สำนักงานคณะกรรมการกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รายงานวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ประจำเดือนมิถุนายน 2551 ว่า ขณะนี้มียอดวงเงินคงเหลือซึ่งสำนักงานก.ล.ต.จะยกไปใช้ในการจัดสรรต่อในเดือนกรกฎาคม ทั้งสิ้น 11,841 ล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมาก.ล.ต.ได้จัดสรรวงเงินให้บรรดาบริษัทจัดการกองทุน(บลจ.)ต่างๆรวมแล้วทั้งสิ้น 10,421 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2551 ก.ล.ต.เหลือวงเงินสำหรับการจัดสรรเงินลงทุนไปต่างประเทศประมาณ 15,578 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้ ก.ล.ต.ไม่ได้มีการอุนมัติยอดจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมเหมือนในช่วงอดีตที่ผ่านมา แต่การจัดสรรดังกล่าวไม่มีผลกระทบหรือทำให้ยอดจัดสรรวงเงินลงทุนต่างประเทศให้ลดลงไปมาก
ขณะเดียวกันจากข้อมูลพบว่า ในเดือนมิถุนายนนี้ มีบริษัทจัดกองทุน รวมจำนวน 15 บริษัทที่ได้รับการอนุมัติยอดจัดสรรวงเงินดังกล่าว โดยคิดเป็นวงเงินรวมกันทั้งสิ้น 3,737 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกเป็นวงเงินที่นำไปจดทะเบียนจดตั้งกองทุนแล้ว 2,133 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลืออีก 1,604 ล้านสหรัฐ เปิดวงเงินจองกรณี ไอพีโอ หน่วยลงทุนกองทุนที่ยังไม่จดทะเบียนภายในเดือนมิถุนายน
ทั้งนี้พบว่า บลจ.บัวหลวง ได้รับการจัดสรรวงเงินมากที่สุดจำนวนประมาณ 472 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ บลจ.ไทยพาณิชย์ได้รับการจัดสรรวงเงิน 457 ล้านเหรียญสหรัฐ ถัดมาคือ บลจ.กสิกรไทย ได้รับการอนุมัติ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วน บริษัทจัดการกองทุนรายอื่นได้รับการอนุมัติจัดสรรวงเงินแตกต่างกันโดยไป ดังนี้ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำนวน 197 ล้านเหรียญสหรัฐ , บลจ.ทหารไทย ได้รับการอนุมัติ 121 ล้านเหรียญสหรัฐ , บลจ.กรุงไทย ได้รับ 108 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ บลจ.วรรณ และบลจ.แอสเซทพลัส ได้รับการอนุมัติวงเงินเท่ากันที่ 96 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ บลจ.อยุธยา ได้รับการอนุมัติ 49 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.นครหลวงไทย ได้รับการอนุมัติ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.บีที ได้รับการอนุมัติ 37 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.ธนชาต ได้รับ 24.614 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.เอ็มเอฟซี ได้รับ 24,195 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.ทิสโก้ ได้รับ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ และ บลจ.พรีมาเวสท์ ได้รับ 14,083 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในต่างประเทศถือว่าเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงอีกวิธีหนึ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก หากเมื่อการลงทุนในต่างประเทศแล้วเกิดปัญหาขึ้นจะทำให้ไม่สามารถติดตามเงินต้นที่นำไปลงทุนได้ หรือหากจะติดตามจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามค่อนข้างสูง ไม่คุ้มกับเงินที่นำไปลงทุน เพราะส่วนใหญ่บริษัทที่ไปลงทุนในต่างประเทศล้วนเป็นบริษัทชั้นนำทั้งนั้น แล้วเวลาล้มส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทชั้นนำพวกนี้ แต่สำหรับ บลจ. นั้นถือเป็นบริษัทที่ยังเล็กอยู่ หากไปลงทุนในต่างประเทศเกิดปัญหาก็จะไม่มีกำลังในการติดตามเงินที่ลงทุนเหล่านั้นได้
โดยส่วนใหญ่ตอนนี้ บลจ.ต่างๆหนีการลงทุนจากตราสารหนี้ภาครัฐเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ดี เพราะสามารถให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าตราสารหนี้ภาครัฐ ขณะที่นักลงทุนที่นิยมลงทุนกองทุนต่างประเทศจะตัดสินใจลงทุนโดยดูจากตัวเลขของผลการดำเนินงานของกองทุนต่างๆเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน หรือคาดการณ์จากผลตอบแทน ซึ่งในช่วงนี้ได้มีการออกกองทุนที่ลงทุนในECP เยอะมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของเงินฝาก ตราสารหนี้ และการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล
“ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอะไรก็ยากไปหมดในช่วงนี้ แม้กระทั้งการลงทุนในกองทุนรวม แต่สำหรับการลงทุนในกองทุน LTFและRMF นั้นค่อนข้างที่จะปลอดภัยเพราะเป็นการลงทุนในระยะเวลาที่นาน”นายวรรธนะ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สมาคมหลักทรัพย์อยู่ระหว่างที่จะเสนอต่อก.ล.ต ให้มีการผ่อนผันเรื่องวงเงินลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนบุคคลที่ลงทุนผ่านบล. ให้สามารถถือเงินสดไว้ได้ 20% ของวงเงินที่ขอไปลงทุนต่างประเทศ จากเดิมที่ก.ล.ต.กำหนดให้จะต้องลงทุนให้หมดภายใน 90 วัน หากมีเงินที่ยังไม่ลงทุนก.ล.ต.จะเรียกคืนเงินที่เหลือคืน ทั้งนี้เมื่อมีการลงทุนแล้วนักลงทุนอาจจะไม่ลงทุนครบวงเงินและอาจจะเหลือวงเงินเล็กน้อย ทำให้นำไปลงทุนในหุ้น หรือพันธบัตรต่างชาติยาก เพราะ พันธบัตรต่างประเทศจะขายเป็นล็อตใหญ่
สำหรับการลงทุนต่างประเทศนั้นบริษัทจะแนะนำให้นักลงทุนถือหุ้นระยะยาวให้ถือหุ้นข้ามปีเพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากการลงทุนต่างประเทศในปีก่อน และหากนักลงทุนจะนำเงินที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศกลับมาเมืองไทยก็จะแนะนำให้นำเงินทั้งหมดเข้ามาเพื่อที่จะไม่สนับสนในการชำระภาษีรายได้จากการลงทุนต่างประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อพฤษภาคมที่ผ่านมาก.ล.ต.ได้จัดสรรวงเงินให้บรรดาบริษัทจัดการกองทุน(บลจ.)ต่างๆรวมแล้วทั้งสิ้น 10,421 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในเดือนมิถุนายน 2551 ก.ล.ต.เหลือวงเงินสำหรับการจัดสรรเงินลงทุนไปต่างประเทศประมาณ 15,578 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลพบว่าภายในเดือนมิถุนายนนี้ ก.ล.ต.ไม่ได้มีการอุนมัติยอดจัดสรรเงินลงทุนเพิ่มเติมเหมือนในช่วงอดีตที่ผ่านมา แต่การจัดสรรดังกล่าวไม่มีผลกระทบหรือทำให้ยอดจัดสรรวงเงินลงทุนต่างประเทศให้ลดลงไปมาก
ขณะเดียวกันจากข้อมูลพบว่า ในเดือนมิถุนายนนี้ มีบริษัทจัดกองทุน รวมจำนวน 15 บริษัทที่ได้รับการอนุมัติยอดจัดสรรวงเงินดังกล่าว โดยคิดเป็นวงเงินรวมกันทั้งสิ้น 3,737 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งออกเป็นวงเงินที่นำไปจดทะเบียนจดตั้งกองทุนแล้ว 2,133 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนที่เหลืออีก 1,604 ล้านสหรัฐ เปิดวงเงินจองกรณี ไอพีโอ หน่วยลงทุนกองทุนที่ยังไม่จดทะเบียนภายในเดือนมิถุนายน
ทั้งนี้พบว่า บลจ.บัวหลวง ได้รับการจัดสรรวงเงินมากที่สุดจำนวนประมาณ 472 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ บลจ.ไทยพาณิชย์ได้รับการจัดสรรวงเงิน 457 ล้านเหรียญสหรัฐ ถัดมาคือ บลจ.กสิกรไทย ได้รับการอนุมัติ 380 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วน บริษัทจัดการกองทุนรายอื่นได้รับการอนุมัติจัดสรรวงเงินแตกต่างกันโดยไป ดังนี้ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำนวน 197 ล้านเหรียญสหรัฐ , บลจ.ทหารไทย ได้รับการอนุมัติ 121 ล้านเหรียญสหรัฐ , บลจ.กรุงไทย ได้รับ 108 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ บลจ.วรรณ และบลจ.แอสเซทพลัส ได้รับการอนุมัติวงเงินเท่ากันที่ 96 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ บลจ.อยุธยา ได้รับการอนุมัติ 49 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.นครหลวงไทย ได้รับการอนุมัติ 40 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.บีที ได้รับการอนุมัติ 37 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.ธนชาต ได้รับ 24.614 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.เอ็มเอฟซี ได้รับ 24,195 ล้านเหรียญสหรัฐ ,บลจ.ทิสโก้ ได้รับ 21 ล้านเหรียญสหรัฐ และ บลจ.พรีมาเวสท์ ได้รับ 14,083 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายวรรธนะ วงศ์สีนิล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ฟิลลิป จำกัด กล่าวว่า การลงทุนในต่างประเทศถือว่าเป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงอีกวิธีหนึ่ง แต่ก็มีความเสี่ยงค่อนข้างมาก หากเมื่อการลงทุนในต่างประเทศแล้วเกิดปัญหาขึ้นจะทำให้ไม่สามารถติดตามเงินต้นที่นำไปลงทุนได้ หรือหากจะติดตามจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตามค่อนข้างสูง ไม่คุ้มกับเงินที่นำไปลงทุน เพราะส่วนใหญ่บริษัทที่ไปลงทุนในต่างประเทศล้วนเป็นบริษัทชั้นนำทั้งนั้น แล้วเวลาล้มส่วนใหญ่ก็เป็นบริษัทชั้นนำพวกนี้ แต่สำหรับ บลจ. นั้นถือเป็นบริษัทที่ยังเล็กอยู่ หากไปลงทุนในต่างประเทศเกิดปัญหาก็จะไม่มีกำลังในการติดตามเงินที่ลงทุนเหล่านั้นได้
โดยส่วนใหญ่ตอนนี้ บลจ.ต่างๆหนีการลงทุนจากตราสารหนี้ภาครัฐเปลี่ยนไปลงทุนในตราสารหนี้ภาคเอกชนที่ดี เพราะสามารถให้ผลตอบแทนได้ดีกว่าตราสารหนี้ภาครัฐ ขณะที่นักลงทุนที่นิยมลงทุนกองทุนต่างประเทศจะตัดสินใจลงทุนโดยดูจากตัวเลขของผลการดำเนินงานของกองทุนต่างๆเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน หรือคาดการณ์จากผลตอบแทน ซึ่งในช่วงนี้ได้มีการออกกองทุนที่ลงทุนในECP เยอะมากเมื่อเทียบกับผลตอบแทนของเงินฝาก ตราสารหนี้ และการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล
“ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนอะไรก็ยากไปหมดในช่วงนี้ แม้กระทั้งการลงทุนในกองทุนรวม แต่สำหรับการลงทุนในกองทุน LTFและRMF นั้นค่อนข้างที่จะปลอดภัยเพราะเป็นการลงทุนในระยะเวลาที่นาน”นายวรรธนะ กล่าว
ก่อนหน้านี้ นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สมาคมหลักทรัพย์อยู่ระหว่างที่จะเสนอต่อก.ล.ต ให้มีการผ่อนผันเรื่องวงเงินลงทุนต่างประเทศของนักลงทุนบุคคลที่ลงทุนผ่านบล. ให้สามารถถือเงินสดไว้ได้ 20% ของวงเงินที่ขอไปลงทุนต่างประเทศ จากเดิมที่ก.ล.ต.กำหนดให้จะต้องลงทุนให้หมดภายใน 90 วัน หากมีเงินที่ยังไม่ลงทุนก.ล.ต.จะเรียกคืนเงินที่เหลือคืน ทั้งนี้เมื่อมีการลงทุนแล้วนักลงทุนอาจจะไม่ลงทุนครบวงเงินและอาจจะเหลือวงเงินเล็กน้อย ทำให้นำไปลงทุนในหุ้น หรือพันธบัตรต่างชาติยาก เพราะ พันธบัตรต่างประเทศจะขายเป็นล็อตใหญ่
สำหรับการลงทุนต่างประเทศนั้นบริษัทจะแนะนำให้นักลงทุนถือหุ้นระยะยาวให้ถือหุ้นข้ามปีเพื่อที่จะไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากการลงทุนต่างประเทศในปีก่อน และหากนักลงทุนจะนำเงินที่ได้จากการลงทุนในต่างประเทศกลับมาเมืองไทยก็จะแนะนำให้นำเงินทั้งหมดเข้ามาเพื่อที่จะไม่สนับสนในการชำระภาษีรายได้จากการลงทุนต่างประเทศ