เขมรไม่คิดประนีประนอมกับไทยแน่ ส่งภริยาสมเด็จฮุนเซน นำข้าราชการ และประชาชนนับพัน บุก "เขาพระวิหาร" ยึดพื้นที่ของไทย ทำราวกับเป็นพื้นที่ของเขมร จัดพิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้คุ้มครองพระวิหาร และขับไล่ศัตรูที่จะมายึดครอง ด้านพันธมิตรฯออกแถลงการณ์ประณาม พร้อมเรียกร้องรัฐบาลต้องออกมาคัดค้าน ขณะที่ทหาร ขอถก"บัวแก้ว" ก่อนตัดสินใจปรับกำลังทหาร "ปองพล" แฉเล่ห์คณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมที่ควิเบก ประเทศแคนาดา เลื่อนการพิจารณาปราสาทพระวิหารจากอันดับที่ 4 เป็นอันดับสุดท้าย เพื่อ"ตีหัวเข้าบ้าน" ประกาศให้เป็นมรดกโลก อิโคโมสไทย แจงได้แจ้งข้อโต้แย้งต่างๆ ไปยังอิโคโมส สากลแล้ว แต่ไม่เป็นผล
วานนี้ (1 ส.ค.) บรรยากาศบริเวณเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ทหารไทยกับทหารกัมพูชา ยังคงตรึงกำลังกันตามปกติ แต่ไม่ได้ตึงเครียดแต่อย่างใด
ขณะที่ ภริยาสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน คือ ท่านผู้หญิงบุนรานีฮุนเซน (Bun Rany Hun Sen) ได้เป็นผู้นำประชาชนกัมพูชา ทหาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐนับพันคน ทำพิธีเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษบนเขาพระวิหาร พร้อมทั้งขอให้คุ้มครองทหารที่กำลังเผชิญหน้ากับ "ผู้บุกรุก" ดินแดนของกัมพูชา
พิธีจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ (1 ส.ค.) นี้ บนลานกว้างระหว่างโคปุระ ในอาณาบริเวณปราสาทเก่าแก่ที่มีอายุประมาณ 900 ปี ขณะที่ทหารของสองฝ่ายตั้งประจันหน้ากันในบริเวณวัดแห่งหนึ่งห่างออกไปเพียงประมาณ 200 เมตรเท่านั้น และทหารเขมร กว่า 1,000 คน กับทหารไทยราว 500 คน ตั้งมั่นในอาณาบริเวณพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ องค์ปราสาทที่กำลังเป็นข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา
ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ภริยาของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เดินทางขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารโดยเฮลิคอปเตอร์ ขณะที่ผู้ไปร่วมงานอีกราว 1,000 คน เดินทางโดยรถยนต์ ที่ตัดผ่านไปตามไหล่เขาในเขตพื้นที่ทับซ้อน ก่อนจะเดินเข้าขึ้นไปยังปราสาท
ท่านผู้หญิงบุนรานี ได้ขอขอบคุณทหารซึ่งส่วนใหญ่ส่วนนักรบเขมรแดงเก่าที่กรำสงคราม ในการต้านทานสิ่งที่ฝ่ายกัมพูชาเรียกว่า "การล่วงละเมิดดินแดน" รอบๆ เขตปราสาทพระวิหาร
"สตรีหมายเลขหนึ่งได้วิงวอนให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษช่วยปกป้องคุ้มครองพระวิหารและขับไล่พวกศัตรู" นายมินขิน (Min Khin) ประธานคณะกรรมการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเทศกาพิธีต่างๆ ของรัฐบาลกล่าวกับ รอยเตอร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการไปรากฎตัวที่ปราสาทพระวิหารของท่านผู้หญิงบุนรานีผู้ทรงอำนาจอิทธิพลอยู่เบื้องหลังสามีนั้น แสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีกัมพูชา ไม่ได้มีความตั้งใจใดๆ ที่จะประนีประนอมกับไทยในความขัดแย้ง
สมเด็จฮุนเซน กับพรรคประชาชนกัมพูชาเพิ่งชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นในวันอาทิตย์ (27 ก.ค.) และกรณีพิพาทเหนือดินแดนพระวิหารกับไทย ได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งที่นำชัยมาสู่พรรครัฐบาลครั้งนี้
ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี การทำพิธีเซ่นบวงสรวงเมื่อวันศุกร์นี้ มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลและฝ่ายทหารเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมากมีการนิมนต์พระสงฆ์รวม 70 รูปไปทำพิธีทางศาสนา สวดมนต์อธิษฐานให้สามารถหาทางแก้ไขปัญหากับฝ่ายไทยได้
พระสงฆ์ยังได้สวดมนต์อำนวยพรให้ทหารที่ประจำการบนเขา "ให้สุขภาพดีและมีแต่สันติสุข" พิธีจัดขึ้นท่ามกลางหมอกและท่ามกลางควันธูป
ก่อนจะเริ่มพิธีบวงสรวงและสวดมนต์ซึ่งดำเนินไปเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง นั้นได้มีนาฏศิลปินหญิงจำนวน 9 นาง ทำพิธีร่ายรำบวงสรวง
ทั้งนี้ หลังปราสาทพระวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ชาวกัมพูชาฉลองชัยชนะ กับความสำเร็จนี้มาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 8 ก.ค. 51 เมื่อผู้คนนับพันๆ ลงสู่ท้องถนนกรุงพนมเปญโดยมิได้นัดหมาย ต่อมาเพียงข้ามสัปดาห์ ก็มีการฉลองใหญ่ที่สนามกีฬาโอลิมปิก กรุงพนมเปญ ต้อนรับการกลับประเทศของคณะเจรจาที่นำโดย โสก อาน (Sok An) รองนายกฯและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พันธมิตรฯ แถลงประณาม
ด้านพันธมิตรฯ โดยนายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีสะพานมัฆวานฯ อ่านแถลงการณ์พันธมิตรฯ ฉบับที่ 18/2551 ประณาม"กริยาฮุนเซน" ที่ขึ้นทำพิธีบวงสรวงบนปราสาทพระวิหาร และรุกล้ำอธิปไตยไทย พร้อมจี้รัฐบาลหุ่นเชิด แสดงท่าทียื่นประท้วง และเรียกร้องกองทัพใช้กำลังผลักดันคนเขมรให้พ้นจากแผ่นดินไทย
ทั้งนี้ แถลงการณ์ ฉบับที่ 18/2551 ใจความว่า ตามที่ภริยานายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งกัมพูชาได้เดินทางบุกรุกล้ำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยบริเวณเขาพระวิหารเพื่อไปทำพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดสิขาคีรีศวร ในวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในฐานะองค์กรประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นผู้แทนประชาชนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรไทย ขอแถลงการณ์ให้ทราบทั่วกันดังต่อไปนี้
ข้อ 1.เราประณามภริยานายกรัฐมนตรีฮุนเซน รวมทั้งรัฐบาลกัมพูชา ที่สมคบกับยั่วยุและรุกล้ำอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย ในการบุกรุกเข้ามาทำพิธีกรรมในเขตแดนของราชอาณาจักรไทยบริเวณเขาพระวิหาร และเรียกร้องให้ยุติการยั่วยุในทันที
เรายืนยันว่าวัดสิขาคีรีศวรและพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารและพื้นที่รอบนอกทั้งหมดเป็นดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ ผู้บุกรุกทั้งหมดจะต้องออกไปจากดินแดนของราชอาณาจักรไทย
เราขอถือเอาแถลงการณ์นี้เป็นการประท้วงในนามของราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทยต่อการยั่วยุและรุกล้ำอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยดังกล่าว แม้ว่ารัฐบาลหุ่นเชิดขายชาติของไทยจะเพิกเฉยเพราะสมคบกันฉ้อฉลปล้นชาติขายแผ่นดินก็ตาม เพราะเราถือว่ารัฐบาลหุ่นเชิดขายชาตินี้ไม่ใช่รัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ใช่ตัวแทนราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย
ข้อ 2. เพื่อประโยชน์ในการพิทักษ์รักษาและสงวนไว้ซึ่งสิทธิแห่งราชอาณาจักรไทย เรายังคงเรียกร้องให้รัฐบาลหุ่นเชิดขายชาติยื่นคำประท้วงอย่างเป็นทางการต่อการรุกล้ำอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยดังกล่าว และเร่งผลักดันบรรดาผู้บุกรุกชาวกัมพูชาทั้งหมดออกไปจากดินแดนของราชอาณาจักรไทย
เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทย และกระทรวงการต่างประเทศแสดงจุดยืนและปฏิบัติการในการรักษาสิทธิและอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างแจ้งชัดโดยพลัน ด้วยการยื่นประท้วงรัฐบาลกัมพูชาที่ยั่วยุและบุกรุกราชอาณาจักรไทยโดยพลันด้วย มิฉะนั้นแล้วเราจำเป็นต้องประณามว่ารัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ก็คือลิ่วล้อของหุ่นเชิดขายชาติที่สมยอมให้ราชอาณาจักรไทยเสียดินแดนแก่กัมพูชาโดยฉ้อฉลปล้นแผ่นดินนั่นเอง
ข้อ 3.เราเรียกร้องให้กองทัพไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำเนินการผลักดันชาวกัมพูชาผู้บุกรุกอธิปไตยแห่งราชอาณาจักรไทยออกไปจากเขตแดนของประเทศไทยโดยเร็ว การถอนทหารหรือปรับกำลังทหารหรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เพราะปัญหาสำคัญคือดินแดนและอธิปไตยแห่งราชอาณาจักรไทยกำลังถูกรุกล้ำและหมายจะยึดเอาเป็นดินแดนของกัมพูชา และนี่คือหน้าที่โดยตรงของกองทัพไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ 4.โดยแถลงการณ์นี้ เราขอให้เลขาธิการสหประชาชาติและบรรดาสมาชิกสหประชาชาติได้รับทราบการสงวนสิทธิ์การประท้วงและการประณามดังกล่าวของประชาชนชาวไทย เพื่อประโยชน์แห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ด้วยจิตคารวะ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551
รัฐบาลไทยต้องมีมาตรการที่ชัดเจน
ด้าน พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด กล่าวถึงการที่สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา เป็นประธานประกอบพิธีศาสนาที่วัดกัมพูชา บนเขาพระวิหาร ที่ได้เชิญ นางบุน รานี ภริยา ของสมเด็จฮุน เซน มาร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นในวันเดียวกับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของกัมพูชา ที่จะยึดครองพื้นที่ของไทย เนื่องจากวัดแห่งนี้ สร้างในเขตแดนไทย และเห็นว่า รัฐบาลต้องมีมาตรการที่ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุ ซ้ำรอย จนต้องเสียเขาพระวิหารไปเมื่อปี 2505
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภาปี 43 และ ที่ปรึกษากรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา เปิดเผยว่า การที่ฝ่ายกัมพูชาเชิญผู้นำศาสนาและคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีกัมพูชา มาบนเขาพระวิหารและเข้ามาในพื้นที่ของไทย โดยไม่แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบนั้น แสดงให้เห็นถึงความพยายามต้องการบอกให้ผู้คนรับรู้ว่า เป็นเจ้าของพื้นที่ และเห็นว่ารัฐบาลต้องแจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบ ว่าบริเวณวัดที่ฝ่ายกัมพูชาได้ลักลอบสร้างไว้อยู่ในเขตแดนไทย และการที่มีผู้ใหญ่ของกัมพูชาเข้ามาในพื้นที่ ควรแจ้งให้ไทยได้รับทราบ เพื่อเตรียมการต้อนรับ
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า การที่ผู้นำของฝ่ายกัมพูชา เดินทางเข้ามายังพื้นที่ของไทยบนเขาพระวิหาร ชี้ให้เห็นถึงการเตรียมการที่ดี เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครอบครองพื้นที่ 2,500 ไร่ ซึ่งตามมติครม. ปี 2505 นั้น กำหนดให้พื้นที่ส่วนนี้อยู่ในเขตแดนของไทย โดยฝ่ายกัมพูชา จะครอบครองพื้นที่ 150 ไร่ รอบตัวปราสาทพระวิหาร โดยมีแนวเขต 100 เมตร ทางทิศตะวันตกของตัวปราสาท และ 20 เมตร ทางทิศเหนือ นอกจากนี้ พื้นที่ก็เป็นของไทยทั้งหมด
ทหารหารือ"บัวแก้ว"ก่อนปรับกำลัง
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด กล่าวถึงการประชุมร่วมกับผู้บัญชาการทหารสูงสุดในภูมิภาคอาเซียนว่า จะเป็นการประชุมเกี่ยวกับกองทัพ ในประเทศอาเซียนทั้งหลาย โดยจะร่วมมือในการช่วยเหลือประชาชนในยามที่มีปัญหาต่างๆ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย รวมถึงสาธารณภัย และช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ได้พบ ผบ.สูงสุดกัมพูชา และก็มีการคุยกัน เกี่ยวกับปัญหาชายแดน ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทหารไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่บางทีถูกผู้มีอำนาจสั่งให้ไปทำโน่น ทำนี่ ซึ่งตัวทหารไม่มีปัญหา ไม่มีใครอยากมีเรื่องเพราะเรื่องที่จะสู้กัน เป็นเพื่อนกันดีกว่า
เมื่อถามว่า บางครั้งการเมืองจะทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้นหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องคิดเอาเอง ตนตอบไม่ได้เดี๋ยวจะเดือดร้อน เมื่อถามว่าทหารทั้งสองประเทศจะมีการเป่านกหวีดในการสับเปลี่ยนกำลังอย่างไร พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ทหารในพื้นที่ดูแลอยู่แล้ว และไม่มีทหารคนไหนอยากมีเรื่องมีราว
ส่วนกรณีที่ สมช. อยากให้ผบ.เหล่าทัพมีการพูดคุยกัน พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เรามีโปรแกรมเหล่านั้นอยู่แล้วในการพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ ทั้งนี้ ตนได้ส่งผู้แทนไปพูดคุยกับรมต.ต่างประเทศ ซึ่งอีก 1-2 วันจะมีการพูดคุยกัน
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศไปพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ เกี่ยวกับการปรับกำลังทหารบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า สมช. กระทรวงการต่างประเทศ คงจะเชิญให้กองทัพบกไปร่วมประชุม เกี่ยวกับกรอบการปรับกำลังทหารในเร็วนี้ คงจะกำหนดกรอบให้กองทัพบกไปปฏิบัติ
เมื่อถามว่า กองทัพมีความพร้อม และแสดงความจริงใจที่ต้องการปรับลดกำลังทหาร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะรัฐบาลทั้งสองประเทศได้มีการหารือกันแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีของสองประเทศ เพราะระหว่างสองประเทศขณะนี้ หมดความกังวลใจ ส่วนการปฏิบัตินั้น ทั้งสองประเทศคงต้องกำหนดกรอบปฏิบัติและเร่งปฏิบัติตามนั้น คงจะทราบผลในเร็วนี้
เมื่อถามว่า กำลังทหารที่อยู่ในวัดบนเขาพระวิหาร จะมีการปรับลดออกมาหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า กรอบการปฏิบัติคงจะระบุออกมา เมื่อถามว่า ผบ.ทบ.จะลงไปดูในพื้นที่เขาพระวิหารหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยผบ.ทบ. ไปดูแล้วเหตุการณ์ไม่มีอะไรน่ากังวล แม้ว่าขณะนี้กำลัง 2 ฝ่ายใกล้กัน แต่ไม่มีการเผชิญหน้ากัน ดังนั้น คงไม่จำเป็นต้องไป เดี่ยวจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ชายแดนเครียดผีกาสิโนหายหน้า
นายทองคูน (Thong Khon) รัฐมนตรีท่องเที่ยวกัมพูชา ยอมรับสถานการณ์ที่ชายแดนด้านเขาพระวิหาร ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่ข้ามแดนไปจากประเทศไทยลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านด่านชายแดนปอยเปต-อรัญประเทศ นักท่องเที่ยวชาวไทยลดลง 20-30% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
"เนื่องจากสถานการณ์ชายแดนด้านพระวิหาร จำนวนนักท่องเที่ยวจากไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด่านตรวจคนเข้าเมืองปอยเปตมีความไม่แน่นอน" นายทองคูน กล่าว
นายอิมทูน (Im Thon) เจ้าหน้าที่บริหาร ที่ด่านปอยเปต กล่าวว่า อาจจะลำบากหน่อย เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ข้ามแดนไป ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เข้าไปเล่นการพนันในแหล่งกาสิโนที่นั่น ส่วนการลดลงของนักท่องเที่ยวจากชาติอื่นๆ ถือเป็นปกติ ตามช่วงโลว์ซีซั่น
อิโคโมสแฉเล่ห์กัมพูชา
วานนี้(1 ส.ค.) ที่รร.รัตนโกสินทร์ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ หรือ อิโคโมส (ICOMOS Thailand) จัดเสวนาวิชาการ พบปะสมาชิก ครั้งที่ 22 เรื่อง “บทบาทอิโคโมสไทยในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม : กรณีปราสาทพระวิหาร โดยมีนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต ประธานอิโคโมสไทย และอธิบดีกรมศิลปากร ผศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร รองประธานอิโคโมสไทย นายธราพงษ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ผอ.สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร นายวสุ โปษยะนันทน์ กรรมการบริหารอีโคโมสไทย เป็นวิทยากร โดยนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการสัมมนาด้วย
นายวสุ กล่าวว่า กรณีปราสาทพระวิหารนั้น ได้เข้าไปอยู่ในบัญชีเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกตั้งแต่เดือนก.ย. 35 ซึ่งการจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้หรือไม่นั้น คณะกรรมการมรดกโลกจะอาศัยข้อมูลจากอิโคโมส เป็นผู้ประเมินว่า สิ่งที่เสนอจดทะเบียนไปนั้น ควรค่าที่จะเป็นมรดกโลกหรือไม่ สำหรับปราสาทพระวิหาร อิโคโมสสากลได้ติดต่อมาที่อิโคโมสไทย ก่อนการประชุมที่เมืองไครเชิร์ส นิวซีแลนด์ 1 ปี เพื่อให้ส่งชื่อผู้เชี่ยวชาญร่วมทำการประเมิน แต่อยู่ดีๆ อิโคโมสสากล ก็ขาดการติดต่อไป และไม่ได้ให้เหตุผลมา กระทั่งล่วงเลยไปถึงการประชุมที่นิวซีแลนด์ผ่านไป จึงได้แจ้งมาว่า ปราสาทพระหารผ่านการประเมินของอิโคโมสเรียบร้อยแล้ว คาดว่าคงมีประเทศสมาชิกชาติหนึ่งที่ไปประเมินปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ทั้งนี้ การประเมินนั้นผ่านเพียงบางข้อตามข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้น
หลังการประชุมที่ไครเชิร์ส อีโคโมสไทย ได้มีความพยายามที่จะยืดการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไป จนเลื่อนการพิจารณาออกไปที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา อย่างไรก็ตาม อิโคโมสไทย ได้ทำเอกสารทางวิชาการโต้แย้งการประเมินของอิโคโมสด้วย หลังจากนั้นกัมพูชาได้เชิญอิโคโมสไทยสำรวจพื้นที่การจัดการพื้นที่กันชนในแดนไทยบนเขาพระวิหาร ซึ่งผู้แทนไทยได้พบรายละเอียดที่ไม่ถูกต้องหลายประการของกัมพูชา เช่น สระตราว กัมพูชา ระบุว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในความจริงคือแหล่งเก็บน้ำที่สร้างขึ้นมา
นอกจากนี้กัมพูชายังพยายามผลักดันว่า ทางเข้าหลักซึ่งอยู่ฝั่งไทยไม่มีความสำคัญ แต่กลับมุ่งไปสู่ทางเข้าบันไดหัก และทางราบต่ำฝั่งกัมพูชา ส่วนบันไดขนาดใหญ่ของฝั่งไทยทางทิศเหนือ ระบุว่าสร้างในยุคหลังสุด และมีความสำคัญน้อยสุด รวมทั้งการกำหนดยุคสมัยที่ผิดพลาด นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยได้สำรวจ และพบภาพสลักนูนต่ำที่เป็นฐานศิวลึงค์บนผาปราสาทพระวิหาร ซึ่งแสดงว่าการก่อสร้างปราสาทพระวิหารมีหลักคิดที่เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น สถูปคู่ เป็นต้น
“จากนั้นในวันที่ 11-14 ม.ค. 51 อิโคโมสได้เชิญคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมกับคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่นๆ ซึ่งไทยได้แจ้งข้อมูลที่พบบนปราสาทพระวิหาร แต่คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้แจ้งว่า การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ในเอกสารการประเมินของอิโคโมสไม่สามารถทำได้ นอกจากจะถอดเรื่องออกมาทั้งหมดก่อน แล้วจึงจะเสนอเรื่องขอจดทะเบียนมรดกโลกกลับเข้ามาใหม่ อย่างไรก็ตาม ทางอิโคโมสไทยได้แจ้งถึงปัญหาเรื่องเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ว่าหากมีความขัดแย้งกันอยู่ ก็จะมีปัญหาในการดูแลโบราณสถานด้วย แต่ไม่มีใครรับฟังเพราะเขาบอกว่าเอกสารต่างๆ ผ่านการพิจารณาไปหมดแล้ว นอกจากนี้ที่ประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ยังไม่ยอมแจ้งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้ทราบด้วยว่าไทยมีปัญหาอย่างไร ซึ่งหลังจากนั้น ไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และอิโคโมสไทย เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลและแจ้งให้คณะกรรมการมรดกโลกได้ทราบว่าเรามีข้อมูลทางวิชาการอย่างไร”
จากนั้น อีโคโมสไทยได้ส่งจดหมายถึงประธานอีโคโมสสากล เพื่อรายงานความเห็นโต้แย้งทางวิชาการ 5 ประเด็น เกี่ยวกับเกณฑ์การพิจารณา การนำเสนอพื้นที่โบราณสถานที่ไม่สมบูรณ์ การพิจารณาของอีโคโมสไม่คำนึงถึงมิติความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานและชุมชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียง การตีความที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และปัญหาเรื่องเขตแดน ต่อมาประธานอิโคโมสได้ส่งจดหมายกลับมาและให้ไทยกับกัมพูชาหาข้อตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ อีโคโมสไทยได้เผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้องในเอกสารการประเมินของอีโคโมส ที่ใช้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ควิเบก แคนาดา ซึ่งแสดงถึงความไม่ตรงไปตรงมาในการพิจารณาของผู้แทนอีโคโมส และการดำเนินการขององค์กรระหว่างประเทศทางเว็บไซต์ของอีโคโมสไทย
เผยไม่ชอบมาพากล
ผศ.ดร.ยงธนิศร์ กล่าวว่า อีโคโมส ไม่มีบทบาทอะไรไปมากกว่า หาข้อยุติทางวิชาการ ว่าหากจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และจะพัฒนาอย่างไร ซึ่งเรายังไม่ได้ไปถึงขั้นนั้น แต่ก็พบความไม่ชอบมาพากลก่อน เช่น เกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่มีอยู่ 6 ข้อ มีการเสนอเอกสารที่ไม่ตรงกับเกณฑ์และมีความคลาดเคลื่อน หรือการตีความเรื่องคุณค่าของโบราณสถานที่แต่ละประเทศตีความต่างกัน ซึ่งเราพบว่าข้อมูลจากไทยมีข้อมูลจำนวนมาก และพิสูจน์ความถูกต้องได้มาก แต่เหตุใดอีโคโมสสากลจึงไม่ได้ใช้ข้อมูลตรงนี้ เราไม่ได้ค้นพบว่าอิโคโมสสากลเอาแหล่งข้อมูลต่างๆ มาจากไหนในการพิจารณาปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
“คำถามคือเราทำงานวิชาการไม่ดี หรือว่ามีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่มันมีความไม่ชอบมาพากลที่เราต้องหาคำตอบต่อไป และหวังว่าผู้ที่มีบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศ จะนำข้อมูลที่อิโคโมสไทยได้ทำขึ้นมาไปใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไปด้วย” ผศ.ดร.ยงธนิศร์ กล่าว
นายบวรเวท กล่าวว่า สิ่งที่อีโคโมสไทยได้แสดงข้อโต้แย้งต่ออิโคโมสสากลนั้น คือ การประกาศจุดยืนของไทย แต่อีโคโมสสากลก็อาจจะให้ไทยได้พูด และก็อาจเงียบไป เราก็จะส่งรายงานทางวิชาการไปถึงคณะกรรมการมรดกโลก ว่า สิ่งที่คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณานั้น ส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาอย่างไรบ้าง ที่สำคัญ จะต้องให้ประชาชนไทยได้รับทราบความคืบหน้าสิ่งที่อีโคโมสไทยได้ดำเนินการในวงกว้าง
"ปองพล" ชี้ไทยไม่พร้อม-เขมรเตรียมตัวดี
นายปองพล กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ไทยไม่ได้เตรียมตัวเข้าสู่สมรภูมิของสงคราม เพราะมองทุกอย่างในแง่ดีหมด ซึ่งในการพิจารณาครั้งนั้นมีประเทศต่างๆ ขอจดทะเบียนมรดกโลกทั้งหมด 47 แห่ง ผ่านการพิจารณาเป็นมรดกโลก 26 แห่ง และไม่ผ่าน 21 ประเทศ ซึ่งประเทศที่ไม่ได้เป็นมรดกโลกก็โวยวาย อย่างอินโดนีเซียได้เสนอบาหลีแต่ไม่ผ่านเพราะขาดเพียงหลักเกณฑ์เดียว
ทั้งนี้ ตนได้แย้งคณะกรรมการมรดกโลกไปว่าการตัดสินปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของยูเนสโกตัดสินโดยขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ของเขาเอง และอีกประการหนึ่งนั้น เขาได้ขอเลื่อนการพิจารณาปราสาทพระวิหารจากอันดับ 4 เป็นอันดับที่ 47 ตอนแรกก็คิดว่าต้องการให้ไทยกับกัมพูชาได้เจรจากัน แต่เมื่อคิดดูไม่ใช่ นั่นเพราะการตัดสินของยูเนสโกเรื่องนี้มันสวนกับหลักเกณฑ์ของเขาเอง หากตัดสินไปก่อน ประเทศอื่นๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด ก็จะต้องโต้แย้งเรื่องก็จะไม่จบ เขาเลยเลื่อนมาไว้อันดับสุดท้าย พิจารณาเสร็จก็จบเลย
นายปองพล กล่าวอีกว่า การเสนอขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชานั้น มีการเตรียมการมาเป็นกองทัพ มีธงของชาติที่เป็นเอกภาพ แต่ของเราไม่ได้เตรียมตัวเลย เราแพ้เพราะเรามองทุกอย่างในแง่ดี ทุกคนรักชาติ แต่หากหันกลับมาดูอีกฝ่ายจะเห็นว่า เขาทำเป็นขั้นตอนเตรียมพร้อมทุกอย่าง เขาเตรียมไปรบแต่เราเข้าไปประชุมแบบเด็กน้อย ซึ่งสิ่งที่เราประสบครั้งนี้ถือเป็นเรื่องเล็ก แต่หากเราเจอเรื่องใหญ่กว่านี้ และเรายังไม่มีเอกภาพ ขาดอำนาจต่อรอง เราจะเสียยิ่งกว่านี้ เพราะสิ่งที่เราต้องเผชิญนั้นนอกเหนือจากที่เราคิดมากนัก
วานนี้ (1 ส.ค.) บรรยากาศบริเวณเขาพระวิหาร ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ ทหารไทยกับทหารกัมพูชา ยังคงตรึงกำลังกันตามปกติ แต่ไม่ได้ตึงเครียดแต่อย่างใด
ขณะที่ ภริยาสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน คือ ท่านผู้หญิงบุนรานีฮุนเซน (Bun Rany Hun Sen) ได้เป็นผู้นำประชาชนกัมพูชา ทหาร และเจ้าหน้าที่ของรัฐนับพันคน ทำพิธีเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณของบรรพบุรุษบนเขาพระวิหาร พร้อมทั้งขอให้คุ้มครองทหารที่กำลังเผชิญหน้ากับ "ผู้บุกรุก" ดินแดนของกัมพูชา
พิธีจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ (1 ส.ค.) นี้ บนลานกว้างระหว่างโคปุระ ในอาณาบริเวณปราสาทเก่าแก่ที่มีอายุประมาณ 900 ปี ขณะที่ทหารของสองฝ่ายตั้งประจันหน้ากันในบริเวณวัดแห่งหนึ่งห่างออกไปเพียงประมาณ 200 เมตรเท่านั้น และทหารเขมร กว่า 1,000 คน กับทหารไทยราว 500 คน ตั้งมั่นในอาณาบริเวณพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ องค์ปราสาทที่กำลังเป็นข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา
ตามรายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์ ภริยาของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เดินทางขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารโดยเฮลิคอปเตอร์ ขณะที่ผู้ไปร่วมงานอีกราว 1,000 คน เดินทางโดยรถยนต์ ที่ตัดผ่านไปตามไหล่เขาในเขตพื้นที่ทับซ้อน ก่อนจะเดินเข้าขึ้นไปยังปราสาท
ท่านผู้หญิงบุนรานี ได้ขอขอบคุณทหารซึ่งส่วนใหญ่ส่วนนักรบเขมรแดงเก่าที่กรำสงคราม ในการต้านทานสิ่งที่ฝ่ายกัมพูชาเรียกว่า "การล่วงละเมิดดินแดน" รอบๆ เขตปราสาทพระวิหาร
"สตรีหมายเลขหนึ่งได้วิงวอนให้ดวงวิญญาณบรรพบุรุษช่วยปกป้องคุ้มครองพระวิหารและขับไล่พวกศัตรู" นายมินขิน (Min Khin) ประธานคณะกรรมการที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเทศกาพิธีต่างๆ ของรัฐบาลกล่าวกับ รอยเตอร์
นักวิเคราะห์กล่าวว่าการไปรากฎตัวที่ปราสาทพระวิหารของท่านผู้หญิงบุนรานีผู้ทรงอำนาจอิทธิพลอยู่เบื้องหลังสามีนั้น แสดงให้เห็นว่านายกรัฐมนตรีกัมพูชา ไม่ได้มีความตั้งใจใดๆ ที่จะประนีประนอมกับไทยในความขัดแย้ง
สมเด็จฮุนเซน กับพรรคประชาชนกัมพูชาเพิ่งชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นในวันอาทิตย์ (27 ก.ค.) และกรณีพิพาทเหนือดินแดนพระวิหารกับไทย ได้กลายเป็นประเด็นหนึ่งที่นำชัยมาสู่พรรครัฐบาลครั้งนี้
ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี การทำพิธีเซ่นบวงสรวงเมื่อวันศุกร์นี้ มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลและฝ่ายทหารเข้าร่วมด้วยเป็นจำนวนมากมีการนิมนต์พระสงฆ์รวม 70 รูปไปทำพิธีทางศาสนา สวดมนต์อธิษฐานให้สามารถหาทางแก้ไขปัญหากับฝ่ายไทยได้
พระสงฆ์ยังได้สวดมนต์อำนวยพรให้ทหารที่ประจำการบนเขา "ให้สุขภาพดีและมีแต่สันติสุข" พิธีจัดขึ้นท่ามกลางหมอกและท่ามกลางควันธูป
ก่อนจะเริ่มพิธีบวงสรวงและสวดมนต์ซึ่งดำเนินไปเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง นั้นได้มีนาฏศิลปินหญิงจำนวน 9 นาง ทำพิธีร่ายรำบวงสรวง
ทั้งนี้ หลังปราสาทพระวิหาร ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ชาวกัมพูชาฉลองชัยชนะ กับความสำเร็จนี้มาแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 8 ก.ค. 51 เมื่อผู้คนนับพันๆ ลงสู่ท้องถนนกรุงพนมเปญโดยมิได้นัดหมาย ต่อมาเพียงข้ามสัปดาห์ ก็มีการฉลองใหญ่ที่สนามกีฬาโอลิมปิก กรุงพนมเปญ ต้อนรับการกลับประเทศของคณะเจรจาที่นำโดย โสก อาน (Sok An) รองนายกฯและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พันธมิตรฯ แถลงประณาม
ด้านพันธมิตรฯ โดยนายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ขึ้นเวทีสะพานมัฆวานฯ อ่านแถลงการณ์พันธมิตรฯ ฉบับที่ 18/2551 ประณาม"กริยาฮุนเซน" ที่ขึ้นทำพิธีบวงสรวงบนปราสาทพระวิหาร และรุกล้ำอธิปไตยไทย พร้อมจี้รัฐบาลหุ่นเชิด แสดงท่าทียื่นประท้วง และเรียกร้องกองทัพใช้กำลังผลักดันคนเขมรให้พ้นจากแผ่นดินไทย
ทั้งนี้ แถลงการณ์ ฉบับที่ 18/2551 ใจความว่า ตามที่ภริยานายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งกัมพูชาได้เดินทางบุกรุกล้ำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยบริเวณเขาพระวิหารเพื่อไปทำพิธีกรรมทางศาสนาที่วัดสิขาคีรีศวร ในวันศุกร์ที่ 1 สิงหาคม 2551 นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในฐานะองค์กรประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นผู้แทนประชาชนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักรไทย ขอแถลงการณ์ให้ทราบทั่วกันดังต่อไปนี้
ข้อ 1.เราประณามภริยานายกรัฐมนตรีฮุนเซน รวมทั้งรัฐบาลกัมพูชา ที่สมคบกับยั่วยุและรุกล้ำอธิปไตยของราชอาณาจักรไทย ในการบุกรุกเข้ามาทำพิธีกรรมในเขตแดนของราชอาณาจักรไทยบริเวณเขาพระวิหาร และเรียกร้องให้ยุติการยั่วยุในทันที
เรายืนยันว่าวัดสิขาคีรีศวรและพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารและพื้นที่รอบนอกทั้งหมดเป็นดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ ผู้บุกรุกทั้งหมดจะต้องออกไปจากดินแดนของราชอาณาจักรไทย
เราขอถือเอาแถลงการณ์นี้เป็นการประท้วงในนามของราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทยต่อการยั่วยุและรุกล้ำอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยดังกล่าว แม้ว่ารัฐบาลหุ่นเชิดขายชาติของไทยจะเพิกเฉยเพราะสมคบกันฉ้อฉลปล้นชาติขายแผ่นดินก็ตาม เพราะเราถือว่ารัฐบาลหุ่นเชิดขายชาตินี้ไม่ใช่รัฐบาลที่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่ใช่ตัวแทนราชอาณาจักรไทยและประชาชนชาวไทย
ข้อ 2. เพื่อประโยชน์ในการพิทักษ์รักษาและสงวนไว้ซึ่งสิทธิแห่งราชอาณาจักรไทย เรายังคงเรียกร้องให้รัฐบาลหุ่นเชิดขายชาติยื่นคำประท้วงอย่างเป็นทางการต่อการรุกล้ำอธิปไตยของราชอาณาจักรไทยดังกล่าว และเร่งผลักดันบรรดาผู้บุกรุกชาวกัมพูชาทั้งหมดออกไปจากดินแดนของราชอาณาจักรไทย
เราเรียกร้องให้รัฐบาลไทย และกระทรวงการต่างประเทศแสดงจุดยืนและปฏิบัติการในการรักษาสิทธิและอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าวอย่างแจ้งชัดโดยพลัน ด้วยการยื่นประท้วงรัฐบาลกัมพูชาที่ยั่วยุและบุกรุกราชอาณาจักรไทยโดยพลันด้วย มิฉะนั้นแล้วเราจำเป็นต้องประณามว่ารัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศ ก็คือลิ่วล้อของหุ่นเชิดขายชาติที่สมยอมให้ราชอาณาจักรไทยเสียดินแดนแก่กัมพูชาโดยฉ้อฉลปล้นแผ่นดินนั่นเอง
ข้อ 3.เราเรียกร้องให้กองทัพไทยในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวดำเนินการผลักดันชาวกัมพูชาผู้บุกรุกอธิปไตยแห่งราชอาณาจักรไทยออกไปจากเขตแดนของประเทศไทยโดยเร็ว การถอนทหารหรือปรับกำลังทหารหรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาสำคัญ เพราะปัญหาสำคัญคือดินแดนและอธิปไตยแห่งราชอาณาจักรไทยกำลังถูกรุกล้ำและหมายจะยึดเอาเป็นดินแดนของกัมพูชา และนี่คือหน้าที่โดยตรงของกองทัพไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ข้อ 4.โดยแถลงการณ์นี้ เราขอให้เลขาธิการสหประชาชาติและบรรดาสมาชิกสหประชาชาติได้รับทราบการสงวนสิทธิ์การประท้วงและการประณามดังกล่าวของประชาชนชาวไทย เพื่อประโยชน์แห่งราชอาณาจักรไทยสืบไป ด้วยจิตคารวะ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2551
รัฐบาลไทยต้องมีมาตรการที่ชัดเจน
ด้าน พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานคณะที่ปรึกษากองบัญชาการทหารสูงสุด กล่าวถึงการที่สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา เป็นประธานประกอบพิธีศาสนาที่วัดกัมพูชา บนเขาพระวิหาร ที่ได้เชิญ นางบุน รานี ภริยา ของสมเด็จฮุน เซน มาร่วมงาน ซึ่งจัดขึ้นในวันเดียวกับการเกิดปรากฏการณ์สุริยุปราคา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของกัมพูชา ที่จะยึดครองพื้นที่ของไทย เนื่องจากวัดแห่งนี้ สร้างในเขตแดนไทย และเห็นว่า รัฐบาลต้องมีมาตรการที่ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุ ซ้ำรอย จนต้องเสียเขาพระวิหารไปเมื่อปี 2505
นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง อดีตสมาชิกวุฒิสภาปี 43 และ ที่ปรึกษากรรมาธิการต่างประเทศ วุฒิสภา เปิดเผยว่า การที่ฝ่ายกัมพูชาเชิญผู้นำศาสนาและคนใกล้ชิดนายกรัฐมนตรีกัมพูชา มาบนเขาพระวิหารและเข้ามาในพื้นที่ของไทย โดยไม่แจ้งให้ฝ่ายไทยทราบนั้น แสดงให้เห็นถึงความพยายามต้องการบอกให้ผู้คนรับรู้ว่า เป็นเจ้าของพื้นที่ และเห็นว่ารัฐบาลต้องแจ้งให้ฝ่ายกัมพูชาทราบ ว่าบริเวณวัดที่ฝ่ายกัมพูชาได้ลักลอบสร้างไว้อยู่ในเขตแดนไทย และการที่มีผู้ใหญ่ของกัมพูชาเข้ามาในพื้นที่ ควรแจ้งให้ไทยได้รับทราบ เพื่อเตรียมการต้อนรับ
นายเจิมศักดิ์ กล่าวว่า การที่ผู้นำของฝ่ายกัมพูชา เดินทางเข้ามายังพื้นที่ของไทยบนเขาพระวิหาร ชี้ให้เห็นถึงการเตรียมการที่ดี เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครอบครองพื้นที่ 2,500 ไร่ ซึ่งตามมติครม. ปี 2505 นั้น กำหนดให้พื้นที่ส่วนนี้อยู่ในเขตแดนของไทย โดยฝ่ายกัมพูชา จะครอบครองพื้นที่ 150 ไร่ รอบตัวปราสาทพระวิหาร โดยมีแนวเขต 100 เมตร ทางทิศตะวันตกของตัวปราสาท และ 20 เมตร ทางทิศเหนือ นอกจากนี้ พื้นที่ก็เป็นของไทยทั้งหมด
ทหารหารือ"บัวแก้ว"ก่อนปรับกำลัง
พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.ทหารสูงสุด กล่าวถึงการประชุมร่วมกับผู้บัญชาการทหารสูงสุดในภูมิภาคอาเซียนว่า จะเป็นการประชุมเกี่ยวกับกองทัพ ในประเทศอาเซียนทั้งหลาย โดยจะร่วมมือในการช่วยเหลือประชาชนในยามที่มีปัญหาต่างๆ เช่น โรคระบาด การก่อการร้าย รวมถึงสาธารณภัย และช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ ได้พบ ผบ.สูงสุดกัมพูชา และก็มีการคุยกัน เกี่ยวกับปัญหาชายแดน ก็ไม่มีปัญหาอะไร ทหารไม่ค่อยมีปัญหาอะไร แต่บางทีถูกผู้มีอำนาจสั่งให้ไปทำโน่น ทำนี่ ซึ่งตัวทหารไม่มีปัญหา ไม่มีใครอยากมีเรื่องเพราะเรื่องที่จะสู้กัน เป็นเพื่อนกันดีกว่า
เมื่อถามว่า บางครั้งการเมืองจะทำให้การแก้ไขปัญหายากขึ้นหรือไม่ พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องคิดเอาเอง ตนตอบไม่ได้เดี๋ยวจะเดือดร้อน เมื่อถามว่าทหารทั้งสองประเทศจะมีการเป่านกหวีดในการสับเปลี่ยนกำลังอย่างไร พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า ทหารในพื้นที่ดูแลอยู่แล้ว และไม่มีทหารคนไหนอยากมีเรื่องมีราว
ส่วนกรณีที่ สมช. อยากให้ผบ.เหล่าทัพมีการพูดคุยกัน พล.อ.บุญสร้าง กล่าวว่า เรามีโปรแกรมเหล่านั้นอยู่แล้วในการพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ ทั้งนี้ ตนได้ส่งผู้แทนไปพูดคุยกับรมต.ต่างประเทศ ซึ่งอีก 1-2 วันจะมีการพูดคุยกัน
ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. กล่าวถึงกรณีที่ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศไปพูดคุยกับ ผบ.เหล่าทัพ เกี่ยวกับการปรับกำลังทหารบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ว่า สมช. กระทรวงการต่างประเทศ คงจะเชิญให้กองทัพบกไปร่วมประชุม เกี่ยวกับกรอบการปรับกำลังทหารในเร็วนี้ คงจะกำหนดกรอบให้กองทัพบกไปปฏิบัติ
เมื่อถามว่า กองทัพมีความพร้อม และแสดงความจริงใจที่ต้องการปรับลดกำลังทหาร พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะรัฐบาลทั้งสองประเทศได้มีการหารือกันแล้ว ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีของสองประเทศ เพราะระหว่างสองประเทศขณะนี้ หมดความกังวลใจ ส่วนการปฏิบัตินั้น ทั้งสองประเทศคงต้องกำหนดกรอบปฏิบัติและเร่งปฏิบัติตามนั้น คงจะทราบผลในเร็วนี้
เมื่อถามว่า กำลังทหารที่อยู่ในวัดบนเขาพระวิหาร จะมีการปรับลดออกมาหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า กรอบการปฏิบัติคงจะระบุออกมา เมื่อถามว่า ผบ.ทบ.จะลงไปดูในพื้นที่เขาพระวิหารหรือไม่ พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยผบ.ทบ. ไปดูแล้วเหตุการณ์ไม่มีอะไรน่ากังวล แม้ว่าขณะนี้กำลัง 2 ฝ่ายใกล้กัน แต่ไม่มีการเผชิญหน้ากัน ดังนั้น คงไม่จำเป็นต้องไป เดี่ยวจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี
ชายแดนเครียดผีกาสิโนหายหน้า
นายทองคูน (Thong Khon) รัฐมนตรีท่องเที่ยวกัมพูชา ยอมรับสถานการณ์ที่ชายแดนด้านเขาพระวิหาร ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวที่ข้ามแดนไปจากประเทศไทยลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านด่านชายแดนปอยเปต-อรัญประเทศ นักท่องเที่ยวชาวไทยลดลง 20-30% ในช่วงเดือนที่ผ่านมา
"เนื่องจากสถานการณ์ชายแดนด้านพระวิหาร จำนวนนักท่องเที่ยวจากไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด่านตรวจคนเข้าเมืองปอยเปตมีความไม่แน่นอน" นายทองคูน กล่าว
นายอิมทูน (Im Thon) เจ้าหน้าที่บริหาร ที่ด่านปอยเปต กล่าวว่า อาจจะลำบากหน่อย เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ข้ามแดนไป ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เข้าไปเล่นการพนันในแหล่งกาสิโนที่นั่น ส่วนการลดลงของนักท่องเที่ยวจากชาติอื่นๆ ถือเป็นปกติ ตามช่วงโลว์ซีซั่น
อิโคโมสแฉเล่ห์กัมพูชา
วานนี้(1 ส.ค.) ที่รร.รัตนโกสินทร์ สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ หรือ อิโคโมส (ICOMOS Thailand) จัดเสวนาวิชาการ พบปะสมาชิก ครั้งที่ 22 เรื่อง “บทบาทอิโคโมสไทยในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม : กรณีปราสาทพระวิหาร โดยมีนายเกรียงไกร สัมปัชชลิต ประธานอิโคโมสไทย และอธิบดีกรมศิลปากร ผศ.ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร รองประธานอิโคโมสไทย นายธราพงษ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร นายบวรเวท รุ่งรุจี ผอ.สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร นายวสุ โปษยะนันทน์ กรรมการบริหารอีโคโมสไทย เป็นวิทยากร โดยนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการสัมมนาด้วย
นายวสุ กล่าวว่า กรณีปราสาทพระวิหารนั้น ได้เข้าไปอยู่ในบัญชีเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลกตั้งแต่เดือนก.ย. 35 ซึ่งการจะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้หรือไม่นั้น คณะกรรมการมรดกโลกจะอาศัยข้อมูลจากอิโคโมส เป็นผู้ประเมินว่า สิ่งที่เสนอจดทะเบียนไปนั้น ควรค่าที่จะเป็นมรดกโลกหรือไม่ สำหรับปราสาทพระวิหาร อิโคโมสสากลได้ติดต่อมาที่อิโคโมสไทย ก่อนการประชุมที่เมืองไครเชิร์ส นิวซีแลนด์ 1 ปี เพื่อให้ส่งชื่อผู้เชี่ยวชาญร่วมทำการประเมิน แต่อยู่ดีๆ อิโคโมสสากล ก็ขาดการติดต่อไป และไม่ได้ให้เหตุผลมา กระทั่งล่วงเลยไปถึงการประชุมที่นิวซีแลนด์ผ่านไป จึงได้แจ้งมาว่า ปราสาทพระหารผ่านการประเมินของอิโคโมสเรียบร้อยแล้ว คาดว่าคงมีประเทศสมาชิกชาติหนึ่งที่ไปประเมินปราสาทพระวิหารให้กัมพูชา ทั้งนี้ การประเมินนั้นผ่านเพียงบางข้อตามข้อบังคับของคณะกรรมการมรดกโลกเท่านั้น
หลังการประชุมที่ไครเชิร์ส อีโคโมสไทย ได้มีความพยายามที่จะยืดการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารออกไป จนเลื่อนการพิจารณาออกไปที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา อย่างไรก็ตาม อิโคโมสไทย ได้ทำเอกสารทางวิชาการโต้แย้งการประเมินของอิโคโมสด้วย หลังจากนั้นกัมพูชาได้เชิญอิโคโมสไทยสำรวจพื้นที่การจัดการพื้นที่กันชนในแดนไทยบนเขาพระวิหาร ซึ่งผู้แทนไทยได้พบรายละเอียดที่ไม่ถูกต้องหลายประการของกัมพูชา เช่น สระตราว กัมพูชา ระบุว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ในความจริงคือแหล่งเก็บน้ำที่สร้างขึ้นมา
นอกจากนี้กัมพูชายังพยายามผลักดันว่า ทางเข้าหลักซึ่งอยู่ฝั่งไทยไม่มีความสำคัญ แต่กลับมุ่งไปสู่ทางเข้าบันไดหัก และทางราบต่ำฝั่งกัมพูชา ส่วนบันไดขนาดใหญ่ของฝั่งไทยทางทิศเหนือ ระบุว่าสร้างในยุคหลังสุด และมีความสำคัญน้อยสุด รวมทั้งการกำหนดยุคสมัยที่ผิดพลาด นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยได้สำรวจ และพบภาพสลักนูนต่ำที่เป็นฐานศิวลึงค์บนผาปราสาทพระวิหาร ซึ่งแสดงว่าการก่อสร้างปราสาทพระวิหารมีหลักคิดที่เชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น สถูปคู่ เป็นต้น
“จากนั้นในวันที่ 11-14 ม.ค. 51 อิโคโมสได้เชิญคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมกับคณะผู้เชี่ยวชาญจากประเทศอื่นๆ ซึ่งไทยได้แจ้งข้อมูลที่พบบนปราสาทพระวิหาร แต่คณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้แจ้งว่า การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลใดๆ ในเอกสารการประเมินของอิโคโมสไม่สามารถทำได้ นอกจากจะถอดเรื่องออกมาทั้งหมดก่อน แล้วจึงจะเสนอเรื่องขอจดทะเบียนมรดกโลกกลับเข้ามาใหม่ อย่างไรก็ตาม ทางอิโคโมสไทยได้แจ้งถึงปัญหาเรื่องเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ ว่าหากมีความขัดแย้งกันอยู่ ก็จะมีปัญหาในการดูแลโบราณสถานด้วย แต่ไม่มีใครรับฟังเพราะเขาบอกว่าเอกสารต่างๆ ผ่านการพิจารณาไปหมดแล้ว นอกจากนี้ที่ประชุมคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ยังไม่ยอมแจ้งที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกให้ทราบด้วยว่าไทยมีปัญหาอย่างไร ซึ่งหลังจากนั้น ไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร และอิโคโมสไทย เพื่อดำเนินการเก็บข้อมูลและแจ้งให้คณะกรรมการมรดกโลกได้ทราบว่าเรามีข้อมูลทางวิชาการอย่างไร”
จากนั้น อีโคโมสไทยได้ส่งจดหมายถึงประธานอีโคโมสสากล เพื่อรายงานความเห็นโต้แย้งทางวิชาการ 5 ประเด็น เกี่ยวกับเกณฑ์การพิจารณา การนำเสนอพื้นที่โบราณสถานที่ไม่สมบูรณ์ การพิจารณาของอีโคโมสไม่คำนึงถึงมิติความสัมพันธ์ระหว่างศาสนสถานและชุมชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียง การตีความที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง และปัญหาเรื่องเขตแดน ต่อมาประธานอิโคโมสได้ส่งจดหมายกลับมาและให้ไทยกับกัมพูชาหาข้อตกลงร่วมกัน ทั้งนี้ อีโคโมสไทยได้เผยแพร่ข้อมูลการวิเคราะห์ที่ไม่ถูกต้องในเอกสารการประเมินของอีโคโมส ที่ใช้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ควิเบก แคนาดา ซึ่งแสดงถึงความไม่ตรงไปตรงมาในการพิจารณาของผู้แทนอีโคโมส และการดำเนินการขององค์กรระหว่างประเทศทางเว็บไซต์ของอีโคโมสไทย
เผยไม่ชอบมาพากล
ผศ.ดร.ยงธนิศร์ กล่าวว่า อีโคโมส ไม่มีบทบาทอะไรไปมากกว่า หาข้อยุติทางวิชาการ ว่าหากจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร จะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง และจะพัฒนาอย่างไร ซึ่งเรายังไม่ได้ไปถึงขั้นนั้น แต่ก็พบความไม่ชอบมาพากลก่อน เช่น เกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่มีอยู่ 6 ข้อ มีการเสนอเอกสารที่ไม่ตรงกับเกณฑ์และมีความคลาดเคลื่อน หรือการตีความเรื่องคุณค่าของโบราณสถานที่แต่ละประเทศตีความต่างกัน ซึ่งเราพบว่าข้อมูลจากไทยมีข้อมูลจำนวนมาก และพิสูจน์ความถูกต้องได้มาก แต่เหตุใดอีโคโมสสากลจึงไม่ได้ใช้ข้อมูลตรงนี้ เราไม่ได้ค้นพบว่าอิโคโมสสากลเอาแหล่งข้อมูลต่างๆ มาจากไหนในการพิจารณาปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
“คำถามคือเราทำงานวิชาการไม่ดี หรือว่ามีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่มันมีความไม่ชอบมาพากลที่เราต้องหาคำตอบต่อไป และหวังว่าผู้ที่มีบทบาทในการเมืองระหว่างประเทศ จะนำข้อมูลที่อิโคโมสไทยได้ทำขึ้นมาไปใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไปด้วย” ผศ.ดร.ยงธนิศร์ กล่าว
นายบวรเวท กล่าวว่า สิ่งที่อีโคโมสไทยได้แสดงข้อโต้แย้งต่ออิโคโมสสากลนั้น คือ การประกาศจุดยืนของไทย แต่อีโคโมสสากลก็อาจจะให้ไทยได้พูด และก็อาจเงียบไป เราก็จะส่งรายงานทางวิชาการไปถึงคณะกรรมการมรดกโลก ว่า สิ่งที่คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณานั้น ส่งผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมาอย่างไรบ้าง ที่สำคัญ จะต้องให้ประชาชนไทยได้รับทราบความคืบหน้าสิ่งที่อีโคโมสไทยได้ดำเนินการในวงกว้าง
"ปองพล" ชี้ไทยไม่พร้อม-เขมรเตรียมตัวดี
นายปองพล กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า ไทยไม่ได้เตรียมตัวเข้าสู่สมรภูมิของสงคราม เพราะมองทุกอย่างในแง่ดีหมด ซึ่งในการพิจารณาครั้งนั้นมีประเทศต่างๆ ขอจดทะเบียนมรดกโลกทั้งหมด 47 แห่ง ผ่านการพิจารณาเป็นมรดกโลก 26 แห่ง และไม่ผ่าน 21 ประเทศ ซึ่งประเทศที่ไม่ได้เป็นมรดกโลกก็โวยวาย อย่างอินโดนีเซียได้เสนอบาหลีแต่ไม่ผ่านเพราะขาดเพียงหลักเกณฑ์เดียว
ทั้งนี้ ตนได้แย้งคณะกรรมการมรดกโลกไปว่าการตัดสินปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของยูเนสโกตัดสินโดยขัดแย้งกับหลักเกณฑ์ของเขาเอง และอีกประการหนึ่งนั้น เขาได้ขอเลื่อนการพิจารณาปราสาทพระวิหารจากอันดับ 4 เป็นอันดับที่ 47 ตอนแรกก็คิดว่าต้องการให้ไทยกับกัมพูชาได้เจรจากัน แต่เมื่อคิดดูไม่ใช่ นั่นเพราะการตัดสินของยูเนสโกเรื่องนี้มันสวนกับหลักเกณฑ์ของเขาเอง หากตัดสินไปก่อน ประเทศอื่นๆ ที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด ก็จะต้องโต้แย้งเรื่องก็จะไม่จบ เขาเลยเลื่อนมาไว้อันดับสุดท้าย พิจารณาเสร็จก็จบเลย
นายปองพล กล่าวอีกว่า การเสนอขอจดทะเบียนเป็นมรดกโลกของกัมพูชานั้น มีการเตรียมการมาเป็นกองทัพ มีธงของชาติที่เป็นเอกภาพ แต่ของเราไม่ได้เตรียมตัวเลย เราแพ้เพราะเรามองทุกอย่างในแง่ดี ทุกคนรักชาติ แต่หากหันกลับมาดูอีกฝ่ายจะเห็นว่า เขาทำเป็นขั้นตอนเตรียมพร้อมทุกอย่าง เขาเตรียมไปรบแต่เราเข้าไปประชุมแบบเด็กน้อย ซึ่งสิ่งที่เราประสบครั้งนี้ถือเป็นเรื่องเล็ก แต่หากเราเจอเรื่องใหญ่กว่านี้ และเรายังไม่มีเอกภาพ ขาดอำนาจต่อรอง เราจะเสียยิ่งกว่านี้ เพราะสิ่งที่เราต้องเผชิญนั้นนอกเหนือจากที่เราคิดมากนัก