปจะเป็นอย่างไร ต่อไป AIA จะเหลือแต่ธุรกิจดีๆ แล้ว ตอนนี้อาจกระท่อนกระแท่นนิดหน่อย แต่ต่อไป ดีกับดีแน่นอน แต่ถ้าลูกค้ากลัว เดินจูงมือลูกค้าไปขอเงินคืนเลยครับ แสดงให้ลูกค้าเห็นความจริงใจของคุณ ซื้อใจได้มากกว่าเยอะครับ ตัวบริษัท AIA ก็เช่นเดียวกันอย่ามัวอธิบายครับ เชิญลูกค้าไปที่บริษัทเลย แล้วเอาเงินสดกองใส่ห้องไว้เป็นห้องๆ เลยครับ ให้ลูกค้าเห็นว่ายังมีเงินอีกมาก กองเป็นภูเขาเงินสด เหมือนกับที่ธนาคารกรุงเทพเคยทำในช่วงวิกฤต ซื้อใจและแสดงให้ทุกคนเห็นเลยว่าตอนนี้บริษัทยังมีสภาพคล่องอีกมาก ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องตื่นตระหนก ลูกค้าเห็นก็เบาใจครับ อย่าให้พนักงานไปคอยอธิบายในสิ่งที่ลูกค้าไม่เข้าใจครับ เพราะตัวพนักงานเองยังไม่ค่อยเข้าใจเลยด้วยซ้ำ
กลับมาในเรื่องผลกระทบจากวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ ที่มีต่อประเทศไทยกันต่อครับ สำหรับระดับจุลภาคในระดับครัวเรือนนั้นปัญหาที่หลายๆ ท่านกำลังคิดไม่ตกในขณะนี้ก็คือ เรื่อง AIG และผลกระทบที่มีต่อ AIA แม้ว่า ธนาคารกลางของสหรัฐฯ หรือ FED จะเข้ามาช่วยอุ้ม AIG โดยการให้เงินกู้เป็นจำนวน 85,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อต่อชีวิต AIG แล้วก็ตาม โดยเงินจำนวนนี้ ครึ่งหนึ่งมาจากการขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ เอาเงินจากนักลงทุนทั่วโลกมาอุ้ม แต่อีกครึ่งหนึ่งก็มาจากผู้เสียภาษีชาวอเมริกัน ดังนั้น FED จึงมีเงื่อนไขต้องเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน AIG จำนวน 79.9% และเงินจำนวน 85,000 ล้านดอลลาร์บวกกับดอกเบี้ยอีกประมาณ 11.4% (LIBOR + 8.5%) ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงมากนี้ AIG มีภาระที่จะต้องใช้คืนภายใน 2 ปี ซึ่งเมื่อดูเงื่อนไขเช่นนี้แล้ว นักการเงินส่วนใหญ่ก็ยอมรับว่าในช่วงต่อไปจากนี้ AIG คงเจ๊งแน่นอน เพราะคงจะหาเงินมาใช้คืนไม่ได้
คำถามคือ เมื่อเป็นเงื่อนไขที่ทำไม่ได้ แล้ว FED เข้ามาช่วยแบบนี้ทำไม?
คำตอบคือ หนึ่งในระยะสั้นทันทีทันใดนี้ FED หวังผลเพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่นในระบบการเงินสหรัฐฯ ซึ่งจะฉุดให้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นลุกลามไปยังสถาบันการเงินอื่นๆ และ สองเพื่อจำกัดวงไม่ให้ความเสียหายลุกลามไปสู่ภาคเศรษฐกิจการผลิตแท้จริง (Real Sector) ส่วนในระยะกลางต่อจากนี้ไปก็เพื่อให้ มีเวลาในการที่ AIG จะสามารถคัดเลือกกิจการที่ดีๆ ธุรกิจที่ดีๆ เช่น ธุรกิจประกันชีวิต AIA ธุรกิจเช่าซื้อเครื่องบิน ออกจากธุรกิจสถาบันการเงินที่มีปัญหาโดยเฉพาะจากการลงทุนในตลาดตราสารอนุพันธ์ แล้วเมื่อถึงเวลาก็ปล่อยให้ธุรกิจที่แย่ๆ พวกนี้ล้มไป เอาส่วนที่ดีมาชำระบัญชี แล้วก็เหลือแต่ธุรกิจที่ดีๆ ที่จะดำเนินการต่อไปได้ในระยะยาว
เมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่าในระยะ 6 เดือนถึง 1 ปีครึ่งนี้ การคัดแยกธุรกิจดีออกจากธุรกิจที่เสียต้องเกิดขึ้น และเมื่อมีการชำระบัญชีใช้หนี้ใช้สินกัน ธุรกิจที่ยังดีอยู่แต่อยู่ในเครือเดียวกัน เช่น AIA ก็คงต้องเอากำไรบางส่วน เอาเงินบางส่วนไปร่วมใช้ชำระบัญชีด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้เอาประกันของ AIA ในไทยก็คงจะเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้าบริษัทที่สหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวแม่ต้องการเงิน บริษัทลูกเช่น AIA ที่ฮ่องกงก็ต้องส่งเงินไปให้ และอาจจะส่งผลต่อบริษัทหลาน นั่นคือ AIA ในประเทศไทยที่ต้องส่งเงินไปช่วยตัวแม่ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์เหล่านี้คงเกิดขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นในช่วง 6-18 เดือนข้างหน้า AIA ในไทยก็คงมีปัญหาสภาพคล่อง หรือเงินสดในมือที่ลดลงอย่างแน่นอน แต่เมื่อเวลาผ่านไป การคัดแยกธุรกิจดี-เสียผ่านพ้นไปแล้ว การชำระบัญชี ล้างหนี้ ถ่ายพยาธิ จบลงแล้ว ธุรกิจดีๆ เช่น AIA ก็คงจะเดินหน้าต่อไปได้อย่างแข็งแกร่งเพราะหมดภาระ ไม่ต้องไปอุ้มส่วนเสียๆ ใน AIG อีกต่อไป
คำถามคือ แล้วผู้ที่ทำประกันกับ AIA ในไทยจะต้องทำอย่างไร?
ถ้าท่านเป็นผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันมาอย่างสม่ำเสมอเป็นปีที่ 15 เป็นปีที่ 18 เป็นท้ายๆ กำลังจะครบกำหนด กำลังจะได้สตางค์ก้อนใหญ่ออกมาใช้แล้ว (กำลังจะถึง Maturity Date) สิ่งที่ท่านควรทำคือ โทรศัพท์ไปหาคนที่ขายประกันให้ท่าน ให้เขาเอาตารางเวนคืนมาให้ท่านดูว่า ถ้าจะเอาเงินสดออกมาเลยในตอนนี้ ท่านจะได้เงินคืนเท่าใด ถ้าท่านพอใจ ก็ถามคนขายประกันว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง แล้วก็เดินจูงมือกันไปเอาเงินสดออกมาเลย เพื่อความสบายใจ
แต่ถ้าท่านเป็นคนที่เพิ่งจะเริ่มต้นทำประกัน เพิ่งจะจ่ายเบี้ยประกันไป 4-5 งวด ไปเวนคืนตอนนี้ ก็ได้เงินไม่คุ้มครับ เกือบจะไม่ได้อะไรเลยด้วยซ้ำ สิ่งที่ท่านควรทำคือ ส่งเบี้ยประกันต่อไป เป็นลูกค้าที่ดีต่อไป จนในอีก 10-20 ปีข้างหน้า ตอนนั้น AIA ก็ไม่มีปัญหาอะไรแล้วครับ คงจะได้เงินครบถ้วนตามกรมธรรม์ที่ท่านเคยคุยกันไว้ ไม่ต้องกังวล
แล้วถ้าท่านเป็นคนขายประกัน AIA ท่านควรทำอย่างไร?
ตอนนี้สิ่งที่ท่านควรทำคือ อย่าไปคอยอธิบายลูกค้าเลยครับว่า บริษัทมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง มีเงินกองทุนสูงกว่ามาตรฐานเป็นพันๆ เท่า ไม่มีใครฟังหรอกครับ เพราะตอนที่คุณไปขายประกันให้ลูกค้า คุณก็เคยพูดแต่ว่า AIA เป็นบริษัทลูกของ AIG บริษัทประกันที่ใหญ่ที่สุด และมีฐานะทางการเงินแข็งแกร่งที่สุดในโลก
“ขอโทษครับตัวแม่ยังตาย แล้วตัวลูกจะไปเหลืออะไร” ลูกค้าเขาสนใจแค่จะได้เงินของตนคืนหรือไม่เท่านั้นเอง
ดังนั้นสิ่งที่ท่านควรทำคือ อธิบายสิ่งที่ผมเขียนไว้ในบทความต่างๆ ที่ผ่านมาให้ลูกค้าฟังว่าเหตุการณ์ตอนนี้เป็นอย่างไร ต่อไปจะเป็นอย่างไร ต่อไป AIA จะเหลือแต่ธุรกิจดีๆ แล้ว ตอนนี้อาจกระท่อนกระแท่นนิดหน่อย แต่ต่อไป ดีกับดีแน่นอน แต่ถ้าลูกค้ากลัว เดินจูงมือลูกค้าไปขอเงินคืนเลยครับ แสดงให้ลูกค้าเห็นความจริงใจของคุณ ซื้อใจได้มากกว่าเยอะครับ ตัวบริษัท AIA ก็เช่นเดียวกันอย่ามัวอธิบายครับ เชิญลูกค้าไปที่บริษัทเลย แล้วเอาเงินสดกองใส่ห้องไว้เป็นห้องๆ เลยครับ ให้ลูกค้าเห็นว่ายังมีเงินอีกมาก กองเป็นภูเขาเงินสด เหมือนกับที่ธนาคารกรุงเทพเคยทำในช่วงวิกฤต ซื้อใจและแสดงให้ทุกคนเห็นเลยว่าตอนนี้บริษัทยังมีสภาพคล่องอีกมาก ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องตื่นตระหนก ลูกค้าเห็นก็เบาใจครับ อย่าให้พนักงานไปคอยอธิบายในสิ่งที่ลูกค้าไม่เข้าใจครับ เพราะตัวพนักงานเองยังไม่ค่อยเข้าใจเลยด้วยซ้ำ