xs
xsm
sm
md
lg

เขมรหันหลังให้ไทย-อาเซียนซบเวียดนาม-UNSC

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<CENTER><FONT color=#3366FF> นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ลีเซียนลุง เป็นประธานพธีเปิดประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างเป็นทางการวันจันทร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางปัญหาพิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทยอันร้อนระอุ และ อาเซียนไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้สำเร็จเมื่อวันอังคารนี้ และกัมพูชาได้ไม่ได้หวังพึ่งพา (ภาพ: AFP) </FONT></CENTER>

ผู้จัดการรายวัน -- กลุ่มอาเซียนล้มเหลวในความพยายามไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทไทย-กัมพูชา ในการประชุมนัดพิเศษฝันอังคาร (22 ก.ค.) ที่ผ่านมา แต่กัมพูชาก็ไม่ได้ตั้งความหวังอะไรไว้ที่เวทีแห่งนี้ ซึ่งเคยเป็นปรปักษ์กับกลุ่มปกครองในกรุงพนมเปญมายาวนานในช่วงสงครามเย็น

พร้อมๆ กับการร้องขอให้อาเซียนนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณา รัฐบาลกัมพูชาได้นำความขัดแย้งชายแดนเขาพระวิหารกับไทย เข้าสู่การพิจารณาของสหประชาชาติ เพื่อให้คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติจัดประชุมฉุกเฉิน พิจารณาสถานการณ์ที่ชายแดนไทย

รัฐบาลกัมพูชาชุดปัจจุบันมีประสบการณ์ในการต่อรองบนเวทีใหญ่ระหว่างประเทศ เป็นอย่างดีตลอดกว่า 20 ปีที่ผ่านมา และหวังว่า องค์กรการเมืองการทหารของสหประชาชาติ เป็นหนทางสั้นที่สุดที่จะได้รับการคุ้มครอง ขณะกำลังทหารกำลังเผชิญหน้ากับฝ่ายไทยบนเขาพระวิหาร

“เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันด้วยอาวุธ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ได้ตัดสินใจร้องขอให้มีการประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อหาวิธีการการแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ”

กัมพูชา ระบุดังกล่าวในคำแถลงที่ออกโดยกระทรวงการต่างประเทศวันอังคาร (22 ก.ค.) นี้

สมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ก่อตั้งขึ้นมาบนพื้นฐานการไม่แทรกแซงกิจการภายในระหว่างประเทศ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับกรณีพิพาทสองฝ่ายของชาติสมาชิก แต่ในระยะใกล้ๆ นี้อาเซียนเริ่มทำหลายอย่างที่ไม่เคยทำ โดยสร้างกรอบความร่วมมือใหม่ๆ ขึ้นมาครอบคลุมในหลายขอบเขตยิ่งขึ้น

เมื่อปีที่แล้ว รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ซึ่งประชุมในฟิลิปปินส์ ได้ประณามอย่างแข็งกร้าวต่อการที่รัฐบาลทหารพม่าปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วงอย่างโหดเหี้ยมในเดือน ก.ย.โดยเลือกใช้คำว่าเป็นการกระทำที่ “น่าขยะแขยง”
<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพถ่ายวันที่ 22 ก.ค.2551 นายฝ่ามยาเคียม (Pham Gia Khiem) รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม ไปประชุมในสิงคโปร์ โดดเด่นที่สุดในวงนี้ในฐานะประธานที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เขมรร้องขอปุ๊บได้ปั๊บ นายเขียว กัญฤทธิ์ (Khieu Kanharith) โฆษกรัฐบาลกัมพูชาประกาศเมื่อวันเสาร์ว่า การประชุม UNSC นัดฉุกเฉินจะมีขึ้นในวันจันทร์หน้า (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
ต่อกรณี ไทย-กัมพูชา ครั้งนี้ อาเซียนมิได้ละเลย และได้พยายามรวมกลุ่มเพื่อเป็นตัวกลางเข้าไกล่เกลี่ย

ในวันที่ 21 ก.ค.รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้เรียกร้องไทยกับกัมพูชาใช้ความอดทนและอดกลั้นอย่างถึงที่สุดแก้ไขข้อพิพาทด้วยสันติวิธี และในวันที่ 22 ก.ค.อาเซียนก็ได้มีกำหนดจัดพูดคุยเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งโดยเชิญ รมว.ต่างประเทศไทยกับกัมพูชาเข้าร่วมด้วย

อย่างไรก็ตาม กัมพูชาไม่ได้มีเจตนาที่จะใช้อาเซียนเป็นเวทีในการแก้ปัญหา และมองว่า ในระยะยาวข้างหน้ายิ่งจะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่เดือน ส.ค.เป็นต้นไป ไทยจะเข้าทำหน้าที่ “ประเทศประธาน” หรือ ประธานคณะกรรมการประจำกลุ่มอาเซียน

นอกจากนั้น กัมพูชายังกลัวความจริงที่ว่า เลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน คือ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ นั้น เป็นชาวไทยและเป็นอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของคู่กรณี และตลอดทั้งปีต่อไปนี้กิจกรรมของอาเซียนจะมีไทยเป็นศูนย์กลาง

กัมพูชา ได้แสดงท่าทีที่เห็นได้ชัดว่า ไม่ได้ให้ความสนใจต่อการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่ สิงคโปร์

นายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ นักการทูตสไตล์โซเวียต ที่ช่ำชองการเจรจาบนเวทีระหว่างประเทศ ไม่ได้ไปร่วมการประชุมที่สิงคโปร์ แต่ส่งระดับผู้ช่วยรัฐมนตรี (Secretary of State) ไปแทน ขณะที่ประเทศไทย ซึ่งไร้รัฐมนตรีต่างประเทศ ได้ส่งรองนายกรัฐมนตรีคนหนึ่งไปร่วม
<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพถ่ายวันที่ 22 ก.ค.2551 นายกาวกิมฮูน (Kao Kim Hourn) ผู้ช่วยรัฐมนตรีเป็นตัวแทนไปประชุมรัฐมนตรีอาเซียนในสิงคโปร์แทนนายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) ที่กุมนโยบายอยู่ข้างหลัง (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
ในวงการทูต รวมทั้งบรรดารัฐมนตรีอาเซียน มองว่า การเผชิญหน้าระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งดำเนินมาเป็นวันที่เจ็ด เป็นสถานการณ์ ที่ “หยุดนิ่ง” (stalemate) เคลื่อนต่อไปไม่ได้แล้ว แต่เป็นเรื่องดีที่การเจรจาระหว่างผู้นำทหารระดับสูงของสองฝ่ายเมื่อวันจันทร์ได้ตกลงที่จะใช้ความพยายามไม่ให้เกิดความรุนแรง

แต่กัมพูชาย่อมคิดอีกอย่างหนึ่ง ..

คณะผู้นำในกรุงพนมเปญ ปัจจุบันล้วนเป็นอดีตเขมรแดงแปรพักตร์ ที่ได้เชื้อเชิญคอมมิวนิสต์เวียดนามส่งทหารนับแสนเข้าโค่นล้มรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ที่นำโดยนายโปลโป้ท (Pol Pot) เมื่อต้นปี 2522

นับตั้งแต่นั้นมา กลุ่มปกครองเฮงสัมริน-เจียซิม และ ฮุนเซน เมื่อก่อน ต้องต่อสู้การปิดล้อมของประชาคมระหว่างประเทศต่อมาอีกกว่า 10 ปี ขณะที่ไทยกับจีนเป็นหัวหอกในการรณรงค์รักษาที่นั่งของรัฐบาลผสมสามฝ่ายกัมพูชาประชาธิปไตย (Tripartite Government of Democratic Kampuchea) ที่นำโดยเจ้านโรดมสีหนุในสหประชาชาติ พร้อมๆ กับโดดเดี่ยว “รัฐบาลหุ่นเวียดนาม” ในกรุงพนมเปญ

อาเซียนก็เป็นอีกองค์กรหนึ่งที่หันไปต่อต้านเวียดนามในกัมพูชาและต่อต้าน “ระบอบเฮงสัมริน-ฮุนเซน” โดยกล่าวว่าเป็นภัยคุกคามต่อภูมิภาค

สมเด็จฯ ฮุนเซน ในวันนี้ ได้เคยทำหน้าที่รัฐมนตรีต่างประเทศนานหลายปี ก่อนจะขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และ นายฮอร์นัมฮอง ก็เป็นมือขวาที่อยู่เคียงข้างนายฮุนเซนมาในทุกเวที
<CENTER><FONT color=#3366FF> ต้นปี 2549 สมเด็จฯ ฮุนเซน กับนายกรัฐมนตรีเวียดนามเหวียนเติ๋นยวุ๋ง (Nguyen Tan Dung) ยิ้มแย้มแจ่มใสในพิธีเปิดใช้ด่านตรวจคนเข้าเมืองบ่าเว็ท-ม็อคบ๋าย (Ba Vet-Moc Bai) หลังปักปันเขตแดนด้านนั้นเสร็จสมบูรณ์ สัมพันธ์กัมพูชา-เวียดนาม ยังคงแน่นแฟ้นแม้ยุคสงครามเย็จะผ่านพ้นไป (ภาพ: Reuters) </FONT></CENTER>
ในที่สุด ฮุนเซน กับ “กระบี่มือหนึ่ง” ฮอร์นัมฮอง ก็สามารถเจรจาทำความตกลงกับรัฐบาลผสมสามฝ่ายของเจ้าสีหนุ และนำไปสู่การเซ็นสัญญาสันติภาพกัมพูชาในเดือน ต.ค.2534 ซึ่งนำมาสู่การจัดตั้งองค์กรปกครองชั่วคราวของสหประชาชาติ (UN Transitional Authority for Cambodia) หรือ UNTAC ขึ้นในกัมพูชา

ทั้งหมดเป็นจุดเริ่มต้นของราชอาณาจักรกัมพูชาในยุคใหม่ ที่กลุ่มปกครองชุดเดิมตั้งแต่ยุคสงครามเย็นยังคงครองอำนาจ ภายใต้พรรคประชาชนกัมพูชา (Cambodian People's Party)

นั่นก็คือ พรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (Kampuchean People's Revolutionary Party) หรือ KPRP พรรคคอมมิวนิสต์สายโซเวียต-เวียดนาม ในอดีต

พรรคการเมืองพรรคนี้คุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จแบบคอมมิวนิสต์ ปราบปรามฝ่ายตรงกันข้าม และจัดตั้งมวลชนในทุกระดับตั้งแต่เมืองหลวงลงไปจนถึงรากหญ้า คือ คอมมูน (นิยม) และหมู่บ้าน

โครงสร้างการกุมกลไกทางสังคมและการปกครองเหล่านี้ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง

กลุ่มปกครองเดิมได้ประกาศเปลี่ยนแปลงอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นประชาธิปไตย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งแรกปี 2537 พรรคการเมืองใหม่ CPP สืบทอดอำนาจและกุมกลไกลดั้งเดิมต่อมา ซึ่งได้รับประกันชัยชนะในการเลือกตั้งทุกครั้ง

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ CPP จะมีชัยอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งวันที่ 27 ก.ค.ศกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากสมเด็จฯ ฮุนเซน สามารถกวาดล้างคู่แข่งสำคัญที่สุด คือ กรมพระนโรดมรณฤทธิ์ กับ พรรคฟุนซินเปก ให้ตกเวทีไปได้
<CENTER><FONT color=#3366FF> ภาพถ่ายวันที่ 14 พ.ค.2551 นายฮอร์นัมฮอง (Hor Nam Hong) เคียงข้างนายสมชายวงศ์สวัสดิ์ จากประเทศไทยวันที่ไปร่วมพิธีเปิดทางหลวงเลข 48 เกาะกง-สีหนุงวิลล์-พนมเปญ ข้างๆ สมเด็จฯ ฮุนเซน คือ นายโสกอาน (Sok An) ผู้รับผิดชอบการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก  </FONT></CENTER>
เมื่อดูจากประสบการณ์อันยาวนานแล้ว ปัญหาเขาพระวิหารดูจะเป็นเพียงเรื่องเล็กๆ สำหรับกลุ่มปกครองเก่าในกัมพูชาที่ช่ำชองทั้งในสนามรบและสมรภูมิการเมืองและการทูตมายาวนาน

คณะผู้นำกรุงพนมเปญทราบเป็นอย่างดีด้วยประสบการณ์ ว่า “สถานการณ์หยุดนิ่ง” ที่ชายแดนนั้น อาจจะหยุดนิ่งได้ไม่นาน “เหตุการณ์น้ำผึ้งหยดเดียว” สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ขณะที่ทหารกัมพูชาว่า 1,000 คน กำลังเผชิญหน้ากับทหารราว 500 คน แต่มีอาวุธดีกว่า ทันสมัยกล่าว และมีการส่งกำลังบำรุงที่ดีกว่า

เขตแดนพิพาทเขาพระวิหารอยู่ไกลจากฐานทัพอากาศที่ใกล้ที่สุดในกรุงพนมเปญกว่า 300 กิโลเมตร แต่อยู่ห่างจากฐานทัพอากาศนครราชสีมา เพียง 100 กม.เศษ ประเทศไทยมีกำลังรบทางบก เรือ และอากาศ ที่ทันสมัยกว่าอย่างเทียบกันไม่ได้

กัมพูชาตัดสินใจหันไปพึ่งคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ซึ่งในเดือน ก.ค.นี้ เวียดนามได้ขึ้นทำหน้าที่เป็นประธานพอดี โดยหวังว่าที่นั่นจะเป็นเวทีที่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยได้ เพื่อทำให้สถานการณ์เขาพระวิหารกลับเข้าสู่สถานะเดิม (Status Quo) โดยเร็ว ก่อนจะดำเนินการขั้นต่อไป

การเผชิญหน้ากันที่ชายแดนด้านนี้ สามารถยุติลงได้โดยเร็ว ถ้าหาก UNSC สามารถหาข้อมติร่วมกันออกมา เพื่อจัดตั้งองค์กรกลางขึ้นมาทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย

แต่การต่อสู้ของไทยกับกัมพูชา เพื่ออำนาจอธิปไตยเหนือเดินแดนพระวิหารนั้น จะดำเนินไปอีกยาวไกล
กำลังโหลดความคิดเห็น