บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ยูโอบี (ไทย) จำกัด
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนมิถุนายน
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนมิถุนายน 2551 ของตลาดตราสารหนี้ลดลงเป็น 72.43 พันล้านบาทจาก 78.65 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร้อยละ -3.44 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร้อยละ -2.03 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 5.89 และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 5.08 ปี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 6.14 และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ปี อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1-6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ถึง 0.19 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-4 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 ถึง 1.10 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.68 ถึง 1.06 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 ถึง 0.75
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนกรกฎาคม ยังคงได้รับผลกระทบจากกระแสกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่สูง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่ามีโอกาสที่จะปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง อัตราผลตอบแทนน่าจะมีโอกาสที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคม แต่อาจจะไม่แรงนัก เพราะอัตราผลตอบแทนได้ปรับตัวขึ้นไปสูงก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นในช่วงนี้นักลงทุนยังเน้นการลงทุนในตราสารระยะสั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคา
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงถึงร้อยละ 8.9 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนแตะระดับร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นจากระดับร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเกินกว่าระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 8.5 เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาในหมวดพลังงาน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เทียบกับเดือนที่ผ่านมา) และราคาในหมวดอาหารสด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับเดือนที่ผ่านมา) ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อมีทีท่ารุนแรงมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารขั้นพื้นฐานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และราคาน้ำมันขายปลีกทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
- ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนมิถุนายนทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นกัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ18.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ2.4 เทียบกับเดือนที่ผ่านมา) ทั้งนี้ราคาสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับราคาสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับการเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้าวัตถุดิบที่ระดับร้อยละ 27.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ จากค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบบ่งชี้ว่า ราคาสินค้าสำเร็จรูปอาจปรับเพิ่มสูงขึ้นได้อีกราวร้อยละ 1 ถึง 2 สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ยังคงขยายตัวได้ดีที่ระดับร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การบริโภคและการลงทุนเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนพฤษภาคมได้แก่ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวน้อยกว่าเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวน้อยกว่าเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยสรุปคือการบริโภคและการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในเดือนพฤษภาคม
- การนำเข้าที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลในเดือนพฤษภาคม การส่งออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับร้อยละ 21.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนพฤษภาคมกลับมาเกินดุลที่ระดับ 1.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การนำเข้าชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในสินค้ากลุ่มน้ำมันดิบ (ลดลงร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับปริมาณนำเข้า) และเครื่องจักร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 สำหรับ ช่วงสี่เดือนแรกของปี 2551) สำหรับดุลบริการนั้นขาดดุลในระดับที่ค่อนข้างสูงจำนวน 637 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพียง 631 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สรุปภาวะตลาด
SET ปรับตัวลดลง 65.06 จุด หรือร้อยละ 7.80 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตลอดเดือนมิถุนายน โดยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในวันที่ 20 มิถุนายน เนื่องจากไม่เกิดความรุนแรงในการเคลื่อนขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯ ตลอดทั้งเดือนนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิอย่างหนักถึง 3.65 หมื่นล้านบาทโดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ และเน้นขายในกลุ่มพลังงานและธนาคาร สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวลดลงของตลาดทุนทั่วโลกที่กังวลกับอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้แล้วความไม่สงบทางการเมืองก็สร้างแรงกดดันให้ SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรใช้ความพยายามมากขึ้นที่จะกดดันให้นายกฯสมัครออกจากตำแหน่ง
แนวโน้มตลาดเดือนกรกฎาคม
ตลาดหุ้นจะยังคงถูกปกคลุมด้วยบรรยากาศที่ไม่สดใสนัก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางด้านการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง และความกังวลเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง SET จึงน่าจะเทรดในลักษณะเคลื่อนไหวออกไปในช่วงแคบๆ ในเดือนนี้ โดยที่เรามองว่าตลาดก็ไม่น่าจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากระดับนี้ กลุ่มพลังงานน่าจะช่วยหนุนตลาดหุ้นได้ เนื่องจากราคาพลังงานที่อาจจะยืนอยู่ระดับสูงอยู่ได้ต่อเพราะคาดว่าเป็นช่วงของเทศกาลขับรถท่องเที่ยวในสหรัฐฯ ประกอบกับระดับราคาหุ้นโดยรวมได้ปรับลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะยังอยู่ในความสนใจของนักลงทุนต่อไปอีกระยะหนึ่งและในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ตลาดคาดว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.50
กลยุทธ์ประจำเดือนกรกฎาคม
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวดพลังงาน ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และ อสังหาริมทรัพย์
ตลาดตราสารหนี้
สถานการณ์ในเดือนมิถุนายน
มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยแบบ Outright ต่อวันในเดือนมิถุนายน 2551 ของตลาดตราสารหนี้ลดลงเป็น 72.43 พันล้านบาทจาก 78.65 พันล้านบาทในเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงคิดเป็นร้อยละ -3.44 และดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงเช่นกันโดยคิดเป็นอัตราผลตอบแทนร้อยละ -2.03 ณ สิ้นเดือนมิถุนายน ดัชนีพันธบัตรรัฐบาลมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 5.89 และมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 5.08 ปี ในขณะที่ดัชนีหุ้นกู้ภาคเอกชนมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยร้อยละ 6.14 และอายุเฉลี่ยเท่ากับ 2.80 ปี อัตราผลตอบแทนมีความผันผวน โดยอัตราผลตอบแทนระยะสั้นตั้งแต่ อายุ 1-6 เดือนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.05 ถึง 0.19 พันธบัตรระยะสั้นอายุ 1-4 ปีปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 ถึง 1.10 พันธบัตรระยะกลางอายุ 5-10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงร้อยละ 0.68 ถึง 1.06 และพันธบัตรระยะยาวปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.68 ถึง 0.75
แนวโน้ม
สภาวะตลาดในเดือนกรกฎาคม ยังคงได้รับผลกระทบจากกระแสกดดันของอัตราเงินเฟ้อที่สูง รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่คาดว่ามีโอกาสที่จะปรับขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง อัตราผลตอบแทนน่าจะมีโอกาสที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคม แต่อาจจะไม่แรงนัก เพราะอัตราผลตอบแทนได้ปรับตัวขึ้นไปสูงก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้นในช่วงนี้นักลงทุนยังเน้นการลงทุนในตราสารระยะสั้น เพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนของราคา
กลยุทธ์ประจำเดือน
กลยุทธ์การลงทุนคือ เน้นการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้น
ตลาดตราสารทุน
ตัวเลขเศรษฐกิจ
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเร่งตัวสูงถึงร้อยละ 8.9 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนแตะระดับร้อยละ 8.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นจากระดับร้อยละ 7.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเกินกว่าระดับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 8.5 เนื่องจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาในหมวดพลังงาน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เทียบกับเดือนที่ผ่านมา) และราคาในหมวดอาหารสด (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ ลดลงร้อยละ 2.4 เทียบกับเดือนที่ผ่านมา) ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านเงินเฟ้อมีทีท่ารุนแรงมากขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าหมวดอาหารขั้นพื้นฐานเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และราคาน้ำมันขายปลีกทำสถิติสูงสุดอีกครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา
- ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือนมิถุนายนทำสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปีเช่นกัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ18.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ2.4 เทียบกับเดือนที่ผ่านมา) ทั้งนี้ราคาสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 20.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับราคาสินค้าสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับการเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้าวัตถุดิบที่ระดับร้อยละ 27.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ จากค่าสหสัมพันธ์ (correlation) ระหว่างสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบบ่งชี้ว่า ราคาสินค้าสำเร็จรูปอาจปรับเพิ่มสูงขึ้นได้อีกราวร้อยละ 1 ถึง 2 สำหรับดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ยังคงขยายตัวได้ดีที่ระดับร้อยละ 10.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การบริโภคและการลงทุนเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนพฤษภาคมได้แก่ ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวน้อยกว่าเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 และดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวน้อยกว่าเดือนเมษายนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.4 โดยสรุปคือการบริโภคและการลงทุนขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงในเดือนพฤษภาคม
- การนำเข้าที่ลดลงส่งผลให้ดุลการค้ากลับมาเกินดุลในเดือนพฤษภาคม การส่งออกยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ระดับร้อยละ 21.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 15.7 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนพฤษภาคมกลับมาเกินดุลที่ระดับ 1.27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ การนำเข้าชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดในสินค้ากลุ่มน้ำมันดิบ (ลดลงร้อยละ 33 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับปริมาณนำเข้า) และเครื่องจักร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 สำหรับ ช่วงสี่เดือนแรกของปี 2551) สำหรับดุลบริการนั้นขาดดุลในระดับที่ค่อนข้างสูงจำนวน 637 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพียง 631 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
สรุปภาวะตลาด
SET ปรับตัวลดลง 65.06 จุด หรือร้อยละ 7.80 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตลอดเดือนมิถุนายน โดยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในวันที่ 20 มิถุนายน เนื่องจากไม่เกิดความรุนแรงในการเคลื่อนขบวนของกลุ่มพันธมิตรฯ ตลอดทั้งเดือนนักลงทุนต่างชาติเป็นผู้ขายสุทธิอย่างหนักถึง 3.65 หมื่นล้านบาทโดยส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ และเน้นขายในกลุ่มพลังงานและธนาคาร สาเหตุหลักมาจากการปรับตัวลดลงของตลาดทุนทั่วโลกที่กังวลกับอัตราเงินเฟ้อ นอกจากนี้แล้วความไม่สงบทางการเมืองก็สร้างแรงกดดันให้ SET ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เนื่องจากกลุ่มพันธมิตรใช้ความพยายามมากขึ้นที่จะกดดันให้นายกฯสมัครออกจากตำแหน่ง
แนวโน้มตลาดเดือนกรกฎาคม
ตลาดหุ้นจะยังคงถูกปกคลุมด้วยบรรยากาศที่ไม่สดใสนัก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางด้านการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวลง และความกังวลเกี่ยวกับตลาดสินเชื่อยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง SET จึงน่าจะเทรดในลักษณะเคลื่อนไหวออกไปในช่วงแคบๆ ในเดือนนี้ โดยที่เรามองว่าตลาดก็ไม่น่าจะปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงจากระดับนี้ กลุ่มพลังงานน่าจะช่วยหนุนตลาดหุ้นได้ เนื่องจากราคาพลังงานที่อาจจะยืนอยู่ระดับสูงอยู่ได้ต่อเพราะคาดว่าเป็นช่วงของเทศกาลขับรถท่องเที่ยวในสหรัฐฯ ประกอบกับระดับราคาหุ้นโดยรวมได้ปรับลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางด้านเงินเฟ้อและอัตราดอกเบี้ยจะยังอยู่ในความสนใจของนักลงทุนต่อไปอีกระยะหนึ่งและในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ ตลาดคาดว่าคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินอาจจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 3.50
กลยุทธ์ประจำเดือนกรกฎาคม
ให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาดในหมวดพลังงาน ธนาคารขนาดใหญ่ สื่อสาร ให้น้ำหนักการลงทุนน้อยกว่าตลาดในหมวดวัสดุก่อสร้าง ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และ อสังหาริมทรัพย์