กองทุนประกันสังคมโชว์ผลตอบแทน 6 เดือนโต 12,285 ล้านบาท หรือ 4.51% ซึ่งลดลงจากปีก่อนที่6.00% จากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และราคาตราสารทุนที่ปรับตัวลด “สุรินทร์”เตรียมเสนอบอร์ดอนุมัติแผนลงทุนต่างแดนเพิ่มอีก 1.9 หมื่นล้านบาท หวังได้ตัวผู้จัดการกองทุนภายในไตรมาส 3 นี้ ส่วนพ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝากที่ใกล้เริ่มใช้ ยืนยันไม่มีความกังวล เพราะทยอยลดสัดส่วนเงินฝากตั้งแต่ปี46จนเหลือแค่ 1% แล้ว แถมเตรียมยื่นขอคุ้มครองเงินฝากที่เหลือให้เต็ม100% เร็วๆนี้
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 535,485 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 427,266 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานฯสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 ส่วนที่เหลือเป็นเงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 75,269 ล้านบาท และเงินกองทุนกรณีว่างงาน 32,950 ล้านบาท
ทั้งนี้เงินลงทุนจำนวน 535,485 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชนจำนวน 437,865 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82% ของเงินลงทุน ส่วนที่เหลือสปส.จะนำลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 97,620 ล้านบาท คิดเป็น 18% ของเงินลงทุน
“ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 12,285 ล้านบาท สูงกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งได้ผลตอบแทนจำนวน 10,121 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทน 4.51% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้รับผลตอบแทน 6.00% ต่อปี เนื่องจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าตราสารทุนจากภาวะตลาดที่ผันผวนในช่วงที่ผ่านมา”นายสุรินทร์ กล่าว
นายสุรินทร์ กล่าวว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดการเงินของไทยมีความผันผวนมาก โดยในส่วนของตลาดตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจาก 4.50% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 เป็น 6.00% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ทำให้มูลค่าพันธบัตรตามราคาตลาดปรับตัวลดลง ในส่วนของตลาดตราสารทุน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ปรับตัวลดลงจาก 792.71 จุด เป็น 768.59 จุด ในช่วงเดียวกัน ทำให้มูลค่าหุ้นปรับลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ดี กองทุนสปส.มีนโยบายลงทุนระยะยาว ทำให้การปรับตัวของราคาหลักทรัพย์ในช่วงนี้จึงไม่ส่งผลกระทบกับกองทุนมากนัก
สำหรับครึ่งปีหลัง สำนักงานประกันสังคมยังคงเน้นการกระจายการลงทุนมากขึ้น ทั้งในประเทศไทยและในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอุปทานพันธบัตรรัฐบาลไทยและหุ้นไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของกองทุน รวมทั้งต้องแสวงหาทางเลือกการลงทุนใหม่ที่เหมาะสมกับกองทุน ซึ่งเป็นไปตามแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสปส.ด้วย
โดยในส่วนของแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้น ขณะนี้กองทุนมีวงเงินลงทุนในต่างประเทศรวม 24,435 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5% ของเงินลงทุนกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ทั้งนี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2551 สำนักงานได้รับอนุมัติวงเงินลงทุนในต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มเติมอีกจำนวน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 19,800 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แผนการลงทุนและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้จัดการกองทุนต่างประเทศได้ผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนแล้ว
ดังนั้นในขณะนี้สำนักงานสปส.จึงได้จัดเตรียมเสนอแผนและหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมในลำดับต่อไป หากได้รับความเห็นชอบแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนต่างประเทศได้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ของปี 2551 และทยอยลงทุนได้ในต้นปี 2552 เป็นต้นไป
นายสุรินทร์ กล่าวว่า ตามที่ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ โดยพ.ร.บ. ดังกล่าวมีขึ้นเพื่อจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และจะส่งผลให้มีการทยอยลดวงเงินฝากที่จะได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาล (วงเงินคุ้มครองต่อผู้ฝาก 1 รายต่อ 1 สถาบันการเงิน) ตามกำหนดดังนี้ ในปีแรก (11 ส.ค. 51 - ส.ค. 52) ยังคงคุ้มครองเต็มจำนวน
ปีที่สอง (11 ส.ค. 52 - ส.ค. 53) คุ้มครอง 100 ล้านบาท ปีที่สาม (11 ส.ค. 53 - ส.ค. 54) คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่สี่ (11 ส.ค. 54 - ส.ค. 55) คุ้มครอง 10 ล้านบาท และปีที่ห้าเป็นต้นไป (11 ส.ค. 55) คุ้มครอง 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากแนวนโยบายข้างต้น การจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำให้เงินฝากของกองทุนประกันสังคมที่ฝากอยู่ตามธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันไม่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน โดยในปี 2555 เงินฝากของกองทุนประกันสังคมจะได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน
อย่างไรก็ดี ใน 5-6 ปีที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมได้ทราบข่าวการจัดตั้งสถาบันดังกล่าว จึงได้เตรียมการเพื่อรองรับตั้งแต่ปี 2546 ด้วยการลดสัดส่วนเงินฝากตั้งแต่ปี 2546 เป็นลำดับ โดยสัดส่วนเงินฝากลดลงจาก 30% ของเงินกองทุนฯ เหลือ 1% ในปี 2551 โดยส่วนที่ลดลงได้ถูกนำไปลงทุนในตราสารชนิดอื่น เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความมั่นคงและได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า
นอกจากนี้ กองทุนประกันสังคม ได้มีการแก้ไขระเบียบข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงทุน ให้รองรับกับเงินฝากที่จะไม่ได้รับการค้ำประกันโดยรัฐ โดยจัดเงินฝากดังกล่าวให้อยู่ในหมวดของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งมีกรอบการลงทุนไม่เกิน 40% จากเดิมที่เคยจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง
ส่วนแนวทางการดำเนินการในอนาคตของสำนักงานประกันสังคมต่อการบังคับใช้ของพ.ร.บ.ฯฉบับนี้ สำนักงานได้เตรียมจัดทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (ซึ่งจะมีการแต่งตั้งหลังจากที่ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มีการบังคับใช้) เพื่อขอให้มีการพิจารณาคุ้มครองเงินฝากของกองทุนประกันสังคม เนื่องจากเป็นเงินของผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศกว่า 9 ล้านคน ขณะเดียวกันสปส.วางแผนการลงทุนและการครบกำหนดของเงินลงทุนให้สอดคล้องกับภาระการจ่ายเงินของกองทุนประกันสังคม เพื่อลดภาระความจำเป็นในการฝากเงิน
“สำนักงานประกันสังคมได้มีหน่วยงานเฉพาะด้านการลงทุนซึ่งทำการวิเคราะห์การลงทุนอย่างใกล้ชิดและได้มีการวิเคราะห์สถานะการเงินของสถาบันการเงินอย่างละเอียด ดังนั้น สปส.จะมีการพิจารณาสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสถาบันการเงินให้เหมาะสมต่อสถานะทางการเงินของสถาบันการเงินแต่ละแห่งทุกครั้งก่อนการลงทุน”นายสุรินทร์ กล่าว
นายสุรินทร์ จิรวิศิษฎ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุนรวม 535,485 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ จำนวน 427,266 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศที่สำนักงานฯสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพ โดยจะเริ่มมีการจ่ายบำนาญชราภาพในปี พ.ศ. 2557 ส่วนที่เหลือเป็นเงินกองทุนที่ดูแลกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตร 75,269 ล้านบาท และเงินกองทุนกรณีว่างงาน 32,950 ล้านบาท
ทั้งนี้เงินลงทุนจำนวน 535,485 ล้านบาทในปัจจุบัน แบ่งเป็นเงินลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังค้ำประกัน เงินฝากธนาคาร และหุ้นกู้เอกชนจำนวน 437,865 ล้านบาท หรือคิดเป็น 82% ของเงินลงทุน ส่วนที่เหลือสปส.จะนำลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ตราสารหนี้อื่นๆ หน่วยลงทุน และหุ้นสามัญ 97,620 ล้านบาท คิดเป็น 18% ของเงินลงทุน
“ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 กองทุนประกันสังคมได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 12,285 ล้านบาท สูงกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งได้ผลตอบแทนจำนวน 10,121 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราผลตอบแทน 4.51% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งได้รับผลตอบแทน 6.00% ต่อปี เนื่องจากการปรับตัวลดลงของมูลค่าตราสารทุนจากภาวะตลาดที่ผันผวนในช่วงที่ผ่านมา”นายสุรินทร์ กล่าว
นายสุรินทร์ กล่าวว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ตลาดการเงินของไทยมีความผันผวนมาก โดยในส่วนของตลาดตราสารหนี้ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจาก 4.50% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2550 เป็น 6.00% ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2551 ทำให้มูลค่าพันธบัตรตามราคาตลาดปรับตัวลดลง ในส่วนของตลาดตราสารทุน ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ปรับตัวลดลงจาก 792.71 จุด เป็น 768.59 จุด ในช่วงเดียวกัน ทำให้มูลค่าหุ้นปรับลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ดี กองทุนสปส.มีนโยบายลงทุนระยะยาว ทำให้การปรับตัวของราคาหลักทรัพย์ในช่วงนี้จึงไม่ส่งผลกระทบกับกองทุนมากนัก
สำหรับครึ่งปีหลัง สำนักงานประกันสังคมยังคงเน้นการกระจายการลงทุนมากขึ้น ทั้งในประเทศไทยและในตลาดต่างประเทศ เนื่องจากอุปทานพันธบัตรรัฐบาลไทยและหุ้นไทยยังไม่เพียงพอกับความต้องการของกองทุน รวมทั้งต้องแสวงหาทางเลือกการลงทุนใหม่ที่เหมาะสมกับกองทุน ซึ่งเป็นไปตามแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสปส.ด้วย
โดยในส่วนของแผนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้น ขณะนี้กองทุนมีวงเงินลงทุนในต่างประเทศรวม 24,435 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5% ของเงินลงทุนกองทุนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ ทั้งนี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2551 สำนักงานได้รับอนุมัติวงเงินลงทุนในต่างประเทศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพิ่มเติมอีกจำนวน 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 19,800 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2551 แผนการลงทุนและหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้จัดการกองทุนต่างประเทศได้ผ่านการกลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการบริหารการลงทุนแล้ว
ดังนั้นในขณะนี้สำนักงานสปส.จึงได้จัดเตรียมเสนอแผนและหลักเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการประกันสังคมในลำดับต่อไป หากได้รับความเห็นชอบแล้ว คาดว่าจะสามารถดำเนินการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนต่างประเทศได้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ของปี 2551 และทยอยลงทุนได้ในต้นปี 2552 เป็นต้นไป
นายสุรินทร์ กล่าวว่า ตามที่ พ.ร.บ. สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 ที่กำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคมนี้ โดยพ.ร.บ. ดังกล่าวมีขึ้นเพื่อจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และจะส่งผลให้มีการทยอยลดวงเงินฝากที่จะได้รับความคุ้มครองจากรัฐบาล (วงเงินคุ้มครองต่อผู้ฝาก 1 รายต่อ 1 สถาบันการเงิน) ตามกำหนดดังนี้ ในปีแรก (11 ส.ค. 51 - ส.ค. 52) ยังคงคุ้มครองเต็มจำนวน
ปีที่สอง (11 ส.ค. 52 - ส.ค. 53) คุ้มครอง 100 ล้านบาท ปีที่สาม (11 ส.ค. 53 - ส.ค. 54) คุ้มครอง 50 ล้านบาท ปีที่สี่ (11 ส.ค. 54 - ส.ค. 55) คุ้มครอง 10 ล้านบาท และปีที่ห้าเป็นต้นไป (11 ส.ค. 55) คุ้มครอง 1 ล้านบาท
ทั้งนี้ จากแนวนโยบายข้างต้น การจัดตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากจะทำให้เงินฝากของกองทุนประกันสังคมที่ฝากอยู่ตามธนาคารพาณิชย์ในปัจจุบันไม่ได้รับการคุ้มครองเต็มจำนวน โดยในปี 2555 เงินฝากของกองทุนประกันสังคมจะได้รับความคุ้มครองในวงเงิน 1 ล้านบาทต่อ 1 สถาบันการเงิน
อย่างไรก็ดี ใน 5-6 ปีที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมได้ทราบข่าวการจัดตั้งสถาบันดังกล่าว จึงได้เตรียมการเพื่อรองรับตั้งแต่ปี 2546 ด้วยการลดสัดส่วนเงินฝากตั้งแต่ปี 2546 เป็นลำดับ โดยสัดส่วนเงินฝากลดลงจาก 30% ของเงินกองทุนฯ เหลือ 1% ในปี 2551 โดยส่วนที่ลดลงได้ถูกนำไปลงทุนในตราสารชนิดอื่น เช่น พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีความมั่นคงและได้รับผลตอบแทนที่สูงกว่า
นอกจากนี้ กองทุนประกันสังคม ได้มีการแก้ไขระเบียบข้อกำหนดเกี่ยวกับการลงทุน ให้รองรับกับเงินฝากที่จะไม่ได้รับการค้ำประกันโดยรัฐ โดยจัดเงินฝากดังกล่าวให้อยู่ในหมวดของสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ซึ่งมีกรอบการลงทุนไม่เกิน 40% จากเดิมที่เคยจัดประเภทไว้เป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง
ส่วนแนวทางการดำเนินการในอนาคตของสำนักงานประกันสังคมต่อการบังคับใช้ของพ.ร.บ.ฯฉบับนี้ สำนักงานได้เตรียมจัดทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการสถาบันคุ้มครองเงินฝาก (ซึ่งจะมีการแต่งตั้งหลังจากที่ พ.ร.บ.สถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 มีการบังคับใช้) เพื่อขอให้มีการพิจารณาคุ้มครองเงินฝากของกองทุนประกันสังคม เนื่องจากเป็นเงินของผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศกว่า 9 ล้านคน ขณะเดียวกันสปส.วางแผนการลงทุนและการครบกำหนดของเงินลงทุนให้สอดคล้องกับภาระการจ่ายเงินของกองทุนประกันสังคม เพื่อลดภาระความจำเป็นในการฝากเงิน
“สำนักงานประกันสังคมได้มีหน่วยงานเฉพาะด้านการลงทุนซึ่งทำการวิเคราะห์การลงทุนอย่างใกล้ชิดและได้มีการวิเคราะห์สถานะการเงินของสถาบันการเงินอย่างละเอียด ดังนั้น สปส.จะมีการพิจารณาสัดส่วนการลงทุนในแต่ละสถาบันการเงินให้เหมาะสมต่อสถานะทางการเงินของสถาบันการเงินแต่ละแห่งทุกครั้งก่อนการลงทุน”นายสุรินทร์ กล่าว