ผู้จัดการรายวัน- "องคมนตรี" ชี้สังคม การเมืองไทย กำลังเสื่อมถอยอย่างหนัก เพราะคนไร้จิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรม มีการซื้อสิทธิ ขายเสียง ในการเลือกตั้งทุกระดับ ประมูลซื้อขายตำแหน่ง เลี่ยงภาษี เป็นสังคมวัตถุนิยม เห่อคนร่ำรวย คนมีอำนาจ ชี้ชัดๆ"รัฐบาลทักษิณ" ทุจริต แก้กฎหมาย เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มทุนโทรคมนาคม เรียกร้องประชาชนต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ กำหนดเรื่องให้ยึดมั่นในความถูกต้อง ชอบธรรม เป็นวาระแห่งชาติ ทำแผนพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรม บรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับชั้น ย้ำหากประเทศไทยมี "มาตรการคว่ำบาตร กำจัดคนชั่ว ไม่ให้มีโอกาสทำชั่ว" จะเหลือนักการเมืองสักกี่คน
วานนี้ (31 ก.ค.) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี กล่าวในการสัมมนา "การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 " ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้กำหนดให้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับหน่วยงานรัฐมีจุดอ่อน คือ ไม่มีสภาพบังคับ โทษสำหรับผู้ฝ่าผืน มีเพียงการตำหนิหรือประณาม ซึ่งไม่พอ เหมือนเด็กเล่นขายของ ทำให้ประมวลจริยธรรมเป็นแค่เสือกระดาษ ต่อมารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ได้กำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงของการกระทำ
ทั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า เหตุที่รัฐธรรมนูญต้องกำหนดให้มีประมวลจริยธรรม เพราะสังคมของเราประสบปัญหาเกี่ยวกับจิตสำนึกด้านจริยธรรมมากมาย มีการซื้อสิทธิ ขายเสียงในการเลือกตั้ง ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น มีการประมูลซื้อขายตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่วนภาคเอกชนก็สมยอมราคา ในการประมูลโครงการต่างๆ แม้แต่ประชาชนก็หลบเลี่ยงภาษีอากร
"การทุจริตได้พัฒนารูปแบบจากผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เช่น การออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม โดยอ้างความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ โดยมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลทักษิณ เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มทุนโทรคมนาคมเดิม แต่เป็นการสร้างกำแพงกีดกั้นผู้ประกอบการรายใหม่"
นายธานินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของประชาชน มีคนจำนวนไม่น้อย มีทัศนะคติว่า โกงกินบ้างไม่เป็นไร ขอให้มีผลงานก็พอ และมองว่า ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนโง่ที่ถูกเอาเปรียบ คนทุจริตต่างหากที่เป็นคนเก่งและเอาตัวรอดได้ในสังคมยุคใหม่ ทำให้สังคมไทย เป็นสังคมวัตถุนิยมที่เห่อคนร่ำรวย คนมีอำนาจ หวังพึ่งพาโดยไม่คำนึงว่า เขาร่ำรวยหรือมีอำนาจมาอย่างไร ทางแก้คือ ต้องทำให้ผู้บริหารเป็นคนดี แต่ยังหาไม่ได้ เพราะมีแต่พวกมือถือสาก
นายธานินทร์ กล่าวว่า ในประเทศอังกฤษมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มงวดมาก ในอดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ถูกครหาว่าสนิทสนมกับพ่อค้าชื่อเสียงไม่ดี โดยทั้งสองเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่อนุบาล จากการสอบสวน แม้รัฐมนตรีช่วยฯ ไม่เคยรับสินบน แต่เคยได้รับการเลี้ยงดูเรื่องอาหาร และเสื้อผ้าจากเพื่อนก็ต้องถูกบังคับให้ลาออก โดยวงการการเมืองอังกฤษหากรัฐมนตรีคนใดออกจากสภาโดยมีมลทินมัวหมอง จะไม่มีทางหวนกลับสู่สภาอีก ซึ่งเป็นมาตรการคว่ำบาตร กำจัดคนชั่วไม่ให้มีโอกาสทำชั่วอีก มาตรการทางสังคมเช่นนี้ ถ้านำมาใช้กับการเมืองไทย ลองคิดดูเอาเองว่าจะเหลือสักกี่คน
ทั้งนี้ ประมวลจริยธรรมไม่อาจแก้ไข หรือควบคุมจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และจนท.รัฐได้ทุกเรื่อง เพราะกฎหมายไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม หรือนิสัยคนได้ ยิ่งมีกฏหมายมากเท่าไร จะยิ่งมีช่องว่าง สำหรับผู้มีจิตใจคิดจะโกงมากเท่านั้น ทางแก้ไข ประชาชนต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ ให้ความสำคัญ และพิถีพิถันเลือกสรรผู้มีศีลธรรม และยึดถือความถูกต้องชอบธรรมให้มารับผิดชอบทางการเมือง ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เปรียบเสมือนการร่อนทอง ที่ต้องค่อยๆ คัดเอาเศษหินเศษดินออก และค่อยๆ จนกระทั่งได้ทองบริสุทธิ์จริงๆ
นายธานินทร์ เชื่อว่า สัจธรรมในระบอบประชาธิปไตย ที่ว่าหากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นบุคคลประเภทใด ก็จะได้คนประเภทเดียวกันเข้ามาเป็นรัฐบาลปกครอง จึงอยากถามว่า พอใจในวัฒนธรรมการเมืองไทยขณะนี้ หรือไม่พอใจในจิตสำนึกตัวเอง และเพื่อนร่วมชาติ ในแง่ของการตระหนักในฐานะหน้าที่ของบ้านเมืองหรือไม่
ขณะที่การเลือกตั้งที่จะเรียกว่า เป็นเสียงประชาชน ต้องไม่มาจากการซื้อเสียง ถ้าซื้อเสียงต้องเรียกว่า เสียงน้ำเงินกระแสสังคม ต้องใช้วิจารณญาณควบคู่
"การตัดสินคดีอาญา ผิดก็คือผิด ถูกคือถูก ไม่ใช่เอาเสียงข้างมากมาตัดสินความอยู่รอดของบ้านเมือง อยู่ตรงนี้ และเพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์สังคมไทยขณะนี้ จำเป็นต้องกำหนดเรื่องความยึดมั่น ถูกต้อง ชอบธรรมให้เป็นคติประจำชาติ จัดให้เป็นวาระแห่งชาติ มีการทำแผนพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรม ในสังคมทุกระดับ และบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับชั้น และมีการติดตามประเมินผลด้านจริยธรรม คุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ"
นายธานินทร์ ยอมรับว่า ต้องมีการให้รางวัลเชิดชูเกียรติ แก่ผู้ประกอบคุณงามความดี เพื่อเสริมสร้าง ขวัญและกำลังใจ ที่ผ่านมาจุดอ่อนของการรณรงค์ และจัดกิจกรรมคุณธรรมและจริยธรรมของรัฐบาล คือทำได้เพียงลุ่มๆ ดอนๆ บางรัฐบาล อาจสนับสนุนเต็มที่ บางรัฐบาลก็อนุเคราะห์อย่างเสียไม่ได้ หรือไม่สนับสนุนเลย เพราะอาจไปขัดแย้งกับนโยบาย หรือผลประโยชน์อันมิชอบ ของบุคคลบางกลุ่ม ดังนั้น เพื่อให้มีผลในการปฏิบัติระยะยาว ควรกำหนดให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กำหนดยุทธศาสตร์ในการรณรงค์เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชนผ่านกระบวนการตราเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อให้มีผลบังคับเป็นกฏหมาย
วานนี้ (31 ก.ค.) นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี กล่าวในการสัมมนา "การดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 " ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้กำหนดให้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับหน่วยงานรัฐมีจุดอ่อน คือ ไม่มีสภาพบังคับ โทษสำหรับผู้ฝ่าผืน มีเพียงการตำหนิหรือประณาม ซึ่งไม่พอ เหมือนเด็กเล่นขายของ ทำให้ประมวลจริยธรรมเป็นแค่เสือกระดาษ ต่อมารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ได้กำหนดขั้นตอนการลงโทษตามความร้ายแรงของการกระทำ
ทั้งนี้อยากชี้ให้เห็นว่า เหตุที่รัฐธรรมนูญต้องกำหนดให้มีประมวลจริยธรรม เพราะสังคมของเราประสบปัญหาเกี่ยวกับจิตสำนึกด้านจริยธรรมมากมาย มีการซื้อสิทธิ ขายเสียงในการเลือกตั้ง ทั้งระดับชาติและท้องถิ่น มีการประมูลซื้อขายตำแหน่งหน้าที่ราชการ ส่วนภาคเอกชนก็สมยอมราคา ในการประมูลโครงการต่างๆ แม้แต่ประชาชนก็หลบเลี่ยงภาษีอากร
"การทุจริตได้พัฒนารูปแบบจากผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย เช่น การออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อเก็บภาษีสรรพสามิตจากกิจการโทรคมนาคม โดยอ้างความจำเป็นด้านเศรษฐกิจ โดยมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลทักษิณ เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มทุนโทรคมนาคมเดิม แต่เป็นการสร้างกำแพงกีดกั้นผู้ประกอบการรายใหม่"
นายธานินทร์ กล่าวว่า ในส่วนของประชาชน มีคนจำนวนไม่น้อย มีทัศนะคติว่า โกงกินบ้างไม่เป็นไร ขอให้มีผลงานก็พอ และมองว่า ซื่อสัตย์สุจริต เป็นคนโง่ที่ถูกเอาเปรียบ คนทุจริตต่างหากที่เป็นคนเก่งและเอาตัวรอดได้ในสังคมยุคใหม่ ทำให้สังคมไทย เป็นสังคมวัตถุนิยมที่เห่อคนร่ำรวย คนมีอำนาจ หวังพึ่งพาโดยไม่คำนึงว่า เขาร่ำรวยหรือมีอำนาจมาอย่างไร ทางแก้คือ ต้องทำให้ผู้บริหารเป็นคนดี แต่ยังหาไม่ได้ เพราะมีแต่พวกมือถือสาก
นายธานินทร์ กล่าวว่า ในประเทศอังกฤษมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีความเข้มงวดมาก ในอดีตรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ถูกครหาว่าสนิทสนมกับพ่อค้าชื่อเสียงไม่ดี โดยทั้งสองเป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่อนุบาล จากการสอบสวน แม้รัฐมนตรีช่วยฯ ไม่เคยรับสินบน แต่เคยได้รับการเลี้ยงดูเรื่องอาหาร และเสื้อผ้าจากเพื่อนก็ต้องถูกบังคับให้ลาออก โดยวงการการเมืองอังกฤษหากรัฐมนตรีคนใดออกจากสภาโดยมีมลทินมัวหมอง จะไม่มีทางหวนกลับสู่สภาอีก ซึ่งเป็นมาตรการคว่ำบาตร กำจัดคนชั่วไม่ให้มีโอกาสทำชั่วอีก มาตรการทางสังคมเช่นนี้ ถ้านำมาใช้กับการเมืองไทย ลองคิดดูเอาเองว่าจะเหลือสักกี่คน
ทั้งนี้ ประมวลจริยธรรมไม่อาจแก้ไข หรือควบคุมจริยธรรมผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และจนท.รัฐได้ทุกเรื่อง เพราะกฎหมายไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรม หรือนิสัยคนได้ ยิ่งมีกฏหมายมากเท่าไร จะยิ่งมีช่องว่าง สำหรับผู้มีจิตใจคิดจะโกงมากเท่านั้น ทางแก้ไข ประชาชนต้องมีจิตสำนึกสาธารณะ ให้ความสำคัญ และพิถีพิถันเลือกสรรผู้มีศีลธรรม และยึดถือความถูกต้องชอบธรรมให้มารับผิดชอบทางการเมือง ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ เปรียบเสมือนการร่อนทอง ที่ต้องค่อยๆ คัดเอาเศษหินเศษดินออก และค่อยๆ จนกระทั่งได้ทองบริสุทธิ์จริงๆ
นายธานินทร์ เชื่อว่า สัจธรรมในระบอบประชาธิปไตย ที่ว่าหากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศเป็นบุคคลประเภทใด ก็จะได้คนประเภทเดียวกันเข้ามาเป็นรัฐบาลปกครอง จึงอยากถามว่า พอใจในวัฒนธรรมการเมืองไทยขณะนี้ หรือไม่พอใจในจิตสำนึกตัวเอง และเพื่อนร่วมชาติ ในแง่ของการตระหนักในฐานะหน้าที่ของบ้านเมืองหรือไม่
ขณะที่การเลือกตั้งที่จะเรียกว่า เป็นเสียงประชาชน ต้องไม่มาจากการซื้อเสียง ถ้าซื้อเสียงต้องเรียกว่า เสียงน้ำเงินกระแสสังคม ต้องใช้วิจารณญาณควบคู่
"การตัดสินคดีอาญา ผิดก็คือผิด ถูกคือถูก ไม่ใช่เอาเสียงข้างมากมาตัดสินความอยู่รอดของบ้านเมือง อยู่ตรงนี้ และเพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์สังคมไทยขณะนี้ จำเป็นต้องกำหนดเรื่องความยึดมั่น ถูกต้อง ชอบธรรมให้เป็นคติประจำชาติ จัดให้เป็นวาระแห่งชาติ มีการทำแผนพัฒนาคุณธรรม และจริยธรรม ในสังคมทุกระดับ และบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอนทุกระดับชั้น และมีการติดตามประเมินผลด้านจริยธรรม คุณธรรมอย่างสม่ำเสมอ"
นายธานินทร์ ยอมรับว่า ต้องมีการให้รางวัลเชิดชูเกียรติ แก่ผู้ประกอบคุณงามความดี เพื่อเสริมสร้าง ขวัญและกำลังใจ ที่ผ่านมาจุดอ่อนของการรณรงค์ และจัดกิจกรรมคุณธรรมและจริยธรรมของรัฐบาล คือทำได้เพียงลุ่มๆ ดอนๆ บางรัฐบาล อาจสนับสนุนเต็มที่ บางรัฐบาลก็อนุเคราะห์อย่างเสียไม่ได้ หรือไม่สนับสนุนเลย เพราะอาจไปขัดแย้งกับนโยบาย หรือผลประโยชน์อันมิชอบ ของบุคคลบางกลุ่ม ดังนั้น เพื่อให้มีผลในการปฏิบัติระยะยาว ควรกำหนดให้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่กำหนดยุทธศาสตร์ในการรณรงค์เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการองค์กร ทั้งภาครัฐ และเอกชนผ่านกระบวนการตราเป็นพระราชบัญญัติ เพื่อให้มีผลบังคับเป็นกฏหมาย