สตช. ขึ้นทะเบียนประวัติอาชญากร "ทักษิณ-พจมาน" แล้ว พร้อมส่งหมายจับออกไปทั่วประเทศ อธิบดีอัยการต่างประเทศแข็งขันเตรียมคณะทำงานขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน คตส.จวกขบวนการบ่อนทำลาย แจงไม่มีใครได้สินบน 7.6 หมื่นล้าน ปชป.ยื่นกระทู้สดจี้บัวแก้วชี้แจงแถลงการณ์แม้วกรณีเนรคุณแผ่นดิน "อภิสิทธิ์" ย้ำไทยต้องจริงจังในการลากคอมาดำเนินคดี รมว.ยุติธรรมอ้างเป็นเรื่องส่วนตัว "เตช" ยอมรับยังยึดพาสปอร์ตแดงไม่ได้ "บุญสร้าง" พูดแปลกอย่าไปเดือดร้อน
วานนี้ (14 ส.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับหมายจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยหมายจับถูกส่งมายัง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกออกหมายจับในข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ มาตรา 4 , 100 และ 122 มีอายุความ 15 ปี ขณะที่คุณหญิงพจมาน ถูกออกหมายจับในข้อหา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐและเป็นผู้สนับสนุน มาตรา 4 ,100 และ 122 มีอายุความ 10 ปี
พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับหมายจับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ขึ้นทะเบียน และออกประกาศสืบจับ ฉบับที่ 350/2551 สืบจับ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะนำประกาศสืบจับแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสืบจับกุม ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงตามที่ปรากฎเป็นข่าวสาร พบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน อยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งคงต้องดำเนินการ ในส่วนของตำรวจสิ่งแรกที่ต้องทำ สตม.ต้องไปตรวจสอบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีการเดินทางเข้าออกอย่างไร
พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า จากข้อมูลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางออกไปประเทศจีน แต่ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชนทราบว่าขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ประเทศอังกฤษ ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนั้น ตร.ก็จะได้แจ้งไปยังอัยการสูงสุด ซึ่งอัยการสูงสุดก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนการตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดนและสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับประเทศอังกฤษ เพื่อนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ตั้งทีมขอตัวผู้ร้ายข้ามแดน
นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าวชี้แจงขั้นตอนการเตรียมยื่นคำร้องขอส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ร้ายข้ามแดนว่า ขณะนี้แม้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ยังไม่ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานอัยการเพื่อดำเนินการอย่างเป็นทางการ แต่เวลานี้ได้เตรียมคณะทำงานจากอัยการฝ่ายต่างประเทศรองรับไว้แล้ว เพราะหากจะต้องดำเนินการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน ก็จะต้องจัดเตรียมเอกสารจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น หนังสือคำร้องที่ต้องร่างเป็นภาษาอังกฤษที่จะส่งถึงผู้ประสานงานกลางฝ่ายประเทศอังกฤษ โดยต้องระบุถิ่นที่อยู่จำเลย ,หมายจับของศาลฎีกาฯ พร้อมเอกสารในคดีประกอบ , เอกสารบรรยายพฤติการณ์แห่งคดีที่จะทำให้ประเทศอังกฤษเข้าใจว่า จำเลยมีพฤติการณ์กระทำผิดตามกฎหมายไทย ที่สอดคล้องความผิดของกฎหมายในประเทศอังกฤษอย่างไร โดยเอกสารที่ต้องใช้ยื่นดังกล่าว อัยการยังไม่ได้รับมา
ในส่วนของข้อมูลคดีที่เตรียมจะยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคดีแพ่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน 76,000 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดินนั้น ยังไม่แน่ว่าจะต้องนำเอกสารบรรจุในสำนวนประกอบคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องส่งไปประเทศอังกฤษหรือไม่
"ที่สำคัญคือหลักฐานแสดงถึงถิ่นที่อยู่ ภูมิลำเนาของจำเลยในประเทศอังกฤษโดยในสมัยติดตามตัวนายปิ่น จักกะพาก เราเคยมีถึงรูปถ่ายภาพวิดีโอ โดยการเดินทางเพื่อการดำเนินการแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเป็นงบประมาณที่อัยการต้องเตรียมไว้" นายศิริศักดิ์กล่าว
ยังไม่สามารถขอตัวได้ในเวลานี้
ขณะที่แหล่งข่าวในสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ในการยื่นคำร้องส่งพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นผู้ร้ายข้ามแดน คงยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันทีในเวลานี้ เพราะปกติการยื่นคำร้องจะทำได้ในช่วงเวลา
1. ที่มีการสั่งฟ้องแล้วหลังจากที่มีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานว่ากระทำในข้อหาใด แต่ยังไม่ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาลเพราะหลบหนี ซึ่งตัวอย่างคือ ครั้งแรกที่อัยการขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่พักอยู่ต่างประเทศกลับมาแสดงตัวต่อศาล
2. เมื่อศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว จำเลยไม่มาฟัง เช่น คดีของนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย ที่ถูกอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาฯ ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา แต่คดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ที่ทั้งสองตกเป็นจำเลยร่วมกัน ศาลฎีกาฯ ยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินโดยคดียังอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนพยาน ซึ่งศาลมีคำสั่งให้สืบพยานลับหลังจำเลยได้
ดังนั้นกรณีนี้จึงยังไม่อาจยื่นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ทันที แม้ศาลจะมีคำส่งให้ออกหมายจับ แต่เป็นหมายจับให้จำเลยทั้งสองมารายงานตัวที่ผิดสัญญาประกัน ยังไม่ใช่การให้นำตัวมารับโทษในคดีที่ศาลมีคำตัดสิน ซึ่งหากจะดำเนินการขอให้ประเทศอังกฤษส่งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมา คงต้องรอจนกว่าศาลฎีกาฯ จะมีคำพิพากษาตัดสินว่าทั้งสอง ร่วมกันกระทำผิดกฎหมายอาญาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจในตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ระบุไว้ว่าเป็นความผิดของทั้งสองประเทศที่จะพิจารณาส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้ ซึ่งจะได้ใช้คำพิพากษาของศาลเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนยื่นประกอบ โดยเวลานี้หากจะดำเนินกระบวนการใดๆ เกี่ยวกับต่างประเทศ ส่วนที่เกี่ยวข้องคงเป็นเรื่องข้อตกลงความร่วมมือทางคดีอาญาระหว่างประเทศ ที่หากคดีอยู่ในชั้นไต่สวนแล้วต้องการสืบพยานที่อยู่ต่างประเทศ ก็ขอให้ประเทศนั้นช่วยดำเนินการสืบพยานให้แล้วส่งคำให้การกลับมา
ไต่สวนพยานจำเลยที่ดินรัชดา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯ แม้ตัวจำเลยทั้งสองจะอยู่ต่างประเทศ แต่ศาลก็ยังสามารถดำเนินการไต่สวนพยานจำเลยได้ต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 10 ที่ให้ศาลมีอำนาจพิจารณา และไต่สวนพยานหลักฐานลับหลังจำเลยได้ โดยในวันนี้ (15 ส.ค. ) เวลา 09.30 น. ศาลฎีกา ฯ จะนัดไต่สวนพยานจำเลย ตามที่ได้นัดวัน–เวลา ไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยอัยการรอที่จะฟังด้วยว่า ศาลจะมีคำสั่งใดๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 1-2 หรือคำสั่งใดๆ ในการไต่สวนคดีหรือไม่
คตส.อัดกลับไม่มีเอี่ยวสินบน 25%
กรณีมีการตั้งข้อสังเกตบนหนังสือพิมพ์ว่ามีกลุ่มบุคคลได้รับประโยชน์จากการยึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของครอบครัวชินวัตร ในรูปของของสินบนจำนวน 25% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท หลังทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินตามระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั้น วานนี้ (14 ส.ค.) นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต คตส. ออกมาชี้แจงว่า ตนไม่แน่ใจว่าคนที่ตั้งข้อสังเกต อ่านระเบียบของ คตส. ดีพอหรือไม่ ถึงได้แสดงความเห็นแบบนี้ออกมา ทั้งๆ ที่ คตส. กำหนดชัดเจนว่า บุคคลที่ได้รับประโยชน์ จะต้องเป็นบุคคลภายนอก ที่แจ้งข้อมูลมาให้ คตส. รับทราบว่า มีทรัพย์สิน ที่ยังไม่ได้ตรวจพบไปซ่อนอยู่ไหนบ้าง จนเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจพบได้
แต่การซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหุ้น ที่มีการนำไปซุกไว้ ในชื่อของบุคคลหรือบริษัทเอกชน ก็เป็นข้อมูลที่ได้รับมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงเอกสารจากนาง กาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ เอง หรือแม้กระทั่งเรื่องการติดตามเงินจากการขายหุ้นชินคอร์ป จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท ว่าไปอยู่ที่ไหนบ้าง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด
"ไม่แน่ใจว่าคนที่ออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ มีเจตนาอย่างไร แต่ไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะเป็นการพูดแบบไม่ตรงข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบเรื่องนี้ ไม่ได้รับสินบนด้วย และก็ไม่มีใครทำงานเพื่อหวังสินบน ส่วนระเบียบที่ออกมา ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการที่จะได้รับทราบข้อมูลในการตรวจสอบเพิ่มขึ้น แต่นับตั้งแต่ที่ออกระเบียบตัวนี้ไป ระเบียบตัวนี้ยังไม่เคยถูกใช้เลย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มาของการชี้แจงของนายแก้วสรร เกิดจากข่าวเชิงวิเคราะห์ในหน้า 3 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา
กระทู้สดชำแหละ "แถลงการณ์แม้ว"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นกระทู้ถามสด เรื่องผลกระทบต่อกรณีคำแถลงการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างไม่กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย เป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถือ ถูกแทรกแซง ไม่เป็นกลาง และถูกนำมาใช้ทางการเมือง 2 มาตรฐาน และห่วงชีวิตความไม่ปลอดภัย โดยมีการเผยแพร่ข้อคาวมดังกล่าว ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และทำให้กระบวนการยุติธรรมได้รับความเสียหาย
ทั้งที่เหตุผลดังกล่าว อาจจะเป็นประโยชน์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศ เสมือนการเผาบ้านตัวเอง จึงจำเป็นต้องหาจุดยืนของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ต่อท่าทีที่น่าห่วงใยหลังจากผ่านมาเป็นเวลา 3-4 วัน โดยนายกรัฐมนตรี ยังคงนิ่งเฉย และลอยตัวเหนือปัญหา ขณะที่รัฐมนตรีบางคนกลับชี้แจงว่า ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และมีการแก้ต่างให้กับแถลงการณ์ดังกล่าวเหมือนกับไม่ใช่รัฐบาลของประเทศไทย แต่เป็นรัฐบาลของคนใดคนหนึ่ง หรือที่เรียกว่า รัฐบาลนอมินีการออกมาตอบโต้ของรัฐบาล เหมือนกับกลัวๆ กล้าๆ
ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้กระบวนการยุติธรรมที่อ้างว่าถูกแทรกแซง ดำเนินการฟ้องร้องบุคคลอื่น หรือใช้ต่อสู้คดีทุจริตต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีกรณีเหตุการณ์ถุงขนม 2 ล้าน ที่ศาลได้สั่งจำคุก 3 คน ซึ่งเกี่ยวข้องกับทีมทนายของพ.ต.ท.ทักษิณ จึงขอถามว่า ทางรัฐบาลจะแถลงตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไร และจะแก้ไขเยียวยาภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาชาวโลกอย่างไร และตนทราบว่า ศาลฎีกาได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสองแล้ว ขณะเดียวกัน การหนีคดีอาญาซึ่งเป็นคดีทุจริต รวมถึงคดีอื่น ๆ การที่อดีตนายกฯ หลบหนีคดีถือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อประชาชน และคนไทยต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย
ดังนั้น เมื่อกระบวนการของคดีความขึ้นสู่ชั้นศาลแล้ว แต่มีการหลบหนีคดี จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการนำตัวจำเลยมาสู่การพิจารณาคดี เนื่องจากไทยและอังกฤษ มีข้อตกลงเรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ดำเนินการนำผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาพิจารณาคดี ก็ขึ้นอยู่กับมติคณะรัฐมนตรีด้วย จึงขอถามว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
"สมพงษ์" อ้างห้าม "แม้ว" ไม่ได้
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ชี้แจงว่า ตนเห็นว่าคำแถลงการณ์ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยถูกแทรกแซงนั้น เป็นเรื่องส่วนตัวที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พูดออกมา และทำให้หลายคนคิดว่ามีผลกระทบต่อประเทศ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ความคิดของแต่ละคน แต่การที่รัฐบาลจะมีมาตรการไม่ให้บุคคลใดกล่าวในลักษณะนี้ คงห้ามไม่ได้ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นในเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศคงเป็นเรื่องที่ต้องชี้แจง แต่ยืนยันว่า เรามีมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมมานาน หากจะเกิดผลกระทบในเรื่องของภาพลักษณ์ ตนคิดว่า ต่างชาติก็คงจะมีการตอบโต้มาบ้างแล้ว แต่ที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยได้รับการตอบโต้แต่อย่างใด แต่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้สำนักงานกิจการยุติธรรม เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการ ประสานงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้
ส่วนการขอส่งตัวข้ามแดน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อไป
"สาก" เลียนายใหญ่ข้ามทวีป
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ นายตช บุญนาค รมว.การต่างประเทศ ได้เข้าร่วมชี้แจงด้วย โดยยืนยันถึงมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมของไทย พร้อมกับชี้แจงถึง 12 เงื่อนไขของสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้ประท้วงว่า กรุณาต่อสภามากเกินไป อ่านเรื่องอนุสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนถึง 6 นาที ซึ่งความจริงไม่ต้องตอบก็ได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ยังมิได้เป็นผู้ร้ายข้ามแดน ยังไม่มีศาลใดตัดสินว่าเป็นผู้กระทำผิด การที่เอาสัญญามาอ่าน ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณได้รับความเสียหาย เพราะท่านลี้ภัย ไม่ใช่ผู้ร้ายข้ามแดน
"เตช" แจงยังยึดพาสปอร์ตแดงไม่ได้
นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการพิจารณาเพิกถอนหนังสือเดินทางการทูตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า กระทรวงฯกำลังรอหนังสือตอบกลับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการประกาศชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ในประวัติอาชญากรแล้ว ก็ยังไม่สามารถดำเนินการริบหนังสือเดินทางการทูตของ พ.ต.ท.ทักษิณได้ทันที เพราะทางตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องแจ้งมายังกระทรวงการต่างประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า มีหลายฝ่ายกังวลว่า การทำตามขั้นตอนที่ล่าช้า อาจทำให้ไม่สามารถนำตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทยได้ นายเตช กล่าวว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะตอนนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อยู่ที่ประเทศอังกฤษ และกระบวนการนำตัวพ.ต.ท.ทักษิณกลับมานั้น ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องขึ้นศาลที่ประเทศอังกฤษ
เมื่อถามว่า รู้สึกหนักใจหรือไม่ถ้านำตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาล่าช้าและทางอังกฤษอาจไม่ยอมให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา นายเตช กล่าวว่า ไม่หนักใจ เพราะเราไม่สามารถแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของชาติอื่นๆได้ และต่างประเทศก็ไม่สามารถแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของไทยได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กระทรวงการต่างประเทศจะทำหนังสือถึงรัฐบาลอังกฤษ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายเตช กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการทำหนังสือดังกล่าว เพราะเราต้องได้รับการแจ้งเรื่องคดีความจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาก่อน
อังกฤษยังไม่เคยส่งผู้ร้ายให้ไทย
ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.นครราชสีมา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน กล่าวว่า ขั้นตอนของอังกฤษละเอียดอ่อนมาก รายละเอียดของทุกคดี ต้องมีการบันทึกให้ชัดเจน ให้ได้มาตรฐาน รวมถึงภาษาที่ต้องชัดเจน เอกสารทุกชิ้นต้องมีตราประทับโดยศาลไทย โดยเฉพาะผู้ที่กระทำการสอบสวน และผู้ที่นำหลักฐานเข้าสู่ศาล ต้องมีการสาบานตน อาทิ คณะกรรมการ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. หากขั้นตอนมีการผิดพลาดในส่วนใดส่วนหนึ่ง กระบวนการยุติธรรมของประเทศอังกฤษก็จะไม่ดำเนินการพิจารณา เพราะถือว่าไม่ครบตามกำหนด และไม่สามารถนำตัวกลับมาได้ เพราะกระบวนการฝ่ายไทยไม่สมบูรณ์ หากมีการขาดช่วงเวลาไป ก็ถือว่าไทย หรือหน่วยงานของไทยไม่สนใจเท่าที่ควร
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมของเรา ถือว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในการนำตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับมา แต่ของเราไม่รู้ส่งกลับไปกี่คนแล้ว เกือบทุกปีผู้ต้องหาไม่ว่าจะเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีอื่นๆ ที่ทางตำรวจไทยจับส่งกลับไป แต่จะนำตัวผู้ร้ายข้ามแดนจากอังกฤษกลับไทย ไม่มีเลย ส่วนเรื่องพาสปอร์ตสีแดง ตามมารยาททาง ก.ต่างประเทศต้องยึดคืน เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนที่จะมาอ้างว่าเคยเป็นอดีตนายกฯ ก็คงไม่ได้
"มาร์ค" จี้ลากคอ "แม้ว" มาดำเนินคดี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่การแจกจ่ายจดหมายจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้กับประชาชนใน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่มีเนื้อหาระบุว่า ถ้ามีการยุบพรรคพลังประชาชน ได้เตรียมพรรคใหม่และหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่พร้อมจะสานต่อนโยบายของพรรคพลังประชาชนไว้แล้ว ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า ทุกคนที่สิทธิ์ดำเนินการอะไรที่เหมาะสมในแง่ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เรายังไม่ทราบที่มาที่ไปและทำไมพ.ต.ท.ทักษิณ จึงวิเคราะห์ชัดเจนว่ากระบวนการจะต้องเดินไปถึงจุดนั้น
ทั้งนี้ ตนคิดว่าสัญญาณต่างๆ ก็ชัดมาโดยตลอดว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้วางมือทางการเมือง และแถลงการณ์ล่าสุดของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็มีการระบุว่าให้รอคอยการกลับมา แต่เราอาจต้องอ่านเจตนาของพ.ต.ท.ทักษิณให้ออกเวลาที่พ.ต.ท.ทักษิณ พูดอะไรว่าจริงหรือไม่จริง อย่างไร
เมื่อถามว่า มีการวิเคราะห์ว่าจากนี้ไปปัญหาทางการเมืองจะคลี่คลาย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการวิเคราะห์ของบางฝ่ายเท่านั้น แต่จริงๆแล้วอยู่ที่การปฏิบัติของคนที่อยู่ในที่นี่มากกว่า ซึ่งถ้าคนที่นี่มีหน้าที่อะไรแล้วทำไปอย่างตรงไปตรงมาและยึดประโยชน์ของบ้านเมือง ทุกอย่างก็เรียบร้อย ส่วน กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ทางการไทยจะต้องเข้มแข็งในการรักษาประโยชน์ของประเทศ ถ้าต้องการให้คนไทยมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของไทย ก็จะต้องต่อสู้ แต่ยอมรับว่าคงไม่ง่าย เพราะมีหลายตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าจะต้องใช้ความตั้งใจสูงและความเชี่ยวชาญพอสมควร ซึ่งแม้เป็นงานหนักสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จะต้องทำ
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะอ้างในการขอลี้ภัยทางการเมืองว่า คณะรัฐประหารเป็นผู้ตั้ง คตส.และป.ป.ช.ที่เป็นต้นทางในการส่งไปศาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานจากทุกฝ่าย และพ.ต.ท.ทักษิณได้ต่อสู้ในกระบวนการศาลไปแล้ว และมีในส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณยื่นฟ้องคดีต่างๆเข้าสู่ศาล ดังนั้น ไม่ว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะมีเหตุผลใด ก็ไม่ควรทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยเสียหาย และอย่างน้อยที่สุด รัฐบาลไทยก็มีหน้าที่ยืนยันว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยได้มาตรฐานและเป็นสิ่งที่ทุกประเทศไว้วางใจได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ยินเรื่องนี้เลยจากบุคคลสำคัญในรัฐบาล อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ต้องต่อสู้ไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ผบ.สส.พูดแปลกอย่าเดือดร้อน
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะขอลี้ภัยในต่างประเทศว่า ตนไม่ห่วง หากคนไทยใช้เหตุใช้ผล เพราะไม่ได้อยู่ที่คนคนเดียว อยู่ที่คนส่วนใหญ่ ถ้าเราไปตื่นเต้นโดยไม่ใช้เหตุผล ไปเกรงหรือหวาดระแวง หรือกระทำการที่ไม่มีเหตุผล ก็น่าเป็นห่วงทั้งสิ้น แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ 60 ล้านคน ใช้เหตุผล เมื่อเทียบกับคนคนเดียว ก็หนักแน่นพอ ไม่มีผลอะไร ขอให้ใช้เหตุผลและสติ ก็แล้วกัน
ส่วนการลี้ภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้นหรือไม่นั้น อยู่ที่คน ถ้าเขาไม่อยากยุติ ถึงไม่มีใครทำอะไรเลย เขาก็ไม่ยุติ ถ้าคนจะยุติ ใครจะทำอะไรก็ยุติได้ เพราะอำนาจอยู่ที่คนส่วนใหญ่ ไม่ใช่คนส่วนใหญ่คิดอย่างอื่นไปหมด ไม่มีสติ แสดงว่าเราไม่มั่นใจในคนส่วนใหญ่ เราไม่มีความมั่นใจในอำนาจของประชาชน เราไปใช้อะไรเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ตื่นเต้นกันไปหมด
สำหรับอำนาจเงินกับอำนาจคน อันไหนสำคัญกว่ากันนั้น พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า อำนาจคนมีความสำคัญที่สุด ถ้าอำนาจเงินมีความสำคัญ ตนก็ไม่มีอำนาจอะไรเลย เป็นคนที่ไม่มีอำนาจ และตนก็ไม่ชอบมีเงินมาก เพราะรำคาญ ทำให้ยุ่งยากจัดการอะไรยาก มีห่วง มีกังวล และอันตราย เราอย่าไปคิดเรื่องคนอื่น ทำหน้าที่ของเราให้ดี อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่นให้มาก
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนอื่นทำให้เราเดือดร้อน พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เขาไม่ได้ทำ แต่เราทำให้ตัวเราเดือดร้อนเอง ถ้าคน 60 กว่าล้าน ไม่ไปตื่นเต้น คนอื่นก็ทำอะไรเราไม่ได้ เราต้องมั่นใจมั่นคง ใครก็ทำอะไรเราไม่ได้ ถึงแม้เงินเราจะน้อย แต่คนเราเยอะ มีสติปัญญา ถ้าเรามั่นคงจริงเราคนเดียวก็ยืนสู้อะไรได้ แต่คนไทยเราไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความเข้มแข็ง เราต้องมีพลัง เราถึงจะเป็นประชาธิปไตยได้ โดยประชาชน ถ้าประชาธิปไตยโดยประชาชนที่อ่อนแอ ก็จะได้ประชาธิปไตยที่อ่อนแอเพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังจะมีบทบาทต่อการเมืองในประเทศไทยหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า จะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนไทย 60 กว่าล้านคน เพียงแต่คนส่วนใหญ่ จะได้เรื่องหรือไม่ มีน้ำยาหรือไม่ แต่ตัวหลักก็คือสื่อมวลชน
วานนี้ (14 ส.ค.) ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) พล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา ว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับหมายจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยหมายจับถูกส่งมายัง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร. ระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกออกหมายจับในข้อหาเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ มาตรา 4 , 100 และ 122 มีอายุความ 15 ปี ขณะที่คุณหญิงพจมาน ถูกออกหมายจับในข้อหา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินกิจการเป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐและเป็นผู้สนับสนุน มาตรา 4 ,100 และ 122 มีอายุความ 10 ปี
พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับหมายจับทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยกองทะเบียนประวัติอาชญากรได้ขึ้นทะเบียน และออกประกาศสืบจับ ฉบับที่ 350/2551 สืบจับ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ซึ่งทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะนำประกาศสืบจับแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกหน่วยทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสืบจับกุม ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
อย่างไรก็ตามในความเป็นจริงตามที่ปรากฎเป็นข่าวสาร พบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน อยู่ในประเทศอังกฤษซึ่งคงต้องดำเนินการ ในส่วนของตำรวจสิ่งแรกที่ต้องทำ สตม.ต้องไปตรวจสอบว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มีการเดินทางเข้าออกอย่างไร
พล.ต.ท.วัชรพล กล่าวว่า จากข้อมูลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ได้เดินทางออกไปประเทศจีน แต่ข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อมวลชนทราบว่าขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ประเทศอังกฤษ ซึ่งถ้าเป็นจริงตามนั้น ตร.ก็จะได้แจ้งไปยังอัยการสูงสุด ซึ่งอัยการสูงสุดก็ต้องดำเนินการไปตามขั้นตอนการตาม พ.ร.บ.ส่งผู้ร้ายข้ามแดนและสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างราชอาณาจักรสยามกับประเทศอังกฤษ เพื่อนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ตั้งทีมขอตัวผู้ร้ายข้ามแดน
นายศิริศักดิ์ ติยะพรรณ อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ กล่าวชี้แจงขั้นตอนการเตรียมยื่นคำร้องขอส่งตัวพ.ต.ท.ทักษิณ และ คุณหญิงพจมาน เป็นผู้ร้ายข้ามแดนว่า ขณะนี้แม้นายชัยเกษม นิติสิริ อัยการสูงสุด ยังไม่ลงนามแต่งตั้งคณะทำงานอัยการเพื่อดำเนินการอย่างเป็นทางการ แต่เวลานี้ได้เตรียมคณะทำงานจากอัยการฝ่ายต่างประเทศรองรับไว้แล้ว เพราะหากจะต้องดำเนินการขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน ก็จะต้องจัดเตรียมเอกสารจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น หนังสือคำร้องที่ต้องร่างเป็นภาษาอังกฤษที่จะส่งถึงผู้ประสานงานกลางฝ่ายประเทศอังกฤษ โดยต้องระบุถิ่นที่อยู่จำเลย ,หมายจับของศาลฎีกาฯ พร้อมเอกสารในคดีประกอบ , เอกสารบรรยายพฤติการณ์แห่งคดีที่จะทำให้ประเทศอังกฤษเข้าใจว่า จำเลยมีพฤติการณ์กระทำผิดตามกฎหมายไทย ที่สอดคล้องความผิดของกฎหมายในประเทศอังกฤษอย่างไร โดยเอกสารที่ต้องใช้ยื่นดังกล่าว อัยการยังไม่ได้รับมา
ในส่วนของข้อมูลคดีที่เตรียมจะยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคดีแพ่ง ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน 76,000 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดินนั้น ยังไม่แน่ว่าจะต้องนำเอกสารบรรจุในสำนวนประกอบคำร้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนที่ต้องส่งไปประเทศอังกฤษหรือไม่
"ที่สำคัญคือหลักฐานแสดงถึงถิ่นที่อยู่ ภูมิลำเนาของจำเลยในประเทศอังกฤษโดยในสมัยติดตามตัวนายปิ่น จักกะพาก เราเคยมีถึงรูปถ่ายภาพวิดีโอ โดยการเดินทางเพื่อการดำเนินการแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายมาก ซึ่งเป็นงบประมาณที่อัยการต้องเตรียมไว้" นายศิริศักดิ์กล่าว
ยังไม่สามารถขอตัวได้ในเวลานี้
ขณะที่แหล่งข่าวในสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ในการยื่นคำร้องส่งพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน เป็นผู้ร้ายข้ามแดน คงยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันทีในเวลานี้ เพราะปกติการยื่นคำร้องจะทำได้ในช่วงเวลา
1. ที่มีการสั่งฟ้องแล้วหลังจากที่มีการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานว่ากระทำในข้อหาใด แต่ยังไม่ได้ตัวผู้ต้องหามายื่นฟ้องต่อศาลเพราะหลบหนี ซึ่งตัวอย่างคือ ครั้งแรกที่อัยการขอให้ศาลออกหมายจับเพื่อนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ที่พักอยู่ต่างประเทศกลับมาแสดงตัวต่อศาล
2. เมื่อศาลนัดฟังคำพิพากษาแล้ว จำเลยไม่มาฟัง เช่น คดีของนายวัฒนา อัศวเหม อดีต รมช.มหาดไทย ที่ถูกอัยการสูงสุด ยื่นฟ้องเป็นจำเลยต่อศาลฎีกาฯ ทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งหลบหนีไม่มาฟังคำพิพากษา แต่คดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาภิเษก ที่ทั้งสองตกเป็นจำเลยร่วมกัน ศาลฎีกาฯ ยังไม่มีคำพิพากษาตัดสินโดยคดียังอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาไต่สวนพยาน ซึ่งศาลมีคำสั่งให้สืบพยานลับหลังจำเลยได้
ดังนั้นกรณีนี้จึงยังไม่อาจยื่นคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้ทันที แม้ศาลจะมีคำส่งให้ออกหมายจับ แต่เป็นหมายจับให้จำเลยทั้งสองมารายงานตัวที่ผิดสัญญาประกัน ยังไม่ใช่การให้นำตัวมารับโทษในคดีที่ศาลมีคำตัดสิน ซึ่งหากจะดำเนินการขอให้ประเทศอังกฤษส่งจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร้ายข้ามแดนกลับมา คงต้องรอจนกว่าศาลฎีกาฯ จะมีคำพิพากษาตัดสินว่าทั้งสอง ร่วมกันกระทำผิดกฎหมายอาญาเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่รัฐใช้อำนาจในตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งเป็นฐานความผิดที่ระบุไว้ว่าเป็นความผิดของทั้งสองประเทศที่จะพิจารณาส่งเป็นผู้ร้ายข้ามแดนได้ ซึ่งจะได้ใช้คำพิพากษาของศาลเป็นเอกสารที่มีความชัดเจนยื่นประกอบ โดยเวลานี้หากจะดำเนินกระบวนการใดๆ เกี่ยวกับต่างประเทศ ส่วนที่เกี่ยวข้องคงเป็นเรื่องข้อตกลงความร่วมมือทางคดีอาญาระหว่างประเทศ ที่หากคดีอยู่ในชั้นไต่สวนแล้วต้องการสืบพยานที่อยู่ต่างประเทศ ก็ขอให้ประเทศนั้นช่วยดำเนินการสืบพยานให้แล้วส่งคำให้การกลับมา
ไต่สวนพยานจำเลยที่ดินรัชดา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีทุจริตซื้อขายที่ดินรัชดาฯ แม้ตัวจำเลยทั้งสองจะอยู่ต่างประเทศ แต่ศาลก็ยังสามารถดำเนินการไต่สวนพยานจำเลยได้ต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2543 ข้อ 10 ที่ให้ศาลมีอำนาจพิจารณา และไต่สวนพยานหลักฐานลับหลังจำเลยได้ โดยในวันนี้ (15 ส.ค. ) เวลา 09.30 น. ศาลฎีกา ฯ จะนัดไต่สวนพยานจำเลย ตามที่ได้นัดวัน–เวลา ไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยอัยการรอที่จะฟังด้วยว่า ศาลจะมีคำสั่งใดๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการติดตามตัวพ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 1-2 หรือคำสั่งใดๆ ในการไต่สวนคดีหรือไม่
คตส.อัดกลับไม่มีเอี่ยวสินบน 25%
กรณีมีการตั้งข้อสังเกตบนหนังสือพิมพ์ว่ามีกลุ่มบุคคลได้รับประโยชน์จากการยึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของครอบครัวชินวัตร ในรูปของของสินบนจำนวน 25% หรือ 1.9 หมื่นล้านบาท หลังทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินตามระเบียบคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) นั้น วานนี้ (14 ส.ค.) นายแก้วสรร อติโพธิ อดีต คตส. ออกมาชี้แจงว่า ตนไม่แน่ใจว่าคนที่ตั้งข้อสังเกต อ่านระเบียบของ คตส. ดีพอหรือไม่ ถึงได้แสดงความเห็นแบบนี้ออกมา ทั้งๆ ที่ คตส. กำหนดชัดเจนว่า บุคคลที่ได้รับประโยชน์ จะต้องเป็นบุคคลภายนอก ที่แจ้งข้อมูลมาให้ คตส. รับทราบว่า มีทรัพย์สิน ที่ยังไม่ได้ตรวจพบไปซ่อนอยู่ไหนบ้าง จนเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจพบได้
แต่การซื้อขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหุ้น ที่มีการนำไปซุกไว้ ในชื่อของบุคคลหรือบริษัทเอกชน ก็เป็นข้อมูลที่ได้รับมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงเอกสารจากนาง กาญจนาภา หงษ์เหิน เลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยา พ.ต.ท.ทักษิณ เอง หรือแม้กระทั่งเรื่องการติดตามเงินจากการขายหุ้นชินคอร์ป จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท ว่าไปอยู่ที่ไหนบ้าง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด
"ไม่แน่ใจว่าคนที่ออกมาตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ มีเจตนาอย่างไร แต่ไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะเป็นการพูดแบบไม่ตรงข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่ที่ตรวจสอบเรื่องนี้ ไม่ได้รับสินบนด้วย และก็ไม่มีใครทำงานเพื่อหวังสินบน ส่วนระเบียบที่ออกมา ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการที่จะได้รับทราบข้อมูลในการตรวจสอบเพิ่มขึ้น แต่นับตั้งแต่ที่ออกระเบียบตัวนี้ไป ระเบียบตัวนี้ยังไม่เคยถูกใช้เลย"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่มาของการชี้แจงของนายแก้วสรร เกิดจากข่าวเชิงวิเคราะห์ในหน้า 3 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา
กระทู้สดชำแหละ "แถลงการณ์แม้ว"
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวานนี้ นายอลงกรณ์ พลบุตร ส.ส.เพชรบุรี พรรคประชาธิปัตย์ ได้ยื่นกระทู้ถามสด เรื่องผลกระทบต่อกรณีคำแถลงการณ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่สร้างความเสียหายต่อประเทศชาติว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ อ้างไม่กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย เป็นเพราะกระบวนการยุติธรรมไม่น่าเชื่อถือ ถูกแทรกแซง ไม่เป็นกลาง และถูกนำมาใช้ทางการเมือง 2 มาตรฐาน และห่วงชีวิตความไม่ปลอดภัย โดยมีการเผยแพร่ข้อคาวมดังกล่าว ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย และทำให้กระบวนการยุติธรรมได้รับความเสียหาย
ทั้งที่เหตุผลดังกล่าว อาจจะเป็นประโยชน์ต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศ เสมือนการเผาบ้านตัวเอง จึงจำเป็นต้องหาจุดยืนของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ต่อท่าทีที่น่าห่วงใยหลังจากผ่านมาเป็นเวลา 3-4 วัน โดยนายกรัฐมนตรี ยังคงนิ่งเฉย และลอยตัวเหนือปัญหา ขณะที่รัฐมนตรีบางคนกลับชี้แจงว่า ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล และมีการแก้ต่างให้กับแถลงการณ์ดังกล่าวเหมือนกับไม่ใช่รัฐบาลของประเทศไทย แต่เป็นรัฐบาลของคนใดคนหนึ่ง หรือที่เรียกว่า รัฐบาลนอมินีการออกมาตอบโต้ของรัฐบาล เหมือนกับกลัวๆ กล้าๆ
ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้กระบวนการยุติธรรมที่อ้างว่าถูกแทรกแซง ดำเนินการฟ้องร้องบุคคลอื่น หรือใช้ต่อสู้คดีทุจริตต่างๆ ขณะเดียวกันก็มีกรณีเหตุการณ์ถุงขนม 2 ล้าน ที่ศาลได้สั่งจำคุก 3 คน ซึ่งเกี่ยวข้องกับทีมทนายของพ.ต.ท.ทักษิณ จึงขอถามว่า ทางรัฐบาลจะแถลงตอบโต้ พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างไร และจะแก้ไขเยียวยาภาพลักษณ์ของประเทศในสายตาชาวโลกอย่างไร และตนทราบว่า ศาลฎีกาได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสองแล้ว ขณะเดียวกัน การหนีคดีอาญาซึ่งเป็นคดีทุจริต รวมถึงคดีอื่น ๆ การที่อดีตนายกฯ หลบหนีคดีถือเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีต่อประชาชน และคนไทยต้องมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย
ดังนั้น เมื่อกระบวนการของคดีความขึ้นสู่ชั้นศาลแล้ว แต่มีการหลบหนีคดี จึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องดำเนินการนำตัวจำเลยมาสู่การพิจารณาคดี เนื่องจากไทยและอังกฤษ มีข้อตกลงเรื่องการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน โดยมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่า สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ดำเนินการนำผู้ร้ายข้ามแดนกลับมาพิจารณาคดี ก็ขึ้นอยู่กับมติคณะรัฐมนตรีด้วย จึงขอถามว่ารัฐบาลจะดำเนินการอย่างไร
"สมพงษ์" อ้างห้าม "แม้ว" ไม่ได้
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รมว.ยุติธรรม ชี้แจงว่า ตนเห็นว่าคำแถลงการณ์ว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยถูกแทรกแซงนั้น เป็นเรื่องส่วนตัวที่ พ.ต.ท.ทักษิณ พูดออกมา และทำให้หลายคนคิดว่ามีผลกระทบต่อประเทศ ซึ่งเป็นเอกสิทธิ์ความคิดของแต่ละคน แต่การที่รัฐบาลจะมีมาตรการไม่ให้บุคคลใดกล่าวในลักษณะนี้ คงห้ามไม่ได้ ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นในเรื่องภาพลักษณ์ของประเทศคงเป็นเรื่องที่ต้องชี้แจง แต่ยืนยันว่า เรามีมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมมานาน หากจะเกิดผลกระทบในเรื่องของภาพลักษณ์ ตนคิดว่า ต่างชาติก็คงจะมีการตอบโต้มาบ้างแล้ว แต่ที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยได้รับการตอบโต้แต่อย่างใด แต่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ ทางกระทรวงยุติธรรมได้มอบหมายให้สำนักงานกิจการยุติธรรม เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของอนุกรรมการ ประสานงานความร่วมมือระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เพื่อพิจารณาและให้ความเห็นเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้
ส่วนการขอส่งตัวข้ามแดน รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจในเรื่องนี้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสำนักงานอัยการสูงสุด และกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่อไป
"สาก" เลียนายใหญ่ข้ามทวีป
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ นายตช บุญนาค รมว.การต่างประเทศ ได้เข้าร่วมชี้แจงด้วย โดยยืนยันถึงมาตรฐานกระบวนการยุติธรรมของไทย พร้อมกับชี้แจงถึง 12 เงื่อนไขของสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดน แต่ ร.ต.ท.เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ได้ประท้วงว่า กรุณาต่อสภามากเกินไป อ่านเรื่องอนุสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนถึง 6 นาที ซึ่งความจริงไม่ต้องตอบก็ได้ เพราะพ.ต.ท.ทักษิณ ยังมิได้เป็นผู้ร้ายข้ามแดน ยังไม่มีศาลใดตัดสินว่าเป็นผู้กระทำผิด การที่เอาสัญญามาอ่าน ทำให้พ.ต.ท.ทักษิณได้รับความเสียหาย เพราะท่านลี้ภัย ไม่ใช่ผู้ร้ายข้ามแดน
"เตช" แจงยังยึดพาสปอร์ตแดงไม่ได้
นายเตช บุนนาค รมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการพิจารณาเพิกถอนหนังสือเดินทางการทูตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า กระทรวงฯกำลังรอหนังสือตอบกลับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ แม้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีการประกาศชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ในประวัติอาชญากรแล้ว ก็ยังไม่สามารถดำเนินการริบหนังสือเดินทางการทูตของ พ.ต.ท.ทักษิณได้ทันที เพราะทางตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องแจ้งมายังกระทรวงการต่างประเทศอย่างเป็นทางการ ซึ่งก็มีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว
เมื่อถามว่า มีหลายฝ่ายกังวลว่า การทำตามขั้นตอนที่ล่าช้า อาจทำให้ไม่สามารถนำตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทยได้ นายเตช กล่าวว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะตอนนี้พ.ต.ท.ทักษิณ ก็อยู่ที่ประเทศอังกฤษ และกระบวนการนำตัวพ.ต.ท.ทักษิณกลับมานั้น ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องขึ้นศาลที่ประเทศอังกฤษ
เมื่อถามว่า รู้สึกหนักใจหรือไม่ถ้านำตัวพ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาล่าช้าและทางอังกฤษอาจไม่ยอมให้ส่งตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา นายเตช กล่าวว่า ไม่หนักใจ เพราะเราไม่สามารถแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของชาติอื่นๆได้ และต่างประเทศก็ไม่สามารถแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของไทยได้เช่นกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กระทรวงการต่างประเทศจะทำหนังสือถึงรัฐบาลอังกฤษ เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับกรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ หรือไม่ นายเตช กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการทำหนังสือดังกล่าว เพราะเราต้องได้รับการแจ้งเรื่องคดีความจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องมาก่อน
อังกฤษยังไม่เคยส่งผู้ร้ายให้ไทย
ด้าน นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ส.ส.นครราชสีมา พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภาคอีสาน กล่าวว่า ขั้นตอนของอังกฤษละเอียดอ่อนมาก รายละเอียดของทุกคดี ต้องมีการบันทึกให้ชัดเจน ให้ได้มาตรฐาน รวมถึงภาษาที่ต้องชัดเจน เอกสารทุกชิ้นต้องมีตราประทับโดยศาลไทย โดยเฉพาะผู้ที่กระทำการสอบสวน และผู้ที่นำหลักฐานเข้าสู่ศาล ต้องมีการสาบานตน อาทิ คณะกรรมการ คตส. และคณะกรรมการ ป.ป.ช. หากขั้นตอนมีการผิดพลาดในส่วนใดส่วนหนึ่ง กระบวนการยุติธรรมของประเทศอังกฤษก็จะไม่ดำเนินการพิจารณา เพราะถือว่าไม่ครบตามกำหนด และไม่สามารถนำตัวกลับมาได้ เพราะกระบวนการฝ่ายไทยไม่สมบูรณ์ หากมีการขาดช่วงเวลาไป ก็ถือว่าไทย หรือหน่วยงานของไทยไม่สนใจเท่าที่ควร
ทั้งนี้ ที่ผ่านมากระบวนการยุติธรรมของเรา ถือว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ในการนำตัวผู้ร้ายข้ามแดนกลับมา แต่ของเราไม่รู้ส่งกลับไปกี่คนแล้ว เกือบทุกปีผู้ต้องหาไม่ว่าจะเป็นคดีอาญา คดีแพ่ง หรือคดีอื่นๆ ที่ทางตำรวจไทยจับส่งกลับไป แต่จะนำตัวผู้ร้ายข้ามแดนจากอังกฤษกลับไทย ไม่มีเลย ส่วนเรื่องพาสปอร์ตสีแดง ตามมารยาททาง ก.ต่างประเทศต้องยึดคืน เนื่องจากไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ส่วนที่จะมาอ้างว่าเคยเป็นอดีตนายกฯ ก็คงไม่ได้
"มาร์ค" จี้ลากคอ "แม้ว" มาดำเนินคดี
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่การแจกจ่ายจดหมายจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้กับประชาชนใน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ที่มีเนื้อหาระบุว่า ถ้ามีการยุบพรรคพลังประชาชน ได้เตรียมพรรคใหม่และหัวหน้าพรรคคนใหม่ที่พร้อมจะสานต่อนโยบายของพรรคพลังประชาชนไว้แล้ว ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวว่า ทุกคนที่สิทธิ์ดำเนินการอะไรที่เหมาะสมในแง่ของการเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่เรายังไม่ทราบที่มาที่ไปและทำไมพ.ต.ท.ทักษิณ จึงวิเคราะห์ชัดเจนว่ากระบวนการจะต้องเดินไปถึงจุดนั้น
ทั้งนี้ ตนคิดว่าสัญญาณต่างๆ ก็ชัดมาโดยตลอดว่าพ.ต.ท.ทักษิณ ยังไม่ได้วางมือทางการเมือง และแถลงการณ์ล่าสุดของพ.ต.ท.ทักษิณ ก็มีการระบุว่าให้รอคอยการกลับมา แต่เราอาจต้องอ่านเจตนาของพ.ต.ท.ทักษิณให้ออกเวลาที่พ.ต.ท.ทักษิณ พูดอะไรว่าจริงหรือไม่จริง อย่างไร
เมื่อถามว่า มีการวิเคราะห์ว่าจากนี้ไปปัญหาทางการเมืองจะคลี่คลาย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นการวิเคราะห์ของบางฝ่ายเท่านั้น แต่จริงๆแล้วอยู่ที่การปฏิบัติของคนที่อยู่ในที่นี่มากกว่า ซึ่งถ้าคนที่นี่มีหน้าที่อะไรแล้วทำไปอย่างตรงไปตรงมาและยึดประโยชน์ของบ้านเมือง ทุกอย่างก็เรียบร้อย ส่วน กรณีของพ.ต.ท.ทักษิณ ทางการไทยจะต้องเข้มแข็งในการรักษาประโยชน์ของประเทศ ถ้าต้องการให้คนไทยมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของไทย ก็จะต้องต่อสู้ แต่ยอมรับว่าคงไม่ง่าย เพราะมีหลายตัวอย่างให้เห็นแล้วว่าจะต้องใช้ความตั้งใจสูงและความเชี่ยวชาญพอสมควร ซึ่งแม้เป็นงานหนักสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่จะต้องทำ
เมื่อถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะอ้างในการขอลี้ภัยทางการเมืองว่า คณะรัฐประหารเป็นผู้ตั้ง คตส.และป.ป.ช.ที่เป็นต้นทางในการส่งไปศาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ศาลจะต้องฟังพยานหลักฐานจากทุกฝ่าย และพ.ต.ท.ทักษิณได้ต่อสู้ในกระบวนการศาลไปแล้ว และมีในส่วนที่ พ.ต.ท.ทักษิณยื่นฟ้องคดีต่างๆเข้าสู่ศาล ดังนั้น ไม่ว่าพ.ต.ท.ทักษิณจะมีเหตุผลใด ก็ไม่ควรทำให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยเสียหาย และอย่างน้อยที่สุด รัฐบาลไทยก็มีหน้าที่ยืนยันว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยได้มาตรฐานและเป็นสิ่งที่ทุกประเทศไว้วางใจได้ แต่ขณะนี้ยังไม่ได้ยินเรื่องนี้เลยจากบุคคลสำคัญในรัฐบาล อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ต้องต่อสู้ไปตามขั้นตอนของกฎหมาย
ผบ.สส.พูดแปลกอย่าเดือดร้อน
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะขอลี้ภัยในต่างประเทศว่า ตนไม่ห่วง หากคนไทยใช้เหตุใช้ผล เพราะไม่ได้อยู่ที่คนคนเดียว อยู่ที่คนส่วนใหญ่ ถ้าเราไปตื่นเต้นโดยไม่ใช้เหตุผล ไปเกรงหรือหวาดระแวง หรือกระทำการที่ไม่มีเหตุผล ก็น่าเป็นห่วงทั้งสิ้น แต่ถ้าคนส่วนใหญ่ 60 ล้านคน ใช้เหตุผล เมื่อเทียบกับคนคนเดียว ก็หนักแน่นพอ ไม่มีผลอะไร ขอให้ใช้เหตุผลและสติ ก็แล้วกัน
ส่วนการลี้ภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะทำให้สถานการณ์การเมืองดีขึ้นหรือไม่นั้น อยู่ที่คน ถ้าเขาไม่อยากยุติ ถึงไม่มีใครทำอะไรเลย เขาก็ไม่ยุติ ถ้าคนจะยุติ ใครจะทำอะไรก็ยุติได้ เพราะอำนาจอยู่ที่คนส่วนใหญ่ ไม่ใช่คนส่วนใหญ่คิดอย่างอื่นไปหมด ไม่มีสติ แสดงว่าเราไม่มั่นใจในคนส่วนใหญ่ เราไม่มีความมั่นใจในอำนาจของประชาชน เราไปใช้อะไรเล็กๆ น้อยๆ ทำให้ตื่นเต้นกันไปหมด
สำหรับอำนาจเงินกับอำนาจคน อันไหนสำคัญกว่ากันนั้น พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า อำนาจคนมีความสำคัญที่สุด ถ้าอำนาจเงินมีความสำคัญ ตนก็ไม่มีอำนาจอะไรเลย เป็นคนที่ไม่มีอำนาจ และตนก็ไม่ชอบมีเงินมาก เพราะรำคาญ ทำให้ยุ่งยากจัดการอะไรยาก มีห่วง มีกังวล และอันตราย เราอย่าไปคิดเรื่องคนอื่น ทำหน้าที่ของเราให้ดี อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่นให้มาก
ผู้สื่อข่าวถามว่า คนอื่นทำให้เราเดือดร้อน พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เขาไม่ได้ทำ แต่เราทำให้ตัวเราเดือดร้อนเอง ถ้าคน 60 กว่าล้าน ไม่ไปตื่นเต้น คนอื่นก็ทำอะไรเราไม่ได้ เราต้องมั่นใจมั่นคง ใครก็ทำอะไรเราไม่ได้ ถึงแม้เงินเราจะน้อย แต่คนเราเยอะ มีสติปัญญา ถ้าเรามั่นคงจริงเราคนเดียวก็ยืนสู้อะไรได้ แต่คนไทยเราไม่มีความมั่นใจ ไม่มีความเข้มแข็ง เราต้องมีพลัง เราถึงจะเป็นประชาธิปไตยได้ โดยประชาชน ถ้าประชาธิปไตยโดยประชาชนที่อ่อนแอ ก็จะได้ประชาธิปไตยที่อ่อนแอเพราะฉะนั้นต้องช่วยกัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังจะมีบทบาทต่อการเมืองในประเทศไทยหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า จะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับคนไทย 60 กว่าล้านคน เพียงแต่คนส่วนใหญ่ จะได้เรื่องหรือไม่ มีน้ำยาหรือไม่ แต่ตัวหลักก็คือสื่อมวลชน