xs
xsm
sm
md
lg

"กองทุนอยุธยารักษ์ก้าวหน้า" แชมป์ผลตอบแทนกองทุนหุ้นเดือนมิ.ย.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ผ่านไปแป๊ปเดียว ตอนนี้ย่างเข้าสู่เดือนที่แปดของปี 2551 แล้ว ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงที่ตลาดหลักทรัพย์ภายในประเทศ และต่างประเทศมีความผันผวนอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่ประสบกับปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะวิกฤตอีกครั้ง

อีกทั้งในช่วงที่ผ่านมา ได้เกิดปัญหาต่างๆขึ้นมามากมาย จึงทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นในการลงทุน ส่งผลให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศต่างทยอยกันนำหุ้นออกมาขาย เพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อรอจังหวะกลับมาลงทุนใหม่ในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น จึงส่งผลให้ดัชนีหุ้นยังโงหัวไม่ขึ้นซะที

วันนี้ คอลัมน์ Best of fund จะนำทุกท่านมาดูผลการดำเนินงานของกองทุนรวมหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดประจำเดือนมิถุนายน โดยกองทุนหุ้นของเอวายเอฟสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ด้วยการสร้างผลตอบแทนมาเป็นอันดับดับหนึ่ง แถมยังพ่วงกองทุนอีก 3 กองมาติดอันดับด้วยเช่นกัน...ผลงานดีเช่นนี้ ไปดูกันว่า มีวิธีการบริหารจัดการกองทุนอย่างไร ที่ทำให้กองทุนสามารถผ่านพ้นกับวิกฤตการณ์ต่างๆ และสามารถนำกองทุนเข้ามาติดอันดับด้วยกันทั้งหมด 4 กองทุนด้วยกัน พร้อมชี้แนวทางการลงทุนและกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจ

สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 106.25 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -2.04% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 8.39%อันดับ 2 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล70/30 ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,389.32ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -2.85% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 7.58%

อันดับ 3 กองทุนเปิดทิสโก้หุ้นทุนปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 239.82 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -3.17% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 7.26% อันดับ4 กองทุนเปิดธนชาติฟันดาเมนทอล พลัส ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 462.49 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -3.60% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.83%

อันดับ 5 กองทุนเปิดออมสินพัฒนาภูมิภาค ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 2,827.09 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -4.08% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯที่ 6.35% อันดับ 6 กองทุนเปิดสินไพฑูรย์ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 280.15 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -4.16% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.27%

อันดับ 7 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,343.20 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -4.22% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.21% อันดับ 8 กองทุนเปิดพิบูลย์ทรัพย์ปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 314.17 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -4.27% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.16%

อันดับ 9 กองทุนเปิดอยุธยาอิควิตี้ ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,710.55 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -4.42% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 6.01% และอันดับ 10 กองทุนเปิด ธนชาติทุนเพิ่มทวี ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาติ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 451.49 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ -4.45% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 5.98%
ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์
เปิดกลยุทธ์กองทุนอันดับ 1
ประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนอยุธยา จำกัด (เอวายเอฟ) ได้เล่าถึงการบริหารกองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้าว่า กองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นที่มีการเติบโตสูงกว่าตลาด มีอนาคตและการเติบโตในช่วง 2-3 ปีข้างหน้ามาเก็บไว้ในพอร์ต ซึ่งเราไม่เน้นกระจายหุ้นมากนัก จึงทำให้พอร์ตการลงทุนมีอยู่แค่ประมาณ 15 ตัวไม่มากไปกว่านี้แล้ว

อย่างไรก็ตาม เราได้แสดงถึงความมีศักยภาพของเรา โดยที่กองทุนหุ้นของบริษัทได้ติดอันดับ 1 ใน 10 ถึง 4 กองทุนด้วยกัน อันได้แก่ อันดับที่ 1.กองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า อันดับที่ 2 กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 70/30 ส่วน กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีผล อยู่ในอันดับที่ 7 และกองทุนเปิดอยุธยาอิควิตี้ อยู่ในอันดับที่ 9 โดยกองทุนเปิดทั้งหมดมีนโยบายการบริหารและพอร์ตการลงทุนที่ใกล้เคียงกัน จะต่างกันตรงการกระจายหลักทรัพย์มากกว่า อาทิเช่น กองทุนเปิดอยุธยาทุนทวีปันผล 70/30 ทีมีการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพดี มีอนาคตไกล 70%พร้อมทั้งมีการกระจายการลงทุนมากกว่าอยู่ที่ประมาณ20-25 บริษัท และลงทุนในตราสารหนี้อีก3 0%ที่เหลือ

ดังนั้น ในช่วงที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้มีการปรับตัวลดลงมาต่ำมาก ทำให้บริษัทได้รับผลกระทบแเพียงไม่มากนัก เพียงแต่จะทำให้กองทุนได้รับผลตอบแทนที่น้อยกว่าเดิมเท่านั้น

"เราได้สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนของบริษัท โดยที่เราจะเน้นถือหุ้นหรือมองบริษัทที่มีคุณภาพดี มีอนาคตไกลในช่วงระยะเวลา 4-5 ปีข้างหน้า ถึงแม้ว่าดัชนีตลาดหลักหทรัพย์อาจมีการปรับตัวลดลงมาบ้างก็ตาม ดังนั้นเราจึงป้องกันความเสี่ยงจากการขาดทุน โดยการนำเอาหุ้นออกมาขาย แต่ขายในจำนวนไม่มากนัก และอาจขายเพื่อถือเป็นเงินสดแทน หรือนำเอาเงินสดที่ได้จากการนำเอาหุ้นออกมาขายเพื่อจะนำเก็บเอาไว้ลงทุนใหม่ในช่วงที่เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น" ประภาส กล่าว

นอกจากนี้ การถือหุ้นที่มีคุณภาพดีไว้ในพอร์ตการลงทุน เมื่อเวลาที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอาจจะปรับตัวลดลงมามากสักหน่อย แต่เมื่อรับบเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น หุ้นเหล่านี้ก็จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เร็วกว่าหุ้นตัวอื่น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือจะต้องเชื่อมั่นในบริษัทที่เราลงทุน

สำหรับกองทุนเปิดอยุธยารักษ์ก้าวหน้า (AYF Star Dynamic Fund )(DYNAMIC) เป็นกองทุนตราสารแห่งทุน (Equity Fund) เพื่อนักลงทุนทั่วไป และรับซื้อคืนหน่วยลงทุน โดยจดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 มีมูลค่าโครงการ 1,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำอยู่ที่ 10,000 บาท

ทั้งนี้กองทุน DYNAMIC เน้นลงทุนในตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ส่วนที่เหลือสามารถลงทุนในทรัพย์สินหรือการหาดอกผลโดยวิธีอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

ทางด้านผลการดำเนินงานย้อนหลัง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2551 พบว่าผลการดำเนินการย้อนหลัง 3 เดือน อยู่ที่ -2.45% ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ที่ -5.93% ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ -2.04%ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ที่ -10.43% ส่วนผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีอยู่ที่ 14.41%ขณะที่เกณฑ์มาตราฐานดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯอยู่ที่ -1.06%

ขณะเดียวกัน บริษัทได้มี 5 หมวดหลักทรัพย์แรกที่ลงทุน ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2551 คือ อันดับ 1.หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค อันดับ 2.หมวดธนาคาร อันดับ 3. หมวดเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อันดับ 4.หมวดพาณิชย์ อันดับ 5.หมวดพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

สำหรับ 10 อันดับแรกของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2551 พบว่าอันดับที่ 1 บมจ.ปตท 13.81% อันดับ 2. บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม 11.90% อันดับ 3. บมจ.ธ.กรุงเทพ 11.36% อันดับ 4.บมจ.บ้านปู 11.03% อันดับ 5.บมจ.ธ.กสิกรไทย 7.95% อันดับ 6.บมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น 6.82% อันดับ 7.บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส 6.52 % อันดับ 8.บมจ. ซีพี ออลล์ 6.21%อันดับ 9.บมจ.ธ.ทิสโก้ 5.73% และอันดับ 10.บมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ 4.86%
กำลังโหลดความคิดเห็น