ผู้จัดการรายวัน - กองทุนรวมวูบเฉียด 6 หมื่นล้านจากเดือนก.ค. หลังแบงก์ใหญ่ออกเคมเปญดอกเบี้ยสูง ดึงเงินฝากขนานหนัก ฉุดภาพรวมตั้งแต่ต้นปี อุตสาหกรรมติดลบไปแล้ว 1.68% เผย "บัวหลวง-กสิกรไทย" อ่วม เงินลงทุนลดลงค่ายละกว่า 1.7 หมื่นล้าน ส่วน 2 บลจ.เครือแบงก์ทหารไทย ยังโกยเงินเข้าพอร์ตเพิ่ม ชี้สาเหตุส่วนหนึ่ง เพราะดัชนีหุ้นผันผวน กดเอ็นเอวีกองทุนหุ้นหาย ชี้ธปท.ขึ้นอาร์/พี 0.25% เปิดทางแบงก์ขึ้นดอกเบี้ยต่อ
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 ว่า ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,402,622.28 ล้านบาท โดยคิดเป็นเงินลงทุนที่ลดลงถึง 58,264.47 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,460,886.75 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (25 ก.ค. 51) ซึ่งหากย้อนหลังกลับไปตั้งแต่ต้นปี ที่กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมประมาณ 1,426,626.92 ล้านบาท พบว่า กองทุนรวมปรับลดลงไปถึง 24,004.64 ล้านบาท โดนคิดเป็นลัดส่วนการลดลงถึง 1.68%
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละรายพบว่า จากจำนวนบลจ.ในระบบทั้งหมด 21 แห่ง มีบลจ.จำนวน 15 แห่งที่มีทรัพย์สินติดลบจากเดือนก่อนหน้านี้ ส่วนบลจ.ที่มีสินทรัพย์เป็นบวกมาเพียง 6 แห่งเท่านั้น
โดยบลจ.ที่มีสินทรัพย์ลดลง ล้วนแล้วแต่เป็นบลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ ที่มีการออกเคมเปญให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงเพื่อดึงเงินฝากทั้งนั้น โดยเฉพาะหลังจากพ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งบลจ.ที่มีเงินลงทุนลดลงสูงที่สุดอันดับแรก คือ บลจ. บัวหลวง โดยตัวเลขเงินลงทุน ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 อยู่ที่ 140,745.12 ล้านบาท ลดลงประมาณ 17,744.34 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 158,489.47 ล้านบาท
อันดับ 2 บลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 243,991.62 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน 17,647.34 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 261,638.96 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 3 ที่มีสินทรัพย์ลดลงสูงที่สุดคือ บลจ. นครหลวงไทย ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,494.39 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ 11,202.52 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 32,696.92 ล้านบาท
อันดับ 4 บลจ.ยูโอบี (ไทย) ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 51,765.18 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน 5,937.05 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 57,702.23 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 5 ที่มีสินทรัพย์ลดลงสูงที่สุดคือ บลจ. ไทยพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 284,480.97 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ -5,107.73 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 289,588.71 ล้านบาท
อันดับ 6 บลจ.ธนชาต ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 86,667.17 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน 1,661.18 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 88,328.35 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 7 บลจ. เอ็มเอฟซี ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 114,579.99 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ -1,319.83 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 115,899.83 ล้านบาท
อันดับ 8 บลจ.พรีมาเวสท์ ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 18,613.12 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ -1,156.94 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 19,770.06 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ.กรุงไทย มีเงินลงทุนรวม 111,172.41 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน -1,044.66 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 112,217.07 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ และอันดับ 10 ได้แก่ บลจ. แอสเซท พลัส โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,076.01 ล้านบาท ลดลงประมาณ -815.18 ล้านบาทจากสินทรัพย์รวม 20,891.20 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้กองทุนรวมลดลงค่อนข้างมากในช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะบลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่นั้น เป็นผลมาจากแคมเปญระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงนั่นเอง ซึ่งการให้อัตราดอกเบี้ยสูงดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนโยกเงินจากกองทุนตราสารหนี้ และกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) ไปอยู่ในเงินฝากมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการลงทุนในปัจจุบันค่อนข้างผันผวน ทำให้นักลงทุนมองหาการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก และถึงแม้ว่าพ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่ในปีแรกยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนอยู่
ส่วนบลจ.ที่มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นสำหรับธุรกิจกองทุนรวม 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) โดย ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 62,343.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินประมาณ 3,261.36 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 59,081.69 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ บลจ. ทหารไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือธนาคารทหารไทยเช่นกัน มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 128,833.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,170.44 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 126,662.59 ล้านบาท
ในขณะที่บลจ.บีที บริษัทในเครือธนาคารไทยธนาคาร มีสินทรัพย์ในส่วนของกองทุนรวมทั้งสิ้น 16,677.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 662.05 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนก่อนหน้านี้ที่มีรวมทั้งสิ้น 16,015.68 ล้านบาท
นายพิชิต อัตราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด เปิดเผยว่า การที่เงินลงทุนในกองทุนรวมปรับลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่ลดลงตามภาวะตลาด โดยเฉพาะกองทุนหุ้นซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ปรับลดลงไปค่อนข้างมาก ส่วนการไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้น คงมีอยู่บ้างแต่จำนวนไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน เงินลงทุนใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มก็มีน้อยลง จึงทำให้เห็นการลดลงมากกว่าการเพิ่มขึ้น ส่วนบลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ ที่มีเงินลงทุนลดลงค่อนข้างมากนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะได้รับผลกระทบจากการระดมเงินฝากด้วยการออกเคมเปญให้ดอกเบี้ยสูง
"สำหรับบลจง.ในเครือแบงก์อาจจะได้รับผลกระทบจากการที่แบงก์ระดมเงินฝาก แต่สำหรับเราซึ่งไม่มีแบงก์เป็นเครือข่าย การปรับลดลงส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากราคามากกว่า เพราที่ผ่านมาตลาดหุ้นปรับลดลงไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนพอสมควร"นายพิชิตกล่าว
ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 0.25% นั้น ถือว่าเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ เนื่องจากธปท. ต้องการควบคุมเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งการปรับดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้ระยะต่อไปธนาคารพาณิชย์สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีกทั้งเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว ในส่วนของกองทุนตราสารหนี้ มันนี่มาร์เกต และกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจน ที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จำทำให้ส่วนต่างระหว่างกองทุนรวมและเงินฝากยังมีอยู่ต่อไป ซึ่งกองทุนรวมเองมีความได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องเสียภาษี 15% เหมือนเงินฝาก
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมในช่วงเดือนสิงหาคม 2551 ว่า ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,402,622.28 ล้านบาท โดยคิดเป็นเงินลงทุนที่ลดลงถึง 58,264.47 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,460,886.75 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา (25 ก.ค. 51) ซึ่งหากย้อนหลังกลับไปตั้งแต่ต้นปี ที่กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมประมาณ 1,426,626.92 ล้านบาท พบว่า กองทุนรวมปรับลดลงไปถึง 24,004.64 ล้านบาท โดนคิดเป็นลัดส่วนการลดลงถึง 1.68%
ทั้งนี้ จากการสำรวจเงินลงทุนของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) แต่ละรายพบว่า จากจำนวนบลจ.ในระบบทั้งหมด 21 แห่ง มีบลจ.จำนวน 15 แห่งที่มีทรัพย์สินติดลบจากเดือนก่อนหน้านี้ ส่วนบลจ.ที่มีสินทรัพย์เป็นบวกมาเพียง 6 แห่งเท่านั้น
โดยบลจ.ที่มีสินทรัพย์ลดลง ล้วนแล้วแต่เป็นบลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ ที่มีการออกเคมเปญให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงเพื่อดึงเงินฝากทั้งนั้น โดยเฉพาะหลังจากพ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งบลจ.ที่มีเงินลงทุนลดลงสูงที่สุดอันดับแรก คือ บลจ. บัวหลวง โดยตัวเลขเงินลงทุน ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 อยู่ที่ 140,745.12 ล้านบาท ลดลงประมาณ 17,744.34 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 158,489.47 ล้านบาท
อันดับ 2 บลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 243,991.62 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน 17,647.34 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 261,638.96 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 3 ที่มีสินทรัพย์ลดลงสูงที่สุดคือ บลจ. นครหลวงไทย ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 21,494.39 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ 11,202.52 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 32,696.92 ล้านบาท
อันดับ 4 บลจ.ยูโอบี (ไทย) ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 51,765.18 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน 5,937.05 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 57,702.23 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 5 ที่มีสินทรัพย์ลดลงสูงที่สุดคือ บลจ. ไทยพาณิชย์ ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 284,480.97 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ -5,107.73 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 289,588.71 ล้านบาท
อันดับ 6 บลจ.ธนชาต ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 86,667.17 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน 1,661.18 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 88,328.35 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ อันดับ 7 บลจ. เอ็มเอฟซี ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 114,579.99 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ -1,319.83 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 115,899.83 ล้านบาท
อันดับ 8 บลจ.พรีมาเวสท์ ซึ่งปัจจุบันมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 18,613.12 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงประมาณ -1,156.94 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 19,770.06 ล้านบาท อันดับ 9 บลจ.กรุงไทย มีเงินลงทุนรวม 111,172.41 ล้านบาท ลดลงเป็นจำนวนเงิน -1,044.66 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 112,217.07 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ และอันดับ 10 ได้แก่ บลจ. แอสเซท พลัส โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 20,076.01 ล้านบาท ลดลงประมาณ -815.18 ล้านบาทจากสินทรัพย์รวม 20,891.20 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุหลักที่ทำให้กองทุนรวมลดลงค่อนข้างมากในช่วงประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะบลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่นั้น เป็นผลมาจากแคมเปญระดมเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ที่ให้อัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูงนั่นเอง ซึ่งการให้อัตราดอกเบี้ยสูงดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนโยกเงินจากกองทุนตราสารหนี้ และกองทุนรวมตลาดเงิน (มันนี่มาร์เกต) ไปอยู่ในเงินฝากมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะการลงทุนในปัจจุบันค่อนข้างผันผวน ทำให้นักลงทุนมองหาการลงทุนที่ความเสี่ยงต่ำเป็นหลัก และถึงแม้ว่าพ.ร.บ. คุ้มครองเงินฝากจะมีผลบังคับใช้แล้ว แต่ในปีแรกยังคุ้มครองเงินฝากเต็มจำนวนอยู่
ส่วนบลจ.ที่มีสินทรัพย์เพิ่มขึ้นสำหรับธุรกิจกองทุนรวม 3 อันดับแรก ประกอบด้วย บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) โดย ณ วันที่ 22 สิงหาคม 2551 มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 62,343.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนเงินประมาณ 3,261.36 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 59,081.69 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ ส่วนอันดับ 2 ได้แก่ บลจ. ทหารไทย ซึ่งเป็นบริษัทในเครือธนาคารทหารไทยเช่นกัน มีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 128,833.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,170.44 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 126,662.59 ล้านบาท
ในขณะที่บลจ.บีที บริษัทในเครือธนาคารไทยธนาคาร มีสินทรัพย์ในส่วนของกองทุนรวมทั้งสิ้น 16,677.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 662.05 ล้านบาท จากเงินลงทุนในเดือนก่อนหน้านี้ที่มีรวมทั้งสิ้น 16,015.68 ล้านบาท
นายพิชิต อัตราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด เปิดเผยว่า การที่เงินลงทุนในกองทุนรวมปรับลดลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนที่ลดลงตามภาวะตลาด โดยเฉพาะกองทุนหุ้นซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ปรับลดลงไปค่อนข้างมาก ส่วนการไถ่ถอนหน่วยลงทุนนั้น คงมีอยู่บ้างแต่จำนวนไม่มากนัก ในขณะเดียวกัน เงินลงทุนใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มก็มีน้อยลง จึงทำให้เห็นการลดลงมากกว่าการเพิ่มขึ้น ส่วนบลจ.ในเครือธนาคารพาณิชย์ ที่มีเงินลงทุนลดลงค่อนข้างมากนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะได้รับผลกระทบจากการระดมเงินฝากด้วยการออกเคมเปญให้ดอกเบี้ยสูง
"สำหรับบลจง.ในเครือแบงก์อาจจะได้รับผลกระทบจากการที่แบงก์ระดมเงินฝาก แต่สำหรับเราซึ่งไม่มีแบงก์เป็นเครือข่าย การปรับลดลงส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากราคามากกว่า เพราที่ผ่านมาตลาดหุ้นปรับลดลงไปค่อนข้างมาก ซึ่งส่งผลต่อมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนพอสมควร"นายพิชิตกล่าว
ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อีก 0.25% นั้น ถือว่าเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ เนื่องจากธปท. ต้องการควบคุมเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูง ซึ่งการปรับดอกเบี้ยดังกล่าว ส่งผลให้ระยะต่อไปธนาคารพาณิชย์สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้อีกทั้งเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว ในส่วนของกองทุนตราสารหนี้ มันนี่มาร์เกต และกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่กำหนดอายุการลงทุนชัดเจน ที่มีนโยบายลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้เอกชน ก็ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังนั้น จำทำให้ส่วนต่างระหว่างกองทุนรวมและเงินฝากยังมีอยู่ต่อไป ซึ่งกองทุนรวมเองมีความได้เปรียบตรงที่ไม่ต้องเสียภาษี 15% เหมือนเงินฝาก