ผ่านพ้นมาแล้ว สำหรับการประชุมของคณะกรรมการนโยบายที่มีมติให้ปรับขึ้นอัตตราดอกเบี้ยเพิ่มอีก 0.25% หลังจากที่ต้องทนแบกรับภาระต่างๆ มามากมาย ซึ่งถือว่าต่อจากนี้คงเป็นความท้าทายสำหรับผู้บริหารกองทุนต่างๆ ที่จะต้องทำให้กองทุนที่อยู่ในความรับผิดชอบมีผลตอบแทนสูงขึ้น
โดยก่อนหหน้านี้ตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมีความผันผวนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของค่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากทุกวัน และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นไปถึง 2 หลักในระยะเวลาอันใกล้นี้ อีกทั้ง ในเรื่องของผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นถือให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า
ดังนั้นวันนี้ "คอลัมน์ Best of fund" จึงได้นำท่านผู้อ่านทุกท่านมาดูกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนสูงสุดประจำเดือน ว่ามีกองทุนอะไรบ้าง อยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ และให้ผลตอบแทนเท่าไหร่บ้าง พร้อมทั้งไปไปฟังกลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนที่ได้อันดับ 1
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 106.95 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.58% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 4.19% อันดับ 2 กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 2 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 430.04 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.99% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 3.60%
อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 557.70 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.84% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 3.45% อันดับ4 กองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 291.06 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.00% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 2.61%
อันดับ 5 กองทุนเปิดอยุธยาพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 367.02 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.75% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 1.36%อันดับ 6 กองทุนเปิดแมกซ์อินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.นครหลวงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 161.14 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.67% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.28%
อันดับ 7 กองทุนเปิด ยูโอบี ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ยูโอบี (ไทย) โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 222.24 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.51% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.12% อันดับ 8 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ไทยพาณิชย์ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,695.85 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.47% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.08%
อันดับ 9 กองทุนเปิดยูโอบี พันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ยูโอบี (ไทย) โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 357.22 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.43% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.04% และอันดับ10 กองทุนเปิด ทิสโก้ ตราสารหนี้มั่นคงเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 76.48 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.28% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ -0.11%
เปิดกลยุทธ์การลงทุน
บุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ธนชาต จำกัด พูดถึงการบริหารกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพว่า การบริหารงานของเรา เน้นจับจังหวะทิศทางดอกเบี้ยเป็นสำคัญ โดยจะต้องมองถึงอัตราดอกเบี้ยในอนาคตว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางใด ซึ่งช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้น อัตราดอกเบี้ยเป็นช่วงขาลง เราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจากการถือ ตราสารระยะยาว มาถือตราสารระยะสั้นแทน แต่พออัตตราดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวดีขึ้น จึงเปลี่ยนจากการถือตราสารระยะสั้นไปเป็นตราสารระยะยาวแทน
โดยที่ผ่านมา กองทุนได้มีการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และตราสารที่มีอายุยาว พอถึงช่วงดอกเบี้ยลงจึงได้นำออกมาขาย แล้วให้หันมาถือตราสารระยะสั้นๆ แทนเพื่อความปลอดภัยในการลงทุน
ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. นั้น เราคิดว่าไม่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของบริษัทเท่าไหร่ เพราะมันเป็นเรื่องที่ทางเราได้คาดการณ์เอาไว้แล้ว ล่วงหน้าว่าอย่างไรเสีย กนง.ก็ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน
สำหรับกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ(NFRMF) จดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 มีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 5,000 บาท ครั้งต่อไป 2,000 บาท โดยเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรืออทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้และตราสารการเงินต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน
โดยกองทุน NFRMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 21 กรกฏาคม 2551 อยู่ที่ 106,164,383.16 บาท ทั้งนี้กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 1.73% ขณะที่ดัชนีราคาตราสารหนี้เท่ากับ -6.00% ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 5.38% ขณะที่ดัชนีตลาดตราสารหนี้เท่ากับ -1.52% สำหรับผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 4.64% ขณะที่ดัชนีตลาดตราสารหนี้เท่ากับ 0.59% และมีผลการดำเนินงานย้อนนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการ หรือ วันเปลี่ยนนโยบายอยู่ที่ 3.38%ขณะที่ดัชนีตลาดตราสารหนี้เท่ากับ 2.15%
ทั้งนี้ กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้และพันธบัตร 98.63% แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 70.15% หุ้นกู้สถาบันการเงิน 21.06% หุ้นกู้ภาคเอกชน 7.42% เงินฝากและอื่นอีก 1.37% โดยมีหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน 5 อันดับแรก ซึ่งลงทุนในหุ้นกู้และพันธบัตร 96.65% อันดับ 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 70.15% อันดับ 2. บริษัททุนธนชาติ จำกัด(มหาชน) 10.61% อันดับ 3.บริษัทเงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) อันดับ 4. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 3.53% อันดับ 5. บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์)จำกัด(มหาชน) 1.91% และลงทุนในเงินฝากและอื่นๆ 1.42% อันดับ 1. บริษัทเงินทุนทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 1.12% อันดับ 2. ธนาคารลิยง 0.31%
โดยก่อนหหน้านี้ตลาดตราสารหนี้ค่อนข้างมีความผันผวนอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของค่าเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นมากทุกวัน และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นไปถึง 2 หลักในระยะเวลาอันใกล้นี้ อีกทั้ง ในเรื่องของผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในกองทุนรวมนั้นถือให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า
ดังนั้นวันนี้ "คอลัมน์ Best of fund" จึงได้นำท่านผู้อ่านทุกท่านมาดูกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ที่มีผลตอบแทนสูงสุดประจำเดือน ว่ามีกองทุนอะไรบ้าง อยู่ในอันดับที่เท่าไหร่ และให้ผลตอบแทนเท่าไหร่บ้าง พร้อมทั้งไปไปฟังกลยุทธ์การลงทุนของผู้จัดการกองทุนที่ได้อันดับ 1
สำหรับกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดมาเป็นอันดับ 1 คือ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต จำกัด โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 106.95 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 6.58% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 4.19% อันดับ 2 กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 2 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 430.04 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.99% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 3.60%
อันดับ 3 กองทุนเปิดกรุงไทยวางแผนภาษีเพื่อการเลี้ยงชีพ 3 ภายใต้การบริหารของ บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 557.70 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.84% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 3.45% อันดับ4 กองทุนเปิดธนชาติพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ธนชาต โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 291.06 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 5.00% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 2.61%
อันดับ 5 กองทุนเปิดอยุธยาพันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.เอวายเอฟ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 367.02 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 3.75% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 1.36%อันดับ 6 กองทุนเปิดแมกซ์อินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.นครหลวงไทย โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 161.14 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.67% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.28%
อันดับ 7 กองทุนเปิด ยูโอบี ออมทรัพย์เพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ยูโอบี (ไทย) โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 222.24 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.51% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.12% อันดับ 8 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ไทยพาณิชย์ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 1,695.85 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.47% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.08%
อันดับ 9 กองทุนเปิดยูโอบี พันธบัตรเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ยูโอบี (ไทย) โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 357.22 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.43% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ 0.04% และอันดับ10 กองทุนเปิด ทิสโก้ ตราสารหนี้มั่นคงเพื่อการเลี้ยงชีพ ภายใต้การบริหารของ บลจ.ทิสโก้ โดยมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ 76.48 ล้านบาท มีผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 2.28% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐานที่ -0.11%
เปิดกลยุทธ์การลงทุน
บุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.)ธนชาต จำกัด พูดถึงการบริหารกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพว่า การบริหารงานของเรา เน้นจับจังหวะทิศทางดอกเบี้ยเป็นสำคัญ โดยจะต้องมองถึงอัตราดอกเบี้ยในอนาคตว่ามีแนวโน้มไปในทิศทางใด ซึ่งช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้น อัตราดอกเบี้ยเป็นช่วงขาลง เราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการบริหารจากการถือ ตราสารระยะยาว มาถือตราสารระยะสั้นแทน แต่พออัตตราดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวดีขึ้น จึงเปลี่ยนจากการถือตราสารระยะสั้นไปเป็นตราสารระยะยาวแทน
โดยที่ผ่านมา กองทุนได้มีการซื้อพันธบัตรรัฐบาล และตราสารที่มีอายุยาว พอถึงช่วงดอกเบี้ยลงจึงได้นำออกมาขาย แล้วให้หันมาถือตราสารระยะสั้นๆ แทนเพื่อความปลอดภัยในการลงทุน
ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ กนง. นั้น เราคิดว่าไม่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการของบริษัทเท่าไหร่ เพราะมันเป็นเรื่องที่ทางเราได้คาดการณ์เอาไว้แล้ว ล่วงหน้าว่าอย่างไรเสีย กนง.ก็ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน
สำหรับกองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ(NFRMF) จดทะเบียนกองทุนเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2545 มีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 1,000 ล้านบาท และมีมูลค่าการซื้อขายขั้นต่ำครั้งแรกอยู่ที่ 5,000 บาท ครั้งต่อไป 2,000 บาท โดยเน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรืออทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับตราสารหนี้และตราสารการเงินต่างๆ ของภาครัฐและเอกชน
โดยกองทุน NFRMF มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันที่ 21 กรกฏาคม 2551 อยู่ที่ 106,164,383.16 บาท ทั้งนี้กองทุนมีผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 เดือนอยู่ที่ 1.73% ขณะที่ดัชนีราคาตราสารหนี้เท่ากับ -6.00% ผลการดำเนินงานย้อนหลัง 6 เดือนอยู่ที่ 5.38% ขณะที่ดัชนีตลาดตราสารหนี้เท่ากับ -1.52% สำหรับผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 4.64% ขณะที่ดัชนีตลาดตราสารหนี้เท่ากับ 0.59% และมีผลการดำเนินงานย้อนนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการ หรือ วันเปลี่ยนนโยบายอยู่ที่ 3.38%ขณะที่ดัชนีตลาดตราสารหนี้เท่ากับ 2.15%
ทั้งนี้ กองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นกู้และพันธบัตร 98.63% แบ่งเป็นพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 70.15% หุ้นกู้สถาบันการเงิน 21.06% หุ้นกู้ภาคเอกชน 7.42% เงินฝากและอื่นอีก 1.37% โดยมีหลักทรัพย์ที่กองทุนลงทุน 5 อันดับแรก ซึ่งลงทุนในหุ้นกู้และพันธบัตร 96.65% อันดับ 1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 70.15% อันดับ 2. บริษัททุนธนชาติ จำกัด(มหาชน) 10.61% อันดับ 3.บริษัทเงินทุน เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) อันดับ 4. บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) 3.53% อันดับ 5. บริษัท อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์)จำกัด(มหาชน) 1.91% และลงทุนในเงินฝากและอื่นๆ 1.42% อันดับ 1. บริษัทเงินทุนทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 1.12% อันดับ 2. ธนาคารลิยง 0.31%