พระมหามงกุฎเป็นเครื่องหมายของราชาธิปไตย
พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพชรนิลจินดาอันมีค่าฉันใด
ข้าราชการที่อุตส่าห์ช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญสุข
ก็เปรียบเหมือนเพชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น
- - - - - - พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิบกว่าปีก่อนสมัยยังละอ่อนด้วยความประทับใจในวัยเด็ก ผมเคยวาดฝันไว้ว่า สักวันหนึ่งตัวเองจะมีโอกาสได้เป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ช่วยสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และปกป้องผลประโยชน์ให้บ้านให้เมืองกับเขาบ้าง จนถึงกับครั้งหนึ่งเคยสอบเอ็นทรานซ์ติดภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทว่าสุดท้ายกลับไม่มีวาสนาได้เล่าเรียน
อาจเป็นอย่างที่หลายคนเคยกล่าวเตือนไว้ด้วยความหวังดีว่า นามสกุลอย่างผมจะมีปัญญาไล่ตามความฝันนักการทูตได้อย่างไร? เพราะนักการทูตนั้นอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีสกุลรุนชาติ มีเชื้อผู้ดีกับเขาบ้าง ไอ้หลานเจ๊กไหหลำแซ่ลิ้มเช่นผม อย่างมากก็คงเป็นได้เพียงข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือลูกจ้างประจำต๊อกต๋อยเท่านั้น
ถึงจะไม่ได้เป็นทูตอย่างที่เคยฝัน แต่ความประทับใจเมื่อครั้งยังเด็กในความภูมิฐานและทรงภูมิของบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศหลายๆ ท่านก็ยังคงติดตาตรึงใจผมมาจนถึงทุกวันนี้
หลายปีมานี้ หลังเสร็จจากภารกิจการงานประมาณเที่ยงคืน บนเส้นทางกลับบ้าน ผมจะต้องขับรถผ่านถนนเลียบสวนจิตรลดา-ศรีอยุธยา แทบทุกวัน
บอกตามตรงว่าทุกครั้งที่ขับรถผ่าน ผมจะต้องเหลือบมองแสงจากหมู่อาคารของกระทรวงการต่างประเทศด้วยความชื่นชมในใจทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2550 ที่ มีการอัญเชิญพระรูปของ “พระบิดาแห่งการทูตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กลับมาประดิษฐานไว้ ณ กระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งยิ่งช่วยเพิ่มความเข้มขลังให้สถานที่ราชการแห่งนี้ขึ้นไปอีก
แม้กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ในยุทธศาสตร์ดาวกระจายของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เดินทางไปกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารต่อ นายนพดล ปัทมะ และให้กำลังใจข้าราชการน้ำดีของกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนแกนนำพันธมิตรฯ จะกล่าวปราศรัยก็ยังต้องมีการกราบขอพรและขออภัยต่อหน้าพระรูปของพระองค์ท่านก่อน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) และเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2428 และได้ทรงงานในตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลา 38 ปี จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2466 พระองค์ท่านทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในงานด้านการต่างประเทศของไทย นอกจากนี้ท่านยังเป็นต้นสกุล “เทวกุล” ในปัจจุบันอีกด้วย
ที่มาที่ไปของต้นสกุลเทวกุลเช่นนี้นี่เองที่ช่วยไขคำตอบที่หลายคนคงสงสัยกำลังอยู่ว่า ทำไมในช่วงนี้จากกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา “หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงให้ความสนใจโดยมักจะเขียนบทความเสนอแนะรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง
โดย “หม่อมอุ๋ย” นอกจากจะเป็นหลานแท้ๆ ของกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการแล้ว บิดาของท่านคือพลตรีหม่อมเจ้าปรีดิเทพยพงษ์ เทวกุล ก็เป็นอดีตทูตไทยประจำอังกฤษอีกด้วย กระนั้นก็ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยเช่นกันที่บุตรชายของท่าน หรือ “คุณปลื้ม” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล กลับไม่ได้สำแดงเชื้อหลาน-เหลน ของนักการทูตผู้รักชาติออกมาให้ปรากฏแก่ผู้คนโดยทั่วไปเท่าใดนัก
ทั้งนี้บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศต่อวิกฤตชายแดนกรณีข้อพิพาทเรื่องปราสาทและเขาพระวิหาร ณ พ.ศ. นี้ ทำเอาผมอดรู้สึกสะทกสะท้อนใจต่อชะตากรรมของประเทศชาติ ในขณะเดียวกันก็อดเห็นใจคนในกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ จนต้องประหวัดถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์สองเรื่อง
เรื่องแรก คือ บทบาทของกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436) หรือวิกฤตของชาติที่มหาอำนาจตะวันตกอย่างฝรั่งเศสซึ่งต้องการขยายอาณานิคมมาในเอเชียส่งกำลังทางบกรุกเข้ามาทางชายแดนสยามบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมทั้งส่งเรือรบเข้ามาที่กรุงเทพฯ เพื่อบีบบังคับให้สยามสละสิทธิเหนือดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (เขมร ลาว) ให้แก่ตนเอง ทว่าด้วยพระปรีชาของกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการทำให้มีการเจรจาต่อรองกันขึ้นจนในที่สุด สยามสามารถรักษาเอกราชไว้ได้แต่ก็ต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ที่มีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อ โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นถือว่ามีความเกี่ยวพันกับปัญหาเขาพระวิหารในปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง
เรื่องที่สอง คือ บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่อวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
วิกฤตต้มยำกุ้งที่ก่อตัวกลายเป็นวิกฤตการเงินแห่งเอเชียใน พ.ศ. 2540 ถือได้ว่าเป็นจุดหักเหทางเกียรติยศและชื่อเสียง ของหน่วยงานทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินที่เคยสง่างามที่สุดในประเทศ ทั้งๆ ที่แต่เดิมทีในแวดวงเศรษฐศาสตร์แล้วเชื่อถือกันว่าบุคลากรของแบงก์ชาตินั้นเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิ เป็นระดับมันสมองของประเทศ แต่นับจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อ 11 ปีก่อนจนกระทั่งวันนี้ แบงก์ชาติก็ไม่สามารถกอบกู้ชื่อเสียงของตัวเองให้กลับคืนมาดีดังเดิมได้อีกเลย
ถามว่าสามเดือนก่อนหน้านี้ ใครจะเชื่อว่าจากกรณีที่รัฐบาลไทยของนายสมัครประกาศสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จะกลายมาเป็นข้อพิพาทระดับชาติที่เรื่องถูกร้องเรียนเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กลายเป็นประเด็นที่นำมาสู่ความขัดแย้งที่สุ่มเสี่ยงว่าจะกลายเป็นสงครามแย่งชิงดินแดนที่ก่อให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อ และที่สำคัญที่สุดสุ่มเสี่ยงว่าอาจจะทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนเป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปี
ท่านทั้งหลายกรุณาตอบตัวเองด้วยความซื่อสัตย์เถิดว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในกรณีเขาพระวิหารมีต้นเหตุมาจากการทักท้วงและการคัดค้านของพันธมิตรฯ หรือมีต้นเหตุมาจากความดื้อรั้น ละโมบและเห็นแก่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดของใครกันแน่?
ก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ฝ่ายการเมืองมีคำสั่งย้าย คุณวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง แล้วโยกนายกฤต ไกรจิตติ มาดำรงตำแหน่งแทนจนท่านปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คุณวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ต้องเขียนจดหมายให้กำลังใจคุณวีรชัย และข้าราชการกรมสนธิสัญญาด้วยลายมือตัวเอง ตัวผมเองเมื่อได้อ่านข่าวและอ่านจดหมายที่เขียนด้วยลายมือฉบับดังกล่าวก็รู้สึกตื้นตันและอัดอั้นใจไม่น้อยเช่นกัน
ทว่าในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ผมคงมิอาจช่วยอะไรบรรดาเพื่อนๆ พี่ๆ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ซื่อสัตย์-ซื่อตรง รักชาติ ศาสน์ และจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ได้มากไปกว่าการส่งแรงใจและกำลังใจไปให้พวกท่าน ในการลุกขึ้นขัดขวางนักการเมืองชั่วเพื่อให้ชาติผ่านพ้นวิกฤต ช่วยกอบกู้ดินแดนและธำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของกระทรวงการต่างประเทศและพระบิดาแห่งการทูตไทย
ขอให้ความดีของท่านและความกล้าหาญที่จะต่อสู้กับความชั่วร้ายทั้งปวง ได้โปรดส่องประกายดั่งเครื่องประดับพระมหามงกุฎขององค์พระประมุขด้วยเถิด
พระมหามงกุฎสง่างามด้วยประดับเพชรนิลจินดาอันมีค่าฉันใด
ข้าราชการที่อุตส่าห์ช่วยกันทะนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญสุข
ก็เปรียบเหมือนเพชรนิลเครื่องประดับพระมหามงกุฎฉันนั้น
- - - - - - พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สิบกว่าปีก่อนสมัยยังละอ่อนด้วยความประทับใจในวัยเด็ก ผมเคยวาดฝันไว้ว่า สักวันหนึ่งตัวเองจะมีโอกาสได้เป็นข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ช่วยสานสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และปกป้องผลประโยชน์ให้บ้านให้เมืองกับเขาบ้าง จนถึงกับครั้งหนึ่งเคยสอบเอ็นทรานซ์ติดภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทว่าสุดท้ายกลับไม่มีวาสนาได้เล่าเรียน
อาจเป็นอย่างที่หลายคนเคยกล่าวเตือนไว้ด้วยความหวังดีว่า นามสกุลอย่างผมจะมีปัญญาไล่ตามความฝันนักการทูตได้อย่างไร? เพราะนักการทูตนั้นอย่างน้อยๆ ก็ต้องมีสกุลรุนชาติ มีเชื้อผู้ดีกับเขาบ้าง ไอ้หลานเจ๊กไหหลำแซ่ลิ้มเช่นผม อย่างมากก็คงเป็นได้เพียงข้าราชการชั้นผู้น้อยหรือลูกจ้างประจำต๊อกต๋อยเท่านั้น
ถึงจะไม่ได้เป็นทูตอย่างที่เคยฝัน แต่ความประทับใจเมื่อครั้งยังเด็กในความภูมิฐานและทรงภูมิของบุคลากรของกระทรวงการต่างประเทศหลายๆ ท่านก็ยังคงติดตาตรึงใจผมมาจนถึงทุกวันนี้
หลายปีมานี้ หลังเสร็จจากภารกิจการงานประมาณเที่ยงคืน บนเส้นทางกลับบ้าน ผมจะต้องขับรถผ่านถนนเลียบสวนจิตรลดา-ศรีอยุธยา แทบทุกวัน
บอกตามตรงว่าทุกครั้งที่ขับรถผ่าน ผมจะต้องเหลือบมองแสงจากหมู่อาคารของกระทรวงการต่างประเทศด้วยความชื่นชมในใจทุกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ช่วงปลายปี 2550 ที่ มีการอัญเชิญพระรูปของ “พระบิดาแห่งการทูตไทย” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ กลับมาประดิษฐานไว้ ณ กระทรวงการต่างประเทศอีกครั้งยิ่งช่วยเพิ่มความเข้มขลังให้สถานที่ราชการแห่งนี้ขึ้นไปอีก
แม้กระทั่งเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 ในยุทธศาสตร์ดาวกระจายของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เดินทางไปกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อยื่นหนังสือทวงถามกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารต่อ นายนพดล ปัทมะ และให้กำลังใจข้าราชการน้ำดีของกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนแกนนำพันธมิตรฯ จะกล่าวปราศรัยก็ยังต้องมีการกราบขอพรและขออภัยต่อหน้าพระรูปของพระองค์ท่านก่อน
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ มีพระนามเดิม ว่า พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) และเป็นพระเจ้าน้องยาเธอในรัชกาลที่ 5 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2428 และได้ทรงงานในตำแหน่งดังกล่าวเป็นเวลา 38 ปี จนสิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.2466 พระองค์ท่านทรงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในงานด้านการต่างประเทศของไทย นอกจากนี้ท่านยังเป็นต้นสกุล “เทวกุล” ในปัจจุบันอีกด้วย
ที่มาที่ไปของต้นสกุลเทวกุลเช่นนี้นี่เองที่ช่วยไขคำตอบที่หลายคนคงสงสัยกำลังอยู่ว่า ทำไมในช่วงนี้จากกรณีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา “หม่อมอุ๋ย” ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงให้ความสนใจโดยมักจะเขียนบทความเสนอแนะรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่บ่อยครั้ง
โดย “หม่อมอุ๋ย” นอกจากจะเป็นหลานแท้ๆ ของกรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการแล้ว บิดาของท่านคือพลตรีหม่อมเจ้าปรีดิเทพยพงษ์ เทวกุล ก็เป็นอดีตทูตไทยประจำอังกฤษอีกด้วย กระนั้นก็ถือเป็นเรื่องน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อยเช่นกันที่บุตรชายของท่าน หรือ “คุณปลื้ม” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล กลับไม่ได้สำแดงเชื้อหลาน-เหลน ของนักการทูตผู้รักชาติออกมาให้ปรากฏแก่ผู้คนโดยทั่วไปเท่าใดนัก
ทั้งนี้บทบาทของกระทรวงการต่างประเทศต่อวิกฤตชายแดนกรณีข้อพิพาทเรื่องปราสาทและเขาพระวิหาร ณ พ.ศ. นี้ ทำเอาผมอดรู้สึกสะทกสะท้อนใจต่อชะตากรรมของประเทศชาติ ในขณะเดียวกันก็อดเห็นใจคนในกระทรวงการต่างประเทศไม่ได้ จนต้องประหวัดถึงเรื่องราวในประวัติศาสตร์สองเรื่อง
เรื่องแรก คือ บทบาทของกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 (พ.ศ. 2436) หรือวิกฤตของชาติที่มหาอำนาจตะวันตกอย่างฝรั่งเศสซึ่งต้องการขยายอาณานิคมมาในเอเชียส่งกำลังทางบกรุกเข้ามาทางชายแดนสยามบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง พร้อมทั้งส่งเรือรบเข้ามาที่กรุงเทพฯ เพื่อบีบบังคับให้สยามสละสิทธิเหนือดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (เขมร ลาว) ให้แก่ตนเอง ทว่าด้วยพระปรีชาของกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการทำให้มีการเจรจาต่อรองกันขึ้นจนในที่สุด สยามสามารถรักษาเอกราชไว้ได้แต่ก็ต้องยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ที่มีอยู่ทั้งหมด 4 ข้อ โดยเหตุการณ์ในครั้งนั้นถือว่ามีความเกี่ยวพันกับปัญหาเขาพระวิหารในปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง
เรื่องที่สอง คือ บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต่อวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540
วิกฤตต้มยำกุ้งที่ก่อตัวกลายเป็นวิกฤตการเงินแห่งเอเชียใน พ.ศ. 2540 ถือได้ว่าเป็นจุดหักเหทางเกียรติยศและชื่อเสียง ของหน่วยงานทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงินที่เคยสง่างามที่สุดในประเทศ ทั้งๆ ที่แต่เดิมทีในแวดวงเศรษฐศาสตร์แล้วเชื่อถือกันว่าบุคลากรของแบงก์ชาตินั้นเป็นบุคลากรระดับหัวกะทิ เป็นระดับมันสมองของประเทศ แต่นับจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจเมื่อ 11 ปีก่อนจนกระทั่งวันนี้ แบงก์ชาติก็ไม่สามารถกอบกู้ชื่อเสียงของตัวเองให้กลับคืนมาดีดังเดิมได้อีกเลย
ถามว่าสามเดือนก่อนหน้านี้ ใครจะเชื่อว่าจากกรณีที่รัฐบาลไทยของนายสมัครประกาศสนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จะกลายมาเป็นข้อพิพาทระดับชาติที่เรื่องถูกร้องเรียนเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ กลายเป็นประเด็นที่นำมาสู่ความขัดแย้งที่สุ่มเสี่ยงว่าจะกลายเป็นสงครามแย่งชิงดินแดนที่ก่อให้เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อ และที่สำคัญที่สุดสุ่มเสี่ยงว่าอาจจะทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนเป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปี
ท่านทั้งหลายกรุณาตอบตัวเองด้วยความซื่อสัตย์เถิดว่า ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในกรณีเขาพระวิหารมีต้นเหตุมาจากการทักท้วงและการคัดค้านของพันธมิตรฯ หรือมีต้นเหตุมาจากความดื้อรั้น ละโมบและเห็นแก่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดของใครกันแน่?
ก่อนหน้านี้ ในเดือนพฤษภาคมเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ฝ่ายการเมืองมีคำสั่งย้าย คุณวีรชัย พลาศรัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมายไปเป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง แล้วโยกนายกฤต ไกรจิตติ มาดำรงตำแหน่งแทนจนท่านปลัดกระทรวงการต่างประเทศ คุณวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ต้องเขียนจดหมายให้กำลังใจคุณวีรชัย และข้าราชการกรมสนธิสัญญาด้วยลายมือตัวเอง ตัวผมเองเมื่อได้อ่านข่าวและอ่านจดหมายที่เขียนด้วยลายมือฉบับดังกล่าวก็รู้สึกตื้นตันและอัดอั้นใจไม่น้อยเช่นกัน
ทว่าในสถานการณ์วิกฤตเช่นนี้ ผมคงมิอาจช่วยอะไรบรรดาเพื่อนๆ พี่ๆ ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศที่ซื่อสัตย์-ซื่อตรง รักชาติ ศาสน์ และจงรักภักดีในสถาบันพระมหากษัตริย์ได้มากไปกว่าการส่งแรงใจและกำลังใจไปให้พวกท่าน ในการลุกขึ้นขัดขวางนักการเมืองชั่วเพื่อให้ชาติผ่านพ้นวิกฤต ช่วยกอบกู้ดินแดนและธำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของกระทรวงการต่างประเทศและพระบิดาแห่งการทูตไทย
ขอให้ความดีของท่านและความกล้าหาญที่จะต่อสู้กับความชั่วร้ายทั้งปวง ได้โปรดส่องประกายดั่งเครื่องประดับพระมหามงกุฎขององค์พระประมุขด้วยเถิด