ผมอ่านแถลงการณ์ของอาจารย์มหาวิทยาลัย 240 รายชื่อ จากคณาจารย์ 32 มหาวิทยาลัยทั่วประเทศแล้ว แม้จะดีกว่า นักวิชาการหน่อมแน้มตีกินแห่งริบบิ้นขาวก็บอกได้ว่า “ช้าไปแล้วต๋อย”
โดยเฉพาะข้อ 3 ที่ว่า เพื่อยุติปัญหา อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการใช้อำนาจโดยมิชอบจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่ทำให้สังคมไทยแตกแยกในขณะนี้ จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยรัฐบาลจะต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ กระบวนการยุติธรรมควรจะต้องไม่ล่าช้าเกินไป และทุกฝ่ายจะต้องยอมรับผลของการตัดสินที่ออกมา
คำถามของผมถึงคณาจารย์ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายก็คือว่า สิ่งที่นักวิชาการส่งเสียงเตือนรัฐบาลว่า “อย่าทำ” นั้น รัฐบาลได้ “ทำ” ไปแล้วไม่ใช่หรือ
น่าประหลาดใจว่า ทำไมนักวิชาการ คนในสังคม และรวมถึงสื่อมวลชนจึงมองไม่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น และมองไม่เห็นถึงมหันตภัยในข้อนี้
สังคมจะอยู่ได้อย่างไร หากไม่มีความยุติธรรมเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคม ความยุติธรรมที่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง และเหมาะสม
การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจจะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคนเห็นด้วยกับแนวทาง แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ บางคนเห็นด้วยในบางเรื่อง และบางคนไม่เห็นด้วยในทุกเรื่อง สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิเสรีภาพที่ไม่อาจก้าวล่วงกันได้ เป็นเรื่องของนานาจิตตัง
สื่อมวลชนก็เช่นเดียวกัน บางฉบับมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามผมคิดว่า สิ่งที่ทุกคนต้องมีก็คือ การยึดหลักความยุติธรรม และสำนึกต่อความผิดถูกชั่วดี
แต่น่าประหลาดก็คือ สังคมและสื่อมวลชนส่วนใหญ่กลับไม่ได้ตระหนักต่อความพยายามในการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ ความพยายามที่จะสร้างรัฐตำรวจขึ้นมาข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงข้าม และส่งเสียงเตือนให้สังคมตระหนักถึงภยันตรายที่กำลังเกิดขึ้น แล้วลุกขึ้นมาต่อต้านกับความไม่ชอบธรรม
เพราะเสียงเตือนภัยสังคมแผ่วเบาเหลือเกิน ราวกับมองไม่เห็นว่า ความชั่วร้ายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่แล้วในสังคม
ไม่มีใครชี้ให้เห็นและส่งเสียงร้องเตือนสังคมที่ยังนิ่งเฉยอยู่ว่า ความพยายามในการออกหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในข้อหาหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ
ทำไมเราไม่ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลพยายามใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ในการเล่นงานฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดีเอสไอเข้าไปเล่นงาน กกต. และ สตง.
แม้ว่า ความพยายามรุกคืบเข้าไปจัดการกับหน่วยงานที่เป็นปรปักษ์ต่อพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชาชนจะมีมูลเหตุอยู่บ้าง แต่เราก็ต้องเห็นว่า มาตรฐานในการกระตือรือร้นที่จะจัดการกับเรื่องร้องเรียนเหล่านั้นต่างกับคดีที่เกิดขึ้นกับฝ่ายรัฐบาลอย่างไร
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า อำนาจรัฐไม่มีสิทธิในการดำเนินคดีหรือยับยั้งการกระทำผิดของฝ่ายใด ไม่ว่ารัฐบาลหรือฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าฝ่ายเขาหรือฝ่ายเรา แต่กลไกของรัฐที่ดำเนินการต่อแต่ละฝ่ายนั้นจะต้องยึดมั่นในหลักยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันมิใช่หรือ
แต่สิ่งที่ปรากฏก็คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และดีเอสไอพยายามใช้กฎหมายเร่งรัดเล่นงานฝ่ายตรงข้ามอย่างผิดปกติ แต่กลับล่าช้าในคดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติ กรณีที่ตำรวจออกหมายเรียกให้ คตส.ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทสำนักงานทนายความของทักษิณ หลังจากที่สำนักงานทนายความแห่งนี้ถูก คตส.แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท แล้วสำนักงานทนายความแจ้งความกลับในภายหลัง
เรื่องก็คือว่า สำนักงานกฎหมายนิติเอกราชที่มีหนังสือถึง คตส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค.50 ขอให้ยุติการละเมิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว
จากนั้นเมื่อวันที่ 17 ต.ค.50 นายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการ คตส.ให้ฝ่ายกฎหมายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับสำนักกฎหมายนิติเอกราช ว่า หนังสือที่สำนักงานทนายความแห่งนี้ทำถึง คตส.นั้น เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ เพราะได้กระทำตามหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายโดยคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ออกหมายเรียกนายยงยุทธ รักษ์หิรัญ และนายอภิศักดิ์ อาภัสสมภพ เจ้าของสำนักกฎหมายนิติเอกราชมารับทราบข้อกล่าวหา
กลายเป็นว่า ทางสำนักกฎหมายนิติเอกราชได้เข้าแจ้งความกลับคณะกรรมการ คตส.ทั้งหมดในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท และแจ้งความให้ผู้อื่นต้องคดีอาญา
เชื่อไหมครับ ตำรวจอ้างว่า ได้รวบรวมหลักฐานแล้ว กลายเป็นว่า คตส. “ผิด” ที่ไปแจ้งความกล่าวหาว่า ทนายความหมิ่นประมาท ส่วนทนายความที่ถูก คตส.กล่าวหาว่า หมิ่นประมาทนั้น “ไม่ผิด” และตำรวจก็พิจารณาสำนวนที่ทนายความไปแจ้งจับ คตส.เสร็จก่อน คดีที่ คตส.ไปแจ้งความจับทนาย
กรณีดีเอสไอกับ กกต.เพียงแต่ระบอบทักษิณส่งลิ่วล้อไปกล่าวหาว่ามีการฮั้วพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ส.ส.และพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินจำนวน สิ่งที่เราเห็นก็คือว่า ดีเอสไอมีความกระตือรือร้นอย่างมาก เข้าไปแจ้งความวันเดียว วันรุ่งขึ้นมีการส่งทีมงานเข้าไปตรวจสอบและสร้างกระแสในการกดดัน กกต.อย่างรวดเร็วจริงจัง
ผิดกับคดีอื่น เช่น คดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสแสท จำกัด (มหาชน) ที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กลับมาสอบสวนเพิ่มเติม แต่วันนี้ก็ยังล่าช้าไม่ไปไหน โดยมีการอ้างว่า เอกสารบางส่วนต้องมีการยืนยันและรับรองจากหน่วยงานต่างประเทศ และดีเอสไอกำลังเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลยังสั่งให้ตำรวจเข้าไปรื้อฟื้นคดีที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อหวังจะสกัดกั้นไม่ให้มีการชุมนุม รวมทั้งความพยายามที่จะใช้ตำรวจมาเป็นเครื่องมือในการสกัดกั้นการออกอากาศของ ASTV
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สะท้อนว่า ความพยายามฟื้นรัฐตำรวจของรัฐบาลพลังประชาชนได้เกิดขึ้นเป็นจริงอย่างเป็นรูปธรรมแล้วไม่ใช่หรือ
เรามองไม่เห็นความผิดปกติของ กกต.ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการอีกแห่งหนึ่งหรือว่า มี กกต.คนหนึ่งพยายามช่วยเหลือพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง มติทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองนี้จึงถูก กกต.ท่านนี้ยกมือค้าน
และคำถามว่า เงิน 2 ล้านที่พยายามนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ตุลาการนั้นเป็นเงินก้อนแรกแต่ถูกจับได้ หรือเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว
คำถามคือว่า ความกระตือรือร้นของพลเมืองที่ลุกขึ้นมาต่อต้านความไม่ชอบธรรมกับคนบางคนที่นั่งอยู่บนหอคอยคอยส่งเสียงเตือนสังคมว่าอย่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างไหนคือ สิ่งที่ต้องกระทำมากกว่ากัน.
โดยเฉพาะข้อ 3 ที่ว่า เพื่อยุติปัญหา อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีการใช้อำนาจโดยมิชอบจริงหรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่ทำให้สังคมไทยแตกแยกในขณะนี้ จะต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย โดยรัฐบาลจะต้องไม่แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆ กระบวนการยุติธรรมควรจะต้องไม่ล่าช้าเกินไป และทุกฝ่ายจะต้องยอมรับผลของการตัดสินที่ออกมา
คำถามของผมถึงคณาจารย์ผู้ทรงเกียรติทั้งหลายก็คือว่า สิ่งที่นักวิชาการส่งเสียงเตือนรัฐบาลว่า “อย่าทำ” นั้น รัฐบาลได้ “ทำ” ไปแล้วไม่ใช่หรือ
น่าประหลาดใจว่า ทำไมนักวิชาการ คนในสังคม และรวมถึงสื่อมวลชนจึงมองไม่เห็นสิ่งที่เกิดขึ้น และมองไม่เห็นถึงมหันตภัยในข้อนี้
สังคมจะอยู่ได้อย่างไร หากไม่มีความยุติธรรมเป็นตัวกำหนดทิศทางของสังคม ความยุติธรรมที่ต้องมีคุณธรรมและจริยธรรม เป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง และเหมาะสม
การเคลื่อนไหวของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอาจจะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บางคนเห็นด้วยกับแนวทาง แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการ บางคนเห็นด้วยในบางเรื่อง และบางคนไม่เห็นด้วยในทุกเรื่อง สิ่งเหล่านี้เป็นสิทธิเสรีภาพที่ไม่อาจก้าวล่วงกันได้ เป็นเรื่องของนานาจิตตัง
สื่อมวลชนก็เช่นเดียวกัน บางฉบับมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับแนวทางของพันธมิตรฯ แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามผมคิดว่า สิ่งที่ทุกคนต้องมีก็คือ การยึดหลักความยุติธรรม และสำนึกต่อความผิดถูกชั่วดี
แต่น่าประหลาดก็คือ สังคมและสื่อมวลชนส่วนใหญ่กลับไม่ได้ตระหนักต่อความพยายามในการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของฝ่ายที่กุมอำนาจรัฐ ความพยายามที่จะสร้างรัฐตำรวจขึ้นมาข่มขู่คุกคามฝ่ายตรงข้าม และส่งเสียงเตือนให้สังคมตระหนักถึงภยันตรายที่กำลังเกิดขึ้น แล้วลุกขึ้นมาต่อต้านกับความไม่ชอบธรรม
เพราะเสียงเตือนภัยสังคมแผ่วเบาเหลือเกิน ราวกับมองไม่เห็นว่า ความชั่วร้ายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่แล้วในสังคม
ไม่มีใครชี้ให้เห็นและส่งเสียงร้องเตือนสังคมที่ยังนิ่งเฉยอยู่ว่า ความพยายามในการออกหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในข้อหาหมิ่นประมาท พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ใช่เรื่องปกติ
ทำไมเราไม่ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลพยายามใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่ในการเล่นงานฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดีเอสไอเข้าไปเล่นงาน กกต. และ สตง.
แม้ว่า ความพยายามรุกคืบเข้าไปจัดการกับหน่วยงานที่เป็นปรปักษ์ต่อพรรคแกนนำรัฐบาลอย่างพรรคพลังประชาชนจะมีมูลเหตุอยู่บ้าง แต่เราก็ต้องเห็นว่า มาตรฐานในการกระตือรือร้นที่จะจัดการกับเรื่องร้องเรียนเหล่านั้นต่างกับคดีที่เกิดขึ้นกับฝ่ายรัฐบาลอย่างไร
ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า อำนาจรัฐไม่มีสิทธิในการดำเนินคดีหรือยับยั้งการกระทำผิดของฝ่ายใด ไม่ว่ารัฐบาลหรือฝ่ายตรงข้าม ไม่ว่าฝ่ายเขาหรือฝ่ายเรา แต่กลไกของรัฐที่ดำเนินการต่อแต่ละฝ่ายนั้นจะต้องยึดมั่นในหลักยุติธรรมและความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียมกันมิใช่หรือ
แต่สิ่งที่ปรากฏก็คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจ และดีเอสไอพยายามใช้กฎหมายเร่งรัดเล่นงานฝ่ายตรงข้ามอย่างผิดปกติ แต่กลับล่าช้าในคดีที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายรัฐบาล
ไม่ว่าจะเป็น ความผิดปกติ กรณีที่ตำรวจออกหมายเรียกให้ คตส.ไปรับทราบข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทสำนักงานทนายความของทักษิณ หลังจากที่สำนักงานทนายความแห่งนี้ถูก คตส.แจ้งความข้อหาหมิ่นประมาท แล้วสำนักงานทนายความแจ้งความกลับในภายหลัง
เรื่องก็คือว่า สำนักงานกฎหมายนิติเอกราชที่มีหนังสือถึง คตส. เมื่อวันที่ 3 ก.ค.50 ขอให้ยุติการละเมิด หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง เกียรติยศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว
จากนั้นเมื่อวันที่ 17 ต.ค.50 นายแก้วสรร อติโพธิ กรรมการ คตส.ให้ฝ่ายกฎหมายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับสำนักกฎหมายนิติเอกราช ว่า หนังสือที่สำนักงานทนายความแห่งนี้ทำถึง คตส.นั้น เป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือ เพราะได้กระทำตามหน้าที่เป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายโดยคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้ออกหมายเรียกนายยงยุทธ รักษ์หิรัญ และนายอภิศักดิ์ อาภัสสมภพ เจ้าของสำนักกฎหมายนิติเอกราชมารับทราบข้อกล่าวหา
กลายเป็นว่า ทางสำนักกฎหมายนิติเอกราชได้เข้าแจ้งความกลับคณะกรรมการ คตส.ทั้งหมดในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาท และแจ้งความให้ผู้อื่นต้องคดีอาญา
เชื่อไหมครับ ตำรวจอ้างว่า ได้รวบรวมหลักฐานแล้ว กลายเป็นว่า คตส. “ผิด” ที่ไปแจ้งความกล่าวหาว่า ทนายความหมิ่นประมาท ส่วนทนายความที่ถูก คตส.กล่าวหาว่า หมิ่นประมาทนั้น “ไม่ผิด” และตำรวจก็พิจารณาสำนวนที่ทนายความไปแจ้งจับ คตส.เสร็จก่อน คดีที่ คตส.ไปแจ้งความจับทนาย
กรณีดีเอสไอกับ กกต.เพียงแต่ระบอบทักษิณส่งลิ่วล้อไปกล่าวหาว่ามีการฮั้วพิมพ์บัตรเลือกตั้ง ส.ส.และพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินจำนวน สิ่งที่เราเห็นก็คือว่า ดีเอสไอมีความกระตือรือร้นอย่างมาก เข้าไปแจ้งความวันเดียว วันรุ่งขึ้นมีการส่งทีมงานเข้าไปตรวจสอบและสร้างกระแสในการกดดัน กกต.อย่างรวดเร็วจริงจัง
ผิดกับคดีอื่น เช่น คดีการปกปิดโครงสร้างผู้ถือหุ้นบริษัท เอสซี แอสแสท จำกัด (มหาชน) ที่พนักงานอัยการมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ กลับมาสอบสวนเพิ่มเติม แต่วันนี้ก็ยังล่าช้าไม่ไปไหน โดยมีการอ้างว่า เอกสารบางส่วนต้องมีการยืนยันและรับรองจากหน่วยงานต่างประเทศ และดีเอสไอกำลังเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลยังสั่งให้ตำรวจเข้าไปรื้อฟื้นคดีที่เกี่ยวข้องกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อหวังจะสกัดกั้นไม่ให้มีการชุมนุม รวมทั้งความพยายามที่จะใช้ตำรวจมาเป็นเครื่องมือในการสกัดกั้นการออกอากาศของ ASTV
สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่สะท้อนว่า ความพยายามฟื้นรัฐตำรวจของรัฐบาลพลังประชาชนได้เกิดขึ้นเป็นจริงอย่างเป็นรูปธรรมแล้วไม่ใช่หรือ
เรามองไม่เห็นความผิดปกติของ กกต.ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งตุลาการอีกแห่งหนึ่งหรือว่า มี กกต.คนหนึ่งพยายามช่วยเหลือพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง มติทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองนี้จึงถูก กกต.ท่านนี้ยกมือค้าน
และคำถามว่า เงิน 2 ล้านที่พยายามนำไปมอบให้เจ้าหน้าที่ตุลาการนั้นเป็นเงินก้อนแรกแต่ถูกจับได้ หรือเคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว
คำถามคือว่า ความกระตือรือร้นของพลเมืองที่ลุกขึ้นมาต่อต้านความไม่ชอบธรรมกับคนบางคนที่นั่งอยู่บนหอคอยคอยส่งเสียงเตือนสังคมว่าอย่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างไหนคือ สิ่งที่ต้องกระทำมากกว่ากัน.