หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ ของกัมพูชา รายงานว่า นายฮอร์ นัม ฮง รัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา ได้กล่าวกับบรรดานักการทูตต่างชาติเมื่อวานนี้ โดยระบุถึงสาเหตุที่กัมพูชาต้องยื่นเรื่องข้อพิพาทกับไทยให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติพิจารณา เป็นเพราะกัมพูชากำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่คุกคามความเป็นเอกราชของชาติ โดยหวังว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในครั้งนี้ และคณะมนตรีความมั่นคงน่าจะช่วยให้เกิดการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศได้
นายฮอร์ นัมฮง ยังกล่าวต่อไปว่า ฝ่ายไทยใช้แผนที่ที่เพิ่งจะเขียนขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออ้างสิทธิ์เหนือดินแดนหลายส่วนตามแนวพรมแดน
เกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ พลเอกบุน เซ็ง ผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชา ประจำเขตภูมิภาคที่ 5 ซึ่งได้เข้าร่วมการเจรจา 2 ฝ่าย ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเวลา 8 ชั่วโมง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่อรัญประเทศได้ออกมาเปิดเผยว่า ในตอนแรกเริ่มของการเจรจานั้น ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี แต่สุดท้ายการเจรจากลับต้องล้มเหลวเนื่องจากการกระทำของฝ่ายไทยที่พยายามอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมในการใช้แผนที่ของตัวเอง
พลเอกบุน เซ็ง ยังกล่าวอีกว่า ไทยและกัมพูชามีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง ทางกัมพูชาใช้แผนที่ที่เขียนขึ้นโดยฝรั่งเศสในปี 1904 และปี 1907 แต่ฝ่ายไทยกลับต้องการที่จะใช้แผนที่ของตัวเอง
ในขณะนี้พื้นที่ราว 4.8 ตารางกิโลเมตรโดยรอบปราสาทพระวิหารยังคงเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างไทยและกัมพูชา แม้ว่าศาลโลกจะได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาตั้งแต่ปี 1962 ก็ตาม และความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากที่ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา
นายฮอร์ นัมฮง ยังกล่าวต่อไปว่า ฝ่ายไทยใช้แผนที่ที่เพิ่งจะเขียนขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ เพื่ออ้างสิทธิ์เหนือดินแดนหลายส่วนตามแนวพรมแดน
เกี่ยวกับประเด็นเรื่องนี้ พลเอกบุน เซ็ง ผู้บัญชาการกองทัพกัมพูชา ประจำเขตภูมิภาคที่ 5 ซึ่งได้เข้าร่วมการเจรจา 2 ฝ่าย ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นเวลา 8 ชั่วโมง เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่อรัญประเทศได้ออกมาเปิดเผยว่า ในตอนแรกเริ่มของการเจรจานั้น ทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดี แต่สุดท้ายการเจรจากลับต้องล้มเหลวเนื่องจากการกระทำของฝ่ายไทยที่พยายามอ้างสิทธิ์อันชอบธรรมในการใช้แผนที่ของตัวเอง
พลเอกบุน เซ็ง ยังกล่าวอีกว่า ไทยและกัมพูชามีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องนี้อย่างสิ้นเชิง ทางกัมพูชาใช้แผนที่ที่เขียนขึ้นโดยฝรั่งเศสในปี 1904 และปี 1907 แต่ฝ่ายไทยกลับต้องการที่จะใช้แผนที่ของตัวเอง
ในขณะนี้พื้นที่ราว 4.8 ตารางกิโลเมตรโดยรอบปราสาทพระวิหารยังคงเป็นพื้นที่พิพาทระหว่างไทยและกัมพูชา แม้ว่าศาลโลกจะได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาตั้งแต่ปี 1962 ก็ตาม และความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นหลังจากที่ปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา