xs
xsm
sm
md
lg

เขาพระวิหาร : หรือต้องกลับไปศาลโลก?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366ff> ภาพจากแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 21 พ.ค.2551 นักท่องเที่ยวไทยกำลังเที่ยวชมปราสาทพระวิหาร ในยามสงบที่นี่เป็นปลายทางท่องเที่ยวยอดนิยม แต่ในวันนี้เป็นเขตแดนแห่งการเผชิญหน้าทางทหาร หรือจะต้องกลับไปยังศาลโลกอีกครั้ง?  </FONT></CENTER>

ผู้จัดการออนไลน์ -- รัฐบาลกัมพูชากำลังใจจดจ่อรอผลการเจรจาระหว่างคณะผู้นำทหารระดับสูงกับฝ่ายที่ จ.สระแก้ว ในวันจันทร์นี้ ซึ่งไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร กัมพูชาก็มีแผนการที่จะดำเนินการขั้นต่อไป หลังจากสัปดาห์ที่แล้วได้รายงานสถานการณ์ความขัดแย้งกับไทยให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับทราบ

ผู้สังเกตการณ์ในกัมพูชา รวมทั้งสื่อหลายแห่งแห่งต่างมีความเห็นในทำนองเดียวกัน ว่า ปัญหา “เขตแดนทับซ้อน” กับไทย ที่ชายแดนด้านเขาวิหารนั้นแก้ยาก สองประเทศเพื่อนบ้านทำได้อย่างดีที่สุดก็อาจจะเพียงแค่หยุดยิง ถอนทหารออกไป และเจรจากันยืดเยื้อยาวนาน โดยไม่มีการเปลี่ยนสถานะเดิม (status quo) ของปัญหา

แต่บางทีการนำเรื่องนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลระหว่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง ก็อาจจะมีหลักประกันที่ดีกว่า เพราะจะไม่เกิดความรุนแรงขึ้นในเขตแดนพิพาท ขณะที่การพัฒนาปราสาทพระวิหารในฐานะที่เป็นมรดกโลกก็ดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เช่นเดียวกันกับการท่องเที่ยว

นักวิเคราะห์ยังมองไม่เห็นทางออกของปัญหา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า การเผชิญหน้าอาจจะลุกลามบานปลายใหญ่โตได้ง่าย เมื่อทหารจำนวนมากเผชิญหน้ากัน เสียงปืนเพียงนัดเดียวสามารถจุดชนวนการยิงต่อสู้ขึ้นมาได้

วันจันทร์นี้ รัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มอาเซียนได้เริ่มการประชุมอย่างเป็นทางการในสิงคโปร์

แม้ไทยและกัมพูชาต่างก็เป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียน แต่กลุ่มนี้ก็จะไม่อาจจะช่วยคลี่คลายปัญหาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยึดถือหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศสมาชิก และไม่แทรกแซงกรณีพิพาททวิภาคีใดๆ
<CENTER><FONT color=#3366ff> ผู้ช่วยรัฐมนตรีกัมพูชา นายกาวกิมฮูน (Kao Kim Hourn) กำลังสนทนากับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม ฝ่ามยาเคียม (Pham Gia Khiem) ระหว่างไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในสิงคโปร์เมื่อวันอาทิตย์นี้ กัมพูชารู้ดีว่าอาเซียนไม่ใช่เวทีแก้ปัญหาพิพาทเขตแดนกับไทย (ภาพ: AFP)  </FONT></CENTER>
กัมพูชาส่งบุคคลระดับผู้ช่วยรัฐมนตรี (Secretary of State) ประจำกระทรวงการต่างประเทศที่ไม่ค่อยมีบทบาทอะไร ไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่สิงคโปร์

มิหนำซ้ำในเดือนหน้านี้ สิงคโปร์ก็จะส่งไม้ต่อให้กับไทยเข้าทำหน้าที่ "ประเทศประธาน" หรือ ประธานคณะกรรมการประจำกลุ่มอาเซียนแทน

แม้ว่าจะเป็นสิทธิอันชอบธรรมของสมาชิกประเทศหนึ่งที่จะส่งเจ้าหน้าที่ระดับใดระดับหนึ่งไปร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี และถือเป็นมารยาทที่สามารถปฏิบัติได้หากเกิดความไม่สะดวก แต่การที่กัมพูชาส่งตัวแทนระดับต่ำกว่ารัฐมนตรีว่าการไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนในสัปดาห์นี้ เห็นได้ชัดว่าเป็นการประท้วง

กัมพูชาต้องการแสดงความไม่พอใจที่จะต้องไปเผชิญหน้ากับฝ่ายไทยในอาเซียน ขณะที่สถานการณ์ชายแดนยังร้อนระอุ และรัฐบาลกรุงพนมเปญกล่าวหาว่าทหารไทยหลายร้อยคนยังคงอยู่ในดินแดนกัมพูชา

ผู้รับผิดชอบการต่างประเทศอย่างแท้จริง นักการทูตอาวุโสระดับ “กระบี่มือหนึ่ง” ที่สมเด็จฯ ฮุนเซน ผู้นำกัมพูชาไว้วางใจที่สุด คือ นายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) ซึ่งเป็นทั้งรองนายกฯ กับ รมว.ต่างประเทศนั้น “สแตนด์บาย” ที่กรุงพนมเปญ เงี่ยหูฟังสถานการณ์รอบด้าน
<CENTER><FONT color=#3366ff> นายจอร์จ เยียว รมว.ต่างประเทศสิงคโปร์ออกคำแถลงว่าทั้งไทยและกัมพูชารับปากอาเซียนจะใช้ความอดทนและอดกลั้นอย่างเต็มที่ในการแสวงหาทางแก้ปัญหาโดยสันติ แต่ในเดือนหน้าสิงคโปร์กำลังจะมอบตำแหน่งประธานคณะกรรมการประจำอาเซียนให้แก่ไทย ซึ่งย่อมทำให้กัมพูชารู้สึกเป็นฝ่ายเสียเปรียบในการณีพิพาทกับไทย (ภาพ: AFP)</FONT></CENTER>
เมื่ออาเซียนไม่ใช่ที่พึ่ง กัมพูชาจึงหันไปเปิดเวทีที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UN Security Council) อันเป็นเวทีที่มีอำนาจชี้ขาดมากกว่า

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา กัมพูชาได้เชิญเจ้าหน้าที่จากสถานทูต 4 ประเทศ คือ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศสกับ เวียดนาม ไปดูสถานการณ์การเผชิญหน้าบนเขาพระวิหาร

สามชาติแรกเป็นสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ส่วนเวียดนามซึ่งเป็นสมาชิกประเภทหมุนเวียน ก็กำลังทำหน้าที่ประธานคณะมนตรีฯ ในปัจจุบัน

นายเขียว กัญฤทธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงแถลงข่าว ในฐานะโฆษกรัฐบาล กล่าวว่า นอกจากได้รายงานสถานการณ์ให้ UNSC ได้รับทราบ รายงานอีกฉบับหนึ่งยังส่งถึงประธานสมัชชาใหญ่ยูเอ็นปัจจุบัน เพื่อแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับปัญหาทั่วไปตลอดจนการเผชิญหน้าทางทหารกับไทยที่เขาพระวิหาร

นายเขียว กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ (20 ก.ค.) ปฏิเสธว่า กัมพูชาไม่ได้ร้องขอให้สหประชาชาติ เข้าแทรกแซงในกรณีพิพาทขณะนี้

ในสายตาของผู้เชี่ยวชาญนั้น กัมพูชาตระหนักดีว่าเป็นฝ่ายเสียเปรียบทางทหาร เสียเปรียบอำนาจการยิงอย่างมาก การใช้กำลังทหารที่ชายแดนในขณะนี้มีแต่จะสร้างความสูญเสียใหญ่หลวง

ผลจากการปะทะอาจจะไม่เป็นผลดีใดๆ ต่อพรรคประชาชนกัมพูชาของรัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซนในการเลือกตั้งวันที่ 27 ก.ค.ศกนี้

ผู้สังเกตการณ์ รวมทั้งสื่อในกัมพูชาเองเริ่มตั้งคำถามขึ้นมา ว่า หากการเจรจาหย่าศึกกับไทยในวันจันทร์นี้ล้มเหลว เป็นไปได้หรือไม่ที่รัฐบาลสมเด็จฯ ฮุนเซน จะนำกรณีพิพาทกลับเข้าสู่การพิจารณาของศาลระหว่างประเทศกรุงเฮกอีกครั้งหนึ่ง

เวลาผ่านไป 46 ปี นับตั้งแต่ศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ขณะที่ไทยได้ยื่นประท้วงขอสงวนสิทธิ์ในการทวงคืนพื้นที่ชายแดนแถบนั้นซึ่งอยู่ในเขตสันปันน้ำของไทย แต่ตกเป็นของกัมพูชาในแผนที่ของฝรั่งเศสที่จัดทำขึ้นและเผยแพร่ในปี 1907 หรือ 101 ปีก่อนหน้านั้น

การกลับไปสู่ศาลโลกอีกครั้งที่สองจะเปิดโอกาสให้สองฝ่ายได้โต้แย้งด้วยเหตุด้วยผลและด้วยสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบัน และได้รับความยุติธรรม อย่างเท่าเทียมกัน

นายเขียว กล่าวเมื่อวันอาทิตย์ ว่า รัฐบาลกัมพูชาจะพิจารณา “ใช้มาตรการต่อไป” หลังจากได้ทราบผลการเจรจาในวันจันทร์นี้
กำลังโหลดความคิดเห็น