ผู้จัดการรายวัน - 77 ส.ว.ยื่นศาล รธน.ตีความ "สมัคร-นพดล" รับรองแผนที่เขาพระวิหารเอื้อประโยชน์เขมร ขัด รธน.มาตรา 190 หรือไม่ ขณะที่ "ปองพล" เรียกร้องรัฐบาล ทำหนังสือแจ้งสถานทูตกัมพูชาหลังศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเขาพระวิหาร หวั่นจะนำแถลงการณ์ร่วมไปแสดงให้ยูเนสโกเห็นว่าไทยสนับสนุน อดีตเลขาฯ กฤษฎีกายุรัฐบาลอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง เพื่อให้รู้ใครพูดเท็จ พูดจริง ด้านทนายความพันธมิตรฯ ร้องศาลปกครอง เอาผิด "วรเจตน์-เว็บประชาไท" ละเมิดอำนาจศาล วิจารณ์คำสั่งคุ้มครอง
ที่รัฐสภา วานนี้ (30 มิ.ย.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. เป็นตัวแทน ส.ว. 77 คน ยื่นหนังสือต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยกรณีรัฐบาลมีมติ ครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา ให้ความเห็นชอบการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ได้เป็นตัวแทนรัฐบาลร่วมลงนามคำแถลงการณ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ความเห็นชอบกรณีดังกล่าวว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า การทำหนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยงแปลง อาณาเขตไทย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
น.ส.รสนากล่าวว่า ขอให้ประธานวุฒิสภาได้เร่งดำเนินการในเรื่องนี้ เป็นการด่วนก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 2 ก.ค.นี้ ที่ประเทศแคนนาดา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออาณาเขตดินแดนอธิปไตย ของประเทศ นอกจากนี้การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความยังเป็นการยุติความขัดแย้งการโต้แย้งในสังคม ที่มีแนวโน้มลุกลามกว้างขวางทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าเรื่องดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญรัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบตามกฎหมาย แต่หากวินิจฉัยว่าไม่ขัดกฎหมายก็เป็นความชอบธรรมของรัฐบาล แต่ในส่วนของ ส.ว.เห็นว่าการลงนามดังกล่าวเป็นสนธิสัญญา ซึ่งรัฐบาลอาจจะปฏิเสธว่าไม่ใช่
ด้าน นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เราทุกคนตระหนักถึงเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะต้องไม่กระทบต่ออธิปไตยของไทย หากกระทบกับอธิปไตยของไทยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะต้องมาทีหลัง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการดำเนินการของ ส.ว.ครั้งนี้ จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
ขณะที่ นายประสพสุข ระบุว่า จะเร่งดำเนินการตรวจสอบและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว เนื่องจากทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญและเป็นผลประโยชน์ของประเทศ
"ปองพล" จี้รัฐบาลแจงมติศาล ปค.ต่อเขมร
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งจะนับคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวไปร่วมประชุมกับองค์การยูเนสโกในการพิจารณาปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามใช้มติ ครม. เห็นชอบลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ตนต้องการให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศรีบดำเนินการทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา และทำหนังสือแจ้งไปยังสถานทูตที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่ ประจำประเทศไทย 21 ประเทศ ที่จะเข้าร่วมประชุมเมืองคิวเบก ประเทศแคนาดา ในวันที่ 2-10 ก.ค. เพื่อป้องกันกัมพูชานำแถลงการณ์ที่ไทยร่วมลงนามไปแอบอ้างต่อคณะกรรมการมรดโลกชุดดังกล่าว
"คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ จะได้รับทราบถึงคำสั่งของศาลปกครองกลาง และหนังสือร้องเรียนขององค์กรต่างๆ ของประเทศไทย ที่ยื่นคัดค้านต่อยูเนสโก เพราะไม่เช่นนั้นกัมพูชาจะนำแถลงการณ์ร่วมไปอ้างกับคณะกรรมการมรดกโลกได้ว่าไทยได้ลงนามและเห็นด้วยที่จะสนับสนุนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งผมเห็นว่าเมื่อศาลปกครองมีคำสั่งในลักษณะนี้แถลงการณ์ร่วม ที่รัฐบาลไทยได้ร่วมลงนามกับกัมพูชา ก็ย่อมที่จะไม่มีผล ดังนั้น ยูเนสโกก็สมควรที่จะชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไว้ก่อน"
"อมร" ยุรัฐยื่นอุทธรณ์จะได้รู้ข้อเท็จจริง
นายอมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า เหตุการณ์ระหว่างรัฐบาลกับศาลปกครองในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นแผ่นดิน ของคนทั้งชาติที่มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการเอาไป การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา ตนได้รับฟังคำชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศ ปรากฎว่าการที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. รมว.ต่างประเทศระบุว่ามติ ครม.ได้รับการเห็นด้วยจาก เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมแผนที่ทหาร ซึ่งตนขอบอกว่า ความเห็นของรัฐบาลและสภาความมั่นคงแห่งชาติไม่ตรงกับคำสั่งศาลปกครอง
"การที่ ครม.จะประชุมในวันนี้ (30 มิ.ย.) อยากให้มีการอุทธรณ์ เพราะในฐานะคนไทยอยากรู้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งศาลปกครองสูงสุดจะเรียกเจ้าหน้าที่ จากสภาความมั่นคงแห่งชาติ กับกรมแผนที่ทหาร มาสอบข้อเท็จจริงเพื่อที่จะได้รู้ว่า 2 หน่วยงานนี้เห็นด้วยกับรัฐบาลหรือไม่และด้วยเหตุผลใด นอกจากนี้การอุทธรณ์ของรัฐบาลทำได้ 2 ประเด็น คือ 1. คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองจำเป็นหรือไม่และควรคุ้มครองหรือไม่ 2. อำนาจที่ชี้ว่า คำแถลงการณ์ร่วมอยู่ในอำนาจขอบเขตของศาลปกครองหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ศาลยังไม่ได้ชี้ จึงมีปัญหาว่าการลงนามเป็นเรื่องภายในหรือเรื่องระหว่างประเทศ
แต่ปัญหา คือ รัฐบาลบอกว่าการลงนามไม่ใช่สัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จึงอยากรู้ว่ารัฐบาลจะอธิบายอย่างไร ถ้าเห็นว่าไม่เข้าตามรัฐธรรมนูญแล้วจะไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองหรืออย่างไร แต่รัฐบาลต้องยอมรับอำนาจของศาลใดศาลหนึ่ง"
ยื่นฟัน "วรเจตน์-ประชาไท" หมิ่นศาล
ที่ศาลปกครองกลาง วานนี้ (30 มิ.ย.) นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 ผู้ฟ้องนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1- 2 เรื่องกระทำการ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่นายนพดล โดยมติ ครม.ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา พร้อมแผนที่แนบ ลงวันที่ 18 มิถุนายน ขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลก ที่จะมีการเสนอแถลงการณ์ต่อองค์การยูเนสโก ในระหว่างวันที่ 2-10 ก.ค.นี้ ได้มอบอำนาจให้นางอัจฉรา แสงขาว ทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาล ออกหมายเรียก รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้จัดการเว็บไซต์ประชาไท และนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท มาสอบถามเพื่อดำเนินการ ลงโทษในข้อหาละเมิดอำนาจศาล
คำร้องระบุว่า คดีนี้ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ คุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษา เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2551 ต่อมาวันที่ 28 มิ.ย. 2551 รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวถึงกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมติ ครม.รับรองแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา รวมทั้งระงับการกระทำใดๆ ที่จะดำเนินการร่วมกับกัมพูชาระหว่างที่จะมีการพิพากษา โดยวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งของ ศาลปกครองครั้งนี้ว่าเป็นไปในเชิงการเมือง (ACT OF STATE) ว่าเป็นปัญหาหลักการที่ไม่สามารถปล่อยผ่านไปได้ ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณาคดีได้
สำหรับ เว็บบอร์ดประชาไทยเป็นเว็บบอร์ดที่ลงบทความจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดมา และในการลงบทความครั้งนี้ก็มีผู้แสดงความเห็นในเชิงละเมิดอำนาจศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมิ่นประมาทประธานศาลปกครอง เพื่อมิให้เป็น เยี่ยงอย่างที่ไม่ดีและเพื่อเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ขอศาลปครองได้ออกหมายเรียก บุคคลทั้ง 3 มาสอบถามและดำเนินการลงโทษข้อหาละเมิดอำนาจศาลต่อไป
ทั้งนี้ ศาลรับคำร้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 984/2551เพื่อพิจารณาว่าจะมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ต่อไป
ปชป.ยื่นหนังสือค้านต่อยูเนสโก้
ที่องค์การยูเนสโก เอกมัย กรุงเทพฯ วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะ เดินทางเข้ายื่นหนังสือคัดค้านแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อนายเชลดอน เชฟเฟอร์ ผู้อำนวยการ ยูเนสโกประจำประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้เราต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำได้ แต่ก็รู้ว่า ไม่ง่าย เพราะเวลาที่คณะกรรมการพิจารณาก็คงยึดถือเอาจุดยืนของรัฐบาลเป็นหลัก แต่คิดว่าในส่วนของภาคประชาชน ส.ว. หรือฝ่ายค้านที่มายื่นหนังสือให้กับองค์การ ยูเนสโกนั้น ทุกคำร้องที่ยื่นไปทางยูเนสโกก็ได้ส่งต่อให้คณะกรรมการมรดกโลก เราย้ำแต่เพียงว่า การที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และอนุรักษ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบดีที่สุดคือการขึ้นทะเบียนภายใต้บรรยากาศที่ทุกฝ่าย ให้ความร่วมมือและสนับสนุน ซึ่งเราเห็นว่าบรรยากาศขณะนี้ไม่เป็นอย่างนั้น สืบเนื่องจากความไม่โปร่งใสในการดำเนินการของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราสนับสนุนในลักษณะที่ทุกฝ่ายสามารถที่จะสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง ดีที่สุดคือการขึ้นบริเวณต่างๆ ร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
"อยากให้ ครม.ได้ทบทวนว่าประโยชน์ของประเทศชาติ อยู่ตรงไหน อย่าไปนึกว่าจุดยืนของรัฐบาลเคยเป็นอย่างไรแล้วไม่ยอมรับฟังคำทักท้วง คำคัดค้าน เพราะถ้าฟังจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีกว่า และสิ่งที่ดีที่สุด คือ ครม. ต้องไปดูคำตัดสินของศาลปกครองที่ห้ามเอามติครม.ที่ลงนาม แถลงการณ์ร่วม ไปอ้างอิง และทราบว่าการประชุมครม.มีรัฐมนตรีหลายคน ไม่ทราบรายละเอียด และหลายคนเมื่อทราบรายละเอียดแล้ว ก็ไม่สบายใจ และคิดว่า อย่างน้อยที่สุดน่าจะมีการไปปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจ ในแง่ข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเห็นว่าควรเร่งเดินในเส้นทางนั้นมากกว่า เพราะเวลาเหลือไม่มากแล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะมีความเคลื่อนไหวในประเทศ แต่ในส่วนของกัมพูชา อาจยึดมติ ครม.แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่า ฝ่ายกัมพูชาคงพยายามจะยึดแถลงการณ์ร่วม เพราะรมว.การต่างประเทศของไทย ไปลงนามไว้แล้ว แต่เราก็ต้องพยายามสร้างความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วการที่จะอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างดีที่สุดคือ ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายให้ความสนับสนุนบนบรรยากาศของความร่วมมือกัน และชัดเจนว่าวันนี้ขาดสิ่งนั้น
เฉ่ง "สมัคร" ปฎิเสธความสมานฉันท์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความบกพร่องที่รีบพิจารณาจนออกมาเป็นมติครม. ควรจะมีผู้รับผิดชอบอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรายืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดว่าควรจะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งหลายฝ่ายได้พูดถึงการปรับครม.ด้วย แต่ตนก็แปลกใจว่านายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีในลักษณะที่ทำให้คนเห็นว่ารัฐบาลของท่านฟังเสียงสะท้อนต่างๆ และเร่งแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่น ในการแก้ปัญหา กลับท้าทายว่าเป็นอำนาจเป็นสิทธิของท่าน เพราะฉะนั้นจะทำหรือไม่ทำ ก็เป็นเรื่องท่านแล้วใครจะทำไม ซึ่งคิดว่าสิ่งที่เราอภิปรายไม่ไว้วางใจมา และที่เกี่ยวกับตัวนายกฯ ก็คือเรื่องนี้ว่าทุกครั้งที่มีโอกาสความสมานฉันท์ และทุกครั้งที่มีโอกาส ทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน นายกฯ กลับปฏิเสธ เพียงเพื่อต้องการที่จะได้พูดคุยว่าท่านเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องไปเชื่อใครฟังใคร ซึ่งมันไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศ
ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ ควรมีบทบาทให้มากกว่านี้หรือไม่นั้นนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เข้าใจว่าอย่างน้อยที่สุดในการประชุมครม.วันที่ 1 ก.ค.นี้ ที่ประชุมจะเอาเรื่องนี้มา พิจารณา และควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะทบทวน แก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น จากเรื่องนี้ ส่วนที่มีการเตรียมดำเนินคดีอาญากับ ครม.ทั้งคณะนั้นในส่วนตัวขณะนี้ยังไม่มองไปถึงการมุ่งต่อตัวบุคคล ตราบเท่าที่คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่พิจจารณา จะพยายามมุ่งไปที่ทำอย่างไรไม่ให้ความเสียเกิดขึ้น ส่วนใครทำอะไรผิดค่อยมาว่ากันทีหลัง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับหนังสือของฝ่ายค้านที่ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาฯคนที่ 1 ว่าการลงนามแถลงการณ์ร่วมผิดมาตรา 190 นั้น นายสมศักดิ์บอกว่าจะนำเสนอนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ทันที ซึ่งคาดว่า วันที่ 30 มิ.ย.นายชัยจะส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิ ของส.ส.ที่จะทำได้ และขอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างเร่งด่วน
"น้องเขยแม้ว" พูดเฉยรัฐบาลไม่ผิดพลาด
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุม ครม.วันนี้ (1 ก.ค.) นายกรัรฐมนตรีไม่ได้สั่งการเป็นพิเศษ ในการ หยิบยกเรื่องการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับเขาพระวิหาร ที่อนุญาตให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหลังจากศาลปกครองมีมติ คุ้มครองชั่วคราว นายกฯเพียงแต่บอกว่าให้ดูเรื่องนี้ปกติหากศาลมีคำสั่งคงจะมีตัวเอกสารมา ก็พิจารณาดูว่าเอกสารเป็นอย่างไร เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นเอกสารจริงๆ ทั้งนี้หลักการพิจารณาเอกสารแล้วจะให้ทางสำนักงานกฤษฎีกาพิจารณาว่าคำสั่งเป็น อย่างไรและควรปฏิบัติอย่างไร คงเป็นไปตามปกติหากมีคำสั่งอย่างไรก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ส่วนกระทรวงการต่างประเทศที่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองหรือไม่นั้น นายสมชาย กล่าวว่า ยังไม่ได้ปรึกษากันเราคงต้องไปวิเคราะห์กันอีกที ตนไม่อยากจะพูดไป เพราะเป็นข่าวที่ใหญ่โตอยู่ เราตัวเล็กหากจะพูดไปคงไม่เหมาะสม เมื่อถามว่าจะต้องเร่งดำเนินการหรือไม่เพราะจะได้ทันการประชุมของยูเนสโก นายสมชาย กล่าวว่า นี่ไง พรุ่งนี้(1ก.ค.) ตนไม่อยากทำไรโดยลำพังด้วยตนเองและนายกฯเองก็ไม่อยู่ จริงๆผู้ที่จะตัดสินใจทำอะไรนายกฯจะเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งต้องเอกสารหารือกันให้รอบครอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาใหญ่ขนาดนี้จะกระทบการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า รัฐบาลก็ทำงานไป คงไม่คิดว่ากระทบกระเทือน เพราะการทำงาน ที่ผ่านมาทำไปโดยมีข้อมูลเรียบร้อย แต่เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้นมาก็ต้องมาดูกัน เพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อถามว่าการที่ศาลมีคำสั่งแบบนี้ถือว่ารัฐบาลทำงานผิดพลาด หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า มันถือไม่ได้ ต้องไปวิเคราะห์กันก่อน อย่างที่เรียนแล้ว ทุกอย่างที่ทำไปข้อมูลมันพร้อม แต่ความขัดแย้งในบ้านเมืองเรายังมีอยู่ เราก็เอาไปดูให้รอบครอบ ไม่ใช่ว่าผิดพลาด
สำหรับความชัดเจนในการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกคาองนั้น นายสมชาย กล่าวว่า ต้องปรึกษากันก่อนเสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไร เมื่อถามว่าต้องรอการกลับมาของนายกฯ หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า อาจจะถึงขนาดนั้นเพราะเรื่องไรที่เป็นการตัดสินใจ ในสิ่งที่ สำคัญท่านควรจะมีส่วนในการรับทราบในฐานะผู้บัญชาการ พวกเราทำในสิ่งที่คิดว่า ทำได้และไม่มีปัญหาไปก่อน
ที่รัฐสภา วานนี้ (30 มิ.ย.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. เป็นตัวแทน ส.ว. 77 คน ยื่นหนังสือต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา เพื่อส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยกรณีรัฐบาลมีมติ ครม.เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ที่ผ่านมา ให้ความเห็นชอบการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ได้เป็นตัวแทนรัฐบาลร่วมลงนามคำแถลงการณ์ระหว่างไทย-กัมพูชา ให้ความเห็นชอบกรณีดังกล่าวว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หรือไม่ เนื่องจากมาตราดังกล่าวระบุว่า การทำหนังสือสัญญาใดที่มีบทเปลี่ยงแปลง อาณาเขตไทย หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
น.ส.รสนากล่าวว่า ขอให้ประธานวุฒิสภาได้เร่งดำเนินการในเรื่องนี้ เป็นการด่วนก่อนการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกในวันที่ 2 ก.ค.นี้ ที่ประเทศแคนนาดา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่ออาณาเขตดินแดนอธิปไตย ของประเทศ นอกจากนี้การส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความยังเป็นการยุติความขัดแย้งการโต้แย้งในสังคม ที่มีแนวโน้มลุกลามกว้างขวางทั่วประเทศ ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าเรื่องดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญรัฐบาลจะต้องแสดงความรับผิดชอบตามกฎหมาย แต่หากวินิจฉัยว่าไม่ขัดกฎหมายก็เป็นความชอบธรรมของรัฐบาล แต่ในส่วนของ ส.ว.เห็นว่าการลงนามดังกล่าวเป็นสนธิสัญญา ซึ่งรัฐบาลอาจจะปฏิเสธว่าไม่ใช่
ด้าน นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เราทุกคนตระหนักถึงเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นอย่างดี แต่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะต้องไม่กระทบต่ออธิปไตยของไทย หากกระทบกับอธิปไตยของไทยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจะต้องมาทีหลัง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการดำเนินการของ ส.ว.ครั้งนี้ จะไม่กระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
ขณะที่ นายประสพสุข ระบุว่า จะเร่งดำเนินการตรวจสอบและส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว เนื่องจากทราบว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญและเป็นผลประโยชน์ของประเทศ
"ปองพล" จี้รัฐบาลแจงมติศาล ปค.ต่อเขมร
นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งจะนับคณะกรรมการฯชุดดังกล่าวไปร่วมประชุมกับองค์การยูเนสโกในการพิจารณาปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ว่า ตามที่ศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามใช้มติ ครม. เห็นชอบลงนามแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทยกับกัมพูชาที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานเพื่อขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ตนต้องการให้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศรีบดำเนินการทำหนังสือแจ้งไปยังรัฐบาลกัมพูชา และทำหนังสือแจ้งไปยังสถานทูตที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลกชุดใหญ่ ประจำประเทศไทย 21 ประเทศ ที่จะเข้าร่วมประชุมเมืองคิวเบก ประเทศแคนาดา ในวันที่ 2-10 ก.ค. เพื่อป้องกันกัมพูชานำแถลงการณ์ที่ไทยร่วมลงนามไปแอบอ้างต่อคณะกรรมการมรดโลกชุดดังกล่าว
"คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ จะได้รับทราบถึงคำสั่งของศาลปกครองกลาง และหนังสือร้องเรียนขององค์กรต่างๆ ของประเทศไทย ที่ยื่นคัดค้านต่อยูเนสโก เพราะไม่เช่นนั้นกัมพูชาจะนำแถลงการณ์ร่วมไปอ้างกับคณะกรรมการมรดกโลกได้ว่าไทยได้ลงนามและเห็นด้วยที่จะสนับสนุนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งผมเห็นว่าเมื่อศาลปกครองมีคำสั่งในลักษณะนี้แถลงการณ์ร่วม ที่รัฐบาลไทยได้ร่วมลงนามกับกัมพูชา ก็ย่อมที่จะไม่มีผล ดังนั้น ยูเนสโกก็สมควรที่จะชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกไว้ก่อน"
"อมร" ยุรัฐยื่นอุทธรณ์จะได้รู้ข้อเท็จจริง
นายอมร จันทรสมบูรณ์ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวว่า เหตุการณ์ระหว่างรัฐบาลกับศาลปกครองในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับอธิปไตยของชาติ ซึ่งเป็นแผ่นดิน ของคนทั้งชาติที่มีคนกลุ่มหนึ่งต้องการเอาไป การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ผ่านมา ตนได้รับฟังคำชี้แจงของกระทรวงการต่างประเทศ ปรากฎว่าการที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. รมว.ต่างประเทศระบุว่ามติ ครม.ได้รับการเห็นด้วยจาก เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ สภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมแผนที่ทหาร ซึ่งตนขอบอกว่า ความเห็นของรัฐบาลและสภาความมั่นคงแห่งชาติไม่ตรงกับคำสั่งศาลปกครอง
"การที่ ครม.จะประชุมในวันนี้ (30 มิ.ย.) อยากให้มีการอุทธรณ์ เพราะในฐานะคนไทยอยากรู้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งศาลปกครองสูงสุดจะเรียกเจ้าหน้าที่ จากสภาความมั่นคงแห่งชาติ กับกรมแผนที่ทหาร มาสอบข้อเท็จจริงเพื่อที่จะได้รู้ว่า 2 หน่วยงานนี้เห็นด้วยกับรัฐบาลหรือไม่และด้วยเหตุผลใด นอกจากนี้การอุทธรณ์ของรัฐบาลทำได้ 2 ประเด็น คือ 1. คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองจำเป็นหรือไม่และควรคุ้มครองหรือไม่ 2. อำนาจที่ชี้ว่า คำแถลงการณ์ร่วมอยู่ในอำนาจขอบเขตของศาลปกครองหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ศาลยังไม่ได้ชี้ จึงมีปัญหาว่าการลงนามเป็นเรื่องภายในหรือเรื่องระหว่างประเทศ
แต่ปัญหา คือ รัฐบาลบอกว่าการลงนามไม่ใช่สัญญาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 จึงอยากรู้ว่ารัฐบาลจะอธิบายอย่างไร ถ้าเห็นว่าไม่เข้าตามรัฐธรรมนูญแล้วจะไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองหรืออย่างไร แต่รัฐบาลต้องยอมรับอำนาจของศาลใดศาลหนึ่ง"
ยื่นฟัน "วรเจตน์-ประชาไท" หมิ่นศาล
ที่ศาลปกครองกลาง วานนี้ (30 มิ.ย.) นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 9 ผู้ฟ้องนายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1- 2 เรื่องกระทำการ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กรณีที่นายนพดล โดยมติ ครม.ลงนามในแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา พร้อมแผนที่แนบ ลงวันที่ 18 มิถุนายน ขอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหาร เป็นมรดกโลก ที่จะมีการเสนอแถลงการณ์ต่อองค์การยูเนสโก ในระหว่างวันที่ 2-10 ก.ค.นี้ ได้มอบอำนาจให้นางอัจฉรา แสงขาว ทนายความยื่นคำร้องขอให้ศาล ออกหมายเรียก รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้จัดการเว็บไซต์ประชาไท และนายชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการเว็บไซต์ประชาไท มาสอบถามเพื่อดำเนินการ ลงโทษในข้อหาละเมิดอำนาจศาล
คำร้องระบุว่า คดีนี้ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการ คุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนคำพิพากษา เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 2551 ต่อมาวันที่ 28 มิ.ย. 2551 รศ.ดร.วรเจตน์ กล่าวถึงกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามมติ ครม.รับรองแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา รวมทั้งระงับการกระทำใดๆ ที่จะดำเนินการร่วมกับกัมพูชาระหว่างที่จะมีการพิพากษา โดยวิพากษ์วิจารณ์คำสั่งของ ศาลปกครองครั้งนี้ว่าเป็นไปในเชิงการเมือง (ACT OF STATE) ว่าเป็นปัญหาหลักการที่ไม่สามารถปล่อยผ่านไปได้ ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองที่จะรับไว้พิจารณาคดีได้
สำหรับ เว็บบอร์ดประชาไทยเป็นเว็บบอร์ดที่ลงบทความจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ตลอดมา และในการลงบทความครั้งนี้ก็มีผู้แสดงความเห็นในเชิงละเมิดอำนาจศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมิ่นประมาทประธานศาลปกครอง เพื่อมิให้เป็น เยี่ยงอย่างที่ไม่ดีและเพื่อเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ขอศาลปครองได้ออกหมายเรียก บุคคลทั้ง 3 มาสอบถามและดำเนินการลงโทษข้อหาละเมิดอำนาจศาลต่อไป
ทั้งนี้ ศาลรับคำร้องไว้เป็นคดีหมายเลขดำที่ 984/2551เพื่อพิจารณาว่าจะมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาหรือไม่ต่อไป
ปชป.ยื่นหนังสือค้านต่อยูเนสโก้
ที่องค์การยูเนสโก เอกมัย กรุงเทพฯ วันเดียวกัน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และคณะ เดินทางเข้ายื่นหนังสือคัดค้านแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชา กรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อนายเชลดอน เชฟเฟอร์ ผู้อำนวยการ ยูเนสโกประจำประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องนี้เราต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำได้ แต่ก็รู้ว่า ไม่ง่าย เพราะเวลาที่คณะกรรมการพิจารณาก็คงยึดถือเอาจุดยืนของรัฐบาลเป็นหลัก แต่คิดว่าในส่วนของภาคประชาชน ส.ว. หรือฝ่ายค้านที่มายื่นหนังสือให้กับองค์การ ยูเนสโกนั้น ทุกคำร้องที่ยื่นไปทางยูเนสโกก็ได้ส่งต่อให้คณะกรรมการมรดกโลก เราย้ำแต่เพียงว่า การที่จะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และอนุรักษ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบดีที่สุดคือการขึ้นทะเบียนภายใต้บรรยากาศที่ทุกฝ่าย ให้ความร่วมมือและสนับสนุน ซึ่งเราเห็นว่าบรรยากาศขณะนี้ไม่เป็นอย่างนั้น สืบเนื่องจากความไม่โปร่งใสในการดำเนินการของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่ว่าเราไม่สนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เราสนับสนุนในลักษณะที่ทุกฝ่ายสามารถที่จะสนับสนุนได้อย่างต่อเนื่อง ดีที่สุดคือการขึ้นบริเวณต่างๆ ร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา
"อยากให้ ครม.ได้ทบทวนว่าประโยชน์ของประเทศชาติ อยู่ตรงไหน อย่าไปนึกว่าจุดยืนของรัฐบาลเคยเป็นอย่างไรแล้วไม่ยอมรับฟังคำทักท้วง คำคัดค้าน เพราะถ้าฟังจะรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติได้ดีกว่า และสิ่งที่ดีที่สุด คือ ครม. ต้องไปดูคำตัดสินของศาลปกครองที่ห้ามเอามติครม.ที่ลงนาม แถลงการณ์ร่วม ไปอ้างอิง และทราบว่าการประชุมครม.มีรัฐมนตรีหลายคน ไม่ทราบรายละเอียด และหลายคนเมื่อทราบรายละเอียดแล้ว ก็ไม่สบายใจ และคิดว่า อย่างน้อยที่สุดน่าจะมีการไปปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจ ในแง่ข้อตกลงระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเห็นว่าควรเร่งเดินในเส้นทางนั้นมากกว่า เพราะเวลาเหลือไม่มากแล้ว"
ผู้สื่อข่าวถามว่า แม้จะมีความเคลื่อนไหวในประเทศ แต่ในส่วนของกัมพูชา อาจยึดมติ ครม.แถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาได้ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า คิดว่า ฝ่ายกัมพูชาคงพยายามจะยึดแถลงการณ์ร่วม เพราะรมว.การต่างประเทศของไทย ไปลงนามไว้แล้ว แต่เราก็ต้องพยายามสร้างความเข้าใจว่าจริงๆ แล้วการที่จะอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารอย่างดีที่สุดคือ ประชาชนทั้ง 2 ฝ่ายให้ความสนับสนุนบนบรรยากาศของความร่วมมือกัน และชัดเจนว่าวันนี้ขาดสิ่งนั้น
เฉ่ง "สมัคร" ปฎิเสธความสมานฉันท์
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความบกพร่องที่รีบพิจารณาจนออกมาเป็นมติครม. ควรจะมีผู้รับผิดชอบอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เรายืนยันว่าอย่างน้อยที่สุดว่าควรจะต้องมีการแสดงความรับผิดชอบ ซึ่งหลายฝ่ายได้พูดถึงการปรับครม.ด้วย แต่ตนก็แปลกใจว่านายกรัฐมนตรีจะแสดงท่าทีในลักษณะที่ทำให้คนเห็นว่ารัฐบาลของท่านฟังเสียงสะท้อนต่างๆ และเร่งแก้ไขเพื่อเรียกความเชื่อมั่น ในการแก้ปัญหา กลับท้าทายว่าเป็นอำนาจเป็นสิทธิของท่าน เพราะฉะนั้นจะทำหรือไม่ทำ ก็เป็นเรื่องท่านแล้วใครจะทำไม ซึ่งคิดว่าสิ่งที่เราอภิปรายไม่ไว้วางใจมา และที่เกี่ยวกับตัวนายกฯ ก็คือเรื่องนี้ว่าทุกครั้งที่มีโอกาสความสมานฉันท์ และทุกครั้งที่มีโอกาส ทำให้ประเทศเดินไปข้างหน้าเพื่อแก้ปัญหาของประชาชน นายกฯ กลับปฏิเสธ เพียงเพื่อต้องการที่จะได้พูดคุยว่าท่านเป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องไปเชื่อใครฟังใคร ซึ่งมันไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรกับประเทศ
ส่วนรัฐมนตรีคนอื่นๆ ควรมีบทบาทให้มากกว่านี้หรือไม่นั้นนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เข้าใจว่าอย่างน้อยที่สุดในการประชุมครม.วันที่ 1 ก.ค.นี้ ที่ประชุมจะเอาเรื่องนี้มา พิจารณา และควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจนที่จะทบทวน แก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น จากเรื่องนี้ ส่วนที่มีการเตรียมดำเนินคดีอาญากับ ครม.ทั้งคณะนั้นในส่วนตัวขณะนี้ยังไม่มองไปถึงการมุ่งต่อตัวบุคคล ตราบเท่าที่คณะกรรมการมรดกโลกยังไม่พิจจารณา จะพยายามมุ่งไปที่ทำอย่างไรไม่ให้ความเสียเกิดขึ้น ส่วนใครทำอะไรผิดค่อยมาว่ากันทีหลัง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับหนังสือของฝ่ายค้านที่ยื่นต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ รองประธานสภาฯคนที่ 1 ว่าการลงนามแถลงการณ์ร่วมผิดมาตรา 190 นั้น นายสมศักดิ์บอกว่าจะนำเสนอนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาฯ ทันที ซึ่งคาดว่า วันที่ 30 มิ.ย.นายชัยจะส่งต่อไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้ เพราะถือว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิ ของส.ส.ที่จะทำได้ และขอศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาอย่างเร่งด่วน
"น้องเขยแม้ว" พูดเฉยรัฐบาลไม่ผิดพลาด
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ในการประชุม ครม.วันนี้ (1 ก.ค.) นายกรัรฐมนตรีไม่ได้สั่งการเป็นพิเศษ ในการ หยิบยกเรื่องการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับเขาพระวิหาร ที่อนุญาตให้กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกหลังจากศาลปกครองมีมติ คุ้มครองชั่วคราว นายกฯเพียงแต่บอกว่าให้ดูเรื่องนี้ปกติหากศาลมีคำสั่งคงจะมีตัวเอกสารมา ก็พิจารณาดูว่าเอกสารเป็นอย่างไร เพราะตอนนี้ยังไม่เห็นเอกสารจริงๆ ทั้งนี้หลักการพิจารณาเอกสารแล้วจะให้ทางสำนักงานกฤษฎีกาพิจารณาว่าคำสั่งเป็น อย่างไรและควรปฏิบัติอย่างไร คงเป็นไปตามปกติหากมีคำสั่งอย่างไรก็ปฏิบัติให้ถูกต้อง
ส่วนกระทรวงการต่างประเทศที่ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองหรือไม่นั้น นายสมชาย กล่าวว่า ยังไม่ได้ปรึกษากันเราคงต้องไปวิเคราะห์กันอีกที ตนไม่อยากจะพูดไป เพราะเป็นข่าวที่ใหญ่โตอยู่ เราตัวเล็กหากจะพูดไปคงไม่เหมาะสม เมื่อถามว่าจะต้องเร่งดำเนินการหรือไม่เพราะจะได้ทันการประชุมของยูเนสโก นายสมชาย กล่าวว่า นี่ไง พรุ่งนี้(1ก.ค.) ตนไม่อยากทำไรโดยลำพังด้วยตนเองและนายกฯเองก็ไม่อยู่ จริงๆผู้ที่จะตัดสินใจทำอะไรนายกฯจะเป็นส่วนสำคัญ ซึ่งต้องเอกสารหารือกันให้รอบครอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่าปัญหาใหญ่ขนาดนี้จะกระทบการทำงานของรัฐบาลหรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า รัฐบาลก็ทำงานไป คงไม่คิดว่ากระทบกระเทือน เพราะการทำงาน ที่ผ่านมาทำไปโดยมีข้อมูลเรียบร้อย แต่เมื่อมีปัญหาข้อขัดแย้งเกิดขึ้นมาก็ต้องมาดูกัน เพื่อแก้ไขปัญหา เมื่อถามว่าการที่ศาลมีคำสั่งแบบนี้ถือว่ารัฐบาลทำงานผิดพลาด หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า มันถือไม่ได้ ต้องไปวิเคราะห์กันก่อน อย่างที่เรียนแล้ว ทุกอย่างที่ทำไปข้อมูลมันพร้อม แต่ความขัดแย้งในบ้านเมืองเรายังมีอยู่ เราก็เอาไปดูให้รอบครอบ ไม่ใช่ว่าผิดพลาด
สำหรับความชัดเจนในการอุทธรณ์คำสั่งศาลปกคาองนั้น นายสมชาย กล่าวว่า ต้องปรึกษากันก่อนเสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไร เมื่อถามว่าต้องรอการกลับมาของนายกฯ หรือไม่ นายสมชาย กล่าวว่า อาจจะถึงขนาดนั้นเพราะเรื่องไรที่เป็นการตัดสินใจ ในสิ่งที่ สำคัญท่านควรจะมีส่วนในการรับทราบในฐานะผู้บัญชาการ พวกเราทำในสิ่งที่คิดว่า ทำได้และไม่มีปัญหาไปก่อน