เอเอฟพี/ผู้จัดการรายวัน - ผบ.ทหารเขมรในเขตพระวิหารเชื่อเจรจาไทย-กัมพูชาที่สระแก้ววันนี้ไร้ทางออก "ผู้เชี่ยวชาญ" เตือนระวังการเผชิญหน้าทางทหารจนบานปลาย ส่วนกลุ่มอาเซียนเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายอดทนและอดกลั้น ด้านรัฐบาลกัมพูชาส่งแค่ระดับผู้ช่วยรัฐมนตรีไปประชุมในสิงคโปร์ "ฮอร์นัมฮง" รมว.ต่างประเทศ เตรียมพร้อมในพนมเปญรับมือเจรจาที่สระแก้ว ส่วนสถานการณ์ชายแดนไทย-เขมรทหารทั้ง 2 ประเทศพร้อมอาวุธหนักยังคงตั้งอยู่ในเขตเขาใกล้ปราสาทพระวิหาร "สมัคร" รับคณะกรรมการมรดกโลกเล่นเกมขึ้นทะเบียน "ประสาทพระวิหาร"
เอเอฟพี-พลจัตวาเจียแก้ว (Chea Keo) ผู้บัญชาการนายทหารฝ่ายกัมพูชา ในเขตเขาพระวิหารกล่าวถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทยในกรณีเขาพระวิหารเมื่อวันอาทิตย์ (20 ก.ค.) ว่า การเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาที่จะะมีขึ้นในวันจันทร์นี้อาจจะไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการเผชิญหน้าทางทหารในขณะนี้ได้ ขณะที่ทหารกว่า 500 นายและฝ่ายกัมพูชากว่า 1,000 นาย ยังคงตั้งอยู่ในเขตเขาใกล้ปราสาทพระวิหาร
"เรามีความหวังเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการเจรจา" พลจัตวาเจียแก้ว ในขณะที่การเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังของสองฝ่ายกำลังก้าวเข้าสู่วันที่หก
"เรามีความหวังเพียงเล็กน้อยก็เนื่องจากข่าวที่ว่ารัฐบาลไทยได้ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีของเรา ระบุว่า ดินแดนที่ทหารไทยตั้งอยู่นั้นเป็นของพวกเขา ซึ่งเราก็ได้เตรียมพร้อมสูงสุดแล้ว" ผู้บัญชาการของฝ่ายกัมพูชา กล่าว
การเผชิญหน้าทางทหารเริ่มขึ้นหลังจากฝ่ายกัมพูชาจับกุมผู้ประท้วงชาวไทย 3 คนที่กัมพูชากล่าวว่าจับในฐาน "เข้าเมืองโดยไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง" ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพาท
ไทยและกัมพูชาได้เสริมกำลังเข้าไปในพื้นที่ทุกวัน ทหารของทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันในระยะประชิดที่วัดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่ไกลจากปราสาทพระวิการ ฝ่ายไทยกล่าวว่า วัดดังกล่าวตั้งอยู่ทางในเขตอุทยาแห่งชาติเขาพระวิหาร แต่ฝ่ายกัมพูชากล่าวว่าอยู่ในดินแดนกัมพูชา
นายเขียว กัญฤทธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวในฐานะโฆษกรัฐบาลกล่าวในกรุงพนมเปญเมื่อวันอาทิตย์ว่า กัมพูชาได้รายงานสถานการณ์ที่ชายแดนไทยต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้รับทราบ ขณะเดียวกันก็ส่งยงานอีกฉบับหนึ่งถึงประธานที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติปัจจุบัน
"หลังการเจรจาในวันจันทร์เราจะตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งว่าก้าวต่อไปจะทำอะไร" นายเขียว กล่าว
เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2505 ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชาพร้อมอาณาบริเวณโดยรอบทั้งหมด แต่ในเดือนต่อมารัฐบาลไทยได้ประท้วงคำตัดสินของศาลโลก และยืนยันสิทธิที่จะทวงคืนดินแดนทั้งหมดซึ่งอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทยตรมกฎหมายระหว่างประเทศ
ประเทศไทยได้จัดทำแผนที่ใหม่โดยยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นพรมแดนในนั้นมีพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ไทยกล่าวอ้างอธิปไตยและฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าเป็น"พื้นที่ทับซ้อน"หรือเป็น"ดินแดนพิพาท"มาตลอด
อาเซียนแนะไทย-เขมรให้อดกลั้น
สิงคโปร์-กลุ่มอาเซียนได้เรียกร้องให้สองประเทศมากกลุ่มคือ ไทยกับกัมพูชาได้ใช้ความอดทนและกลั้นขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มกำลังจะเปิดการประชุมหารือเป็นเวลา 3 วันในสิงคโปร์
การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นขณะที่ทหารของสองฝ่ายกำลังเผชิญหน้ากันที่ชายแดนด้านเขาพระวิหาร หลังจากฝ่ายกัมพูชาได้จับผู้ประท้วงชาวไทยไป 3 คน
"เราขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนและอดกลั้นและแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี" นายแอรดริว ตัน (ANdrew Tan) เจ้าหน้าที่อาเซียนซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกของบรรดารัฐมนตรีอาเซียนกล่าว
"ผมคติดว่านั่นเป็นทางที่จะต้องปฏิบัติเพราะว่าเป็นวิถีทางที่ทำให้อาเซียนอยู่ตลอดรอดฝั่งมาคือ มิให้กรณีพิพาททวิภาคีส่งผลกระทบต่อสมานฉันท์ของกลุ่ม" นายตันกล่าว
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการกลุ่มอาเซียนกล่าวว่า จะมีการหยิกยกเรื่องจ้ขึ้นหารือหลังจากรัฐมนตรีคร่วมรับประทานอาหารมื้อเย็นอย่างไม่เป็นทางการในค่ำวันอาทิตย์ การประชุมอย่างเป็นทางการจะเริ่มในเช้าวันจันทร์
"ผมแน่ใจว่าทุกคนจะแสดงความปราถนาให้ไทยกับกัมพูชาแก้ไขความตึงเครียกและความเข้าใจผิดใดอย่สงเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้" นายสุรินทร์กล่าว
สิงคโปร์เป็นประเทศประธานคณะกรรมการประจำกลุ่มอาเซียน ซึ่งกำลังจะส่งมอบภาระหน้าที่ให้แก่ไทยในเดือนนี้ ตามกฎบัตรของกลุ่มที่ประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันทำหน้าที่คราวละ 1 ปี
รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียนายฮัสซันวิรายุดา (Hasan Virajuda) ได้เรียกร้องให้ทั้งไทยและกัมพูชา "ใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุด"
การประชุทมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งนี้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีศึกษาธิการจะเป็นตัสวแทนจากไทย และ กัมพูชาได้ส่งนายกาวกิมฮูน (Kao Kim Hourn) ซึ่งเป็นระดับ "ผู้ช่วยรัฐมนตรี" (Secretary of State) ไปร่วมการประชุมแทนนายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) ซึ่งเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศ
นายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) ซึ่งเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งจะต้องไปประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอยู่ในกรุงพนมเปญ ซึ่งเชื่อว่าเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาระหว่างผู้นำทหารกัมพูชาและฝ่ายไทยที่สระแก้ว
โฆษกรัฐบาลกัมพูชากล่าวก่อนหน้านี้ว่า หลังการเจรจาในวันจันทร์นี้จึงจะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรเป็นขั้นตอนต่อไป
ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาจบานปลาย
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ออกมาเตือนให้ระวังการเผชิญหน้าด้วยอาวุธระหว่างไทยกับกัมพูชาสามารถลุกลามบานปลายใหญ่โตได้ไม่ยาก หลังจากไม่มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นในภูมิภาคมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี หลังจากที่ทหารของทั้งสองฝ่ายได้ออกมาเผชิญหน้ากันมาเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ที่วัดแห่งหนึ่งในเขตเขาบนทางขึ้นไปสู่ปราสาทพระวิหาร
"ผมเป็นห่วงเรื่องคอมมานด์กับคอนโทรล (การบัญชาการกับการควบคุม) ของทั้งสองฝ่าย" ศาสตราจารย์คาร์ล เทเยอร์ (Carl Thayer) ผู้เชี่ยวชาญกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนหนึ่งที่ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการกลาโหม มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวเมื่อวันอาทิตย์
ทหารกัมพูชาถูกสั่งห้ามดื่มเหล้าทุกชนิด
"ทันทีที่คุณมีกำลังทหารเช่นนั้น...คุณจะต้องบมีวินัยอย่างเข้มงวดจริงๆ" ศ.เทเยอร์กล่าว พร้อมแสดงความเป็นห่วงต่อการคิดคำนวณที่ผิดพลาด
นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงคนนี้กล่าวว่า เป็นการยากที่จะนึกถึงเหตุการณ์ที่กำลังทหารสองฝ่ายเผชิญหน้ากันตามชายแดนคล้าสยกันนี้ในภูมิภาคว่าเกิดขึ้นเมื่อไร อาจจะเป็นช่วงทศวรรษที่ 1980 เมื่อไทยกับลาวต้องสู้รบกันเรื่องพรมแดน
ศ.เทเยอร์ กล่าวว่า อาเซียนไม่เข้ายุ่งกิจการภายในและกรณีพิพาททวิภาคีของประเทศสมาชิก แต่ก็อาจจะมีการเจรจาข้างเคียงเพื่อกดดันให้สองฝ่ายหาทางแก้ไขข้อขัดแย้ง
"ไม่มีฝ่ายใดต้องการให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รบกวนภูมิภาค...ผมคิดว่ากำลังจะมีแรงกดดันจากรอบทิศให้ทั้งสองฝ่ายต้องพบกันตัวต่อตัวหาทางแก้ปัญหา"
ด้าน นายจอร์จ เยียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ กล่าวในคืนวันอาทิตย์นี้ว่า "ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้ต่ออาเซียนและต่อประชาคมระหว่างประเทศ ที่จะพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อหาทางแก้ปัญหาโดยสันติวิธี"
นายเยีว กล่าวในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะเปิดประชุมอย่างเป็นทางการในวันจันทร์นี้
"เราได้เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุด และแก้ไขกรณีนี้อย่งเป็นมิตรภายใต้จิตในควาสมานฉันท์แห่งอาเซียนและการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี" นายเยียวกล่าวในคำแถลงชิ้นหนึ่งที่ออกเผยแพร่เวลาประมาณ 21 น ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี
เขมรอาจนำพระวิหารถกในอาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกฯซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยได้เดินทางมาถึงประเทศสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ที่สิงคโปร์ และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะลงนามรับเป็นประธานอาเซียนต่อจากประเทศสิงคโปร์ หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวไม่มีรัฐมนตรีคนใดอยากเป็นผู้แทนเดินทางมาร่วมประชุม เพราะต้องลงนามร่วมกับต่างประเทศ 2 ฉบับโดยกังวลว่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง เหมือนกรณีของนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่ไปลงนามแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา แม้กระทรวงการต่างประเทศจะยืนยันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ตาม
สำหรับเอกสารที่นายสหัส ต้องลงนามทั้งสองฉบับ คือ 1.บันทึกช่วยจำว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงาน จะต้องลงนามร่วมกับออสเตรเลีย 2.สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แทค) ระหว่างอาเซียนกับเกาหลีเหนือ
ทั้งนี้ นายสหัส ยอมรับว่า ทางกัมพูชาอาจหยิบยกประเด็นปราสาทพระวิหารขึ้นมาหารือในระหว่างการรับประทานอาหารเย็นในค่ำวันนี้ (20 ก.ค.) ซึ่งคงจะพูดคุยในภาพรวมทั่ว ๆ ไป เพราะต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา ที่มี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางไปร่วมประชุมเป็นหลัก และส่วนตัวคาดว่าหากกัมพูชาหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็คงเพื่อต้องการแจ้งให้อาเซียนทราบเท่านั้น
นายสหัส กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นหลักที่จะหารือในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน คงเป็นเรื่องที่ประเทศออสเตรเลียจะให้การช่วยเหลืออาเซียนเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร พลังงาน รวมทั้งปัญหายาเสพติด สำหรับตนพร้อมที่จะเป็นผู้แทนประเทศไทยในการลงนามเอกสารตามที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายมา
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะเริ่มขึ้นในวันนี้จนถึง 24 ก.ค.ที่โรงแรมแชงกรี-ล่า โดยล่าสุดได้มีผู้แทนของประเทศต่างๆ เดินทางมาถึงแล้ว ขณะที่มีสื่อมวลชนของประเทศต่างๆ ให้ความสนใจลงทะเบียนมาทำข่าวมากกว่า 600 คน
สระแก้วพร้อมรับ 2 ฝ่ายถกวันนี้
ส่วนบรรยากาศที่โรงแรมอินโดจีน ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 154 หมู่ 6 ถนนธนะวิถี ต.บ้านใหม่หนองไทร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ววานนี้เจ้าหน้าที่ของโรงแรมได้เร่งทำความสะอาดและตกแต่งห้องประชุมศรีอรัญ เพื่อให้ทันการประชุมหารือกรณีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งจะมีขึ้นในวันนี้ในเวลา 10.00 น. นอกจากนี้ คณะนายทหารกัมพูชาเข้ามาตรวจความเรียบร้อยและดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ก่อน พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมของกัมพูชาจะมาหารือกับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ของไทยที่นี่ด้วย
ขณะที่ พล.ท.ซก เพียบ หัวหน้าสำนักงานประสานงานชายแดนกัมพูชา-ไทย ของกัมพูชา พร้อมคณะนายทหารกัมพูชา ได้เดินทางมาที่โรงแรมอินโดจีนเพื่อตรวจและดูแลการเตรียมการจัดประชุมและการรักษาความปลอดภัยให้กับ พล.อ.เตีย บัน รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ของกัมพูชา ที่จะเดินทางเข้ามาประชุมหารือกรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร กับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส.ของไทย ในวันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ สน.ปทก.(สำนักงานประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา) ของไทย และผู้จัดการโรงแรมอินโดจีน ร่วมต้อนรับและอธิบายถึงห้องประชุมต่างๆ
ทั้งนี้ พล.ท.ซก เพียบ ได้แสดงความหวั่นวิตกว่าการประชุมในวันนี้ของทั้ง 2 ฝ่ายอาจจะมีม็อบมาประท้วงและจะทำให้ไม่สามารถเจรจากันได้
"หมัก" รับ กก.มรดกโลกเล่นเกม
ด้าน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" วานนี้ (20 ก.ค.) ว่า อยากจะปรับทุกข์ถึงเรื่องธรรมดาๆ แต่ทำให้เกิดความผิดธรรมดา อย่างน่าเสียใจจริงๆ ท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของประเทศคงเห็นว่าที่ดำเนินการกันไปในที่สุด มันก็ไป กรึบ ๆ ๆ ๆ อย่างที่ว่า ถ้าหากว่า เป็นไปตามปกติ เมื่อรัฐบาลตอนนั้นเก่ง ขีดเส้นปั๊บๆ ลงไปทำปริมณฑลตรงนั้นให้ เอาไปเท่านี้ เขาก็อยู่เท่านั้น วันหนึ่งเขาอยากจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เจรจาแล้วบอกต้องขึ้นร่วมกัน เขาบอกเขาจะขึ้นคนเดียว เถียงกันไปเถียงกันมา เขาเตรียมการตั้ง 2 ปี เขาจะขึ้น แปลว่าก่อนรัฐบาลนี้เกิด 2 ปี และเมื่อปีกลายนี้คณะกรรมการมรดกโลก เขาประชุมปีละหนที่ไครสท์เชิร์ท ประเทศนิวซีแลนด์ เถียงกันว่าจะขึ้นคนเดียว หรือต้องขึ้นร่วมกัน ถ้าเผื่อมีพื้นที่เราบอกจะต้องขึ้นด้วยกัน เขาบอกอย่างนั้นไปเถียงกันใหม่ ไปเถียงกันต่อวันที่ 2 ก.ค.ปีนี้ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เพราะเป็นการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32
"ต่อมารัฐมนตรีต่างประเทศเขาก็ดำเนินการ ผมเป็นนายกฯ ไปเยี่ยมทางเขา เขาก็บอกว่าเรื่องนี้เขาจะขอขึ้น เราบอกเราไม่เห็นด้วย ถ้าขึ้นก็ขึ้นด้วยกัน อีกเดือนหนึ่งไปเจอกันที่ประชุมเขาก็ขอเจรจาบอกความ เขาบอกว่า เขาคิดออกแล้ว เขาจะขอขึ้นเฉพาะตัวปราสาท บอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ลองไปเจรจากันดู ถ้าคณะกรรมการมรดกโลกยอมทำอย่างนั้นให้ ก็หมดเรื่อง หมดปัญหาเฉพาะตัวปราสาท ก็ตกลงอย่างนั้นเขาก็ไปเจรจา กระทรวงการต่างประเทศเขาเป็นเจ้าของเรื่อง รัฐมนตรีเขาก็ไป เพราะว่าไม่ได้ไปเจรจากันเอง คณะกรรมการมรดกโลกเขามานั่งด้วย เจรจาความตกลงกัน บอกตกลงขึ้นเฉพาะปราสาท"
นายสมัคร กล่าวว่า เราก็คิดว่าอย่างไรเขาก็ขึ้นทะเบียนไม่ได้ เพราะมี 3 ข้อต้องอย่างนี้ ๆ ๆ ปรากฏว่าเล่นเกมกัน ประเทศใหญ่ๆ ก็ไม่ได้ปิดบัง นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย เล่าให้ฟังว่า เขาเตรียมการกันและเห็นว่า ประเทศเราเป็นอย่างนี้เขาเลย เฮโลไปช่วยทางนั้นแล้วตกลงให้ขึ้น เขาบอกเข้าเกณฑ์ข้อเดียวขึ้นได้เลย
"คุณปองพล ยังบ่นเลยบอกอะไรกัน เคยต้องใช้ 3 ข้อถ้าเข้าเกณฑ์ถึงได้ขึ้นทะเบียนได้ แต่นี่ไม่มีข้อแม้ขึ้นเลย ก็แปลว่าทางโน้นเกิดปัญหาจนทหารมาเผชิญหน้ากันก็ว่าตามใจก็จบกันแค่นั้น"
อนาถไทยงัดธงชาติฟัดกันเอง
นายสมัคร กล่าวต่อว่า ตนพูดก่อนศาลที่จะถูกร้อง 24 ชั่วโมงและศาลปกครองก็ยื่นเข้ามาบอกว่าให้ยุติ (แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา) รัฐมนตรีประชุม ศาลปกครองบอกยุติ ตนบอกไม่เป็นไร ยุติก็ยุติ ไม่ไป ถอนหมด สั่งระงับหมด ไม่เอาไปใช้ประโยชน์เป็นอันว่ายุติตรงนั้น และก็ไป ต้องเปลี่ยนตัว ก็เปลี่ยนถึงวาระพอดีเขาก็เปลี่ยนได้คุณปองพล มาแทน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก เขาก็ยกคณะไปทำหน้าที่ดีเรียบร้อย เจรจาความ ได้รู้เลยว่า มรดกโลกเล่นไม่ค่อยตรงไปตรงมา ก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะของเขาๆ ขอขึ้นของเขา ปั๊บเดียวขึ้นได้ ก็เท่านั้นก็จบ มันควรจะจบ แต่ไม่จบ อ้างกันอีก จะเอาตะกุยตะกายเอาให้ได้ เอาให้เป็นเหตุให้ได้ สุดท้ายก็ต้องเกิดเหตุจนได้ เพราะตรงนี้ที่เราเรียกว่าโนแมนแลนด์ (NO MAN LAND) แน่นอน เขาขยับมาตรงนั้นก็ต้องเจรจากันได้ ค่อยๆ พูดจากัน ก็เล่นจัดการจั่วเข้าไปตรงนั้น โผล่เข้าไปตรงนั้น เขาอ้างว่าของเขาเราก็อ้างของเรา เราก็ส่งทหารเข้าไปเอาตัวกลับมา
"เขาก็มาบอกเลย คุณ เอาทหารออก ลองบอกที่ของผม ทำไมชี้ให้เราออก เราก็บอกที่ของผมได้อย่างไร เท่านั้น ไทยกับไทยฟัดกันเองก่อน เห็นแล้วน่าอเน็จอนาถ คนไทยกับคนไทยล่อกันเองเชิงเขาพระวิหาร เขาก็นั่งดู ถ้าเขาชะโงกเห็นจริง ๆ เขาก็คงหัวเราะ ๆ กันเอง ธงไทยกับธงไทยฟัดกันเลย คันธงก็คันธงไม่นึกถึงธงชาติที่เคารพกันทุกเช้า เอาเข้ามาฟาดฟันกันเลย พวกหนึ่งป้องกันบอกไม่อยากให้เกิดเหตุ พวกหนึ่งบอกจะเอาให้เกิดเหตุ เห็นไหม คนไทยกับคนไทยรบกันเอง ล่อกันอย่างนี้เลย และก็ขนาดลงไปปลุกระดมกัน และสุดท้ายเป็นอย่างไร ทางโน้นเขาก็แก้เกม เขาไปยื่น สหประชาชาติ ตอนนี้ละครับ ผมจะไม่พูดอะไรสักคำ ต่อไปนี้เลย เพราะเมื่อไปสหประชาชาติแล้วกระทรวงการต่างประเทศคงดูแลเรื่องนี้ เรื่องนี้ก็เข้าขั้นเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เสียไปแล้ว รู้กันขนาดขอบเขตเท่าไร จะเอาเรื่องกัน"
ปชป.ทำจม.เปิดผนึกถึง ผบ.สส.
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ รมว.ยุติธรรมเงา แถลงว่า ตนได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.บุญสร้าง ซึ่งจะเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปเจรจากับกัมพูชา ถึงกรณีปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ในวันนี้ว่า ตนและคนไทยทั้งชาติเชื่อมั่นใจตัว พล.อ.บุญสร้าง ว่าจะไม่ทำให้พวกเราผิดหวัง แต่อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งนี้ไม่ใช่มีเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับทหารหรือกองทัพเท่านั้น แต่มีปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนของชาติ ที่ต้องเจรจาควบคู่ไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรว่าเป็นของใครกันแน่
นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า ตนมีข้อสังเกตที่พึงต้องระมัดระวัง 4 ประการ ดังนี้ 1.เหตุใดการวางแนวรั้วลวดหนามของไทยที่วางแนวเขตประสาทพระวิหารตั้งแต่ พ.ศ.2505 จึงถูกเคลื่อนย้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะต้องหาคำตอบให้ได้และมีความเป็นไปได้ที่จะกลับไปสู่สภาพเดิมเมื่อไหร่
2.บริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นปัญหาเคยเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อ พ.ศ.2505 แต่ที่ผ่านมาทหารกัมพูชาไม่เคยเคลื่อนย้ายเข้ามาในบริเวณดังกล่าว จนเกิดสงครามภายในกัมพูชา ทำให้แนวรั้วดังกล่าวหายไปจนเกิดแนวรั้วใหม่ขึ้น ขณะที่กองกำลังทหารของไทยได้ถูกย้ายลงมาอยู่หลังแนวรั้ว ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อน และปัจจุบันกองกำลังและประชาชนชาวกัมพูชาได้เข้ามาตั้งรกรากและสร้างสิ่งปลูกสร้างถาวรในพื้นที่ทับซ้อนนี้ ทำไมถึงมีกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ แต่คนไทยไม่สามารถเข้าไปได้
3.ไทยมีหนังสือประท้วงกัมพูชามาแล้ว 4 ครั้งแต่รัฐบาลกัมพูชากลับนิ่งเฉยและส่งกองกำลังและประชาชนเข้าไปอาศัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราถือว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของไทยตามหลักสากลในการแบ่งแนวสันปันน้ำและสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907 รัฐบาลไทยก็มีอำนาจและสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะผลักดันทหารและประชาชนชาวกัมพูชาออกไปจากพื้นที่ดังกล่าว จึงสมควรที่จะต้องมีข้อยุติอย่างเป็นทางการในการเจรจาครั้งนี้ว่าคนเหล่านี้จะออกไปจากอาณาเขตของไทยเมื่อไหร่
และ 4.ที่มีการยอมรับว่าทางขึ้นปราสาทพระวิหาร อยู่ในพื้นที่ไทย และการเดินทางฝั่งกัมพูชาทำได้ยากลำบาก ทำไมทหารและประชาชนกัมพูชาจึงสามารถเดินทางเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวได้สะดวก และยังมีการส่งเสบียงอาหารต่างๆ ด้วยวิธีการใด จะต้องได้รับอนุญาตและมีวิธีตรวจคนเข้าเมืองตามปกติหรือไม่ และใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการแก้ไข หรือเจรจาในกรณีนี้อย่างใด
"รัฐบาลไทยควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระหว่างการเจรจาครั้งนี้ แต่ การดำเนินการใดๆ ก็ควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคเท่าเทียมกันและต้องเคารพในสิทธิและอธิปไตยของแต่ละชาติ ด้วยความสุจริตใจแต่จากพฤติกรรมและการแสดงออกของกัมพูชาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ พยายามฉกฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียกร้องดินแดนที่เป็นปัญหาจากไทยในอนาคตอยู่เสมอ และเมื่อใกล้จะถึงกำหนดการประชุมกัมพูชากับยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังยูเอ็น เหมือนว่าต้องการให้ประเทศต่างๆ เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นฝ่ายเกเรและละเมิดอธิปไตยของกัมพูชา แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ และเล่ห์เหลี่ยมอย่างชัดเจน จึงต้องระมัดระวังวัตถุประสงค์แอบแฝงในการเจรจาครั้งนี้"
เอเอฟพี-พลจัตวาเจียแก้ว (Chea Keo) ผู้บัญชาการนายทหารฝ่ายกัมพูชา ในเขตเขาพระวิหารกล่าวถึงกรณีข้อพิพาทระหว่างกัมพูชากับไทยในกรณีเขาพระวิหารเมื่อวันอาทิตย์ (20 ก.ค.) ว่า การเจรจาระหว่างไทยกับกัมพูชาที่จะะมีขึ้นในวันจันทร์นี้อาจจะไม่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการเผชิญหน้าทางทหารในขณะนี้ได้ ขณะที่ทหารกว่า 500 นายและฝ่ายกัมพูชากว่า 1,000 นาย ยังคงตั้งอยู่ในเขตเขาใกล้ปราสาทพระวิหาร
"เรามีความหวังเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการเจรจา" พลจัตวาเจียแก้ว ในขณะที่การเผชิญหน้าระหว่างกองกำลังของสองฝ่ายกำลังก้าวเข้าสู่วันที่หก
"เรามีความหวังเพียงเล็กน้อยก็เนื่องจากข่าวที่ว่ารัฐบาลไทยได้ส่งหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีของเรา ระบุว่า ดินแดนที่ทหารไทยตั้งอยู่นั้นเป็นของพวกเขา ซึ่งเราก็ได้เตรียมพร้อมสูงสุดแล้ว" ผู้บัญชาการของฝ่ายกัมพูชา กล่าว
การเผชิญหน้าทางทหารเริ่มขึ้นหลังจากฝ่ายกัมพูชาจับกุมผู้ประท้วงชาวไทย 3 คนที่กัมพูชากล่าวว่าจับในฐาน "เข้าเมืองโดยไม่ผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง" ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพาท
ไทยและกัมพูชาได้เสริมกำลังเข้าไปในพื้นที่ทุกวัน ทหารของทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันในระยะประชิดที่วัดแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่บนเนินเขาไม่ไกลจากปราสาทพระวิการ ฝ่ายไทยกล่าวว่า วัดดังกล่าวตั้งอยู่ทางในเขตอุทยาแห่งชาติเขาพระวิหาร แต่ฝ่ายกัมพูชากล่าวว่าอยู่ในดินแดนกัมพูชา
นายเขียว กัญฤทธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าวในฐานะโฆษกรัฐบาลกล่าวในกรุงพนมเปญเมื่อวันอาทิตย์ว่า กัมพูชาได้รายงานสถานการณ์ที่ชายแดนไทยต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อให้รับทราบ ขณะเดียวกันก็ส่งยงานอีกฉบับหนึ่งถึงประธานที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติปัจจุบัน
"หลังการเจรจาในวันจันทร์เราจะตัดสินใจอีกครั้งหนึ่งว่าก้าวต่อไปจะทำอะไร" นายเขียว กล่าว
เมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2505 ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชาพร้อมอาณาบริเวณโดยรอบทั้งหมด แต่ในเดือนต่อมารัฐบาลไทยได้ประท้วงคำตัดสินของศาลโลก และยืนยันสิทธิที่จะทวงคืนดินแดนทั้งหมดซึ่งอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทยตรมกฎหมายระหว่างประเทศ
ประเทศไทยได้จัดทำแผนที่ใหม่โดยยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นพรมแดนในนั้นมีพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ไทยกล่าวอ้างอธิปไตยและฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าเป็น"พื้นที่ทับซ้อน"หรือเป็น"ดินแดนพิพาท"มาตลอด
อาเซียนแนะไทย-เขมรให้อดกลั้น
สิงคโปร์-กลุ่มอาเซียนได้เรียกร้องให้สองประเทศมากกลุ่มคือ ไทยกับกัมพูชาได้ใช้ความอดทนและกลั้นขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่มกำลังจะเปิดการประชุมหารือเป็นเวลา 3 วันในสิงคโปร์
การเรียกร้องดังกล่าวมีขึ้นขณะที่ทหารของสองฝ่ายกำลังเผชิญหน้ากันที่ชายแดนด้านเขาพระวิหาร หลังจากฝ่ายกัมพูชาได้จับผู้ประท้วงชาวไทยไป 3 คน
"เราขอเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนและอดกลั้นและแก้ปัญหาด้วยสันติวิธี" นายแอรดริว ตัน (ANdrew Tan) เจ้าหน้าที่อาเซียนซึ่งทำหน้าที่เป็นโฆษกของบรรดารัฐมนตรีอาเซียนกล่าว
"ผมคติดว่านั่นเป็นทางที่จะต้องปฏิบัติเพราะว่าเป็นวิถีทางที่ทำให้อาเซียนอยู่ตลอดรอดฝั่งมาคือ มิให้กรณีพิพาททวิภาคีส่งผลกระทบต่อสมานฉันท์ของกลุ่ม" นายตันกล่าว
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการกลุ่มอาเซียนกล่าวว่า จะมีการหยิกยกเรื่องจ้ขึ้นหารือหลังจากรัฐมนตรีคร่วมรับประทานอาหารมื้อเย็นอย่างไม่เป็นทางการในค่ำวันอาทิตย์ การประชุมอย่างเป็นทางการจะเริ่มในเช้าวันจันทร์
"ผมแน่ใจว่าทุกคนจะแสดงความปราถนาให้ไทยกับกัมพูชาแก้ไขความตึงเครียกและความเข้าใจผิดใดอย่สงเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้" นายสุรินทร์กล่าว
สิงคโปร์เป็นประเทศประธานคณะกรรมการประจำกลุ่มอาเซียน ซึ่งกำลังจะส่งมอบภาระหน้าที่ให้แก่ไทยในเดือนนี้ ตามกฎบัตรของกลุ่มที่ประเทศสมาชิกจะหมุนเวียนกันทำหน้าที่คราวละ 1 ปี
รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียนายฮัสซันวิรายุดา (Hasan Virajuda) ได้เรียกร้องให้ทั้งไทยและกัมพูชา "ใช้ความอดกลั้นอย่างที่สุด"
การประชุทมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งนี้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีศึกษาธิการจะเป็นตัสวแทนจากไทย และ กัมพูชาได้ส่งนายกาวกิมฮูน (Kao Kim Hourn) ซึ่งเป็นระดับ "ผู้ช่วยรัฐมนตรี" (Secretary of State) ไปร่วมการประชุมแทนนายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) ซึ่งเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศ
นายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) ซึ่งเป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งจะต้องไปประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอยู่ในกรุงพนมเปญ ซึ่งเชื่อว่าเตรียมพร้อมสำหรับการเจรจาระหว่างผู้นำทหารกัมพูชาและฝ่ายไทยที่สระแก้ว
โฆษกรัฐบาลกัมพูชากล่าวก่อนหน้านี้ว่า หลังการเจรจาในวันจันทร์นี้จึงจะตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรเป็นขั้นตอนต่อไป
ผู้เชี่ยวชาญเตือนอาจบานปลาย
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ออกมาเตือนให้ระวังการเผชิญหน้าด้วยอาวุธระหว่างไทยกับกัมพูชาสามารถลุกลามบานปลายใหญ่โตได้ไม่ยาก หลังจากไม่มีเรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นในภูมิภาคมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี หลังจากที่ทหารของทั้งสองฝ่ายได้ออกมาเผชิญหน้ากันมาเป็นเวลาเกือบ 1 สัปดาห์ที่วัดแห่งหนึ่งในเขตเขาบนทางขึ้นไปสู่ปราสาทพระวิหาร
"ผมเป็นห่วงเรื่องคอมมานด์กับคอนโทรล (การบัญชาการกับการควบคุม) ของทั้งสองฝ่าย" ศาสตราจารย์คาร์ล เทเยอร์ (Carl Thayer) ผู้เชี่ยวชาญกิจการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนหนึ่งที่ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์และการกลาโหม มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวเมื่อวันอาทิตย์
ทหารกัมพูชาถูกสั่งห้ามดื่มเหล้าทุกชนิด
"ทันทีที่คุณมีกำลังทหารเช่นนั้น...คุณจะต้องบมีวินัยอย่างเข้มงวดจริงๆ" ศ.เทเยอร์กล่าว พร้อมแสดงความเป็นห่วงต่อการคิดคำนวณที่ผิดพลาด
นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงคนนี้กล่าวว่า เป็นการยากที่จะนึกถึงเหตุการณ์ที่กำลังทหารสองฝ่ายเผชิญหน้ากันตามชายแดนคล้าสยกันนี้ในภูมิภาคว่าเกิดขึ้นเมื่อไร อาจจะเป็นช่วงทศวรรษที่ 1980 เมื่อไทยกับลาวต้องสู้รบกันเรื่องพรมแดน
ศ.เทเยอร์ กล่าวว่า อาเซียนไม่เข้ายุ่งกิจการภายในและกรณีพิพาททวิภาคีของประเทศสมาชิก แต่ก็อาจจะมีการเจรจาข้างเคียงเพื่อกดดันให้สองฝ่ายหาทางแก้ไขข้อขัดแย้ง
"ไม่มีฝ่ายใดต้องการให้เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รบกวนภูมิภาค...ผมคิดว่ากำลังจะมีแรงกดดันจากรอบทิศให้ทั้งสองฝ่ายต้องพบกันตัวต่อตัวหาทางแก้ปัญหา"
ด้าน นายจอร์จ เยียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ กล่าวในคืนวันอาทิตย์นี้ว่า "ทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันว่าจะปฏิบัติตามพันธะสัญญาที่ให้ไว้ต่ออาเซียนและต่อประชาคมระหว่างประเทศ ที่จะพยายามอย่างถึงที่สุดเพื่อหาทางแก้ปัญหาโดยสันติวิธี"
นายเยีว กล่าวในขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะเปิดประชุมอย่างเป็นทางการในวันจันทร์นี้
"เราได้เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุด และแก้ไขกรณีนี้อย่งเป็นมิตรภายใต้จิตในควาสมานฉันท์แห่งอาเซียนและการเป็นเพื่อนบ้านที่ดี" นายเยียวกล่าวในคำแถลงชิ้นหนึ่งที่ออกเผยแพร่เวลาประมาณ 21 น ทั้งนี้เป็นรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี
เขมรอาจนำพระวิหารถกในอาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกฯซึ่งได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยได้เดินทางมาถึงประเทศสิงคโปร์เพื่อเข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 ที่สิงคโปร์ และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจะลงนามรับเป็นประธานอาเซียนต่อจากประเทศสิงคโปร์ หลังจากก่อนหน้านี้มีข่าวไม่มีรัฐมนตรีคนใดอยากเป็นผู้แทนเดินทางมาร่วมประชุม เพราะต้องลงนามร่วมกับต่างประเทศ 2 ฉบับโดยกังวลว่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญมาตรา 190 วรรคสอง เหมือนกรณีของนายนพดล ปัทมะ อดีต รมว.ต่างประเทศ ที่ไปลงนามแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา แม้กระทรวงการต่างประเทศจะยืนยันไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญก็ตาม
สำหรับเอกสารที่นายสหัส ต้องลงนามทั้งสองฉบับ คือ 1.บันทึกช่วยจำว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระหว่างอาเซียน-ออสเตรเลีย ซึ่งไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงาน จะต้องลงนามร่วมกับออสเตรเลีย 2.สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (แทค) ระหว่างอาเซียนกับเกาหลีเหนือ
ทั้งนี้ นายสหัส ยอมรับว่า ทางกัมพูชาอาจหยิบยกประเด็นปราสาทพระวิหารขึ้นมาหารือในระหว่างการรับประทานอาหารเย็นในค่ำวันนี้ (20 ก.ค.) ซึ่งคงจะพูดคุยในภาพรวมทั่ว ๆ ไป เพราะต้องรอผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา ที่มี พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เดินทางไปร่วมประชุมเป็นหลัก และส่วนตัวคาดว่าหากกัมพูชาหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็คงเพื่อต้องการแจ้งให้อาเซียนทราบเท่านั้น
นายสหัส กล่าวด้วยว่า สำหรับประเด็นหลักที่จะหารือในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน คงเป็นเรื่องที่ประเทศออสเตรเลียจะให้การช่วยเหลืออาเซียนเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร พลังงาน รวมทั้งปัญหายาเสพติด สำหรับตนพร้อมที่จะเป็นผู้แทนประเทศไทยในการลงนามเอกสารตามที่คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายมา
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 41 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะเริ่มขึ้นในวันนี้จนถึง 24 ก.ค.ที่โรงแรมแชงกรี-ล่า โดยล่าสุดได้มีผู้แทนของประเทศต่างๆ เดินทางมาถึงแล้ว ขณะที่มีสื่อมวลชนของประเทศต่างๆ ให้ความสนใจลงทะเบียนมาทำข่าวมากกว่า 600 คน
สระแก้วพร้อมรับ 2 ฝ่ายถกวันนี้
ส่วนบรรยากาศที่โรงแรมอินโดจีน ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 154 หมู่ 6 ถนนธนะวิถี ต.บ้านใหม่หนองไทร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ววานนี้เจ้าหน้าที่ของโรงแรมได้เร่งทำความสะอาดและตกแต่งห้องประชุมศรีอรัญ เพื่อให้ทันการประชุมหารือกรณีปราสาทพระวิหารระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งจะมีขึ้นในวันนี้ในเวลา 10.00 น. นอกจากนี้ คณะนายทหารกัมพูชาเข้ามาตรวจความเรียบร้อยและดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด ก่อน พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมของกัมพูชาจะมาหารือกับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) ของไทยที่นี่ด้วย
ขณะที่ พล.ท.ซก เพียบ หัวหน้าสำนักงานประสานงานชายแดนกัมพูชา-ไทย ของกัมพูชา พร้อมคณะนายทหารกัมพูชา ได้เดินทางมาที่โรงแรมอินโดจีนเพื่อตรวจและดูแลการเตรียมการจัดประชุมและการรักษาความปลอดภัยให้กับ พล.อ.เตีย บัน รองนายกฯและ รมว.กลาโหม ของกัมพูชา ที่จะเดินทางเข้ามาประชุมหารือกรณีข้อพิพาทปราสาทพระวิหาร กับ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผบ.สส.ของไทย ในวันนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ สน.ปทก.(สำนักงานประสานงานชายแดนไทย-กัมพูชา) ของไทย และผู้จัดการโรงแรมอินโดจีน ร่วมต้อนรับและอธิบายถึงห้องประชุมต่างๆ
ทั้งนี้ พล.ท.ซก เพียบ ได้แสดงความหวั่นวิตกว่าการประชุมในวันนี้ของทั้ง 2 ฝ่ายอาจจะมีม็อบมาประท้วงและจะทำให้ไม่สามารถเจรจากันได้
"หมัก" รับ กก.มรดกโลกเล่นเกม
ด้าน นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม กล่าวในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" วานนี้ (20 ก.ค.) ว่า อยากจะปรับทุกข์ถึงเรื่องธรรมดาๆ แต่ทำให้เกิดความผิดธรรมดา อย่างน่าเสียใจจริงๆ ท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของประเทศคงเห็นว่าที่ดำเนินการกันไปในที่สุด มันก็ไป กรึบ ๆ ๆ ๆ อย่างที่ว่า ถ้าหากว่า เป็นไปตามปกติ เมื่อรัฐบาลตอนนั้นเก่ง ขีดเส้นปั๊บๆ ลงไปทำปริมณฑลตรงนั้นให้ เอาไปเท่านี้ เขาก็อยู่เท่านั้น วันหนึ่งเขาอยากจะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เจรจาแล้วบอกต้องขึ้นร่วมกัน เขาบอกเขาจะขึ้นคนเดียว เถียงกันไปเถียงกันมา เขาเตรียมการตั้ง 2 ปี เขาจะขึ้น แปลว่าก่อนรัฐบาลนี้เกิด 2 ปี และเมื่อปีกลายนี้คณะกรรมการมรดกโลก เขาประชุมปีละหนที่ไครสท์เชิร์ท ประเทศนิวซีแลนด์ เถียงกันว่าจะขึ้นคนเดียว หรือต้องขึ้นร่วมกัน ถ้าเผื่อมีพื้นที่เราบอกจะต้องขึ้นด้วยกัน เขาบอกอย่างนั้นไปเถียงกันใหม่ ไปเถียงกันต่อวันที่ 2 ก.ค.ปีนี้ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เพราะเป็นการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32
"ต่อมารัฐมนตรีต่างประเทศเขาก็ดำเนินการ ผมเป็นนายกฯ ไปเยี่ยมทางเขา เขาก็บอกว่าเรื่องนี้เขาจะขอขึ้น เราบอกเราไม่เห็นด้วย ถ้าขึ้นก็ขึ้นด้วยกัน อีกเดือนหนึ่งไปเจอกันที่ประชุมเขาก็ขอเจรจาบอกความ เขาบอกว่า เขาคิดออกแล้ว เขาจะขอขึ้นเฉพาะตัวปราสาท บอกว่าถ้าอย่างนั้นก็ลองไปเจรจากันดู ถ้าคณะกรรมการมรดกโลกยอมทำอย่างนั้นให้ ก็หมดเรื่อง หมดปัญหาเฉพาะตัวปราสาท ก็ตกลงอย่างนั้นเขาก็ไปเจรจา กระทรวงการต่างประเทศเขาเป็นเจ้าของเรื่อง รัฐมนตรีเขาก็ไป เพราะว่าไม่ได้ไปเจรจากันเอง คณะกรรมการมรดกโลกเขามานั่งด้วย เจรจาความตกลงกัน บอกตกลงขึ้นเฉพาะปราสาท"
นายสมัคร กล่าวว่า เราก็คิดว่าอย่างไรเขาก็ขึ้นทะเบียนไม่ได้ เพราะมี 3 ข้อต้องอย่างนี้ ๆ ๆ ปรากฏว่าเล่นเกมกัน ประเทศใหญ่ๆ ก็ไม่ได้ปิดบัง นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย เล่าให้ฟังว่า เขาเตรียมการกันและเห็นว่า ประเทศเราเป็นอย่างนี้เขาเลย เฮโลไปช่วยทางนั้นแล้วตกลงให้ขึ้น เขาบอกเข้าเกณฑ์ข้อเดียวขึ้นได้เลย
"คุณปองพล ยังบ่นเลยบอกอะไรกัน เคยต้องใช้ 3 ข้อถ้าเข้าเกณฑ์ถึงได้ขึ้นทะเบียนได้ แต่นี่ไม่มีข้อแม้ขึ้นเลย ก็แปลว่าทางโน้นเกิดปัญหาจนทหารมาเผชิญหน้ากันก็ว่าตามใจก็จบกันแค่นั้น"
อนาถไทยงัดธงชาติฟัดกันเอง
นายสมัคร กล่าวต่อว่า ตนพูดก่อนศาลที่จะถูกร้อง 24 ชั่วโมงและศาลปกครองก็ยื่นเข้ามาบอกว่าให้ยุติ (แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา) รัฐมนตรีประชุม ศาลปกครองบอกยุติ ตนบอกไม่เป็นไร ยุติก็ยุติ ไม่ไป ถอนหมด สั่งระงับหมด ไม่เอาไปใช้ประโยชน์เป็นอันว่ายุติตรงนั้น และก็ไป ต้องเปลี่ยนตัว ก็เปลี่ยนถึงวาระพอดีเขาก็เปลี่ยนได้คุณปองพล มาแทน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก เขาก็ยกคณะไปทำหน้าที่ดีเรียบร้อย เจรจาความ ได้รู้เลยว่า มรดกโลกเล่นไม่ค่อยตรงไปตรงมา ก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะของเขาๆ ขอขึ้นของเขา ปั๊บเดียวขึ้นได้ ก็เท่านั้นก็จบ มันควรจะจบ แต่ไม่จบ อ้างกันอีก จะเอาตะกุยตะกายเอาให้ได้ เอาให้เป็นเหตุให้ได้ สุดท้ายก็ต้องเกิดเหตุจนได้ เพราะตรงนี้ที่เราเรียกว่าโนแมนแลนด์ (NO MAN LAND) แน่นอน เขาขยับมาตรงนั้นก็ต้องเจรจากันได้ ค่อยๆ พูดจากัน ก็เล่นจัดการจั่วเข้าไปตรงนั้น โผล่เข้าไปตรงนั้น เขาอ้างว่าของเขาเราก็อ้างของเรา เราก็ส่งทหารเข้าไปเอาตัวกลับมา
"เขาก็มาบอกเลย คุณ เอาทหารออก ลองบอกที่ของผม ทำไมชี้ให้เราออก เราก็บอกที่ของผมได้อย่างไร เท่านั้น ไทยกับไทยฟัดกันเองก่อน เห็นแล้วน่าอเน็จอนาถ คนไทยกับคนไทยล่อกันเองเชิงเขาพระวิหาร เขาก็นั่งดู ถ้าเขาชะโงกเห็นจริง ๆ เขาก็คงหัวเราะ ๆ กันเอง ธงไทยกับธงไทยฟัดกันเลย คันธงก็คันธงไม่นึกถึงธงชาติที่เคารพกันทุกเช้า เอาเข้ามาฟาดฟันกันเลย พวกหนึ่งป้องกันบอกไม่อยากให้เกิดเหตุ พวกหนึ่งบอกจะเอาให้เกิดเหตุ เห็นไหม คนไทยกับคนไทยรบกันเอง ล่อกันอย่างนี้เลย และก็ขนาดลงไปปลุกระดมกัน และสุดท้ายเป็นอย่างไร ทางโน้นเขาก็แก้เกม เขาไปยื่น สหประชาชาติ ตอนนี้ละครับ ผมจะไม่พูดอะไรสักคำ ต่อไปนี้เลย เพราะเมื่อไปสหประชาชาติแล้วกระทรวงการต่างประเทศคงดูแลเรื่องนี้ เรื่องนี้ก็เข้าขั้นเสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เสียไปแล้ว รู้กันขนาดขอบเขตเท่าไร จะเอาเรื่องกัน"
ปชป.ทำจม.เปิดผนึกถึง ผบ.สส.
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ รมว.ยุติธรรมเงา แถลงว่า ตนได้ทำจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.บุญสร้าง ซึ่งจะเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปเจรจากับกัมพูชา ถึงกรณีปัญหาเขตแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ในวันนี้ว่า ตนและคนไทยทั้งชาติเชื่อมั่นใจตัว พล.อ.บุญสร้าง ว่าจะไม่ทำให้พวกเราผิดหวัง แต่อย่างไรก็ตาม การเจรจาครั้งนี้ไม่ใช่มีเฉพาะปัญหาที่เกี่ยวกับทหารหรือกองทัพเท่านั้น แต่มีปัญหาเกี่ยวกับเขตแดนของชาติ ที่ต้องเจรจาควบคู่ไปพร้อมๆ กัน โดยเฉพาะพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตรว่าเป็นของใครกันแน่
นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า ตนมีข้อสังเกตที่พึงต้องระมัดระวัง 4 ประการ ดังนี้ 1.เหตุใดการวางแนวรั้วลวดหนามของไทยที่วางแนวเขตประสาทพระวิหารตั้งแต่ พ.ศ.2505 จึงถูกเคลื่อนย้ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งจะต้องหาคำตอบให้ได้และมีความเป็นไปได้ที่จะกลับไปสู่สภาพเดิมเมื่อไหร่
2.บริเวณพื้นที่ทับซ้อนที่เป็นปัญหาเคยเป็นที่ยอมรับของทั้ง 2 ฝ่ายเมื่อ พ.ศ.2505 แต่ที่ผ่านมาทหารกัมพูชาไม่เคยเคลื่อนย้ายเข้ามาในบริเวณดังกล่าว จนเกิดสงครามภายในกัมพูชา ทำให้แนวรั้วดังกล่าวหายไปจนเกิดแนวรั้วใหม่ขึ้น ขณะที่กองกำลังทหารของไทยได้ถูกย้ายลงมาอยู่หลังแนวรั้ว ทำให้เกิดเป็นพื้นที่ทับซ้อน และปัจจุบันกองกำลังและประชาชนชาวกัมพูชาได้เข้ามาตั้งรกรากและสร้างสิ่งปลูกสร้างถาวรในพื้นที่ทับซ้อนนี้ ทำไมถึงมีกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียวที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ แต่คนไทยไม่สามารถเข้าไปได้
3.ไทยมีหนังสือประท้วงกัมพูชามาแล้ว 4 ครั้งแต่รัฐบาลกัมพูชากลับนิ่งเฉยและส่งกองกำลังและประชาชนเข้าไปอาศัยอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราถือว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของไทยตามหลักสากลในการแบ่งแนวสันปันน้ำและสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 และ ค.ศ.1907 รัฐบาลไทยก็มีอำนาจและสิทธิอย่างเต็มที่ที่จะผลักดันทหารและประชาชนชาวกัมพูชาออกไปจากพื้นที่ดังกล่าว จึงสมควรที่จะต้องมีข้อยุติอย่างเป็นทางการในการเจรจาครั้งนี้ว่าคนเหล่านี้จะออกไปจากอาณาเขตของไทยเมื่อไหร่
และ 4.ที่มีการยอมรับว่าทางขึ้นปราสาทพระวิหาร อยู่ในพื้นที่ไทย และการเดินทางฝั่งกัมพูชาทำได้ยากลำบาก ทำไมทหารและประชาชนกัมพูชาจึงสามารถเดินทางเข้ามาในพื้นที่ดังกล่าวได้สะดวก และยังมีการส่งเสบียงอาหารต่างๆ ด้วยวิธีการใด จะต้องได้รับอนุญาตและมีวิธีตรวจคนเข้าเมืองตามปกติหรือไม่ และใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการแก้ไข หรือเจรจาในกรณีนี้อย่างใด
"รัฐบาลไทยควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในระหว่างการเจรจาครั้งนี้ แต่ การดำเนินการใดๆ ก็ควรจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเสมอภาคเท่าเทียมกันและต้องเคารพในสิทธิและอธิปไตยของแต่ละชาติ ด้วยความสุจริตใจแต่จากพฤติกรรมและการแสดงออกของกัมพูชาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ พยายามฉกฉวยโอกาสจากเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียกร้องดินแดนที่เป็นปัญหาจากไทยในอนาคตอยู่เสมอ และเมื่อใกล้จะถึงกำหนดการประชุมกัมพูชากับยื่นเรื่องร้องเรียนไปยังยูเอ็น เหมือนว่าต้องการให้ประเทศต่างๆ เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นฝ่ายเกเรและละเมิดอธิปไตยของกัมพูชา แสดงให้เห็นถึงความไม่จริงใจ และเล่ห์เหลี่ยมอย่างชัดเจน จึงต้องระมัดระวังวัตถุประสงค์แอบแฝงในการเจรจาครั้งนี้"