"โกวิท"เค้นวิธีกดดันพันธมิตรฯออกจากทำเนียบฯ พร้อมสั่งผู้ว่าฯทั่วประเทศ สกัดทัพหนุนของพันธมิตรฯที่จะเข้ามาสมทบ หากมีการสลายการชุมนุม "ชลิต" ยันทหารเลือกอยู่ข้างประชาชน แนะรัฐบาลใช้หลักทศพิธราชธรรมแก้ปัญหา ย้ำไม่มีการปฎิวัติ นักวิชาการเตือนจับแกนนำพันธมิตรฯ เกิดจลาจลแน่ เหตุคุมผู้ชุมนุมไม่ได้ ด้านรัฐบาลเดินแผนไต่สวนฉุกเฉินให้ศาลสั่งพันธมิตรฯพ้นทำเนียบฯ "พัลลภ" โต้"รองโฆษกจอมเต้าข่าว" ยันไม่ได้อยู่เบื้องหลังพันธมิตรฯ บัวแก้วแจงทั่วโลกม็อบเป็นการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยของไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27 ส.ค.) พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมให้ดูแลการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เรียกประชุมนายตำรวจ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเตรียมการขอหมายจับ 5 แกนนำพันธมิตรฯ และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะออกหมายจับได้ช่วงบ่ายวันนี้(27 ส.ค.)
พล.ต.อ.โกวิท แถลงหลังการประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุม ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า การบุกรุกเข้าไปในสถานที่ราชการสำคัญต่างๆรวมทั้งทำเนียบรัฐบาล เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายและเป็นความผิดทางอาญาที่ตำรวจ ยอมไม่ได้ในฐานะที่เป็นผู้รักษากฎหมายบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำผิดกฎหมายมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 วันที่ผ่านมา กรณีเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาลจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการเคลื่อนย้ายออก แต่อย่างใด สร้างความเสื่อมเสียเสียหายต่อภาพลักษณ์ประเทศเป็นความผิด ทางอาญาชัดเจน ทั้งที่ตำรวจได้ชี้แจงทำความเข้าใจร้องขอแล้วหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล จึงจำเป็นต้อง ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบสุขต่อบ้านเมือง อยากขอร้องให้ผู้ชุมนุม ออกมาจากบริเวณทำเนียบฯโดยเร็ว ไปชุมนุมบริเวณอื่น ตามสิทธิที่สามารถทำได้ตำรวจไม่ขัดข้องแต่อย่างใด เนื่องจากวันที่ 30 ส.ค.นี้จะมีพระราชพีสำคัญงานพระราชทาน ธงสัญลักษณ์จากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วันสร้างสามัคคี ซึ่งมีความจำเป็นต้องปรับปรุงพื้นที่เพื่อเตรียมงาน
"ผมในนามของเพื่อนข้าราชการตำรวจ อยากขอร้องท่านให้ออกจากทำเนียบฯ ตั้งแต่บัดนี้เวลานี้เป็นต้นไป ผมไม่อยากยื่นคำขาด แต่อยากใช้คำว่าขอร้องแทน ผมจำเป็นต้องรักษากฎหมายบ้านเมือง วันนี้เรื่มต้นจากการนับหนึ่งก่อน ส่วนการดำเนินการขั้นตอ่ไปนั้นจะแจ้งให้ทราบผ่านทางทีมงานโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นระยะ"
"โกวิท"สั่งผู้ว่าฯสกัดคนมาร่วมพันธมิตรฯ
วันเดียวกัน พล.ต.อ.โกวิท ได้เดินทางไปยังกระทรวงมหาดไทย พร้อมเรียกประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดแบบเร่งด่วนผ่าน ระบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ หลังเครือข่ายพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวปิดกั้นการจราจรตามภูมิภาคต่างๆ
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวกับผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ขณะนี้กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมกันอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลประมาณ 8,000 คน ในเช้านี้ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯ โดยก่อนหน้านี้ได้เริ่มเคลื่อนไหวมาหลายวันแล้วในการละเมิดกฎหมาย ซึ่งหลายจังหวัดทราบดีที่มีการปิดถนนเส้นทางคมนาคมที่สำคัญโดยเฉพาะในจ.นครราชสีมา จ.ชุมพร จ.พิจิตร และอีกหลายจังหวัด
"อยากให้ผู้ว่าฯช่วยกันดูแลเพราะขณะนี้มีการชักชวนและใช้วิธีหลายอย่างเพื่อชักจูงประชาชนในต่างจังหวัดให้เข้ามาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับบ้านเมือง ทำให้ภาพพจน์ประเทศเสียหาย โดยเฉพาะที่ทำเนียบฯซึ่งเป็นที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี และ ครม."
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวต่อว่า รัฐบาลจะจัดงาน เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อสร้างความสามัคคีทั่วประเทศ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย พระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายา มาพระราชทานธงสัญลักษณ์โครงการจากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วัน สร้างความสามัคคี ในวันเสาร์ที่ 30 ส.ค.เวลา 15.00น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการเตรียมเรื่องสถานที่ไม่ว่าจะเป็นการกางเต้นตั้งปะรำพิธี ตกแต่งต่างๆ ซึ่งน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมาแล้ว จึงขอความร่วมมือกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหลาย เพื่อร่วมกันถวายความจงรักภักดีตามที่รัฐบาลได้ชี้แจงมาตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา และมีการดำเนินการมาเป็นระยะ
"ผมในฐานที่ได้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาก็ใคร่เรียนไปยังผู้ว่าร พี่น้องประชาชนไปทั่วประเทศ ใครทีมีญาติพี่น้องที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดหรือ อยู่ในกรุงเทพ กรุณาไตร่ตรองว่าสิ่งที่ท่านทำอยู่นี้ได้ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อบ้านเมืองและรัฐบาล ซึ่งจะจัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสนี้ ผู้ว่าฯได้รับทราบทั่วกันแล้ว ที่จะมารับพระราชทานธงพร้อมทั้งผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น นายก อบต. , อบจ. นายกเทศมนตรี ผู้นำทั้งหลายที่จะมาร่วมในพิธีที่เป็นมงคลนี้ โดยการแต่งกายชุดขาว ผู้ว่าฯมารับธงไปเพื่อเดินวิ่งเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดของตัวเอง จะมีก็แต่ส่วนกลางที่ยังมีปัญหาอยู่ วันนี้ก็จะดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจ ให้ถึงที่สุด ผมก็จะพยายามที่จะขอร้องพูดจา โดยให้ทางเจ้าหน้าตำรวจและโฆษกทำความเข้าใจ"
เจรจาก่อนใช้มาตรการกฎหมาย
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่าขอเรียนย้ำว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดงานพระราชพิธีจึงใคร่ขอร้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตน รัฐบาลร่วมกับประชาชนได้ถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสมพระเกียรติ อย่าต้องให้มีข้อสดุดหรือข้อขัดข้อง เพราะว่านี้เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนพื้นที่ที่เกิดปัญหาขึ้น 3-4 จังหวัด ต้องขอบคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการจังหวัดที่ร่วมมือกันช่วยเหลือแก้ไขปัญหาไปตามลำดับ
"ในนามของผู้รับผิดชอบแกไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (26 ส.ค.) ก็จะใช้ความเมตตา สมานฉันท์ เข้าไปพูดจาจนถึงที่สุด หากยังไม่ได้รับความร่วมมือ ก็ขอเรียนว่าต้องใช้มาตรการทางกฎหมายที่จะดำเนินการตามขั้นตอนตามลำดับ เพราะว่าเรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทำเนียบรัฐบาลเป็นพื้นที่ประกอบพิธี อย่างที่ตนได้เรียนผู้ว่าต้องมีการช่วยเหลือกันให้งานนี้สำเร็จลุลวงไปให้ได้"
ให้ผู้ว่าฯรับมือหากสลายพันธมิตรฯ
นายพงศ์โพยม วาศปุติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ฝากไปถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้เตรียมแผนรับมือหากมีการสลายการชุมนุมที่ กทม. อาจทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดมาแก้แค้นด้วยการปิดล้อมสถานที่ราชการสำคัญๆ ในจังหวัด ดังนั้น อยากให้ผู้ว่าช่วยดูแลป้องกันในสถานที่ราชการต่างๆ โดยเฉพาะศาลาว่าการจังหวัดด้วย เพราะหากมีการปิดล้อมจริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ นอกจากนี้ อย่าให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มต่อต้าน ขอให้ผู้ว่าฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะไม่ให้เกิดการปะทะจนถึงขั้นใช้ความรุนแรง
"ชลิต"แนะใช้ทศพิธราชธรรม
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. กล่าวว่าไม่ขอวิจารณ์การที่กลุ่มพันธมิตรฯเข้ายึดทำเนียบฯ แต่คิดว่าประเทศไทยไม่เคยถึงจุดที่ไม่มีแนวทางแก้ไข ประเทศไทยไม่เคยอับจน ทุกสิ่งทุกอย่างจะแก้ไขได้ด้วยคนไทย ทุกคนต้องกลับมาคิดกันทุกฝ่ายว่าเราควรจะแก้ไขอย่างไร ควรจะถอยอย่างไร คงไม่มีใครที่จะเดินหน้าได้ตลอด ต้องมีการถอยบ้าง และคิดว่าควรจะถอยกันคนละก้าว
"เราต้องสดับตรับฟังในสิ่งที่เกิดขึ้น เหมือนเราอยู่ในครอบครัวที่สามี ภรรยาทะเลาะกัน ที่ต้องถึงจุดนิ่งอยู่ชั่วสักระยะหนึ่งจึงจะหยุดได้ ไม่เช่นนั้นจะทะเลาะจนถึงขั้นหย่าร้าง คิดว่าต้องหยุดทบทวน ทางฝ่ายพันธมิตรฯ ต้องนึกคิด เพราะเรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องคำนึงถึงและต้องเคารพกฎหมาย ผมเห็นว่า ต้องหยุดคิดกันหน่อย ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา ยังไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร เพราะยังมึนงงอยู่"
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลยังมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศต่อไปหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คนที่ทำหน้าที่อาสาเข้ามาบริหารบ้านเมืองต้องพยายามแก้ไขปัญหาให้เหลือน้อยที่สุด
"หากจะพูดถึงในสมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทรงมี ทศพิธราชธรรม สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นสิ่งที่แม้แต่ผู้บังคับบัญชาระดับเล็ก ถ้าใช้แนวทางตรงจุดนั้นจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟัง ปฏิบัติการรบและทำให้หน่วยของเขา สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหน่วยที่ใหญ่ขึ้น จนถึงระดับรัฐบาลและระดับประเทศ ผู้นำประเทศต้องใช้ตรงนั้นด้วย เพราะข้อความในทศพิธราชธรรมเป็นข้อความที่ให้ ผู้บริหารทำในสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ที่ถูกบริหาร"
ระบุการปฏิวัติไม่ใช่วิถีทางที่ดีที่สุด
ส่วนกองทัพมีจุดยืนอย่างไรหากรัฐบาลได้สั่งการให้กองทัพใช้กำลังเข้าดำเนินการ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกัน และคิดว่ารัฐบาลหรือผู้ที่รับผิดชอบใดๆ คงจะไม่ทำร้ายประชาชน เมื่อถามว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คงไม่ใช่เวลาที่จะปฏิวัติ การปฏิวัติไม่ใช่วิถีทาง ที่ดีที่สุดในการจะทำ เพราะว่าเสียหายกับความรู้สึกนึกคิดของชาวต่างชาติและคนในชาติ จะเกิดข้อคิดหรือความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดี เมื่อถามว่า จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ต้องถามผู้บริหาร
ผู้สื่อข่าวถามว่าสองฝ่ายต่างไม่ยอมแพ้ ทหารจะเป็นตัวกลางในการยุติความขัดแย้ง พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คนเป็นตัวกลาง ต้องเป็นที่ยอมรับ จึงจะไปเป็นตัวกลางที่จะไปเจรจาได้ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมรับ ก็เจรจาไม่ได้ ทั้งนี้ ยังไม่ทราบว่าถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาล และ กลุ่มพันธมิตรฯ จะเจรจากันหรือไม่ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมพร้อมใจกัน ที่สำคัญคือประชาชน
ทัพฟ้าเลือกอยู่ข้างประชาชน
ต่อข้อถามว่าจุดยืนของทหารจะเลือกอยู่ฝ่ายรัฐบาลหรือประชาชน พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ประชาชน คือชาติ เพราะอยู่มาหลายร้อยปีแล้ว ก็ต้องอยู่ต่อไป รัฐบาลผลัดกันมาวาระละ 4 ปี หรือน้อยกว่านั้น เราต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด" ผู้สื่อข่าวถามว่า พันธมิตรฯ ก็ถือเป็นประชาชนใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ก็เป็นส่วนหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าถึงเวลาที่ ผบ.เหล่าทัพจะไปบอกนายกฯ ให้พิจารณาตัวเองเพราะปล่อยไปบ้านเมืองอาจจะย่ำแย่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ไม่รู้ ตอนนี้สงสัยยังไม่ถึง" สำหรับแนวคิดเรื่องตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายตรงนี้ ตอนนี้เรามีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกรอบอยู่ เมื่อถามว่า เท่าที่ประเมินสถานการณ์จะไปถึงขั้นนองเลือดหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานน่าจะเป็นการสอนให้ทุกฝ่ายว่าไม่ควรจะให้เกิดความรุนแรง มากกว่านั้นแล้ว อยากให้คนไทยต้องหันกลับมาศึกษา และใช้ประวัติศาสตร์พิจารณา ทุกอย่างจะหมุนเป็นวงเวียน เมื่อเกิดแล้วจะบรรจบมาเกิดกันอีกครั้ง จะได้นำมาศึกษา และแก้ไขในหลายๆ เรื่องได้ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
นักวิชาการสงสัยจัดฉากบุก NBT
ผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า เข้าใจว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมประท้วงและบุกยึดสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งเป็นเจตนารมณ์เพื่อที่จะสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลรู้ว่าขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และการที่กลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึด NBT นั้นสะท้อนให้เห็นว่า NBT เป็นสถานีที่รับใช้รัฐบาล เป็นกลไกของรัฐบาล ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการปิดกั้นข้อเท็จจริงของสังคม บิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่แตกต่างจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลา 16 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ผศ.ดร.พิชาย กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุการณ์ที่ NBT นั้นเหตุใดกลุ่มพันธมิตรฯ พาคนบุกไปน้อยมาก บุคคลที่นำไปก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการควบคุม มวลชน ทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นสถานที่เสี่ยง ล่อแหลม และทำไมการที่นักรบศรีวิชัยเข้าไปบุกนั้นตำรวจมีน้อยมาก ปล่อยให้รื้อค้นได้อย่าง่ายดาย พอถึงเวลาจับกุมก็ง่ายดาย ซึ่งตามปกติวิสัยของกลุ่มแกนนำแล้วจะเป็นหน่วยเคลื่อนที่ไว มองอีกครั้งเหมือนการจัดฉาก หรือ จงใจบุกแต่อาจจะมีการแหวกกฎที่ตกลงกัน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวแน่นอนกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่จะกระทบต่อผู้ที่มีใจให้กับพันธมิตรฯ ไม่มากนัก
จับแกนนำพันธมิตรฯเกิดจลาจลแน่
"ประเด็นการออกหมายจับ 5 แกนนำหลัก ซึ่งถ้าหากรัฐบาลไม่ให้ประกันตัวออกไปนั้น ผมเชื่อแน่ว่าจะเกิดเหตุจลาจลขึ้น เพราะว่าไม่มีผู้นำกลุ่มฝูงชน ถึงแม้ว่า กลุ่มพันธมิตรฯจะประกาศแกนนำรุ่นที่ 2 แล้วและเขาก็ได้ปรากฏบนเวทีพันธมิตรO หลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบารมีไม่ถึง เพราะคนที่คุมม็อบ มีพลังในการจัดการ ควบคุมอย่างสันตินั้นคือ คุณสนธิ ล้อมทองกุล และ คุณจำลอง ศรีเมือง ดังนั้นจะทำให้คนเกิดความคิดหลากหลาย หลงทาง ควบคุมไม่ได้อย่างแน่นอน"
ผศ.ดร.พิชาย กล่าวอีกว่า ดูจากท่าทีของรัฐบาลและกลุ่มพันธมมิตรฯแล้ว แนวโน้มสถานการณ์ยังยืดเยื้อ ไม่มีทางที่จะสงบลงง่ายๆ ยังมีความวุ่นวายไม่เลือก เพราะขณะนี้เองรัฐบาลมีเพียง 2 ทางเลือก คือการไม่ลาออก ปล่อยให้ประชาชนชุมนุมกันไป แต่วิธีนี้รัฐบาลอาจจะเสียหน้าเพราะไม่มีสถานที่ทำงาน ตระเวนประชุมในสถาน ที่ต่างๆ หรือ วิธีการสลายม็อบ แต่วิธีนี้ทำได้ยากและเสียความชอบธรรมอย่างมาก เพราะเกิดเหตุการณ์นองเลือดไม่มีใครรับได้
แนะรัฐบาลลาออกแก้วิกฤตการเมือง
ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลในขณะนี้และจะเป็นคุณูปการให้กับประเทศชาติอย่างมหาศาลก็คือการลาออก หลังจากนั้นอาจจะมีรัฐบาลเฉพาะกาล และจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนขึ้นมาใหม่ กลับเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยต่อไป
"แน่นอนว่าสถานการณ์ตอนนี้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางด้านการปกครอง อำนาจการบริหารประเทศของรัฐบาลเสื่อมถอย ขาดความชอบธรรม การเงิน การลงทุนก็อาจได้ เป็นเรื่องธรรมดา แต่เป็นเพียงผลกระทบในระยะสั้นๆเท่านั้น ในระยะยาวอาจสร้างความสมดุล และความแข็งแกร่งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจได้ดี ดูการประท้วงอย่างรุนแรงในประเทศเกาหลีใต้ได้ ขณะนี้มีการเมือง และระบบเศรษฐกิจที่ดีมาก"
"อ.ณรงค์"เชื่อที่สุดประชาชนชนะ
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวในทางเศรษฐศาสตร์การเมือง เรียกว่าผลผลิตจากความขัดแย้งหลัก เป็นเรื่องของโครงสร้างอำนาจของคนสองกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ทำร้ายประเทศ และ อีกกลุ่มหนึ่งคือพยายามขจัดคนที่ทำร้ายประเทศออกไป แนวโน้มเป็นอย่างไรนั้นคาดเดาลำบากแต่ถ้าหากต่างฝ่ายต่างหยิบยกประเด็นที่ตัวเองได้เปรียบเข้ามาจัดการ ซึ่งหากรัฐบาลทำอย่างนั้นอาจจะเกิดเหตุการณ์ ความรุนแรงได้ เพราะเป็นผู้กุมอำนาจทั้งหมดแต่เรื่องนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดแน่นอน
อย่างไรก็ตามวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวคิดว่าถ้าพูดคุยกันไม่ได้แล้ว ก็ต้องเคารพในการทำหน้าที่ของศาลสถิตยุติธรรม แต่ไม่อยากให้นำเรื่อง การบุกยึดทำเนียบ บุกยึดสถานที่ราชการมากลบเกลื่อนประเด็นการดำเนินคดี ของศาลที่จะตัดสินดคีต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรีภายในเดือน ก.ย.นี้ เพราะจะเป็นการผ่านที่สำคัญของระบบการปกครองของไทย
"ไม่รู้เหมือนกันว่าจะจบลงอย่างไร แต่โดยเซ้นทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมการเมืองไทย ถูกครอบงำในขั้ว 2 อำนาจคือระบอบอำมาตยาธิปไตย และอำนาจทุน ซึ่งระยะหลังอำนาจทุนเดินเร็วเกินไป ทำให้ทุนสามานย์ครอบงำระบบการปกครองไทย ทำให้ชนชั้นกลางลุกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราต้องก้าวผ่านจุดนี้ให้ได้ จุดจบลงด้วยดีเสมอ ถ้าไม่เกิดการนองเลือดเสียก่อน หากเกิดการนองเลือกก่อนก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ผลสรุปทุกครั้งชนชั้นกลางจะเป็นผู้ชนะ"
จบอย่างไรอยู่ที่การใช้กลยุทธ์ของรัฐบาล
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงษธร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเข้าไปยึดหน่วยงานราชการต่างๆเพราะนี่คือสมบัติของประเทศ งานราชการก็เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง กลุ่มพันธมิตรฯก้าวพลาด เสียเปรียบ ภาพติดลบอย่างมาก ในสายตามของคนทั่วไป เป็นการพลาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการชุมนุมมากว่า 90 วัน ซึ่งถ้ามองเป็นเกม เกมนี้อาจจะจบลงได้ ดังนั้นอยู่ที่รัฐบาลจะใช้กลยุทธ์อย่างไร ในการจัดการ ซึ่งหากใช้กลยุทธ์ผิดก็จะกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มพันธมิตรฯอีกครั้งหนึ่งได้ ส่วนพันธมิตรฯหากยังยืนหยัดต่อสู้ก็ต้องจัดกระบวนท่าใหม่สร้างความศรัทธากลับมาให้ได้
"นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามครรลองของประชาธิปไตย ก็ขอให้ทุกฝ่าย ใช้ความอดทน ใช้เหตุผล อย่าให้เกิดการปฏิบัติรัฐประหาร เกิดการนองเลือด อาจจะมีความลำบากบ้าง เหนื่อยล้า แต่เชื่อว่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะเรามีประสบการณ์แล้ว ในเหตุการณ์ 16 ตุลา ,19 ตุลา ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องช่วยกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนชั้นกลางในเมืองและชนชั้นกลางในชนบทให้หมดไปจากสังคมไทย ไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งรุนแรงไม่มีทางที่จะหมดไปในสังคมไทยได้"
ร้องไต่สวนฉุกเฉินพลักดันพันธมิตรฯ
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ทางสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีจะไปยื่นศาลแพ่งร้องไต่สวนฉุกเฉินให้พันธมิตรฯ เลิกการชุมนุมเพราะจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากทำเนียบรัฐบาล หลีกเลี่ยงการปะทะที่รุนแรง
นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการหลายด้านพร้อมกันรวมทั้งจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่า การผลักดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบฯ ส่วนมาตราการทางกฎหมายให้กลุ่มผู้ชุมนุมพ้นจากทำเนียบฯนั้น โดยให้ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ ขณะเดียวกันเวลา 13.00น. มอบหมายให้ นายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วย ฝ่ายกฎหมาย เข้ายื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่งในกรณีเทียบเคียงกับโรงเรียนราชวินิต มัธยม ให้กลุ่มพันธมิตรยุติการชุมนุมรื้อถอนเวทีออกจากทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้ข้าราชการทำงานได้
นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลประเมินเห็นว่า กลุ่มพันธมิตรฯกระทำการเกิน กว่าเหตุ ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. เชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็น อย่างดี และยังมีบางส่วนกลับท้วงติงรัฐบาลว่า ดำเนินการล่าช้า ปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุม เข้ายึดทำเนียบฯ ฉะนั้นจึงให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลไม่วางเฉยอย่างแน่นอน
ส่วนการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่สามารถนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาลตามเส้นตายที่กำหนดไว้เมื่อ 18.00น. วานนี้นั้น เนื่องจากติดขัดปัญหาเดิมๆ ของกลุ่พันธมิตรฯ ที่แกนนำปฏิเสธการเจรจาทุกกรณี วันนี้ข้อเรียกร้องต่างๆของกลุ่มพันธมิตรฯเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่สามารถตอบสนองได้ ซึ่งเราจะดำเนินการทางกฎหมาย คนที่ทำผิดจะได้รับโทษตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น คาดว่าทุกอย่างจะเสร็จสิ้น ภายในวันนี้ หลังจาก พล.ต.อ.โกวิท ได้ยื่นยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเด็ดขาดให้เรียบร้อยภายใน 24 ชั่วโมง
อ้างมีทหารร่วมเคลื่อนไหวกับพันธมิตรฯ
สำหรับขั้นตอนการสลายการชุมนุมนั้น ต้องรอกระบวนการจากชั้นศาล รายละเอียดจะเป็นอย่างไรต้องรอฟังจาก พล.ต.อ.โกวิท ก่อนถ้าหากศาลมีคำสั่งให้รื้อเวทีก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะปฏิบัติตาม ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับความร่วมมือตามคำสั่งศาล คงต้องมีมาตรการอย่างเด็ดขาดแน่นอน
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า มีรายงานข่าวว่ามีทหารบางคนเคลื่อนไหวพร้อมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งรายงานข่าวก็เป็นจริงมาแล้วหลายครั้งก็ต้องติดตามกันต่อไปถ้าหาก เป็นจริง นายทหารเหล่านั้นก็ต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกับแกนนำ คือ กบฎ
"พัลลภ"ปัดอยู่เบื้องหลังการชุมนุม
พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แสดงความประหลาดใจหลังจากนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ออกมาระบุว่าตนเองอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง เพราะหากอยู่เบื้องหลังคงไม่ชุมนุมยืดเยื้อมาร่วม 3 เดือน อย่างแน่นอน เนื่องจากไม่มีความอดทนขนาดนั้น ซึ่งตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน ก็ไม่เคยไปร่วมชุมนุมด้วยแม้แต่ครั้งเดียว
"ยอมรับว่า เป็นเพื่อนสนิทกับ พล.ต.จำลอง แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องแนวทางการต่อสู้ ซึ่ง พล.ต.จำลอง จะเน้นในเรื่องสันติวิธี และอหิงสา ในการต่อสู้ ที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ส่วนผมมีความอดทนน้อยกว่า และคิดว่า ทั้ง พล.ต.จำลอง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ต้องไปปรึกษาใคร ในเรื่องการต่อสู้ทางการเมือง และ พล.ต.จำลองก็ไม่เคยมาปรึกษาด้วย"
สกิด"พัชรวาท"อย่ารับใช้การเมือง
พล.อ.พัลลภ ยังกล่าวเตือน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ให้ระมัดระวังอย่ารับใช้การเมือง ในการตั้งข้อหากบฏกับแกนนำพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกับที่ตนเคยได้รับเมื่อครั้งร่วมยึดอำนาจในเหตุการณ์ เมษาฮาวาย ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ.2524 โดยกล่าวว่า การตั้งข้อหากบฏเป็นข้อหาที่รุนแรงมาก ซึ่งหมายถึงการใช้กำลังยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาล แต่สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำตลอด ช่วงที่ผ่านมา คือกดดันให้รัฐบาลลาออก ด้วยการชุมนุมกดดันทางการเมืองอย่างสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และเกรงว่าหากมีการจับกุมด้วยข้อนี้ เชื่อว่าจะทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไป
พล.อ.พัลลภ ยังกล่าวถึงนายสมัคร สุนททรเวช นายกรัฐมนตรีด้วยว่า ไม่ควร แอบอ้างเบื้องสูง หรือพูดจาที่ทำให้สังคมเข้าใจผิด เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ไม่มีความรุนแรงอะไร และไม่เชื่อว่า หากมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน จะช่วยคลี่คลาย สถานการณ์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2535 ว่า สถานการณ์ รุนแรงจนกลายเป็นจุดจบของรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน ยื่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
"เตช"แจงทั่วโลกม็อบเป็นปชต.
นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งโทรสารไปยังสถานทูตและสถานกงสุลในต่างประเทศ เพื่อช่วยชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนานาชาติถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศให้เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางประชาธิปไตยของไทย
"เติ้ง"โวยพันธมิตรฯไม่อหิงสาจริง
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า จากที่ฟังพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ก็เห็นบอกว่าจะเคลื่อนไหวแบบสงบและอหิงสา แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็พบว่า สิ่งที่ พล.ต.จำลองพูดนั้นกลับตาลปัตรไปหมด มีการบุกสถานที่ราชการ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ควร นอกจากนี้ สิ่งที่พันธมิตรฯ ต้องระมัดระวังคือเรื่องที่อาจจะมีมือที่ 3 เข้ามาสร้างปัญหาได้
นายบรรหารกล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขปัญหาของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่นิ่งเฉย เพราะถ้ารัฐบาลสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรง ก็จะเกิดปัญหามากขึ้น ขณะนี้ประเทศแย่อยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายไม่ฟังรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
"ทางออกของเรื่องนี้ คงต้องไปถามรัฐบาล ส่วนที่มีการเสนอให้รัฐบาลและพันธมิตรฯ หันหน้าเข้าหากัน ก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าคงเป็นไปไม่ได้ มีแต่จะหันหน้าตีกันมากกว่า"
"สุเทพ"ให้"สมเกียรติ"รับผิดชอบเอง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่านายสมเกียรติ ไม่ได้เข้าพรรคประชาธิปัตย์มาหลายวันแล้วจึงไม่ได้ติดต่อกัน หากมีหมายจับนายสมเกียรติก็ต้องไปมอบตัวให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม พรรคไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เราแยกแยะชัดเจนมาตั้งแต่ตนแล้วว่า เดิมนายสมเกียรติอยู่กลุ่มพันธมิตรฯ ตอนนั้นเราก็นึกว่ากลุ่มพันธมิตรฯสลายไปแล้ว เมื่อนายสมเกียรติมาสมัครเข้าพรรคเราก็เห็นว่าเป็นคนมีฝึมือ มีความสามารถ ก็ส่งลงสมัคร ส.ส.แต่พอกลุ่มพันธมิตรฯออกมาเคลื่อนไหวใหม่ นายสมเกรียติ์ ก็ขอออกไปทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรญ ซึ่งพรรคก็ได้บอกนายสมเกรียติ์ไปแล้วว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ถ้ามีอะไรที่นายสมเกรียติ์ จะต้องถูกดำเนินคดีทาง กฎหมาย พรรคก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
"พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ลอยแพ แต่ไม่ใช่เรื่องที่พรรคต้องรับผิดชอบ เป็นเรื่องที่นายสมเกรียติ์ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง"
ส่วนที่ศาลออกหมายจับในข้อหาก่อกบฏนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อจะออกหมายจับก็ต้องสรรหาข้อกล่าวหาทุกอย่างใส่เข้าไปเต็มที่ แล้วไปพิสูจน์กันที่ศาล เราต้องเชื่อในกระบวนการยุติธรรมและระบบศาลของเรา
ไม่เชื่อพันธมิตรฯคิดยึออำนาจรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูจากพฤติกรรมของกลุ่มพันธมิตรเข้าข่ายกบฏหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ให้ดูที่เจตนาดีกว่า เพราะเจตนาของประชาชนที่มาชุมนุนกันเพราะชอบใจรัฐบาล และพฤติกรรมของรัฐบาลหลายเรื่อง ดังนั้น เป็นสิทธิของเขา ตนจึงไม่คิดว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะคิดก่อการยึดอำนาจรัฐประหาร ส่วนที่หลายฝ่าย ออกมาวิจารณ์กลุ่มพันธมิตรฯว่าจะออกมาชุมนุม แบบสันติ อหิสา แต่ภาพอออกมากับตรงกันข้ามนั้น พันธมิตรฯ มาชุมนุมเป็นแสนคน อาจจะมีคน 20-40 คน ที่มีไม้กอล์ฟหรือมีอะไรที่เป็นอาวุธ ก้ต้องดำเนินคดีกับคนเหล่านั้นไป แต่จะไปกล่าวโทษคนทั้งหมดคงไม่ได้
"ผมยังคิดว่าภาพรวมกระวบนการของพันธมิตรถือว่าเขาต่อสู้ด้วยสันติวิธี สิ่งที่ผมพูดไม่ได้เข้าข้างพันธมิตร แต่พูดไปตามที่ได้เห็นจริง"
นายสุเทพ กล่าวว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯยึดสถานที่ราชการถือว่าเป็นการต่อ สู้แบบสันติวิธี แต่คนที่พกอาวุธเข้าไปน่าจะถูกดำเนินคดี และตคนที่ไปทำร้ายร่างกาย คนอื่นหรือทำร้ายทรัพย์ของราชการเหล่านี้ ไม่ใช่สันติวิธีแล้ว
ส่วนสถานการณ์การเมืองขณะนี้ควรทีทางออกรูปแบบไหน นายสุเทพ กล่าวว่า ถ้าทุกคนปฏิบัติและยึดถือตามกฎหมาย ในที่สุดก็มีทางออก ตนก็ดีใจที่การชุมนุม เมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ส.ค.) ไม่มีการใช้ความรุนแรงไปสลาย จึงทำให้ประชาชนทั่วไปสบายใจไปด้วย เพราะหากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น ตนคิดว่าวันนี้ปฏิญาณของประชาชนก็จะมากขึ้น
72องค์กรเรียกร้องอย่าใช้ความรุนแรง
วันเดียวกันเครือข่ายแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักศึกษาและภาคประชาชน 72 องค์กร ออกแถลงการณ์ไม่เอาความรุนแรง หลังหารือกันที่ใต้ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองนับแต่ช่วงเช้ามืดของวันที่ 26 ส.ค. 2551 เป็นต้นมา มีความล่อแหลม ที่อาจนำไปสู่ ความรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บล้มตายได้ทุกเมื่อ ในนามเครือข่ายแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักศึกษาและภาคประชาชน ไม่เอาความรุนแรงซึ่งประกอบด้วย องค์กรทั้งหมด 72 องค์กร ดังรายนามข้างท้าย
ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายระมัดระวังและยืนหยัดในการไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาทุกรูปแบบ ดังนี้
1. ขอให้ทุกฝ่ายงดใช้ความรุนแรง และพฤติกรรมที่อาจเป็นเหตุให้เกิด ความรุนแรงทุกรูปแบบในการแก้ไขปัญหาการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ รัฐบาลต้องไม่ใช้กำลังในการสลายการชุมนุม และฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม โดยอยู่ในขอบเขตตามรัฐธรรมนูญ
2. ขอให้ทุกฝ่ายอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยแพทย์และพยาบาลในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีที่เกิดเหตุใดๆ ที่มีความจำเป็น
พปช.สะใจหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ
ร.ท. กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าการที่ศาลออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ 9 คน ถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมายอย่างละม่อม โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงมาจัดการ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะตลอดที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้ความอดทน อดกลั้นมาตลอด ดังนั้นเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น รัฐบาลก็ต้องดำเนินคดีเพราะบ้านเมืองต้องมีกฎหมายและยังมีขื่อมีแปอยู่
ผู้สือข่าวถามว่าหากมีการจับกุมแกนนำพันธมิตรฯแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น หรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่าขึ้นอยู่กับผู้ชุมนุม ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าควรยุติการชุมนุม แต่หากไม่เคารพกฎหมาย ยังดื้อดึงชุมนุมต่อก็เป็นเรื่องของกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ว่าจะมีการตั้งแกนนำรุ่น 2 ขึ้นมาทำหน้าที่แทน ถ้าหากมีการกระทำความผิดกฎหมายอีก รัฐบาลก็ต้องดำเนินคดี ไม่ว่าจะแกนนำเก่าหรือใหม่ หากกระทำผิด ก็ต้องจับกุม
"อ๋อย"โผล่สั่งรัฐบาลห้ามลาออก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย คนในระบอบทักษิณ กล่าวว่า การที่กลุ่มพันธมิตรฯออกมาชุมนุม เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับในกฎกติกา เป็นความคิดแบบอนาธิปไตยที่พยายามเคลื่อนไหวทุกวิถีทางเพื่อให้มีการปฎิวัติรัฐประหาร มุ่งล้มรัฐบาลโดยใช้กำลัง อาวุธและความรุนแรงในการดำเนินการเช่น ยึดสถานีโทรทัศน์ ทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการ เป็นการสร้างจินตนาการ ของการปฎิวัติโดยประชาชน แต่มั่นใจว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่สามารถยึดอำนาจ ได้สำเร็จ ถึงแม้จะกดดันโดยใช้กำลังให้รัฐบาลควรลาออกเหมือนสมัยพล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีไม่ได้ อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณผู้นำกองทัพที่ให้ความเชื่อมมั่นว่าจะไม่ให้เกิดการปฎิวัติรัฐประหารดังนั้นองค์กรประชาธิปไตยควรจะมอบดอกไม้ให้กองทัพอีกครั้ง
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า สำหรับทางออกในเรื่องนี้ คือรัฐบาลจะต้องลาออกไม่ได้ ต้องรักษาระบบ ซึ่งที่พูดไม่ได้ต้องการปกป้องรัฐบาลแต่จะชี้แจงว่าต้องรักษาระบบที่ถูกต้องเอาไว้เท่านั้น ถึงแม้ว่ารับาลจะลาออกเรื่องก็จะไม่จบ และทางที่ดี ผู้ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธิมตรฯควรจะหยุดการสนับสนุน ละประชาชนต้องประสานเสียงว่าไม่เห็นด้วยกบการกระทำนอกระบบเช่นนี้ ส่วนรัฐบาลควรต้องอดทน ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงความรุนแรงอย่างสุดความสามารถ ถึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของเหตุการณ์นี้
ป้องรายการ"ความจริงวันนี้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าสาเหตุที่กลุ่มพันธมิตรฯ ไปบุก NBT เพราะรัฐบาล ให้คนของตัวเองไปจัดรายการ "ข้อเท็จจริงวันนี้" โจมตีผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลฝ่ายเดียว นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รายการ "ความจริงวันนี้" ที่เกิดขึ้น จนทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่พอใจ ก็ต้องว่ากันตามกฎหมาย แต่ไม่ใช่ส่งคนเข้าไปยึดสถานี ซึ่งมองว่ากลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะเพียงโยงรายการดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง แต่ความจริงต้องการใช้ จินตนาการปฎิวัติโดยประชาชน และสื่อก็ไม่ควรยอมรับพฤติกรรมดังกล่างรวมทั้งการใช้กำลังอาวุธเข้ายึดอำนาจรัฐ
ในฐานะที่เคยทำงานในรัฐบาลมาก่อน ประเมินสถานการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯจากนี้ และมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร นายจาตุรนต์กล่าวว่า ขณะนี้คิดว่า รัฐบาลคงไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงและต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างถึงที่สุด โยต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาซักระยะหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาโดยสันติ ให้ความมั่นใจของระชาชนที่มีต่อพันธมิตรลดน้อยลงก้จะทำให้การชุมนุมของพันธมิตรฝ่อกันไปเอง และเชื่อว่านายกฯจะไม่ยุบสภาฯเพื่อแก้ปัญหา แค่คงมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นแน่นอน เช่น การยุบพรรค
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (27 ส.ค.) พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย ในฐานะผู้ได้รับมอบหมายจากนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมให้ดูแลการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้เรียกประชุมนายตำรวจ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเตรียมการขอหมายจับ 5 แกนนำพันธมิตรฯ และผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งคาดว่าจะออกหมายจับได้ช่วงบ่ายวันนี้(27 ส.ค.)
พล.ต.อ.โกวิท แถลงหลังการประชุมประเมินสถานการณ์การชุมนุม ของกลุ่มพันธมิตรฯว่า การบุกรุกเข้าไปในสถานที่ราชการสำคัญต่างๆรวมทั้งทำเนียบรัฐบาล เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อกฎหมายและเป็นความผิดทางอาญาที่ตำรวจ ยอมไม่ได้ในฐานะที่เป็นผู้รักษากฎหมายบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำผิดกฎหมายมาอย่างต่อเนื่องตลอด 2 วันที่ผ่านมา กรณีเข้าไปยึดทำเนียบรัฐบาลจนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการเคลื่อนย้ายออก แต่อย่างใด สร้างความเสื่อมเสียเสียหายต่อภาพลักษณ์ประเทศเป็นความผิด ทางอาญาชัดเจน ทั้งที่ตำรวจได้ชี้แจงทำความเข้าใจร้องขอแล้วหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล จึงจำเป็นต้อง ดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบสุขต่อบ้านเมือง อยากขอร้องให้ผู้ชุมนุม ออกมาจากบริเวณทำเนียบฯโดยเร็ว ไปชุมนุมบริเวณอื่น ตามสิทธิที่สามารถทำได้ตำรวจไม่ขัดข้องแต่อย่างใด เนื่องจากวันที่ 30 ส.ค.นี้จะมีพระราชพีสำคัญงานพระราชทาน ธงสัญลักษณ์จากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วันสร้างสามัคคี ซึ่งมีความจำเป็นต้องปรับปรุงพื้นที่เพื่อเตรียมงาน
"ผมในนามของเพื่อนข้าราชการตำรวจ อยากขอร้องท่านให้ออกจากทำเนียบฯ ตั้งแต่บัดนี้เวลานี้เป็นต้นไป ผมไม่อยากยื่นคำขาด แต่อยากใช้คำว่าขอร้องแทน ผมจำเป็นต้องรักษากฎหมายบ้านเมือง วันนี้เรื่มต้นจากการนับหนึ่งก่อน ส่วนการดำเนินการขั้นตอ่ไปนั้นจะแจ้งให้ทราบผ่านทางทีมงานโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นระยะ"
"โกวิท"สั่งผู้ว่าฯสกัดคนมาร่วมพันธมิตรฯ
วันเดียวกัน พล.ต.อ.โกวิท ได้เดินทางไปยังกระทรวงมหาดไทย พร้อมเรียกประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดแบบเร่งด่วนผ่าน ระบบวีดีโอคอนเฟอเรนท์ หลังเครือข่ายพันธมิตรฯ เคลื่อนไหวปิดกั้นการจราจรตามภูมิภาคต่างๆ
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวกับผู้ว่าราชการจังหวัดว่า ขณะนี้กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมกันอยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลประมาณ 8,000 คน ในเช้านี้ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯ โดยก่อนหน้านี้ได้เริ่มเคลื่อนไหวมาหลายวันแล้วในการละเมิดกฎหมาย ซึ่งหลายจังหวัดทราบดีที่มีการปิดถนนเส้นทางคมนาคมที่สำคัญโดยเฉพาะในจ.นครราชสีมา จ.ชุมพร จ.พิจิตร และอีกหลายจังหวัด
"อยากให้ผู้ว่าฯช่วยกันดูแลเพราะขณะนี้มีการชักชวนและใช้วิธีหลายอย่างเพื่อชักจูงประชาชนในต่างจังหวัดให้เข้ามาร่วมชุมนุมในกรุงเทพฯ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับบ้านเมือง ทำให้ภาพพจน์ประเทศเสียหาย โดยเฉพาะที่ทำเนียบฯซึ่งเป็นที่ทำงานของนายกรัฐมนตรี และ ครม."
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวต่อว่า รัฐบาลจะจัดงาน เฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อสร้างความสามัคคีทั่วประเทศ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วย พระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายา มาพระราชทานธงสัญลักษณ์โครงการจากวันแม่ถึงวันพ่อ 116 วัน สร้างความสามัคคี ในวันเสาร์ที่ 30 ส.ค.เวลา 15.00น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลต้องดำเนินการเตรียมเรื่องสถานที่ไม่ว่าจะเป็นการกางเต้นตั้งปะรำพิธี ตกแต่งต่างๆ ซึ่งน่าจะเริ่มต้นตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมาแล้ว จึงขอความร่วมมือกลุ่มผู้ชุมนุมทั้งหลาย เพื่อร่วมกันถวายความจงรักภักดีตามที่รัฐบาลได้ชี้แจงมาตั้งแต่วันที่ 5 ส.ค.ที่ผ่านมา และมีการดำเนินการมาเป็นระยะ
"ผมในฐานที่ได้รับผิดชอบดำเนินการแก้ไขปัญหาก็ใคร่เรียนไปยังผู้ว่าร พี่น้องประชาชนไปทั่วประเทศ ใครทีมีญาติพี่น้องที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดหรือ อยู่ในกรุงเทพ กรุณาไตร่ตรองว่าสิ่งที่ท่านทำอยู่นี้ได้ทำให้เกิดความเสียหาย ต่อบ้านเมืองและรัฐบาล ซึ่งจะจัดงานพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสนี้ ผู้ว่าฯได้รับทราบทั่วกันแล้ว ที่จะมารับพระราชทานธงพร้อมทั้งผู้นำองค์กรส่วนท้องถิ่น นายก อบต. , อบจ. นายกเทศมนตรี ผู้นำทั้งหลายที่จะมาร่วมในพิธีที่เป็นมงคลนี้ โดยการแต่งกายชุดขาว ผู้ว่าฯมารับธงไปเพื่อเดินวิ่งเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดของตัวเอง จะมีก็แต่ส่วนกลางที่ยังมีปัญหาอยู่ วันนี้ก็จะดำเนินการชี้แจงทำความเข้าใจ ให้ถึงที่สุด ผมก็จะพยายามที่จะขอร้องพูดจา โดยให้ทางเจ้าหน้าตำรวจและโฆษกทำความเข้าใจ"
เจรจาก่อนใช้มาตรการกฎหมาย
พล.ต.อ.โกวิท กล่าวว่าขอเรียนย้ำว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการจัดงานพระราชพิธีจึงใคร่ขอร้องผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้กลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาของตน รัฐบาลร่วมกับประชาชนได้ถวายความจงรักภักดีต่อพระองค์ท่านให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยสมพระเกียรติ อย่าต้องให้มีข้อสดุดหรือข้อขัดข้อง เพราะว่านี้เป็นเรื่องสำคัญ ส่วนพื้นที่ที่เกิดปัญหาขึ้น 3-4 จังหวัด ต้องขอบคุณ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้กำกับการจังหวัดที่ร่วมมือกันช่วยเหลือแก้ไขปัญหาไปตามลำดับ
"ในนามของผู้รับผิดชอบแกไขปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (26 ส.ค.) ก็จะใช้ความเมตตา สมานฉันท์ เข้าไปพูดจาจนถึงที่สุด หากยังไม่ได้รับความร่วมมือ ก็ขอเรียนว่าต้องใช้มาตรการทางกฎหมายที่จะดำเนินการตามขั้นตอนตามลำดับ เพราะว่าเรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทำเนียบรัฐบาลเป็นพื้นที่ประกอบพิธี อย่างที่ตนได้เรียนผู้ว่าต้องมีการช่วยเหลือกันให้งานนี้สำเร็จลุลวงไปให้ได้"
ให้ผู้ว่าฯรับมือหากสลายพันธมิตรฯ
นายพงศ์โพยม วาศปุติ ปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ฝากไปถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดให้เตรียมแผนรับมือหากมีการสลายการชุมนุมที่ กทม. อาจทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดมาแก้แค้นด้วยการปิดล้อมสถานที่ราชการสำคัญๆ ในจังหวัด ดังนั้น อยากให้ผู้ว่าช่วยดูแลป้องกันในสถานที่ราชการต่างๆ โดยเฉพาะศาลาว่าการจังหวัดด้วย เพราะหากมีการปิดล้อมจริงก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ นอกจากนี้ อย่าให้เกิดเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่มต่อต้าน ขอให้ผู้ว่าฯ และผู้ที่เกี่ยวข้องใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะไม่ให้เกิดการปะทะจนถึงขั้นใช้ความรุนแรง
"ชลิต"แนะใช้ทศพิธราชธรรม
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. กล่าวว่าไม่ขอวิจารณ์การที่กลุ่มพันธมิตรฯเข้ายึดทำเนียบฯ แต่คิดว่าประเทศไทยไม่เคยถึงจุดที่ไม่มีแนวทางแก้ไข ประเทศไทยไม่เคยอับจน ทุกสิ่งทุกอย่างจะแก้ไขได้ด้วยคนไทย ทุกคนต้องกลับมาคิดกันทุกฝ่ายว่าเราควรจะแก้ไขอย่างไร ควรจะถอยอย่างไร คงไม่มีใครที่จะเดินหน้าได้ตลอด ต้องมีการถอยบ้าง และคิดว่าควรจะถอยกันคนละก้าว
"เราต้องสดับตรับฟังในสิ่งที่เกิดขึ้น เหมือนเราอยู่ในครอบครัวที่สามี ภรรยาทะเลาะกัน ที่ต้องถึงจุดนิ่งอยู่ชั่วสักระยะหนึ่งจึงจะหยุดได้ ไม่เช่นนั้นจะทะเลาะจนถึงขั้นหย่าร้าง คิดว่าต้องหยุดทบทวน ทางฝ่ายพันธมิตรฯ ต้องนึกคิด เพราะเรื่องกฎหมาย เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องคำนึงถึงและต้องเคารพกฎหมาย ผมเห็นว่า ต้องหยุดคิดกันหน่อย ส่วนแนวทางแก้ไขปัญหา ยังไม่แน่ใจว่าเป็นอย่างไร เพราะยังมึนงงอยู่"
ผู้สื่อข่าวถามว่ารัฐบาลยังมีความชอบธรรมในการบริหารประเทศต่อไปหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คนที่ทำหน้าที่อาสาเข้ามาบริหารบ้านเมืองต้องพยายามแก้ไขปัญหาให้เหลือน้อยที่สุด
"หากจะพูดถึงในสมัยโบราณพระมหากษัตริย์ทรงมี ทศพิธราชธรรม สิ่งต่างๆ ที่อยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นสิ่งที่แม้แต่ผู้บังคับบัญชาระดับเล็ก ถ้าใช้แนวทางตรงจุดนั้นจะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเชื่อฟัง ปฏิบัติการรบและทำให้หน่วยของเขา สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนหน่วยที่ใหญ่ขึ้น จนถึงระดับรัฐบาลและระดับประเทศ ผู้นำประเทศต้องใช้ตรงนั้นด้วย เพราะข้อความในทศพิธราชธรรมเป็นข้อความที่ให้ ผู้บริหารทำในสิ่งที่ดีๆ ต่อผู้ที่ถูกบริหาร"
ระบุการปฏิวัติไม่ใช่วิถีทางที่ดีที่สุด
ส่วนกองทัพมีจุดยืนอย่างไรหากรัฐบาลได้สั่งการให้กองทัพใช้กำลังเข้าดำเนินการ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกัน และคิดว่ารัฐบาลหรือผู้ที่รับผิดชอบใดๆ คงจะไม่ทำร้ายประชาชน เมื่อถามว่า ถึงเวลาหรือยังที่จะมีการปฏิวัติรัฐประหาร พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คงไม่ใช่เวลาที่จะปฏิวัติ การปฏิวัติไม่ใช่วิถีทาง ที่ดีที่สุดในการจะทำ เพราะว่าเสียหายกับความรู้สึกนึกคิดของชาวต่างชาติและคนในชาติ จะเกิดข้อคิดหรือความรู้สึกนึกคิดที่ไม่ดี เมื่อถามว่า จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.บ.สถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ต้องถามผู้บริหาร
ผู้สื่อข่าวถามว่าสองฝ่ายต่างไม่ยอมแพ้ ทหารจะเป็นตัวกลางในการยุติความขัดแย้ง พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า คนเป็นตัวกลาง ต้องเป็นที่ยอมรับ จึงจะไปเป็นตัวกลางที่จะไปเจรจาได้ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมรับ ก็เจรจาไม่ได้ ทั้งนี้ ยังไม่ทราบว่าถึงเวลาหรือยังที่รัฐบาล และ กลุ่มพันธมิตรฯ จะเจรจากันหรือไม่ แต่ทั้งสองฝ่ายต้องยินยอมพร้อมใจกัน ที่สำคัญคือประชาชน
ทัพฟ้าเลือกอยู่ข้างประชาชน
ต่อข้อถามว่าจุดยืนของทหารจะเลือกอยู่ฝ่ายรัฐบาลหรือประชาชน พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ประชาชน คือชาติ เพราะอยู่มาหลายร้อยปีแล้ว ก็ต้องอยู่ต่อไป รัฐบาลผลัดกันมาวาระละ 4 ปี หรือน้อยกว่านั้น เราต้องรักษาผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด" ผู้สื่อข่าวถามว่า พันธมิตรฯ ก็ถือเป็นประชาชนใช่หรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า ก็เป็นส่วนหนึ่ง
ผู้สื่อข่าวถามว่าถึงเวลาที่ ผบ.เหล่าทัพจะไปบอกนายกฯ ให้พิจารณาตัวเองเพราะปล่อยไปบ้านเมืองอาจจะย่ำแย่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า "ไม่รู้ ตอนนี้สงสัยยังไม่ถึง" สำหรับแนวคิดเรื่องตั้งรัฐบาลแห่งชาตินั้น ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับข้อกฎหมายตรงนี้ ตอนนี้เรามีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกรอบอยู่ เมื่อถามว่า เท่าที่ประเมินสถานการณ์จะไปถึงขั้นนองเลือดหรือไม่ พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวานน่าจะเป็นการสอนให้ทุกฝ่ายว่าไม่ควรจะให้เกิดความรุนแรง มากกว่านั้นแล้ว อยากให้คนไทยต้องหันกลับมาศึกษา และใช้ประวัติศาสตร์พิจารณา ทุกอย่างจะหมุนเป็นวงเวียน เมื่อเกิดแล้วจะบรรจบมาเกิดกันอีกครั้ง จะได้นำมาศึกษา และแก้ไขในหลายๆ เรื่องได้ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้น
นักวิชาการสงสัยจัดฉากบุก NBT
ผศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อาจารย์ประจำคณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) กล่าวว่า เข้าใจว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯชุมนุมประท้วงและบุกยึดสถานที่ราชการสำคัญหลายแห่งเป็นเจตนารมณ์เพื่อที่จะสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลรู้ว่าขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ และการที่กลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึด NBT นั้นสะท้อนให้เห็นว่า NBT เป็นสถานีที่รับใช้รัฐบาล เป็นกลไกของรัฐบาล ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการปิดกั้นข้อเท็จจริงของสังคม บิดเบือนข้อเท็จจริง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวก็ไม่แตกต่างจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลา 16 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
ผศ.ดร.พิชาย กล่าวว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าเหตุการณ์ที่ NBT นั้นเหตุใดกลุ่มพันธมิตรฯ พาคนบุกไปน้อยมาก บุคคลที่นำไปก็ไม่ค่อยมีประสบการณ์ในการควบคุม มวลชน ทั้งที่รู้ว่าสถานการณ์ดังกล่าวนั้นเป็นสถานที่เสี่ยง ล่อแหลม และทำไมการที่นักรบศรีวิชัยเข้าไปบุกนั้นตำรวจมีน้อยมาก ปล่อยให้รื้อค้นได้อย่าง่ายดาย พอถึงเวลาจับกุมก็ง่ายดาย ซึ่งตามปกติวิสัยของกลุ่มแกนนำแล้วจะเป็นหน่วยเคลื่อนที่ไว มองอีกครั้งเหมือนการจัดฉาก หรือ จงใจบุกแต่อาจจะมีการแหวกกฎที่ตกลงกัน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวแน่นอนกระทบต่อความน่าเชื่อถือของกลุ่มพันธมิตรฯ แต่จะกระทบต่อผู้ที่มีใจให้กับพันธมิตรฯ ไม่มากนัก
จับแกนนำพันธมิตรฯเกิดจลาจลแน่
"ประเด็นการออกหมายจับ 5 แกนนำหลัก ซึ่งถ้าหากรัฐบาลไม่ให้ประกันตัวออกไปนั้น ผมเชื่อแน่ว่าจะเกิดเหตุจลาจลขึ้น เพราะว่าไม่มีผู้นำกลุ่มฝูงชน ถึงแม้ว่า กลุ่มพันธมิตรฯจะประกาศแกนนำรุ่นที่ 2 แล้วและเขาก็ได้ปรากฏบนเวทีพันธมิตรO หลายครั้งแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีบารมีไม่ถึง เพราะคนที่คุมม็อบ มีพลังในการจัดการ ควบคุมอย่างสันตินั้นคือ คุณสนธิ ล้อมทองกุล และ คุณจำลอง ศรีเมือง ดังนั้นจะทำให้คนเกิดความคิดหลากหลาย หลงทาง ควบคุมไม่ได้อย่างแน่นอน"
ผศ.ดร.พิชาย กล่าวอีกว่า ดูจากท่าทีของรัฐบาลและกลุ่มพันธมมิตรฯแล้ว แนวโน้มสถานการณ์ยังยืดเยื้อ ไม่มีทางที่จะสงบลงง่ายๆ ยังมีความวุ่นวายไม่เลือก เพราะขณะนี้เองรัฐบาลมีเพียง 2 ทางเลือก คือการไม่ลาออก ปล่อยให้ประชาชนชุมนุมกันไป แต่วิธีนี้รัฐบาลอาจจะเสียหน้าเพราะไม่มีสถานที่ทำงาน ตระเวนประชุมในสถาน ที่ต่างๆ หรือ วิธีการสลายม็อบ แต่วิธีนี้ทำได้ยากและเสียความชอบธรรมอย่างมาก เพราะเกิดเหตุการณ์นองเลือดไม่มีใครรับได้
แนะรัฐบาลลาออกแก้วิกฤตการเมือง
ดังนั้นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับรัฐบาลในขณะนี้และจะเป็นคุณูปการให้กับประเทศชาติอย่างมหาศาลก็คือการลาออก หลังจากนั้นอาจจะมีรัฐบาลเฉพาะกาล และจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชนขึ้นมาใหม่ กลับเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยต่อไป
"แน่นอนว่าสถานการณ์ตอนนี้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางด้านการปกครอง อำนาจการบริหารประเทศของรัฐบาลเสื่อมถอย ขาดความชอบธรรม การเงิน การลงทุนก็อาจได้ เป็นเรื่องธรรมดา แต่เป็นเพียงผลกระทบในระยะสั้นๆเท่านั้น ในระยะยาวอาจสร้างความสมดุล และความแข็งแกร่งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจได้ดี ดูการประท้วงอย่างรุนแรงในประเทศเกาหลีใต้ได้ ขณะนี้มีการเมือง และระบบเศรษฐกิจที่ดีมาก"
"อ.ณรงค์"เชื่อที่สุดประชาชนชนะ
รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวในทางเศรษฐศาสตร์การเมือง เรียกว่าผลผลิตจากความขัดแย้งหลัก เป็นเรื่องของโครงสร้างอำนาจของคนสองกลุ่ม คือ กลุ่มคนที่ทำร้ายประเทศ และ อีกกลุ่มหนึ่งคือพยายามขจัดคนที่ทำร้ายประเทศออกไป แนวโน้มเป็นอย่างไรนั้นคาดเดาลำบากแต่ถ้าหากต่างฝ่ายต่างหยิบยกประเด็นที่ตัวเองได้เปรียบเข้ามาจัดการ ซึ่งหากรัฐบาลทำอย่างนั้นอาจจะเกิดเหตุการณ์ ความรุนแรงได้ เพราะเป็นผู้กุมอำนาจทั้งหมดแต่เรื่องนี้ไม่มีใครอยากให้เกิดแน่นอน
อย่างไรก็ตามวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวคิดว่าถ้าพูดคุยกันไม่ได้แล้ว ก็ต้องเคารพในการทำหน้าที่ของศาลสถิตยุติธรรม แต่ไม่อยากให้นำเรื่อง การบุกยึดทำเนียบ บุกยึดสถานที่ราชการมากลบเกลื่อนประเด็นการดำเนินคดี ของศาลที่จะตัดสินดคีต่างๆ ของอดีตนายกรัฐมนตรีภายในเดือน ก.ย.นี้ เพราะจะเป็นการผ่านที่สำคัญของระบบการปกครองของไทย
"ไม่รู้เหมือนกันว่าจะจบลงอย่างไร แต่โดยเซ้นทั่วไปแล้ว วัฒนธรรมการเมืองไทย ถูกครอบงำในขั้ว 2 อำนาจคือระบอบอำมาตยาธิปไตย และอำนาจทุน ซึ่งระยะหลังอำนาจทุนเดินเร็วเกินไป ทำให้ทุนสามานย์ครอบงำระบบการปกครองไทย ทำให้ชนชั้นกลางลุกขึ้นมาต่อสู้ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเราต้องก้าวผ่านจุดนี้ให้ได้ จุดจบลงด้วยดีเสมอ ถ้าไม่เกิดการนองเลือดเสียก่อน หากเกิดการนองเลือกก่อนก็ไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น แต่ผลสรุปทุกครั้งชนชั้นกลางจะเป็นผู้ชนะ"
จบอย่างไรอยู่ที่การใช้กลยุทธ์ของรัฐบาล
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงษธร คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการเข้าไปยึดหน่วยงานราชการต่างๆเพราะนี่คือสมบัติของประเทศ งานราชการก็เป็นงานที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้เอง กลุ่มพันธมิตรฯก้าวพลาด เสียเปรียบ ภาพติดลบอย่างมาก ในสายตามของคนทั่วไป เป็นการพลาดครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการชุมนุมมากว่า 90 วัน ซึ่งถ้ามองเป็นเกม เกมนี้อาจจะจบลงได้ ดังนั้นอยู่ที่รัฐบาลจะใช้กลยุทธ์อย่างไร ในการจัดการ ซึ่งหากใช้กลยุทธ์ผิดก็จะกลายเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กลุ่มพันธมิตรฯอีกครั้งหนึ่งได้ ส่วนพันธมิตรฯหากยังยืนหยัดต่อสู้ก็ต้องจัดกระบวนท่าใหม่สร้างความศรัทธากลับมาให้ได้
"นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงตามครรลองของประชาธิปไตย ก็ขอให้ทุกฝ่าย ใช้ความอดทน ใช้เหตุผล อย่าให้เกิดการปฏิบัติรัฐประหาร เกิดการนองเลือด อาจจะมีความลำบากบ้าง เหนื่อยล้า แต่เชื่อว่าจะผ่านไปได้ด้วยดี เพราะเรามีประสบการณ์แล้ว ในเหตุการณ์ 16 ตุลา ,19 ตุลา ที่สำคัญทุกฝ่ายต้องช่วยกันในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนชั้นกลางในเมืองและชนชั้นกลางในชนบทให้หมดไปจากสังคมไทย ไม่เช่นนั้นปัญหาความขัดแย้งรุนแรงไม่มีทางที่จะหมดไปในสังคมไทยได้"
ร้องไต่สวนฉุกเฉินพลักดันพันธมิตรฯ
นายศุภชัย ใจสมุทร โฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ทางสำนักเลขาธิการ นายกรัฐมนตรีจะไปยื่นศาลแพ่งร้องไต่สวนฉุกเฉินให้พันธมิตรฯ เลิกการชุมนุมเพราะจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อให้กลุ่มพันธมิตรฯ ออกจากทำเนียบรัฐบาล หลีกเลี่ยงการปะทะที่รุนแรง
นายณัฐวุฒิ ใสเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า รัฐบาลจะดำเนินมาตรการหลายด้านพร้อมกันรวมทั้งจัดกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อรับสถานการณ์ทุกรูปแบบ ไม่ว่า การผลักดันให้กลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบฯ ส่วนมาตราการทางกฎหมายให้กลุ่มผู้ชุมนุมพ้นจากทำเนียบฯนั้น โดยให้ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ ขณะเดียวกันเวลา 13.00น. มอบหมายให้ นายลอยเลื่อน บุนนาค รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วย ฝ่ายกฎหมาย เข้ายื่นฟ้องร้องต่อศาลแพ่งในกรณีเทียบเคียงกับโรงเรียนราชวินิต มัธยม ให้กลุ่มพันธมิตรยุติการชุมนุมรื้อถอนเวทีออกจากทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้ข้าราชการทำงานได้
นายณัฐวุฒิ กล่าวด้วยว่า รัฐบาลประเมินเห็นว่า กลุ่มพันธมิตรฯกระทำการเกิน กว่าเหตุ ตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. เชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็น อย่างดี และยังมีบางส่วนกลับท้วงติงรัฐบาลว่า ดำเนินการล่าช้า ปล่อยให้กลุ่มผู้ชุมนุม เข้ายึดทำเนียบฯ ฉะนั้นจึงให้ประชาชนเชื่อมั่นว่ารัฐบาลไม่วางเฉยอย่างแน่นอน
ส่วนการที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่สามารถนำกลุ่มผู้ชุมนุมออกจากทำเนียบรัฐบาลตามเส้นตายที่กำหนดไว้เมื่อ 18.00น. วานนี้นั้น เนื่องจากติดขัดปัญหาเดิมๆ ของกลุ่พันธมิตรฯ ที่แกนนำปฏิเสธการเจรจาทุกกรณี วันนี้ข้อเรียกร้องต่างๆของกลุ่มพันธมิตรฯเป็นสิ่งที่รัฐบาลไม่สามารถตอบสนองได้ ซึ่งเราจะดำเนินการทางกฎหมาย คนที่ทำผิดจะได้รับโทษตามกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น คาดว่าทุกอย่างจะเสร็จสิ้น ภายในวันนี้ หลังจาก พล.ต.อ.โกวิท ได้ยื่นยันว่าจะดำเนินการตามกฎหมาย อย่างเด็ดขาดให้เรียบร้อยภายใน 24 ชั่วโมง
อ้างมีทหารร่วมเคลื่อนไหวกับพันธมิตรฯ
สำหรับขั้นตอนการสลายการชุมนุมนั้น ต้องรอกระบวนการจากชั้นศาล รายละเอียดจะเป็นอย่างไรต้องรอฟังจาก พล.ต.อ.โกวิท ก่อนถ้าหากศาลมีคำสั่งให้รื้อเวทีก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะปฏิบัติตาม ซึ่งถ้าหากไม่ได้รับความร่วมมือตามคำสั่งศาล คงต้องมีมาตรการอย่างเด็ดขาดแน่นอน
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่า มีรายงานข่าวว่ามีทหารบางคนเคลื่อนไหวพร้อมกับกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งรายงานข่าวก็เป็นจริงมาแล้วหลายครั้งก็ต้องติดตามกันต่อไปถ้าหาก เป็นจริง นายทหารเหล่านั้นก็ต้องถูกดำเนินคดีในข้อหาเดียวกับแกนนำ คือ กบฎ
"พัลลภ"ปัดอยู่เบื้องหลังการชุมนุม
พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี อดีตรองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) แสดงความประหลาดใจหลังจากนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ ออกมาระบุว่าตนเองอยู่เบื้องหลังการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยยืนยันว่าไม่เกี่ยวข้อง เพราะหากอยู่เบื้องหลังคงไม่ชุมนุมยืดเยื้อมาร่วม 3 เดือน อย่างแน่นอน เนื่องจากไม่มีความอดทนขนาดนั้น ซึ่งตั้งแต่กลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนถึงปัจจุบัน ก็ไม่เคยไปร่วมชุมนุมด้วยแม้แต่ครั้งเดียว
"ยอมรับว่า เป็นเพื่อนสนิทกับ พล.ต.จำลอง แต่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องแนวทางการต่อสู้ ซึ่ง พล.ต.จำลอง จะเน้นในเรื่องสันติวิธี และอหิงสา ในการต่อสู้ ที่ต้องใช้เวลาและความอดทน ส่วนผมมีความอดทนน้อยกว่า และคิดว่า ทั้ง พล.ต.จำลอง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล ไม่ต้องไปปรึกษาใคร ในเรื่องการต่อสู้ทางการเมือง และ พล.ต.จำลองก็ไม่เคยมาปรึกษาด้วย"
สกิด"พัชรวาท"อย่ารับใช้การเมือง
พล.อ.พัลลภ ยังกล่าวเตือน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ให้ระมัดระวังอย่ารับใช้การเมือง ในการตั้งข้อหากบฏกับแกนนำพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นข้อหาเดียวกับที่ตนเคยได้รับเมื่อครั้งร่วมยึดอำนาจในเหตุการณ์ เมษาฮาวาย ระหว่างวันที่ 1-3 เมษายน พ.ศ.2524 โดยกล่าวว่า การตั้งข้อหากบฏเป็นข้อหาที่รุนแรงมาก ซึ่งหมายถึงการใช้กำลังยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาล แต่สิ่งที่พันธมิตรฯ ทำตลอด ช่วงที่ผ่านมา คือกดดันให้รัฐบาลลาออก ด้วยการชุมนุมกดดันทางการเมืองอย่างสันติวิธี ไม่ใช้ความรุนแรง และเกรงว่าหากมีการจับกุมด้วยข้อนี้ เชื่อว่าจะทำให้เหตุการณ์บานปลายออกไป
พล.อ.พัลลภ ยังกล่าวถึงนายสมัคร สุนททรเวช นายกรัฐมนตรีด้วยว่า ไม่ควร แอบอ้างเบื้องสูง หรือพูดจาที่ทำให้สังคมเข้าใจผิด เพราะสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ไม่มีความรุนแรงอะไร และไม่เชื่อว่า หากมีการประกาศภาวะฉุกเฉิน จะช่วยคลี่คลาย สถานการณ์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุการณ์พฤษภาคมปี 2535 ว่า สถานการณ์ รุนแรงจนกลายเป็นจุดจบของรัฐบาล พล.อ.สุจินดา คราประยูร หลังประกาศภาวะฉุกเฉิน ยื่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง
"เตช"แจงทั่วโลกม็อบเป็นปชต.
นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ส่งโทรสารไปยังสถานทูตและสถานกงสุลในต่างประเทศ เพื่อช่วยชี้แจงข้อเท็จจริงต่อนานาชาติถึงสถานการณ์การเมืองในประเทศให้เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเติบโตทางประชาธิปไตยของไทย
"เติ้ง"โวยพันธมิตรฯไม่อหิงสาจริง
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ว่า จากที่ฟังพล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ผ่านสถานีโทรทัศน์ ASTV ก็เห็นบอกว่าจะเคลื่อนไหวแบบสงบและอหิงสา แต่พอเกิดเหตุการณ์ขึ้น ก็พบว่า สิ่งที่ พล.ต.จำลองพูดนั้นกลับตาลปัตรไปหมด มีการบุกสถานที่ราชการ ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ควร นอกจากนี้ สิ่งที่พันธมิตรฯ ต้องระมัดระวังคือเรื่องที่อาจจะมีมือที่ 3 เข้ามาสร้างปัญหาได้
นายบรรหารกล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับแนวทางแก้ไขปัญหาของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ที่นิ่งเฉย เพราะถ้ารัฐบาลสลายการชุมนุมโดยใช้ความรุนแรง ก็จะเกิดปัญหามากขึ้น ขณะนี้ประเทศแย่อยู่แล้ว เพราะที่ผ่านมาทุกฝ่ายไม่ฟังรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
"ทางออกของเรื่องนี้ คงต้องไปถามรัฐบาล ส่วนที่มีการเสนอให้รัฐบาลและพันธมิตรฯ หันหน้าเข้าหากัน ก็น่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าคงเป็นไปไม่ได้ มีแต่จะหันหน้าตีกันมากกว่า"
"สุเทพ"ให้"สมเกียรติ"รับผิดชอบเอง
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่านายสมเกียรติ ไม่ได้เข้าพรรคประชาธิปัตย์มาหลายวันแล้วจึงไม่ได้ติดต่อกัน หากมีหมายจับนายสมเกียรติก็ต้องไปมอบตัวให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม พรรคไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง เราแยกแยะชัดเจนมาตั้งแต่ตนแล้วว่า เดิมนายสมเกียรติอยู่กลุ่มพันธมิตรฯ ตอนนั้นเราก็นึกว่ากลุ่มพันธมิตรฯสลายไปแล้ว เมื่อนายสมเกียรติมาสมัครเข้าพรรคเราก็เห็นว่าเป็นคนมีฝึมือ มีความสามารถ ก็ส่งลงสมัคร ส.ส.แต่พอกลุ่มพันธมิตรฯออกมาเคลื่อนไหวใหม่ นายสมเกรียติ์ ก็ขอออกไปทำงานร่วมกับกลุ่มพันธมิตรญ ซึ่งพรรคก็ได้บอกนายสมเกรียติ์ไปแล้วว่า ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎหมาย ถ้ามีอะไรที่นายสมเกรียติ์ จะต้องถูกดำเนินคดีทาง กฎหมาย พรรคก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม
"พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ลอยแพ แต่ไม่ใช่เรื่องที่พรรคต้องรับผิดชอบ เป็นเรื่องที่นายสมเกรียติ์ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง"
ส่วนที่ศาลออกหมายจับในข้อหาก่อกบฏนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นเรื่องธรรมดาที่เมื่อจะออกหมายจับก็ต้องสรรหาข้อกล่าวหาทุกอย่างใส่เข้าไปเต็มที่ แล้วไปพิสูจน์กันที่ศาล เราต้องเชื่อในกระบวนการยุติธรรมและระบบศาลของเรา
ไม่เชื่อพันธมิตรฯคิดยึออำนาจรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูจากพฤติกรรมของกลุ่มพันธมิตรเข้าข่ายกบฏหรือไม่ นายสุเทพ กล่าวว่า ให้ดูที่เจตนาดีกว่า เพราะเจตนาของประชาชนที่มาชุมนุนกันเพราะชอบใจรัฐบาล และพฤติกรรมของรัฐบาลหลายเรื่อง ดังนั้น เป็นสิทธิของเขา ตนจึงไม่คิดว่ากลุ่มผู้ชุมนุมจะคิดก่อการยึดอำนาจรัฐประหาร ส่วนที่หลายฝ่าย ออกมาวิจารณ์กลุ่มพันธมิตรฯว่าจะออกมาชุมนุม แบบสันติ อหิสา แต่ภาพอออกมากับตรงกันข้ามนั้น พันธมิตรฯ มาชุมนุมเป็นแสนคน อาจจะมีคน 20-40 คน ที่มีไม้กอล์ฟหรือมีอะไรที่เป็นอาวุธ ก้ต้องดำเนินคดีกับคนเหล่านั้นไป แต่จะไปกล่าวโทษคนทั้งหมดคงไม่ได้
"ผมยังคิดว่าภาพรวมกระวบนการของพันธมิตรถือว่าเขาต่อสู้ด้วยสันติวิธี สิ่งที่ผมพูดไม่ได้เข้าข้างพันธมิตร แต่พูดไปตามที่ได้เห็นจริง"
นายสุเทพ กล่าวว่าการที่กลุ่มพันธมิตรฯยึดสถานที่ราชการถือว่าเป็นการต่อ สู้แบบสันติวิธี แต่คนที่พกอาวุธเข้าไปน่าจะถูกดำเนินคดี และตคนที่ไปทำร้ายร่างกาย คนอื่นหรือทำร้ายทรัพย์ของราชการเหล่านี้ ไม่ใช่สันติวิธีแล้ว
ส่วนสถานการณ์การเมืองขณะนี้ควรทีทางออกรูปแบบไหน นายสุเทพ กล่าวว่า ถ้าทุกคนปฏิบัติและยึดถือตามกฎหมาย ในที่สุดก็มีทางออก ตนก็ดีใจที่การชุมนุม เมื่อคืนที่ผ่านมา (26 ส.ค.) ไม่มีการใช้ความรุนแรงไปสลาย จึงทำให้ประชาชนทั่วไปสบายใจไปด้วย เพราะหากเกิดเหตุรุนแรงขึ้น ตนคิดว่าวันนี้ปฏิญาณของประชาชนก็จะมากขึ้น
72องค์กรเรียกร้องอย่าใช้ความรุนแรง
วันเดียวกันเครือข่ายแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักศึกษาและภาคประชาชน 72 องค์กร ออกแถลงการณ์ไม่เอาความรุนแรง หลังหารือกันที่ใต้ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เนื้อหาในแถลงการณ์ระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองนับแต่ช่วงเช้ามืดของวันที่ 26 ส.ค. 2551 เป็นต้นมา มีความล่อแหลม ที่อาจนำไปสู่ ความรุนแรงถึงขั้นบาดเจ็บล้มตายได้ทุกเมื่อ ในนามเครือข่ายแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักศึกษาและภาคประชาชน ไม่เอาความรุนแรงซึ่งประกอบด้วย องค์กรทั้งหมด 72 องค์กร ดังรายนามข้างท้าย
ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายระมัดระวังและยืนหยัดในการไม่ใช้ความรุนแรงแก้ไขปัญหาทุกรูปแบบ ดังนี้
1. ขอให้ทุกฝ่ายงดใช้ความรุนแรง และพฤติกรรมที่อาจเป็นเหตุให้เกิด ความรุนแรงทุกรูปแบบในการแก้ไขปัญหาการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ รัฐบาลต้องไม่ใช้กำลังในการสลายการชุมนุม และฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยต้องใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุม โดยอยู่ในขอบเขตตามรัฐธรรมนูญ
2. ขอให้ทุกฝ่ายอำนวยความสะดวกให้แก่หน่วยแพทย์และพยาบาลในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีที่เกิดเหตุใดๆ ที่มีความจำเป็น
พปช.สะใจหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ
ร.ท. กุเทพ ใสกระจ่าง โฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าการที่ศาลออกหมายจับแกนนำพันธมิตรฯ 9 คน ถือเป็นการดำเนินการตามกฎหมายอย่างละม่อม โดยไม่ได้ใช้ความรุนแรงมาจัดการ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว เพราะตลอดที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้ความอดทน อดกลั้นมาตลอด ดังนั้นเมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้น รัฐบาลก็ต้องดำเนินคดีเพราะบ้านเมืองต้องมีกฎหมายและยังมีขื่อมีแปอยู่
ผู้สือข่าวถามว่าหากมีการจับกุมแกนนำพันธมิตรฯแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น หรือไม่ ร.ท.กุเทพ กล่าวว่าขึ้นอยู่กับผู้ชุมนุม ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าควรยุติการชุมนุม แต่หากไม่เคารพกฎหมาย ยังดื้อดึงชุมนุมต่อก็เป็นเรื่องของกลุ่มพันธมิตรฯ แม้ว่าจะมีการตั้งแกนนำรุ่น 2 ขึ้นมาทำหน้าที่แทน ถ้าหากมีการกระทำความผิดกฎหมายอีก รัฐบาลก็ต้องดำเนินคดี ไม่ว่าจะแกนนำเก่าหรือใหม่ หากกระทำผิด ก็ต้องจับกุม
"อ๋อย"โผล่สั่งรัฐบาลห้ามลาออก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย คนในระบอบทักษิณ กล่าวว่า การที่กลุ่มพันธมิตรฯออกมาชุมนุม เป็นกลุ่มที่ไม่ยอมรับในกฎกติกา เป็นความคิดแบบอนาธิปไตยที่พยายามเคลื่อนไหวทุกวิถีทางเพื่อให้มีการปฎิวัติรัฐประหาร มุ่งล้มรัฐบาลโดยใช้กำลัง อาวุธและความรุนแรงในการดำเนินการเช่น ยึดสถานีโทรทัศน์ ทำเนียบรัฐบาล และสถานที่ราชการ เป็นการสร้างจินตนาการ ของการปฎิวัติโดยประชาชน แต่มั่นใจว่าการกระทำดังกล่าวจะไม่สามารถยึดอำนาจ ได้สำเร็จ ถึงแม้จะกดดันโดยใช้กำลังให้รัฐบาลควรลาออกเหมือนสมัยพล.อ.สุจินดา คราประยูร อดีตนายกรัฐมนตรีไม่ได้ อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณผู้นำกองทัพที่ให้ความเชื่อมมั่นว่าจะไม่ให้เกิดการปฎิวัติรัฐประหารดังนั้นองค์กรประชาธิปไตยควรจะมอบดอกไม้ให้กองทัพอีกครั้ง
นายจาตุรนต์ กล่าวว่า สำหรับทางออกในเรื่องนี้ คือรัฐบาลจะต้องลาออกไม่ได้ ต้องรักษาระบบ ซึ่งที่พูดไม่ได้ต้องการปกป้องรัฐบาลแต่จะชี้แจงว่าต้องรักษาระบบที่ถูกต้องเอาไว้เท่านั้น ถึงแม้ว่ารับาลจะลาออกเรื่องก็จะไม่จบ และทางที่ดี ผู้ที่ให้การสนับสนุนกลุ่มพันธิมตรฯควรจะหยุดการสนับสนุน ละประชาชนต้องประสานเสียงว่าไม่เห็นด้วยกบการกระทำนอกระบบเช่นนี้ ส่วนรัฐบาลควรต้องอดทน ต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และหลีกเลี่ยงความรุนแรงอย่างสุดความสามารถ ถึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของเหตุการณ์นี้
ป้องรายการ"ความจริงวันนี้"
ผู้สื่อข่าวถามว่าสาเหตุที่กลุ่มพันธมิตรฯ ไปบุก NBT เพราะรัฐบาล ให้คนของตัวเองไปจัดรายการ "ข้อเท็จจริงวันนี้" โจมตีผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐบาลฝ่ายเดียว นายจาตุรนต์ กล่าวว่า รายการ "ความจริงวันนี้" ที่เกิดขึ้น จนทำให้กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่พอใจ ก็ต้องว่ากันตามกฎหมาย แต่ไม่ใช่ส่งคนเข้าไปยึดสถานี ซึ่งมองว่ากลุ่มพันธมิตรฯ น่าจะเพียงโยงรายการดังกล่าวมาเป็นข้ออ้าง แต่ความจริงต้องการใช้ จินตนาการปฎิวัติโดยประชาชน และสื่อก็ไม่ควรยอมรับพฤติกรรมดังกล่างรวมทั้งการใช้กำลังอาวุธเข้ายึดอำนาจรัฐ
ในฐานะที่เคยทำงานในรัฐบาลมาก่อน ประเมินสถานการณ์ของกลุ่มพันธมิตรฯจากนี้ และมองว่าสถานการณ์ดังกล่าวรัฐบาลจะแก้ปัญหาอย่างไร นายจาตุรนต์กล่าวว่า ขณะนี้คิดว่า รัฐบาลคงไม่มีแนวโน้มที่จะใช้ความรุนแรงและต้องหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างถึงที่สุด โยต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาซักระยะหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาโดยสันติ ให้ความมั่นใจของระชาชนที่มีต่อพันธมิตรลดน้อยลงก้จะทำให้การชุมนุมของพันธมิตรฝ่อกันไปเอง และเชื่อว่านายกฯจะไม่ยุบสภาฯเพื่อแก้ปัญหา แค่คงมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นแน่นอน เช่น การยุบพรรค