ผู้จัดการรายวัน – รัฐบาลหุ่นเชิงไร้จิตสำนึกตะแบงเขาพระวิหารต่อแม้ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองมติครม.อัปยศขายชาติ นักวิ่งชายเดินวิ่งการกุศล 175 ปีไทย-อเมริกัน ด่า3ครั้ง"นพดลขายชาติ" ต่อหน้าเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ “นพดล” โยนครม.พิพากษาอุทธรณ์หรือไม่ ย้ำไม่ผิด “ปองพล-อดุล-ทนายแมกไซไซ” บี้ครม.สั่งก.ต่างประเทศแจ้งรัฐบาล-ทูตเขมรด่วน โพล่งถ้าไม่ได้แย้งไปเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องภายในยูเนสโกไม่รับรู้อดีตทูตจี้"รัฐบาลหุ่นเชิด” ลาออกยกคณะแสดงความรับผิดชอบ ชี้ไทยเป็นประชาธิปไตยอาเพศไม่มีใครรับผิดชอบ มั่นใจโบ้ยขรก.ประจำรับผิด ส่วนทูตเขมรยืนยันอภิปรายไม่กระทบความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ
แม้ว่า ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่สนับสนุนให้มีการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียวเพราะหมิ่นเหม่ท่จะทำให้ไทยเสียอธิปไตย ตามคำฟ้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(28มิ.ย.) จนถึงวานนี้(29 มิ.ย.) ปฎิกิริยาของ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชก็ยังเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบดังกล่าว
ทั้งนี้ ในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2551 เวลา 08.30-09.30 น.โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทยทั้งชาติ กลับใช้เวลาตอบโต้คู่กรณีในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงอวดอ้างนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาปุ๋ย โครงการผันน้ำ ก่อนจะพูดถึงสุนทรภู่ และ วกด่าสื่อมวลชนเสนอข่าวปรับครม. (อ่าน "หมัก"งัดข้อสื่อลั่นไม่ปรับครม.ประกอบ)
**นพดลเจอดีคนด่าขายชาติต่อหน้าทูตสหรัฐ
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศว่า เมื่อเวลา 06.00 น. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมเป็นประธานในงานเดินวิ่งการกุศล ร่วมกับนายเอริก จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ทั้งนี้ ระหว่าง นายนพดลยืนอยู่กับเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ณ จุดสตาร์ทหน้าประตูใหญ่กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา ปรากฏว่ามีนักวิ่งชายคนหนึ่งที่มาร่วมงานวิ่งการกุศล ได้ตะโกนด่านายนพดล ขณะวิ่งผ่านว่า "นพดลขายชาติ " รวม 3 ครั้ง ก่อนจะวิ่งผ่านไปตามเส้นทาง ขณะที่นายนพดลได้หันไปพูดกับเอกอัครราชทูตสหรัฐว่า นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในระบอบประชาธิปไตย
**เผยปรับครม.จะให้ออกแล้วแต่หมัก
จากนั้นนายนพดล ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับคณะรัฐมนตรีว่า เป็นดุลพินิจของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้มีการหารือกันในเรื่องนี้ในพรรค ส่วนที่มีกระแสข่าวจะปรับตนออกจากตำแหน่ง ตนไม่เคยได้ยินข่าวดังกล่าวภายในพรรคเช่นกัน อย่างไรก็ดีนายกรัฐมนตรีน่าจะชี้แจงเรื่องนี้ในรายการ "สนทนาประสาสมัคร"
เมื่อถามว่า หากมีการปรับคณะรัฐมนตรีทำใจได้หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า เป็นนักการเมืองต้องพร้อมทุกสถานการณ์ ต่อข้อถามว่า นายกรัฐมนตรีระบุว่าอยากปรับคณะรัฐมนตรีแต่ปรับไม่ได้ นายนพดล กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่า ขณะนี้นายนพดล ดูเหมือนเป็นเป้าใหญ่ที่ทำให้รัฐบาลถูกโจมตี นายนพดล กล่าวว่า เราต้องยึดความถูกต้องอย่ายึดกระแส การบริหารบ้านเมืองยึดกระแสไม่ได้ เราเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราทำถูกต้อง ส่วนการชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา เชื่อว่าตอบได้ชัดเจน กระทรวงการต่างประเทศ คณะรัฐมนตรี และทหาร ก็สนับสนุน แต่อาจมีบางประเด็นที่บางส่วนยังไม่เข้าใจ ต้องพยายามอธิบายต่อไป แต่ต้องระมัดระวัง เพราะศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้รู้สึกกดดัน ต้องทำงานหลักต่อไป การเมืองเป็นงานที่ยาก ต้องทำความเข้าใจ เมื่อถามว่า ท้อใจหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า เหนื่อยแต่ไม่ท้อและขอยืนยันว่าจะทำหน้าที่ต่อไป
เมื่อถามว่า รู้สึกน้อยใจหรือไม่ เพราะคะแนนจากการลงมติของส.ส. ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้น้อยที่สุด นายนพดล กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน ที่คะแนนหายไปได้ชี้แจงแล้วว่า กดคะแนนไม่ขึ้น หากกดคะแนนได้ ตนก็ได้คะแนนเท่าๆ กับคนอื่น
**โยนครม.ชี้ขาดยื่นอุทธรณ์หรือไม่
เมื่อถามว่าจะอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินของศาลปกครองหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 ก.ค.จะหารือเรื่องดังกล่าว ส่วนการประชุมร่วมกับคณะกรรมการมรดกโลก วันที่ 2 กรกฎาคมนี้ ที่ประเทศแคนาดาจะปรับเปลี่ยนคณะอย่างไรจะแจ้งอีกครั้ง เพราะต้องรอประเมินขอบเขตคำวินิจฉัยศาล โดยต้องระวังการทำงานไม่ให้ละเมิดอำนาจศาล
**ทูตเขมรยันอภิปรายไม่กระทบความสัมพันธ์
นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ(กต.) เปิดเผยว่า นายอุง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย อธิบายให้ฟังว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เกี่ยวข้องกับการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกถือเป็นเรื่องภายใน ไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ ส่วนคณะผู้แทนไทยที่จะไปประชุมร่วมกับคณะกรรมการมรดกโลก วันที่ 2 ก.ค.ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดากำลังทบทวนอยู่ หากได้ข้อสรุปแล้วนายธฤต จรุงวัฒน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ชี้แจง.
**ปองพลบี้ครม.แย้งมรดกโลกด่วน
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เปิดเผยหลังจากศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและกัมพูชา กรณีขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องประชุมด่วนและมอบกระทรวงการต่างประเทศแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา รวมทั้งแจ้งคณะกรรมการมรดกโลกด้วย ถ้าไม่ได้แย้งไปเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องภายใน ซึ่งทำได้ทันก่อนมีการประชุมวาระพิจารณาปราสาทพระวิหารวันที่ 5-6 ก.ค.ละเมื่อมีคำสั่งศาลปกครองแล้ว คณะกรรมการมรดกโลกของไทยจะขอให้มีการเลื่อนวาระขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาออกไปก่อน คาดว่าจะได้รับความเห็นชอบเนื่องจากตรงกับในอนุสัญญาฯมาตรา 11 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่อยู่ในดินแดนของสองประเทศ จะต้องไม่มีการโต้แย้งจากรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง กรณีนี้กัมพูชาถึงประสานกับไทยจนมีแถลงการณ์ร่วม เพื่อแสดงว่าเราไม่โต้แย้ง แต่เมื่อมีคำสั่งศาลปกครองจึงยังพิจารณาไม่ได้
ทั้งนี้ คณะกรรมการมรดกโลกของไทยยืนยันจะขอให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารร่วมกันของไทยและกัมพูชา จึงต้องขอเลื่อนวาระพิจารณานี้ให้สองประเทศทำเอกสารกันใหม่ ซึ่งตนจะต้องไปคุยกับคณะกรรมการมรดกโลกของกัมพูชาในการประชุมที่แคนานาระหว่างวันที่ 2-10 ก.ค.โดยจะอธิบายว่าน่าจะมองว่านำกรณีเขาพระวิหารสร้างความสมานฉันท์และมิตรภาพระหว่างไทยกับกัมพูชามากกว่าสร้างความขัดแย้ง โดยหากทำร่วมกันจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เพราะตอนนี้ข่าวข้อพิพาทเขาพระวิหารก็กระจายไปทั่วโลกแล้วเป็นจุดสนใจให้คนสนใจมาเที่ยวมาดูว่าเป็นอย่างไร แต่ยังไม่กล้ามาเพราะกลัวอันตรายหรือความปลอดภัย แต่ถ้าทั้งสองประเทศจับมือกันประกาศว่าเรื่องนี้เรียบร้อย และจะช่วยกันดูแลเขาพระวิหารให้คนมาเที่ยวได้อย่างปลอดภัย รับรองจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก
“เมื่อขอชะลอแล้วก็ต้องมาปรับแนวคิดใหม่เอาเรื่องนี้มาสร้างมิตรภาพ อย่ามานั่งระแวงหรือมาคอยจับผิดกันเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เอาเรื่องความเป็นมรดกโลกของเขาพระวิหารมาเป็นเรื่องหลัก บางทีเราคิดแต่เรื่องอื่นจนลืมเรื่องหลักไป ผมคิดว่าถ้าฝ่ายคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชากับของไทยคุยกัน จะเข้าใจกันดีขึ้น ไม่มองการเมืองหรือเรื่องอื่น เราคงไปนัดคุยกันที่โน่น พวกเรานักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการคุยกันผมว่าคงจะมีปัญหาน้อยกว่าเพราะมุ่งที่มรดกโลก ต่อจากนั้นต้องอาศัยหลายระดับทำร่วมกันทั้งรัฐบาล ประเทศ ท้องถิ่น แต่ถ้ายังยอมกันไม่ได้ การขอขึ้นปราสาทพระวิหารต้องเลื่อนไปเรื่อยๆ”ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าว
**ทนายแมกไซไซเตือนทำตามคำสั่งศาล
นายทองใบ ทองเปาด์ ทนายความแมกไซไซ ให้ความเห็นหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี ยุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาดังกล่าว ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นว่า เมื่อมีคำสั่งศาลออกมารัฐบาลจะต้องยุติการกระทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งรีบดำเนินการทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา รวมทั้งยูเนสโก ทราบว่า ขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากได้กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ถ้าหากรัฐบาล หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่สนใจ หรือรีบดำเนินการก็ถือว่าละเมิดกฎหมาย พร้อมตั้งต้องยุติการลงนาม หรือทำสนธิสัญญาใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
**จี้รบ.ลาออกยกแก๊ง
ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมทนายความของประเทศไทยที่ว่าความคดีปราสาทเขาพระวิหารต่อศาลโลกในปี 2505 กล่าวว่า เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการใดๆ ต่อแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร จนกว่าคดีจะถึงที่สุดและจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยทันที ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่ทำตามไม่ได้ เพราะหากไม่รีบปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็จะเปิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไม่น่าให้อภัย ซึ่งการเพิกถอนข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ สามารถกระทำได้ ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย แต่ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศยังมีอาการงอแง ซึ่งขอให้ระลึกว่าหากยังชักช้าจะส่งผลเสียอย่างไรตามมา
ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่าการยกเลิกข้อตกลงจะส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาไม่ได้เลวร้ายอะไร มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่แล้ว แต่การหยิบยกเรื่องเขาพระวิหารขึ้นมาทำข้อตกลงร่วมกันในรอบ 46 ปีอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องสัมพันธ์ตามมา ดังนั้น ถ้ามีการยกเลิกสัญญาที่ทำร่วมกัน กัมพูชาจะโกรธคนไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งรัฐบาลไทยก็ควรอธิบายข้อเท็จจริงให้ทางกัมพูชาเข้าใจ เพราะความจริงแล้วพื้นที่บริเวณปราสาท พระวิหารก็เป็นของไทยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องไปอธิบายให้กัมพูชาเข้าใจ
“เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะทำให้คนกัมพูชาบางส่วนไม่พอใจแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องบาดใจประชาชนไทยด้วย เพราะกระทรวงการต่างประเทศของเราดันไปหลงเชื่อว่าพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารไม่ใช่ของไทย เป็นการยั่วยุกัมพูชาให้ได้ใจ เสมือนยกพื้นที่ของเราให้กับกัมพูชา ทำให้ประชาชนไทยไม่พอใจรัฐบาลไทย ขณะเดียวกันคนกัมพูชาที่อาศัยทำมาหากินอยู่บริเวณชายแดนของไทยและกัมพูชา ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีส่วนอะไรกับเรื่องนี้ ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย”
ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า กรณีที่อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ กระทรวงการต่างประเทศที่ร่วมดำเนินการเรื่องนี้นั้น ในสมัยของตนไม่มีใครคิดที่จะมาทำเรื่องแบบนี้ ในเมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ก็ต้องความรับผิดชอบ ซึ่งตนไม่ทราบว่าขณะนี้ได้เตรียมการต่อสู้หรือว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่อย่างน้อยก็ต้องเคารพศาล
“ส่วนความรับผิดชอบของตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผมไม่สามารถพูดได้ว่าควรจะรับผิดชอบอย่างไร แต่หากเป็นรัฐมนตรีของประเทศอื่น เขาคงจะลาออกไปแล้ว” อดีตเอกอัครราชทูตไทยกล่าว
**ฟันธงโบ้ยขรก.ประจำรับผิด
นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ และอดีตอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อคำสั่งศาลปกครองกลางได้ออกมาชัดเจนแล้ว รัฐบาลต้องไม่ดำเนินใดๆ และระงับการดำเนินการทุกอย่าง ซึ่งขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า การลงนามข้อตกลงดังกล่าว ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ คงต้องรอคำพิพากษาของศาลด้วย หากศาลวินิจฉัยว่าขัดกฎหมาย มาตรา 190 แถลงการณ์ร่วมที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาทำร่วมกัน ก็ถือเป็นโมฆะไปโดยปริยาย
สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องทำคือทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงกัมพูชา ว่าขอระงับแถลงการณ์ร่วม ไม่มีผลใช้บังคับไปก่อน เพราะไทยมีปัญหากระบวนการทางกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งต้องรอให้เกิดความชัดเจน โดยอาจเป็นหนังสือจาก รมว.ต่างประเทศของไทยถึง รมว.ต่างประเทศของกัมพูชา หรือเป็นหนังสือจากนายกรัฐมนตรีไทยถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่ต้องเป็นหนังสือจากรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งถึงรัฐบาลประเทศหนึ่งให้ได้รับทราบอย่างเป็นทางการ เพราะข้อตกลงที่ไปทำนั้นถือเป็นสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยก็คงจะทราบเรื่องและรายงานให้ทางกัมพูชาได้ทราบอยู่แล้ว แต่ไทยก็ต้องแจ้งอย่างเป็นทางการ
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ก็ต้องดูหลักฐานเพราะเชื่อว่าการดำเนินการเรื่องนี้ คงมีการสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมีทั้งมติ ครม. และคำสงวนสิทธิ์ของไทยในปราสาทพระวิหารปี 2505 ข้าราชการประจำได้มีข้อเสนอแนะใดต่อรัฐบาลหรือไม่ หรือทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดกฎหมายก็ยังกระทำ ทั้งหมดต้องพิจารณาจากหลักฐาน เว้นแต่ภาคการเมืองจะสั่งการด้วยวาจาก็มีแนวโน้มว่าข้าราชประจำจะเป็นแพะรับบาป
“ส่วนความรับผิดชอบของฝ่ายการเมืองนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศเพียงคนเดียว แต่ที่ประชุม ครม.ได้มีมติให้นายนพดลไปลงนามข้อตกลงได้โดยไม่มีใครคัดค้าน จึงถือเป็นความรับปิดชอบของคณะรัฐบาลทั้งคณะ ไม่ใช่ ความผิดของคนใดคนหนึ่ง ซึ่งหากเป็นรัฐบาลของประเทศอื่นที่อยู่ในวิถีประชาธิปไตยเขาคงลาออกไปนานแล้ว แต่ประเทศเรามันเป็นประชาธิปไตยอาเพศจึงไม่มีใครออกมารับผิดชอบสักคน”
**มั่นใจไม่กระทบความสัมพันธ์เขมร
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ตนติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีของฝ่ายค้านมาตลอด และเห็นว่า ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลหลายคนชอบอ้างว่า เมื่อประเทศไทยาลงนามไปแล้ว และที่ไปลงนามไปนั้นก็เพราะคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ประเทศ ถือเป็นคำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบอย่างที่สุดของ ส.ส.ฟากรัฐบาล เพราะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศนั้น หมายถึงความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์และอธิปไตยร่วมกัน ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบเอาใจประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือมีความสัมพันธ์โดยผลประโยชน์ของชาติเสียหาย แต่การทำแถลงการณ์ร่วมของนายนพดลไม่ได้สนองประโยชน์ประเทศไทย สนองประโยชน์กัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศคือ ผลประโยชน์แห่งชาติทั้งสอง ความเป็นมิตรประเทศต้องอยู่บนพื้นฐานมีประโยชนร่วมกัน
“ผมเห็น ส.ส.รัฐบาลยกมือประท้วงในสภา ขอไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปรายเรื่องปราสาทพระวิหาร และแถลงการณ์ร่วมที่ทำไป เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ของไทยกับกัมพูชา ผมคิดว่าเป็นคำพูดที่บ้องตื้น ไร้สาระมาก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น เราสามารถมีความสัมพันธ์ได้หลายมิติ ทั้งเรื่องการเมือง สังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม การที่เรามีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อกันนั้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็มีผลกระทบถึงกัน ไม่ว่าเราจะหยิบเอาเรื่องนี้มาพูดหรืออภิปรายในสภาหรือไม่ ผลกระทบในความสัมพันธ์มันเกิดขึ้นอยู่ทุกวันจากมิติต่างๆ อยู่แล้ว แต่ประเด็นคือเราต้องให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายไม่ใช่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายเดียว” อดีตเอกอัครราชทูตฯ กล่าว
**แนะเชิญทูตกัมพูชาเซ็นรับทราบข้อยกเลิก
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวว่า กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาเรื่องการขอขึ้นปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นเป็นเรื่องภายในประเทศ และถือว่าออกมาช้าไปไม่ทันการณ์ เพราะสั่งคุ้มครองตอนนี้ก็ไม่มีผลใดๆ ต่อการดำเนินการของทางกัมพูชาแล้ว เพราะหลังจากที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมในวันที่ 18 มิ.ย.51 แล้ว ฝ่ายกัมพูชาเมื่อได้รับคำยินยอมก็ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ประเทศแคนาดาแล้ว นั่นหมายความถึงว่าแม้คำสั่งศาลปกครองประกาศออกมาว่ารัฐบาลไม่ต้องดำเนินการใดๆ อีกนั้นถูกต้อง เพราะขั้นตอนต่างๆ รัฐบาลและรมว.ต่างประเทศได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว
"คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาตามเอกสารที่ส่งไป ซึ่งหลังจากที่นายนพดลลงนามในแถลงการณ์ร่วมแล้ว กัมพูชาเขาก็รีบส่งไปที่แคนาดาเลย ตอนนี้เอกสารก็อยู่ที่โน่น รอการประชุมวันที่ 2ก.ค.นี้เท่านั้น คำสั่งศาลปกครองที่คุ้มครองของเราจึงช้าไป"
อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามยังเป็นการดีที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองดังกล่าวออกมา เพราะอย่างน้อยก็แสดงถึงจุดยืนของประเทศไทยที่ไม่ยอมให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และเราก็ต้องยืนยันในจุดยืนนี้ต่อไป และสิ่งที่รัฐบาลควรทำในเจตนารมณ์ของศาลปกครองก็คือ ต้องมีคำสั่งให้กระทรวงการต่างประเทศเชิญทูตกัมพูชามาพบ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าไทยขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมฯ จากนั้นยื่นเรื่องดังกล่าวพร้อมกับบันทึกช่วยจำซึ่งยืนยันว่ากัมพูชาได้รับทราบข้อยกเลิกแล้วไปที่คณะกรรมการมรดกโลกที่แคนาดา นอกจากนี้ผู้แทนประเทศไทยที่จะเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมในประเทศแคนาดาจะต้องชี้แจงถึงจุดยืนของไทยให้คณะกรรมการมรดกโลกได้ทราบด้วย
"แต่มันมีปัญหาว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวชจะยอมทำหรือ เราคิดหวังได้หรือว่าผู้นำและนายนพดลจะยอมเชิญทูตกัมพูชามาและยกเลิกแถลงการณ์ร่วม เป็นปัญหาที่น่าวิตกและสลดอย่างยิ่งกับปัญหานี้ นอกจากนี้เวลามันก็กระชั้นเข้ามาทุกขณะ เพราะต้องดำเนินการก่อนจะถึงวันที่ 2 ก.ค.ซึ่งคงไม่ทันแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็ต้องเสียดินแดนแน่นอน ถ้าไม่มีคำสั่งยกเลิกไปถึงคณะกรรมการมรดกโลกที่แคนาดาแล้ว ผู้แทนไทยที่ไประชุมก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย "ศ.ดร.อดุล กล่าว
แม้ว่า ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรียุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ที่สนับสนุนให้มีการจดทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียวเพราะหมิ่นเหม่ท่จะทำให้ไทยเสียอธิปไตย ตามคำฟ้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา(28มิ.ย.) จนถึงวานนี้(29 มิ.ย.) ปฎิกิริยาของ รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชก็ยังเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบดังกล่าว
ทั้งนี้ ในรายการ “สนทนาประสาสมัคร” ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ประจำวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2551 เวลา 08.30-09.30 น.โดยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ แม้ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทยทั้งชาติ กลับใช้เวลาตอบโต้คู่กรณีในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึงอวดอ้างนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาปุ๋ย โครงการผันน้ำ ก่อนจะพูดถึงสุนทรภู่ และ วกด่าสื่อมวลชนเสนอข่าวปรับครม. (อ่าน "หมัก"งัดข้อสื่อลั่นไม่ปรับครม.ประกอบ)
**นพดลเจอดีคนด่าขายชาติต่อหน้าทูตสหรัฐ
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงการต่างประเทศว่า เมื่อเวลา 06.00 น. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ร่วมเป็นประธานในงานเดินวิ่งการกุศล ร่วมกับนายเอริก จอห์น เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ
ทั้งนี้ ระหว่าง นายนพดลยืนอยู่กับเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ณ จุดสตาร์ทหน้าประตูใหญ่กระทรวงการต่างประเทศ ถนนศรีอยุธยา ปรากฏว่ามีนักวิ่งชายคนหนึ่งที่มาร่วมงานวิ่งการกุศล ได้ตะโกนด่านายนพดล ขณะวิ่งผ่านว่า "นพดลขายชาติ " รวม 3 ครั้ง ก่อนจะวิ่งผ่านไปตามเส้นทาง ขณะที่นายนพดลได้หันไปพูดกับเอกอัครราชทูตสหรัฐว่า นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในระบอบประชาธิปไตย
**เผยปรับครม.จะให้ออกแล้วแต่หมัก
จากนั้นนายนพดล ให้สัมภาษณ์ถึงการปรับคณะรัฐมนตรีว่า เป็นดุลพินิจของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เพราะไม่ได้มีการหารือกันในเรื่องนี้ในพรรค ส่วนที่มีกระแสข่าวจะปรับตนออกจากตำแหน่ง ตนไม่เคยได้ยินข่าวดังกล่าวภายในพรรคเช่นกัน อย่างไรก็ดีนายกรัฐมนตรีน่าจะชี้แจงเรื่องนี้ในรายการ "สนทนาประสาสมัคร"
เมื่อถามว่า หากมีการปรับคณะรัฐมนตรีทำใจได้หรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า เป็นนักการเมืองต้องพร้อมทุกสถานการณ์ ต่อข้อถามว่า นายกรัฐมนตรีระบุว่าอยากปรับคณะรัฐมนตรีแต่ปรับไม่ได้ นายนพดล กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี
เมื่อถามว่า ขณะนี้นายนพดล ดูเหมือนเป็นเป้าใหญ่ที่ทำให้รัฐบาลถูกโจมตี นายนพดล กล่าวว่า เราต้องยึดความถูกต้องอย่ายึดกระแส การบริหารบ้านเมืองยึดกระแสไม่ได้ เราเชื่อมั่นว่าสิ่งที่เราทำถูกต้อง ส่วนการชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา เชื่อว่าตอบได้ชัดเจน กระทรวงการต่างประเทศ คณะรัฐมนตรี และทหาร ก็สนับสนุน แต่อาจมีบางประเด็นที่บางส่วนยังไม่เข้าใจ ต้องพยายามอธิบายต่อไป แต่ต้องระมัดระวัง เพราะศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว
อย่างไรก็ตาม ตนไม่ได้รู้สึกกดดัน ต้องทำงานหลักต่อไป การเมืองเป็นงานที่ยาก ต้องทำความเข้าใจ เมื่อถามว่า ท้อใจหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า เหนื่อยแต่ไม่ท้อและขอยืนยันว่าจะทำหน้าที่ต่อไป
เมื่อถามว่า รู้สึกน้อยใจหรือไม่ เพราะคะแนนจากการลงมติของส.ส. ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้น้อยที่สุด นายนพดล กล่าวว่า จริงๆ แล้ว ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน ที่คะแนนหายไปได้ชี้แจงแล้วว่า กดคะแนนไม่ขึ้น หากกดคะแนนได้ ตนก็ได้คะแนนเท่าๆ กับคนอื่น
**โยนครม.ชี้ขาดยื่นอุทธรณ์หรือไม่
เมื่อถามว่าจะอุทธรณ์คำสั่งคุ้มครองฉุกเฉินของศาลปกครองหรือไม่ นายนพดล กล่าวว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 ก.ค.จะหารือเรื่องดังกล่าว ส่วนการประชุมร่วมกับคณะกรรมการมรดกโลก วันที่ 2 กรกฎาคมนี้ ที่ประเทศแคนาดาจะปรับเปลี่ยนคณะอย่างไรจะแจ้งอีกครั้ง เพราะต้องรอประเมินขอบเขตคำวินิจฉัยศาล โดยต้องระวังการทำงานไม่ให้ละเมิดอำนาจศาล
**ทูตเขมรยันอภิปรายไม่กระทบความสัมพันธ์
นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ(กต.) เปิดเผยว่า นายอุง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย อธิบายให้ฟังว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจที่เกี่ยวข้องกับการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกถือเป็นเรื่องภายใน ไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของสองประเทศ ส่วนคณะผู้แทนไทยที่จะไปประชุมร่วมกับคณะกรรมการมรดกโลก วันที่ 2 ก.ค.ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดากำลังทบทวนอยู่ หากได้ข้อสรุปแล้วนายธฤต จรุงวัฒน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ชี้แจง.
**ปองพลบี้ครม.แย้งมรดกโลกด่วน
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เปิดเผยหลังจากศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและกัมพูชา กรณีขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องประชุมด่วนและมอบกระทรวงการต่างประเทศแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา รวมทั้งแจ้งคณะกรรมการมรดกโลกด้วย ถ้าไม่ได้แย้งไปเรื่องนี้จะกลายเป็นเรื่องภายใน ซึ่งทำได้ทันก่อนมีการประชุมวาระพิจารณาปราสาทพระวิหารวันที่ 5-6 ก.ค.ละเมื่อมีคำสั่งศาลปกครองแล้ว คณะกรรมการมรดกโลกของไทยจะขอให้มีการเลื่อนวาระขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาออกไปก่อน คาดว่าจะได้รับความเห็นชอบเนื่องจากตรงกับในอนุสัญญาฯมาตรา 11 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่อยู่ในดินแดนของสองประเทศ จะต้องไม่มีการโต้แย้งจากรัฐภาคีที่เกี่ยวข้อง กรณีนี้กัมพูชาถึงประสานกับไทยจนมีแถลงการณ์ร่วม เพื่อแสดงว่าเราไม่โต้แย้ง แต่เมื่อมีคำสั่งศาลปกครองจึงยังพิจารณาไม่ได้
ทั้งนี้ คณะกรรมการมรดกโลกของไทยยืนยันจะขอให้มีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารร่วมกันของไทยและกัมพูชา จึงต้องขอเลื่อนวาระพิจารณานี้ให้สองประเทศทำเอกสารกันใหม่ ซึ่งตนจะต้องไปคุยกับคณะกรรมการมรดกโลกของกัมพูชาในการประชุมที่แคนานาระหว่างวันที่ 2-10 ก.ค.โดยจะอธิบายว่าน่าจะมองว่านำกรณีเขาพระวิหารสร้างความสมานฉันท์และมิตรภาพระหว่างไทยกับกัมพูชามากกว่าสร้างความขัดแย้ง โดยหากทำร่วมกันจะได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย เพราะตอนนี้ข่าวข้อพิพาทเขาพระวิหารก็กระจายไปทั่วโลกแล้วเป็นจุดสนใจให้คนสนใจมาเที่ยวมาดูว่าเป็นอย่างไร แต่ยังไม่กล้ามาเพราะกลัวอันตรายหรือความปลอดภัย แต่ถ้าทั้งสองประเทศจับมือกันประกาศว่าเรื่องนี้เรียบร้อย และจะช่วยกันดูแลเขาพระวิหารให้คนมาเที่ยวได้อย่างปลอดภัย รับรองจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก
“เมื่อขอชะลอแล้วก็ต้องมาปรับแนวคิดใหม่เอาเรื่องนี้มาสร้างมิตรภาพ อย่ามานั่งระแวงหรือมาคอยจับผิดกันเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เอาเรื่องความเป็นมรดกโลกของเขาพระวิหารมาเป็นเรื่องหลัก บางทีเราคิดแต่เรื่องอื่นจนลืมเรื่องหลักไป ผมคิดว่าถ้าฝ่ายคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชากับของไทยคุยกัน จะเข้าใจกันดีขึ้น ไม่มองการเมืองหรือเรื่องอื่น เราคงไปนัดคุยกันที่โน่น พวกเรานักโบราณคดี นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการคุยกันผมว่าคงจะมีปัญหาน้อยกว่าเพราะมุ่งที่มรดกโลก ต่อจากนั้นต้องอาศัยหลายระดับทำร่วมกันทั้งรัฐบาล ประเทศ ท้องถิ่น แต่ถ้ายังยอมกันไม่ได้ การขอขึ้นปราสาทพระวิหารต้องเลื่อนไปเรื่อยๆ”ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก กล่าว
**ทนายแมกไซไซเตือนทำตามคำสั่งศาล
นายทองใบ ทองเปาด์ ทนายความแมกไซไซ ให้ความเห็นหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงการต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี ยุติการดำเนินการตามมติ ครม.ที่รับรองการออกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาดังกล่าว ไปจนกว่าคดีจะเป็นที่สิ้นสุด หรือศาลมีคำสั่งเป็นอย่างอื่นว่า เมื่อมีคำสั่งศาลออกมารัฐบาลจะต้องยุติการกระทำทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งรีบดำเนินการทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา รวมทั้งยูเนสโก ทราบว่า ขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมระหว่าง 2 ประเทศ เนื่องจากได้กระทำการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามคำสั่งศาล จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอีกครั้ง
ทั้งนี้ ถ้าหากรัฐบาล หรือกระทรวงการต่างประเทศ ไม่สนใจ หรือรีบดำเนินการก็ถือว่าละเมิดกฎหมาย พร้อมตั้งต้องยุติการลงนาม หรือทำสนธิสัญญาใดๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวด้วย
**จี้รบ.ลาออกยกแก๊ง
ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตเอกอัครราชทูตไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมทนายความของประเทศไทยที่ว่าความคดีปราสาทเขาพระวิหารต่อศาลโลกในปี 2505 กล่าวว่า เมื่อศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินการใดๆ ต่อแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร จนกว่าคดีจะถึงที่สุดและจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยทันที ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือไม่ทำตามไม่ได้ เพราะหากไม่รีบปฏิบัติตามคำสั่งศาลก็จะเปิดความเสียหายต่อประเทศชาติอย่างไม่น่าให้อภัย ซึ่งการเพิกถอนข้อตกลงร่วมกันระหว่างประเทศ สามารถกระทำได้ ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้เลย แต่ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศยังมีอาการงอแง ซึ่งขอให้ระลึกว่าหากยังชักช้าจะส่งผลเสียอย่างไรตามมา
ส่วนที่หลายฝ่ายเกรงว่าการยกเลิกข้อตกลงจะส่งผลกระทบถึงความสัมพันธ์ระหว่างทั้ง 2 ประเทศนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาไม่ได้เลวร้ายอะไร มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันอยู่แล้ว แต่การหยิบยกเรื่องเขาพระวิหารขึ้นมาทำข้อตกลงร่วมกันในรอบ 46 ปีอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องสัมพันธ์ตามมา ดังนั้น ถ้ามีการยกเลิกสัญญาที่ทำร่วมกัน กัมพูชาจะโกรธคนไทยไม่ถูกต้อง ซึ่งรัฐบาลไทยก็ควรอธิบายข้อเท็จจริงให้ทางกัมพูชาเข้าใจ เพราะความจริงแล้วพื้นที่บริเวณปราสาท พระวิหารก็เป็นของไทยเช่นกัน ซึ่งตรงนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศที่ต้องไปอธิบายให้กัมพูชาเข้าใจ
“เหตุการณ์ครั้งนี้นอกจากจะทำให้คนกัมพูชาบางส่วนไม่พอใจแล้ว ก็ยังเป็นเรื่องบาดใจประชาชนไทยด้วย เพราะกระทรวงการต่างประเทศของเราดันไปหลงเชื่อว่าพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารไม่ใช่ของไทย เป็นการยั่วยุกัมพูชาให้ได้ใจ เสมือนยกพื้นที่ของเราให้กับกัมพูชา ทำให้ประชาชนไทยไม่พอใจรัฐบาลไทย ขณะเดียวกันคนกัมพูชาที่อาศัยทำมาหากินอยู่บริเวณชายแดนของไทยและกัมพูชา ซึ่งพวกเขาไม่ได้มีส่วนอะไรกับเรื่องนี้ ก็พลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย”
ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า กรณีที่อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ กระทรวงการต่างประเทศที่ร่วมดำเนินการเรื่องนี้นั้น ในสมัยของตนไม่มีใครคิดที่จะมาทำเรื่องแบบนี้ ในเมื่อผลออกมาเป็นเช่นนี้ก็ต้องความรับผิดชอบ ซึ่งตนไม่ทราบว่าขณะนี้ได้เตรียมการต่อสู้หรือว่าจะทำอย่างไรต่อไป แต่อย่างน้อยก็ต้องเคารพศาล
“ส่วนความรับผิดชอบของตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ผมไม่สามารถพูดได้ว่าควรจะรับผิดชอบอย่างไร แต่หากเป็นรัฐมนตรีของประเทศอื่น เขาคงจะลาออกไปแล้ว” อดีตเอกอัครราชทูตไทยกล่าว
**ฟันธงโบ้ยขรก.ประจำรับผิด
นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูต 5 ประเทศ และอดีตอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า เมื่อคำสั่งศาลปกครองกลางได้ออกมาชัดเจนแล้ว รัฐบาลต้องไม่ดำเนินใดๆ และระงับการดำเนินการทุกอย่าง ซึ่งขณะนี้พรรคประชาธิปัตย์ก็ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยว่า การลงนามข้อตกลงดังกล่าว ผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 หรือไม่ คงต้องรอคำพิพากษาของศาลด้วย หากศาลวินิจฉัยว่าขัดกฎหมาย มาตรา 190 แถลงการณ์ร่วมที่รัฐบาลไทยและกัมพูชาทำร่วมกัน ก็ถือเป็นโมฆะไปโดยปริยาย
สิ่งที่รัฐบาลไทยต้องทำคือทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงกัมพูชา ว่าขอระงับแถลงการณ์ร่วม ไม่มีผลใช้บังคับไปก่อน เพราะไทยมีปัญหากระบวนการทางกฎหมายของประเทศไทย ซึ่งต้องรอให้เกิดความชัดเจน โดยอาจเป็นหนังสือจาก รมว.ต่างประเทศของไทยถึง รมว.ต่างประเทศของกัมพูชา หรือเป็นหนังสือจากนายกรัฐมนตรีไทยถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา แต่ต้องเป็นหนังสือจากรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งถึงรัฐบาลประเทศหนึ่งให้ได้รับทราบอย่างเป็นทางการ เพราะข้อตกลงที่ไปทำนั้นถือเป็นสนธิสัญญาที่มีผลผูกพันทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าสถานทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยก็คงจะทราบเรื่องและรายงานให้ทางกัมพูชาได้ทราบอยู่แล้ว แต่ไทยก็ต้องแจ้งอย่างเป็นทางการ
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น ก็ต้องดูหลักฐานเพราะเชื่อว่าการดำเนินการเรื่องนี้ คงมีการสั่งการเป็นลายลักษณ์อักษร และเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมีทั้งมติ ครม. และคำสงวนสิทธิ์ของไทยในปราสาทพระวิหารปี 2505 ข้าราชการประจำได้มีข้อเสนอแนะใดต่อรัฐบาลหรือไม่ หรือทั้งๆ ที่รู้ว่าผิดกฎหมายก็ยังกระทำ ทั้งหมดต้องพิจารณาจากหลักฐาน เว้นแต่ภาคการเมืองจะสั่งการด้วยวาจาก็มีแนวโน้มว่าข้าราชประจำจะเป็นแพะรับบาป
“ส่วนความรับผิดชอบของฝ่ายการเมืองนั้น เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศเพียงคนเดียว แต่ที่ประชุม ครม.ได้มีมติให้นายนพดลไปลงนามข้อตกลงได้โดยไม่มีใครคัดค้าน จึงถือเป็นความรับปิดชอบของคณะรัฐบาลทั้งคณะ ไม่ใช่ ความผิดของคนใดคนหนึ่ง ซึ่งหากเป็นรัฐบาลของประเทศอื่นที่อยู่ในวิถีประชาธิปไตยเขาคงลาออกไปนานแล้ว แต่ประเทศเรามันเป็นประชาธิปไตยอาเพศจึงไม่มีใครออกมารับผิดชอบสักคน”
**มั่นใจไม่กระทบความสัมพันธ์เขมร
นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า ตนติดตามการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีของฝ่ายค้านมาตลอด และเห็นว่า ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลหลายคนชอบอ้างว่า เมื่อประเทศไทยาลงนามไปแล้ว และที่ไปลงนามไปนั้นก็เพราะคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง 2 ประเทศ ถือเป็นคำพูดที่ไร้ความรับผิดชอบอย่างที่สุดของ ส.ส.ฟากรัฐบาล เพราะความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศนั้น หมายถึงความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของประโยชน์และอธิปไตยร่วมกัน ไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบเอาใจประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือมีความสัมพันธ์โดยผลประโยชน์ของชาติเสียหาย แต่การทำแถลงการณ์ร่วมของนายนพดลไม่ได้สนองประโยชน์ประเทศไทย สนองประโยชน์กัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศคือ ผลประโยชน์แห่งชาติทั้งสอง ความเป็นมิตรประเทศต้องอยู่บนพื้นฐานมีประโยชนร่วมกัน
“ผมเห็น ส.ส.รัฐบาลยกมือประท้วงในสภา ขอไม่ให้ฝ่ายค้านอภิปรายเรื่องปราสาทพระวิหาร และแถลงการณ์ร่วมที่ทำไป เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ของไทยกับกัมพูชา ผมคิดว่าเป็นคำพูดที่บ้องตื้น ไร้สาระมาก เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้น เราสามารถมีความสัมพันธ์ได้หลายมิติ ทั้งเรื่องการเมือง สังคม เศรษฐกิจ หรือวัฒนธรรม การที่เรามีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่อกันนั้น ไม่ว่าจะอย่างไรก็มีผลกระทบถึงกัน ไม่ว่าเราจะหยิบเอาเรื่องนี้มาพูดหรืออภิปรายในสภาหรือไม่ ผลกระทบในความสัมพันธ์มันเกิดขึ้นอยู่ทุกวันจากมิติต่างๆ อยู่แล้ว แต่ประเด็นคือเราต้องให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายไม่ใช่เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดฝ่ายเดียว” อดีตเอกอัครราชทูตฯ กล่าว
**แนะเชิญทูตกัมพูชาเซ็นรับทราบข้อยกเลิก
ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวว่า กรณีที่ศาลปกครองมีคำสั่งระงับแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยและกัมพูชาเรื่องการขอขึ้นปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นเป็นเรื่องภายในประเทศ และถือว่าออกมาช้าไปไม่ทันการณ์ เพราะสั่งคุ้มครองตอนนี้ก็ไม่มีผลใดๆ ต่อการดำเนินการของทางกัมพูชาแล้ว เพราะหลังจากที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมในวันที่ 18 มิ.ย.51 แล้ว ฝ่ายกัมพูชาเมื่อได้รับคำยินยอมก็ส่งเอกสารทั้งหมดไปที่ประเทศแคนาดาแล้ว นั่นหมายความถึงว่าแม้คำสั่งศาลปกครองประกาศออกมาว่ารัฐบาลไม่ต้องดำเนินการใดๆ อีกนั้นถูกต้อง เพราะขั้นตอนต่างๆ รัฐบาลและรมว.ต่างประเทศได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว
"คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาตามเอกสารที่ส่งไป ซึ่งหลังจากที่นายนพดลลงนามในแถลงการณ์ร่วมแล้ว กัมพูชาเขาก็รีบส่งไปที่แคนาดาเลย ตอนนี้เอกสารก็อยู่ที่โน่น รอการประชุมวันที่ 2ก.ค.นี้เท่านั้น คำสั่งศาลปกครองที่คุ้มครองของเราจึงช้าไป"
อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลก กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามยังเป็นการดีที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองดังกล่าวออกมา เพราะอย่างน้อยก็แสดงถึงจุดยืนของประเทศไทยที่ไม่ยอมให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว และเราก็ต้องยืนยันในจุดยืนนี้ต่อไป และสิ่งที่รัฐบาลควรทำในเจตนารมณ์ของศาลปกครองก็คือ ต้องมีคำสั่งให้กระทรวงการต่างประเทศเชิญทูตกัมพูชามาพบ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าไทยขอยกเลิกแถลงการณ์ร่วมฯ จากนั้นยื่นเรื่องดังกล่าวพร้อมกับบันทึกช่วยจำซึ่งยืนยันว่ากัมพูชาได้รับทราบข้อยกเลิกแล้วไปที่คณะกรรมการมรดกโลกที่แคนาดา นอกจากนี้ผู้แทนประเทศไทยที่จะเข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมในประเทศแคนาดาจะต้องชี้แจงถึงจุดยืนของไทยให้คณะกรรมการมรดกโลกได้ทราบด้วย
"แต่มันมีปัญหาว่ารัฐบาลภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวชจะยอมทำหรือ เราคิดหวังได้หรือว่าผู้นำและนายนพดลจะยอมเชิญทูตกัมพูชามาและยกเลิกแถลงการณ์ร่วม เป็นปัญหาที่น่าวิตกและสลดอย่างยิ่งกับปัญหานี้ นอกจากนี้เวลามันก็กระชั้นเข้ามาทุกขณะ เพราะต้องดำเนินการก่อนจะถึงวันที่ 2 ก.ค.ซึ่งคงไม่ทันแล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้นเราก็ต้องเสียดินแดนแน่นอน ถ้าไม่มีคำสั่งยกเลิกไปถึงคณะกรรมการมรดกโลกที่แคนาดาแล้ว ผู้แทนไทยที่ไประชุมก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย "ศ.ดร.อดุล กล่าว