ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเย็นวานนี้(4 ส.ค.) สื่อมวลชนที่ติดตามทำข่าวภารกิจของนายกฯ หรือทีมข่าว สร.1 ได้ชี้แจงกรณีที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ใช้วาจารุนแรง ตำหนิการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ที่ติดตามไปทำข่าวที่ตลาด อ.ต.ก. เมื่อวันที่ 3 ส.ค.ที่ผ่านมา ว่าเข้าไปรุกล้ำก้ำเกินความเป็นส่วนตัวของนายกฯ ถึงขั้นเฝ้าทำข่าว ช่วงที่นายกฯ ปฏิบัติภารกิจส่วนตัวในห้องสุขา
ทั้งนี้ สื่อมวลชนที่ปฏิบัติภารกิจในวันดังกล่าว ขอชี้แจงว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของสื่อมวลชน ในการติดตามทำข่าวภารกิจของนายกฯ เพื่อนำข้อมูลข่าวสารเสนอต่อประชาชน และด้วยสถานการณ์ในวันดังกล่าว มีประเด็นสำคัญที่ นายกรัฐมนตรี ต้องให้ความกระจ่างหลายประเด็น อาทิ เหตุผลเรื่องการปรับครม. ในตำแหน่งที่สำคัญ ซึ่งนายกฯได้ยืนยันก่อนหน้านั้นว่า จะชี้แจงรายละเอียดด้วยตัวเอง ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกอบกับมีกระแสข่าว นายกฯ ได้เตรียมตัวเดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์ปัญหาเขาพระวิหาร
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ การออกมาเปิดเผยข้อมูลคนใกล้ชิดนายกฯ รับเช็คมูลค่า 10 ล้านบาท โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน ซึ่งผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามประเด็นเหล่านี้จากปากของนายกฯ ภายหลังจบรายการ "สนทนาประสาสมัคร" ที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ในวันที่ 3 ส.ค.แล้ว แต่ไม่ได้รับการชี้แจง
สำหรับกรณีนายกฯ กล่าวหาสื่อมวลชน ติดตามทำข่าวถึงหน้าห้องสุขา ขอชี้แจงว่า การติดตามนายกรัฐมนตรีไปตลาด อ.ต.ก.ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และทุกครั้งที่ผ่านมา นายกฯ ไม่ได้แสดงอาการขัดข้อง ซ้ำยังเคยอธิบายวิธีเลือกซื้อกับข้าวอย่างอารมณ์ดี
โดยข้อเท็จจริง สำหรับเหตุการณ์ในวันที่ 3 ส.ค.นั้น สื่อมวลชนได้ปักหลักปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามห้องสุขา ห่างถึง 50 เมตร และยังมีถนนคั่นกลาง สมควรแก่กาละ เทศะไม่ใช่การปักหลักรออยู่หน้าประตูห้องสุขา ตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้าง อีกทั้งนายกฯได้ใช้เวลาอยู่ในห้องสุขา นานผิดสังเกต และระหว่างนั้นรถส่วนตัวของนายกฯ และรถของทีมรักษาความปลอดภัย ได้วิ่งออกจากบริเวณใกล้ห้องสุขา เพื่อลวงให้ผู้สื่อข่าวเข้าใจผิดว่า นายกฯ เดินทางออกจากตลาด อ.ต.ก.ไปแล้ว
หลังเวลาผ่านไป 40 นาที นายกฯ จึงออกมาจากห้องน้ำ และเป็นฝ่ายข้ามถนนตรงเข้ามาต่อว่าสื่อมวลชน ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า " เกิดมาไม่เคยเห็นใครเลวทรามอย่างกับคนพวกนี้เลย ทุเรศจริงๆ คนจะเข้าห้องน้ำ มายืนเฝ้า มันบ้าหรือเปล่า ให้สมาคมฯ หัดอบรมสั่งสอนบ้าง" ... " ยังหน้าด้านถ่ายกันอยู่อีกหรือ"
สื่อมวลชนตระหนักดีถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวของ แหล่งข่าว แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการติดตามทำข่าวภารกิจของนายกฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร และเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญ สื่อมวลชนมีความจำเป็นต้องติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ ซึ่งนายกฯ มีสิทธิโดยชอบ ที่จะตอบ หรือไม่ตอบคำถาม แต่มิใช่ใช้วิธีการ และวาจาหยาบคาย ประหนึ่งเป็นการไม่เคารพสิทธิ และการทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของสื่อมวลชน โดยคำกล่าวของนายกฯ อาจสร้างความเข้าใจผิด ในสายตาประชาชนผู้รับสารได้
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อสื่อมวลชน ขณะกำลังเดินจ่ายตลาดอยู่ที่องค์การตลาดกลางเพื่อการเกษตร (อตก.) ว่า จากปรากฏการณ์ที่เป็นข่าวในทีวีเสนอไป โดยท่าทีของนายกฯ ที่มีต่อสื่อถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง กับสถานะที่เป็นนายกฯ ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่านายกฯ กำลังสับสนกับบทบาทของตนเอง และไม่ทราบว่าสถานะของตนเองคืออะไร วันนี้นายกฯ เป็นบุคคลของสาธารณะ เป็นบุคคลในข่าว ที่มีความจำเป็นที่สื่อสารมวลชนจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะถ่ายทอดกิจกรรมของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ แต่นายกฯ พยายามที่จะอ้างสิทธิส่วนตัว ไม่ให้สื่อสารมวลชนเสนอข่าว ตนคิดว่าหากนายกฯต้องการความเป็นส่วนตัว ก็ควรให้บุคคลใกล้ชิด เลขานุการส่วนตัว หรือ รปภ.มาพูดกับสื่อน่าจะเหมาะสมกว่า
นายเทพไท กล่าวว่า สื่อคงจะไม่ดึงดันที่จะไปทำข่าวนายกฯในเรื่องส่วนตัว แต่สื่ออาจจะเข้าใจว่า วันที่นายกฯ เข้าไปตลาด อตก. ซึ่งเป็นสถานที่ที่นายกฯไปประจำ เหมือนกับไปชาร์ตแบต ที่นั่น นายกฯถ้ามีปัญหาอะไรทางการเมืองที่ไม่สบายใจ เท่าที่สังเกตท่านจะไปที่ตลาด อตก. เพราะไปที่นั่นแล้วท่านจะสบายใจ เพราะจะได้ซื้อข้าวของ และจะได้กำลังใจจากแม่ค้า ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่นายกฯจะไปได้
"ผมไม่แน่ใจว่า เมื่อนายกฯไปตลาด อตก. เลยจำเป็นต้องใช้คำพูดสอดคล้องกับแม่ค้าที่อตก.หรือไม่ ดังนั้นนายกฯ ควรที่จะต้องระมัดระวังคำพูด เพราะจะเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนได้ ดูพฤติกรรมนายกฯแล้ว รู้สึกเป็นห่วง และคิดว่าไม่ต้องใช้หมอโรคจิตมาวินิจฉัยนายกฯ น่าจะใช้หมอความอย่างผมมาวินิจฉัยนายกฯว่า มีพฤติกรรมสอดคล้องกับ ญัติติการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาว่าขาดวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ บกพร่องในจิตสำนึกการเป็นนายกรัฐมนตรีจริงๆ"
นายเทพไท กล่าวต่อว่า รายการความจริงวันนี้ ถ้าติดตามรายการเมื่อคืน ที่มีผู้ดำเนินรายการ "สามเกลอหัวกลม" ออกมาพูดในรายการโดยแสดงฐานะแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) อย่างเต็มตัว และมีการกล่าวพาดพึงถึงพรรคประชาธิปัตย์ โดยยกคำพูดของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยว่า เหตุการณ์ก่อนการเลือกตั้ง มีการจับมือกันโดยให้คณะมนตรีป้องกันความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้จัดการให้ทางพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ซึ่งตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ โดยทางพรรคไม่มีโอกาสตอบโต้ หรือทำการชี้แจงแต่อย่างใด และตนคิดว่าไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง ดังนั้น อยากเรียกร้องให้นายกฯ พิจารณารายการนี้ ซึ่งตนเข้าใจว่านายกฯ เป็นผู้ให้โอกาสกับนปก. กลุ่มนี้ใช้สื่อของรัฐในการแสดงความคิดเห็น
"นายกฯเข้าใจว่า เอ็นบีที คือสมบัติของตัวนายกฯเอง เพราะดูจากท่าทีที่อยู่ตลาด อตก.เมื่อถามถึงเอ็นบีที มีความรู้สึกว่าเหมือนกับสื่อนี้เป็นเครือของนายกฯ ผมคิดว่าเอ็นบีที เป็นสมบัติของชาติ ที่ดำเนินรายการโดยใช้ภาษีของพี่น้องประชาชน ก็น่าที่จะใช้สถานีเอ็นบีที เสนอข่าวที่เป็นกลางและรอบด้าน ไม่ควรเปิดโอกาสให้นปก. มาใช้สื่อนี้โจมตีพรรคการเมือง หรือบุคคลที่เห็นต่าง หากนายกฯ ปล่อยให้บุคคลที่เป็นนปก. แสดงบทบาทที่สนามหลวงยังไม่พอ ยังใช้สื่อของรัฐมาแสดงบทบาทอีก โครงการที่นายกฯคาดหวังว่า วันที่ 12 ส.ค.-5ธ.ค. เป็นโครงการที่สร้างความสมานฉันท์ใน116วัน จะเป็นจริงไม่ได้เลย เพราะนายกฯ เรียกร้องให้มีความสมานฉันท์ แต่ขณะเดียวกันก็กลับให้ลิ่วล้อหรือลูกน้อง สร้างความแตกแยกในสังคม" นายเทพไทกล่าว
ผู้ช่วยเลขาธิการ กล่าวด้วยว่า หากนายกฯ ต้องการเห็นความสมานฉันท์ในชาติเกิดขึ้นจริง สิ่งที่นายกฯ ทำได้คือการถอดรายการความจริงวันนี้ออกจากเอ็นบีที ก่อนวันที่12 ส.ค. ที่โครงการนี้จะเกิดขึ้น หากนายกฯทำได้ ก็เชื่อว่านายกฯมีความตั้งใจจริงที่จะเห็นความสมานฉันท์เกิดขึ้นในชาติ แต่ถ้ายังปล่อยปละละเลย ให้รายการเหล่านี้ออกมาสร้างความแตกแยกในสังคม ตนคิดว่าโครงการของนายกฯ เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ ให้ประชาชนมองว่า รัฐบาลต้องการความสมานฉันท์ แต่ทางกลับกัน ให้ลิ่วล้อมาสร้างความแตกแยก ถือว่าเป็นพฤติกรรม"ปากว่าตาขยิบ" จริงๆ
ทั้งนี้ สื่อมวลชนที่ปฏิบัติภารกิจในวันดังกล่าว ขอชี้แจงว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติของสื่อมวลชน ในการติดตามทำข่าวภารกิจของนายกฯ เพื่อนำข้อมูลข่าวสารเสนอต่อประชาชน และด้วยสถานการณ์ในวันดังกล่าว มีประเด็นสำคัญที่ นายกรัฐมนตรี ต้องให้ความกระจ่างหลายประเด็น อาทิ เหตุผลเรื่องการปรับครม. ในตำแหน่งที่สำคัญ ซึ่งนายกฯได้ยืนยันก่อนหน้านั้นว่า จะชี้แจงรายละเอียดด้วยตัวเอง ภายหลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกอบกับมีกระแสข่าว นายกฯ ได้เตรียมตัวเดินทางลงพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์ปัญหาเขาพระวิหาร
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิ การออกมาเปิดเผยข้อมูลคนใกล้ชิดนายกฯ รับเช็คมูลค่า 10 ล้านบาท โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งทั้งหมดเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน ซึ่งผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามประเด็นเหล่านี้จากปากของนายกฯ ภายหลังจบรายการ "สนทนาประสาสมัคร" ที่สถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ในวันที่ 3 ส.ค.แล้ว แต่ไม่ได้รับการชี้แจง
สำหรับกรณีนายกฯ กล่าวหาสื่อมวลชน ติดตามทำข่าวถึงหน้าห้องสุขา ขอชี้แจงว่า การติดตามนายกรัฐมนตรีไปตลาด อ.ต.ก.ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และทุกครั้งที่ผ่านมา นายกฯ ไม่ได้แสดงอาการขัดข้อง ซ้ำยังเคยอธิบายวิธีเลือกซื้อกับข้าวอย่างอารมณ์ดี
โดยข้อเท็จจริง สำหรับเหตุการณ์ในวันที่ 3 ส.ค.นั้น สื่อมวลชนได้ปักหลักปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามห้องสุขา ห่างถึง 50 เมตร และยังมีถนนคั่นกลาง สมควรแก่กาละ เทศะไม่ใช่การปักหลักรออยู่หน้าประตูห้องสุขา ตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้าง อีกทั้งนายกฯได้ใช้เวลาอยู่ในห้องสุขา นานผิดสังเกต และระหว่างนั้นรถส่วนตัวของนายกฯ และรถของทีมรักษาความปลอดภัย ได้วิ่งออกจากบริเวณใกล้ห้องสุขา เพื่อลวงให้ผู้สื่อข่าวเข้าใจผิดว่า นายกฯ เดินทางออกจากตลาด อ.ต.ก.ไปแล้ว
หลังเวลาผ่านไป 40 นาที นายกฯ จึงออกมาจากห้องน้ำ และเป็นฝ่ายข้ามถนนตรงเข้ามาต่อว่าสื่อมวลชน ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง โดยเริ่มต้นด้วยคำว่า " เกิดมาไม่เคยเห็นใครเลวทรามอย่างกับคนพวกนี้เลย ทุเรศจริงๆ คนจะเข้าห้องน้ำ มายืนเฝ้า มันบ้าหรือเปล่า ให้สมาคมฯ หัดอบรมสั่งสอนบ้าง" ... " ยังหน้าด้านถ่ายกันอยู่อีกหรือ"
สื่อมวลชนตระหนักดีถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวของ แหล่งข่าว แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน ในการติดตามทำข่าวภารกิจของนายกฯ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องมีการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร และเมื่อเกิดเหตุการณ์สำคัญ สื่อมวลชนมีความจำเป็นต้องติดตามการปฏิบัติหน้าที่ของนายกฯ ซึ่งนายกฯ มีสิทธิโดยชอบ ที่จะตอบ หรือไม่ตอบคำถาม แต่มิใช่ใช้วิธีการ และวาจาหยาบคาย ประหนึ่งเป็นการไม่เคารพสิทธิ และการทำหน้าที่ตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพของสื่อมวลชน โดยคำกล่าวของนายกฯ อาจสร้างความเข้าใจผิด ในสายตาประชาชนผู้รับสารได้
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่นาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ใช้ถ้อยคำหยาบคายต่อสื่อมวลชน ขณะกำลังเดินจ่ายตลาดอยู่ที่องค์การตลาดกลางเพื่อการเกษตร (อตก.) ว่า จากปรากฏการณ์ที่เป็นข่าวในทีวีเสนอไป โดยท่าทีของนายกฯ ที่มีต่อสื่อถือว่าไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง กับสถานะที่เป็นนายกฯ ทั้งนี้ ตนเข้าใจว่านายกฯ กำลังสับสนกับบทบาทของตนเอง และไม่ทราบว่าสถานะของตนเองคืออะไร วันนี้นายกฯ เป็นบุคคลของสาธารณะ เป็นบุคคลในข่าว ที่มีความจำเป็นที่สื่อสารมวลชนจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อที่จะถ่ายทอดกิจกรรมของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ แต่นายกฯ พยายามที่จะอ้างสิทธิส่วนตัว ไม่ให้สื่อสารมวลชนเสนอข่าว ตนคิดว่าหากนายกฯต้องการความเป็นส่วนตัว ก็ควรให้บุคคลใกล้ชิด เลขานุการส่วนตัว หรือ รปภ.มาพูดกับสื่อน่าจะเหมาะสมกว่า
นายเทพไท กล่าวว่า สื่อคงจะไม่ดึงดันที่จะไปทำข่าวนายกฯในเรื่องส่วนตัว แต่สื่ออาจจะเข้าใจว่า วันที่นายกฯ เข้าไปตลาด อตก. ซึ่งเป็นสถานที่ที่นายกฯไปประจำ เหมือนกับไปชาร์ตแบต ที่นั่น นายกฯถ้ามีปัญหาอะไรทางการเมืองที่ไม่สบายใจ เท่าที่สังเกตท่านจะไปที่ตลาด อตก. เพราะไปที่นั่นแล้วท่านจะสบายใจ เพราะจะได้ซื้อข้าวของ และจะได้กำลังใจจากแม่ค้า ซึ่งเป็นสิทธิ์ที่นายกฯจะไปได้
"ผมไม่แน่ใจว่า เมื่อนายกฯไปตลาด อตก. เลยจำเป็นต้องใช้คำพูดสอดคล้องกับแม่ค้าที่อตก.หรือไม่ ดังนั้นนายกฯ ควรที่จะต้องระมัดระวังคำพูด เพราะจะเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนได้ ดูพฤติกรรมนายกฯแล้ว รู้สึกเป็นห่วง และคิดว่าไม่ต้องใช้หมอโรคจิตมาวินิจฉัยนายกฯ น่าจะใช้หมอความอย่างผมมาวินิจฉัยนายกฯว่า มีพฤติกรรมสอดคล้องกับ ญัติติการอภิปรายไม่ไว้วางใจของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมาว่าขาดวุฒิภาวะการเป็นผู้นำ บกพร่องในจิตสำนึกการเป็นนายกรัฐมนตรีจริงๆ"
นายเทพไท กล่าวต่อว่า รายการความจริงวันนี้ ถ้าติดตามรายการเมื่อคืน ที่มีผู้ดำเนินรายการ "สามเกลอหัวกลม" ออกมาพูดในรายการโดยแสดงฐานะแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) อย่างเต็มตัว และมีการกล่าวพาดพึงถึงพรรคประชาธิปัตย์ โดยยกคำพูดของนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยว่า เหตุการณ์ก่อนการเลือกตั้ง มีการจับมือกันโดยให้คณะมนตรีป้องกันความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เป็นผู้จัดการให้ทางพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ซึ่งตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ใส่ร้ายพรรคประชาธิปัตย์ โดยทางพรรคไม่มีโอกาสตอบโต้ หรือทำการชี้แจงแต่อย่างใด และตนคิดว่าไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง ดังนั้น อยากเรียกร้องให้นายกฯ พิจารณารายการนี้ ซึ่งตนเข้าใจว่านายกฯ เป็นผู้ให้โอกาสกับนปก. กลุ่มนี้ใช้สื่อของรัฐในการแสดงความคิดเห็น
"นายกฯเข้าใจว่า เอ็นบีที คือสมบัติของตัวนายกฯเอง เพราะดูจากท่าทีที่อยู่ตลาด อตก.เมื่อถามถึงเอ็นบีที มีความรู้สึกว่าเหมือนกับสื่อนี้เป็นเครือของนายกฯ ผมคิดว่าเอ็นบีที เป็นสมบัติของชาติ ที่ดำเนินรายการโดยใช้ภาษีของพี่น้องประชาชน ก็น่าที่จะใช้สถานีเอ็นบีที เสนอข่าวที่เป็นกลางและรอบด้าน ไม่ควรเปิดโอกาสให้นปก. มาใช้สื่อนี้โจมตีพรรคการเมือง หรือบุคคลที่เห็นต่าง หากนายกฯ ปล่อยให้บุคคลที่เป็นนปก. แสดงบทบาทที่สนามหลวงยังไม่พอ ยังใช้สื่อของรัฐมาแสดงบทบาทอีก โครงการที่นายกฯคาดหวังว่า วันที่ 12 ส.ค.-5ธ.ค. เป็นโครงการที่สร้างความสมานฉันท์ใน116วัน จะเป็นจริงไม่ได้เลย เพราะนายกฯ เรียกร้องให้มีความสมานฉันท์ แต่ขณะเดียวกันก็กลับให้ลิ่วล้อหรือลูกน้อง สร้างความแตกแยกในสังคม" นายเทพไทกล่าว
ผู้ช่วยเลขาธิการ กล่าวด้วยว่า หากนายกฯ ต้องการเห็นความสมานฉันท์ในชาติเกิดขึ้นจริง สิ่งที่นายกฯ ทำได้คือการถอดรายการความจริงวันนี้ออกจากเอ็นบีที ก่อนวันที่12 ส.ค. ที่โครงการนี้จะเกิดขึ้น หากนายกฯทำได้ ก็เชื่อว่านายกฯมีความตั้งใจจริงที่จะเห็นความสมานฉันท์เกิดขึ้นในชาติ แต่ถ้ายังปล่อยปละละเลย ให้รายการเหล่านี้ออกมาสร้างความแตกแยกในสังคม ตนคิดว่าโครงการของนายกฯ เป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อ ให้ประชาชนมองว่า รัฐบาลต้องการความสมานฉันท์ แต่ทางกลับกัน ให้ลิ่วล้อมาสร้างความแตกแยก ถือว่าเป็นพฤติกรรม"ปากว่าตาขยิบ" จริงๆ