“There are Two Ways of Getting into the Cabinet – You can Crawl in or Kick Your Way in.” Aneurin Bevan
Aneurin Bevan (1897-1960) อดีตรัฐมนตรีของอังกฤษ (1945-1951) กล่าวว่าหนทางเข้าสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีมี 2 ทาง ทางหนึ่ง คือ คลานเข้าหา อีกทางหนึ่ง คือเตะฝ่าเข้าไป
รมต.ไทยต้องคลานเข้าไปอย่างที่ Bevan ว่าหรือไม่ การเมืองไทยต่างกับอังกฤษอย่างไร ต้องดูไทยเข้มแข็งพ่นพิษที่สาธารณสุข และการปรับ ครม.ครั้งใหม่
เรื่องนี้ถ้าเป็นการเมืองอังกฤษ ก็จะต้องมีชื่อว่า ฝ่ายค้านกับรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว
ฝ่ายค้านของพระเจ้าอยู่หัวหมายความถึงหัวหน้าฝ่ายค้านที่มีตำแหน่งเป็นทางการเช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี Her Majesty’s Loyal Opposition Leader กับพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งมี ส.ส.แถวหน้าและ ส.ส.แถวหลัง (Front Benchers and Back-Benchers) แถวหน้าได้แก่รัฐมนตรีเงา (Shadow Cabinet ) และส.ส.อาวุโส แถวหลังก็คือ ส.ส.ธรรมดาซึ่งนั่งอยู่เก้าอี้หลังๆ
พระเจ้าอยู่หัวคือ Queen Elizabeth II ในปัจจุบัน รัฐบาลของสมเด็จพระนางเจ้า Her Majesty’s Government ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีใน ครม. (Ministers in Cabinet) และรัฐมนตรีนอก ครม. (Non-Cabinet Ministers)
สะดุดตรงนี้ ผมขอเรียนเสียเลยว่ารัฐบาลของระบบพรรคการเมืองพัฒนาแบบอังกฤษ เขาไม่มี ครม.ใหญ่โตมโหระทึกอย่างของเรา ครม.เขาห้ามเกิน 24 คน บางรัฐบาลไม่มีรองนายกฯ ด้วยซ้ำ ถ้ามีก็คนเดียวมิใช่เกือบครึ่งโหลจากนักการเมืองโหลๆแบบของเรา
ในอังกฤษรัฐมนตรีช่วย ไม่ได้อยู่และไม่ได้เข้าประชุม ครม.แปลว่าไม่ได้เป็น Cabinet Member และรัฐมนตรีว่าการบางกระทรวงก็เช่นเดียวกัน
ทั้งๆ ที่อังกฤษใหญ่โตและมีภารกิจมากกว่าไทย ทำไมเขาจึงด้อยพัฒนาป่าเถื่อนถึงเพียงนี้ ไม่รู้จักทฤษฎีสมบัติผลัดกันชมของไทย หรือทฤษฎี “เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง” ของบรรหาร ศิลปอาชา กันเสียเลย
สังคมไทยถูกหลอกมานานโดยนักวิชาการ สื่อ และนักการเมืองว่าระบบของเราเหมือนอังกฤษ ความจริงและข้อเท็จจริงกลับต่างกันราวฟ้ากับดิน
1. เรากับเขามีพระเจ้าแผ่นดินเหมือนกัน แต่กษัตริย์อังกฤษตามหลักรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยและจารีตประเพณีมีอำนาจทั่วไป (General Power) อำนาจพิเศษ(Prerogative Power) และอำนาจสำรอง (Reserve Power) แต่ของเรา แม้พระราชอำนาจทั่วไปในการให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ และตักเตือนรัฐบาลผ่านการเฝ้าฯ ของนายกฯ ทุกสัปดาห์ ก็ยังไม่มี ในหลวงจึงต้องทรงเสี่ยงระงับวิกฤตของชาติเป็นคราวๆ ไป ทั้งๆ ที่พระบรมเดชานุภาพและปัญญาบารมีสามารถช่วยป้องกันวิกฤตให้ชาติได้
ของเขาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข ของเราเป็นเผด็จการและคณาธิปไตยเลือกตั้งสลับกัน แต่เบียดบังพระราชอำนาจทั้งคู่
2. เรากับเขามีระบบ 2 สภาเหมือนกัน แต่ House of Lords หรือสภาสูงกษัตริย์แต่งตั้งจากขุนนางสืบสายโลหิต Life Peer และบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอขึ้นเป็น Peer ตามสิทธิของแต่ละพรรค ของเขากำลังอยากปฏิรูป แต่ของเราปฏิรูปแล้วปฏิรูปเล่าก็ยังเหลว
3. Westminster หรือสภาของเขาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใหญ่โต แต่เขาไม่มีวันย้ายหรือสร้างใหม่ เขาว่าดูขลังดีเวลามีเรื่องใหญ่ที่ประชุมจะล้นเพราะที่นั่งไม่พอ แต่ที่แน่ๆ ไม่มีใครคอยกินคอมมิชชันหรือเป็นทาสวัฒนธรรมบ้าก่อสร้าง
4. ระบบพรรคการเมืองของเขาเป็นพรรคจริงๆ ของเราเป็นแก๊งเลือกตั้งหรือพรรคหัวหน้าตั้งจึงไม่ยั่งยืน ขึ้นกับบารมีหัวหน้า มีสัมภเวสีหรือเปรตขอส่วนบุญเป็นส.ส.สภาจกเปรต ชนะไหนเข้าด้วยช่วยกระพือ ย้ายจนจำชื่อพรรคไม่ได้ทั้งลูกน้องและหัวหน้า รัฐบาลของเราเป็นรัฐบาลชั่วคราวตลอดเวลา ใครขึ้นมาใหม่ก็รื้อของเก่า ทำให้ไม่น่าเชื่อถือทั้งรัฐบาลและตัวรัฐมนตรี
5. พรรคเป็นที่เรียนรู้การเมือง บางคนก็เริ่มตั้งแต่เป็นเยาวชนหรืออยู่ในองค์กรพันธมิตรของพรรค เป็นฐานให้ไต่เต้าแข่งขันกันเชิงนโยบายและความเป็นผู้นำ มิใช่คอยเข้าคิวกันเป็นรัฐมนตรีตามอาวุโสของการเป็นผู้แทน
6. นโยบายของพรรคเป็น “สัญญาประชาคม” ที่ตรวจสอบได้ว่าสำเร็จหรือล้มเหลวเวลาเป็นรัฐบาล แต่ละนโยบายมาจากความคิด ความต้องการ ปัญหาและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเลือกตั้ง ซึ่งพรรคต้องสำรวจ สดับตรับฟังและเข้าร่วมประชุมในระดับเขต และนำเข้าที่ประชุมประจำปีของพรรค เพื่อกลั่นกรองและผนึกผนวกเข้าไปเป็นชั้นๆ และนำมาประกาศใน Party Manifesto หรือคำสัญญาของพรรคในตอนเลือกตั้ง
แต่ละนโยบายมีเสียงข้างมาก ข้างน้อย และเสียงชายขอบเป็นการต่อสู้กันภายในพรรค ใครเป็นผู้นำเสียงข้างมากเรื่องใด เช่น การศึกษา การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ ก็ให้จับตาคนนั้นๆ ไว้ ว่าจะได้ไปนั่งแถวหน้า เป็นรัฐมนตรีเงา และรัฐมนตรีเมื่อพรรคชนะเลือกตั้ง ต่างกับคำโกหกที่ลอกจากนโยบายแห่งรัฐหรือสภาพัฒน์ และมาปรับเอาตามสถานการณ์เวลาตั้งรัฐบาลเป็นคราวๆ
7. รมต.อังกฤษทุกคนเป็นผู้ช่วยของนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นเต้ยในบรรดาผู้ที่เสมอกัน (First Among Equals) มีความรับผิดชอบร่วมกัน (Collective Responsibilty) ภายใต้การนำของนายกฯ ไม่ใช่นายกฯ พูดอย่างหนึ่ง พรรคภูมิใจไทยขึ้นป้ายยักษ์อีกอย่าง หรือขัดขวางอำนาจนายกฯ เรื่องการแต่งตั้ง
Lord Home (1903-1995) นายกฯ นอกสภาที่ Queen Elizabeth ใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (18 October 1963 – 16 October 1964) กล่าวว่า “Every Cabinet Minister is the Prime Minister’s assistant. A Minister’s job is to save the Prime Minister all the work he can. But no Minister could make a really important move without consulting the Prime Minister, and if the Prime Minister wanted to take a certain step the Cabinet Minister concerned would either have to agree, argue it out in Cabinet, or Resign.” สรุปว่า รมต.ต้องทำตาม หรือถ้าจะแย้งนายกฯ ก็ได้เฉพาะในที่ประชุม ครม.ไม่งั้นก็ต้องลาออก ดูชวรัตน์หรือซาเล้งของเราซิ
8. นาย Bevan เวอร์ไปตามประสาคนปากโป้ง คนที่คลานเข้าไปขอตำแหน่งก็คงจะมีบ้าง แต่อย่างน้อยก็ต้องมีคุณสมบัติทัดเทียมกับคู่แข่ง ตามธรรมดาการเตะฝ่าก็คือการไต่เต้าเข้าสู่ตำแหน่งตามขั้นตอนที่ผมว่ามาแล้ว เมื่อพิสูจน์ตนเองจนประชาชนหนุน เพื่อน ส.ส.ดัน นายกฯ ก็ย่อมจะต้อง “ดึง” ขึ้นมา จึงมีคำอธิบายเป็นที่รู้กันในอังกฤษว่า “The Cabinet Chooses Itself หรือครม.ตั้งตัวเอง” ข้อยกเว้นมีน้อยมากที่รัฐมนตรีเงาจะมิได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ เมื่อพรรคเป็นรัฐบาล ใครจะได้ตำแหน่งใดเมื่อไหร่ก็รู้ล่วงหน้านาน
9. แต่ด่านสุดท้ายก็คือพระราชอำนาจ ที่พระราชินีอาจจดหมายหรือบอกนายกฯ ว่าคนนี้ไม่เหมาะสม คนนี้ควรสับไปกระทรวงโน้น ไม่ควรควบ 2 ตำแหน่ง หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งนานๆ จะเกิดสักครั้ง แต่รวมๆ กันก็มีไม่น้อย ทำให้ทุกฝ่ายต้องระวังไม่ส่งอะไรชุ่ยๆ ขึ้นไปขอโปรดเกล้าฯ กรณีอย่างมานิตจำลาออกและตั้งเลขาฯ ตนแทนไม่มีทางเกิดขึ้น
ย้อนกลับมาที่ชื่อบทความ ผมหมายถึงประเทศไทยโดยเฉพาะ
ฝ่ายค้านของพระมหากษัตริย์ หมายถึงพรรคที่มีเสียงตั้งรัฐบาลได้ แต่ไม่ออกกฎหมายเลย ครั้นตกเป็นฝ่ายค้าน ก็ตั้งหัวหน้าฝ่ายค้านตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะถูกคุมโดยคนนอกผู้นำและส.ส.ส่วนหนึ่งของพรรค ปฏิบัติการร่วมกับผู้นำจลาจลรากหญ้าและสื่อวิทยุทีวีสีแดง กิจหลักคือการต่อต้านสถาบันกษัตริย์และกรุยทางล้างมลทินให้ผู้นำของตนกลับขึ้นบัลลังก์
รัฐมนตรีของพรรค คือ ครม.พรรคร่วม ซึ่งไม่ทราบว่าเต็มใจแต่ไร้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่รัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวที่แท้จริง อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง
จนกระทั่งวันนี้ ที่ในหลวงทรงห่วง เกรงบ้านเมืองจะล่มจม ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน อย่างไร ก็ยังไม่มีคำตอบ
Aneurin Bevan (1897-1960) อดีตรัฐมนตรีของอังกฤษ (1945-1951) กล่าวว่าหนทางเข้าสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีมี 2 ทาง ทางหนึ่ง คือ คลานเข้าหา อีกทางหนึ่ง คือเตะฝ่าเข้าไป
รมต.ไทยต้องคลานเข้าไปอย่างที่ Bevan ว่าหรือไม่ การเมืองไทยต่างกับอังกฤษอย่างไร ต้องดูไทยเข้มแข็งพ่นพิษที่สาธารณสุข และการปรับ ครม.ครั้งใหม่
เรื่องนี้ถ้าเป็นการเมืองอังกฤษ ก็จะต้องมีชื่อว่า ฝ่ายค้านกับรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว
ฝ่ายค้านของพระเจ้าอยู่หัวหมายความถึงหัวหน้าฝ่ายค้านที่มีตำแหน่งเป็นทางการเช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี Her Majesty’s Loyal Opposition Leader กับพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งมี ส.ส.แถวหน้าและ ส.ส.แถวหลัง (Front Benchers and Back-Benchers) แถวหน้าได้แก่รัฐมนตรีเงา (Shadow Cabinet ) และส.ส.อาวุโส แถวหลังก็คือ ส.ส.ธรรมดาซึ่งนั่งอยู่เก้าอี้หลังๆ
พระเจ้าอยู่หัวคือ Queen Elizabeth II ในปัจจุบัน รัฐบาลของสมเด็จพระนางเจ้า Her Majesty’s Government ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีใน ครม. (Ministers in Cabinet) และรัฐมนตรีนอก ครม. (Non-Cabinet Ministers)
สะดุดตรงนี้ ผมขอเรียนเสียเลยว่ารัฐบาลของระบบพรรคการเมืองพัฒนาแบบอังกฤษ เขาไม่มี ครม.ใหญ่โตมโหระทึกอย่างของเรา ครม.เขาห้ามเกิน 24 คน บางรัฐบาลไม่มีรองนายกฯ ด้วยซ้ำ ถ้ามีก็คนเดียวมิใช่เกือบครึ่งโหลจากนักการเมืองโหลๆแบบของเรา
ในอังกฤษรัฐมนตรีช่วย ไม่ได้อยู่และไม่ได้เข้าประชุม ครม.แปลว่าไม่ได้เป็น Cabinet Member และรัฐมนตรีว่าการบางกระทรวงก็เช่นเดียวกัน
ทั้งๆ ที่อังกฤษใหญ่โตและมีภารกิจมากกว่าไทย ทำไมเขาจึงด้อยพัฒนาป่าเถื่อนถึงเพียงนี้ ไม่รู้จักทฤษฎีสมบัติผลัดกันชมของไทย หรือทฤษฎี “เป็นฝ่ายค้านอดอยากปากแห้ง” ของบรรหาร ศิลปอาชา กันเสียเลย
สังคมไทยถูกหลอกมานานโดยนักวิชาการ สื่อ และนักการเมืองว่าระบบของเราเหมือนอังกฤษ ความจริงและข้อเท็จจริงกลับต่างกันราวฟ้ากับดิน
1. เรากับเขามีพระเจ้าแผ่นดินเหมือนกัน แต่กษัตริย์อังกฤษตามหลักรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยและจารีตประเพณีมีอำนาจทั่วไป (General Power) อำนาจพิเศษ(Prerogative Power) และอำนาจสำรอง (Reserve Power) แต่ของเรา แม้พระราชอำนาจทั่วไปในการให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ และตักเตือนรัฐบาลผ่านการเฝ้าฯ ของนายกฯ ทุกสัปดาห์ ก็ยังไม่มี ในหลวงจึงต้องทรงเสี่ยงระงับวิกฤตของชาติเป็นคราวๆ ไป ทั้งๆ ที่พระบรมเดชานุภาพและปัญญาบารมีสามารถช่วยป้องกันวิกฤตให้ชาติได้
ของเขาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีกษัตริย์เป็นประมุข ของเราเป็นเผด็จการและคณาธิปไตยเลือกตั้งสลับกัน แต่เบียดบังพระราชอำนาจทั้งคู่
2. เรากับเขามีระบบ 2 สภาเหมือนกัน แต่ House of Lords หรือสภาสูงกษัตริย์แต่งตั้งจากขุนนางสืบสายโลหิต Life Peer และบุคคลที่พรรคการเมืองเสนอขึ้นเป็น Peer ตามสิทธิของแต่ละพรรค ของเขากำลังอยากปฏิรูป แต่ของเราปฏิรูปแล้วปฏิรูปเล่าก็ยังเหลว
3. Westminster หรือสภาของเขาเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่ใหญ่โต แต่เขาไม่มีวันย้ายหรือสร้างใหม่ เขาว่าดูขลังดีเวลามีเรื่องใหญ่ที่ประชุมจะล้นเพราะที่นั่งไม่พอ แต่ที่แน่ๆ ไม่มีใครคอยกินคอมมิชชันหรือเป็นทาสวัฒนธรรมบ้าก่อสร้าง
4. ระบบพรรคการเมืองของเขาเป็นพรรคจริงๆ ของเราเป็นแก๊งเลือกตั้งหรือพรรคหัวหน้าตั้งจึงไม่ยั่งยืน ขึ้นกับบารมีหัวหน้า มีสัมภเวสีหรือเปรตขอส่วนบุญเป็นส.ส.สภาจกเปรต ชนะไหนเข้าด้วยช่วยกระพือ ย้ายจนจำชื่อพรรคไม่ได้ทั้งลูกน้องและหัวหน้า รัฐบาลของเราเป็นรัฐบาลชั่วคราวตลอดเวลา ใครขึ้นมาใหม่ก็รื้อของเก่า ทำให้ไม่น่าเชื่อถือทั้งรัฐบาลและตัวรัฐมนตรี
5. พรรคเป็นที่เรียนรู้การเมือง บางคนก็เริ่มตั้งแต่เป็นเยาวชนหรืออยู่ในองค์กรพันธมิตรของพรรค เป็นฐานให้ไต่เต้าแข่งขันกันเชิงนโยบายและความเป็นผู้นำ มิใช่คอยเข้าคิวกันเป็นรัฐมนตรีตามอาวุโสของการเป็นผู้แทน
6. นโยบายของพรรคเป็น “สัญญาประชาคม” ที่ตรวจสอบได้ว่าสำเร็จหรือล้มเหลวเวลาเป็นรัฐบาล แต่ละนโยบายมาจากความคิด ความต้องการ ปัญหาและการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตเลือกตั้ง ซึ่งพรรคต้องสำรวจ สดับตรับฟังและเข้าร่วมประชุมในระดับเขต และนำเข้าที่ประชุมประจำปีของพรรค เพื่อกลั่นกรองและผนึกผนวกเข้าไปเป็นชั้นๆ และนำมาประกาศใน Party Manifesto หรือคำสัญญาของพรรคในตอนเลือกตั้ง
แต่ละนโยบายมีเสียงข้างมาก ข้างน้อย และเสียงชายขอบเป็นการต่อสู้กันภายในพรรค ใครเป็นผู้นำเสียงข้างมากเรื่องใด เช่น การศึกษา การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจ ก็ให้จับตาคนนั้นๆ ไว้ ว่าจะได้ไปนั่งแถวหน้า เป็นรัฐมนตรีเงา และรัฐมนตรีเมื่อพรรคชนะเลือกตั้ง ต่างกับคำโกหกที่ลอกจากนโยบายแห่งรัฐหรือสภาพัฒน์ และมาปรับเอาตามสถานการณ์เวลาตั้งรัฐบาลเป็นคราวๆ
7. รมต.อังกฤษทุกคนเป็นผู้ช่วยของนายกรัฐมนตรี ผู้เป็นเต้ยในบรรดาผู้ที่เสมอกัน (First Among Equals) มีความรับผิดชอบร่วมกัน (Collective Responsibilty) ภายใต้การนำของนายกฯ ไม่ใช่นายกฯ พูดอย่างหนึ่ง พรรคภูมิใจไทยขึ้นป้ายยักษ์อีกอย่าง หรือขัดขวางอำนาจนายกฯ เรื่องการแต่งตั้ง
Lord Home (1903-1995) นายกฯ นอกสภาที่ Queen Elizabeth ใช้พระราชอำนาจแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี (18 October 1963 – 16 October 1964) กล่าวว่า “Every Cabinet Minister is the Prime Minister’s assistant. A Minister’s job is to save the Prime Minister all the work he can. But no Minister could make a really important move without consulting the Prime Minister, and if the Prime Minister wanted to take a certain step the Cabinet Minister concerned would either have to agree, argue it out in Cabinet, or Resign.” สรุปว่า รมต.ต้องทำตาม หรือถ้าจะแย้งนายกฯ ก็ได้เฉพาะในที่ประชุม ครม.ไม่งั้นก็ต้องลาออก ดูชวรัตน์หรือซาเล้งของเราซิ
8. นาย Bevan เวอร์ไปตามประสาคนปากโป้ง คนที่คลานเข้าไปขอตำแหน่งก็คงจะมีบ้าง แต่อย่างน้อยก็ต้องมีคุณสมบัติทัดเทียมกับคู่แข่ง ตามธรรมดาการเตะฝ่าก็คือการไต่เต้าเข้าสู่ตำแหน่งตามขั้นตอนที่ผมว่ามาแล้ว เมื่อพิสูจน์ตนเองจนประชาชนหนุน เพื่อน ส.ส.ดัน นายกฯ ก็ย่อมจะต้อง “ดึง” ขึ้นมา จึงมีคำอธิบายเป็นที่รู้กันในอังกฤษว่า “The Cabinet Chooses Itself หรือครม.ตั้งตัวเอง” ข้อยกเว้นมีน้อยมากที่รัฐมนตรีเงาจะมิได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงนั้นๆ เมื่อพรรคเป็นรัฐบาล ใครจะได้ตำแหน่งใดเมื่อไหร่ก็รู้ล่วงหน้านาน
9. แต่ด่านสุดท้ายก็คือพระราชอำนาจ ที่พระราชินีอาจจดหมายหรือบอกนายกฯ ว่าคนนี้ไม่เหมาะสม คนนี้ควรสับไปกระทรวงโน้น ไม่ควรควบ 2 ตำแหน่ง หรือไม่ทรงลงพระปรมาภิไธย ซึ่งนานๆ จะเกิดสักครั้ง แต่รวมๆ กันก็มีไม่น้อย ทำให้ทุกฝ่ายต้องระวังไม่ส่งอะไรชุ่ยๆ ขึ้นไปขอโปรดเกล้าฯ กรณีอย่างมานิตจำลาออกและตั้งเลขาฯ ตนแทนไม่มีทางเกิดขึ้น
ย้อนกลับมาที่ชื่อบทความ ผมหมายถึงประเทศไทยโดยเฉพาะ
ฝ่ายค้านของพระมหากษัตริย์ หมายถึงพรรคที่มีเสียงตั้งรัฐบาลได้ แต่ไม่ออกกฎหมายเลย ครั้นตกเป็นฝ่ายค้าน ก็ตั้งหัวหน้าฝ่ายค้านตามรัฐธรรมนูญไม่ได้ เพราะถูกคุมโดยคนนอกผู้นำและส.ส.ส่วนหนึ่งของพรรค ปฏิบัติการร่วมกับผู้นำจลาจลรากหญ้าและสื่อวิทยุทีวีสีแดง กิจหลักคือการต่อต้านสถาบันกษัตริย์และกรุยทางล้างมลทินให้ผู้นำของตนกลับขึ้นบัลลังก์
รัฐมนตรีของพรรค คือ ครม.พรรคร่วม ซึ่งไม่ทราบว่าเต็มใจแต่ไร้ความสามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่รัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวที่แท้จริง อย่างหนึ่งอย่างใดหรือทั้งสองอย่าง
จนกระทั่งวันนี้ ที่ในหลวงทรงห่วง เกรงบ้านเมืองจะล่มจม ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน อย่างไร ก็ยังไม่มีคำตอบ