รอยเตอร์ – นักลงทุนพากันเทขายหุ้นของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค สองสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ หลังจากหนังสือพิมพ์ด้านตลาดการเงินชื่อดังรายงานว่า ทางการสหรัฐฯคงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากควบรวมเข้ามาเป็นกิจการของรัฐ เพื่อมิให้ประสบกับภาวะล้มละลาย
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ บาร์รอน รายงานในฉบับล่าสุดว่า ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่จะจัดโครงสร้างใหม่และอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าในไปสถาบันการเงินทั้งสอง อาจทำให้ต้องล้างหุ้นทั้งหมดที่เอกชนถืออยู่ รวมทั้งผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์และผู้ถือครองหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่หน่วยงานทั้งสองเป็นผู้ออก มูลค่า 19,000 ล้านดอลลาร์ ก็อาจจะต้องประสบการขาดทุน
ราคาหุ้นของแฟนนี เม ร่วงลงมากกว่า 22 % สู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 19 ปีที่ 6.15 ดอลลาร์ เมื่อวันจันทร์ (18) ขณะที่หุ้นของเฟรดดี แมคก็ดิ่งลง 25% มาเหลือ 4.39 ดอลลาร์ต่อหุ้น นอกจากนี้หุ้นกู้ที่สถาบันการเงินทั้งสองออกบางตัวก็ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราของพันธบัตรกระทรวงการคลังเสียอีก ตราสารหนี้ของเฟรดดี แมคมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์นั้นมีคนมาประมูลซื้อน้อยลงมากเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน
ยิ่งกว่านั้น ข่าวเกี่ยวกับฐานะของสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่ทั้งสอง ยังฉุดให้หุ้นตัวอื่นๆ ในภาคการเงินย่ำแย่ไปตามๆ กัน กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดวันจันทร์ ติดลบ 180.51 จุด หรือ 1.55%
นักลงทุนยังคงหวั่นวิตก ถึงแม้ทางด้านโฆษกของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ออกมาแถลงว่า กระทรวงไม่มีแผนการที่จะใช้อำนาจที่มีอยู่ มาประคับประคองเฟรดดี แมค และแฟนนี เมเอาไว้ในลักษณะที่เป็นข่าว ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้อำนาจดังกล่าวจากกฎหมายฉบับใหม่ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม
ขณะที่ ชารอน แมคเฮล ซึ่งเป็นโฆษกของเฟรดดี แมคออกมาปฏิเสธข่าวที่ลงในบาร์รอนว่าหนังสือพิมพ์รายงานภาพให้ย่ำแย่มากเกินจริง “เพราะตอนนี้เรายังคงมีเงินทุนที่พอเพียงอยู่”
ส่วนโฆษกของแฟนนี เม ปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องนี้
วิกฤตที่เกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ปัจจุบันทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อบ้านเพิ่มขึ้นราวหนึ่งเปอร์เซนต์เทียบกับเมื่อปีก่อน และก็ยังไม่เห็นสัญญาณแม้แต่น้อยว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไร ซึ่งหมายความอัตราดอกเบี้ยอาจจะพุ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ
“นักลงทุนนั้นพยายามที่จะมองว่า วิกฤตที่อยู่อาศัยและวิกฤตสินเชื่อน่าจะใกล้สิ้นสุดลงแล้วอยู่เสมอ พวกเขาพร้อมที่จะเชื่อเช่นนั้น แต่ทุกครั้งที่เกิดข่าวร้าย ๆขึ้นอีก พวกเขาก็ต้องกลับมาคิดใหม่” พอล โนลเต ผู้อำนวยการด้านการลงทุนของฮินสเดล แอสโซซิเอตส์ในมลรัฐอิลลินอยส์กล่าว
มีรายงานว่า พวกธนาคารกลางของต่างประเทศได้พากันขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการเงินทั้งสองที่พวกเขาถือไว้ออกมาในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นมูลค่าถึง 11,000 ล้านดอลลาร์ และในขณะนี้นักลงทุนก็กำลังรอความกระจ่างอยู่ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะมีมาตรการอย่างไรออกมาสำหรับสถาบันการเงินทั้งสองอีกหรือไม่ แฟนนี เมและเฟรดดี แมคนั้นเป็นสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นมาจากการอนุมัติของรัฐสภาเพื่อให้ทำหน้าที่หนุนตลาดที่อยู่อาศัย โดยทำให้ตลาดนี้มีสภาพคล่องอยู่เสมอ สถาบันการเงินสองแห่งนี้มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ออกเองหรือว่าที่รับประกันเอาไว้มีมูลค่าสูงถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์
“ตอนนี้ก็ยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยจะมีการเพิ่มทุนหรือเปล่า ดังนั้นนักลงทุนจำนวนมากยังคงรอดูอยู่ เมื่อมองในมุมของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งแล้ว หากว่ายังคงมีเงินทุนเข้ามา พวกเขาก็ยังคงดำเนินงานต่อไปได้และแม้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าง พวกเขาก็จะทำเพราะว่าไม่ต้องสนใจลูกค้า” ราจิฟ ซีเทียนักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ แคปปิตอลกล่าว
ในส่วนรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์บาร์รอน ได้อ้างแหล่งข่าวในคณะรัฐบาลบุชกล่าวว่า ทั้งแฟนนี เมและเฟรดดี แมค กำลังถูกบีบให้ดำเนินการเพิ่มทุน จากกระทรวงการคลังและสำนักงานสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่เพิ่งมีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมนี้
โดยบาร์รอนรายงานว่า หน่วยงานทั้งสองไม่คาดว่าทั้งแฟนนี เม และ เฟรดดี แมคจะสามารถทำได้สำเร็จ
บาร์รอนรายงานต่อไปว่า หากทั้งสองสถาบันไม่สามารถที่จะระดมทุนใหม่ ๆเข้ามาได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่ทางการสหรัฐฯจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าไป ซึ่งก็เท่ากับว่ากระทรวงการคลังต้องเอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้ การอัดฉีดเม็ดเงินนั้นอาจจะทำในรูปของการออกหุ้นบุริมสิทธิซึ่งคุณสมบัติของมันทั้งระยะเวลาหมดอายุ, สิทธิในเงินปันผล, และการเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์ชนิดอื่น ๆ จะส่งผลให้หุ้นสามัญของทั้งแฟนนี เม และเฟรดดี แมค “จะถูกล้างไปจนหมด รวมทั้งหุ้นบุริมสิทธิ์ก็จะหมดสิทธิ์ในการได้เงินปันผลไปทันที
บาร์รอนยังรายงานอีกว่าการอัดฉีดเงินทุนเข้าไปอาจจะทำให้ทั้งสองสถาบันกลายเป็นหน่วยงานของรัฐก็จริง แต่จะไม่อยู่ในงบดุลของรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ต้องการให้ไปเพิ่มยอดหนี้สาธารณะของทางการให้มากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม วาณิชธนกิจวอลล์สตรีทยักษ์ใหญ่อย่าง เมอร์ริลลินช์ เมื่อวันจันทร์(17)ยังมองว่าเฟรดดี แมคน่าจะแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มทุนใหม่ ๆได้ในช่วงไตรมาสสามของปีนี้ ซึ่งน่าจะคิดเป็น 50 % ของหุ้นสามัญ ขณะเดียวกัน เมอร์ริลก็ลดราคาเป้าหมายของเฟรดดี แมคลงด้วย
หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ บาร์รอน รายงานในฉบับล่าสุดว่า ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลที่จะจัดโครงสร้างใหม่และอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าในไปสถาบันการเงินทั้งสอง อาจทำให้ต้องล้างหุ้นทั้งหมดที่เอกชนถืออยู่ รวมทั้งผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์และผู้ถือครองหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่หน่วยงานทั้งสองเป็นผู้ออก มูลค่า 19,000 ล้านดอลลาร์ ก็อาจจะต้องประสบการขาดทุน
ราคาหุ้นของแฟนนี เม ร่วงลงมากกว่า 22 % สู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 19 ปีที่ 6.15 ดอลลาร์ เมื่อวันจันทร์ (18) ขณะที่หุ้นของเฟรดดี แมคก็ดิ่งลง 25% มาเหลือ 4.39 ดอลลาร์ต่อหุ้น นอกจากนี้หุ้นกู้ที่สถาบันการเงินทั้งสองออกบางตัวก็ให้ผลตอบแทนต่ำกว่าอัตราของพันธบัตรกระทรวงการคลังเสียอีก ตราสารหนี้ของเฟรดดี แมคมูลค่า 4,000 ล้านดอลลาร์นั้นมีคนมาประมูลซื้อน้อยลงมากเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน
ยิ่งกว่านั้น ข่าวเกี่ยวกับฐานะของสถาบันสินเชื่อที่อยู่อาศัยยักษ์ใหญ่ทั้งสอง ยังฉุดให้หุ้นตัวอื่นๆ ในภาคการเงินย่ำแย่ไปตามๆ กัน กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีหุ้นอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดตลาดวันจันทร์ ติดลบ 180.51 จุด หรือ 1.55%
นักลงทุนยังคงหวั่นวิตก ถึงแม้ทางด้านโฆษกของกระทรวงการคลังสหรัฐฯได้ออกมาแถลงว่า กระทรวงไม่มีแผนการที่จะใช้อำนาจที่มีอยู่ มาประคับประคองเฟรดดี แมค และแฟนนี เมเอาไว้ในลักษณะที่เป็นข่าว ทั้งนี้กระทรวงการคลังได้อำนาจดังกล่าวจากกฎหมายฉบับใหม่ที่ได้รับอนุมัติจากรัฐสภาเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม
ขณะที่ ชารอน แมคเฮล ซึ่งเป็นโฆษกของเฟรดดี แมคออกมาปฏิเสธข่าวที่ลงในบาร์รอนว่าหนังสือพิมพ์รายงานภาพให้ย่ำแย่มากเกินจริง “เพราะตอนนี้เรายังคงมีเงินทุนที่พอเพียงอยู่”
ส่วนโฆษกของแฟนนี เม ปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องนี้
วิกฤตที่เกิดขึ้นในตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ปัจจุบันทำให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อบ้านเพิ่มขึ้นราวหนึ่งเปอร์เซนต์เทียบกับเมื่อปีก่อน และก็ยังไม่เห็นสัญญาณแม้แต่น้อยว่าสถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไร ซึ่งหมายความอัตราดอกเบี้ยอาจจะพุ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ
“นักลงทุนนั้นพยายามที่จะมองว่า วิกฤตที่อยู่อาศัยและวิกฤตสินเชื่อน่าจะใกล้สิ้นสุดลงแล้วอยู่เสมอ พวกเขาพร้อมที่จะเชื่อเช่นนั้น แต่ทุกครั้งที่เกิดข่าวร้าย ๆขึ้นอีก พวกเขาก็ต้องกลับมาคิดใหม่” พอล โนลเต ผู้อำนวยการด้านการลงทุนของฮินสเดล แอสโซซิเอตส์ในมลรัฐอิลลินอยส์กล่าว
มีรายงานว่า พวกธนาคารกลางของต่างประเทศได้พากันขายหลักทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับสถาบันการเงินทั้งสองที่พวกเขาถือไว้ออกมาในช่วงสี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นมูลค่าถึง 11,000 ล้านดอลลาร์ และในขณะนี้นักลงทุนก็กำลังรอความกระจ่างอยู่ว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะมีมาตรการอย่างไรออกมาสำหรับสถาบันการเงินทั้งสองอีกหรือไม่ แฟนนี เมและเฟรดดี แมคนั้นเป็นสถาบันการเงินที่เกิดขึ้นมาจากการอนุมัติของรัฐสภาเพื่อให้ทำหน้าที่หนุนตลาดที่อยู่อาศัย โดยทำให้ตลาดนี้มีสภาพคล่องอยู่เสมอ สถาบันการเงินสองแห่งนี้มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ออกเองหรือว่าที่รับประกันเอาไว้มีมูลค่าสูงถึง 5 ล้านล้านดอลลาร์
“ตอนนี้ก็ยังไม่แน่นอนว่าจะเกิดอะไรขึ้น โดยจะมีการเพิ่มทุนหรือเปล่า ดังนั้นนักลงทุนจำนวนมากยังคงรอดูอยู่ เมื่อมองในมุมของสถาบันการเงินทั้งสองแห่งแล้ว หากว่ายังคงมีเงินทุนเข้ามา พวกเขาก็ยังคงดำเนินงานต่อไปได้และแม้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบ้าง พวกเขาก็จะทำเพราะว่าไม่ต้องสนใจลูกค้า” ราจิฟ ซีเทียนักวิเคราะห์จากบาร์เคลย์ แคปปิตอลกล่าว
ในส่วนรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์บาร์รอน ได้อ้างแหล่งข่าวในคณะรัฐบาลบุชกล่าวว่า ทั้งแฟนนี เมและเฟรดดี แมค กำลังถูกบีบให้ดำเนินการเพิ่มทุน จากกระทรวงการคลังและสำนักงานสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่เพิ่งมีการจัดตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลสินเชื่อในภาคอุตสาหกรรมนี้
โดยบาร์รอนรายงานว่า หน่วยงานทั้งสองไม่คาดว่าทั้งแฟนนี เม และ เฟรดดี แมคจะสามารถทำได้สำเร็จ
บาร์รอนรายงานต่อไปว่า หากทั้งสองสถาบันไม่สามารถที่จะระดมทุนใหม่ ๆเข้ามาได้ ก็มีความเป็นไปได้ที่ทางการสหรัฐฯจะต้องอัดฉีดเม็ดเงินใหม่เข้าไป ซึ่งก็เท่ากับว่ากระทรวงการคลังต้องเอาเงินภาษีของประชาชนมาใช้ การอัดฉีดเม็ดเงินนั้นอาจจะทำในรูปของการออกหุ้นบุริมสิทธิซึ่งคุณสมบัติของมันทั้งระยะเวลาหมดอายุ, สิทธิในเงินปันผล, และการเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์ชนิดอื่น ๆ จะส่งผลให้หุ้นสามัญของทั้งแฟนนี เม และเฟรดดี แมค “จะถูกล้างไปจนหมด รวมทั้งหุ้นบุริมสิทธิ์ก็จะหมดสิทธิ์ในการได้เงินปันผลไปทันที
บาร์รอนยังรายงานอีกว่าการอัดฉีดเงินทุนเข้าไปอาจจะทำให้ทั้งสองสถาบันกลายเป็นหน่วยงานของรัฐก็จริง แต่จะไม่อยู่ในงบดุลของรัฐบาล เพราะรัฐบาลไม่ต้องการให้ไปเพิ่มยอดหนี้สาธารณะของทางการให้มากขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม วาณิชธนกิจวอลล์สตรีทยักษ์ใหญ่อย่าง เมอร์ริลลินช์ เมื่อวันจันทร์(17)ยังมองว่าเฟรดดี แมคน่าจะแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มทุนใหม่ ๆได้ในช่วงไตรมาสสามของปีนี้ ซึ่งน่าจะคิดเป็น 50 % ของหุ้นสามัญ ขณะเดียวกัน เมอร์ริลก็ลดราคาเป้าหมายของเฟรดดี แมคลงด้วย