ผู้จัดการรายวัน - ผู้บริหารสปส.มั่นใจเศรษฐกิจไทยไม่วิกฤตเหมือนปี 2540 ยืนยันคงพอร์ตหุ้นเท่าเดิมไม่ปรับลด เพราะเน้นรับผลตอบแทนในรูปเงินปันผล มากกว่าเก็งกำไรราคาหุ้น แต่ยังกลุ้มกับส่วนต่าง 14% ของกองทุนชราภาพ ที่หาผลตอบแทนมาชดเชยได้ยากเพราะตลาดหุ้นไทยที่มีขนาดเล็ก คาดบอร์ดไฟเขียวเพิ่มวงเงินลงทุนหุ้นต่างแดนอีก 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่บลจ.ไทยพาณิชย์ชี้หลายปัจจัยลบจะคลี่คลายในอีก 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า แนะนำลงทุนในกองทุนเอฟไอเอฟ เพื่อกระจายความเสี่ยง โดยเฉพาะสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มขยับขึ้นอีก ยกเว้นน้ำมัน
นางรัศม์ชญา กุลวานิชไชยนันท์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริการการลงทุน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า กองทุนประกันสังคมมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 535,000 ล้านบาท กองทุนเพื่อการชราภาพมีประมาณ 400,000 ล้านบาท โดยเงินลงทุนประมาณ 9% ของพอร์ตลงทุนจะเน้นลงทุนในหุ้น และสามารถให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในปีนี้ประมาณ 10% และให้ผลตอบแทนแบบสะสมที่ 60%
ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคมมีความจำเป็นต้องลงทุนในหุ้น เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาว และภาวะตลาดหุ้นในปัจจุบันนับว่าเป็นโอกาสในการเข้าไปเก็บหุ้นที่มีคุณภาพ และเมื่อมีกำไรก็ควรขายทำกำไรออกมาบ้าง แต่ทั้งนี้ต้องดูจังหวะในการเข้าไปลงทุนเป็นสำคัญด้วย โดยการขายหุ้นในพอร์ตลงทุนจะต้องไม่ให้กระทบต่อระบบ และภาพรวมของประเทศเป็นสำคัญ
สำหรับหลักเกณฑ์ในการเข้าไปเลือกซื้อหุ้นนั้น สปส.จะเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ สปส.ไม่สนใจในการที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง เนื่องจากจะได้รับผลตอบแทนกลับมาในรูปของเงินปันผลอยู่ดี
ส่วนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่น่าห่วงว่าจะเกิดวิกฤติการณ์เหมือนดังเช่นปี 2540 ที่เกิดจากค่าเงินบาทอ่อนตัว เพราะผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ทำการกู้เงินในรูปของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ จึงส่งผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ในปัจจุบันเป็นในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดจากภาวะน้ำมัน ซึ่งทุกประเทศล้วนประสบกับปัญหาดียวกัน ส่วนปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ (ซับไพรม์) เชื่อว่าสหรัฐจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินมีปัญหาแน่นอน ประกอบกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในประมาณเดือนกันยายนนี้ พรรคการเมืองจะนำวิกฤติการณ์ดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นโอกาสในการหาเสียง โดยปัจจุบันปัญหาซับไพรม์เริ่มเข้าสู่ภาวะนิ่งขึ้น และปลายปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น
ส่วนการเมืองในประเทศไทย นักลงทุนควรนำวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยปัจจุบัน กองทุนประกันสังคมไม่ได้มีการปรับลดพอร์ตลงทุนแต่อย่างใด แต่จะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนมากกว่า เมื่อเซกเตอร์ไหนมีปัญหาก็จะมีการปรับลดพอร์ตลงทุนลง และหันไปเลือกลงทุนเซกเตอร์ที่ได้รับผลดีจากการราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าปัจจัยทางการเมืองอาจจะมาในทางร้าย แต่กองทุนประกันสังคมจะไม่รีบร้อน และจะสร้างความเข้าใจ เนื่องจากเงินผู้ใช้แรงงานมักจะคิดว่าเมื่อสมทบเงินเข้ามาอยู่เสมอแล้ว เงินนั้นจะต้องคงอยู่ ในส่วนกองทุนชราภาพ ที่ปกติจะเรียกสมทบประมาณ 3% แต่ต้องจ่ายคืนให้กับผู้ประกันตน 20% ขณะที่ส่วนต่างประมาณ 14% นี้ นับเป็นภาระที่หนักใจของสปส. เนื่องจากตลาดในประเทศมีไม่เพียงพอกับการลงทุน
นางรัศม์ชญา กล่าวว่า กองทุนประกันสังคมอยู่ในระหว่างขออนุมัติไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติมอีก 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง และสามารถให้ผลตอบแทนที่ดี โดยเบื้องต้นคาดว่าอนุกรรมการบริหารการลงทุนจะอนุญาติให้นำเงินประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปลงทุนในหุ้น แม้ว่าตลาดหุ้นในปัจจุบนจะมีความาผันผวนมากกก็ตาม แต่จะไม่เลวร้ายไปทุกตลาด ทำให้กองทุนประกันสังคมจะมีการปรับเป้าหมายผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในปีนี้ลงเหลือ 5% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะสามารถเจริญเติบโตได้ 8.7% ขณะที่ครึ่งปีแรกผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% เนื่องจากภาวะตลาดหุ้นยังไม่เอื้ออำนวย
ด้าน นายวิชชุ จันทาทับ ผู้จัดการกองทุนฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยที่กระทบกับตลาดหุ้นมี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการเมือง คาดว่าจะกดดันตลาดหุ้นไปประมาณ 2-3 อาทิตย์ เนื่องจากจะมีการตัดสินพิพากษาเกี่ยวกับคดีความสำคัญต่างๆ แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบนานเกิน 1 เดือน โดยหลังจากนั้นภาวะการลงทุนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนปัจจัยราคาน้ำมันนั้นน่าเป็นห่วงอัตราเงินเฟ้อมากที่สุด เพราะหากราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ทั้งโลกจะกดดันให้ราคาปรับลดลงมา เนื่องจากไม่สามารถอยู่ได้ แต่หากราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 110-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล จะทำให้อัตราเงินเฟ้อจะนิ่งตามไปด้วย อย่างไรก็ตามมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะพีคประมาณเดือนสิงหาคมนี้ และจะจบ
สำหรับปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐคาดว่าจะไม่จบในเร็ววันนี้ โดยคาดว่าจะมีธนาคารพาณิชย์ที่ต้องให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลืออีกจนถึงเดือนกุมภาพันธ์- เดือนมีนาคม 2552 ซึ่งปัญหาซีดีโอและปัญหาซับไพรม์จะจบลง
ขณะที่การลงทุนที่น่าสนใจคือการลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) โดยในระยะเวลา 6-8 เดือน หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ยังมีความน่าสนใจ เพราะะสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะปรับขึ้นอีก แต่จะไม่ปรับขึ้นแรงเท่าที่ผ่านมา แต่มองว่ายังไปได้อีกอย่างน้อย 12 เดือน ส่วนราคาน้ำมันจะไม่ปรับขึ้น เนี่องจากอุปทานจะมีเข้ามามากขึ้น ส่วนตลาดหุ้น ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนปรับลดลงมา 40% อินเดียลงมา 30-40% การลงทุนในหุ้นสามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้ และหากปัญหาซับไพรม์หมดไป ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นด้วย
นางรัศม์ชญา กุลวานิชไชยนันท์ ผู้อำนวยการ สำนักงานบริการการลงทุน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า กองทุนประกันสังคมมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิประมาณ 535,000 ล้านบาท กองทุนเพื่อการชราภาพมีประมาณ 400,000 ล้านบาท โดยเงินลงทุนประมาณ 9% ของพอร์ตลงทุนจะเน้นลงทุนในหุ้น และสามารถให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในปีนี้ประมาณ 10% และให้ผลตอบแทนแบบสะสมที่ 60%
ทั้งนี้ กองทุนประกันสังคมมีความจำเป็นต้องลงทุนในหุ้น เนื่องจากเป็นการลงทุนระยะยาว และภาวะตลาดหุ้นในปัจจุบันนับว่าเป็นโอกาสในการเข้าไปเก็บหุ้นที่มีคุณภาพ และเมื่อมีกำไรก็ควรขายทำกำไรออกมาบ้าง แต่ทั้งนี้ต้องดูจังหวะในการเข้าไปลงทุนเป็นสำคัญด้วย โดยการขายหุ้นในพอร์ตลงทุนจะต้องไม่ให้กระทบต่อระบบ และภาพรวมของประเทศเป็นสำคัญ
สำหรับหลักเกณฑ์ในการเข้าไปเลือกซื้อหุ้นนั้น สปส.จะเลือกหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ สปส.ไม่สนใจในการที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง เนื่องจากจะได้รับผลตอบแทนกลับมาในรูปของเงินปันผลอยู่ดี
ส่วนภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ไม่น่าห่วงว่าจะเกิดวิกฤติการณ์เหมือนดังเช่นปี 2540 ที่เกิดจากค่าเงินบาทอ่อนตัว เพราะผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ทำการกู้เงินในรูปของเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ จึงส่งผลกระทบค่อนข้างมาก แต่ในปัจจุบันเป็นในเรื่องของอัตราเงินเฟ้อ ที่เกิดจากภาวะน้ำมัน ซึ่งทุกประเทศล้วนประสบกับปัญหาดียวกัน ส่วนปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพในสหรัฐ (ซับไพรม์) เชื่อว่าสหรัฐจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินมีปัญหาแน่นอน ประกอบกับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในประมาณเดือนกันยายนนี้ พรรคการเมืองจะนำวิกฤติการณ์ดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นโอกาสในการหาเสียง โดยปัจจุบันปัญหาซับไพรม์เริ่มเข้าสู่ภาวะนิ่งขึ้น และปลายปีนี้จะปรับตัวดีขึ้น
ส่วนการเมืองในประเทศไทย นักลงทุนควรนำวิกฤติให้เป็นโอกาส โดยปัจจุบัน กองทุนประกันสังคมไม่ได้มีการปรับลดพอร์ตลงทุนแต่อย่างใด แต่จะมีการปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุนมากกว่า เมื่อเซกเตอร์ไหนมีปัญหาก็จะมีการปรับลดพอร์ตลงทุนลง และหันไปเลือกลงทุนเซกเตอร์ที่ได้รับผลดีจากการราคาน้ำมัน อัตราเงินเฟ้อ แม้ว่าปัจจัยทางการเมืองอาจจะมาในทางร้าย แต่กองทุนประกันสังคมจะไม่รีบร้อน และจะสร้างความเข้าใจ เนื่องจากเงินผู้ใช้แรงงานมักจะคิดว่าเมื่อสมทบเงินเข้ามาอยู่เสมอแล้ว เงินนั้นจะต้องคงอยู่ ในส่วนกองทุนชราภาพ ที่ปกติจะเรียกสมทบประมาณ 3% แต่ต้องจ่ายคืนให้กับผู้ประกันตน 20% ขณะที่ส่วนต่างประมาณ 14% นี้ นับเป็นภาระที่หนักใจของสปส. เนื่องจากตลาดในประเทศมีไม่เพียงพอกับการลงทุน
นางรัศม์ชญา กล่าวว่า กองทุนประกันสังคมอยู่ในระหว่างขออนุมัติไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มเติมอีก 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง และสามารถให้ผลตอบแทนที่ดี โดยเบื้องต้นคาดว่าอนุกรรมการบริหารการลงทุนจะอนุญาติให้นำเงินประมาณ 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปลงทุนในหุ้น แม้ว่าตลาดหุ้นในปัจจุบนจะมีความาผันผวนมากกก็ตาม แต่จะไม่เลวร้ายไปทุกตลาด ทำให้กองทุนประกันสังคมจะมีการปรับเป้าหมายผลตอบแทนโดยเฉลี่ยในปีนี้ลงเหลือ 5% จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าจะสามารถเจริญเติบโตได้ 8.7% ขณะที่ครึ่งปีแรกผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5% เนื่องจากภาวะตลาดหุ้นยังไม่เอื้ออำนวย
ด้าน นายวิชชุ จันทาทับ ผู้จัดการกองทุนฝ่ายการลงทุนตราสารทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยที่กระทบกับตลาดหุ้นมี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการเมือง คาดว่าจะกดดันตลาดหุ้นไปประมาณ 2-3 อาทิตย์ เนื่องจากจะมีการตัดสินพิพากษาเกี่ยวกับคดีความสำคัญต่างๆ แต่ไม่น่าจะส่งผลกระทบนานเกิน 1 เดือน โดยหลังจากนั้นภาวะการลงทุนจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนปัจจัยราคาน้ำมันนั้นน่าเป็นห่วงอัตราเงินเฟ้อมากที่สุด เพราะหากราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล ทั้งโลกจะกดดันให้ราคาปรับลดลงมา เนื่องจากไม่สามารถอยู่ได้ แต่หากราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 110-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาเรล จะทำให้อัตราเงินเฟ้อจะนิ่งตามไปด้วย อย่างไรก็ตามมองว่าอัตราเงินเฟ้อจะพีคประมาณเดือนสิงหาคมนี้ และจะจบ
สำหรับปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐคาดว่าจะไม่จบในเร็ววันนี้ โดยคาดว่าจะมีธนาคารพาณิชย์ที่ต้องให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลืออีกจนถึงเดือนกุมภาพันธ์- เดือนมีนาคม 2552 ซึ่งปัญหาซีดีโอและปัญหาซับไพรม์จะจบลง
ขณะที่การลงทุนที่น่าสนใจคือการลงทุนในกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) โดยในระยะเวลา 6-8 เดือน หุ้น และสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) ยังมีความน่าสนใจ เพราะะสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะปรับขึ้นอีก แต่จะไม่ปรับขึ้นแรงเท่าที่ผ่านมา แต่มองว่ายังไปได้อีกอย่างน้อย 12 เดือน ส่วนราคาน้ำมันจะไม่ปรับขึ้น เนี่องจากอุปทานจะมีเข้ามามากขึ้น ส่วนตลาดหุ้น ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นจีนปรับลดลงมา 40% อินเดียลงมา 30-40% การลงทุนในหุ้นสามารถชนะอัตราเงินเฟ้อได้ และหากปัญหาซับไพรม์หมดไป ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นด้วย