xs
xsm
sm
md
lg

รวงข้าวคืนกำไร 8 แชมป์กองตราสารหนี้ก.ค

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ได้รับความนิยมจากนักลงทุนในปีที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก โดยที่มูลค่ากองทุนรวมประเภทดังกล่าวที่ยังคงมีอัตราการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นกองทุนที่นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนอยู่เสมอๆอย่างต่อเนื่อง เพราะมีความเสี่ยงต่ำใกล้เคียงกับเงินฝาก

โดยในช่วงตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตลาดตราสารหนี้มีค่อนข้างจะมีความผันผวน อันเนื่องมาจากปัญหาราคานํ้ามัน ที่ส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น และพาให้ธนาคารกลางต้องปรับเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยตามไปด้วย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งส่งผลไปถึงกองทุนตราสารหนี้ของ บลจ. ต่างๆ พอสมควร

คอลัมน์ "Best of fund" วันนี้ จึงพามาดูผลตอบแทน 10 อันดับแรกของกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ ซึ่งรายงานโดย LIPPER ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2551เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจการลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ รวมถึงข้อแนวโน้มของตราสารหนี้ในระยะต่อจากนี้ไป

ทั้งนี้ จากรายงานของ LIPPER ระบุว่า กองทุนรวมตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีสูงสุดคือ กองทุนเปิด รวงข้าวคืนกำไร 8 ของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2551 กองทุนมีขนาด 2,2141.21 ล้านบาท โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี (Year to Date) อยู่ที่ 5.14% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.70.%

อันดับ 2 กองทุนเปิดกรุงไทยตราสารหนี้ปันผล ภายใต้การบริหารของ บลจ. กรุงไทย จำกัด โดยมีขนาดกองทุน 601.72 ล้านบาท กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.76% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.32%

อันดับ 3 ได้แก่ กองทุนเปิดธนชาติตราสารหนี้ ภายใต้การจัดการของ บลจ. ธนชาติ จำกัด ที่มีขนาดกองทุน 588.76 ล้านบาท กองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.55% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.11%

ส่วนกองทุนที่ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีสูงสุดเป็นอันดับ 4 คือ กองทุนเปิดธนสาร ดูแลบริหารจัดการโดย บลจ.ธนชาติ ที่มีขนาดกองทุน 903.77 ล้านบาท ซึ่งให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.49% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.05%

อันดับที่ 5 ของกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดได้แก่กองทุนเปิด ธีรสมบัติ ภายใต้การจัดการของ บลจ. ธนชาติ จำกัด ซึ่งมีขนาดกองทุน 113.01 ล้านบาท ให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.46% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 2.02%

อันดับ 6 ได้แก่ กองทุนเปิด ยูโอบี มั่นคง 36/1 ภายใต้การจัดการของ บลจ.ยูโอบี (ประเทศไทย) มีขนาดกองทุน 619 ล้านบาท โดยกองทุนสามารถให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.29% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.85%

อันดับต่อมาของกองทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดในอันดับที่ 7 คือ กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 5 ของ บลจ. กสิกรไทย มีขนาดกองทุน 5,147.50 ล้านบาท ซึ่งกองทุนให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.25% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.81%

อันดับ 8 กองทุนเปิดทิสโก้ สเปเชี่ยล พลัส 3 ในภายใต้บริหารจัดการของ บลจ.ทิสโก้ มีขนาดกองทุน 151.48 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.11% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.67%

อันดับ 9 กองทุนเปิดธนภัทรตราสารหนี้คืนกำไร 1/52 ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.ทหารไทย มีขนาดกองทุน 1,116.04 ล้านบาท และให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.08% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.64%

และสุดท้ายอันดับที่ 10 กองทุนเปิดไทยพาณิชย์เฉพาะเจาะจง 6 ภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ. ไทยพาณิชย์ โดยกองทุนมีขนาด 105.45 ล้านบาท โดยให้ผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 4.07% และสามารถให้ผลตอบแทนสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ 1.63%

เปิดพอร์ตกองทุนอันดับ1
ชัชชัย สฤษดิ์อภิรักษ์ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บลจ.กสิกรไทย จำกัด ระบุว่า สาเหตุที่กองทุนเปิดรวงข้าวคืนกำไร 8 ได้รับผลตอบแทนดีนั้น เป็นเพราะกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่มีอายุโครงการ 8 ปี ซึ่งภาวะอัตราดอกเบี้ยในตลาดที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลดีต่อผลตอบแทนของกองทุน ทั้งนี้ กองทุนดังกล่าวยังไม่นโยบายในการปรับพอร์ตลงทุน เนื่องจากเป็นกองทุนที่ลงทุนแล้วถือครองในระยะยาว ส่งผลให้แม้ว่าจะเป็นกองทุนเปิด แต่การถือครองในระยะยาวจึงทำให้กองทุนดังกล่าวเป็นเหมือนกองทุนปิด

ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ของทางธนาคารกลางแห่งประเทศไทยนั้น มองว่าเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ล่วงหน้าตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา แล้วว่า น่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างแน่นอน ซึ่งการปรับขึ้นดังกล่าวส่งผลให้อัตราผลตอบแทนของตราสารหนี้ของกองทุนที่มีอายุมากกว่า 1 ปีปรับเพิ่มขึ้น แต่ในช่วงสัปดาห์นี้ ผลตอบแทนของกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุกองทุนเกิน 2 ปีปรับตัวลดลง เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของทาง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในครั้งนี้จะเป็นการปรับเพิ่มขึ้นครั้งสุดท้ายแล้ว

ส่วนแนวโน้มของตราสารหนี้หลังจากนี้ จะคงอยู่ในลักษณะแกว่งตัว โดยกองทุนที่มีอายุโครงการมากกว่า 2 ปีคงแกว่งตัวในในลักษณะแคบๆ ซึ่งไม่น่าจะแกว่งตัวถึงระดับ 0.2% รวมถึงกองทุนที่มีอายุโครงการน้อยกว่า 1 ปีด้วยเช่นกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น