ผมมีโอกาสฟังการแถลงนโยบายของรัฐบาลสมัครเพียงกระท่อนกระแท่น แต่ก็รู้สึกจริงจังว่า มาตรฐานของการอภิปรายทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านดูจะตกต่ำไปมาก การประท้วงเล่า มิใช่แต่คำพูดเท่านั้น แม้วิธีการและกาลเทศะก็เลอะเทอะทั้งสองฝ่าย ทำให้ห่วงว่าสถาบันนิติบัญญัติ ซึ่งเสื่อมอยู่แล้ว จะถึงอาการกู่ไม่กลับ
จะทำยังไงดี ในประเทศแม่บทระบบรัฐสภาเช่นอังกฤษ เขามีเรียนมีสอนเรื่อง Parliamentary Procedures คือระเบียบและพิธีการในการประชุม ตั้งแต่ชั้นประถม ของเราจนจบมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มี
ผมเคยขอร้องท่านผู้มีอำนาจทางการศึกษา พร้อมทั้งนำตัวอย่างมาประเคนให้ ก็ยังไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น เราจะโทษผู้นำหรือนักการเมืองของเราว่าประชุมและตัดสินใจไม่เป็นก็ไม่ได้ เพราะทุกคนเป็นผลิตผลของระบบ ที่เน้นวาทะศิลปะแบบพูดได้ตามใจคือไทยแท้ แม้แต่การขานชื่อเพื่อนสมาชิกก็ดันเรียกว่า ไอ้น้องบ้าง คุณพี่บ้าง ซึ่งในระเบียบการประชุมสภาฯ เขาถือว่าป่าเถื่อนไร้มารยาท
คิดหรือว่าฝ่ายบริหารของเราซึ่งมาจากสภาฯ จะอภิปรายหรือบริหารเป็น ทุกอย่างก็ลมเพลมพัดไปตามอำเภอใจของหมู่คณะหรืออำนาจกับผลประโยชน์ของผู้เป็นหัวหน้า สมกับระบบพรรคแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า”
การนำเอานโยบายมาเป็นเข็มทิศชี้ทางหรือเครื่องกำกับการบริหารของรัฐบาลจะเกิดขึ้นชาติหน้าบ่ายๆ เพราะนโยบายของรัฐบาลหรือนโยบายของพรรคการเมืองไทย หาได้มีที่มาหรือมีลักษณะเหมือนนโยบายของพรรคการเมืองที่แท้จริงในระบบรัฐสภาไม่
เราเพิ่งพูดกันถึงเรื่องโกหก และยืนยันพุทธภาษิตว่า “คนโกหกที่ไม่ทำชั่วอย่างอื่นไม่มี” หรือ “ไม่มีคำว่าโกหกเฉยๆ” และ “ไม่มีความชั่วอะไรที่คนโกหกทำไม่ได้”
ทั้งนี้ผมมิได้มุ่งหวังประณามนายสมัครหรือตัวบุคคลใดๆ ความจริงกลับสงสารนักที่ติดนิสัยสันดานโกหกเพราะ “ระบบ” และ “โครงสร้าง” เป็นผู้จัดขึ้นและวางเป็นกับดักไว้
นักการเมืองไทยจะต้องจำนนและยอมเป็นทาส “โครงสร้างโกหก” และ “ระบบมุสาวาท” ทุศีลเกือบทุกคน เริ่มตั้งแต่การเข้ามาอยู่ในเครือข่ายของการสมัครผู้แทน การแสวงหาและการใช้การจ่ายในการเลือกตั้ง การหาเงินเข้าพรรค การเงินและการตลาดของพรรคทุกๆ ด้านรวมทั้งการโฆษณาขายนโยบายของพรรค
การอภิปรายนโยบายในสภาฯ นั้น แท้ที่จริงคือ “ศาลาโกหก” ดูตัวอย่างการแถลงนโยบายครั้งล่าสุด
ก่อนอื่น เราคงจะต้องตกลงกันเรื่องคำนิยามเสียก่อน คำว่าโกหก ได้แก่ มุสาวาทา หรือมุสาวาจา ซึ่งเป็นความประพฤติต้องห้ามข้อหนึ่งในศีลห้า มุสาวาทานี้พูดเป็นภาษาธรรมดาว่า วาจามิชอบ อันครอบคลุมไปถึงคำพูดส่อเสียด คำหยาบคาย การพูดเพ้อเจ้อ พูดเท็จ พูดเอาดีแต่ตัว พูดเอาชั่วให้คนอื่น หรือพูดถึงสิ่งที่ทำอย่างไรก็เป็นจริงขึ้นมาไม่ได้ ทั้งหมดนี้มีผลเสียที่คล้ายคลึงกัน
ทั้งหมดนี้บรรจุอยู่ในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีนายสมัครและคำอภิปรายประกอบคำแถลงนโยบายนี้เป็นเวลาสามวันสามคืนตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป
นานมาแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องความเป็นไปไม่ได้ของระบบพรรคการเมืองไทยในการปราบคอร์รัปชัน ในฉบับนี้ผมจะอธิบายอีกเรื่องหนึ่งที่เชื่อมโยงกัน นั่นก็คือ ความเป็นไปไม่ได้ของนโยบายพรรคในระบบการเมืองไทย
ก่อนอื่น ผมขอตั้งข้อสังเกตมุสาวาทาหรือวาจามิชอบในคำแถลงนโยบาย และการอภิปรายครั้งนี้แต่เพียงย่อๆ 3-4 ประเด็นเสียก่อน ดังนี้
1. คำแถลงนโยบายของนายสมัคร ประกอบด้วยคำพูด 11,701 คำ เป็นตัวอักษร 45,283 ตัว ส่วนใหญ่ลอกมาหรือเป็นคำที่ซ้ำซ้อนกับแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจกับข้อความในนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทยเป็นส่วนมาก ส่วนที่เหลือคงเป็นการผสมผสานจากคณะกรรมการร่วม 6 พรรคที่ช่วยกันตัดต่อและแต้มแต่งด้วยวาทศิลป์ ภายในเวลาอันจำกัด แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีเองก็ยังสารภาพว่า ต้องพูดหรืออ่านอย่างตะกุกตะกัก เพราะอ่านไม่ทันว่ามันต่างหรือเหมือนกับร่างเดิมตรงไหน มากน้อยอย่างไร ผมขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่านี่มิใช่นโยบายของพรรคการเมือง นี่คือข้อความที่ประกาศความตั้งใจของรัฐบาลว่าอยากทำโน่นทำนี่ และจะทำโน่นทำนี่เพราะอะไร ด้วยแบบหรือวิธีอย่างไร คนไทยทั้งประเทศหลงยอมรับว่านี่คือนโยบายก็เพราะความไม่เข้าใจ ความตื้นเขินและมักง่ายของชนชั้นปกครองและนักวิชาการไทยที่หลอกตนเองและหลอกลวงสังคมให้หลงเข้าใจผิด
คำสารภาพของนายกฯ กลางสภาฯ ว่าอ่านไม่ทันนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะจะเป็นข้อชี้บ่งให้เราทราบถึงกระบวนการ-พิธีการ-และแหล่งที่มาของสิ่งที่อ้างว่าเป็นนโยบาย ความเป็นนโยบายนั้นสำคัญอยู่ที่กระบวนการ-พิธีการ-และแหล่งที่มา ซึ่งสำคัญกว่าตัวหนังสือหรือคำแถลงที่เอามาอ่าน
2. ผมเสียดายที่มหาวิทยาลัยและสื่อไทยไม่เคยนำวิธีวิจัยที่เรียกว่า Content Analysis หรือวิธีวิเคราะห์ถ้อยคำและเนื้อหาของคำแถลงนโยบาย สุนทรพจน์หรือข้อเขียนทางการเมืองมาใช้ มิฉะนั้นเราจะทราบได้ว่า คำแถลงนโยบายนี้มีโครงสร้างทางภาษาหรือสำนวนเป็นแบบเดียวหรือหลากหลายแตกต่างกัน แสดงว่าเขียนหลายคนหลายกลุ่ม อาจมีตรรกะที่สอดคล้องกันหรือแตกต่างกัน มีความคงเส้นคงวาหรือกระโดดไปกระโดดมา มีการขัดแย้งกันเองในเบื้องต้น-ท่ามกลาง-และปลายทางหรือไม่ มีจุดเน้นพิเศษ โดยใช้คำหรือประโยคเดียวกันบ่อยๆ ในหลายๆ ที่หรือไม่ หรือมีคำบางคำและข้อความบางข้อความที่ไม่ปรากฏเลยทั้งอรรถะและพยัญชนะ เช่น ในกรณีของคำแถลงรัฐบาลนี้มีคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อยู่คำเดียวลอยๆ ในขณะที่มีเรื่องเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงเต็มไปหมด เป็นต้น
3. ดูๆ ไปการอภิปรายแถลงนโยบายกลายเป็นเรื่องหาเสียงผ่านการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ ต่างฝ่ายต่างก็อยากโฆษณาชวนเชื่อ ผ่าน “ศาลาโกหก” ไปถึงประชาชน เพื่อแสดงให้ประชาชนรู้ว่าตนดีกว่าผู้อื่น หรือพรรคตนดีกว่าพรรคอื่น สไตล์การอภิปรายจึงเข้าลักษณะมุสาวาทหรือวาจาไม่ชอบ มีการพูดส่อเสียด เพ้อเจ้อ และประท้วงกันอยู่ตลอดเวลา หากฐานะผู้พูดสูงหน่อย ก็ได้รับเวลาและการผ่อนปรนมากหน่อย ซึ่งก็ผิดหลัก equal protection of laws ยกตัวอย่างหัวหน้าฝ่ายค้านเริ่มอภิปรายโดยการออกนอกประเด็นไปโฆษณาเหตุผล และความดีของการมีรัฐบาลเงาของพรรคฝ่ายค้าน ก็ไม่มีใครว่า ถึงหัวหน้าฝ่ายค้านจะไม่มีเจตนาพูดความเท็จ แต่ข้อความที่นำมาเสนอก็เป็นเท็จ เช่น บอกว่า รัฐบาลเงามีอยู่ทุกรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่แท้จริงมีอยู่แค่อังกฤษกับแคนาดาเท่านั้น เป็นต้น
การอภิปราย การยกตัวอย่าง การพาดพิง การตอบโต้ และการประท้วง ผู้ที่ยึดเหนี่ยวหลักธรรมะย่อมจะเห็นเป็นการผิดศีลห้าข้อมุสาวาทามากเหลือเกิน ทั้งนี้ไม่ยกเว้นการที่นายกฯ ขอสิทธิพาดพิงขึ้นมาตอบโต้ “คำสั่งสอน” ของหัวหน้าฝ่ายค้าน โดยทับถมอายุน้อยของหัวหน้าฝ่ายค้าน อันเป็นค่านิยมตกยุคของประเทศล้าหลังด้อยพัฒนา
4. แต่การผิดศีลในการอภิปรายนี้ยังไม่หนักเท่าการผิดศีลในการกระทำซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ (1) การกระทำหรือใช้อำนาจของรัฐบาลและพลพรรคก่อนหรือหลังการอภิปรายสดๆ ร้อนๆ หรือชั่วอายุรัฐบาล เช่น ในคำแถลงกล่าวถึงความสมานฉันท์ 7 ครั้งและพูดถึงความเคารพเสรีภาพ แต่การอภิปรายยังไม่ทันจบ ก็มีรัฐมนตรีลุกขึ้นมาคุกคามสื่อ หลังอภิปรายไม่กี่วัน รัฐมนตรียุติธรรมและสาธารณสุขก็แสดงอำนาจบาตรใหญ่ปลดผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง ทั้งๆ ที่ในคำแถลงสัญญาว่า “ประเมินผลการปฏิบัติงานฯ ที่เป็นธรรมตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงานของข้าราชการ” ในอังกฤษซึ่งเราแอบอ้างตัวอย่างกันดีนัก รัฐมนตรีเขาจะแตะต้องข้าราชการประจำแบบนี้มิได้เลย และที่สำคัญยิ่งยวดก็คือข้อ
(2) การโกหกและหลอกให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าพรรคการเมืองมีอยู่จริงอย่างต่อเนื่อง สมกับเป็นสถาบันการเมือง และได้พัฒนานโยบายทางการเมืองขึ้นมาอย่างมีวิวัฒนาการถูกต้องในครรลองขั้นตอนและกระบวนการ ความจริงมิใช่ เรามีแต่แก๊งเลือกตั้งชั่วคราว รวมตัวกันเพราะอำนาจบารมีและเงินของหัวหน้า ย้ายพรรค ยุบพรรค เปลี่ยนพรรคไปมาแต่ละสมัยเลือกตั้ง หามีเวลาคิดและกลั่นกรองสร้างนโยบายอะไรที่เป็นหลักการและแก่นสารใดๆ ได้ไม่ มีแต่การโฆษณาชวนเชื่อ ในเวลาหาเสียงและแถลงนโยบายแบบมั่วๆ ดังกล่าว
นโยบายของพรรคการเมืองอังกฤษพัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานอุดมการณ์และผลประโยชน์ของประชาชน ที่แบ่งกันตามอาชีพและฐานะทางเศรษฐกิจสังคมหรือบางทีก็ภูมิภาค พรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นมาตามพื้นฐานนั้น และพัฒนาองค์กรและนโยบายของพรรคอย่างต่อเนื่องภายใต้สายตาและการมีส่วนร่วมของสมาชิก มีการประชุมประจำปี และประชุมใหญ่ มีการแข่งขันกันเป็นผู้นำในสาขาต่างๆ โดยผลงานและการเสนอวิสัยทัศน์ นโยบายแต่ละอันถึงจะมีพื้นฐานมาจากอุดมการณ์ก็มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่สมาชิกและผู้นำจะต้องนำมาถกเถียงกันและผ่านเป็นมติไว้ แต่ละนโยบายก็จะมีเสียงข้างมาก-ข้างน้อย-และข้างน้อยสุดโต่ง ล้วนแต่ได้รับความเคารพและบันทึกไว้ แต่จะยกเอามติข้างมากมาเป็นนโยบาย นำออกไปทดสอบกับประชาชนและในการเลือกตั้ง แต่ละสมัยเลือกตั้งพรรคจะต้องอนุมัตินโยบายและพิมพ์ออกเผยแพร่เรียกว่า Party Manifesto นำไปหาเสียงถือว่าเป็นสัญญาประชาคมกับประชาชน มีรายละเอียดเป็นรูปธรรมเป็นข้อๆ นโยบายของพรรคการเมืองนี้เรียกกลางๆ ว่า Policy แต่เรียกแบบคุ้นปากว่า Platform บ้าง Plank บ้างก็มี แต่ทั้งหมดมีลักษณะเป็นรูปธรรมเป็นสัญญาประชาคม และแต่ละอันจะนำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อให้นำไปปฏิบัติ ของเราต่างกับเขาลิบลับ
เมื่อพรรคชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ ไปเปิดรัฐสภา และทรงเป็นผู้อ่านคำแถลงนโยบายซึ่งรัฐบาลร่างให้ตาม Manifesto ของพรรคในการเลือกตั้งนั้นเอง ผมอยากยกตัวอย่างแต่เนื้อที่หมด ขอให้ท่านผู้อ่านเปิดดูจาก www.parliament.uk/faq/lords_stateopening.cfm - 14k คือพระราชพิธีเปิดสภาฯ มี Queen’s Speech in Parliament หรือพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมราชินีอลิซาเบธในสภาฯ ว่า รัฐบาลของข้าพเจ้าต้องการจะทำสิ่งนี้ ดังนั้นรัฐบาลของข้าพเจ้าจะได้เสนอออกกฎหมายดังนี้ ตามนโยบายที่ได้สัญญาไว้เป็นข้อๆ ไปแต่ละเรื่อง
ดังนั้น การรักษาคำพูดและปฏิบัติตามนโยบายจึงรวดเร็วมากและตรวจสอบได้ง่าย ประชาชนจึงมีความผูกพันกับนโยบายและพรรคที่ตนเลือกแบบยั่งยืน
โอกาสที่รัฐบาลจะผิดศีลข้อมุสาวาทานั้นมีทุกแห่ง แต่ไม่ง่ายเหมือนกับบ้านเรา ยังจำได้ไหม ยอดรัฐบาลที่เติมการละเมิดศีลข้ออทินนาและปาณาติปาตาเข้าไปด้วยอย่างอุกอาจไม่กลัวใคร เพราะถือว่ามีเสียงประชาชนที่ซื้อมาหนุนหลังอยู่อย่างท่วมท้น
ขอให้โชคดีเถิดประเทศไทยที่รัก.
จะทำยังไงดี ในประเทศแม่บทระบบรัฐสภาเช่นอังกฤษ เขามีเรียนมีสอนเรื่อง Parliamentary Procedures คือระเบียบและพิธีการในการประชุม ตั้งแต่ชั้นประถม ของเราจนจบมหาวิทยาลัยก็ยังไม่มี
ผมเคยขอร้องท่านผู้มีอำนาจทางการศึกษา พร้อมทั้งนำตัวอย่างมาประเคนให้ ก็ยังไม่เห็นมีอะไรเกิดขึ้น เราจะโทษผู้นำหรือนักการเมืองของเราว่าประชุมและตัดสินใจไม่เป็นก็ไม่ได้ เพราะทุกคนเป็นผลิตผลของระบบ ที่เน้นวาทะศิลปะแบบพูดได้ตามใจคือไทยแท้ แม้แต่การขานชื่อเพื่อนสมาชิกก็ดันเรียกว่า ไอ้น้องบ้าง คุณพี่บ้าง ซึ่งในระเบียบการประชุมสภาฯ เขาถือว่าป่าเถื่อนไร้มารยาท
คิดหรือว่าฝ่ายบริหารของเราซึ่งมาจากสภาฯ จะอภิปรายหรือบริหารเป็น ทุกอย่างก็ลมเพลมพัดไปตามอำเภอใจของหมู่คณะหรืออำนาจกับผลประโยชน์ของผู้เป็นหัวหน้า สมกับระบบพรรคแบบ “รวมศูนย์-รวบอำนาจ-เป็นทาสหัวหน้า”
การนำเอานโยบายมาเป็นเข็มทิศชี้ทางหรือเครื่องกำกับการบริหารของรัฐบาลจะเกิดขึ้นชาติหน้าบ่ายๆ เพราะนโยบายของรัฐบาลหรือนโยบายของพรรคการเมืองไทย หาได้มีที่มาหรือมีลักษณะเหมือนนโยบายของพรรคการเมืองที่แท้จริงในระบบรัฐสภาไม่
เราเพิ่งพูดกันถึงเรื่องโกหก และยืนยันพุทธภาษิตว่า “คนโกหกที่ไม่ทำชั่วอย่างอื่นไม่มี” หรือ “ไม่มีคำว่าโกหกเฉยๆ” และ “ไม่มีความชั่วอะไรที่คนโกหกทำไม่ได้”
ทั้งนี้ผมมิได้มุ่งหวังประณามนายสมัครหรือตัวบุคคลใดๆ ความจริงกลับสงสารนักที่ติดนิสัยสันดานโกหกเพราะ “ระบบ” และ “โครงสร้าง” เป็นผู้จัดขึ้นและวางเป็นกับดักไว้
นักการเมืองไทยจะต้องจำนนและยอมเป็นทาส “โครงสร้างโกหก” และ “ระบบมุสาวาท” ทุศีลเกือบทุกคน เริ่มตั้งแต่การเข้ามาอยู่ในเครือข่ายของการสมัครผู้แทน การแสวงหาและการใช้การจ่ายในการเลือกตั้ง การหาเงินเข้าพรรค การเงินและการตลาดของพรรคทุกๆ ด้านรวมทั้งการโฆษณาขายนโยบายของพรรค
การอภิปรายนโยบายในสภาฯ นั้น แท้ที่จริงคือ “ศาลาโกหก” ดูตัวอย่างการแถลงนโยบายครั้งล่าสุด
ก่อนอื่น เราคงจะต้องตกลงกันเรื่องคำนิยามเสียก่อน คำว่าโกหก ได้แก่ มุสาวาทา หรือมุสาวาจา ซึ่งเป็นความประพฤติต้องห้ามข้อหนึ่งในศีลห้า มุสาวาทานี้พูดเป็นภาษาธรรมดาว่า วาจามิชอบ อันครอบคลุมไปถึงคำพูดส่อเสียด คำหยาบคาย การพูดเพ้อเจ้อ พูดเท็จ พูดเอาดีแต่ตัว พูดเอาชั่วให้คนอื่น หรือพูดถึงสิ่งที่ทำอย่างไรก็เป็นจริงขึ้นมาไม่ได้ ทั้งหมดนี้มีผลเสียที่คล้ายคลึงกัน
ทั้งหมดนี้บรรจุอยู่ในคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีนายสมัครและคำอภิปรายประกอบคำแถลงนโยบายนี้เป็นเวลาสามวันสามคืนตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป
นานมาแล้ว ผมเคยเขียนเรื่องความเป็นไปไม่ได้ของระบบพรรคการเมืองไทยในการปราบคอร์รัปชัน ในฉบับนี้ผมจะอธิบายอีกเรื่องหนึ่งที่เชื่อมโยงกัน นั่นก็คือ ความเป็นไปไม่ได้ของนโยบายพรรคในระบบการเมืองไทย
ก่อนอื่น ผมขอตั้งข้อสังเกตมุสาวาทาหรือวาจามิชอบในคำแถลงนโยบาย และการอภิปรายครั้งนี้แต่เพียงย่อๆ 3-4 ประเด็นเสียก่อน ดังนี้
1. คำแถลงนโยบายของนายสมัคร ประกอบด้วยคำพูด 11,701 คำ เป็นตัวอักษร 45,283 ตัว ส่วนใหญ่ลอกมาหรือเป็นคำที่ซ้ำซ้อนกับแนวนโยบายแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจกับข้อความในนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทยเป็นส่วนมาก ส่วนที่เหลือคงเป็นการผสมผสานจากคณะกรรมการร่วม 6 พรรคที่ช่วยกันตัดต่อและแต้มแต่งด้วยวาทศิลป์ ภายในเวลาอันจำกัด แม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีเองก็ยังสารภาพว่า ต้องพูดหรืออ่านอย่างตะกุกตะกัก เพราะอ่านไม่ทันว่ามันต่างหรือเหมือนกับร่างเดิมตรงไหน มากน้อยอย่างไร ผมขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่านี่มิใช่นโยบายของพรรคการเมือง นี่คือข้อความที่ประกาศความตั้งใจของรัฐบาลว่าอยากทำโน่นทำนี่ และจะทำโน่นทำนี่เพราะอะไร ด้วยแบบหรือวิธีอย่างไร คนไทยทั้งประเทศหลงยอมรับว่านี่คือนโยบายก็เพราะความไม่เข้าใจ ความตื้นเขินและมักง่ายของชนชั้นปกครองและนักวิชาการไทยที่หลอกตนเองและหลอกลวงสังคมให้หลงเข้าใจผิด
คำสารภาพของนายกฯ กลางสภาฯ ว่าอ่านไม่ทันนั้น เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะจะเป็นข้อชี้บ่งให้เราทราบถึงกระบวนการ-พิธีการ-และแหล่งที่มาของสิ่งที่อ้างว่าเป็นนโยบาย ความเป็นนโยบายนั้นสำคัญอยู่ที่กระบวนการ-พิธีการ-และแหล่งที่มา ซึ่งสำคัญกว่าตัวหนังสือหรือคำแถลงที่เอามาอ่าน
2. ผมเสียดายที่มหาวิทยาลัยและสื่อไทยไม่เคยนำวิธีวิจัยที่เรียกว่า Content Analysis หรือวิธีวิเคราะห์ถ้อยคำและเนื้อหาของคำแถลงนโยบาย สุนทรพจน์หรือข้อเขียนทางการเมืองมาใช้ มิฉะนั้นเราจะทราบได้ว่า คำแถลงนโยบายนี้มีโครงสร้างทางภาษาหรือสำนวนเป็นแบบเดียวหรือหลากหลายแตกต่างกัน แสดงว่าเขียนหลายคนหลายกลุ่ม อาจมีตรรกะที่สอดคล้องกันหรือแตกต่างกัน มีความคงเส้นคงวาหรือกระโดดไปกระโดดมา มีการขัดแย้งกันเองในเบื้องต้น-ท่ามกลาง-และปลายทางหรือไม่ มีจุดเน้นพิเศษ โดยใช้คำหรือประโยคเดียวกันบ่อยๆ ในหลายๆ ที่หรือไม่ หรือมีคำบางคำและข้อความบางข้อความที่ไม่ปรากฏเลยทั้งอรรถะและพยัญชนะ เช่น ในกรณีของคำแถลงรัฐบาลนี้มีคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อยู่คำเดียวลอยๆ ในขณะที่มีเรื่องเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงเต็มไปหมด เป็นต้น
3. ดูๆ ไปการอภิปรายแถลงนโยบายกลายเป็นเรื่องหาเสียงผ่านการถ่ายทอดไปทั่วประเทศ ต่างฝ่ายต่างก็อยากโฆษณาชวนเชื่อ ผ่าน “ศาลาโกหก” ไปถึงประชาชน เพื่อแสดงให้ประชาชนรู้ว่าตนดีกว่าผู้อื่น หรือพรรคตนดีกว่าพรรคอื่น สไตล์การอภิปรายจึงเข้าลักษณะมุสาวาทหรือวาจาไม่ชอบ มีการพูดส่อเสียด เพ้อเจ้อ และประท้วงกันอยู่ตลอดเวลา หากฐานะผู้พูดสูงหน่อย ก็ได้รับเวลาและการผ่อนปรนมากหน่อย ซึ่งก็ผิดหลัก equal protection of laws ยกตัวอย่างหัวหน้าฝ่ายค้านเริ่มอภิปรายโดยการออกนอกประเด็นไปโฆษณาเหตุผล และความดีของการมีรัฐบาลเงาของพรรคฝ่ายค้าน ก็ไม่มีใครว่า ถึงหัวหน้าฝ่ายค้านจะไม่มีเจตนาพูดความเท็จ แต่ข้อความที่นำมาเสนอก็เป็นเท็จ เช่น บอกว่า รัฐบาลเงามีอยู่ทุกรัฐบาลในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่แท้จริงมีอยู่แค่อังกฤษกับแคนาดาเท่านั้น เป็นต้น
การอภิปราย การยกตัวอย่าง การพาดพิง การตอบโต้ และการประท้วง ผู้ที่ยึดเหนี่ยวหลักธรรมะย่อมจะเห็นเป็นการผิดศีลห้าข้อมุสาวาทามากเหลือเกิน ทั้งนี้ไม่ยกเว้นการที่นายกฯ ขอสิทธิพาดพิงขึ้นมาตอบโต้ “คำสั่งสอน” ของหัวหน้าฝ่ายค้าน โดยทับถมอายุน้อยของหัวหน้าฝ่ายค้าน อันเป็นค่านิยมตกยุคของประเทศล้าหลังด้อยพัฒนา
4. แต่การผิดศีลในการอภิปรายนี้ยังไม่หนักเท่าการผิดศีลในการกระทำซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ (1) การกระทำหรือใช้อำนาจของรัฐบาลและพลพรรคก่อนหรือหลังการอภิปรายสดๆ ร้อนๆ หรือชั่วอายุรัฐบาล เช่น ในคำแถลงกล่าวถึงความสมานฉันท์ 7 ครั้งและพูดถึงความเคารพเสรีภาพ แต่การอภิปรายยังไม่ทันจบ ก็มีรัฐมนตรีลุกขึ้นมาคุกคามสื่อ หลังอภิปรายไม่กี่วัน รัฐมนตรียุติธรรมและสาธารณสุขก็แสดงอำนาจบาตรใหญ่ปลดผู้บริหารระดับสูงในกระทรวง ทั้งๆ ที่ในคำแถลงสัญญาว่า “ประเมินผลการปฏิบัติงานฯ ที่เป็นธรรมตามผลงาน เพื่อให้เกิดขวัญกำลังใจและแรงจูงใจในการพัฒนาผลงานของข้าราชการ” ในอังกฤษซึ่งเราแอบอ้างตัวอย่างกันดีนัก รัฐมนตรีเขาจะแตะต้องข้าราชการประจำแบบนี้มิได้เลย และที่สำคัญยิ่งยวดก็คือข้อ
(2) การโกหกและหลอกให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าพรรคการเมืองมีอยู่จริงอย่างต่อเนื่อง สมกับเป็นสถาบันการเมือง และได้พัฒนานโยบายทางการเมืองขึ้นมาอย่างมีวิวัฒนาการถูกต้องในครรลองขั้นตอนและกระบวนการ ความจริงมิใช่ เรามีแต่แก๊งเลือกตั้งชั่วคราว รวมตัวกันเพราะอำนาจบารมีและเงินของหัวหน้า ย้ายพรรค ยุบพรรค เปลี่ยนพรรคไปมาแต่ละสมัยเลือกตั้ง หามีเวลาคิดและกลั่นกรองสร้างนโยบายอะไรที่เป็นหลักการและแก่นสารใดๆ ได้ไม่ มีแต่การโฆษณาชวนเชื่อ ในเวลาหาเสียงและแถลงนโยบายแบบมั่วๆ ดังกล่าว
นโยบายของพรรคการเมืองอังกฤษพัฒนาขึ้นมาจากพื้นฐานอุดมการณ์และผลประโยชน์ของประชาชน ที่แบ่งกันตามอาชีพและฐานะทางเศรษฐกิจสังคมหรือบางทีก็ภูมิภาค พรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นมาตามพื้นฐานนั้น และพัฒนาองค์กรและนโยบายของพรรคอย่างต่อเนื่องภายใต้สายตาและการมีส่วนร่วมของสมาชิก มีการประชุมประจำปี และประชุมใหญ่ มีการแข่งขันกันเป็นผู้นำในสาขาต่างๆ โดยผลงานและการเสนอวิสัยทัศน์ นโยบายแต่ละอันถึงจะมีพื้นฐานมาจากอุดมการณ์ก็มีลักษณะเป็นรูปธรรมที่สมาชิกและผู้นำจะต้องนำมาถกเถียงกันและผ่านเป็นมติไว้ แต่ละนโยบายก็จะมีเสียงข้างมาก-ข้างน้อย-และข้างน้อยสุดโต่ง ล้วนแต่ได้รับความเคารพและบันทึกไว้ แต่จะยกเอามติข้างมากมาเป็นนโยบาย นำออกไปทดสอบกับประชาชนและในการเลือกตั้ง แต่ละสมัยเลือกตั้งพรรคจะต้องอนุมัตินโยบายและพิมพ์ออกเผยแพร่เรียกว่า Party Manifesto นำไปหาเสียงถือว่าเป็นสัญญาประชาคมกับประชาชน มีรายละเอียดเป็นรูปธรรมเป็นข้อๆ นโยบายของพรรคการเมืองนี้เรียกกลางๆ ว่า Policy แต่เรียกแบบคุ้นปากว่า Platform บ้าง Plank บ้างก็มี แต่ทั้งหมดมีลักษณะเป็นรูปธรรมเป็นสัญญาประชาคม และแต่ละอันจะนำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อให้นำไปปฏิบัติ ของเราต่างกับเขาลิบลับ
เมื่อพรรคชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัว พระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จฯ ไปเปิดรัฐสภา และทรงเป็นผู้อ่านคำแถลงนโยบายซึ่งรัฐบาลร่างให้ตาม Manifesto ของพรรคในการเลือกตั้งนั้นเอง ผมอยากยกตัวอย่างแต่เนื้อที่หมด ขอให้ท่านผู้อ่านเปิดดูจาก www.parliament.uk/faq/lords_stateopening.cfm - 14k คือพระราชพิธีเปิดสภาฯ มี Queen’s Speech in Parliament หรือพระราชดำรัสของสมเด็จพระบรมราชินีอลิซาเบธในสภาฯ ว่า รัฐบาลของข้าพเจ้าต้องการจะทำสิ่งนี้ ดังนั้นรัฐบาลของข้าพเจ้าจะได้เสนอออกกฎหมายดังนี้ ตามนโยบายที่ได้สัญญาไว้เป็นข้อๆ ไปแต่ละเรื่อง
ดังนั้น การรักษาคำพูดและปฏิบัติตามนโยบายจึงรวดเร็วมากและตรวจสอบได้ง่าย ประชาชนจึงมีความผูกพันกับนโยบายและพรรคที่ตนเลือกแบบยั่งยืน
โอกาสที่รัฐบาลจะผิดศีลข้อมุสาวาทานั้นมีทุกแห่ง แต่ไม่ง่ายเหมือนกับบ้านเรา ยังจำได้ไหม ยอดรัฐบาลที่เติมการละเมิดศีลข้ออทินนาและปาณาติปาตาเข้าไปด้วยอย่างอุกอาจไม่กลัวใคร เพราะถือว่ามีเสียงประชาชนที่ซื้อมาหนุนหลังอยู่อย่างท่วมท้น
ขอให้โชคดีเถิดประเทศไทยที่รัก.