สมาคม บลจ.เดินหน้าไฟต์ แก้ไขหลักเกณฑ์การลงทุนของกลุ่ม “สหกรณ์-มูลนิธิ-มหาวิทยาลัย” หวังเปิดกรอบการลงทุนให้กว้างมากขึ้น พร้อมเสนอแนวทาง รวมกฎเกณฑ์ทั้งหมดมาอยู่ที่กระทรวงการคลังแห่งเดียว แล้วเปิดทางให้ สำนักงาน ก.ล.ต เข้าไปดูแล ก่อนดึงเงินหลายแสนล้านเข้ากองทุนส่วนบุคคล เผยเดือนนี้ เตรียมจัดสัมมนาให้ความรู้การลงทุนต่างประเทศ ชวนเศรษฐีมานั่งฟัง
นายธีระพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะอุปนายกสมาคมกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคม บลจ.กำลังติดตามเรื่องที่เสนอให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์การลงทุนของกลุ่มสหกรณ์ มูลนิธิ และมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้สามารถลงทุนได้หลากหลาย และกว้างมากขึ้นจากปัจจุบัน โดยให้ นางวรวรรณ ธาราภูมิ ในฐานะนายกสมาคม บลจ.ซึ่งเป็นกรรมการอยู่ในสภาตลาดทุนไทยติดตามเรื่องนี้ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้หน่วยงานกำกับดูแลเรื่องการลงทุนของกลุ่มสหกรณ์ มูลนิธิ และมหาวิทยาลัยเหล่านี้ มารวมอยู่ที่กระทรวงการคลังแห่งเดียว จากเดิมที่ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของกระทรวงอยู่สังกัดอยู่ เช่น สหกรณ์ที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งหลังจากทุกอย่างมารวมอยู่ที่กระทรวงการคลังแล้ว ก็อาจเปิดทางให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้ามามีบทบาทในการเข้าไปดูแลเรื่องกฎเกณฑ์การลงทุนดังกล่าวก็ได้
“องค์กรเหล่านี้ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งมีเงินลงทุนหลานแสนล้านบาท ดังนั้น จึงมีกฏหมายทางด้านการลงทุนที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในเงินฝาก และพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งหากมีการแก้ไขแล้ว อย่างน้อยก็เป็นการเปิดกรอบการลงทุนที่กว้างขึ้นกว่าเดิม และการเพิ่มทางเลือกการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเท่ากันซึ่งการการแก้ระเบียบเพื่อให้มั่นคง แต่ไม่ลดลง เช่น อาจกำหนดเรทติ้ง ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุนได้ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงต้องเท่าหรือดีกว่าเดิม” นายธีรพันธุ์ กล่าว
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้ สมาคม บลจ.จะจัดสัมมนาให้ความรู้นักลงทุนเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนส่วนบุคคล หลังจากได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สามารถออกไปลงทุนได้แล้ว โดยการสัมมนาดังกล่าว สมาคมจะเชิญบริษัทหลักทรัพย์ หรือ เซลล์ลิ่งเอเจนต์ ที่บริหารเงินให้กับเศรษฐีมาร่วมฟังข้อมูล พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนขายดังกล่าว สามารถนำลูกค้าที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมฟังข้อมูลในครั้งนี้ด้วย ในขณะที่สมาคมเอง ก็จะเชิญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นสหกรณ์ มูลนิธิต่างๆ เข้ามาร่วมฟังข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งนี้ สมาคมจะให้ข้อมูลของการลงทุนในต่างประเทศทุกด้าน ตั้งแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เงื่อนไขทางด้านภาษี รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นถึงความน่าสนใจของการออกไปลงทุนต่างประเทศ
“ที่ผ่านมา ระเบียบเงื่อนไขการลงทุนต่างๆ ออกมาชัดเจนแล้วหมดแล้ว แต่ในแง่ของการรับรู้ของผู้ลงทุนเองยังมัไม่มาก ดังนั้น เราจึงได้จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างการรับรู้ โดยมีผู้เชียวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน ด้านกฎหมาย ซึ่งน่าจะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อถือมากขึ้น” นายธีระพันธุ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ธปท.อนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนผู้ลงทุนยังคงน้อยมาก โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ลงทุนยังไม่กล้าตัดสินใจออกไปลงทุน ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนทั่วโลกค่อนข้างผันผวน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในหลายตลาด แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากกว่าในการซื้อของถูก ซึ่งหากเป็นการลงทุนระยะยาวด้วยแล้วก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลผ่านบริษัทจัดการกองทุน จะสามารถลงทุนได้ค่อนข้างกว้างกว่าบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากสามารถลงทุนได้เฉพาะหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดของประเทศนั้นๆ เท่านั้น ส่วนการลงทุนผ่าน บลจ.สามารถลงทุนได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองเงินต้น การลงทุนในสตรัคเจอร์โพรดักซ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหุ้นในต่างประเทศ หรือดัชนีราคาคอมมอดิตี นอกจากนั้น ยังกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทตามความเสี่ยงของผู้ลงทุนเองด้วย
**พ.ค.ขยายตัวเพิ่มกว่า 2 พันล้าน**
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยจากการรายงานตัวเลขล่าสุด พบว่า ตลอดทั้งเดือนพฤษภาคมมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 179,939.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,169.00 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 177,770.71 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งภาพรวมการลงทุนตลอดทั้งเดือนมีเงินไหลเข้าออกในแต่ละบริษัทจัดการแตกต่างกันไป
โดยจากรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) บริษัทจัดการที่มีเงินลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย อับดับ 1.บลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 35,187.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 9.86 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 35,177.41 ล้านบาท อันดับ 2.บลจ.ทิสโก้ มีเงินลงทุนรวม 31,641.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 180.13 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 31,461.16 ล้านบาท
อันดับ 3.บลจ.ไอเอ็นจี มีเงินลงทุนรวม 22,654.28 ล้านบาท ลดลงประมาณ 76.74 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 22,731.02 ล้านบาท อันดับ 4.บลจ.เอ็มเอฟซี มีเงินลงทุนรวม 21,324.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 189.73 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 21,134.30 ล้านบาท อันดับ 5.บลจ.วรรณ มีเงินลงทุนรวม 20,637.05 ล้านบาท ลดลงประมาณ 74.85 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,711.90 ล้านบาท
อันดับ 6.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีเงินลงทุนรวม 9,531.61 ล้านบาท ลดลงประมาณ 117.54 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 9,649.15 ล้านบาท อันดับ 7.บลจ.อเบอร์ดีน มีเงินลงทุนรวม 6,542.34 ล้านบาท ลดลงประมาณ 27.09 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,569.43 ล้านบาท อันดับ 8.บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด มีเงินลงทุนรวม 6,267.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 525.64 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,741.65 ล้านบาท
อันดับ 9.บลจ.ไทยพาณิชย์ มีเงินลงทุนรวม 5,884.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 441.01 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,443.85 ล้านบาท และอันดับ 10.บลจ.อยุธยา ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,686.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล้กน้อยประมาณ 49.94 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมในเดือนเมษายนที่ 3,636.34 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากจำนวนบริษัทจัดการทั้งระบบ 23 บริษัท พบว่า บลจ.กรุงไทย มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นถึง 1,354.66 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมขยับขึ้นมาเป็น 3,232.76 ล้าน
นายธีระพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะอุปนายกสมาคมกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สมาคม บลจ.กำลังติดตามเรื่องที่เสนอให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์การลงทุนของกลุ่มสหกรณ์ มูลนิธิ และมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้สามารถลงทุนได้หลากหลาย และกว้างมากขึ้นจากปัจจุบัน โดยให้ นางวรวรรณ ธาราภูมิ ในฐานะนายกสมาคม บลจ.ซึ่งเป็นกรรมการอยู่ในสภาตลาดทุนไทยติดตามเรื่องนี้ต่อไป
นอกจากนี้ ยังได้เสนอให้หน่วยงานกำกับดูแลเรื่องการลงทุนของกลุ่มสหกรณ์ มูลนิธิ และมหาวิทยาลัยเหล่านี้ มารวมอยู่ที่กระทรวงการคลังแห่งเดียว จากเดิมที่ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ของกระทรวงอยู่สังกัดอยู่ เช่น สหกรณ์ที่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย และมหาวิทยาลัยที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งหลังจากทุกอย่างมารวมอยู่ที่กระทรวงการคลังแล้ว ก็อาจเปิดทางให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เข้ามามีบทบาทในการเข้าไปดูแลเรื่องกฎเกณฑ์การลงทุนดังกล่าวก็ได้
“องค์กรเหล่านี้ เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ซึ่งมีเงินลงทุนหลานแสนล้านบาท ดังนั้น จึงมีกฏหมายทางด้านการลงทุนที่ค่อนข้างจำกัด ทำให้การลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในเงินฝาก และพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งหากมีการแก้ไขแล้ว อย่างน้อยก็เป็นการเปิดกรอบการลงทุนที่กว้างขึ้นกว่าเดิม และการเพิ่มทางเลือกการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเท่ากันซึ่งการการแก้ระเบียบเพื่อให้มั่นคง แต่ไม่ลดลง เช่น อาจกำหนดเรทติ้ง ประเภททรัพย์สินที่จะลงทุนได้ ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยง แต่ความเสี่ยงต้องเท่าหรือดีกว่าเดิม” นายธีรพันธุ์ กล่าว
นายธีรพันธุ์ กล่าวว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้ สมาคม บลจ.จะจัดสัมมนาให้ความรู้นักลงทุนเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนส่วนบุคคล หลังจากได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สามารถออกไปลงทุนได้แล้ว โดยการสัมมนาดังกล่าว สมาคมจะเชิญบริษัทหลักทรัพย์ หรือ เซลล์ลิ่งเอเจนต์ ที่บริหารเงินให้กับเศรษฐีมาร่วมฟังข้อมูล พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนขายดังกล่าว สามารถนำลูกค้าที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมฟังข้อมูลในครั้งนี้ด้วย ในขณะที่สมาคมเอง ก็จะเชิญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นสหกรณ์ มูลนิธิต่างๆ เข้ามาร่วมฟังข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งนี้ สมาคมจะให้ข้อมูลของการลงทุนในต่างประเทศทุกด้าน ตั้งแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เงื่อนไขทางด้านภาษี รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นถึงความน่าสนใจของการออกไปลงทุนต่างประเทศ
“ที่ผ่านมา ระเบียบเงื่อนไขการลงทุนต่างๆ ออกมาชัดเจนแล้วหมดแล้ว แต่ในแง่ของการรับรู้ของผู้ลงทุนเองยังมัไม่มาก ดังนั้น เราจึงได้จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างการรับรู้ โดยมีผู้เชียวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน ด้านกฎหมาย ซึ่งน่าจะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อถือมากขึ้น” นายธีระพันธุ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ ธปท.อนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนผู้ลงทุนยังคงน้อยมาก โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ลงทุนยังไม่กล้าตัดสินใจออกไปลงทุน ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนทั่วโลกค่อนข้างผันผวน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในหลายตลาด แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากกว่าในการซื้อของถูก ซึ่งหากเป็นการลงทุนระยะยาวด้วยแล้วก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลผ่านบริษัทจัดการกองทุน จะสามารถลงทุนได้ค่อนข้างกว้างกว่าบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากสามารถลงทุนได้เฉพาะหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดของประเทศนั้นๆ เท่านั้น ส่วนการลงทุนผ่าน บลจ.สามารถลงทุนได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองเงินต้น การลงทุนในสตรัคเจอร์โพรดักซ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหุ้นในต่างประเทศ หรือดัชนีราคาคอมมอดิตี นอกจากนั้น ยังกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทตามความเสี่ยงของผู้ลงทุนเองด้วย
**พ.ค.ขยายตัวเพิ่มกว่า 2 พันล้าน**
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยจากการรายงานตัวเลขล่าสุด พบว่า ตลอดทั้งเดือนพฤษภาคมมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 179,939.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,169.00 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 177,770.71 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งภาพรวมการลงทุนตลอดทั้งเดือนมีเงินไหลเข้าออกในแต่ละบริษัทจัดการแตกต่างกันไป
โดยจากรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) บริษัทจัดการที่มีเงินลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย อับดับ 1.บลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 35,187.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 9.86 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 35,177.41 ล้านบาท อันดับ 2.บลจ.ทิสโก้ มีเงินลงทุนรวม 31,641.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 180.13 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 31,461.16 ล้านบาท
อันดับ 3.บลจ.ไอเอ็นจี มีเงินลงทุนรวม 22,654.28 ล้านบาท ลดลงประมาณ 76.74 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 22,731.02 ล้านบาท อันดับ 4.บลจ.เอ็มเอฟซี มีเงินลงทุนรวม 21,324.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 189.73 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 21,134.30 ล้านบาท อันดับ 5.บลจ.วรรณ มีเงินลงทุนรวม 20,637.05 ล้านบาท ลดลงประมาณ 74.85 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,711.90 ล้านบาท
อันดับ 6.ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีเงินลงทุนรวม 9,531.61 ล้านบาท ลดลงประมาณ 117.54 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 9,649.15 ล้านบาท อันดับ 7.บลจ.อเบอร์ดีน มีเงินลงทุนรวม 6,542.34 ล้านบาท ลดลงประมาณ 27.09 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,569.43 ล้านบาท อันดับ 8.บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด มีเงินลงทุนรวม 6,267.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 525.64 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,741.65 ล้านบาท
อันดับ 9.บลจ.ไทยพาณิชย์ มีเงินลงทุนรวม 5,884.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 441.01 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,443.85 ล้านบาท และอันดับ 10.บลจ.อยุธยา ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,686.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล้กน้อยประมาณ 49.94 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมในเดือนเมษายนที่ 3,636.34 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากจำนวนบริษัทจัดการทั้งระบบ 23 บริษัท พบว่า บลจ.กรุงไทย มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นถึง 1,354.66 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมขยับขึ้นมาเป็น 3,232.76 ล้าน