สมาคมบลจ. ผุดไอเดียบรรเจิด ดึงเศรษฐีร่วมฟังข้อมูลการลงทุนต่างประเทศผ่านกองทุนส่วนบุคคล แจงยิบทั้งเงื่อนไขวิธีลงทุน สิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ เผยตัวเลขล่าสุดเงินลงทุนยังน้อย เหตุความผันผวนทั่วโลกฉุดความมั่นใจ ขณะที่เงินลงทุนทั้งระบบสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม เงินไหลเข้าอีกกว่า 2 พันล้าน "กสิกรไทย" ยังรั้งแชมป์ โดย "กรุงไทย" โกยเงินเข้าพอร์ตสูงสุด
นายธีระพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะอุปนายกสมาคมกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้ สมาคมบลจ. จะจัดสัมมนาให้ความรู้นักลงทุนเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนส่วนบุคคล หลังจากได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สามารถออกไปลงทุนได้แล้ว
โดยการสัมมนาดังกล่าว สมาคมฯ จะเชิญบริษัทหลักทรัพย์หรือเซลล์ลิ่งเอเจนต์ที่บริหารเงินให้กับเศรษฐีมารว่มฟังข้อมูล พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนขายดังกล่าว สามารถนำลูกค้าที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมฟังข้อมูลในครั้งนี้ด้วย ในขณะที่สมาคมเอง ก็จะเชิญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นสหกรณ์ มูลนิธิต่างๆ เข้ามาร่วมฟังข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งนี้ สมาคมจะให้ข้อมูลของการลงทุนในต่างประเทศทุกด้าน ตั้งแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เงื่อนไขทางด้านภาษี รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นถึงความน่าสนใจของการออกไปลงทุนต่างประเทศ
"ที่ผ่านมาระเบียบเงื่อนไขการลงทุนต่างๆ ออกมาชัดเจนแล้วหมดแล้ว แต่ในแง่ของการรับรู้ของผู้ลงทุนเองยังมัไม่มาก ดังนั้น เราจึงได้จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างการรับรู้ โดยมีผู้เชียวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน ด้านกฏหมาย ซึ่งน่าจะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อถือมากขึ้น"นายธีระพันธุ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ธปท. อนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนผู้ลงทุนยังคงน้อยมาก โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ลงทุนยังไม่กล้าตัดสินใจออกไปลงทุน ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนทั่วโลกค่อนข้างผันผวน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในหลายตลาด แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากกว่าในการซื้อของถูก ซึ่งหากเป็นการลงทุนระยะยาวด้วยแล้วก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลผ่านบริษัทจัดการกองทุน จะสามารถลงทุนได้ค่อนข้างกว้างกว่าบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากสามารถลงทุนได้เฉพาะหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดของประเทศนั้นๆ เท่านั้น ส่วนการลงทุนผ่านบลจ. สามารถลงทุนได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองเงินต้น การลงทุนในสตรัคเจอร์โพรดักซ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหุ้นในต่างประเทศ หรือดัชนีราคาคอมมอดิตี นอกจากนั้น ยังกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทตามความเสี่ยงของผู้ลงทุนเองด้วย
นายธีระพันธุ์กล่าวว่า สำหรับบลจ.กรุงไทยเอง ขณะนี้ยังไม่มีลูกค้าที่แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศเข้ามา เนื่องจากอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเรื่องระบบ รวมถึงการตลาด ขณะเดียวกัน ยังอยู่ระหว่างพูดคุยกับเซลล์ลิ่งเอเจนต์ หรือธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในการให้บริการลูกค้าด้วย แต่ความพร้อมประมาณตอนนี้ถึง 90% แล้ว
**พ.ค.ขยายตัวเพิ่มกว่า2พันล้าน**
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยจากการรายงานตัวเลขล่าสุด พบว่า ตลอดทั้งเดือนพฤษภาคมมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 179,939.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,169.00 ล้านบาทจากจำนวนเงินลงทุนรวม 177,770.71 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งภาพรวมการลงทุนตลอดทั้งเดือนมีเงินไหลเข้าออกในแต่ละบริษัทจัดการแตกต่างกันไป
โดยจากรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) บริษัทจัดการที่มีเงินลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย อับดับ 1 บลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 35,187.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 9.86 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 35,177.41 ล้านบาท อันดับ 2. บลจ. ทิสโก้ มีเงินลงทุนรวม 31,641.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 180.13 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 31,461.16 ล้านบาท
อันดับ 3. บลจ.ไอเอ็นจี มีเงินลงทุนรวม 22,654.28 ล้านบาท ลดลงประมาณ 76.74 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 22,731.02 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.เอ็มเอฟซี มีเงินลงทุนรวม 21,324.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 189.73 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 21,134.30 ล้านบาท อันดับ 5. บลจ.วรรณ มีเงินลงทุนรวม 20,637.05 ล้านบาท ลดลงประมาณ 74.85 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,711.90 ล้านบาท
อันดับ 6. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีเงินลงทุนรวม 9,531.61 ล้านบาท ลดลงประมาณ 117.54 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 9,649.15 ล้านบาท อันดับ 7. บลจ.อเบอร์ดีน มีเงินลงทุนรวม 6,542.34 ล้านบาท ลดลงประมาณ 27.09 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,569.43 ล้านบาท อันดับ 8. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด มีเงินลงทุนรวม 6,267.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 525.64 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,741.65 ล้านบาท
อันดับ 9. บลจ. ไทยพาณิชย์ มีเงินลงทุนรวม 5,884.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 441.01 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,443.85 ล้านบาท และอันดับ 10. บลจ.อยุธยา ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,686.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล้กน้อยประมาณ 49.94 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมในเดือนเมษายนที่ 3,636.34 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากจำนวนบริษัทจัดการทั้งระบบ 23 บริษัท พบว่า บลจ.กรุงไทย มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นถึง 1,354.66 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมขยับขึ้นมาเป็น 3,232.76 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 1,878.10 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ และขยับส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเป็นอันดับ 12 ของอุตสาหกรรม
นายธีระพันธุ์ จิตตาลาน รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะอุปนายกสมาคมกลุ่มธุรกิจกองทุนส่วนบุคคล (ไพรเวตฟันด์) สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้ สมาคมบลจ. จะจัดสัมมนาให้ความรู้นักลงทุนเกี่ยวกับการลงทุนในต่างประเทศของกองทุนส่วนบุคคล หลังจากได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้สามารถออกไปลงทุนได้แล้ว
โดยการสัมมนาดังกล่าว สมาคมฯ จะเชิญบริษัทหลักทรัพย์หรือเซลล์ลิ่งเอเจนต์ที่บริหารเงินให้กับเศรษฐีมารว่มฟังข้อมูล พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ตัวแทนขายดังกล่าว สามารถนำลูกค้าที่สนใจออกไปลงทุนต่างประเทศเข้ามาร่วมฟังข้อมูลในครั้งนี้ด้วย ในขณะที่สมาคมเอง ก็จะเชิญกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เป็นสหกรณ์ มูลนิธิต่างๆ เข้ามาร่วมฟังข้อมูลอีกส่วนหนึ่ง
ทั้งนี้ สมาคมจะให้ข้อมูลของการลงทุนในต่างประเทศทุกด้าน ตั้งแต่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เงื่อนไขทางด้านภาษี รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนที่น่าสนใจ เพื่อให้เห็นถึงความน่าสนใจของการออกไปลงทุนต่างประเทศ
"ที่ผ่านมาระเบียบเงื่อนไขการลงทุนต่างๆ ออกมาชัดเจนแล้วหมดแล้ว แต่ในแง่ของการรับรู้ของผู้ลงทุนเองยังมัไม่มาก ดังนั้น เราจึงได้จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ขึ้นมา เพื่อสร้างการรับรู้ โดยมีผู้เชียวชาญด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน ด้านกฏหมาย ซึ่งน่าจะทำให้นักลงทุนมีความเชื่อถือมากขึ้น"นายธีระพันธุ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ธปท. อนุญาตให้กองทุนส่วนบุคคลสามารถออกไปลงทุนในต่างประเทศได้จนถึงปัจจุบัน สัดส่วนผู้ลงทุนยังคงน้อยมาก โดยปัจจัยที่ทำให้ผู้ลงทุนยังไม่กล้าตัดสินใจออกไปลงทุน ส่วนหนึ่งมาจากภาวะการลงทุนทั่วโลกค่อนข้างผันผวน โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาค่อนข้างมากในหลายตลาด แต่จริงๆ แล้วน่าจะเป็นโอกาสที่ดีมากกว่าในการซื้อของถูก ซึ่งหากเป็นการลงทุนระยะยาวด้วยแล้วก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีด้วย
ทั้งนี้ การลงทุนของกองทุนส่วนบุคคลผ่านบริษัทจัดการกองทุน จะสามารถลงทุนได้ค่อนข้างกว้างกว่าบริษัทหลักทรัพย์ เนื่องจากสามารถลงทุนได้เฉพาะหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดของประเทศนั้นๆ เท่านั้น ส่วนการลงทุนผ่านบลจ. สามารถลงทุนได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองเงินต้น การลงทุนในสตรัคเจอร์โพรดักซ์ที่อ้างอิงผลตอบแทนกับการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหุ้นในต่างประเทศ หรือดัชนีราคาคอมมอดิตี นอกจากนั้น ยังกำหนดสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภทตามความเสี่ยงของผู้ลงทุนเองด้วย
นายธีระพันธุ์กล่าวว่า สำหรับบลจ.กรุงไทยเอง ขณะนี้ยังไม่มีลูกค้าที่แสดงความจำนงไปลงทุนต่างประเทศเข้ามา เนื่องจากอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเรื่องระบบ รวมถึงการตลาด ขณะเดียวกัน ยังอยู่ระหว่างพูดคุยกับเซลล์ลิ่งเอเจนต์ หรือธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในการให้บริการลูกค้าด้วย แต่ความพร้อมประมาณตอนนี้ถึง 90% แล้ว
**พ.ค.ขยายตัวเพิ่มกว่า2พันล้าน**
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) เปิดเผยว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การลงทุนในกองทุนส่วนบุคคลยังสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยจากการรายงานตัวเลขล่าสุด พบว่า ตลอดทั้งเดือนพฤษภาคมมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 179,939.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 2,169.00 ล้านบาทจากจำนวนเงินลงทุนรวม 177,770.71 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งภาพรวมการลงทุนตลอดทั้งเดือนมีเงินไหลเข้าออกในแต่ละบริษัทจัดการแตกต่างกันไป
โดยจากรายงานส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เกตแชร์) บริษัทจัดการที่มีเงินลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก ประกอบด้วย อับดับ 1 บลจ.กสิกรไทย ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 35,187.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 9.86 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 35,177.41 ล้านบาท อันดับ 2. บลจ. ทิสโก้ มีเงินลงทุนรวม 31,641.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 180.13 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 31,461.16 ล้านบาท
อันดับ 3. บลจ.ไอเอ็นจี มีเงินลงทุนรวม 22,654.28 ล้านบาท ลดลงประมาณ 76.74 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 22,731.02 ล้านบาท อันดับ 4. บลจ.เอ็มเอฟซี มีเงินลงทุนรวม 21,324.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 189.73 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 21,134.30 ล้านบาท อันดับ 5. บลจ.วรรณ มีเงินลงทุนรวม 20,637.05 ล้านบาท ลดลงประมาณ 74.85 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 20,711.90 ล้านบาท
อันดับ 6. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่มีเงินลงทุนรวม 9,531.61 ล้านบาท ลดลงประมาณ 117.54 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 9,649.15 ล้านบาท อันดับ 7. บลจ.อเบอร์ดีน มีเงินลงทุนรวม 6,542.34 ล้านบาท ลดลงประมาณ 27.09 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 6,569.43 ล้านบาท อันดับ 8. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด มีเงินลงทุนรวม 6,267.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 525.64 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,741.65 ล้านบาท
อันดับ 9. บลจ. ไทยพาณิชย์ มีเงินลงทุนรวม 5,884.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 441.01 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 5,443.85 ล้านบาท และอันดับ 10. บลจ.อยุธยา ซึ่งมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,686.28 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล้กน้อยประมาณ 49.94 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวมในเดือนเมษายนที่ 3,636.34 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากจำนวนบริษัทจัดการทั้งระบบ 23 บริษัท พบว่า บลจ.กรุงไทย มีจำนวนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเพิ่มขึ้นถึง 1,354.66 ล้านบาท ทำให้เงินลงทุนรวมขยับขึ้นมาเป็น 3,232.76 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 1,878.10 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้ และขยับส่วนแบ่งการตลาดขึ้นมาเป็นอันดับ 12 ของอุตสาหกรรม